1 / 59

หลักสูตร การ พัฒนา ศักยภาพ คณะกรรมการ ดำเนินการสหกรณ์ขั้นพื้นฐาน

หลักสูตร การ พัฒนา ศักยภาพ คณะกรรมการ ดำเนินการสหกรณ์ขั้นพื้นฐาน. กฎหมาย ข้อบังคับ ระเบียบ และคำแนะนำเกี่ยวกับ การเงินการบัญชีของสหกรณ์. กฎหมาย ระเบียบ ที่เกี่ยวข้อง กับสหกรณ์. พระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2553. 1. ระเบียบ คำแนะนำ นทส./กตส. 2. ข้อบังคับของสหกรณ์.

Télécharger la présentation

หลักสูตร การ พัฒนา ศักยภาพ คณะกรรมการ ดำเนินการสหกรณ์ขั้นพื้นฐาน

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. หลักสูตร การพัฒนาศักยภาพ คณะกรรมการดำเนินการสหกรณ์ขั้นพื้นฐาน

  2. กฎหมาย ข้อบังคับ ระเบียบ และคำแนะนำเกี่ยวกับ การเงินการบัญชีของสหกรณ์

  3. กฎหมาย ระเบียบ ที่เกี่ยวข้องกับสหกรณ์ พระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2553 1 ระเบียบ คำแนะนำ นทส./กตส. 2 ข้อบังคับของสหกรณ์ 3 ระเบียบของสหกรณ์ 4 มติที่ประชุม 5

  4. พ.ร.บ. สหกรณ์ พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2553 หมวดที่ 1 บททั่วไป หมวดที่ 2 การกำกับและส่งเสริมสหกรณ์ 1) คณะกรรมการพัฒนาการสหกรณ์แห่งชาติ 2) นายทะเบียนสหกรณ์ 3) การกำกับดูแลสหกรณ์ 4) กองทุนพัฒนาสหกรณ์

  5. หมวดที่ 3 สหกรณ์ 1) การจัดตั้งและการจดทะเบียนสหกรณ์ 2) ข้อบังคับและการแก้ไขเพิ่มเติม 3) การดำเนินงานของสหกรณ์ 4) การสอบบัญชี 5) การเลิกสหกรณ์ หมวดที่ 4 การชำระบัญชี

  6. หมวดที่ 5 การควบสหกรณ์เข้ากัน หมวดที่ 6 การแยกสหกรณ์ หมวดที่ 7 ชุมนุมสหกรณ์ หมวดที่ 8 สันนิบาตสหกรณ์แห่งประเทศไทย หมวดที่ 9 กลุ่มเกษตรกร หมวดที่ 10 บทกำหนดโทษ บทเฉพาะกาล

  7. มาตรา 65 ให้สหกรณ์จัดให้มีการทำบัญชีตามแบบและรายการ ที่นายทะเบียนสหกรณ์กำหนดให้ถูกต้องตามความเป็นจริง เก็บรักษาบัญชีและเอกสารประกอบการลงบัญชีไว้ที่สำนักงานสหกรณ์ภายในระยะเวลาที่นายทะเบียนสหกรณ์กำหนด บันทึกรายการบัญชีเกี่ยวกับเงินสดในวันที่เกิดรายการนั้น รายการที่ไม่เกี่ยวกับเงินสดบันทึกให้เสร็จภายใน 3 วัน นับแต่วันที่เกิดรายการ ต้องมีเอกสารประกอบการลงบัญชีที่สมบูรณ์โดยครบถ้วน

  8. มาตรา 66  ให้สหกรณ์จัดทำงบดุลอย่างน้อยทุกรอบ 12 เดือน อันจัดว่าเป็นรอบปีทางบัญชี  งบดุลต้องมีรายการแสดงสินทรัพย์ หนี้สินและทุนของสหกรณ์ กับบัญชีกำไรขาดทุนตามแบบที่นายทะเบียนสหกรณ์กำหนด  งบดุลต้องทำให้แล้วเสร็จและให้ผู้สอบบัญชีตรวจสอบ แล้วนำเสนอเพื่ออนุมัติในที่ประชุมใหญ่ภายใน 150 วัน นับแต่วันสิ้นปีทางบัญชี

  9. มาตรา 67  ให้สหกรณ์จัดทำรายงานประจำปีแสดงผลการดำเนินงาน ของสหกรณ์เสนอต่อที่ประชุมใหญ่ในคราวที่เสนองบดุลและ ให้ส่งสำเนารายงานประจำปีกับงบดุลให้นายทะเบียนสหกรณ์ ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่มีการประชุม มาตรา 68  ให้สหกรณ์เก็บรักษารายงานประจำปีและงบดุล พร้อมทั้ง ข้อบังคับและกฎหมายว่าด้วยสหกรณ์ไว้ที่สำนักงานสหกรณ์ เพื่อให้สมาชิกขอตรวจดูได้

  10. พ.ร.บ. สหกรณ์ พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2553 มาตรา 16 (8) นายทะเบียนสหกรณ์มีอำนาจออกระเบียบ หรือคำสั่งเพื่อให้มีการ ปฏิบัติตาม พ.ร.บ.สหกรณ์ และเพื่อประโยชน์ในการดำเนินกิจการของสหกรณ์ และยังมอบอำนาจให้หน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง กำหนดระเบียบและคำแนะนำต่าง ๆ เพื่อให้สหกรณ์ถือปฏิบัติด้วย ซึ่งต้องไม่ขัด หรือแย้งกับ พ.ร.บ.สหกรณ์

  11. ระเบียบนายทะเบียนสหกรณ์ระเบียบนายทะเบียนสหกรณ์ ว่าด้วยการบัญชีของสหกรณ์ พ.ศ. 2542 4 หมวด หมวด 1 ข้อความทั่วไป หมวด 2 นโยบายการบัญชีที่สำคัญ หมวด 3 การเปิดเผยข้อมูล หมวด 4 การควบ การแยก และการชำระบัญชี

  12. หมวด 1 ข้อความทั่วไป ข้อ 6 คณะกรรมการดำเนินการสหกรณ์มีหน้าที่รับผิดชอบ จัดให้มีการปิดบัญชี และจัดทำงบการเงินทุกวันสิ้นปีบัญชี แสดงฐานะการเงิน ผลการดำเนินงานและกระแสเงินสดให้แล้วเสร็จโดยเร็ว และให้ผู้สอบบัญชีตรวจสอบ แล้วนำเสนอเพื่ออนุมัติในที่ประชุมใหญ่ของสหกรณ์ภายใน 150 วัน นับแต่วันสิ้นปีบัญชี

  13. ข้อ 7 งบการเงินของสหกรณ์ ประกอบด้วย + งบดุล + งบกำไรขาดทุน + งบต่าง ๆ + รายละเอียดประกอบงบการเงิน ตามแบบที่กรมตรวจบัญชีสหกรณ์กำหนด

  14. ข้อ 8  ให้จัดทำบัญชีตามแบบที่กรมตรวจบัญชีสหกรณ์กำหนด  มีเอกสารประกอบการลงบัญชีที่สมบูรณ์และครบถ้วน  บันทึกรายการบัญชีตามเกณฑ์พึงรับพึงจ่ายและนโยบาย การบัญชีที่สำคัญที่กำหนดไว้ โดยเปิดเผยในหมายเหตุ ประกอบงบการเงิน  บันทึกรายการบัญชีเกี่ยวกับเงินสดในวันที่เกิดรายการนั้น รายการที่ไม่เกี่ยวกับเงินสดบันทึกให้เสร็จภายใน3 วัน นับแต่วันที่เกิดรายการ 14

  15. ให้เก็บรักษาเอกสารประกอบการลงบัญชีและสมุดบัญชีต่างๆ ไว้ที่สำนักงานสหกรณ์เพื่อประโยชน์ในการตรวจสอบและอื่น ๆ ข้อ 9 ไม่น้อยกว่า 10 ปี

  16. หมวด 2 นโยบายการบัญชีที่สำคัญ ข้อ 10 • การรับรู้รายได้ •  รับรู้ตามลักษณะการเกิดรายได้แต่ละประเภท • ต้องมีความแน่นอนของจำนวนผลประโยชน์ • ที่จะได้รับและต้นทุนที่เกิดขึ้น หรือจะเกิดขึ้น • ต้องมีมูลค่าที่สามารถวัดได้อย่างน่าเชื่อถือ

  17. ข้อ 11 การประมาณการค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ • พิจารณาลูกหนี้แต่ละราย • ประมาณเป็นร้อยละของหนี้ ณ วันสิ้นปี • จัดกลุ่มจำแนกตามอายุหนี้ของหนี้ที่ค้างชำระ

  18. ค่าเผื่อฯ ที่คำนวณได้ > ยอดคงเหลือตามบัญชี ผลต่าง = ค่าใช้จ่ายของปีนั้น ๆ ค่าเผื่อฯ ที่คำนวณได้ < ยอดคงเหลือตามบัญชี ผลต่าง = ค่าเผื่อฯ เกินต้องการ ให้ปรับลดยอดค่าใช้จ่ายของปีนั้น ๆ

  19. การตัดจำหน่ายหนี้สูญ ต้องเป็นหนี้ที่มีลักษณะตามระเบียบนายทะเบียนสหกรณ์ และได้ดำเนินการตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ที่กำหนดไว้ ก่อนจะตัดหนี้สูญลูกหนี้รายใดนั้นต้องมีการ ตั้งค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญไว้เต็มจำนวนแล้ว ณ วันสิ้นปีบัญชี ก่อนหน้าวันที่ที่ประชุมใหญ่พิจารณาอนุมัติให้ตัดจำหน่าย หนี้สูญได้

  20. ข้อ 12 ณ วันสิ้นปีบัญชี จัดให้มีการตรวจนับสินค้า/วัสดุคงเหลือ โดยผู้ที่ไม่มีหน้าที่โดยตรงในการเก็บรักษาสินค้า หรือวัสดุ เป็นกรรมการตรวจนับไม่น้อยกว่า 3 คน เพื่อให้ทราบปริมาณ และสภาพของสินค้า/วัสดุคงเหลืออยู่ตามความเป็นจริง ให้แยกรายละเอียดสินค้าคงเหลือสภาพปกติ สินค้าที่เสื่อมชำรุด และวัสดุคงเหลือที่ตรวจนับได้ไว้ต่างหากจากกัน

  21. วัสดุคงเหลือ ตีราคาตามราคาทุน สินค้าคงเหลือสภาพปกติ ตีราคาตามราคาทุน หรือมูลค่าสุทธิ ที่จะได้รับ แล้วแต่ราคาใดจะต่ำกว่า โดยเลือกใช้การคำนวณราคาทุน วิธีเข้าก่อนออกก่อน หรือ วิธีราคาทุนถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนัก สินค้าเสื่อม หรือชำรุด ตีราคาลดลงตามราคาที่คาดว่าจะ จำหน่ายได้ กรณีลดต่ำกว่าราคาทุน ให้จัดทำรายละเอียดและเหตุผล ขออนุมัติจากที่ประชุมคณะกรรมการ

  22. การตัดสินค้าขาดบัญชี ให้ปฏิบัติตามระเบียบนายทะเบียนสหกรณ์กำหนด โดยตั้งสำรองสินค้าขาดบัญชีที่ไม่สามารถหาผู้รับผิดชอบได้ ไว้เต็มจำนวนแล้ว ณ วันสิ้นปีบัญชี ก่อนหน้าวันที่ที่ประชุมใหญ่ พิจารณาอนุมัติให้ตัดเป็นสินค้าขาดบัญชีได้

  23. ข้อ 13 การวัดมูลค่าเริ่มแรกของที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ บันทึกด้วยราคาทุน ราคาซื้อ xx บวก ภาษี , ต้นทุนกู้ยืม, ต้นทุนทางตรงอื่น ๆ xx หัก ส่วนลดการค้า , ภาษีที่จะได้รับคืน xx ราคาทุน xx

  24. รายจ่ายภายหลังการได้มาซึ่งที่ดิน อาคารและอุปกรณ์  ที่ดิน อาคารและอุปกรณ์มีสภาพดีขึ้นเมื่อเทียบกับมาตรฐาน การใช้งานเดิม เช่น มีอายุการใช้งาน/มีเนื้อที่ใช้สอยเพิ่มขึ้น ฯลฯ รายจ่ายที่ทำให้มูลค่าเพิ่มขึ้น รายจ่ายที่เป็นค่าใช้จ่ายในงวดบัญชีที่เกิดขึ้น  ที่ดิน อาคารและอุปกรณ์สามารถรักษาสภาพของมาตรฐาน การใช้งานเดิมไว้ โดยไม่มีการเพิ่มประสิทธิภาพ

  25. การตีราคาใหม่ สหกรณ์อาจตีราคาที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ใหม่ตามราคาตลาด ซึ่งถือเป็นมูลค่ายุติธรรม โดยผู้ประเมินราคาอิสระที่มีความเชี่ยวชาญและเชื่อถือได้ และต้องตีราคาทุกรายการที่จัดอยู่ในประเภทเดียวกันพร้อมกัน ทั้งนี้ ระยะเวลาของการพิจารณา ตีราคาใหม่แต่ละครั้งต้องไม่ต่ำกว่า 5 ปี

  26. การคำนวณค่าเสื่อมราคาการคำนวณค่าเสื่อมราคา ให้คำนวณค่าเสื่อมราคาอาคารและอุปกรณ์ให้สอดคล้องกับสภาพการใช้งานและใกล้เคียงกับความเป็นจริง คำนวณค่าเสื่อมราคาอาคารและอุปกรณ์ได้ 2 วิธี + วิธีเส้นตรง + วิธีอัตราลดลงตามผลรวมจำนวนปี

  27. วิธีอัตราลดลงตามผลรวมจำนวนปีวิธีอัตราลดลงตามผลรวมจำนวนปี ใช้กับอาคาร & อุปกรณ์ ที่มีลักษณะ ใช้งานไปนาน อาจเกิด ค่าซ่อมแซมมาก ประโยชน์ที่ให้ ในระยะหลัง ไม่แน่นอน มีประสิทธิภาพ การใช้งานสูง ในระยะแรก ระยะเวลาที่ตัดจำหน่ายต้องไม่เกินกว่าการใช้วิธีเส้นตรง

  28. การเลิกใช้ ที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ที่ไม่สามารถใช้ได้อีกต่อไป  ให้รับรู้ผลต่างระหว่างจำนวนเงินสุทธิที่คาดว่าจะได้รับกับ ราคาตามบัญชีหลักหักค่าเสื่อมราคาสะสมถึงวันที่เลิกใช้ เป็นรายได้ หรือค่าใช้จ่ายในปีที่เลิกใช้ ที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ที่เลิกใช้และรอจำหน่าย  ให้คำนวณค่าเสื่อมราคาต่อไปจนกว่าจะสามารถจำหน่ายได้ และเมื่อจำหน่ายได้ให้ปฏิบัติเช่นเดียวกับที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ ที่ไม่สามารถใช้ได้อีกต่อไป

  29. ข้อ 14 สินทรัพย์ไม่มีตัวตน ให้ตัดจ่ายสินทรัพย์ไม่มีตัวตนตามอายุการใช้สิทธิที่ได้รับและการเปลี่ยนแปลงการใช้ซอฟท์แวร์ใหม่ตามลำดับ แต่ต้องไม่น้อยกว่าอัตราค่าเสื่อมราคาตามวิธีเส้นตรง ให้บันทึกค่าตัดจ่ายหักจากบัญชีสินทรัพย์ไม่มีตัวตนนั้นโดยตรง และบันทึกรายการตัดจ่ายไว้ในทะเบียนสินทรัพย์

  30. ข้อ 15 เงินลงทุนที่ อยู่ในความต้องการของตลาด ตีราคาตาม มูลค่ายุติธรรม เงินลงทุนทั่วไปไม่อยู่ในความต้องการของตลาด ตีราคาตาม ราคาทุน มูลค่ายุติธรรม : จำนวนเงินที่ผู้ซื้อและผู้ขายตกลงแลกเปลี่ยนสินทรัพย์กัน

  31. การตัดบัญชีค่าใช้จ่ายรอตัดบัญชีการตัดบัญชีค่าใช้จ่ายรอตัดบัญชี ให้คำนวณเป็นรายปีเพื่อตัดออกจากบัญชีในแต่ละรอบปีบัญชีให้เสร็จสิ้นภายในเวลาไม่เกิน 5 ปี ทั้งนี้ ค่าใช้จ่ายรอตัดบัญชีไม่ให้รวมถึงผลเสียหาย หรือ ผลขาดทุนที่เกิดขึ้นแล้วจำนวนมาก ข้อ 16

  32. หมวด 3 การเปิดเผยข้อมูล ข้อ 17 งบการเงิน รายละเอียดประกอบงบการเงิน หมายเหตุประกอบงบการเงิน

  33. สรุปนโยบายการบัญชีที่สำคัญสรุปนโยบายการบัญชีที่สำคัญ ข้อมูลเพิ่มเติมประกอบรายการในงบการเงิน ข้อมูลเพิ่มเติมที่ไม่ได้แสดงในงบการเงิน ข้อ 18 หมายเหตุประกอบงบการเงิน

  34. หมวด 4 การควบ การแยกและการชำระบัญชี

  35. ในการดำเนินงานด้านการเงินการบัญชีของสหกรณ์ นอกจากจะต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามระเบียบนายทะเบียนสหกรณ์ว่าด้วยการบัญชีของสหกรณ์ พ.ศ. 2542 แล้ว สหกรณ์ต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามระเบียบและคำแนะนำนายทะเบียนสหกรณ์ รวมทั้งคำแนะนำกรมตรวจบัญชีสหกรณ์ที่กำหนดด้วย

  36. ข้อบังคับของสหกรณ์ เป็นหลักฐานสำคัญประกอบการยื่นขอจดทะเบียนสหกรณ์ ซึ่งคณะผู้จัดตั้งสหกรณ์จะต้องจัดทำขึ้นให้ถูกต้องตาม รายการที่กำหนดใน พ.ร.บ.สหกรณ์ พ.ศ.2542 มาตรา 43 แล้วเสนอให้ที่ประชุมผู้ซึ่งจะเป็นสมาชิกพิจารณากำหนดเป็น ข้อบังคับของสหกรณ์ เพื่อใช้เป็นหลักในการดำเนินงาน

  37. รายการในข้อบังคับของสหกรณ์รายการในข้อบังคับของสหกรณ์ ชื่อสหกรณ์ ซึ่งต้องมีคำว่า “จำกัด” อยู่ท้ายชื่อ 1 ประเภทของสหกรณ์ 2 วัตถุประสงค์ 3 ที่ตั้งสำนักงานใหญ่และที่ตั้งสำนักงานสาขา 4 ทุนซึ่งแบ่งเป็นหุ้น มูลค่าของหุ้น การชำระค่าหุ้น การขายและการโอนหุ้น ตลอดจนการจ่ายคืนค่าหุ้น 5 ข้อกำหนดเกี่ยวกับการดำเนินงาน การบัญชีและการเงินของสหกรณ์ 6

  38. คุณสมบัติของสมาชิก วิธีรับสมาชิก การขาดจาก สมาชิกภาพ ตลอดจนสิทธิหน้าที่ของสมาชิก 7 ข้อกำหนดเกี่ยวกับการประชุมใหญ่ 8 การเลือกตั้ง การดำรงตำแหน่ง การพ้นจากตำแหน่ง และการประชุมของคณะกรรมการดำเนินการสหกรณ์ 9 การแต่งตั้ง การดำรงตำแหน่ง การพ้นจากตำแหน่ง การกำหนดอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบของผู้จัดการ 10

  39. ระเบียบของสหกรณ์ เป็นระเบียบ หรือข้อกำหนดที่คณะกรรมการดำเนินการ กำหนดขึ้นเพื่อใช้เป็นแนวทางปฏิบัติในการดำเนินงานสหกรณ์ ประกอบด้วย 1. ระเบียบที่ต้องขอความเห็นชอบ ได้แก่ - ระเบียบว่าด้วยการรับฝากเงิน - ระเบียบว่าด้วยการให้สหกรณ์อื่นกู้ยืมเงิน 2. ระเบียบที่คณะกรรมการดำเนินการกำหนด - ระเบียบเกี่ยวกับการเงินการบัญชี - ระเบียบเกี่ยวกับการดำเนินธุรกิจ - ระเบียบเกี่ยวกับการดำเนินงาน

  40. ระเบียบเกี่ยวกับการเงินการบัญชีระเบียบเกี่ยวกับการเงินการบัญชี การรับจ่ายและเก็บรักษาเงิน ระเบียบเกี่ยวกับการดำเนินธุรกิจ การให้เงินกู้และดอกเบี้ยเงินกู้ การจัดหาสิ่งของที่สมาชิกต้องการมาจำหน่าย การจำหน่ายสินค้าเป็นเงินเชื่อ การรวบรวมผลิตผล หรือผลิตภัณฑ์ของสมาชิก การให้บริการแก่สมาชิก ฯลฯ

  41. ระเบียบเกี่ยวกับการดำเนินงานระเบียบเกี่ยวกับการดำเนินงาน ทุนของสหกรณ์ สมาชิก คณะกรรมการ อำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบของเจ้าหน้าที่สหกรณ์ การใช้ทุนสะสมเพื่อสาธารณประโยชน์ การใช้ทุนสะสมเพื่อการพัฒนากิจการสหกรณ์ การใช้ทุนสะสมเพื่อการศึกษาอบรมทางสหกรณ์ ฯลฯ

  42. มติที่ประชุม เป็นแนวทางปฏิบัติในการดำเนินงานของสหกรณ์ที่กำหนดขึ้น โดยมติที่ประชุมใหญ่ และ/หรือมติที่ประชุมคณะกรรมการฯ เช่น การกำหนดวงเงินกู้ยืมและค้ำประกันประจำปี การกำหนดอัตราการเบิกค่าเบี้ยเลี้ยงพาหนะ การปรับ/เลื่อนขั้นเงินเดือนเจ้าหน้าที่สหกรณ์ ฯลฯ

  43. ระบบบัญชีสหกรณ์ ลำดับงานและการบันทึกที่ใช้สรุปผลรายการเพื่อจัดทำข้อมูล ทางการเงินที่เกี่ยวกับการดำเนินงานของสหกรณ์ ระบบบัญชีสหกรณ์ใช้หลักการบัญชีคู่ รายการเงินที่เกิดขึ้น ทุกรายการจะต้องบันทึกบัญชี 2 ด้านเสมอ คือ ด้านเดบิต และด้านเครดิต ซึ่งจำนวนเงินรวมด้านเดบิตต้องเท่ากับ ด้านเครดิตเสมอ

  44. ขั้นตอนในการจัดทำบัญชีขั้นตอนในการจัดทำบัญชี รวบรวมเอกสารประกอบการบันทึกบัญชี บันทึกบัญชีลงในสมุดบันทึกรายการขั้นต้น ผ่านรายการไปยังสมุดบันทึกรายการขั้นปลาย หายอดคงเหลือของบัญชีแยกประเภทและจัดทำงบทดลอง จัดทำงบการเงิน

  45. เอกสารประกอบการบันทึกบัญชีเอกสารประกอบการบันทึกบัญชี สิ่งที่ใช้เป็นหลักฐานบันทึกข้อเท็จจริงตามลักษณะของรายการเงินที่เกิดขึ้น เพื่อแสดงว่าเกิดรายการเงินขึ้นจริงตามจำนวนในเอกสารนั้น แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ เอกสารภายใน และเอกสารภายนอก

  46. เอกสารภายใน เป็นเอกสารที่สหกรณ์จัดทำขึ้นเพื่อบันทึกรายการเงินที่เกิดขึ้น ภายในกิจการ และเก็บไว้เป็นหลักฐานประกอบการบันทึกบัญชี ได้แก่ ใบเสร็จรับเงิน ใบเสร็จรับเงิน/ใบกำกับภาษี ใบรับเงินกู้ ใบรับเงินขายสินค้า ใบกำกับสินค้า ใบกำกับสินค้า/ใบกำกับภาษี ใบกำกับภาษีอย่างย่อ ใบส่งคืนสินค้า ใบสำคัญการให้บริการ ใบเบิกเงิน ใบส่งเงินฝาก ใบถอนเงินฝาก ใบสำคัญรับ ใบสำคัญจ่าย ใบโอนบัญชี เป็นต้น

  47. เอกสารภายนอก เป็นเอกสารที่สหกรณ์ได้รับจากบุคคลภายนอก เช่น ใบเสร็จรับเงินจากผู้ขายสินค้าให้สหกรณ์เป็นเงินสด ใบกำกับสินค้า/ใบส่งของจากผู้ขายสินค้าให้สหกรณ์ เป็นเงินเชื่อ เป็นต้น

  48. การจัดการเอกสารประกอบการบันทึกบัญชีการจัดการเอกสารประกอบการบันทึกบัญชี รวบรวมเอกสารประกอบการบันทึกบัญชี แยกเอกสารออกเป็นแต่ละอย่างตามประเภทบัญชี บวกรวมจำนวนเงินตามเอกสารแต่ละประเภท จัดทำใบสรุปรายการเงิน ได้แก่ ใบสำคัญรับ ใบสำคัญจ่าย และใบโอนบัญชี

  49. สมุดบัญชี แบ่งเป็น 2 ประเภท สมุดบันทึกรายการขั้นต้น สมุดบันทึกรายการขั้นปลาย

  50. สมุดบันทึกรายการขั้นต้นสมุดบันทึกรายการขั้นต้น ใช้บันทึกรายการเงินจากเอกสารประกอบการบันทึกบัญชี เรียงตามลำดับก่อนหลังที่รายการเงินนั้นเกิดขึ้น ประกอบด้วย สมุดเงินสด สมุดซื้อสินค้า สมุดขายสินค้า/สมุดขายสินค้าและรายงานภาษีขาย สมุดรายได้ค่าบริการ/ สมุดรายได้ค่าบริการและรายงานภาษีขาย สมุดรายวันทั่วไป

More Related