1 / 18

แนวคิดทางเทคโนโลยีการศึกษา

แนวคิดทางเทคโนโลยีการศึกษา. การปฏิรูปการศึกษาเป็นกระแสใหญ่ทั่วโลกเพราะในสภาพของโลกที่เปลี่ยนไปการศึกษาจึงจำเป็นต้องมีการปรับตัวให้สามารถเป็น “การศึกษาสำหรับทุกคน” หรือการเอาผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง. ทวีปยุโรป. ประเทศฝรั่งเศส

wes
Télécharger la présentation

แนวคิดทางเทคโนโลยีการศึกษา

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. แนวคิดทางเทคโนโลยีการศึกษาแนวคิดทางเทคโนโลยีการศึกษา การปฏิรูปการศึกษาเป็นกระแสใหญ่ทั่วโลกเพราะในสภาพของโลกที่เปลี่ยนไปการศึกษาจึงจำเป็นต้องมีการปรับตัวให้สามารถเป็น “การศึกษาสำหรับทุกคน” หรือการเอาผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง

  2. ทวีปยุโรป • ประเทศฝรั่งเศส ระบบการศึกษาในประเทศฝรั่งเศสอาจเรียกได้ว่าเป็นระบบการศึกษาที่รัฐให้ฟรีทั้งหมด และในปัจจุบันประเทศฝรั่งเศสได้มีการปฏิรูปการศึกษา โดยนำระบบการสื่อสารโทรคมนาคมมาพัฒนาเทคโนโลยีการศึกษาและการศึกษาแบบออนไลน์ ผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ เทคโนโลยีการศึกษาที่นำมาใช้ในประเทศฝรั่งเศสในปัจจุบันเป็นบทเรียนออนไลน์การเรียนผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต

  3. จากการศึกษาค้นคว้าข้อมูลขอบข่ายของเทคโนโลยีการศึกษาในประเทศฝรั่งเศสได้เน้นถึงการพัฒนาประชากร โดยให้การศึกษาแก่ทุกคนได้นำความรู้ที่ได้ไปพัฒนาตนเอง เทคโนโลยีการศึกษาจะเป็นแนวทางที่ไม่จำกัดสถานที่และเวลา

  4. ประเทศสหราชอาณาจักร ประเทศสหราชอาณาจักรได้พัฒนาการสอนผ่านเทคโนโลยีสารสนเทศในรูปแบบต่างๆ มากขึ้นโดยเฉพาะการใช้อินเตอร์เน็ตเข้ามาช่วยในการจัดการเรียนการสอน ได้มีการกำหนดแผนพัฒนาในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในรูปแบบต่างๆประกอบด้วย 1. การเชื่อมต่อทุกโรงเรียนเข้ากับทางด้านสารสนเทศ 2. การพัฒนาเครือข่ายแห่งชาติเพื่อการเรียนรู้เป็นโครงสร้างพื้นฐาน

  5. มีการกำหนดเป้าหมายการพัฒนาให้ครูต้องใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารตามหลักสูตรได้ สถาบันการศึกษาทุกแห่ง ห้องสมุดและศูนย์ชุมชนต้องเชื่อมต่อกับ NGFL

  6. ประเทศฟินแลนต์ เทคโนโลยีการศึกษาในประเทศฟินแลนด์ครอบคลุมเกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีในการเรียนรู้และการศึกษาโดยอิงทฤษฏีการเรียนรู้ เช่น หน่วยวิจัยเทคโนโลยีการศึกษาเน้นการวิจัยที่เข้าใจกระบวนการเรียนรู้ของนักเรียน สนับสนุนการเรียนรู้ได้แก่สื่อประสม การประชุมทางไกลระบบเครือข่ายการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการศึกษา คอมพิวเตอร์

  7. การศึกษาปัจจุบันเน้นที่ content of rducation และ methods of instruction และยังคงเน้นที่มาตรฐานการศึกษาและความเท่าเทียมกันของการศึกษาโดยสรุปแล้วเทคโนโลยีการศึกษาในประเทศฟินแลนด์ครอบคลุมเกี่ยงกับ 1. การใช้เทคโนโลยีในการเรียนรู้และการศึกษาโดยอิงกับทฤษฏีการ เรียนรู้ให้เข้าใจกระบวนการเรียนรู้ของผู้เรียน 2. มีความสอดคล้องกับสิ่งแวดล้อมที่มีเทคโนโลยีสนับสนุน 3. การเรียนรู้ที่มีคอมพิวเตอร์ระบบเครือข่ายสิ่งแวดล้อมที่เสมือนจริงสนับสนุน

  8. ทวีปเอเชีย ประเทศญี่ปุ่น การนำเทคโนโลยีการศึกษาไปใช้ในการเรียนการสอนระดับต่างๆ มีความแตกต่างกันชัดเจนระหว่างพฤติกรรมของการเรียนรู้กับสื่อ คือในระบบอนุบาลจะนิยมใช้เครื่องบันทึกเสียง ระดับประถมศึกษานิยมใช้เครื่องโทรทัศน์ ระดับมัธยมต้นนิยมใช้เครื่องฉายภาพข้ามศีรษะและมัธยมปลายนิยมใช้เครื่องเล่นและบันทึกเทปโทรทัศน์ ซึ่งจากข้อมูลดังกล่าวน่าจะเป็นสิ่งที่แสดงให้เห็นว่าจำเป็นจะต้องมีการสร้างทัศนคติภายใต้ทฤษฏีจิตวิทยาเพื่อส่งเสริมและให้ความรู้ในเรื่องของการใช้โสตทัศนูปกรณ์

  9. จากการค้นคว้าข้อมูลพบว่ามีการจัดตั้งองค์กรด้านเทคโนโลยีการศึกษาของประเทศญี่ปุ่นและรัฐบาลให้การสนับสนุนในลักษณะภาพรวมของประเทศ ในการจัดรูปแบบองค์ ในการที่จะพัฒนาตนเองเข้าสู่ ศตวรรษที่ 21 ประเทศญี่ปุ่นจำเป็นต้องปฏิรูประบบการศึกษาโดยนโยบายหลักชาตินิยม คือพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ทางต้านการศึกษา ทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมภายใต้กระบวนการคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแต่การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์นั้นต้องตั้งอยู่บนพื้นฐานการกีฬาอันที่จะส่งผลต่อสุขภาพที่ดีของประชาชน

  10. ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีนประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน • เทคโนโลยีการศึกษาเป็นตัวชี้วัดที่สำคัญของความทันสมัยของการศึกษา ในจีนผู้นำของรัฐบาลจีนให้ความสนใจในเทคโนโลยีการศึกษาตลอดช่วง20ปีที่ผ่านมาของการปฏิรูปผู้นำในชนบทหลายท่านได้เขียนเอกสารการสอนสำหรับการศึกษาผ่านดาวเทียมและการศึกษาทางไกลสมัยใหม่โดยคณะกรรมการทางพรรคคอมมิวนิสต์จีนและรัฐสภาเน้นว่าต้องให้ความสำคัญต่อเทคโนโลยีการศึกษาสมัยใหม่และระบบสารสนเทศการศึกษา ดังนั้นการพัฒนาเทคโนโลยีการศึกษาจึงเป็นงานที่สำคัญที่ทำให้เกิดความทันสมัยของการศึกษาจีน

  11. โดยสรุป ขอบข่ายสาระของเทคโนโลยีการศึกษาของจีนเน้นการนำประเทศสู่ความทันสมัย โดยการแพร่กระจายความรู้ให้แก่ประชากรของประเทศที่มีจำนวนมากให้สามารถอ่านออกเขียนได้รับความรู้อย่างทั่วถึงเท่าเทียมกัน รวมทั้งสนับสนุนความเป็นเลิศทางวิชาการโดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์โดยอาศัยเทคโนโลยีการศึกษาร่วมกับเทคโนโลยีสารสนเทศจีนมีศักยภาพและได้ประกาศเข้าสู่ความทันสมัยในแผนปฏิบัติการแห่งชาติ

  12. ประเทศสิงคโปร์ สาธารณรัฐสิงคโปร์ เป็นประเทศที่ประสบความสำเร็จอย่างมากในด้านเศรษฐกิจการเมือง สังคมและการศึกษา นับเป็นประเทศเปิดใหม่ที่มีความก้าวหน้าพัฒนาศักยภาพของบุคคลให้สูงสุดโดยอาศัยการศึกษาเป็นสำคัญ ในปี 2529 นำเทคโนโลยีมาใช้ในการเรียนการสอนอย่างกว้างขวาง มีโครงการเชื่อมโยงโรงเรียนโดยใช้เครือข่ายคอมพิวเตอร์ เชื่อมโยงกระทรวงศึกษาธิการและโรงเรียนทั้งหมดในอนาคตสิงคโปร์จะนำเทคโนโลยีการศึกษามาใช้เพื่อการศึกษาอย่างกว้างขวาง ด้วยความสำคัญ 4 ประการ

  13. 1. การเรียนการสอนต้องใช้สือหลายประเภท 2. ผู้เรียนต้องเลือกใช้สื่ออย่างสร้างสรรค์ 3. การพัฒนาสื่อทุกประเภทต้องเน้นให้มีการตอบสนอง สามารถเรียนด้วยตนเอง

  14. กล่าวสรุป สาธารณรัฐสิงคโปร์มีการนำเอาเทคโนโลยีการศึกษามาใช้ในการจัดการศึกษาคล้ายกับประเทศต่างๆ ในเอเชีย เนื่องจากได้รับอิทธิพลจากการปกครองของประเทศอังกฤษ ดังนั้น การศึกษาจึงคาดว่าจะได้รับอิทธิพลทางเทคโนโลยีต่างๆ มาใช้ในการบริหารและการจัดการเรียนการสอนแต่เนื่องจากวิสัยทัศน์ของผู้นำประเทศในขณะนี้ทำให้สิงคโปร์มีแนวทางในการจัดการศึกษาเป็นของตนเองและมุ่งพัฒนาผู้เรียนโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศช่วยให้ผู้เรียนมีคุณลักษณะเป็นผู้ใฝ่รู้เรียนอย่างติอเนื่องตลอดชีวิต

  15. ประเทศไทย • เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา" เป็นเครื่องมือในการพัฒนาการศึกษา โดยการนำสื่อสารมวลชนเทคโนโลยีสารสนเทศ โทรคมนาคม และการจัดแหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ มาใช้เพื่อจัดให้การศึกษาที่สามารถผสมผสานระหว่างการศึกษาในระบบการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย เอื้ออำนวยให้ผู้เรียนสามารถศึกษาค้นคว้าได้ตามความต้องการ เพื่อให้การเรียนรู้และการพัฒนาคุณภาพชีวิตเกิดขึ้นได้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิตทั้งด้านการศึกษาสาระความรู้ทางวิชาการ ทางศาสนา และศิลปะ วัฒนธรรม

  16. ส่วนขอบข่ายของเทคโนโลยีการศึกษา ตามแนวคิดของนักคิดไทย ชัยยงค์ พรหม ได้แบ่งประมวลออกเป็น 3 ขอบข่ายคือ ขอบข่ายด้านสาระของเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษาการพัฒนาและออกแบบระบบทางการศึกษาพฤติกรรมการเรียนการสอน วิธีการสอนสื่อสารการศึกษาสภาพแวดล้อมทางการศึกษา การจัดการด้านการเรียนการสอนและการประเมินการศึกษา ขอบข่ายด้านภารกิจเป็นการนำเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษาไปใช้เพื่อภารกิจทางการศึกษาคือภารกิจด้านการบริหาร ด้านวิชาการและด้านการบริการ

  17. ขอบข่ายตามรูปแบบการจัดการศึกษามีการนำเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษาไปใช้เป็นเครื่องมือในการจัดการศึกษา 4 ด้าน คือ 1. การศึกษาในระบบโรงเรียน จำแนกตามระดับการศึกษาระดับประถมศึกษา มัธยมศึกษาและอุดมศึกษา 2. การศึกษานอกระบบโรงเรียน 3. การฝึกอบรม 4. การศึกษาทางไกล

  18. ขอบคุณ ค่ะ

More Related