530 likes | 1.57k Vues
กรณีศึกษา และวิธีการวิเคราะห์. MGX424 Strategic Management And Business Policy By Treetip Boonyam. กรณีศึกษา (Case Study) คืออะไร. เป็นเรื่องราวที่เกิดขึ้นจริงทั้งหมดหรือบางส่วนของบริษัทใดบริษัทหนึ่งซึ่งผู้เขียนได้เรียบเรียงใหม่เพื่อใช้ศึกษา
E N D
กรณีศึกษา และวิธีการวิเคราะห์ MGX424 Strategic Management And Business Policy By • Treetip Boonyam
กรณีศึกษา (Case Study) คืออะไร เป็นเรื่องราวที่เกิดขึ้นจริงทั้งหมดหรือบางส่วนของบริษัทใดบริษัทหนึ่งซึ่งผู้เขียนได้เรียบเรียงใหม่เพื่อใช้ศึกษา โดยผู้เรียนต้องสมมติตัวเองอยู่ในเหตุการณ์ที่จะต้องเป็นผู้แก้ไขปัญหาของบริษัทนั้น
จุดประสงค์ของการเรียนโดยใช้กรณีศึกษาจุดประสงค์ของการเรียนโดยใช้กรณีศึกษา • เพื่อให้ผู้เรียนเข้าใจถึงการบริหารงานขององค์การธุรกิจอย่างแท้จริง • เพื่อฝึกตนเองให้มีความพร้อมในการปฏิบัติงาน • ตัดสินใจแก้ปัญหาโดยพิจารณาจากความเร่งด่วน • มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ • ฝึกการทำงานเป็นทีม และคิดอย่างเป็นระบบ
การเตรียมตัวในการวิเคราะห์กรณีศึกษาการเตรียมตัวในการวิเคราะห์กรณีศึกษา 1. อ่านกรณีศึกษาให้ละเอียด 1 ครั้งแล้วทิ้งไว้สักระยะเพื่อรู้สิ่งที่เกิดขึ้นคร่าวๆ ของบริษัท 2. กลับมาอ่านครั้งที่สองเพื่อจับใจความสำคัญ โดยขีดเส้นใต้ข้อความสำคัญ
3. เขียนประเด็นปัญหา หรือประเด็นที่สะท้อนให้เห็นปัญหานั้นๆ (อย่าลืมหา SWOT)
4. คิดหาปัญหาที่แท้จริงว่ามีด้านใดบ้าง และเรียงความเร่งด่วนในการแก้ปัญหา ปัญหาเร่งด่วน?: ปัญหาที่หากเราไม่แก้ไข จะเป็นอันตรายสูงสุดต่อองค์กร
5. ร่วมแสดงความคิดเห็น จากต่างความคิด มาสู่การลงมติเดียวกัน
ขั้นตอนการเขียนรายงานกรณีศึกษา(CASE REPORT) • เขียนสรุปย่อความเป็นมา ตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบันขององค์กรในกรณีศึกษา ***ความยาวไม่เกิน 1 หน้ากระดาษ A4***
ความเป็นมาและสถานการณ์ปัจจุบันความเป็นมาและสถานการณ์ปัจจุบัน • ชื่อของธุรกิจ • ชนิดของการประกอบการ • สถานที่ตั้ง • เงินทุนจดทะเบียน • การดำเนินงานที่ผ่านมา • ระบบการบริหารงาน และการจัดการต่าง ๆ
2. การประเมินสถานการณ์โดยใช้ SWOT • เป็นการวิเคราะห์เพื่อพิจารณาถึงศักยภาพขององค์การ มองหาโอกาสและระบุอุปสรรคเพื่อการแก้ไข *** การวิเคราะห์ SWOT ทำให้รู้จักองค์การดียิ่งขึ้น และทราบความเป็นไปได้ในการแก้ปัญหา***
2.1 การวิเคราะห์จุดแข็ง (Strengths) • เป็นการหาจุดเด่น หรือข้อได้เปรียบที่เด่นชัดขององค์กรในด้านต่างๆ เช่น การจัดการ, การตลาด, การเงิน, การผลิต, บุคคล, เทคโนโลยี, บัญชี • เป็นการพิจารณาจากภายในองค์กรเท่านั้น
2.2 การวิเคราะห์จุดอ่อน (Weaknesses) • เป็นการพิจารณาจุดด้อยขององค์การ ในด้านต่าง ๆ • โดยพิจารณาสภาพแวดล้อมภายในองค์การที่กระทบต่อการดำเนินธุรกิจ ทำให้องค์การจะต้องดำเนินการแก้ไข
2.3 การวิเคราะห์โอกาส (Opportunities) • เป็นการวิเคราะห์ปัจจัยที่เอื้ออำนวย ให้แก่องค์การ จากสภาพแวดล้อมภายนอก • ที่จะกระทบทำให้ องค์การประสบความสำเร็จได้
2.4 การวิเคราะห์อุปสรรค (Threats) • เป็นการวิเคราะห์ข้อจำกัดที่เกิดจากสภาพแวดล้อมภายนอกที่ขัดขวางการดำเนินธุรกิจ หรือ • ทำให้องค์การประสบความสำเร็จได้ช้าและองค์การต้องดำเนินการแก้ไข
3. การกำหนดวัตถุประสงค์ • การกำหนดสิ่งที่เป็นเป้าหมายในอนาคต หลังจากตัดสินใจใช้กลยุทธ์แก้ไขปัญหาให้หมดไปแล้ว • ต้องสอดคล้องกับการแก้ปัญหานั้นๆ • ในแต่ละหน้าที่จะมีวัตถุประสงค์ได้เพียง 1 ข้อ (สรุปทั้งรายงานจะมีวัตถุประสงค์ไม่เกิน 5 ข้อ)
4. การวิเคราะห์ 4.1 การกำหนดปัญหาและสาเหตุของปัญหา 4.2 การกำหนดทางเลือกเพื่อแก้ไขปัญหา ข้อสังเกต: ควรเขียนอธิบายสาเหตุให้ละเอียด และชัดเจนที่สุดเท่าที่จะทำได้ เพื่อนำไปสู่การ ระบุปัญหาที่ถูกต้อง
4. การกำหนดปัญหา • ด้านการตลาด • ด้านการผลิต / บริการ • ด้านการจัดการ /การบริหาร • ด้านการเงิน • ด้านทรัพยากรมนุษย์
ปัญหาการตลาด • การวางแผนการตลาดไม่มีประสิทธิภาพ • ยอดขายมีแนวโน้มลดลง • ยอดขายลดลงและเจาะตลาดใหม่ไม่ได้ ฯลฯ
ปัญหาการผลิต / บริการ • สินค้า / บริการไม่มีคุณภาพ • การบริการไม่เป็นที่น่าพอใจ • ผลิตไม่ทันความต้องการของลูกค้า • ขบวนการผลิตไม่มีประสิทธิภาพ • ต้นทุนการผลิตสูง ฯลฯ
ปัญหาการบริหาร • โครงสร้างขององค์กรไม่เหมาะสม • ฝ่ายต่างๆ ขององค์การปฏิบัติงานไม่มีประสิทธิภาพ
ปัญหาการเงิน • บริษัท ขาดเงินทุนหมุนเวียน • บริษัท มีโครงสร้างเงินทุนไม่เหมาะสม • บริษัท ลงทุนในสินทรัพย์ถาวรมากเกินไป • การเร่งรัดหนี้สินไม่มีประสิทธิภาพ ฯลฯ
ปัญหาการบริหารทรัพยากรมนุษย์ปัญหาการบริหารทรัพยากรมนุษย์ • บุคลากรไม่เพียงพอต่อการปฏิบัติงาน • บุคลากรขาดความรู้ความสามารถ • บุคลากรขาดความรับผิดชอบ • อัตราการเข้าออกของพนักงานสูง ฯลฯ
การกำหนดทางเลือกในการแก้ไขปัญหาการกำหนดทางเลือกในการแก้ไขปัญหา • เมื่อมีปัญหาและสาเหตุของปัญหาในแต่ละด้าน ผู้วิเคราะห์กรณีศึกษาจะต้องกำหนดแนวทางแก้ปัญหาเป็นข้อ ๆ • ข้อสังเกต: ธุรกิจซื้อมาขายไป จะมีปัญหาเพียง 4 ด้าน (ไม่มีการผลิต)
การดำเนินการแก้ไข • เป็นการนำเอาทางเลือกที่ตัดสินใจเลือกไว้มาดำเนินการ • ระบุว่าจะมอบหมายให้ใคร (เช่น ผจก., หัวหน้าฝ่าย...) เป็นผู้รับผิดชอบในการดำเนินการ • ควรเขียนอธิบายให้ชัดเจนว่าจะมีวิธีแก้ไขอย่างไร • คุณอาจเลือกทุกทางเลือกก็ได้ ถ้าคุณอธิบายได้ว่าสามารถแก้ปัญหาได้จริงอย่างไร
ข้อคิดเห็นอื่น ๆ / ข้อเสนอแนะอื่น ๆ • เป็นการแสดงความคิดเห็นเพิ่มเติมในฐานะ ผู้สังเกตการณ์ • ข้อเสนอแนะเป็นสิ่งที่บริษัทจะทำหรือไม่ก็ได้
สรุป • ความเป็นมาและสถานการณ์ปัจจุบัน • การวิเคราะห์ SWOT • การกำหนดวัตถุประสงค์ • การกำหนดปัญหา สาเหตุ ทางเลือก และ การดำเนินการแก้ไขปัญหา 5. ข้อคิดเห็น / ข้อเสนอแนะอื่น ๆ
หน้าปก Case Report (ชื่อเรื่อง) กลุ่ม ชอ....../........ Section …………. โดย 1.................................ID: 2…………………….ID: เป็นส่วนประกอบวิชานโยบายธุรกิจ คณะบริหารธุรกิจ ภาคการศึกษาที่ 1 วันที่.........เดือน...........ปี.............