1.46k likes | 2.25k Vues
Saruthipong Bhuwatvaranon 5120130105. ปัญหาการศึกษาไทย. Doctoral Program in Education Leadership and Innovation. ปัญหาการศึกษาไทย สู่ … หัวใจวิทยานิพนธ์. B H U W A T V A R A N O N. S A R U T H I P O N G. L E A D E R S H I P A N D I N N O V A T I O N. 1. 2. 3.
E N D
Saruthipong Bhuwatvaranon 5120130105 ปัญหาการศึกษาไทย Doctoral Program in Education Leadership and Innovation
ปัญหาการศึกษาไทย สู่…หัวใจวิทยานิพนธ์ BHUWATVARANON SARUTHIPONG LEADERSHIPANDINNOVATION LOGO
1 2 3 การวิเคราะห์ปัญหาการศึกษาไทย มองภาพรวมภาวะผู้นำกับการแก้ปัญหาการศึกษาไทยสู่ ...หัวใจวิทยานิพนธ์ 1 มองภาพรวมภาวะผู้นำกับการแก้ปัญหาการศึกษาไทยสู่ ...หัวใจวิทยานิพนธ์ 2 การวิเคราะห์ปัญหาการศึกษาไทยสู่...หัวใจวิทยานิพนธ์ ภาคผนวก LOGO
1. การวิเคราะห์ปัญหาการศึกษาไทย 1.1พรบ.การศึกษาคือกฎหมายแม่บทในการจัดการศึกษา 1.2 คุณหญิงกษมา วรวรรณ ณ อยุธยา กับการปฏิรูปการศึกษา 1.3 จรวยพร ธรณินทร์ ปลัดศธ. กับการปฏิรูปการศึกษา 1.4 วิทยากร เชียงกูล กับปัญหาคอขวดของการปฏิรูปการศึกษา 1.5 ศ.นพ.เกษม วัฒนชัย การโอนภารกิจการศึกษาไปอปท. 1.6 คูปองการศึกษา 1.7 ปัจจัยภายนอกที่มีผลต่อการศึกษา 5 ประการ 1.8 วิจิตร ศรีสอ้าน ชี้สังคมไทยขาดภาวะผู้นำทางการศึกษา 1.9 วิทยากร เชียงกูล ภาวะผู้นำกับการปฏิรูปการศึกษา 1.10 วิจิตร ศรีสอ้าน การพัฒนาผู้นำการเปลี่ยนแปลง LOGO
2. มองภาพรวมภาวะผู้นำกับการแก้ปัญหาการศึกษาไทยสู่ ...หัวใจวิทยานิพนธ์ 1 2.1John C. Maxwell กับภาวะผู้นำ 2.2 วิจิตร ศรีสอ้าน กับการปฏิรูปการศึกษา 2.3 ดร.อำรุง จันทวานิช กับภาวะผู้นำ 2.4 ศ.กิติคุณไพฑูรย์ สินลารัตน์ ภาวะผู้นำใหม่ : ผู้นำเชิงวิเคราะห์ 2.5 วิเคราะห์ผู้นำเชิงวิเคราะห์ โดยศรุติพงศ์ ภูวัชร์วรานนท์ 2.6 ศ.นพ.เกษม วัฒนชัย การเมืองกับการศึกษา 2.7 การนำเสนอรูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำ โดยศรุติพงศ์ ภูวัชร์วรานนท์ LOGO
3. มองภาพรวมภาวะผู้นำกับการแก้ปัญหาการศึกษาไทยสู่ ...หัวใจวิทยานิพนธ์ 2 3.1 การนำเสนอการศึกษาแนวโน้มภาวะผู้นำในอนาคต โดยศรุติพงศ์ ภูวัชร์วรานนท์ 3.2 ภาวะผู้นำเป็นสิ่งที่สามารถเรียนรู้ได้ 3.3 มองภาพรวมภาวะผู้นำกับกฎหมายการศึกษาไทย 3.4 ภาวะผู้นำในพระราชบัญญัติการศึกษา 2542 3.5 กฎหมายการศึกษาที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาเรื่องภาวะผู้นำ 3.6 แผนภาพแสดงตัวอย่างการวิเคราะห์เอกสาร เรื่องภาวะผู้นำกับกฎหมายการศึกษาไทยสู่...หัวใจวิทยานิพนธ์ 3.7 สรุปภาพรวม ปัญหา ภาวะผู้นำ และกฎหมายการศึกษาไทยสู่...หัวใจวิทยานิพนธ์ LOGO
4. ภาคผนวก 4.1 รายงานสภาวะการศึกษาไทยปี 2549/2550 4.2 ข้อเสนอยุทธศาสตร์การปฏิรูปการศึกษา 4.2 การพัฒนาคุณภาพการศึกษา 4.4 ภาระงานและการใช้เวลาของครู อาจารย์และนักเรียน LOGO
ส่วนที่ 1 การวิเคราะห์ปัญหาการศึกษาไทย BHUWATVARANON SARUTHIPONG LEADERSHIPANDINNOVATION LOGO
การวิเคราะห์ปัญหาการศึกษาไทยการวิเคราะห์ปัญหาการศึกษาไทย การศึกษาเป็นปัจจัยสำคัญในการพัฒนาคนให้มีคุณภาพและประสิทธิภาพ จะส่งผลต่อการพัฒนาประเทศทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง การปกครอง ปลูกจิตสำนึกให้รู้จักคุณค่าของการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ตลอดจนช่วยให้สามารถพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีได้อย่างต่อเนื่อง ดังนั้นประเทศใดที่ประกอบด้วยกำลังคนที่มีการศึกษาสูง ประชาชนย่อมมีสติปัญญาและความคิดสร้างสรรค์มากเป็นเงาตามตัว แต่สภาพปัจจุบันคุณภาพการศึกษาไทยมีมาตรฐานค่อนข้างต่ำ เมื่อเปรียบเทียบกับคุณภาพมาตรฐานการศึกษาของอีกหลายประเทศในระดับเดียวกัน LOGO
การวิเคราะห์ปัญหาการศึกษาไทยการวิเคราะห์ปัญหาการศึกษาไทย ส่งผลกระทบต่อการพัฒนาประเทศอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ การแก้ปัญหาดังกล่าวจึงต้องมีการปฏิรูปการศึกษาครั้งใหญ่เป็นการปฏิรูปการศึกษาทั้งระบบและรอบด้าน สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของสังคม ประเทศชาติสู่ยุคโลกาภิวัตน์ โดยมีการประกาศใช้พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 เป็นกฎหมายแม่บทในการจัดการศึกษาของชาติมีทิศทางที่ชัดเจนและเป็นมาตรฐาน (รุ่ง แก้วแดง, 2543 : 45) LOGO
การวิเคราะห์ปัญหาการศึกษาไทยการวิเคราะห์ปัญหาการศึกษาไทย หลังจากการประกาศใช้พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 ได้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ ๆ ทางการศึกษา นับแต่แนวคิดการจัดการศึกษา เนื้อหาสาระของหลักสูตรการเรียนการสอน ระบบการประเมินผลผู้เรียน ระบบการบริหารงานบุคคล ระบบการพัฒนาบุคลากรทางการศึกษา โครงสร้างการบริหารของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องด้านการศึกษา ระบบประกันคุณภาพการศึกษา และอื่น ๆ อีกมากมาย ซึ่งสิ่งเหล่านี้ล้วนมุ่งไปที่เป้าหมายเดียวกัน คือคุณภาพการศึกษาซึ่งหมายถึงภาพรวมของผลที่เกิดขึ้นกับผู้เรียนทั้งในด้านความรู้ ความสามารถ และคุณธรรมจริยธรรม ตามที่ผู้เรียนแต่ละระดับพึงมีพึงเป็น แต่ในช่วงเวลา 9 ปีที่ผ่านมา เริ่มมีข้อสงสัยหลายประการว่าความพยายามให้มีการปฏิรูปนั้นได้ผลดีตามที่ต้องการหรือไม่ LOGO
การวิเคราะห์ปัญหาการศึกษาไทยการวิเคราะห์ปัญหาการศึกษาไทย ซึ่งสอดคล้องกับกรณีคุณหญิงกษมา วรวรรณ ณ อยุธยา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) กล่าวถึงกรณี ศ.ดร.ไพฑูรย์ สินลารัตน์ อดีตคณบดีคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เสนอให้มีการปฏิรูปการศึกษารอบ 2 และให้สภาการศึกษา(สกศ.) เป็นเจ้าภาพระดมความคิดเห็นจากผู้ที่เกี่ยวข้องว่าการปฏิรูปการศึกษาที่ผ่านมาเกือบ 10 ปีแล้ว ได้ผลหรือล้มเหลว ว่า... LOGO
การวิเคราะห์ปัญหาการศึกษาไทยการวิเคราะห์ปัญหาการศึกษาไทย “ ข้อเสนอให้มีการระดมความคิดเห็นจากผู้ที่เกี่ยวข้องว่าการปฏิรูปการศึกษาที่ผ่านมาเกือบ 10 ปี ได้ผลหรือไม่นั้น ตนเห็นด้วยกับข้อเสนอการปฏิรูปการศึกษารอบ 2 โดยเฉพาะที่อยากให้มีการแก้ไข พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ ที่ใช้มานานกว่า 10 ปี ประเด็นที่ตนคิดว่าเป็นเรื่องใหญ่และน่าจะมีปัญหามากคือ โครงสร้างของกระทรวงศึกษาธิการโดยในส่วนของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ได้เสนอแนวทางไปเบื้องต้นแล้ว นอกจากนั้นคิดว่าจะมีหลายประเด็นที่ควรต้องปรับปรุงไปพร้อมกัน กฎหมายถือเป็นเครื่องมือสำคัญในการผลักดันให้งานพัฒนาเดินหน้าไป ซึ่งในช่วงปี 2542 ที่ได้มีการปฏิรูปการศึกษาและปรับโครงสร้าง ศธ.นั้น เป็นการพิจารณาโดยที่โครงสร้างจริงยังไม่เกิดขึ้น แต่ขณะนี้เมื่อมีหลายอย่างเกิดขึ้นแล้ว ดังนั้นก็ควรนำประสบการณ์ที่เกิดขึ้นไปช่วยกันในการพิจารณาปฏิรูปการศึกษาครั้งใหม่” (ข่าวสด ฉบับที่ 6439 หน้าที่ 28 ประจำวันที่ 16 กรกฎาคม 2551) LOGO
การวิเคราะห์ปัญหาการศึกษาไทยการวิเคราะห์ปัญหาการศึกษาไทย จรวยพร ธรณินทร์ ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ กล่าวว่า ตนได้รวบรวมผลงานที่ได้ดำเนินงานไว้ในช่วงที่อยู่ในตำแหน่งปลัด ศธ. จัดพิมพ์เป็นหนังสือเรื่อง 10 ผลงานชิ้นโบแดง แจกจ่ายให้กับข้าราชการและหน่วยงานในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ ก่อนจะลาออกจากตำแหน่งปลัด ศธ.ในวันที่ 9 กันยายนนี้ ทั้งนี้ตนได้หารือและฝากงานให้กับนายชินภัทร ภูมิรัตน ว่าที่ปลัด กระทรวงศึกษาธิการแล้ว โดยเฉพาะงานหลัก ๆ ของหน่วยงานในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ(สป.) ได้แก่ LOGO
การวิเคราะห์ปัญหาการศึกษาไทยการวิเคราะห์ปัญหาการศึกษาไทย สำนักบริหารงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน(สช.) ได้ฝากประเด็นการแก้ไขกฎหมาย พ.ร.บ.โรงเรียนเอกชน สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) มีประเด็นการใช้เกณฑ์ใหม่ในการประเมินวิทยฐานะครูและบุคลากรทางการศึกษา สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (กศน.) เรื่องการสนับสนุนและสร้างให้เกิดเครือข่าย กศน.ทั่วประเทศ ส่วนงานด้านต่างประเทศ ต้องสร้างความเข้มแข็งให้กับบทบาทของประเทศไทยในเวทีนานาชาติ อาทิ ยูเนสโก เป็นต้น LOGO
การวิเคราะห์ปัญหาการศึกษาไทยการวิเคราะห์ปัญหาการศึกษาไทย “จากการประเมินคุณภาพการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานของยูเนสโกรอบ 5 ปีที่ผ่านมา พบว่าการศึกษาไทยอยู่ในอันดับที่ 60 จาก 190 กว่าประเทศ และได้ฝากให้ไทยให้ความสำคัญกับการจัดการศึกษาให้เด็กตกหล่น เด็กชายขอบ ให้มากขึ้น ทั้งจากผลการประเมิน ไม่ว่าจะเป็นแบบทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติขั้นพื้นฐาน(โอเน็ต) แบบทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติขั้นสูง(เอเน็ต) พบว่าผลสัมฤทธิ์ของเด็กไทยเกือบทุกวิชามีคะแนนอยู่ในระดับต่ำ คิดว่าวันนี้น่าจะถึงเวลาปฏิรูปการศึกษาอีกครั้ง” (ข่าวสด ฉบับที่ 6482 หน้าที่ 28 ประจำวันที่ 28 สิงหาคม 2551) LOGO
การวิเคราะห์ปัญหาการศึกษาไทยการวิเคราะห์ปัญหาการศึกษาไทย กรณี คุณหญิงกษมา วรวรรณ ณ อยุธยา เลขาธิการ กล่าวถึงการแก้ไข พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ ที่ใช้มานานกว่า 10 ปี ซึ่งประเด็นที่ท่านคิดว่าเป็นเรื่องใหญ่และน่าจะมีปัญหามากคือโครงสร้างของกระทรวงศึกษาธิการ สอดคล้องกับ วิทยากร เชียงกูล (2550 : 130) ที่กล่าวถึงทางออกจากปัญหาคอขวดของการปฏิรูปการศึกษาคือการลดขนาดและบทบาทของกระทรวงศึกษาธิการลงด้วยการส่งเสริมให้มีการจัดการศึกษาโดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ภาคธุรกิจเอกชน เป็นสัดส่วนที่สูงขึ้นแทน P.2-3 LOGO
การวิเคราะห์ปัญหาการศึกษาไทยการวิเคราะห์ปัญหาการศึกษาไทย ดังนั้น การปฏิรูปการศึกษาชนิดให้เอกชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและองค์กรประชาชนแบบอื่น จัดการศึกษาได้เป็นสัดส่วนสูงขึ้น จะส่งเสริมให้มีการแข่งขันของสถานศึกษา และทำให้การปฏิรูปการบริหารจัดการศึกษาและกระบวนการเรียนเป็นไปได้เร็วขึ้น ศ.นพ.เกษม วัฒนชัย (2545 : 15) ได้แสดงความเห็นในเรื่องการถ่ายโอนภารกิจการจัดการศึกษามาให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นว่า P.3 LOGO
การวิเคราะห์ปัญหาการศึกษาไทยการวิเคราะห์ปัญหาการศึกษาไทย “ผมเชื่อว่า สุดท้ายกระทรวงศึกษาธิการจะค่อย ๆ ถ่ายโอนภารกิจในการจัดการศึกษามาให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมาเรื่อย ๆ เพราะดูจากแนวโน้มของประเทศต่าง ๆ ในโลก มีอยู่ 4 แนวโน้ม คือรัฐบาลกลางจะเผด็จการน้อยลง องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจะมีความสำคัญมากขึ้นในการจัดการศึกษาของไทย บริษัทเอกชนจะกลายเป็นบริษัทมหาชนมากขึ้น ในการบริหารมีการยึดหลักธรรมาภิบาลมากขึ้นและสุดท้ายไม่ว่าหน่วยงานใดในประเทศใดก็ตาม ทั้งระดับบนและระดับล่าง จะต้องสร้างองค์กรของตัวเองเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้อยู่ตลอดเวลา”P.3 LOGO
การวิเคราะห์ปัญหาการศึกษาไทยการวิเคราะห์ปัญหาการศึกษาไทย การที่จะทำให้เกิดสิ่งนี้ได้ ควรเปลี่ยนจากการที่รัฐเคยจัดสรรงบประมาณไปให้ที่สถาบันการศึกษาของรัฐโดยตรงทั้งหมด มาเป็นจัดสรรบางส่วนอุดหนุนผู้เรียนโดนตรง โดยจ่ายเป็น“คูปองการศึกษา”ให้ผู้เรียนไปเลือกจ่ายให้สถานศึกษาแทน และควรมีคณะกรรมการจัดสรรทรัพยากรและงบประมาณเพื่อการศึกษา ที่จะดูแลภาพรวมทั้งหมด เพื่อให้มีการวางแผนที่กระจายการลงทุนทางการศึกษาแก่ท้องถิ่นต่าง ๆ อย่างทั่วถึงและเป็นธรรม P.3 LOGO
การวิเคราะห์ปัญหาการศึกษาไทยการวิเคราะห์ปัญหาการศึกษาไทย ในการกำหนดทิศทางและนโยบายการจัดการศึกษาไทย จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องจัดทำฐานข้อมูล โดยวิเคราะห์ปัจจัยต่าง ๆ ที่มีผลต่อการจัดการศึกษา และปัจจัยภายนอกที่สำคัญมีผลต่อการจัดการศึกษาไทย 5 ประการ ได้แก่ (การศึกษาวันนี้ ประจำวันที่ 6 ธันวาคม 2550)P.3 LOGO
การวิเคราะห์ปัญหาการศึกษาไทยการวิเคราะห์ปัญหาการศึกษาไทย 1. ปัจจัยด้านเทคโนโลยี ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีมีผลต่อการกำหนดคุณสมบัติและคุณภาพของแรงงานในอนาคต เทคโนโลยีสารสนเทศ เทคโนโลยีการขนส่ง เทคโนโลยีการผลิต นาโนเทคโนโลยี เทคโนโลยีชีวภาพ ฯลฯ มีความก้าวหน้าขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเทคโนโลยีเหล่านี้มีประโยชน์ในการเพิ่มศักยภาพการแข่งขันของประเทศ ดังนั้นการจัดการศึกษาจึงต้องมีการเพิ่มเติมความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีใหม่ ๆ ในหลักสูตรการเรียนการสอน และปรับปรุงให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยี P.4 LOGO
การวิเคราะห์ปัญหาการศึกษาไทยการวิเคราะห์ปัญหาการศึกษาไทย 2. ปัจจัยด้านเศรษฐกิจ ปัจจัยทางเศรษฐกิจมีผลต่อตลาดแรงงานและตลาดการศึกษา เนื่องจากการกำหนดลักษณะของแรงงานที่ต้องการ อาทิ เศรษฐกิจใหม่ จะแข่งขันกันด้วยนวัตกรรมใหม่ ๆ ซึ่งต้องอาศัยการวิจัยและพัฒนา ดังนั้น การศึกษาต้องพัฒนาคนให้มีทักษะการทำวิจัย ให้สามารถสร้างนวัตกรรมใหม่ที่มีคุณค่าต่อระบบเศรษฐกิจ การเปิดเสรีทางการค้าและการลงทุน เกิดการเคลื่อนย้ายสินค้า และเงินลงทุนจากต่างประเทศมากขึ้น ประเทศต่าง ๆ ไม่เพียงแต่ต้องลดการกีดกันการแข่งขันเท่านั้น ยังต้องแข่งขันกันด้วยสินค้าที่มีคุณภาพ ซึ่งต้องอาศัยแรงงานที่มีฝีมือ มีทักษะความสามารถที่หลากหลาย เช่น ความรู้ด้านเทคโนโลยี ภาษาต่างประเทศ การบริหาร ฯลฯ ซึ่งเป็นหน้าที่ของผู้บริหารการศึกษาที่จะพัฒนาคนให้มีคุณภาพ P.4 LOGO
การวิเคราะห์ปัญหาการศึกษาไทยการวิเคราะห์ปัญหาการศึกษาไทย 3. ปัจจัยด้านระบบราชการ การปฏิรูปการศึกษาที่ผ่านมาเคลื่อนไปอย่างยากลำบาก เนื่องด้วยระบบราชการเป็นอุปสรรค ซึ่งเกิดจาก ความล่าช้าในการประสานงาน เนื่องจากการทำงานตามระบบราชการไทย มักทำงานแบบต่างคนต่างทำไม่ไปในทิศเดียวกัน นอกจากนี้ ยังมีลักษณะของการรวมศูนย์ที่ส่วนกลางมากเกินไป การทำงานแบบราชการ ที่ยึดกฎระเบียบตายตัว ขาดความยืดหยุ่น และเอื้อต่อการปฏิบัติงานของผู้บริหารการศึกษาและครูบางส่วนที่ไม่ยอมปรับตัวP.4 LOGO
การวิเคราะห์ปัญหาการศึกษาไทยการวิเคราะห์ปัญหาการศึกษาไทย 4. ปัจจัยด้านการเมือง กล่าวกันว่า การปฏิรูปหรือพัฒนาการจัดการศึกษาจะสำเร็จหรือล้มเหลว ขึ้นอยู่กับการเมืองมากกว่าแนวทางและวิธีการ แต่หากการเมืองไทยมีเงื่อนไขบางประการที่เป็นอุปสรรค จะส่งผลให้การปฏิรูปการศึกษาไทยไม่ก้าวหน้าหรือประสบความสำเร็จเท่าที่ควร อาทิ การปรับเปลี่ยนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) บ่อยครั้งทำให้การดำเนินนโยบายการพัฒนาการศึกษาไม่ต่อเนื่อง โดยเฉพาะรัฐบาลทักษิณ มีการเปลี่ยนรัฐมนตรี ศธ. บ่อยมาก คนละ 9 เดือนโดยเฉลี่ย รวมถึงรัฐบาลปัจจุบันที่มีมีการเปลี่ยนทั้งนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการภายในระยะเวลาประมาณ 7 เดือน อันเป็นผลสืบเนื่องมาจากเหตุผลทางการเมืองP.4 LOGO
การวิเคราะห์ปัญหาการศึกษาไทยการวิเคราะห์ปัญหาการศึกษาไทย การเมือง นักการเมืองมอง ศธ.ว่า เป็นกระทรวงที่สร้างผลงานได้ยาก ตำแหน่ง รมว. ศธ. จึงนำมาใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทางการเมือง อาทิ เป็นรางวัลแก่ผู้สนับสนุนพรรค ผู้ที่เข้ามาดำรงตำแหน่งจึงมิใช่ผู้มีความรู้ในด้านการศึกษาอย่างแท้จริง ความไม่สอดคล้องของเป้าหมายของการจัดการศึกษากับเป้าหมายทางการเมืองเป้าหมายของนักการเมืองหลายคนคือ ต้องการคะแนนนิยม จึงมีนักการเมืองจำนวนไม่น้อยที่ไม่ดำเนินนโยบายที่ให้ผลในระยะยาว เนื่องจากเสี่ยงที่จะทำให้ตนเองไม่เป็นที่นิยมทางการเมือง ซึ่งนั่นหมายความรวมถึงนโยบายการศึกษา ดังนั้นนักการเมืองจึงเลือกดำเนินนโยบายที่เห็นผลในระยะสั้น เพื่อทำให้ตนเองได้รับเลือกตั้งเข้ามาอีกครั้ง อันเป็นอุปสรรคยิ่งต่อการพัฒนาการศึกษาไทย P.5 LOGO
การวิเคราะห์ปัญหาการศึกษาไทยการวิเคราะห์ปัญหาการศึกษาไทย ด้วยเหตุผลดังกล่าว ศ.นพ.เกษม วัฒนชัย (2545 : 15) ได้แสดงความเห็นในเรื่องการเมืองกับการศึกษาไว้ว่า “ประเทศอื่นเขาเจริญบ้างไม่เจริญบ้าง เขาจะเอาทุกเรื่องมาเป็นการเมืองได้หมด ยกเว้นเรื่องการศึกษา เขาจะไม่เอาการศึกษามาเป็นเรื่องการเมือง จะไม่เอาการศึกษามาเป็นฐานเสียง จะไม่เอาการศึกษามาเป็นฐานคอรัปชั่น เพราะเขารู้ว่า การศึกษาสำคัญเกินกว่าที่จะเอามาเป็นเรื่องการเมือง เพราะฉะนั้นคนที่ส่งมาเป็นกรรมการสถานศึกษา ไม่ควรเลือกคนที่ฝักใฝ่การเมืองเลย เขาจะได้ทำงานให้โรงเรียนอย่างใจที่เป็นอิสระ เป็นกลาง ผมขอร้องตรงนี้ อย่าเอาเรื่องการศึกษา ซึ่งเป็นอนาคตของประเทศมาเล่นการเมืองเลย” LOGO
การวิเคราะห์ปัญหาการศึกษาไทยการวิเคราะห์ปัญหาการศึกษาไทย 5. ปัจจัยด้านวัฒนธรรม สังคมไทยมีเงื่อนไขทางวัฒนธรรมหลายประการ ที่เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาไทย ดังนี้ 5.1) ขาดวัฒนธรรมการมีส่วนร่วม สังคมไทยในปัจจุบันขาดความเหนียวแน่น ขาดความร่วมแรงร่วมใจ คนในสังคมจึงมองการศึกษาว่าเป็นเรื่องของรัฐบาลไม่เกี่ยวกับตนเอง 5.2) รักความสนุกและความสบาย คนไทยส่วนใหญ่สนใจความบันเทิงมากกว่าการแสวงหาความรู้ จึงเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษาP.5 LOGO
การวิเคราะห์ปัญหาการศึกษาไทยการวิเคราะห์ปัญหาการศึกษาไทย 5.3) สังคมอุปถัมภ์ สังคมไทยยังมีลักษณะสังคมอุปถัมภ์ เห็นแก่พวกพ้องมากกว่าส่วนร่วม ผู้ที่มีอำนาจมักแสวงหาผลประโยชน์เพื่อตนเองและพวกพ้อง โดยที่ประชาชนไม่กล้าขัดขวาง เพราะต้องพึ่งพาอาศัย ดังนั้น เมื่อมีการกระจายอำนาจทางการศึกษา อาจกลายเป็นแหล่งผลประโยชน์ให้กับผู้มีอิทธิพลได้หากควบคุมไม่ดี 5.4) ขาดการเปิดกว้างทางความคิดและการรับฟังความเห็นของผู้อื่น สังคมไทยมีค่านิยมว่า การมีความคิดที่แตกต่างหรือการเป็นแกะดำ เป็นสิ่งไม่ดี มองผู้ที่คิดแตกต่างเป็นศัตรู และพยายามหักล้างความคิดซึ่งมักกระทำโดยใช้อารมณ์มิได้ใช้เหตุผลเป็นที่ตั้ง ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาผู้เรียนที่ปัจจุบันมุ่งสร้างคนให้คิดเป็นทำเป็น P.5 LOGO
การวิเคราะห์ปัญหาการศึกษาไทยการวิเคราะห์ปัญหาการศึกษาไทย ปัจจัยที่กล่าวมาทั้งหมดข้างต้น ล้วนเป็นปัจจัยหลักที่หน่วยงานกำหนดธงพัฒนาระบบการศึกษาไทย จะต้องให้ความสำคัญ และนำไปใช้วิเคราะห์วางแผนกำหนดทิศทางและนโยบาย โดยเฉพาะปัจจัยด้านการเมือง ซึ่งมีอิทธิพลมากต่อการพัฒนาการศึกษาไทยเพราะหากแม้ว่าจะมีการขยับหรือพัฒนาปัจจัยอื่นมากเพียงใด แต่หากปัจจัยการเมืองไม่ถูกพัฒนาให้เอื้อต่อการจัดการศึกษา ย่อมส่งผลให้การขยับหรือพัฒนาปัจจัยอื่นย่อมกระทำได้ยาก และอาจไม่นำพาสู่ความสำเร็จได้P.6 LOGO
การวิเคราะห์ปัญหาการศึกษาไทยการวิเคราะห์ปัญหาการศึกษาไทย หากเปรียบเทียบให้ปัจจัยทางการเมือง เปรียบเสมือนน้ำที่หล่อเลี้ยงให้ระบบการศึกษาไทยเติบโตงอกงามผลิดอกออกผลที่มีคุณภาพ แต่หากขาดการหล่อเลี้ยงน้ำที่มากเพียงพอ ย่อมจะทำให้การจัดการศึกษาเหี่ยวเฉา และไม่เจริญก้าวหน้า ดังนั้นการพัฒนาการจัดการศึกษาไทย จึงขึ้นอยู่กับจุดยืนและภาวะของผู้นำประเทศและผู้นำ กระทรวงศึกษาธิการที่ให้ความสำคัญ ผลักดันและสนับสนุน ให้เกิดการขับเคลื่อนในการพัฒนาระบบการศึกษาไทย LOGO
การวิเคราะห์ปัญหาการศึกษาไทยการวิเคราะห์ปัญหาการศึกษาไทย สอดคล้องกับ วิจิตร ศรีสอ้าน (ปาฐกถา โอกาสและความหวังใน การพัฒนาการศึกษาไทย : วันที่ 10 กรกฎาคม คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย) กล่าวว่าโอกาสที่จะพัฒนาการศึกษาไทยให้ เจริญก้าวหน้า หลุดพ้นภาวะตกต่ำที่เป็นมาอย่างต่อเนื่องยาวนานให้ได้นั้นขึ้น อยู่กับปัจจัยหลัก 5 ปัจจัย ได้แก่ LOGO
การวิเคราะห์ปัญหาการศึกษาไทยการวิเคราะห์ปัญหาการศึกษาไทย ปัจจัยแรก เจตจำนงแห่งรัฐ ซึ่งดูได้จากบทบัญญัติเกี่ยวกับการศึกษาที่อยู่ รัฐธรรมนูญ รัฐธรรมนูญที่ผ่านมาให้ความสำคัญด้านการศึกษา โดยเฉพาะ รธน. พ.ศ. 2540 ที่เพิ่งถูก ยกเลิกไปนั้นได้บัญญัติเรื่องการศึกษาไว้มากที่สุด เป็นที่มาของการศึกษาภาค บังคับ 9 ปี การศึกษาขั้นพื้นฐาน ฟรี 12 ปี และเป็นที่มาของพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ซึ่งเป็น กฎหมายแม่บททางการศึกษาที่สำคัญและยังมีผลบังคับใช้อยู่จนถึง ปัจจุบัน LOGO
การวิเคราะห์ปัญหาการศึกษาไทยการวิเคราะห์ปัญหาการศึกษาไทย อย่างไรก็ตาม เมื่อนำ ร่าง รธน. ที่ผ่านการรับรองจากสมาชิกสภาร่าง รัฐธรรมนูญ (สสร.) เมื่อเร็ว ๆ นี้มาเปรียบเทียบกับ รธน.ปี 40 ที่ในเรื่องการ ศึกษา พบว่า ได้มีการบัญญัติเรื่องการศึกษาได้ชัดเจนและสมบูรณ์มากยิ่ง ขึ้น สาระสำคัญใน พ.ร.บ.การศึกษา แห่งชาติถอดมาไว้ในร่างรธน.ใหม่ เพราะฉะนั้น พ.ร.บ.การศึกษาฯ และ ร่างรธน. นั้น จะเป็นกรอบการทำงานด้านการศึกษา และถือว่าเป็นหลักประกันความต่อเนื่องของการ จัดการศึกษา เพราะไม่ว่าใครเป็นรัฐบาลก็ต้องทำตาม LOGO
การวิเคราะห์ปัญหาการศึกษาไทยการวิเคราะห์ปัญหาการศึกษาไทย ปัจจัยที่ 2 เจตจำนงแห่งรัฐบาล หรือเจตจำนงทางการเมือง หมายถึงไม่ว่าใครจะมาเป็นรัฐบาลก็ต้องดู ว่ารัฐบาลหรือพรรคการเมืองนั้นให้ความสำคัญกับการศึกษาแค่ไหน แต่เป็นที่น่าพอใจ เพราะพรรคการเมืองที่เหลืออยู่ในปัจจุบัน อย่างน้อย 2 พรรคที่ในอดีตเคยทำงานการ ศึกษาและให้ความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง เช่น พรรคหนึ่งรับผิดชอบการปฏิรูปการศึกษา และอีกพรรคหนึ่งเข้ามาสานต่อตามแนวทางปฏิรูปการศึกษา แสดงว่าเป็นพรรคที่มีเจต จำนงแน่วแน่ในการที่จะพัฒนาด้านการศึกษา LOGO
การวิเคราะห์ปัญหาการศึกษาไทยการวิเคราะห์ปัญหาการศึกษาไทย ปัจจัยที่ 3 เจตจำนงของประชาชน คือ การมีส่วนร่วมของประชาชน ซึ่งการปฏิรูปการ ศึกษาทำให้มีโครงสร้างที่เปิดโอกาสให้ประชาชนมามีส่วนร่วมจัดการศึกษาในรูปของคณะ กรรมการต่าง ๆ และประชาชนยังมีการออกมาแสดงความเห็นต่อเรื่องที่มีผลกระทบต่อตนเอง ถือว่า การมีส่วนร่วมของ ประชาชนชัดขึ้น แต่ยังไม่น่าพอใจ ตนอยากให้การศึกษาทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ ประชาชนมีการทำประชาพิจารณ์ รับฟังความเห็น เพื่อนำมาประกอบการพิจารณามากยิ่ง ขึ้น LOGO
การวิเคราะห์ปัญหาการศึกษาไทยการวิเคราะห์ปัญหาการศึกษาไทย ปัจจัย 4 ภาวะผู้นำ สังคมไทยขาดแคลนผู้นำทาง การศึกษาที่เป็นคนกล้าคิด กล้าทำ กล้านำ กล้าเปลี่ยนแปลง แล้วพบว่าวงการศึกษา ยังขาดแคลนผู้ขับเคลื่อนอย่างเป็นระบบ เพราะสังคมไทยแม้แต่วงการศึกษายังเป็นแบบ ตัวใครตัวมัน ไม่สามารถทำงานอย่างเป็นระบบขับเคลื่อนร่วมกันได้ เพราะฉะนั้น ใน ยุคที่เราต้องเร่งรัดพัฒนาการศึกษา หลักสูตรการบริหารจัดการความเปลี่ยนแปลงเป็น ศาสตร์ที่มีความสำคัญ สถาบันที่สอนด้านการจัดการต้องทบทวนตนเองและปรับหลักสูตร เพื่อสร้างผู้นำการเปลี่ยนแปลง หรือ Change Agent ให้ ได้ LOGO
การวิเคราะห์ปัญหาการศึกษาไทยการวิเคราะห์ปัญหาการศึกษาไทย ในปัจจุบันซึ่งมีเป็น 100 แห่งเป็นการรวมกลุ่มกันเพื่อ พิทักษ์สิทธิประโยชน์ของตน รวมตัวกันกดดันเรียกร้อง ซึ่งก็ไม่ได้ผิด เพราะการพิทักษ์ผลประโยชน์เป็นสิทธิ์อันชอบธรรม แต่การรวมกลุ่มเพื่อทำหน้าที่เพียงแค่ พิทักษ์ผลประโยชน์ไม่ใช่ลักษณะของคนในวงการหรือวิชาชีพชั้นสูง ซึ่งจะต้องยึด หลักความรับผิดชอบต่อสังคมเหนือตนเอง ยิ่งในปัจจุบันวิชาชีพครูถูกยกให้เป็น วิชาชีพชั้นสูงโดยอาศัยกฎหมาย พฤติกรรมตามฐานะก็ต้องมีความเหมาะสมด้วย ไม่ใช่ แค่ทำหน้าที่พิทักษ์แต่กลุ่มตน ซึ่งตรงนี้เป็นปัจจัยที่เป็นจุดอ่อนที่สุดใน 5 ปัจจัย LOGO
การวิเคราะห์ปัญหาการศึกษาไทยการวิเคราะห์ปัญหาการศึกษาไทย ปัจจัยสุดท้าย ทรัพยากรและเทคโนโลยี จริงๆ แล้ว รัฐบาลสนับสนุน งบประมาณให้ ศธ. ไม่น้อยแต่ปัญหาคือยังขาดระบบการบริหารจัดการงบประมาณที่มี ประสิทธิภาพ เพราะมีหลายคนที่ยึดคติเก่า ที่มองแค่ว่ารัฐบาลต้องจัดสรรเงินมาให้ ก่อนจึงทำงานได้ แต่ตนอยากให้เห็นงานเป็นตัวตั้งและเงินเป็นตัวรอง และถ้าหากว่า เราทำงานดีเงินก็จะตามมา ในด้านเทคโนโลยีมีความสำคัญ ต่อการพัฒนาประสิทธิภาพการ เรียนการสอนในปัจจุบัน ซึ่งการที่เรามีเทคโนโลยีนั้นดีแต่ต้องใช้ให้คุ้มค่า และ เกิดประโยชน์สูงแต่ทุกวันนี้ยังใช้ไม่คุ้มค่า เพราะเรามีแต่คอมพิวเตอร์แต่ขาด ซอฟท์แวร์หรือเนื้อหา บทเรียนที่จะไปพัฒนาเด็ก LOGO
การวิเคราะห์ปัญหาการศึกษาไทยการวิเคราะห์ปัญหาการศึกษาไทย กล่าวโดยสรุปแล้ว ทั้ง 5 ปัจจัย นั้น มีจุดอ่อนที่ภาวะผู้นำ และการบริหารจัดการทรัพยากร เทคโนโลยี หากสามารถรักษาจุดดีและแก้ไขจุดอ่อน แล้ว โอกาสในการพัฒนาการศึกษายังมีอยู่ ซึ่งสอดคล้องกับ รศ.วิทยากร เชียงกูล (2550 : 124) กล่าวว่า “ภาวะผู้นำที่ตระหนักถึงรากเหง้าและความสำคัญของการปฏิรูปการศึกษา มองปัญหาเรื่องการศึกษาอย่างเชื่อมโยงกับเรื่องอื่นในสังคมแบบเป็นระบบองค์รวม และรู้จักจัดลำดับความสำคัญเร่งด่วนของปัญหาเพื่อก่อให้เกิดแกนนำแห่งการเปลี่ยนแปลง (Critizal Mass) ที่จะไปผลักดันการเปลี่ยนแปลงการปฏิรูปการศึกษาทั้งระบบได้อย่างแท้จริง” LOGO
การวิเคราะห์ปัญหาการศึกษาไทยการวิเคราะห์ปัญหาการศึกษาไทย กระทรวงศึกษาธิการได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของ “การมีภาวะผู้นำ” ของครู ผู้บริหาร ศึกษานิเทศก์ ผู้บริหารการศึกษา โดยจัดทำหลักสูตรการอบรมผู้บริหาร สพท. และผู้บริหารสถานศึกษาเพื่อรองรับการกระจายอำนาจเสร็จแล้ว โดยแบ่งออกเป็น 2 หลักสูตร คือ หลักสูตรการพัฒนาผู้บริหารเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลง ใช้อบรมผู้อำนวยการและรองผู้อำนวยการเขตพื้นที่ฯ ผู้อำนวยการและรองผู้อำนวยการสถานศึกษาและหลักสูตรสร้างผู้นำการเปลี่ยนแปลงเพื่อการปฏิรูปการเรียนรู้ ใช้อบรมศึกษานิเทศก์ และผู้แทนครูในแต่ละกลุ่มสาระ LOGO
การวิเคราะห์ปัญหาการศึกษาไทยการวิเคราะห์ปัญหาการศึกษาไทย เอาจริง/เน้น "การประเมินครั้งนี้ผู้บริหารต้องพิสูจน์ว่ารู้และทำได้จริง โดยอาจทำในลักษณะสมมติสถานการณ์ขึ้น และให้ผู้บริหารวางแผนการบริหารจัดการ เพื่อนำมาใช้ประเมินว่าผู้บริหารมีศักยภาพหรือไม่ ทั้งนี้ หากผู้บริหารไม่ผ่านการประเมินครั้งแรกก็จะให้โอกาสได้แก้ตัว แต่หากยังไม่ผ่านอีกก็ต้องพิจารณาเปลี่ยนแปลง โยกย้ายไปทำงานด้านอื่นแทน หรืออาจจะโยกไปอยู่เขตพื้นที่อื่นที่ยังไม่ได้นำร่องกระจายอำนาจแทน และโยกย้ายผู้ที่สามารถทำงานได้จริงๆ มาทำงานแทน ไม่เช่นนั้นอาจทำให้การนำร่องเกิดปัญหาได้ ซึ่งวิธีนี้ไม่ใช่การลงโทษ แต่จะต้องให้มั่นใจว่าผู้บริหารมีความพร้อมต่อการเปลี่ยนแปลงจริง ๆ" (วิจิตร ศรีสอ้าน: ข่าวสด ฉบับที่ 5913 หน้าที่ 24 ประจำวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2550)P.9 LOGO
ส่วนที่ 2 ภาวะผู้นำกับการแก้ปัญหาการศึกษาไทยสู่...หัวใจวิทยานิพนธ์ ภาค 1 BHUWATVARANON SARUTHIPONG LEADERSHIPANDINNOVATION LOGO
มองภาพรวมการแก้ปัญหาการศึกษาไทยสู่...หัวใจวิทยานิพนธ์ ภาค 1 ข้าพเจ้ามีความเห็นว่าในการพัฒนาองค์การ หรือหน่วยงานใดก็ตามจะประสบความสำเร็จไม่ได้หากขาดการเปลี่ยนแปลงด้านผู้นำ ดังคำกล่าวของ John C. Maxwell (อ้างถึงในจิรายุทธ ประเจิดหล้า, 2549 : 395) ว่า... Improvement is imposible without a change in leadership การพัฒนาปรับปรุงใด ๆ จะเป็นไปไม่ได้โดยปราศจากการเปลี่ยนแปลงด้านภาวะผู้นำ หลายฝ่ายมองว่าการปฏิรูปการศึกษาของไทยตลอดระยะเวลาเกือบ 10 ปีล้มเหลว LOGO
มองภาพรวมการแก้ปัญหาการศึกษาไทยสู่...หัวใจวิทยานิพนธ์ ภาค 1 ดังที่ ศ.ดร.วิจิตร ศรีสอ้าน (เดลินิวส์ ฉบับที่ 21495 หน้าที่ 23 ประจำวันที่ 20 สิงหาคม 2551) กล่าวว่า “9 ปีแห่งความหลัง สรุปว่าเป็น 9 ปีที่ไม่ก้าวหน้า การปฏิรูปการศึกษาที่ผ่านมาจึงถือว่าล้มเหลว ซึ่งปัญหาสำคัญเป็นเพราะความไม่ต่อเนื่อง เปลี่ยนรัฐมนตรีแทบทุกปี บางคนอยู่แค่ 3 เดือน ซึ่งคงต้องโทษความเข้าใจเรื่องการศึกษาที่ยังมีไม่เพียงพอ ทั้งนี้การปฏิรูปการศึกษาต้องมีการบริหารเชิงรุกต่อเนื่องจริงจัง และเราต้องการผู้นำที่กล้าคิด กล้าทำ กล้านำ และกล้าเปลี่ยน” LOGO
มองภาพรวมการแก้ปัญหาการศึกษาไทยสู่...หัวใจวิทยานิพนธ์ ภาค 1 ดร.อำรุง จันทวานิช (คมชัดลึก ฉบับที่ 2312 หน้าที่ 12 ประจำวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2551) เลขาธิการสภาการศึกษา กล่าวว่า“การขาด ภาวะผู้นำ ที่ตระหนักถึงปัญหาการปฏิรูปการศึกษาอย่างเป็นองค์รวม”ระบบการคัดเลือก การบริหาร การให้ความดีความชอบยังอยู่ภายใต้ระบบราชการแบบรวมศูนย์ ประสิทธิภาพการใช้งบประมาณในแง่ผลิตผู้สำเร็จการศึกษาและในแง่คุณภาพยังต่ำกว่าหลายประเทศ รวมทั้งระบบประเมินผลและ“การสอบคัดเลือกเข้ามหาวิทยาลัย ยังเป็นการสอบแบบปรนัยที่วัดความจำขัดแย้งกับการปฏิรูปการศึกษาที่ เน้นการคิดวิเคราะห์” LOGO
มองภาพรวมการแก้ปัญหาการศึกษาไทยสู่...หัวใจวิทยานิพนธ์ ภาค 1 ในเรื่องของการคิดวิเคราะห์ที่เกี่ยวข้องกับภาวะผู้นำ ศ.ไพฑูรย์ สินลารัตน์ (เอกสารประกอบคำบรรยายประกอบ, 2551 : 9)กล่าวถึง ภาวะผู้นำใหม่ : ผู้นำเชิงวิเคราะห์ (Critical Leadership) ว่าอุดมศึกษาไทยจำเป็นต้องมีทางเลือก มีแบบแผนใหม่ แต่ความคิดและทางเลือกใหม่ไม่ใช่ทางเลือกของโลกาภิวัตน์แบบเดิมที่มีมากว่าทศวรรษ ทางเลือกใหม่ต้องเป็นทางเลือกของตัวเอง มีเอกลักษณ์เป็นผู้นำมีลักษณะเป็นไทยแท้จริงไม่ตามอย่างคนอื่นอยู่เสมอและสร้างความสอดคล้องกับของไทยเอง LOGO
มองภาพรวมการแก้ปัญหาการศึกษาไทยสู่...หัวใจวิทยานิพนธ์ ภาค 1 ผู้นำของอุดมศึกษาไทยจึงไม่ใช่เพียงแต่พิจารณารูปแบบ Trasit ModelBehavioral Model SituationModel หรือ VisionaryModel ที่พูดกันในทฤษฎีผู้นำปัจจุบันเท่านั้น แต่ในแนวทางใหม่ต้องเป็นต้องเป็น CriticalLeadership คือไม่ใช่ผู้นำที่รู้เพียงวิธีการบริหาร แต่ต้องเป็นผู้นำที่เรียนรู้เข้าใจ มีกลวิธี และมีวิธีการมองที่ลึกซึ้งแหลมคมและชัดเจนต่อกิจกรรมของอุดมศึกษา เพื่อให้อุดมศึกษาไทยมีทางเลือก เป็นแบบอย่างเป็นตัวอย่างฉลาดมีความเป็นมนุษย์และเป็นตัวของตัวเองทั้งในระดับประเทศและระดับนานาชาติ LOGO
มองภาพรวมการแก้ปัญหาการศึกษาไทยสู่...หัวใจวิทยานิพนธ์ ภาค 1 ผู้นำทางอุดมศึกษาใหม่ของไทยต้องไม่ใช่ผู้นำประเภทวิ่งไล่กวด ประเภทโกอินเตอร์ ประเภทตามให้ทันเท่านั้น เพราะจริงแล้วอุดมศึกษาไทยเท่าที่ผ่านมาก็ตามไม่ทัน ไปอินเตอร์ก็ไม่ได้ ได้แต่เดินตามเพียงห่าง ๆ เท่านั้น ดังนั้นผู้นำใหม่ จึงต้องมองปัญหาการวิ่งไล่กวดออก มีความคิดของตนเองและมีทางเลือกให้กับระบบอุดมศึกษาไทยและระบบอุดมศึกษาของภูมิภาคใต้ LOGO
มองภาพรวมการแก้ปัญหาการศึกษาไทยสู่...หัวใจวิทยานิพนธ์ ภาค 1 “ข้าพเจ้าได้อ่านบทความ เรื่อง ภาวะผู้นำใหม่ : ผู้นำเชิงวิเคราะห์ (Critical Leadership) ของ ศ.ไพฑูรย์ สินลารัตน์ แล้วมีความรู้สึกว่าท่านเป็นบุคคลที่มองปัญหาการศึกษาไทยได้อย่างทะลุปรุโปร่ง ใช้ภาษาที่เยือกเย็นทางวิชาการ เข้าใจง่าย มีความชัดเจน คม ชัด ลึก ทุกคำที่ประโยคยากที่จะคัด หรือตัดเอาส่วนหนึ่ง ส่วนใดออก ท่านพูดด้วยข้อความที่ สั้น ๆ แต่เนื้อหาถ้านำมาพิจารณา วิเคราะห์ให้ละเอียดดี ๆ แล้วจะเห็นว่ากินเนื้อหาที่ทั้งกว้างและลึกครับ” LOGO