230 likes | 457 Vues
รายงานสรุป. โครงการพัฒนาลุ่มน้ำสายบุรีตอนล่าง และพรุบาเจาะ - ไม้แก่น. สำนักงานก่อสร้าง 13 (โครงการลำรูใหญ่) สำนักโครงการขนาดใหญ่ กรมชลประทาน. ความเป็นมาของโตรงการ.
E N D
รายงานสรุป โครงการพัฒนาลุ่มน้ำสายบุรีตอนล่าง และพรุบาเจาะ - ไม้แก่น สำนักงานก่อสร้าง 13 (โครงการลำรูใหญ่) สำนักโครงการขนาดใหญ่ กรมชลประทาน
ความเป็นมาของโตรงการ จากพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในคราวเสด็จ พระราชดำเนินทรงเยี่ยมราษฎร ในเขตพื้นที่ จ.นราธิวาส ถึงโครงการพัฒนาลุ่มน้ำสายบุรีตอนล่าง มีสาระสำคัญดังนี้ ครั้งที่ 1 วันที่ 28 กันยายน 2528 “ ควรพิจารณาสร้างเขื่อนทดน้ำ ในลำน้ำสายบุรีตอนล่าง บริเวณอำเภอรามัน จังหวัดยะลา เพื่อจัดหาส่งน้ำในพื้นที่เพาะปลูกสองฝั่งแม่น้ำสายบุรีตอนล่าง ในเขตอำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี และในเขตอำเภอบาเจาะ จังหวัดนราธิวาส ทั้งนี้เพื่อให้ราษฎรในเขตโครงการสามารถทำการเพาะปลูกได้ตลอดปี นอกจากนี้ยังช่วยให้ราษฎรในเขตโครงการจนจรดชายทะเลมีน้ำจืดไว้ใช้เพื่อการอุปโภคบริโภคได้ตลอดปีอีกด้วย ”
ครั้งที่ 2 วันที่ 3 ตุลาคม 2535 “ควรเร่งรัดงานก่อสร้างโครงการพัฒนาลุ่มน้ำสายบุรีตอนล่าง อันเนื่องมาจากพระราชดำริให้เสร็จโดยเร็ว และควรพิจารณาความเป็นไปได้ในการขยายระบบส่งน้ำทางฝั่งซ้ายไปช่วยเสริมโครงการพัฒนาลุ่มน้ำคลองน้ำจืด - คลองแฆ แฆ อำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี ด้วย” วันที่ 8 มกราคม 2530 กรมชลประทานได้ตั้งคณะทำงานเฉพาะกิจโครงการพัฒนาลุ่มน้ำสายบุรีตอนล่าง อันเนื่องมาจากพระราชดำริ โดยมีรองอธิบดีฝ่ายก่อสร้างเป็นประธานคณะทำงาน ทำหน้าที่ทบทวนรายงานและจัดทำรายงานความเหมาะสมโครงการพัฒนาลุ่มน้ำสายบุรี ให้สอดคล้องกับพระราชดำริ ผลการศึกษาสรุปว่าการสร้างเขื่อนทดน้ำ ณ บ้านกะดูตง ตำบลอาซอง อำเภอรามัน จังหวัดยะลา มีความเหมาะสม โดยมีผลวิเคราะห์ด้านเศรษฐกิจสามารถให้อัตราผลตอบแทนต่อทุนร้อยละ 13.8 สมควรได้รับการพัฒนาเป็นอย่างยิ่ง
วัตถุประสงค์ของโครงการวัตถุประสงค์ของโครงการ 1. เพื่อพัฒนาแหล่งน้ำต้นทุนให้แก่พื้นที่เพาะปลูกในพื้นที่โครงการพัฒนาลุ่มน้ำสายบุรีตอนล่าง และพื้นที่โครงการชลประทานพรุบาเจาะ-ไม้แก่น 2. เพื่อพัฒนาระบบชลประทานในพื้นที่โครงการพัฒนาลุ่มน้ำสายบุรีตอนล่างให้เกิดประโยชน์เต็มตามศักยภาพของปริมาณน้ำต้นทุน และสภาพสิ่งแวดล้อมในพื้นที่โครงการ 3. เพื่อป้องกันและบรรเทาอุทกภัยในเขตพื้นที่ของโครงการทั้งสอง พร้อมทั้งป้องกันปัญหาไฟไหม้พรุ ในพื้นที่โครงการชลประทานพรุบาเจาะ-ไม้แก่น 4. เพื่อป้องกันการรุกตัวของน้ำเค็ม ในพื้นที่โครงการพัฒนาลุ่มน้ำสายบุรีตอนล่าง 5. เพื่อลดปัญหาดินเปรี้ยวและน้ำเปรี้ยว ในพื้นที่โครงการทั้งสอง เพื่อเพิ่มผลผลิตการเกษตรให้แก่ราษฎร และเพื่อป้องกันผลกระทบของน้ำเปรี้ยวต่อการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในพื้นที่โครงการ 6. เพื่อยกระดับความเป็นอยู่ให้แก่ราษฎรในเขตพื้นที่โครงการทั้งสองให้ดีขึ้น
จ.นราธิวาส ขอบเขตลุ่มน้ำจังหวัดนราธิวาส ลุ่มน้ำบางนรา พื้นที่ลุ่มน้ำ 1518 กม.2 ปริมาณน้ำท่า 2383.79 ล้าน ม.3 ลุ่มน้ำสายบุรี พื้นที่ลุ่มน้ำ 3131.70 กม.2 ปริมาณน้ำท่า 5174.78 ล้าน ม.3 ลุ่มน้ำโก-ลก พื้นที่ลุ่มน้ำ 2130 กม.2 ปริมาณน้ำท่า 2037.26 ล้าน ม.3
ที่ตั้งและอาณาเขตพื้นที่โครงการที่ตั้งและอาณาเขตพื้นที่โครงการ (1) โครงการพัฒนาลุ่มน้ำสายบุรีตอนล่าง มีพื้นที่โครงการประมาณ 78,735 ไร่ ครอบคลุมพื้นที่อำเภอสายบุรี อำเภอไม้แก่น จังหวัดปัตตานี และอำเภอบาเจาะ จังหวัดนราธิวาส โดยมีอาณาเขตดังนี้.- ทิศเหนือ จรดอ่าวไทย ทิศตะวันออก จรดอำเภอบาเจาะ จังหวัดนราธิวาส โครงการชลประทานพรุบาเจาะ-ไม้แก่น ทิศใต้ จรดอำเภอรามัน จังหวัดยะลา ทิศตะวันตก จรดอำเภอสายบุรี อำเภอกะพ้อ จังหวัดปัตตานี (ดูภาพที่ 1 ประกอบ) (2) โครงการชลประทานพรุบาเจาะ-ไม้แก่น มีพื้นที่โครงการ 94,000 ไร่ ครอบคลุมพื้นที่อำเภอบาเจาะ อำเภอยี่งอ อำเภอเมืองนราธิวาส และอำเภอไม้แก่น จังหวัดปัตตานี โดยมีอาณาเขตดังนี้.- ทิศเหนือ จรดอำเภอไม้แก่น จังหวัดปัตตานี และอ่าวไทย ทิศตะวันออกจรดอ่าวไทย ทิศใต้ จรดอำเภอเมืองนราธิวาส ทิศตะวันตก จรดอำเภอบาเจาะ จังหวัดนราธิวาส
โครงการพัฒนาลุ่มน้ำ สายบุรีตอนล่าง โครงการชลประทานพรุบาเจาะไม้แก่น ภาพที่ 1แสดงตำแหน่งที่ตั้งหัวงาน โครงการพัฒนาลุ่มน้ำสายบุรีตอนล่าง และพรุบาเจาะ-ไม้แก่น
การพัฒนาแหล่งน้ำในลุ่มน้ำสายบุรีถึงปัจจุบันการพัฒนาแหล่งน้ำในลุ่มน้ำสายบุรีถึงปัจจุบัน โครงการชลประทานขนาดเล็ก จำนวน 128 โครงการ พื้นที่ชลประทาน 62,810 ไร่ การประเมินความต้องการน้ำในลุ่มน้ำนี้ ปี 2547 132..66 ล้าน ม.3 ปี 2550 158.62 ล้าน ม.3 ปี 2560 245.14 ล้าน ม.3 ปริมาณน้ำท่าของลุ่มน้ำ 5,174.78 ล้าน ม.3/ปี
สภาพอุทกวิทยาทั่วไป พื้นที่รับน้ำสายบุรี 2,710.10 ตารางกิโลเมตร พื้นที่รับน้ำพรุบาเจาะ-ไม้แก่น 421.60 ตารางกิโลเมตร ปริมาณฝนรายปีเฉลี่ย 2,463.30 มิลลิเมตร ปริมาณฝนต่ำสุด 1,180.40 มิลลิเมตร/ปี ปริมาณฝนสูงสุด 4,070.60 มิลลิเมตร/ปี ฝนตกเฉลี่ยทั้งปี 135.68 วัน ปริมาณน้ำท่าเฉลี่ยที่ปากแม่น้ำสายบุรี 4,611.35 ล้านลูกบาศก์เมตร/ปี ปริมาณน้ำท่าเฉลี่ยในลุ่มน้ำพรุบาเจาะ-ไม้แก่น 563.43 ล้านลูกบาศก์เมตร/ปี
ลักษณะพื้นที่และสภาพปัญหาของโครงการลักษณะพื้นที่และสภาพปัญหาของโครงการ 1. การวางโครงการในพื้นที่ลุ่มน้ำสายบุรี : สภาพปัญหาในลุ่มน้ำสายบุรีตอนล่าง ที่สำคัญได้แก่ ปัญหาการขาดแคลนน้ำเพื่อใช้ในการเพาะปลูก 2. การวางโครงการในพื้นที่ลุ่มน้ำพรุบาเจาะ-ไม้แก่น : ทำเพื่อแก้ไขปัญหาที่สำคัญ สรุปได้ดังนี้ (ก) การระบายน้ำเปรี้ยว : การระบายน้ำเปรี้ยวออกทางประตูน้ำไม้แก่น ได้ทำให้เกิดผลกระทบต่อการเลี้ยงปลากะพงทางด้านท้ายน้ำ ผลการศึกษาเสนอให้ขุดคลองระบายน้ำอีกสายหนึ่ง เชื่อมต่อกับคลองไม้แก่นบริเวณด้านเหนือน้ำของประตูระบายน้ำไม้แก่น เพื่อตัดตรงออกสู่ทะเล สำหรับการระบายน้ำเปรี้ยวออกสู่ทะเลได้โดยไม่ต้องผ่านประตูระบายน้ำไม้แก่น
(ข) การชะล้างดินเปรี้ยวเพื่อการเพาะปลูก : ในการแก้ปัญหานี้ได้เสนอให้ใช้วิธีการที่ได้มีการศึกษาและทดลองกันอยู่แล้ว เช่น การใช้น้ำชะล้างความเป็นกรด และการใส่หินปูนฝุ่น (ค) การป้องกันปัญหาไฟไหม้พรุ : เนื่องจากพื้นที่โครงการมีขนาดใหญ่ คลองระบายน้ำที่มีอยู่มีจำนวนไม่เพียงพอ ที่จะเก็บกักน้ำไว้ได้ทั่วถึง จึงเสนอให้ขุดคลองเพิ่มเติม พร้อมทั้งสร้างอาคารบังคับน้ำที่จำเป็น รวมทั้งการขุดคูน้ำเพื่อกระจายน้ำเข้าไปในพรุ เพื่อป้องกันการเกิดไฟไหม้พรุ และเก็บกักน้ำไว้ใช้ในการควบคุมไฟ กรณีมีไฟไหม้พรุอีกด้วย (ง) การขาดแคลนน้ำ : เนื่องจากพื้นที่ลุ่มน้ำพรุบาเจาะ-ไม้แก่น ไม่มีแหล่งน้ำต้นทุนในการวางแผนแก้ไขปัญหา การขาดแคลนน้ำ จึงจำเป็นต้องอาศัยน้ำท่า ซึ่งผันมาจากแม่น้ำสายบุรี โดยอาศัยโครงการพัฒนาลุ่มน้ำสายบุรีตอนล่าง
แนวทางการพัฒนาโครงการ ฯ 1 โครงการพัฒนาลุ่มน้ำสายบุรีตอนล่าง องค์ประกอบโครงการพัฒนาลุ่มน้ำสายบุรีตอนล่าง ที่เสนอมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อการแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำมีองค์ประกอบดังนี้ ก) ประตูระบายน้ำ คสล. ขนาดช่องบานระบาย 12.50 เมตร สูง 6.00 เมตร จำนวน 8 ช่อง (ข) ประตูระบายปากคลองส่งน้ำฝั่งขวา ขนาดช่องระบายน้ำ กว้าง 6.00 เมตร จำนวน 1 ช่อง บานระบายน้ำเป็นบานเหล็กชนิดบานโค้ง ขนาด 6.00 x 3.50 เมตร ส่งน้ำผ่านท่อระบายน้ำ ขนาด 2 – 2.85 X 3.00 เมตร สามารถระบายน้ำผ่านท่อได้ 13.00 ลบ.ม./วินาที สามารถส่งน้ำให้กับโครงการพัฒนาลุ่มน้ำสายบุรีตอนล่าง ในอัตรา 9.00 ลบ.ม./วินาที และส่งน้ำไปช่วยโครงการชลประทานพรุบาเจาะ-ไม้แก่น ในอัตรา 4.00 ลบ.ม./วินาที
1 โครงการพัฒนาลุ่มน้ำสายบุรีตอนล่าง (ต่อ) (ค) ทางระบายน้ำล้นฉุกเฉิน : ขนาดความยาวสันทางระบายน้ำล้น 650.00 เมตร สามารถระบายน้ำผ่านได้ 400.00 ลบ.ม./วินาที (ง) ทำนบดินปิดกั้นลำน้ำเดิม : เป็นทำนบดินประเภท Homogeneous type ความสูง (จากท้องน้ำ) ประมาณ 17.00 เมตร ความยาวสันทำนบ 220.00 เมตร
1 โครงการพัฒนาลุ่มน้ำสายบุรีตอนล่าง (ต่อ) (จ) ระบบชลประทาน ประกอบด้วย ระบบส่งน้ำชลประทานและระบบระบายน้ำสำหรับพื้นที่ชลประทาน ประมาณ 39,530 ไร่ ในลุ่มน้ำสายบุรีตอนล่าง ซึ่งรับน้ำในอัตราประมาณ 13.00 ลบ.ม./วินาที จากประตูระบายปากคลองส่งน้ำฝั่งขวา โดยมีคลองส่งน้ำดาดคอนกรีต อาคารประกอบคอนกรีตเสริมเหล็ก และสะพานน้ำ จำนวน 25 สาย ยาวรวมประมาณ 140.00 กิโลเมตร มีคลองระบายน้ำรวม 13 สาย เป็นคลองระบายน้ำสายใหญ่ 7 สาย คลองสายซอย 6 สาย รวมความยาวทั้งสิ้น 42.00 กิโลเมตร (ฉ) คันกั้นน้ำเค็ม จำนวน 7 สาย ยาวรวม 1.50 กิโลเมตร ความกว้างหลังคัน 6.00 เมตร ระดับหลังคันกั้นน้ำเค็มอยู่ที่ +2.00 เมตร รทก. ซึ่งสูงกว่าระดับน้ำทะเลสูงสุดมากกว่า 1.00 เมตร
2 โครงการพรุบาเจาะ-ไม้แก่น มีองค์ประกอบดังนี้ (ก) องค์ประกอบโครงการเพื่อลดปัญหาการขาดแคลนน้ำ ประกอบด้วยระบบส่งน้ำให้กับพื้นที่ปลูกปาล์มน้ำมัน ประมาณ 20,000 ไร่ ในพื้นที่นิคมสหกรณ์บาเจาะ โดยส่งน้ำด้วยอัตราส่งน้ำสูงสุดประมาณ 4.00 ลูกบาศก์เมตร/วินาที จากอาคารหัวงานในข้อ (7.2.1) (ก) ประกอบด้วยคลองยาว 5.00 กิโลเมตร ขนาดส่งน้ำได้ 3.80 ลูกบาศก์เมตร/วินาที และการผันน้ำมาจากแม่น้ำยะกังในระยะสั้น ซึ่งเป็นการปรับปรุงคลองเดิมยาว 4.40 กิโลเมตร และขุดคลองผันน้ำยาว 4.90 กิโลเมตร ขนาดส่งน้ำได้ 3.17 ลูกบาศก์เมตร/วินาที
2 โครงการพรุบาเจาะ-ไม้แก่น (ต่อ) ข) องค์ประกอบโครงการเพื่อการป้องกันน้ำท่วมและไฟไหม้พรุ ประกอบด้วยการขุดลอกคลองระบายน้ำเดิม และการขุดคลองใหม่สายที่ 4 ยาวรวม 13.30 กิโลเมตร จากพรุบาเจาะ ขนาดระบายน้ำได้ 4.85 ลูกบาศก์เมตร/วินาที พร้อมอาคารบังคับน้ำในพรุบาเจาะ (ทรบ. ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 1.00 เมตร และ ทรบ.ขนาด 2.40 เมตร x 2.00 เมตร 4 ช่อง จำนวน 1 แห่ง กับอาคารระบายน้ำล้น 1 แห่ง) ซึ่งคลองระบายน้ำมีวัตถุประสงค์เพื่อระบายน้ำท่วมออกจากพรุในฤดูฝน และเพื่อเก็บกักน้ำไว้ใช้ในการป้องกันและควบคุมไฟไหม้พรุในฤดูแล้ง (ค) องค์ประกอบโครงการเพื่อการระบายน้ำเปรี้ยว ประกอบด้วยคลองระบายน้ำเปรี้ยวขุดใหม่ ยาว 5.30 กิโลเมตร ซึ่งระบายน้ำเปรี้ยวจากคลองระบายน้ำสายที่ 1 ไประบายลงทะเลโดยตรง มิให้ระบายลงคลองสายบุรีในช่วงฤดูฝน ขนาดระบายน้ำได้ 21.00 ลูกบาศก์เมตร/วินาที เพื่อลดปัญหาของน้ำเปรี้ยวจากคลองระบายดังกล่าว ซึ่งในปัจจุบันมีผลกระทบต่อการเลี้ยงปลากะพงในคลองสายบุรี
พื้นที่โครงการพัฒนาลุ่มน้ำพื้นที่โครงการพัฒนาลุ่มน้ำ สายบุรีตอนล่าง หัวงานโครงการ ประตูระบายน้ำ พื้นที่โครงการพรุบาเจาะ - ไม้แก่น ภาพที่ 2แสดงตำแหน่งที่ตั้งหัวงาน โครงการพัฒนาลุ่มน้ำสายบุรีตอนล่าง และพรุบาเจาะ-ไม้แก่น
ระยะเวลาดำเนินการ อยู่ระหว่างการพิจารณาเปิดโครงการและดำเนินการสอบถามความเห็นจากผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย ราคาค่าก่อสร้างโครงการ งบประมาณในการดำเนินการก่อสร้างโครงการ ฯ รวมประมาณ 3,000 ล้านบาท
ผลประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับผลประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ 1.โครงการพัฒนาลุ่มน้ำสายบุรีตอนล่าง พื้นที่ชลประทานในฤดูฝน 39,530 ไร่ พื้นที่ชลประทานในฤดูแล้ง 10,475 ไร่ พื้นที่ปลูกผลไม้ 4,500 ไร่ 2.โครงการพรุบาเจาะ-ไม้แก่น พื้นที่ปลูกปาล์มน้ำมันตลอดปี 20,000 ไร่
ผลประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ (ต่อ) 3. ช่วยป้องกันไฟไหม้พรุ 4. ช่วยป้องกันน้ำท่วมที่เกิดจากพรุ 5. สามารถระบายน้ำเปรี้ยวลงสู่ทะเลโดยตรง ไม่ต้องระบายลงสู่บริเวณที่เลี้ยงปลากะพงในคลองสายบุรี 6. ช่วยให้ผลผลิตทางการเกษตรสูงขึ้น เปรียบเทียบกับการเกษตรที่ไม่มีการพัฒนา 7. เพิ่มผลผลิตทางการประมง
การติดต่อกับโครงการฯ โครงการก่อสร้าง 13 (โก-ลก) หมู่ที่ 3 ตำบลพร่อน อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส 96110 โทรศัพท์ / โทรสาร หมายเลข 0-7353-9112
ความก้าวหน้าของโครงการ ฯ อยู่ระหว่างการพิจารณาเปิดโครงการ และดำเนินการสอบถามความเห็นจากผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย โดยนัดประชุมผู้แทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้นำชุมชน ในเขต จ.นราธิวาส ครั้งแรก เมื่อวันที่ 30 สิงหาคม 2547 ความคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากการประชุม 1. ต้องธำรงไว้ซึ่งขนบธรรมเนียมและประเพณีของท้องถิ่น 2. ต้องจ่ายเงินค่ารื้อย้ายและผลอาสิน ด้วยความเป็นธรรม 3. ร่วมกันกำหนดแนวในการก่อสร้างที่เหมาะสม เป็นไปได้โดยให้เกิดผลกระทบต่อพื้นที่ และสถานที่ปฏิบัติกิจทางศาสนาน้อยที่สุด 4. ขอให้ กรมชลประทาน กำหนดพื้นที่ที่ใช้ในการก่อสร้างให้ชัดเจน และร่วมปรึกษา หารือ แก้ไข กับราษฎรในพื้นที่อีกครั้งหนึ่ง 5. ขอให้ กรมชลประทาน ปรับปรุงภูมิทัศน์ด้านเหนือ ปตร.สายบุรีด้วย 6. ในส่วนของ จังหวัดยะลา แกนนำในพื้นที่จะขอหารือกับ สำนักงาน ฯภายหลังการเลือกตั้ง ส.ส. ปี 2548 7. สำหรับจังหวัดปัตตานี แกนนำในจังหวัดนราธิวาส อาสาจะเป็นผู้ประสานงานในพื้นที่ให้กับสำนักงาน ฯ