1 / 29

โครงการศึกษาข้อมูลท้องถิ่น บ้านหนองโน ตำบลปอพาน อำเภอนาเชือก จังหวัดมหาสารคาม ผู้จัดทำ

โครงการศึกษาข้อมูลท้องถิ่น บ้านหนองโน ตำบลปอพาน อำเภอนาเชือก จังหวัดมหาสารคาม ผู้จัดทำ นางสาววิไลพร ปะสาวะเท. ประวัติหมู่บ้าน

vui
Télécharger la présentation

โครงการศึกษาข้อมูลท้องถิ่น บ้านหนองโน ตำบลปอพาน อำเภอนาเชือก จังหวัดมหาสารคาม ผู้จัดทำ

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. โครงการศึกษาข้อมูลท้องถิ่นโครงการศึกษาข้อมูลท้องถิ่น บ้านหนองโน ตำบลปอพาน อำเภอนาเชือก จังหวัดมหาสารคาม ผู้จัดทำ นางสาววิไลพร ปะสาวะเท

  2. ประวัติหมู่บ้าน ประวัติบ้านหนองโน เมื่อก่อนมียายอ้วน ไม่ทราบนามสกุล ได้ย้ายถิ่นฐานมาจาก จ.อุดรธานี (ปัจจุบันลูกหลานคือ นายปาน ปะสาวะโถ) ได้เข้ามาอยู่ที่บ้านขอนแก่นน้อย ซึ่งแต่เดิมหมู่บ้านแถบนี้ ได้มีหมู่บ้านขอนแก่นน้อยเป็นหมู่บ้านแรก หรือหมู่บ้านเก่าแก่ (ปัจจุบันคือบ้านขอนแก่นน้อย อ.เปลือยน้อย จ.ขอนแก่น)

  3. ต่อมาได้ย้ายเข้ามาอยู่รวมกันจนมีครอบครัว ออกลูกออกหลานขยับขยายใหญ่โตขึ้น ประชากรเพิ่มขึ้น และได้แต่งตั้งชื่อหมู่บ้าน ในวันที่ 24 กันยายน ปี พ.ศ.2458 ต่อมาได้มีประชากรได้เข้ามาอยู่อาศัยเพิ่มมากขึ้นประมาณกว่า 70 ครัวเรือน และในขณะนั้นซึ่งทางหลวงได้จัดตั้งการปกครองตามพระราชบัญญัติลักษณะการปกครองท้องที่ เมื่อปี พ.ศ.2475 จึงได้แต่งตั้งบ้านหนองโนขึ้นมาใหม่อย่างเป็นทางการ และต่อมาได้ตั้งบ้านหนองโน เป็นหมู่บ้านเก่าแก่ที่ 2 ในแถบนี้ ต่อมายายอ้วนได้ย้ายจากบ้านขอนแก่นน้อย มาอยู่ที่บ้านหนองไฮ (ปัจจุบัน หนองกุดเวียน อยู่ทางทิศตะวันตกของหมู่บ้าน) ต่อมาได้มีเพื่อนมาอยู่ด้วย 4-5 ครอบครัว หนึ่งในนั้นก็มี นายจันทรา ผาลารักษ์ มาอยู่ที่หนองไฮได้ไม่นานก็พากันย้ายเข้ามาอยู่ที่บ้านหนองโน

  4. สภาพภูมิศาสตร์ พื้นที่หมู่บ้านมีลักษณะเป็นที่เนินสูง ส่วนมากเป็นเนื้อที่ทำการเกษตรใช้ในการปลูกข้าวเป็นมาก ทางทิศเหนือติดกับบ้านโนนแร่ทางทิศตะวันออกติดกับบ้านปอพาน ทางทิศตะวันตกติดเขตรอยต่อระหว่างจังหวัดขอนแก่นซึ่งมีห้วยลำพังชูเป็นเขตกั้นแดน • ประชากรลักษณะที่อยู่อาศัย • พื้นที่ 200 ไร่ จำนวนประชากร รวมทั้งสิ้น 498 คน แยกเป็น ชาย 239 คน หญิง 259 คนจำนวนครัวเรือน 120 ครัวเรือน • การประกอบอาชีพ • เกษตรกรรม (ทำนา/ทำไร่/ทำสวน/เลี้ยงสัตว์)

  5. ที่ดินสาธารณะประโยชน์ที่ประชาชนใช้ร่วมกัน จำนวน 3 แปลง ชื่อ หนองกุดเวียน เนื้อที่ 52 ไร่ ชื่อ หนองโพ เนื้อที่ 30 ไร่ ชื่อ ดอนปู่ตา เนื้อที่ 16 ไร่ กิจกรรมขนาดย่อม โรงสีข้าว 4 แห่ง ร้านค้าของชำหรือของเบ็ตเตล็ด 7 แห่ง ร้านขายอาหาร / เครื่องดื่ม 6 แห่ง ร้านซ่อมทีวี / วีดีโอ 1 แห่ง ร้านซ่อมเครื่องยนต์เล็ก 2 แห่ง

  6. กลุ่มองค์กรต่างๆ ชื่อกลุ่ม กองทุนเงิน จำนวนสมาชิก 80 คน เงิน 1541696 บาท ชื่อกลุ่ม ธนาคารหมู่บ้าน จำนวนสมาชิก 304 คน เงิน 2885100 บาท ชื่อกลุ่ม ทอผ้าไหม จำนวนสมาชิก 10 คน เงิน 30000 บาท ชื่อกลุ่ม ออมทรัพย์ จำนวนสมาชิก 50 คน เงิน 25000 บาท

  7. สัตว์เลี้ยง โค 105 ตัว ครอบครัวที่เลี้ยง 25 ครอบครัว กระบือ 15 ตัว ครอบครัวที่เลี้ยง 4 ครอบครัว สุกร 150 ตัว ครอบครัวที่เลี้ยง 4 ครอบครัว เป็ด 120 ตัว ครอบครัวที่เลี้ยง 50 ครอบครัว ไก่ 1200 ตัว ครอบครัวที่เลี้ยง 120 ครอบครัว

  8. สถานที่สำคัญในหมู่บ้านสถานที่สำคัญในหมู่บ้าน โรงเรียน 2 แห่ง 1.โรงเรียนระดับประถมศึกษา 1-6 โรงเรียนบ้านปอพานหนองโน

  9. 2. โรงเรียนระดับมัธยมศึกษา 1-6 โรงเรียนปอพานพิทยาคมรัชมังคลาภิเษก

  10. 3.วัด 1 แห่ง วัดบูรพา

  11. 4.ศาลากลางบ้าน

  12. 5. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 1 ศูนย์ 6. ตลาด 1 แห่ง 7. สามกีฬา 1 แห่ง

  13. ปราชญ์ชาวบ้าน นายเที่ยง พรมมา ด้าน ศาสนา บ้านเลขที่ 22 หมู่ 3 บ้านหนองโน ตำบลปอพาน อำเภอนาเชือก จังหวัดมหาสารคาม

  14. วัฒนธรรมประเพณี เดือนอ้าย บุญคูณลาน เดือนยี่ บุญกุ้มข้าวใหญ่ เดือนสาม บุญข้าวจี่ เดือนสี่ บุญมหาชาติ เดือนห้า บุญสงกรานต์ เดือนหก บุญบั้งไฟ เดือนเจ็ด บุญบวชนาค เดือนแปด บุญเข้าพรรษา เดือนเก้า บุญข้าวประดับดิน เดือนสิบ บุญข้าวสาก เดือนสิบเอ็ด บุญออกพรรษา เดือนสิบสอง บุญกฐินและงานลอยกระทง

  15. ผู้ที่เรียนจบได้ทำงานเป็นตัวอย่างแก่คนในหมู่บ้านผู้ที่เรียนจบได้ทำงานเป็นตัวอย่างแก่คนในหมู่บ้าน 1. นางสาวรักคณา บัวดง เรียนจบปริญญาตรี ตำแหน่ง อาจารย์ 2. นางสาวสุนิสา บัวดง เรียนจบปริญญาตรี ตำแหน่ง อาจารย์ 3. นางสาวพวงสุภา ปะสาวะเท เรียนจบพยาบาล ตำแหน่ง พยาบาล 4. นายเที่ยง ปะสาวะเท เรียนจบปริญญาตรี ตำแหน่ง นายช่างโยธา 5. นางสาวกฤษณา ปะสาวะเท เรียนจบพยาบาล ตำแหน่ง พยาบาล

  16. บุคคลสำคัญ นายนที ศรีมาตร (ตำแหน่งผู้ใหญ่บ้าน) บ้านเลขที่ 76 หมู่ 3 บ้านหนองโน ตำบลปอพาน อำเภอนาเชือก จังหวัดมหาสารคาม

  17. ภูมิปัญญาท้องถิ่น การทอเสื่อกก

  18. วัสดุ / อุปกรณ์ 1.โฮงทอเสื่อ

  19. 2.ฟืม

  20. 3.ไม้สอด

  21. 4.ต้นกก

  22. ขั้นตอนการทำเสื่อกก 1. นำกกหรือไหลมากรีดออกเป็นเส้น นำไปตากแดดประมาณหนึ่งอาทิตย์

  23. 2. เมื่อแห้งแล้วนำมาย้อมสี ตามต้องการโดยสีที่ย้อมเป็นสีเคมีอย่างดี ส่วนมากจะย้อมสีน้ำตาล สีขาว สีแดง และสีน้ำเงิน

  24. 3. นำเชือกไนลอน หรือเชือกเอนขึงที่ โฮงทอเสื่อให้เป็นเส้นตามโฮงและฟืม

  25. 4. นำกกหรือไหลสอดเข้ากับไม้สอดเพื่อที่จะสอดเข้ากับโฮงและฟืม

  26. 5. เมื่อสอดกกหรือไหลเข้าไปแล้ว ผลักฟืมเข้าหาตัวเองให้กกหรือไหลแน่นติดกันเป็นลายต่าง ๆ

  27. 6. ลายที่ทอเป็นประจำและเป็นที่นิยม คือ ลายมัดหมี่ ลายธรรมชาติ ลายกระจับ

  28. จุดเด่น ลักษณะโดดเด่นของเสื่อกก ใช้ทนทานไม่หักง่ายสีสวย นิ่ม ไม่ร้อน ความกว้างของผืนเสื่อ เป็นที่พึงพอใจต่อผู้ที่ใช้เสื่อต้องเป็นเสื่อพับลายมัดหมี่ มีความสวยงามละเอียดลวดลายโดดเด่นเฉพาะตัว

  29. ขอขอบคุณนางทองลา ปะสาวะเท ผู้ให้ความรู้

More Related