1 / 112

วิชากฎหมายพาณิชย์ 2 อ.สุธาสินี ธิติสุทธิ

สัญญายืม. วิชากฎหมายพาณิชย์ 2 อ.สุธาสินี ธิติสุทธิ. ยืมใช้คงรูป ( Loan for use ) ผู้ยืม Borrower. ให้ใช้สอยทรัพย์สินได้เปล่า. ผู้ให้ยืม Lender. คืนทรัพย์สินที่ยืม. ลักษณะของสัญญายืมใช้คงรูป ม. 640. ยืมใช้คงรูป คือสัญญาซึ่งบุคคลคนหนึ่งเรียกว่า ผู้ให้ยืม ให้

Télécharger la présentation

วิชากฎหมายพาณิชย์ 2 อ.สุธาสินี ธิติสุทธิ

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. สัญญายืม วิชากฎหมายพาณิชย์ 2 อ.สุธาสินี ธิติสุทธิ

  2. ยืมใช้คงรูป(Loan for use) ผู้ยืม Borrower ให้ใช้สอยทรัพย์สินได้เปล่า ผู้ให้ยืม Lender คืนทรัพย์สินที่ยืม

  3. ลักษณะของสัญญายืมใช้คงรูป ม. 640 ยืมใช้คงรูป คือสัญญาซึ่งบุคคลคนหนึ่งเรียกว่า ผู้ให้ยืม ให้ บุคคลอีกคนหนึ่งเรียกว่าผู้ยืม ได้ใช้สอยทรัพย์สินสิ่งหนึ่งสิ่งใดได้ เปล่า และผู้ยืมตกลงว่าจะคืนทรัพย์นั้นเมื่อใช้สอยเสร็จแล้ว • เป็นสัญญาที่ไม่มีค่าตอบแทน ย่อมมีผลให้สัญญายืมใช้คงรูปเป็นสัญญาที่ถือเอาตัวผู้ยืมเป็นสาระสำคัญแห่งสัญญาด้วย มาตรา 648 บัญญัติว่า”อันการยืมใช้คงรูปย่อมระงับสิ้นไปด้วยมรณะแห่งผู้ยืม”

  4. เป็นสัญญาที่ไม่มีการโอนกรรมสิทธิ์ในวัตถุแห่งสัญญาเป็นสัญญาที่ไม่มีการโอนกรรมสิทธิ์ในวัตถุแห่งสัญญา • เป็นเพียงการมอบการครอบครองในตัวทรัพย์เท่านั้น ส่วนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์ยังเป็นของผู้ให้ยืม • ผลของการเป็นสัญญาที่ไม่มีการโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์ คือ

  5. 2.1ผู้ให้ยืมอาจไม่ใช่เจ้าของกรรมสิทธิ์ในทรัพย์ที่ให้ยืมก็ได้ตัวอย่าง นายก. เช่าหนังสือ FHM จากร้านดาวมาอ่าน นายก. อาจนำหนังสือเล่มดังกล่าวไปให้นาย ข. ยืมต่อไปก็ได้ สัญญายืมใช้คงรูปมีผลสมบูรณ์ผูกพัน คือ นาย ข.มีหนี้ที่จะต้องคืนหนังสือเล่มเมื่ออ่านเสร็จแล้ว และนายก.ก็มีสิทธิที่จะเรียกให้นาย ข. ส่งมอบหนังสือคืนให้กับตนตามสัญญา รวมทั้งอาจฟ้องเรียกค่าเสียหายจากผู้ยืมที่ทำให้ทรัพย์ที่ยืมเสียหาย เช่น นาย ข. อาจทำหนังสือขาดหรือเปื้อนน้ำ

  6. 2.2 ในกรณีทรัพย์ที่ยืมสูญหายหรือบุบสลายอันเป็นผลจากการกระทำของบุคคลภายนอก ผู้ยืมไม่มีสิทธิเรียกร้องให้มีการชดใช้ราคาทรัพย์ หรือเรียกค่าสินไหมทดแทนในนามของตนเอง • ฎ 1180/2519ก. ยืมรถจักรยานยนต์ของน้องชายแล้วถูก ข. ขับรถชน ก. ฟ้องให้ ข.ใช้ค่าซ่อมและค่าเสื่อมราคาซึ่งเป็นค่าความเสียหายเกี่ยวกับตัวทรัพย์โดยตรงไม่ได้ เพราะไม่ใช่เจ้าของรถ • ฎ 3451/2524ทรัพย์ที่ยืมบุบสลายเพราะการกระทำของบุคคลภายนอก มิใช่เกิดจากการกระทำของผู้ยืม ผู้ยืมจึงไม่ต้องรับผิดต่อเจ้าของทรัพย์ เมื่อไม่ต้องรับผิดต่อเจ้าของทรัพย์ ผู้ยืมก็ไม่อยู่ในฐานะรับช่วงสิทธิของเจ้าของทรัพย์ที่จะเรียกร้องให้ผู้ทำละเมิดรับผิดได้ โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง

  7. 2.3 ถ้าเกิดความวินาศภัยแห่งทรัพย์ที่ยืม โดยมิใช่เป็นความผิดของผู้ยืมแล้ว ผู้ยืมย่อมหลุดพ้นความรับผิดโดยสิ้นเชิง หลักความวินาศแห่งทรัพย์ย่อมตกแก่ผู้เป็นเจ้าของ (Res perit domino) ต.ย. นาย ก. ยืมรถยนต์ นาย ข. ไปตามหาโคที่หายไป รถแล่นความเร็ว30-40 ก.ม./ ชม. มีรถโดยสารชนท้าย รถพลิกคว่ำลงข้างทาง นาย ก.ไม่มีส่วนร่วมในการทำให้รถยนต์เสียหาย เพราะใช้ทรัพย์อย่างวิญญูชนพึงกระทำแล้ว นาย ก. จึงไม่ต้องรับผิดในความเสียหายที่เกิดแก่รถ

  8. ต.ย. ก. ยืมรถ ข. เพื่อใช้ในการเดินทางไปทำงานที่กรุงเทพฯ ในระหว่างใช้รถปรากฏเกิดน้ำท่วมอย่างฉับพลัน ก. บังคับรถไม่ได้ รถถูกน้ำพัดชนราวสะพานทำให้รถยนต์เสียหาย ดังนี้ ก. ไม่ต้องรับผิดในความเสียหายที่เกิดแก่รถ (เกิดจากเหตุสุดวิสัย)

  9. 3. สัญญาบริบูรณ์ต่อเมื่อมีการส่งมอบทรัพย์ ม.641 การส่งมอบ คือ การโอนการครอบครองทรัพย์ที่ยืมจากผู้ให้ยืมไปยังผู้ยืม “บริบูรณ์” Complete หมายความว่าอย่างไร ฝ่ายแรก การส่งมอบเป็นแบบของสัญญายืม หากไม่มีการส่งมอบทรัพย์ แม้ทำเป็นหนังสือ ถือว่าสัญญาไม่บริบูรณ์หรือไม่สมบูรณ์ หรือเป็นโมฆะ ฝ่ายที่สอง การส่งมอบไม่เป็นแบบ การส่งมอบเป็นส่วนประกอบของการแสดงเจตนาในการทำนิติกรรมบางประเภท ถ้าไม่มีการส่งมอบทรัพย์ ถือว่าการแสดงเจตนายังไม่สมบูรณ์ นิติกรรมจึงยังไม่เกิดแต่ไม่ตกเป็นโมฆะ

  10. ไม่บริบูรณ์ is not complete ≠ โมฆะ Void บริบูรณ์ หมายความว่า หากตราบใดผู้ให้ยืมยังไม่ส่งมอบทรัพย์ให้แก่ผู้ยืม สัญญายืมจะยังไม่เกิด ยังบังคับอะไรไม่ได้ แต่เมื่อใดมีการส่งมอบทรัพย์สัญญาก็เกิดขึ้นและผูกพันกัน

  11. สัญญาจะให้ยืมมีได้หรือไม่สัญญาจะให้ยืมมีได้หรือไม่ ก. ขอยืมรถจักรยานยนต์ ข. ใช้ในอาทิตย์หน้า ต่อมา ข. เปลี่ยนใจ ก.จะฟ้องให้ ข. ส่งมอบรถจักรยานยนต์ให้แก่ตนได้หรือไม่

  12. 4. วัตถุแห่งสัญญายืมใช้คงรูปเมื่อพิจารณาตามม. 138 • วัตถุอันมีรูปร่างสังหาริมทรัพย์ ? • อสังหาริมทรัพย์ ? • สำหรับวัตถุไม่มีรูปร่าง ? สัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิ ( licensing agreement)

  13. ผลแห่งสัญญายืมใช้คงรูปผลแห่งสัญญายืมใช้คงรูป 1. สิทธิผู้ยืม • สิทธิที่จะใช้สอยหรือแสวงหาประโยชน์จากตัวทรัพย์ที่ยืมตามสภาพแห่งทรัพย์ที่ผู้ให้ยืมส่งมอบ เช่น ขอยืมชุดใส่ไปงานเลี้ยง ชุดมีรอยขาดจะเรียกให้ผู้ให้ยืมจัดการซ่อมแซมไม่ได้

  14. สิทธิได้ใช้ทรัพย์ที่ยืมตลอดไปตามอายุสัญญาที่ตกลงกัน แยกได้ 2 กรณี • มาตรา 646 “ถ้ามิได้กำหนดเวลากันไว้ ท่านให้คืนทรัพย์สินที่ยืมเมื่อผู้ยืมได้ใช้สอยทรัพย์สินนั้นเสร็จแล้วตามการอันปรากฏในสัญญา แต่ผู้ให้ยืมจะเรียกคืนก่อนนั้นก็ได้ เมื่อเวลาได้ล่วงไปพอแก่การที่ผู้ยืมจะได้ใช้สอยทรัพย์สินนั้นเสร็จแล้ว ถ้าเวลาก็มิได้กำหนดกันไว้ ทั้งในสัญญาก็ไม่ปรากฏว่ายืมไปใช้เพื่อการใดไซร้ ท่านว่าผู้ให้ยืมจะเรียกของคืนเมื่อใดก็ได้”

  15. กรณีไม่ได้กำหนดเวลายืม ต้องให้ผู้ยืมใช้สอยทรัพย์ที่ยืมเสียก่อน จึงจะเรียกคืนได้ แต่ถ้ายืมนานเกินควร ผู้ให้ยืมจะเรียกคืนก่อนก็ได้ ม. 646ว. แรก • เช่น ยืมรถขุด เพื่อขุดดินทำบ่อปลา ไม่ได้กำหนดระยะเวลากันไว้ ผู้ให้ยืมย่อมมีสิทธิเรียกคืนเมื่อขุดบ่อปลาเสร็จแล้ว หรือถ้าระยะเวลาผ่านไป 1 เดือนแล้วก็ยังขุดบ่อปลาไม่เสร็จ ซึ่งตามความเป็นจริงเพียงแค่ 10 วันน่าจะเสร็จ ดังนี้ผู้ให้ยืมก็มีสิทธิเรียกคืนก่อนได้

  16. กรณีไม่ได้กำหนดเวลายืม และ ไม่รู้เอาไปใช้ในการใด ผู้ให้ยืมเรียกคืนทรัพย์ในเวลาใดก็ได้ ม. 646ว. สอง • เช่น ยืมมีดไม่รู้เอาไปใช้ทำอะไร ผู้ให้ยืมมีสิทธิเรียกคืนเมื่อใดก็ได้

  17. 2. หน้าที่หรือหนี้ของผู้ยืม 2.1 การเสียค่าใช้จ่ายต่างๆ ม.642 2.2 ค่าใช้จ่ายรักษาทรัพย์ ม.647 - ผู้ยืมรับผิดชอบเฉพาะค่าใช้จ่ายอันเป็นปกติในการบำรุงรักษาทรัพย์ที่ยืม • ค่าใช้จ่ายพิเศษ ใครควรเป็นผู้รับผิดชอบ ? เช่น รถยนต์ที่ยืมมา คอมพ์แอร์เสีย ไดร์ชาร์ตหรือไดร์สตาร์ทเสียใครรับผิดชอบ

  18. 2.3 การสงวนรักษาทรัพย์ที่ยืม ม.644 - ผู้ยืมมีหน้าที่ต้องสงวนทรัพย์สินเช่นวิญญูชนจะพึงสงวนทรัพย์สินของตนเอง

  19. - ถ้าสงวนทรัพย์สินเช่นวิญญูชนแล้ว ทรัพย์ที่ยืมสูญหายหรือบุบสลาย ผู้ยืมไม่ต้องรับผิดชอบ เช่น คนปกติทั่วไปเมื่อใช้รถเสร็จ ในกรณีที่มีที่จอดรถ ก็ต้องจอดในที่มีรั้วปิดกั้น หรือถ้าไม่มีที่จอดรถต้องจอดข้างถนนก็ต้องล็อคประตู ล็อคกระจก จอดในที่มีแสงสว่าง ไม่ใช่จอดในที่เปลี่ยวไม่มีคน หากผู้ยืมได้ใช้ความระมัดระวังดังกล่าวแล้ว แต่รถยังถูกขโมยหรือถูกทุบกระจกแตก ผู้ยืมก็ไม่ต้องรับผิด

  20. - ดังนั้นถ้าปรากฏว่าผู้ยืมไม่ได้สงวนทรัพย์ที่ยืม หรือสงวนแต่ไม่ถึงระดับของวิญญูชน ถือว่าผู้ยืมผิดหน้าที่ ผู้ให้ยืมย่อมมีสิทธิเรียกค่าสินไหมทดแทน ตามม. 215 และผู้ให้ยืมบอกเลิกสัญญาได้ ตาม ม. 645 หากมีความสูญหายหรือบุบสลายเป็นผลจากการไม่สงวนทรัพย์สินที่ยืม เป็นละเมิดตาม ม.420

  21. 2.4 การใช้ทรัพย์สินที่ยืม ม.643 ม.643 บัญญัติว่า “ทรัพย์สินซึ่งยืมนั้น ถ้าผู้ยืมเอาไปใช้การอย่างอื่นนอกจากการอันเป็นปกติแก่ทรัพย์นั้น หรือนอกจากการปรากฏในสัญญาก็ดี เอาไปให้บุคคลภายนอกใช้สอยก็ดี เอาไว้นานเกินควรกว่าที่เคยจะเอาไว้ก็ดี ท่านว่าผู้ยืมจะต้องรับผิดในเหตุทรัพย์สินนั้นสูญหายหรือบุบสลายไปอย่างหนึ่งอย่างใด แม้ถึงจะเป็นเพราะเหตุสุดวิสัย เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าถึงอย่างไร ทรัพย์สินนั้นก็จะต้องสูญหายหรือบุบสลายอยู่นั่นเอง”

  22. ผู้ยืมมีหน้าที่ 4 กรณี 1. ผู้ยืมต้องไม่เอาทรัพย์ที่ยืมไปใช้เป็นการอย่างอื่นนอกจากการอันปกติแก่ทรัพย์ 2. ผู้ยืมต้องไม่ใช้ทรัพย์ที่ยืมนอกจากการอันปรากฏในสัญญา 3. ผู้ยืมจะต้องไม่นำทรัพย์ที่ยืมไปให้บุคคลภายนอกใช้สอย ฎ 1892/2535 4. ผู้ยืมต้องไม่เอาทรัพย์ที่ยืมไปไว้นานเกินควร

  23. ผู้ยืมผิดหน้าที่ แม้ความเสียหายที่เกิดกับทรัพย์ที่ยืมเป็นเหตุสุดวิสัย มิใช่ความผิดของผู้ยืม ผู้ยืมก็ต้องรับผิดต่อผู้ให้ยืม ตาม ม. 643

  24. ถ้าผู้ยืมไม่ผิดหน้าที่ ผู้ยืมไม่ต้องรับผิด • ต.ย. ยืมโทรศัพท์มือถือมาใช้ 1 อาทิตย์ ยืมได้ 2 วัน ไฟไหม้บ้านผู้ยืม เพราะเพื่อนบ้านประมาทจุดไฟเผาขยะโดยไม่เฝ้า ทำให้โทรศัพท์เสียหาย • แต่ถ้ายืมโทรศัพท์มาใช้ร่วม 1 เดือนไม่ยอมคืน ไฟไหม้โทรศัพท์ ผู้ยืมต้องรับผิดชอบ • เว้นแต่พิสูจน์ได้ว่าอย่างไรโทรศัพท์ก็ต้องสูญหายหรือบุบสลาย เช่น บ้านผู้ยืมและบ้านผู้ให้ยืม บ้านต้นเพลิงอยู่ติดกัน ไฟลามทั้ง 3 หลัง แม้โทรศัพท์อยู่ที่ผู้ให้ยืมก็ต้องเสียหายเพราะไฟไหม้เช่นกัน ผู้ยืมไม่ต้องรับผิด

  25. 2.5 การคืนทรัพย์ที่ยืม • การคืนทรัพย์ที่ยืมต้องเป็นทรัพย์อันเดียวกันกับที่ยืม • ในกรณีที่ผู้ยืมไม่สามารถคืนทรัพย์ที่ยืมได้ เช่น เกิดการสูญหายเพราะความผิดของผู้ยืม ผู้ยืมต้องชดใช้ราคาทรัพย์ที่ยืมแทน

  26. 3. สิทธิของผู้ให้ยืม 3.1สิทธิบอกเลิกสัญญาม. 645 3.2 สิทธิในการเรียกทรัพย์ที่ยืมคืน 3.3 สิทธิเรียกร้องให้ชดใช้ราคาทรัพย์ม. 215 ม.213 ม. 222

  27. 4. หน้าที่หรือหนี้ของผู้ให้ยืม - หนี้ในที่นี้เป็นหนี้ที่เกิดขึ้นภายหลังที่ทำให้ผู้ให้ยืมต้องมีความรับผิดชอบได้ หนี้ดังกล่าวได้แก่ 4.1 การเสียค่าใช้จ่ายบำรุงรักษาทรัพย์ ที่ยืมในกรณีพิเศษ 4.2 การรับผิดเพราะความชำรุดบกพร่องแห่งทรัพย์ที่ยืม

  28. ความสิ้นสุดแห่งสัญญายืมใช้คงรูปความสิ้นสุดแห่งสัญญายืมใช้คงรูป 1. ความมรณะของผู้ยืม ม. 648 2. เมื่อมีการบอกเลิกสัญญา ม. 645 3. เมื่อผู้ยืมคืนทรัพย์ที่ยืมให้แก่ผู้ให้ยืม 4. เมื่อมีการเรียกให้คืนทรัพย์ที่ยืม ม. 646 5. เมื่อทรัพย์ที่ยืมเกิดการสูญหายหรือสิ้นสภาพไป

  29. อายุความ • การใช้สิทธิเรียกร้องอันเกี่ยวกับการปฏิบัติชำระหนี้โดยมิชอบตามสัญญายืมใช้คงรูปมีกำหนดระยะเวลา 6 เดือนนับจากสิ้นสัญญา ตามม. 649 • เช่น นายเอกยืมรถยนต์นายโทมาแล้วทำผิดหน้าที่ ตามมาตรา 643 โดยการนำรถยนต์ไปบรรทุกดิน หินจนรถเสียหาย ผู้ให้ยืมต้องฟ้องภายใน 6 เดือนนับแต่วันสิ้นสัญญา

  30. ฟ้องเพื่อให้ชดใช้ราคาทรัพย์หรือฟ้องเรียกเอาทรัพย์ที่ยืมคืน อาศัยหลักเกณฑ์ทั่วไป คือ 10 ปี ตาม ม. 193/30 • เช่น นายดำยืมรถยนต์ที่นายแดงเช่ามาเพื่อใช้ในการทอดกฐิน มีกำหนดเวลา 7 วัน เมื่อครบกำหนดแล้วนายดำไม่ยอมส่งคืนรถยนต์ให้นายแดง นายแดงจะต้องฟ้องเรียกรถยนต์คืนจากนายดำภายใน 10 ปี

  31. สัญญายืมใช้สิ้นเปลือง ม. 650 มาตรา 650บัญญัติว่า “อันว่ายืมใช้สิ้นเปลืองคือสัญญาซึ่งผู้ให้ยืมโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินชนิดใช้ไปสิ้นไปนั้นเป็นปริมาณมีกำหนดให้แก่ผู้ยืม และผู้ยืมตกลงว่าจะคืนทรัพย์สินเป็นประเภท ชนิด และปริมาณเช่นเดียวกันให้แทนทรัพย์สินซึ่งให้ยืมนั้น สัญญานี้ย่อมบริบูรณ์ต่อเมื่อส่งมอบทรัพย์สินที่ยืม”

  32. สาระสำคัญแห่งสัญญายืมใช้สิ้นเปลืองสาระสำคัญแห่งสัญญายืมใช้สิ้นเปลือง 1. เป็นสัญญาที่มีการโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สิน - ย่อมทำให้ผู้ยืมมีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินนั้น - ผู้ยืมต้องคืนทรัพย์ตามสัญญาเป็นประเภท ชนิด ปริมาณเดียวกันกับทรัพย์สินที่ยืม

  33. 1.1 ผู้ให้ยืมต้องเป็นเจ้าของทรัพย์สินหรือมีกรรมสิทธิ์ที่ให้ยืม - หากผู้ให้ยืมมิได้เป็นเจ้าของ สัญญายืมไม่สมบูรณ์ แม้ผู้ยืมจะยืมโดยสุจริตก็ตาม - อย่างไรก็ตาม ผู้ให้ยืมไม่ได้เป็นเจ้าของทรัพย์ แต่ผู้เป็นเจ้าของทรัพย์ได้รับรองในการกระทำของผู้ให้ยืม ส.ยืมสมบูรณ์ ผู้ยืมได้ประโยชน์จากสัญญา จะปฏิเสธว่าผู้ให้ยืมไม่มีอำนาจฟ้องไม่ได้ ฎ 16/2534 - ผู้ให้ยืมหมดสิทธิในการติดตามเอาทรัพย์คืนในฐานะเป็นเจ้าของทรัพย์ จะมีเพียงสิทธิตาม ส.ยืมเท่านั้น

  34. 1.2 กรณีที่มีความเสียหายหรือสูญหายแก่ทรัพย์ที่ยืม ถ้ามีความเสียหายเกิดขึ้นโดยมิใช่ความผิดของผู้ยืม ผู้ยืมต้องรับผลในความเสียหาย และมีหน้าที่ต้องคืนทรัพย์ จะยกภัยพิบัติที่เกิดขึ้นปฏิเสธความรับผิดในการคืนทรัพย์ที่ยืมตามสัญญาไม่ได้

  35. ตัวอย่าง นาย ก. ยืมปูนซีเมนต์ ตราช้าง จากร้านนาย ข. 10 ถุง มาขายให้ลูกค้า หลังจากรับปูนมาแล้วน้ำท่วม ปูนที่ยืมมาเสียหายทั้งหมด ดังนี้ นายก. ต้องรับผลในความเสียหายนั้น และเมื่อถึงกำหนดต้องคืนปูน 10 ถุงให้แก่ นาย ข.

  36. 2. เป็นสัญญาที่มีค่าตอบแทนได้2. เป็นสัญญาที่มีค่าตอบแทนได้ มีค่าตอบแทนในการใช้ทรัพย์ได้ ยืมเงินตกลงให้ดอกเบี้ย ร้อยละ 15 ต่อปี ยืมข้าวเปลือก 2 ถังตกลงให้ข้าวเปลือก 1 ถัง

  37. 3. วัตถุแห่งสัญญายืมใช้สิ้นเปลือง3. วัตถุแห่งสัญญายืมใช้สิ้นเปลือง - “ทรัพย์ชนิดใช้ไปสิ้นไป” หมายความถึง ทรัพย์สินประเภทที่เมื่อมีการใช้ทรัพย์นั้นแล้ว ตัวทรัพย์สินนั้นย่อมจะเสื่อมสภาวะสลายหายไป หรือสิ้นเปลืองหมดไป เรียกว่า “โภคยทรัพย์”

  38. ข้อสังเกต • อย่างไรก็ตามแม้ตามสภาพแห่งทรัพย์จะไม่สิ้นไปหมดไปเพราะการใช้ก็ตาม แต่หากต้องการจะใช้ในลักษณะที่เป็นการทำลายก็ได้ เช่น การขอยืมโคมาฆ่าเพื่อทำอาหารเลี้ยงแขก หรือขอยืมไม้ ตะปู สังกะสีเพื่อนำมาปลูกบ้าน ซึ่งถือเป็นการเอาทรัพย์นั้นมาอย่างเด็ดขาด • ฎ 905/2505

  39. 4. เป็นสัญญาที่ตกลงคืนทรัพย์ที่ยืมด้วยทรัพย์สินอื่นที่เป็นประเภท ชนิดและปริมาณเดียวกับที่ยืม 5. เป็นสัญญาที่สมบูรณ์โดยการส่งมอบ

  40. ผลแห่งสัญญายืมใช้สิ้นเปลืองผลแห่งสัญญายืมใช้สิ้นเปลือง 1. หนี้ในการเสียค่าใช้จ่าย ม.651 2. หนี้ในการคืนทรัพย์สินที่ยืม แยกพิจารณาได้ดังนี้ 2.1 สัญญายืมมีกำหนดเวลาใช้คืน ส.กำหนดเวลาชำระหนี้ไว้แน่นอน เมื่อฝ่ายหนึ่งผิดนัด อีกฝ่ายมีสิทธิบอกเลิก ส. ได้โดยไม่ต้องบอกกล่าวก่อน ฎ 2220/2538

  41. ในกรณีผู้ยืมตายก่อนถึงกำหนดชำระใน ส. ผู้ให้กู้มีสิทธิเรียกให้ผู้รับมรดกหรือผู้จัดการมรดกชำระหนี้ทันทีได้หรือไม่ ฎ 3994/2540 ผู้ให้ยืมต้องทวงถามก่อนหรือไม่ ฎ 2620/2517 สัญญากู้มีข้อความว่า “ผู้กู้จะชำระหนี้ให้เสร็จสิ้นภายใน 5 ปี แต่ผู้ให้กู้มีสิทธิเรียกให้ผู้กู้ชำระหนี้ทั้งหมดหรือบางส่วนก่อนถึงกำหนดได้โดยผู้ให้กู้ไม่ต้องแสดงเหตุผล” ข้อสัญญานี้ใช้บังคับได้หรือไม่ ดูใน ฎ 866/2534,ฎ 6216/2537,ฎ 5760/2540

  42. 2.2 สัญญายืมไม่มีกำหนดระยะเวลาใช้คืน ม. 652“ผู้ให้ยืมจะบอกกล่าว...ก็ได้”จะตีความอย่างไร ? ฝ่ายแรก ผู้ให้ยืมมีสิทธิเลือกว่าจะใช้สิทธิเรียกโดยพลัน ตามม. 203 หรือใช้วิธีบอกกล่าว ตามม. 652 ตามแต่จะเลือก ฝ่ายที่สอง ผู้ให้ยืมจะต้องบอกกล่าวแก่ผู้ยืมเสียก่อนว่าจะให้คืนทรัพย์เมื่อใดม.652

  43. ในกรณีผู้ยืมไม่ชำระหนี้ (คืนทรัพย์สิน) ผู้ให้ยืมย่อมมีสิทธิฟ้องเรียกให้ชดใช้ราคาทรัพย์ที่ยืม และอาจเรียกค่าเสียหายอันเกิดจากการไม่ชำระหนี้ ได้ตาม ม. 222 การฟ้องเรียกให้ชดใช้ราคาทรัพย์สินที่เป็นประเภท ชนิด ปริมาณเดียวกันกับทรัพย์ที่ยืม จะคิดราคา ณ.เวลาและ สถานที่ใด เช่น ยืมน้ำปลา 1 โหล ขณะยืมขวดละ 20 บาท ต่อมาผู้ให้ยืมเรียกให้คืน น้ำปลาขวดละ 25 บาท ถ้าผู้ยืมไม่สามารถคืนน้ำปลาได้ ต้องชดใช้ในราคาขวดละเท่าไร

  44. อายุความ 1. กรณียืมใช้สิ้นเปลืองทั่วไปใช้อายุความ 10 ปี นับแต่วันที่หนี้ตาม ส.ยืมถึงกำหนดชำระตามมาตรา 193/30 - ถ้าไม่ได้ตกลงกันไว้ว่าคืนเมื่อใดและอนุมานโดยพฤติการณ์ทั้งปวงไม่ได้ ผู้ให้ยืมมีสิทธิเรียกคืนได้โดยพลัน ม. 203 ว.หนึ่ง อายุความ 10 ปีเริ่มนับแต่ขณะที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้เป็นต้นไป (นับแต่วันที่ยืม) ม.193/12

  45. การที่ลูกหนี้ชำระหนี้บางส่วนเป็นการรับสภาพหนี้ อายุความสะดุดหยุดลง ต้องเริ่มนับอายุความใหม่เวลาใด ความเห็นแรก ต้องเริ่มนับอายุความใหม่นับถัดจากวันที่มีการชำระหนี้ ตามม. 193/3 ว. 2 และม. 193/15 ว.2 ความเห็นที่สอง ต้องเริ่มนับอายุความใหม่ตั้งแต่เวลาเมื่อเหตุที่ทำให้อายุความสะดุดหยุดลงนั้นสิ้นสุดลง คือ เริ่มนับตั้งแต่วันที่ลูกหนี้รับสภาพหนี้ ม. 193/15 ว.2

  46. 2. กรณีผ่อนชำระหนี้เป็นงวด มีอายุความ 5 ปี ตามมาตรา 193/33(2) ฎ 2075/2540 บ.กู้เงินโจทก์โดยตกลงผ่อนชำเงินต้นและดอกเบี้ยให้แก่โจทก์เป็นรายเดือนตามตรารางชำระหนี้ของ ส.กู้ยืม ถือได้ว่า บ. ตกลงชำระหนี้เพื่อผ่อนทุนเป็นงวดๆ สิทธิเรียกร้องของโจทก์จึงมีอายุความ 5 ปี

  47. 3. กรณีผู้ยืมตายก่อนหนี้ถึงกำหนดชำระ ผู้ให้ยืมต้องฟ้องทายาทของผู้ยืมภายใน 1 ปี นับแต่วันที่ผู้ยืมได้รู้หรือควรได้รู้ความตายของผู้ยืม ตามม. 1754 ว.3 โดยไม่ต้องรอให้หนี้ถึงกำหนดชำระตามสัญญา

  48. ยืมใช้คงรูป ลักษณะการใช้ไม่ทำให้เสียภาวะหรือเสื่อมเสีย ผู้ให้ยืมไม่จำเป็นต้องเป็นเจ้าของ ไม่มีการโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่ยืม ยืมใช้สิ้นเปลือง ลักษณะการใช้ทำให้เสื่อมภาวะหรือเสื่อมเสีย และทำให้สิ้นเปลืองหมดไป ผู้ให้ยืมต้องเป็นเจ้าของทรัพย์สิน มีการโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่ยืม ความแตกต่างระหว่างยืมใช้คงรูปและยืมใช้สิ้นเปลือง

More Related