1.49k likes | 2.11k Vues
การจัดการศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน. ศ.ดร.พฤทธิ์ ศิริบรรณพิทักษ์. 1. วิกฤตการพัฒนาทั่วโลก. 1.1 การพัฒนาตามอย่างประเทศที่เจริญแล้ว (Developed industrial country) คือ การพัฒนาเศรษฐกิจแบบทุนนิยมเสรี ที่มุ่งความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ. ทศวรรษแห่งการพัฒนา ระยะที่ 1 พ.ศ. 2503-2513.
E N D
การจัดการศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนการจัดการศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ศ.ดร.พฤทธิ์ ศิริบรรณพิทักษ์
1. วิกฤตการพัฒนาทั่วโลก 1.1 การพัฒนาตามอย่างประเทศที่เจริญแล้ว (Developed industrial country) คือ การพัฒนาเศรษฐกิจแบบทุนนิยมเสรี ที่มุ่งความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ
ทศวรรษแห่งการพัฒนา ระยะที่ 1 พ.ศ. 2503-2513 การพัฒนาจากเศรษฐกิจ เป็นฐานเพื่อแก้ปัญหา 1) ความยากจน (poverty) 2) ความไม่รู้ (ignorance) 3) ความเจ็บไข้ได้ป่วย (disease) วิกฤตการพัฒนา 1) ทรัพยากรธรรมชาติร่อยหรอลง 2) ของเสีย สารพิษ มลภาวะเพิ่มขึ้น 3) ประชากรก่อปัญหา ใน 1) และ 2) อย่างต่อเนื่อง
พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตโต, 2539) สิ่งที่ทำให้เกิด วิกฤต ในการพัฒนาคือ ความเจริญที่มนุษย์ชนะ แต่ โลกหายนะ
1.2 ปัญหาการพัฒนาประเทศไทย 1.ความขัดแย้งในการแย่งชิงทรัพยากรจะรุนแรงขึ้น 2.พันธกิจด้านสิ่งแวดล้อมจะเป็นภาระต่อต้นทุนการผลิต 3.กระแสประชาธิปไตยในประชาคมโลกมีอิทธิพลต่อ แนวคิดและค่านิยมในการพัฒนาประเทศ
4. กระแสการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเป็นภาระ ที่รัฐต้องสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องเพื่อลด ความขัดแย้งในสังคม 5. ความโดดเด่นของเอกลักษณ์วัฒนธรรมไทย และภูมิปัญญาท้องถิ่นที่หลากหลายในการสร้างคุณค่า และมูลค่าเพิ่มของประเทศ
2. กรอบแนวคิดการพัฒนาที่ยั่งยืน 2.1 กระแสโลกว่าด้วยการพัฒนาที่ยั่งยืน ปี 1984 (2527) UN ตั้งคณะกรรมการอิสระ 22 คน กำหนดกลยุทธ์สิ่งแวดล้อมระยะยาวสำหรับชุมชนโลก (Elliott, 2006)
ปี 1987 (2530) World Conference on Environment and Development (WCED) พิมพ์รายงานเรื่อง “Our Common Future” หรือเรียกว่า “Brundtland Report” (WCED, 1987) ตามชื่อประธาน ซึ่งเป็นนายกรัฐมนตรีนอรเวย์ คือ Gro Harlem Brundtland
ซึ่งมีการใช้คำว่า “Sustainable Development” ในแวดวงการเมืองและแนวคิดการพัฒนาของนานาชาติ ซึ่งต่อมามีการแปลรายงานนี้กว่า 24 ภาษา (Finger, 1994)
ปี 1992 (2535) The United Nations Conference on Environment and Development หรือ “Earth Summit” ที่ Rio de Janeiro, Brazil ซึ่งเป็นการประชุมนานาชาติที่ใหญ่สุด มีผู้แทนกว่า 170 ประเทศ เข้าประชุม มี NGO กว่า 2,500 คน มีสื่อมวลชนกว่า 8,000 คน
จุดมุ่งหมายของการประชุมคือ การกำหนดหลักการของการปฏิบัติการ สู่การพัฒนาที่ยั่งยืนในอนาคต ให้เป็นที่ยอมรับของผู้นำระดับสูง ซึ่งเรียกว่า “การประชุมสุดยอดระดับผู้นำประเทศ” (Earth Summit) (O’ Riordan, 2000)
ปี 1997 (2540) UNESCO ได้จัด International Conference “Environment and Society: Education and Public Awareness for Sustainability” ที่เมือง Thessaloniki ประเทศกรีซ
โดยเน้นบทบาทของการศึกษา และความตระหนักของสาธารณชนเพื่อความยั่งยืน พร้อมทั้งการระดมสรรพกำลัง สู่จุดมุ่งหมายดังกล่าว (UNESCO, 1997)
ปี 2002 (2545) UN จัด World Summit on Sustainable Development (WSSD) มีผู้นำประเทศเข้าประชุม จำนวน 104 ประเทศ ที่เมือง Johannesburg ประเทศ South Africa
มีผู้แทน NGOs จากประเทศกำลังพัฒนา เข้าประชุมจำนวนมาก และมีการนำประเด็นสิทธิมนุษยชน ความเป็นธรรมทางสังคม และความรับผิดชอบของธุรกิจ (Elliott, 2006)
UNESCO ได้กำหนดให้ ปี 2005-2014 เป็น UNITED NATIONS DECADE OF EDUCATION FOR SUSTAINABLE DEVELOPMENT Asia-Pacific Region
2.2 ความสำคัญของการพัฒนาที่ยั่งยืน EARTH SUMMIT พ.ศ.2535 AGENDA 21 1. ประเทศสมาชิกต้องกำหนดเป้าหมายการพัฒนาแห่งสหัสวรรษร่วมกันภายใน พ.ศ. 2558 เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตและขจัดปัญหาความยากจนของคนในประเทศ
2. ประเทศสมาชิกควรมุ่งส่งเสริมการพัฒนาศักยภาพมนุษย์ ซึ่งรวมถึงการพัฒนาด้านการศึกษาและการบริการด้านสุขภาพ 3. เสริมสร้างสำนึกเพื่อกระตุ้นให้ประชากรทั่วโลกตระหนักถึงความสำคัญของการพัฒนาที่ยั่งยืนโดยภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชนต้องร่วมกันเป็นหุ้นส่วนเพื่อการพัฒนาและร่วมกันพิทักษ์สิ่งแวดล้อม เพื่อให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืนต่อไป
2.3 ความหมายของการพัฒนาที่ยั่งยืน Sustainable Development การพัฒนาที่ตอบสนองความต้องการของคน ในรุ่นปัจจุบันโดยไม่ทำให้คนรุ่นต่อไป ในอนาคตต้องประนีประนอมยอมลด ความสามารถในการตอบสนอง ความต้องการของตนเอง UNESCO, 1997, p.13
การพัฒนาที่ตอบสนองความต้องการการพัฒนาที่ตอบสนองความต้องการ ของคนในปัจจุบันโดยไม่ทำลาย ทรัพยากรซึ่งเป็นที่ต้องการของคนในอนาคต CORSON, 1990, p.54 เป็นการพัฒนาที่มีลักษณะบูรณาการ เป็นองค์รวมและมีดุลยภาพหรือ การทำให้กิจกรรมของมนุษย์สอดคล้อง กับกฎเกณฑ์ธรรมชาติ ป.อ. ปยุตโต, 2541
2.4 แนวคิดหลักของการพัฒนาที่ยั่งยืน สมัชชาโลกว่าด้วยสิ่งแวดล้อมและการพัฒนา (WCED) “การพัฒนาจะต้องเกิดความสมดุล ระหว่างเศรษฐกิจกับธรรมชาติอย่าง ยั่งยืน” UNESCO “การพัฒนาจะต้องเกิดความสมดุลระหว่างเศรษฐกิจกับวัฒนธรรมอย่างยั่งยืน” การพัฒนา คู่กับสิ่งแวดล้อม การพัฒนา คู่กับวัฒนธรรม
เปลี่ยนกระบวนทัศน์การพัฒนา (Paradigm Shift) จากการพัฒนาแบบคนเป็นศูนย์กลาง (Human Centered) เป็นแบบโลกเป็นศูนย์กลาง (Earth Centered)
WORLD BANK The Quality of Growth: การเติบโตอย่างมีคุณภาพ การเติบโตอย่างมีคุณภาพ ทำได้โดยการ ให้ความสำคัญกับการลงทุน 3 ด้าน 1. ทุนทางกายภาพ (Physical capital) 2. ทุนมนุษย์ (Human capital) 3. ทุนธรรมชาติ (Natural capital) 4. ทุนทางสังคม (Social capital)
ภาคีการเรียนรู้สู่การพัฒนาที่ยั่งยืนภาคีการเรียนรู้สู่การพัฒนาที่ยั่งยืน การพัฒนาที่ยั่งยืน คือ การมีอนาคตที่มีความรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจ มีความเป็นธรรมในสังคม และมีการปกป้อง คุ้มครองสิ่งแวดล้อมธรรมชาติพร้อมๆกัน แผนภาพ
การพัฒนาที่ยั่งยืน การอยู่ดีมีสุขของสังคม Societal Well-being การพัฒนาเศรษฐกิจที่ยั่งยืน Sustainable Economic Development เศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม คุณภาพสิ่งแวดล้อม Environmental Quality
การพัฒนาเศรษฐกิจที่ยั่งยืนการพัฒนาเศรษฐกิจที่ยั่งยืน Sustainable Economic Development 1. การเติบโตที่ยั่งยืน (sustainable growth) 2. ความมีชีวิตชีวา (vitality) 3. ความเป็นธรรม (equity) 4. ประสิทธิภาพ (efficiency) 5. การแข่งขันควบคู่กับความร่วมมือ (competition/co-operation)
การอยู่ดีมีสุข (Societal Well-being) 1. การเสริมสร้างพลังอำนาจ (empowerment) 2. การมีส่วนร่วม (participation) 3. การเลื่อนชั้นทางสังคม (social mobility) 4. ความสมานฉันท์ของสังคม (social cohesion) 5. ความหลากหลายควบคู่กับเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรม (cultural diversity/identity) 6. ความเป็นอยู่และสุขภาพที่ดี (health and well-being)
การมีคุณภาพสิ่งแวดล้อมที่ดี (Environmental Quality) 1. การอยู่ดีมีสุข (well-being) 2. ความสมบูรณ์ของระบบนิเวศน์ (ecosystem integrity) 3. ความสามารถในการรองรับของเสีย (carrying capacity) 4. ความหลากหลายทางชีวภาพ (bio-diversity)
5. ประเด็นปัญหาระดับโลก (global issues) 6. การอนุรักษ์ทรัพยากร (resource conservation) 7. การป้องกันมลภาวะ (pollution prevention) 8. การลดของเสีย (waste reduction)
Brundtland Commission เสนอหลักการ การพัฒนาที่ยั่งยืน 8 ประการ 1. การฟื้นฟูความเจริญเติบโต 2. การเปลี่ยนแปลงคุณภาพของความเจริญเติบโต 3. การบูรณาการเรื่องของสิ่งแวดล้อมสู่การตัดสินใจ 4. การรักษาระดับจำนวนประชากร 5. การกำหนดทิศทางใหม่ของเทคโนโลยี และการบริหารความเสี่ยง
6. การอนุรักษ์และขยายฐานทรัพยากร 7. การปฏิรูปความสัมพันธ์ด้านเศรษฐกิจ ระหว่างประเทศ 8. การสร้างความร่วมมือที่เข้มแข็ง ระหว่างประเทศ
การพัฒนาที่ยั่งยืนในบริบทไทยการพัฒนาที่ยั่งยืนในบริบทไทย เป็นการพัฒนาที่ทำให้เกิดดุลยภาพของมิติทางเศรษฐกิจ สังคม ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เพื่อเสริมสร้างความอยู่ดีมีสุขของประชาชนตลอดไป
มีกรอบแนวคิดในการดำเนินงาน 3 ด้านคือ 1. การบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน 2. การพัฒนาเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน 3. การพัฒนาสังคมที่ยั่งยืน
2.5 การจัดการทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน หมายถึง การใช้ทรัพยากรธรรมชาติในปริมาณที่ ระบบนิเวศน์สามารถฟื้นตัวกลับสู่สภาพเดิมได้ ทรัพยากรประเภท Non-renewable ต้องใช้ไม่มากเกินขีดความ สามารถในการ ทดแทน การใช้ ต้องทดแทนด้วยทรัพยากรประเภท renewable
กรอบแนวคิด การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ในบริบทของการพัฒนาที่ยั่งยืน 1. การปรับปรุงกระบวนทัศน์ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม • ผู้บริหารประเทศ ต้องตระหนักว่า การพัฒนาประเทศต้องมีความสมดุลทั้งทางเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมไปพร้อมๆกัน “ทรัพยากรธรรมชาติเป็นทุนประเภทหนึ่ง”
• ประชาชนทั่วไป ต้องมีทัศนคติว่า “ทรัพยากรธรรมชาติเป็นที่หวงแหนของทุกคน ในชาติ” ต้องใช้อย่างประหยัด มีประสิทธิภาพ และบำรุงรักษาอย่างต่อเนื่องระยะยาว
2. การบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและ สิ่งแวดล้อมต้องยึดหลักการบริหารจัดการเชิงนิเวศน์ • ต้องเข้าใจขีดจำกัดและความสามารถ ในการรองรับของระบบนิเวศน์ • ต้องเปลี่ยนรูปแบบการบริหารจัดการ ตามเขตพื้นที่การปกครอง มาสู่การจัดการ ภายใต้ระบบนิเวศน์ เพื่อให้เกิดการบูรณาการ โดยการมีส่วนร่วมของชุมชน
3. การจัดการสิ่งแวดล้อมต้องหลากหลาย • สิ่งแวดล้อมชีวภาพ/ทรัพยากรธรรมชาติ ต้องนำมาใช้อย่างยั่งยืนและเกิดประโยชน์สูงสุด • สิ่งแวดล้อมกายภาพหรือมลพิษที่เกิดจากการใช้ ทรัพยากรธรรมชาติ ต้องยึดหลักการ ป้องกันมากกว่าแก้ไข • สิ่งแวดล้อมทางมนุษย์และสังคม ศิลป วัฒนธรรม ประเพณีที่มนุษย์สร้างขึ้นเป็นสิ่งที่ตีมูลค่าไม่ได้ แต่มีคุณค่าควรได้รับการอนุรักษ์ไว้
2.6 การพัฒนาเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน หมายถึง การพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ ให้เจริญเติบโต 1. มีคุณภาพ 2. มีเสถียรภาพ 3. มีความสมดุล
การเติบโตอย่างมีคุณภาพการเติบโตอย่างมีคุณภาพ ด้านมหภาคมีเสถียรภาพทางการเงินและการคลัง ทำให้เกิดสภาพเอื้อต่อการลงทุน และ การดำเนินธุรกิจอย่างมีประสิทธิภาพ และสามารถแข่งขันได้ ด้านจุลภาคมีการเลือกผลิตอย่างฉลาด คือการให้ความสำคัญกับการพัฒนา อุตสาหกรรม และบริการเป้าหมายที่มี ศักยภาพในการผลิตภายในประเทศที่ สอดคล้องกับความต้องการของตลาด
การเติบโตอย่างมีเสถียรภาพและยั่งยืนการเติบโตอย่างมีเสถียรภาพและยั่งยืน ระบบเศรษฐกิจที่มีเสถียรภาพประกอบด้วย 1. เสถียรภาพในประเทศ ได้แก่ อัตราเงินเฟ้อต่ำ ไม่ผันผวน หนี้สาธารณะของประเทศอยู่ใน ฐานะที่จัดการได้ เป็นต้น
2. เสถียรภาพด้านต่างประเทศ ทุนสำรอง เงินตราต่างประเทศอยู่ในระดับเพียงพอ มูลค่านำเข้ารายเดือนของประเทศทำให้ อัตราแลกเปลี่ยนของประเทศมีเสถียรภาพ มีปัจจัยการผลิตที่มีคุณภาพไม่ทำลาย สิ่งแวดล้อม (green productivity)
การกระจายความมั่งคั่งการกระจายความมั่งคั่ง การพัฒนาเศรษฐกิจที่ยั่งยืน คนในประเทศส่วนใหญ่ต้องมีส่วนได้รับ ประโยชน์จากการพัฒนาที่เหมาะสมและ สอดคล้องกับศักยภาพของตนในเรื่องรายได้ ทุกคนมีโอกาสทางเศรษฐกิจที่ทำให้เกิด ความทัดเทียมกันของรายได้ มีความสามารถ ในการเข้าถึงการใช้ประโยชน์ใน ทรัพยากรธรรมชาติ บริการพื้นฐาน ของรัฐโดยใช้มาตรการทั้งด้านมหภาคและจุลภาค
2.7 การพัฒนาสังคมที่ยั่งยืน การพัฒนาคนและสังคมให้เชื่อมโยงกับ การพัฒนาเศรษฐกิจ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างสมดุล
พัฒนาคนให้มีผลิตภาพสูงขึ้น สามารถ ปรับตัวรู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงที่จะนำไปสู่การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและการเจริญเติบโต ทางเศรษฐกิจของประเทศอย่างยั่งยืน มีจิตสำนึก พฤติกรรม และวิถีชีวิตที่ไม่ทำลายทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม
มีคุณภาพชีวิตที่ดี สามารถพึ่งพาตนเองได้อย่างมั่นคง มีระบบการจัดการทางสังคมที่เสริมสร้างการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วนของสังคมในการพัฒนา/นำทุนทางสังคมและทุนทางธรรมชาติมาประยุกต์ให้เหมาะสม
3. ยุทธศาสตร์สู่การพัฒนาที่ยั่งยืน
3.1 พลวัตของความสมดุล การพัฒนาที่ยั่งยืน สิ่งแวดล้อมธรรมชาติ = ความต้องการในการพัฒนามนุษย์ ลดความต้องการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ เพิ่มขีดความสามารถ ในการรองรับ ของธรรมชาติ ประชากร 6,000 ล้าน : ค.ศ. 2000 ประชากร 9,000 ล้าน : ค.ศ. 2030
3.2 ความเข้าใจและความตระหนักของมหาชน ในสังคมประชาธิปไตย การปฏิบัติที่ส่งผลต่อ การพัฒนาที่ยั่งยืน ขึ้นอยู่กับความตระหนัก ความเข้าใจ และการสนับสนุนของมหาชน การโน้มน้าว "ผู้ที่ไม่เห็นด้วย" และ "ผู้ที่ไม่ต้องการรับรู้" ต้องอาศัยการรณรงค์ที่ใช้ "ประเด็นท้องถิ่น" หรือ Local issues จะได้ผลดีกว่าการใช้ "ประเด็นระดับโลก" หรือ Global issues
การแก้ปัญหาอิทธิพลของผู้เสียประโยชน์ จำเป็นต้องใช้วิธีการเชิงประชาธิปไตย (democratic means) การแก้ปัญหาความสลับซับซ้อนของข้อความรู้ หรือข่าวสารเกี่ยวกับการพัฒนาที่ยั่งยืน จะต้องเริ่มต้นด้วยการนำเสนอปัญหาซึ่งประชาชน รู้สึกและเข้าใจในระดับท้องถิ่น เพื่อเป็นพื้นฐานไปสู่การเข้าใจในปัญหาซับซ้อน ระดับชาติและระดับโลกต่อไป