1 / 25

กระบวนการหลังการเก็บเกี่ยวพืชไร่

รหัสวิชา พร 443. กระบวนการหลังการเก็บเกี่ยวพืชไร่. การวิเคราะห์จุดคุ้มทุน & ระยะเวลาคืนทุน. กิตติกร สาสุจิตต์ ศูนย์วิจัยพลังงาน มหาวิทยาลัยแม่ โจ้. เนื้อหารายวิชา. นิยาม และความหมาย การวิเคราะห์จุดคุ้มทุน ( Break even analysis) การวิเคราะห์ระยะเวลาคืนทุน (PBP). นิยาม และความหมาย.

Télécharger la présentation

กระบวนการหลังการเก็บเกี่ยวพืชไร่

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. รหัสวิชาพร 443 กระบวนการหลังการเก็บเกี่ยวพืชไร่ การวิเคราะห์จุดคุ้มทุน & ระยะเวลาคืนทุน กิตติกร สาสุจิตต์ ศูนย์วิจัยพลังงาน มหาวิทยาลัยแม่โจ้

  2. เนื้อหารายวิชา • นิยาม และความหมาย • การวิเคราะห์จุดคุ้มทุน (Break even analysis) • การวิเคราะห์ระยะเวลาคืนทุน (PBP)

  3. นิยาม และความหมาย การวิเคราะห์ตัดสินใจเลือกลงทุนในโครงการต่างๆ บางครั้งต้องการจะทราบว่าจำนวนผลผลิตที่จะผลิตคุ้มทุนควรเป็นเท่าไร เพื่อช่วยในการตัดสินใจ จุดคุ้มทุน (Breakeven Analysis) คือจุดที่รายได้กับรายจ่ายเท่ากัน นั่นคือ กำไรเป็นศูนย์นั่นเอง

  4. นิยาม และความหมาย การวิเคราะห์จุดคุ้มทุนเป็นการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของต้นทุน รายได้ และผลกำไรที่ปริมาณการผลิตต่างๆ การวิเคราะห์จุดคุ้มทุนเหมาะกับโครงการระยะสั้น เงื่อนไขต่างๆ ไม่เปลี่ยนแปลงตลอดโครงการ เพราะถ้ามีการเปลี่ยนแปลง ก็จะมีผลทำให้การตัดสินใจคลาด เคลื่อนได้ บางครั้งก็ใช้ในการพยากรณ์การผลิตในอนาคตได้

  5. นิยาม และความหมาย จุดคุ้มทุน (Break-even analysis) คือจุดที่รายได้กับรายจ่ายเท่ากัน นั่นคือกำไร มีค่าเท่ากับศูนย์ • การวิเคราะห์จุดคุ้มทุน สัมพันธ์ • ต้นทุน • รายได้ • ผลกำไรที่ปริมาณการผลิตต่าง ๆ การวิเคราะห์จุดคุ้มทุน เหมาะสำหรับ โครงการระยะสั้น ๆ เงื่อนไขไม่เปลี่ยนแปลงตลอดระยะเวลาโครงการ

  6. สรุปเป็นสมการได้ดังนี้สรุปเป็นสมการได้ดังนี้ กำไร = (รายได้ หรือ ค่าขาย) - ต้นทุนผันแปร - ต้นทุนคงที่ ณ จุดเสมอตัว กำไรหรือขาดทุนเท่ากับ 0 ดังนั้น รายได้ – ต้นทุนผันแปร – ต้นทุนคงที่ =0 หรือจุดที่รายได้=ค่าใช้จ่าย

  7. จุดคุ้มทุน ต้นทุนผันแปร ต้นทุนคงที่ รายได้ ณ จุดคุ้มทุน กำไรหรือขาดทุนเท่ากับ 0

  8. การคำนวณหาจุดคุ้มทุนโครงการเดี่ยวการคำนวณหาจุดคุ้มทุนโครงการเดี่ยว กำหนดให้ C ต้นทุนรวมในการผลิต F ต้นทุนคงที่ V ต้นทุนแปรผัน N* จำนวนที่ผลิตที่จุดคุ้มทุน N จำนวนการผลิตที่จุดใด ๆ v ต้นทุนแปรผันต่อหน่วย R รายได้ P กำไร pราคาขายต่อหน่วย

  9. ต้นทุนรวมในการผลิต (C) = F + V แต่ V = v N ----------- (1) C = F + v N ----------- (2) รายได้ ( R ) = p N กำไร ( P ) = รายได้ ( R) – ต้นทุนรวม (C) กำไร ( P ) = p N – (F + v N) ให้กำไร ( P ) เท่ากับศูนย์ จะได้ต้นทุนเท่ากับรายได้ 0 = p N - (F + v N) = p N – F - v N

  10. p N – v N = F N ( p – v ) = F N* = F / ( p – v ) เมื่อ N* เป็นปริมาณที่ผจุดผลิตคุ้มทุนพอดี N* = F / ( p – v ) ต้นทุนคงที่ จำนวนที่ผลิตที่จุดคุ้มทุน = ต้นทุนแปรผันต่อหน่วย ราคาขายต่อหน่วย -

  11. รายได้ และต้นทุน (บาท) ต้นทุนรวม กำไร B C จุดคุ้มทุน ต้นทุนคงที่ ขาดทุน รายได้ N* ปริมาณการผลิต (หน่วย ) จุด B เป็นจุดคุ้มทุนที่ต้องผลิต ปริมาณ N* หน่วย ต้นทุนรวม C บาท ซึ่งเกิดจากเส้นของรายได้ตัดกับเส้นของต้นทุนรวม และบริเวณที่อยู่ระหว่างเส้นรายได้กับเส้นต้นทุนนั้น ถ้าด้านบนเป็นกำไร ด้านล่างเป็นการขาดทุน

  12. ตัวอย่างที่ 1 ลงทุนเพื่อผลิตสินค้าชนิดหนึ่ง ประกอบด้วยค่าใช้จ่ายคงที่ รวม ทั้งสิ้น 50,000 บาท ค่าใช้จ่ายแปรผันต่อหน่วยเป็นค่าแรง 5 บาท ค่าวัสดุ 13 บาท และมีค่าอื่นๆ อีก 7 บาท จงหาจุดคุ้มทุนว่าจะผลิตเท่าไร 1. ถ้าขายสินค้าราคาหน่วยละ 50 บาท 2. ถ้าผลิต 2500 , 1000 หน่วย จะกำไร หรือขาดทุนเท่าไร

  13. วิธีทำ F = 50,000 บาท v = 5 + 13 +7 = 25 บาทต่อหน่วย p = 50 บาทต่อหน่วย N* = F / ( p – v ) แทนค่า 50,000 / ( 50 – 25 ) = 2,000 หน่วย

  14. ** ถ้าผลิต 2,500 หน่วย จะได้กำไร ดังนี้ กำไร =รายได้ - ต้นทุน = ( 50 x 2,500 ) – [ 50,000 + (25)(2,500)] = 12,500 บาท ** ถ้าผลิต 1,000 หน่วย จะได้กำไร ดังนี้ กำไร =รายได้ - ต้นทุน = ( 50 x 1,000 ) – [ 50,000 + (25)(1,000)] = -25,000 บาท ขาดทุน = 25,000 บาท

  15. รายได้ และต้นทุน ( x 10,000 บาท) 12 ต้นทุนรวม กำไร = 12,500 10 8 จุดคุ้มทุน ขาดทุน = 25,000 ต้นทุนคงที่ 5 รายได้ 1 0 1,000 2,500 2,000 N* ปริมาณการผลิต (หน่วย ) แผนภูมิของการวิเคราะห์จุดคุ้มทุน

  16. ข้อควรพิจารณาในการวิเคราะห์จุดคุ้มทุนข้อควรพิจารณาในการวิเคราะห์จุดคุ้มทุน ในการนำเอาจุดคุ้มทุนไปใช้ในการวิเคราะห์ตัดสินใจโครงการต่างๆ มีดังต่อไปนี้ 1. ต้นทุนของผลิตภัณฑ์จะต้องแยกเป็น ต้นทุนคงที่ และ ต้นทุนแปรผันได้ชัดเจน และต้นทุนคงที่จะต้องคงที่เท่ากันตลอด ไม่ว่าจะผลิตมากหรือน้อย 2. ปริมาณการผลิต และปริมาณการขายสมมติว่าเท่ากันไม่มีการเก็บไว้ 3. ข้อมูลต่างๆ ได้แก่ การประเมินต้นทุนต่างๆ จะต้องถูกต้อง

  17. ข้อควรพิจารณาในการวิเคราะห์จุดคุ้มทุนข้อควรพิจารณาในการวิเคราะห์จุดคุ้มทุน 4. เหมาะสำหรับโครงการที่มีอายุสั้นๆ เพราะถ้าระยะเวลานานจะเกิดความไม่แน่นอนเกิดขึ้น 5. การพิจารณาตัดสินใจเลือกโครงการ จะมองแค่จุดคุ้มทุนอย่างเดียวคงไม่ได้ จะต้องไปดูสิ่งอื่นที่เป็นปัจจัยต่อการตัดสินใจประกอบด้วย

  18. นิยาม และความหมาย ระยะเวลาคืนทุน คือ ระยะเวลาที่ผลตอบแทนสุทธิสะสม จากการดำเนินงานมีค่าเท่ากับมูลค่าในการลงทุนทั้งหมด โครงการใดที่มีระยะเวลาลงทุนยิ่งสั้นยิ่งมีความต้องการสูง เนื่องจากสามารถนำเงินที่คืนทุนไปลงทุนในกิจการอื่นๆได้ ระยะเวลาคืนทุนที่นิยมใช้จะเป็นแบบวิธีระยะคืนทุนแบบง่าย (simplepaybackperiod) ซึ่งเป็นวิธีคิดง่ายๆ โดยระยะเวลาคืนทุนสามารถคำนวณจาก ระยะเวลาคืนทุน = มูลค่าในการลงทุนรวม ผลตอบแทนสุทธิสะสมรายปี ยกตัวอย่าง ลงทุนในโครงการหนึ่ง ใช้เงินลงทุน 1,200,000 บาท จะให้กระแสเงินสดใน แต่ละปีจำนวน 400,000 บาท เป็นเวลา 6 ปี ระยะเวลาคืนทุนก็คือ 3 ปี

  19. การคำนวณหาระยะเวลาคืนทุนการคำนวณหาระยะเวลาคืนทุน ตัวอย่าง ซื้อชุดโรงสีข้าว จากบริษัท ไต้หวัน มาชุดหนึ่ง สามารถสีข้าวได้มากกว่าของ บริษัทไทยผลิต โดยสามารถประหยัดเชื้อเพลิงในการขับชุดต้นกำลังได้ เท่ากันๆ ทุกปี ปีละ 20,000 บาท ค่าใช้จ่ายในการลงทุนและติดตั้งระบบ ดังกล่าว 50,000 บาท จงหาระยะเวลาคืนทุนอย่างง่าย มูลค่าในการลงทุนรวม ระยะเวลาคืนทุน = ผลตอบแทนสุทธิสะสมรายปี

  20. ปี 0 1 2 3 4 การลงทุนเบื้องต้น ( บาท ) 50,000 ผลตอบแทนสุทธิ (บาท) -50,000 20,000 20,000 20,000 20,000 ผลตอบแทนสุทธิสะสม (บาท) -50,000 -30,000 -10,000 10,000 30,000 การคำนวณหาระยะเวลาคืนทุน วิธีทำ ระยะเวลาคืนทุน = 50,000 / 20,000 = 2.5 ปี หรือพิจารณาโดย ตำแหน่งที่ผลตอบแทนสุทธิเป็น 0 คือระยะเวลาคืนทุน = 2.5 ปี

  21. สรุปบทเรียน ดังนั้นเมื่อกล่าวถึงจุดคุ้มทุน (Break Even Point) และระยะเวลาคืนทุน (Pay Back Period) ในครั้งต่อไปอย่าลืมว่าไม่ใช่เรื่องเดียวกันและใช้เป็นเครื่องมือในการวิเคราะห์ในกรณีที่ไม่เหมือนกัน ผู้ประกอบการจึงจะสามารถนำไปใช้ในการวางแผนดำเนินการของธุรกิจได้อย่างถูกต้องและเหมาะสมต่อไป

  22. การบ้าน/แบบฝึกหัด

  23. การคำนวณหาจุดคุ้มทุนโครงการเดี่ยวการคำนวณหาจุดคุ้มทุนโครงการเดี่ยว โจทย์ 1 จากข้อมูลการเกษตรแห่งหนึ่ง ในปี 2549 มีข้อมูลดังต่อไปนี้ จงหา จุดคุ้มทุนว่าจะผลิตเท่าใด (กิโลกรัม)

  24. การคำนวณหาระยะเวลาคืนทุนการคำนวณหาระยะเวลาคืนทุน โจทย์ 2 โรงงานแห่งหนึ่งต้องการปลูกอ้อย เลยจำเป็นต้องซื้อรถไถ เพื่อทำการปรับที่ และดำเนินโครงการตลอด 5 ปี จำนวน 10 ไร่ โดยผลผลิตที่ได้ 3,000 กิโลกรัม/ไร่ ราคา 6 บาท/กิโลกรัม ทั้งนี้ได้มีบริษัทเสนอราคารถไถ 2 บริษัท โดยมีเงื่อนไขดังต่อไปนี้ ดังนั้น ถ้าเราต้องเลือกซื้อ จะซื้อบริษัทไหนดี?

  25. Thank you For Your Attention

More Related