120 likes | 278 Vues
แผนแม่บทด้านการส่งเสริมความเสมอภาคระหว่างหญิงชาย กรมส่งเสริมสหกรณ์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. ระยะเวลา 5 ปี (ระหว่างปี 2550-2554). หลักการและเหตุผล. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 มาตรา 30 บุคคลย่อมเสมอภาคกันในกฎหมายและได้รับความคุ้มครองตาม
E N D
แผนแม่บทด้านการส่งเสริมความเสมอภาคระหว่างหญิงชายกรมส่งเสริมสหกรณ์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ระยะเวลา 5 ปี (ระหว่างปี 2550-2554)
หลักการและเหตุผล • รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 มาตรา 30 บุคคลย่อมเสมอภาคกันในกฎหมายและได้รับความคุ้มครองตาม กฎหมายเท่าเทียมกัน ชายและหญิงมีสิทธิเท่าเทียมกัน มาตรา 80 รัฐต้องส่งเสริมความเสมอภาคของหญิงชาย • คณะรัฐมนตรีได้มีมติ เมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม 2544 กำหนดให้มี CGEO (Chief Gender Equality Officer) ในทุกกระทรวง ทบวง กรม โดยมอบหมายผู้บริหารระดับรองปลัดกระทรวงหรือรองอธิบดีขึ้นไป จำนวน 1 คน ปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้บริหารด้านการเสริมสร้างความเสมอภาคหญิงชายในหน่วยงาน และกำหนดให้มีการจัดตั้งหน่วยงานระดับสำนัก/กอง ทำหน้าที่เป็น Focal Point หรือศูนย์ประสานงานด้านความเสมอภาคระหว่างหญิงชายประจำกระทรวง ทบวง กรม
วิสัยทัศน์ “ บุคลากรของกรมส่งเสริมสหกรณ์ปฏิบัติหน้าที่ โดยตระหนักถึงบทบาทหญิงชาย ”
เป้าหมาย 1. การแยกเพศในฐานข้อมูลทุกฐาน เช่น บุคลากรของกรมฯ การแต่งตั้งคณะกรรมการ/ คณะทำงาน บุคลากรของสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกร และผู้รับบริการ 2. การพัฒนาศักยภาพของข้าราชการเกี่ยวกับเรื่องมุมมองหญิงชาย และการบูรณาการ บทบาทหญิงชายอย่างต่อเนื่องและทั่วถึง 3. การสร้างการตระหนักรับรู้และเผยแพร่เกี่ยวกับบทบาทหญิงชาย ความเสมอภาคทั้งในและ นอกราชการอย่างสม่ำเสมอ 4. การจัดสภาพแวดล้อมที่คำนึงถึงมิติหญิงชายและเอื้อต่อประสิทธิภาพของการทำงานของ หญิงและชายอย่างสูงสุด 5. องค์คณะที่ส่วนราชการตั้งขึ้นทำหน้าที่ต่าง ๆ ในกระบวนการบริหารงานบุคคลที่มี สัดส่วนของหญิงชายที่เหมาะสม หรือเพศใดเพศหนึ่งไม่เกิน 2 ใน 3 หรือสะท้อนสัดส่วน ของกลุ่มข้าราชการหญิงชายที่เกี่ยวข้อง 6. การจัดสรรงบประมาณที่เพียงพอเพื่อการเสริมสร้างความเสมอภาคระหว่างหญิงชาย
กลยุทธ์หลัก : บูรณาการมิติหญิงชายในภารกิจหลักของกรมส่งเสริมสหกรณ์ เพื่อลงสู่กลุ่มเป้าหมาย (สหกรณ์ / กลุ่มเกษตรกร / กลุ่มอาชีพ) ในด้านต่างๆ • แผนงานการจัดทำข้อมูลและสารสนเทศจำแนกเพศ • แผนงานพัฒนาด้านการส่งเสริมความเสมอภาคระหว่างหญิงชาย • แผนงานการมีส่วนร่วมทางเศรษฐกิจ/อาชีพ/การทำงาน • แผนงานการมีส่วนร่วมการตัดสินใจ/การบริหาร/การเป็นผู้นำในสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร
กลยุทธ์รอง : บูรณาการมิติหญิงชายในการสร้างความเสมอภาคระหว่างหญิงชายในกรมส่งเสริมสหกรณ์ • แผนงานด้านข้อมูล และองค์ความรู้เกี่ยวกับบทบาทหญิงชาย (การจัดเก็บข้อมูลจำแนกเพศ) • แผนงานด้านการพัฒนาข้าราชการ • แผนงานด้านการสร้างเครือข่าย • แผนงานด้านการพัฒนากลไกในการทำงาน (กฎ ระเบียบและข้อปฏิบัติต่างๆ) • แผนงานขจัดความรุนแรงในครอบครัว/ชุมชน/ที่ทำงาน
กลยุทธ์หลัก : บูรณาการมิติหญิงชายในภารกิจหลักของกรมส่งเสริมสหกรณ์เพื่อลงสู่กลุ่มเป้าหมาย (สหกรณ์ กลุ่มเกษตรกร กลุ่มอาชีพ) ในด้านต่างๆ
กลยุทธ์รอง : บูรณาการมิติหญิงชายในการสร้างความเสมอภาคระหว่างหญิงชายในกรมส่งเสริมสหกรณ์