300 likes | 564 Vues
การพยากรณ์โรคเลปโตสไปโรซีส พ.ศ.2555 Leptospirosis: A Forecast Report for 2012 กลุ่มระบาดวิทยาและข่าวกรอง สำนักงานป้องกันป้องกันควบคุมโรคที่ 5 จังหวัดนครราชสีมา. ความสำคัญ ในเขตตรวจราชการสาธารณสุขที่ 14 โรคเลปโตสไปโรซีส จัดว่าเป็น
E N D
การพยากรณ์โรคเลปโตสไปโรซีส พ.ศ.2555 Leptospirosis: A Forecast Report for 2012 กลุ่มระบาดวิทยาและข่าวกรอง สำนักงานป้องกันป้องกันควบคุมโรคที่ 5 จังหวัดนครราชสีมา
ความสำคัญ ในเขตตรวจราชการสาธารณสุขที่ 14 โรคเลปโตสไปโรซีส จัดว่าเป็น ปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญ เพราะมีอัตราป่วยสูงกว่าระดับประเทศ มาต่อเนื่องทุกปี วัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาระบาดวิทยาของโรคเลปโตสไปโรซีส ของพื้นที่เขตตรวจราชการสาธารณสุขที่ 14 ระหว่างปี 2545-2555 2. เพื่อพยากรณ์โรคเลปโตสไปโรซีส พ.ศ.2555 ในพื้นที่เขตตรวจราชการสาธารณสุขที่ 14
วิธีการศึกษา 1. เป็นการศึกษาระบาดวิทยาเชิงพรรณนา (Descriptive study) ร่วมกับการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติขั้นสูง 2. ทบทวนเอกสารจากแหล่งข้อมูล 2.1 รายงานการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยา(รง.506) โรคเลปโตสไปโรซีส พ.ศ. 2545 – พ.ศ.2554 สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข 2.2 งานวิจัยที่เกี่ยวข้องทางด้าน โรคเลปโตสไปโรซีส พาหะของโรค และปศุสัตว์
3. วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การศึกษาระบาดวิทยาเชิงพรรณนาดังนี้ 3.1 สถิติเชิงพรรณนา 3.2 สถิติเชิงอนุมาน ใช้วิธีการ สหสัมพันธ์ถดถอยอย่างง่าย (Simple linear regression) ทดสอบความแตกต่างของจำนวนป่วย และประมาณน้ำฝนรายปี รายเดือน ด้วยวิธีการวิเคราะห์ความแปรปรวน ทางเดียว(one way ANOVA) 4. การพยากรณ์โรคล่วงหน้า ใช้เทคนิคการพยากรณ์เชิงปริมาณ ( Time Series Model)
ผลการศึกษา 1. สถานการณ์โรคเลปโตไปโรซีส รูปที่ 1 อัตราป่วยต่อประชากรแสนคนโรคเลปโตสไปโรซีสประเทศและ เขตตรวจราชการสาธารณสุขที่ 14 พ.ศ. 2545 - 2554 ที่มา: สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข
รูปที่ 2 อัตราตายต่อประชากรแสนคนโรคเลปโตสไปโรซีสประเทศและ เขตตรวจราชการสาธารณสุขที่ 14 พ.ศ. 2545 - 2554 ที่มา: สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข
รูปที่ 3 อัตราป่วยต่อประชากรแสนคนโรคเลปโตสไปโรซีส จำแนกตามกลุ่มอายุ เขตตรวจราชการสาธารณสุขที่ 14 พ.ศ. 2552 -2554 ที่มา: สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข
รูปที่ 4 สัดส่วนของผู้ป่วยโรคเลปโตสไปโรซีส จำแนกตามอาชีพ เขตตรวจราชการสาธารณสุขที่ 14 พ.ศ.2552- 2554 ที่มา: สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข
รูปที่ 5 อัตราป่วยต่อประชากรแสนคนโรคเลปโตสไปโรซีส จำแนกรายจังหวัด เขตตรวจราชการสาธารณสุขที่14 พ.ศ. 2552-2554 ที่มา: สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข
รูปที่ 6 อัตราป่วยโรคเลปโตสไปโรซีส เขตตรวจราชการสาธารณสุขที่ 14 จำแนกรายเดือน พ.ศ. 2545-2554 ที่มา: สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข
พฤติกรรมเสี่ยงต่อการป่วยด้วยโรคเลปโตสไปโรซีสพฤติกรรมเสี่ยงต่อการป่วยด้วยโรคเลปโตสไปโรซีส ตารางที่ 1 พฤติกรรมเสี่ยงต่อการป่วยด้วยโรคเลปโตสไปโรซีส จากรายงานสอบสวนโรค พฤติกรรมเสี่ยง จำนวน (N = 34) ร้อยละ - ลงแช่น้ำในแหล่งน้ำธรรมชาติ 17 50.0 - เดินย่ำน้ำ/พื้นที่ 14 41.2 ชื้นแฉะโดยไม่สวมรองเท้า - ชำแหละหนูนา 1 2.9 - ไม่ทราบ 2 5.9 รวม 34 100
พฤติกรรมเสี่ยงต่อการเกิดโรคเลปโตสไปโรซีสจากรายงานการศึกษาวิจัยพฤติกรรมเสี่ยงต่อการเกิดโรคเลปโตสไปโรซีสจากรายงานการศึกษาวิจัย • - การไถนาในที่เปียกนานเกินกว่า 6 ชั่วโมง • - การถอนกล้าในที่เปียกเกิน 6 ชั่วโมง • - การใส่ปุ๋ยในที่เปียกเกิน 6 ชั่วโมง และการเดินย่ำน้ำนานกว่า 6 ชั่วโมง • เสี่ยงต่อการเป็นโรคเลปโตสไปโรซีสอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
การศึกษาเชิงคุณภาพ พบว่าผู้ป่วยโรคเลปโตสไปโรซีส มีพฤติกรรมหลายอย่างที่ทำต่อเนื่องกันได้แก่ การทำนา การหาปลา การเลี้ยงสัตว์ และพบว่ามีเงื่อนไขทางสังคมวัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป การเลี้ยงโค กระบือ เป็นอาชีพเสริม บทบาทชายหญิงในภาคเกษตรกรรม ทำให้ผู้ป่วยติดเชื้อเลปโตสไปร่าเพิ่มมากขึ้น
ปัจจัยที่อาจมีผลต่อการเกิดโรคเลปโตสไปโรซีสปัจจัยที่อาจมีผลต่อการเกิดโรคเลปโตสไปโรซีส 1. ปริมาณน้ำฝน 2. ปริมาณปศุสัตว์/ความชุกของการติดเชื้อเลปโตสไปร่า 3. ปริมาณหนูนา/ความชุกของการติดเชื้อเลปโตสไปร่า 4. ปริมาณแหล่งน้ำในพื้นที่ 5. ปัจจัยทางวัฒนธรรม สังคมและสิ่งแวดล้อม
1. ปริมาณน้ำฝน รูปที่ 9 ปริมาณน้ำฝนรายเดือน เปรียบเทียบกับอัตราป่วยต่อประชากรแสนคน โรคเลปโตสไปโรซีส เขตตรวจราชการสาธารณสุขที่ 14 พ.ศ.2543 – 2554 ที่มา : 1. ศูนย์อุทกวิทยาและบริหารน้ำภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง กรมชลประทานอุทก 2. สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข
2. ปริมาณปศุสัตว์/ความชุกของการติดเชื้อเลปโตสไปร่า ตารางที่ 2 ปริมาณปศุสัตว์และการคาดประมาณการติดเชื้อเลปโตสไปร่าในปศุสัตว์ จำแนกรายจังหวัด เขตตรวจราชการสาธารณสุขที่ 14 พ.ศ. 2554 หมายเหตุ สัดส่วนการติดเชื้อในกระบือ = 32.5 สัดส่วนการติดเชื้อในโค = 7.6
ปัจจัยด้านปริมาณหนูนา/ความชุกของการติดเชื้อเลปโตสไปร่าปัจจัยด้านปริมาณหนูนา/ความชุกของการติดเชื้อเลปโตสไปร่า ตารางที่ 3 การคาดประมาณจำนวนหนูนา และการคาดประมาณการติดเชื้อเลปโตสไปร่าในหนูนา จำแนกรายจังหวัด เขตตรวจราชการสาธารณสุขที่ 14 พ.ศ. 2553 หมายเหตุสัดส่วนการติดเชื้อในหนูนา = 7.1
ปัจจัยด้านแหล่งน้ำในพื้นที่และการมีน้ำท่วมขัง ปัจจัยด้านแหล่งน้ำในพื้นที่และการมีน้ำท่วมขัง ตารางที่ 4 จำนวนแหล่งน้ำ จำแนกรายประเภทและรายจังหวัด เขตตรวจราชการ สาธารณสุขที่ 14 พ.ศ.2553 ที่มา: โครงการชลประทานบุรีรัมย์
ปัจจัยทางวัฒนธรรม สังคมและสิ่งแวดล้อม - ลักษณะที่ดินในนา ในพื้นที่ที่มีการระบาด ส่วนใหญ่เป็นดินเหนียวถึงเหนียวจัด สภาพเป็นกลางถึงด่างอ่อนเอื้อต่อการอยู่รอดของเชื้อเลปโตสไปร่า ในขณะที่พื้นที่ที่ไม่มีการระบาดมีทั้งดินเหนียวและดินร่วนปนทรายบางส่วน - จำนวนแหล่งน้ำ พื้นที่ที่มีการะบาดมีแหล่งน้ำทั้งขนาดใหญ่และเล็กเป็นจำนวนมาก ส่วนในพื้นที่ที่ไม่มีการระบาด มีแหล่งน้ำขนาดใหญ่คือ แม่น้ำมูล บึง และแหล่งน้ำขนาดเล็กอีก 2 แห่ง -ปริมาณสัตว์ พบว่าในพื้นที่ที่มีการระบาด มีการเลี้ยงสัตว์(โค กระบือ สุกร) มากกว่าพื้นที่ที่ไม่มีการระบาด และพบว่าพื้นที่ที่มีการระบาดมีปริมาณหนูมากกว่า
ความเชื่อเกี่ยวกับสาเหตุการเกิดโรค ทั้งพื้นที่ที่มีการระบาด และพื้นที่ที่ไม่มีการระบาด มีความเชื่อเกี่ยวกับการเกิดโรค แบ่งเป็น 3 กลุ่มคล้ายกัน คือ กลุ่มที่ 1 เชื่อว่าเกิดจากสารเคมี พวกสารเคมีกำจัดวัชพืช กลุ่มที่ 2 เชื่อว่าเกิดจากเยี่ยวหนู กลุ่มที่ 3 เชื่อว่าเกิดจากเยี่ยวหนู ผสมสารเคมี
นอกจากนั้น ยังพบว่าพื้นที่ที่ไม่มีการระบาดของโรค มีความเชื่อเรื่องศาลปู่ตาที่มีงูสิงห์เป็นพาหนะ จึงไม่ฆ่างู ในขณะที่พื้นที่ที่มีการระบาด ไม่มีความเชื่อเรื่องศาลปู่ตา ทำให้มีการจับงูไปขายและฆ่างูสิงห์ ทำเป็นอาหาร
การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของปัจจัยต่าง ๆ กับการเกิดโรค ตารางที่ 5 จำนวนแหล่งน้ำ จำนวนและร้อยละของผู้ป่วยด้วยโรคเลปโตสไปโรซีสสะสม จำแนกรายจังหวัด เขตตรวจราชการสาธารณสุขที่ 14 พ.ศ.2539 -2554
ตารางที่ 6 ปริมาณหนูนา จำนวนและร้อยละของผู้ป่วยด้วยโรคเลปโตสไปโรซีสสะสม จำแนกรายจังหวัด เขตตรวจราชการสาธารณสุขที่ 14 พ.ศ.2539-2554
ตารางที่ 7 ความสัมพันธ์ระหว่าง จำนวนป่วยรายเดือนและปริมาณน้ำฝน รายเดือน พ.ศ.2543-2554 a เมื่อตัวแปรตามคืออัตราป่วย b เมื่อตัวแปรตามคือจำนวนป่วย
การพยากรณ์แนวโน้มการเกิดโรคล่วงหน้า พ.ศ.2555 จากโมเดลของวินเตอร์ :Yt= [β0 + β1 t] (St) (I) จะได้จำนวนผู้ป่วยในแต่ละเดือน ตามสมการ Yt = [134.42+ (-0.40) t] (St) (1) เมื่อ t = ช่วงเวลาที่มีระยะห่างเท่าๆกัน (ต่อเนื่องกัน) Yt = ค่าจริงเมื่อเวลา t (จำนวนผู้ป่วยในแต่ละเดือน) β0 = ระยะตัดแกน (ส่วนประกอบถาวร) β1 = ค่าความชันของแนวโน้ม (ของข้อมูลชุดนี้) SI = ค่าดัชนีฤดูกาลที่เปลี่ยนแปลงตามฤดูกาล เมื่อเวลา t (1-12 เดือน) I = ค่าความไม่แน่นอน (ให้ค่าเท่ากับ 1) (134.42) เป็นค่าเริ่มต้นที่ได้จากข้อมูลชุดนี้ (ปรับให้เรียบยกกำลังสาม) (-0.40) เป็นค่าแนวโน้มของข้อมูลชุดนี้ (แยกรายเดือน ในช่วงเวลา 10 ปี)
รูปที่ 11 จำนวนผู้ป่วยเลปโตสไปโรซีส ปี 2545 – 2554 และการพยากรณ์แนวโน้มปี 2555 ในปี 2555 คาดว่าน่าจะมีรายงานผู้ป่วยโรคเลปโตสไปโรซีส ประมาณ 1,575 ราย โดยเดือนตุลาคม จะมีรายงานผู้ป่วยสูงสุด (จำนวน 305 ราย)
รูปที่ 12 จำนวนผู้ป่วยเลปโตสไปโรซีส ปี 2545 – 2554 และการพยากรณ์แนวโน้มปี 2555
ข้อเสนอแนะเพื่อการแก้ไขปัญหาโรคเลปโตสไปโรซีสข้อเสนอแนะเพื่อการแก้ไขปัญหาโรคเลปโตสไปโรซีส • การแก้ไขปัญหาระยะสั้น • 1.1 หน่วยงานที่รับผิดชอบในด้านการป้องกันควบคุมโรค ควรมี • ถ่ายทอดความรู้และแนวทางการปฏิบัติตนในการป้องกันควบคุมโรคที่ถูกต้องและเหมาะสม • 1.2 ควรทำการศึกษาวิจัยความสัมพันธ์ของซีโรวาร์ของเชื้อในปศุสัตว์และหนูนา • เพื่อยืนยันและหามาตรการการป้องกันการติดต่อโรคในปศุสัตว์และในคนต่อไป • 1.3ในพื้นที่ที่ปริมาณน้ำน้อย แหล่งน้ำน้อย แต่พบการติดเชื้อในปศุสัตว์สูง • ควรเน้นให้ประชาชนระวังและป้องกันการติดเชื้อ ให้เข้มข้นและมากกว่าพื้นที่ • ที่แหล่งน้ำมาก และมีการติดเชื้อน้อย
การแก้ไขปัญหาระยะยาว • 2.1 ควรทำการศึกษาวิจัยหรือหานวัตกรรมใหม่ ในการป้องกันควบคุม • โรคเลปโตสไปโรซีส • 2.2 ควรกำหนดให้โรคเลปโตสไปโรซีสอยู่ในแผนการเรียนการสอนของโรงเรียนระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษาในพื้นที่ที่มีการระบาดของโรค เพื่อสร้างเสริมพฤติกรรมที่ถูกต้องในการป้องกันควบคุมโรคแก่ประชาชนอย่างต่อเนื่อง • 2.3 ควรปรับปรุงมาตรฐานการทำปศุสัตว์ เพื่อป้องกันการเข้ามาหากินของหนูในเขตปศุสัตว์ซึ่งจะทำให้เกิดการติดเชื้อโรคเลปโตสไปร่าในปศุสัตว์ได้ • 2.4 จากการศึกษาพบว่าการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพียงอย่างเดียวคงไม่เพียงพอ แต่ต้องเน้นการจัดการสิ่งแวดล้อม โดยทำให้สิ่งแวดล้อมปนเปื้อนเชื้อน้อยที่สุด เน้นการแก้ปัญหาแบบสหวิชาชีพ