1 / 170

ภาษีเงินได้นิติบุคคล

ภาษีเงินได้นิติบุคคล. อาจารย์สนธยา เรืองหิรัญ. วัตถุประสงค์. ทราบถึงผู้ที่ต้องเสียภาษีนิติบุคคล ทราบวิธีการจัดเก็บภาษีนิติบุคคล ทราบถึงฐานภาษีนิติบุคคล ทราบอัตราภาษีนิติบุคคล สามารถคำนวณกำไรสุทธิตามประมวลรัษฎากรได้ สามารถคำนวณภาษีนิติบุคคลได้. ภาษีนิติบุคคลคือ ภาษีแบบใด.

winter-wise
Télécharger la présentation

ภาษีเงินได้นิติบุคคล

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. ภาษีเงินได้นิติบุคคล อาจารย์สนธยา เรืองหิรัญ

  2. วัตถุประสงค์ • ทราบถึงผู้ที่ต้องเสียภาษีนิติบุคคล • ทราบวิธีการจัดเก็บภาษีนิติบุคคล • ทราบถึงฐานภาษีนิติบุคคล • ทราบอัตราภาษีนิติบุคคล • สามารถคำนวณกำไรสุทธิตามประมวลรัษฎากรได้ • สามารถคำนวณภาษีนิติบุคคลได้

  3. ภาษีนิติบุคคลคือ ภาษีแบบใด เป็นภาษีที่จัดเก็บจากผู้มีเงินได้ที่เป็นนิติบุคคล

  4. ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้นิติบุคคลผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้นิติบุคคล • นิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย - บริษัทจำกัด - บริษัท(มหาชน)จำกัด - ห้างหุ้นส่วนจำกัด - ห้างหุ้นส่วนสามัญจดทะเบียน

  5. ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้นิติบุคคลผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้นิติบุคคล 2. นิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศ 3. กิจการซึ่งดำเนินงานทางการค้าหรือหากำไร 4. กิจการร่วมค้า 5. มูลนิธิ สมาคมที่ประกอบการแล้วมีรายได้

  6. นิติบุคคลที่ไม่ต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลนิติบุคคลที่ไม่ต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล • นิติบุคคลที่เป็นของรัฐ เช่น กระทรวง ทบวง กรม มหาลัยราชภัฏสวนดุสิต • นิติบุคคลที่ตั้งขึ้นโดยไม่แสวงหากำไร เช่น สหกรณ์ วัด 3. มูลนิธิ สมาคมที่ถูกประกาศเป็นองค์กรสาธารณะกุศล 4. นิติบุคคลที่เข้าข่ายต้องเสียภาษีนิติบุคคล แต่ได้รับยกเว้นตามกฎหมายบางชนิด เช่น กิจการที่ได้รับส่งเสริมการลงทุน

  7. แหล่งเงินได้ของผู้มีหน้าที่เสียภาษีนิติบุคคลแหล่งเงินได้ของผู้มีหน้าที่เสียภาษีนิติบุคคล • กรณีที่เป็นนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย ไม่ว่าแหล่งเงินได้เกิดในหรือต่างประเทศ ต้องเสียภาษีจากกำไรสุทธิ บริษัทอ้ายปื๊ด จำกัด จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย ประมูลงานการสร้างถนนที่อินเดียได้เงินจากการสร้างถนนทั้งสิ้น 100 ล้านบาท นอกจากนี้ยังมีรายได้จากการสร้างถนนในเมืองไทยอีก 60 ล้านบาท บริษัทอ้ายปื๊ด จำกัด ต้องนำเงิน 160 ล้านบาทมาคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล ไม่ว่าจะนำเงิน 100 ล้านบาทนั้นเข้ามาในประเทศหรือไม่

  8. แหล่งเงินได้ของผู้มีหน้าที่เสียภาษีนิติบุคคลแหล่งเงินได้ของผู้มีหน้าที่เสียภาษีนิติบุคคล 2. นิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศ ให้เก็บภาษีเฉพาะที่มีแหล่งเงินได้ในประเทศไทย หมายถึง การกระทำต่อไปนี้

  9. แหล่งเงินได้ ได้จากกิจการที่กระทำในประเทศไทย หรือกระทำกิจการในที่อื่น รวมทั้งประเทศไทย ซึ่งกฎหมายได้กำหนดไว้ว่า หากมีการกระทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งต่อไปนี้ให้ถือว่าการกระทำนั้นทำในประเทศไทย 1. มีลูกจ้าง ผู้กระทำการแทน หรือผู้ทำการติดต่อในการประกอบกิจการในประเทศไทย เป็นเหตุให้ได้รับเงินหรือผลกำไรในประเทศไทย 2. ส่งสินค้าออกไปต่างประเทศให้แก่หรือตามคำสั่งของสำนักงานใหญ่ สาขา บริษัทหรือห้างฯในเครือเดียวกัน ตัวการ ตัวแทน นายจ้างหรือลูกจ้าง ให้ถือว่าการส่งสินค้านั้นเป็นการขายในประเทศไทย และให้ถือราคาตลาดในวันที่ส่งไปเป็นรายได้ในรอบระยะเวลาบัญชีที่ส่งไปนั้น

  10. แหล่งเงินได้ของผู้มีหน้าที่เสียภาษีนิติบุคคล (ต่อ) • กรณีจำหน่ายเงินกำไรหรือเงินประเภทอื่นใดที่กันไว้จากกำไรหรือที่ถือได้ว่าเป็นกำไร ออกจากประเทศไทย • เงินได้จากการกระทำกิจการขนส่งผ่านประเทศต่าง ๆ รวมทั้งประเทศไทย • เงินได้ที่ไม่ได้เกิดจากการประกอบกิจการในประเทศไทย แต่เป็นเงินได้ที่ได้รับโดยจ่ายจากหรือในประเทศไทย ถ้าหากเงินได้นั้นเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(2) (3) (4) (5) หรือ (6)

  11. ฐานภาษี มีทั้งหมด 4 ฐานได้แก่ • ฐานกำไรสุทธิ • ฐานรายได้ก่อนหักรายจ่าย • ฐานเงินได้ที่จ่ายจากหรือในประเทศไทย • ฐานกำไรที่จำหน่ายไปนอกประเทศ

  12. อัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล อัตราภาษีจากฐานกำไรสุทธิ

  13. อัตราภาษี เงินได้ที่จ่ายจากหรือในประเทศไทย • จ่ายเงินได้ประเภท 40(2)-(5) ร้อยละ 15 • จ่ายเงินได้ประเภท 40(4)ข ร้อยละ 10

  14. อัตราภาษี จากกำไรที่จำหน่ายไปนอกประเทศ ร้อยละ 10 • อัตราภาษีจากรายได้ก่อนหักรายจ่าย • รายได้ของมูลนิธิสมาคมที่เป็น 40(1)-(7) ร้อยละ 10 • รายได้ของมูลนิธิสมาคมที่เป็น 40(8) ร้อยละ 2 • รายได้จากการขนส่งระหว่างประเทศ ร้อยละ 3

  15. การคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคลการคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษีที่ต้องชำระ = ฐานภาษี x อัตราภาษี

  16. ภาษีเงินได้นิติบุคคลที่คำนวณจากฐานกำไรสุทธิภาษีเงินได้นิติบุคคลที่คำนวณจากฐานกำไรสุทธิ กิจการต้องปรับปรุงกำไรทางบัญชีให้เป็นกำไรสุทธิตามประมวลรัษฎากรแล้วนำไปคูณกับอัตราภาษี ภาษีที่ต้องชำระ = กำไรสุทธิตามประมวลฯx อัตราภาษีนิติบุคคล

  17. เงื่อนไขการคำนวณกำไรสุทธิเงื่อนไขการคำนวณกำไรสุทธิ • ให้ใช้เกณฑ์สิทธิ ในการคำนวณกำไรสุทธิ • ให้คำนวณกำไรตามเงื่อนไขในมาตรา 65 ทวิ และ 65 ตรี ตามประมวลฯ

  18. เงื่อนไขตามมาตรา 65 ทวิ • เงื่อนไขการคำนวณค่าเสื่อมราคา • การตีราคาสินทรัพย์และสินค้าคงเหลือ • การคำนวณค่าเงินตราต่างประเทศ • หนี้สูญ • การยกเว้นดอกเบี้ยและเงินปันผล รวมถึงภาษีขายในบางกรณี • รายจ่ายที่ห้ามถือเป็นรายจ่าย (มาตรา 65 ตรี)

  19. เงื่อนไขการคำนวณค่าเสื่อมราคาเงื่อนไขการคำนวณค่าเสื่อมราคา • ใช้วิธีคิดค่าเสื่อมตามหลักบัญชีที่รับรองโดยทั่วไป • การหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาให้เฉลี่ยตามระยะเวลาที่ใช้ในงวดบัญชี แต่ห้ามเกินอัตราที่กำหนดดังนี้

  20. อัตราค่าเสื่อมราคา อาคารถาวร ร้อยละ 5 อาคารชั่วคราว ร้อยละ 100 ต้นทุนเพื่อการได้มาซึ่งแหล่งทรัพยากรธรรมชาติที่สูญสิ้นไปได้ ร้อยละ 5 ต้นทุนเพื่อการได้มาซึ่งสิทธิการเช่าที่ไม่มีหนังสือสัญญาหรือมีแต่สามารถต่ออายุต่อไปได้ ร้อยละ 10

  21. อัตราค่าเสื่อมราคา (ต่อ) กรณีมีหนังสือสัญญาเช่าที่ไม่มีข้อกำหนดให้ต่ออายุการเช่าได้หรือมีข้อกำหนดให้ต่ออายุการเช่าได้เพียงระยะเวลาอันจำกัด ร้อยละ 100 หารด้วยจำนวนปีที่เช่าและอายุที่ต่อได้รวมกัน

  22. อัตราค่าเสื่อมราคา (ต่อ) ต้นทุนเพื่อการได้มาซึ่งสิทธิในกรรมวิธีสูตร กู๊ดวิล เครื่องหมายการค้า สิทธิประกองกิจการตามใบอนุญาต สิทธิบัตร ลิขสิทธิ์หรือสิทธิอย่างอื่น • กรณีไม่จำกัดอายุการใช้ ร้อยละ 10 • กรณีจำกัดอายุการใช้ ร้อยละ 100 หาร อายุการใช้

  23. อัตราค่าเสื่อมราคา (ต่อ) ทรัพย์สินอย่างอื่น ซึ่งโดยสภาพของทรัพย์สินนั้นสึกหรอหรือเสื่อมราคาได้ยกเว้นที่ดินและสินค้า ร้อยละ 20

  24. เงื่อนไขสำหรับการหักค่าสึกหรอสำหรับทรัพย์สินบางชนิดเงื่อนไขสำหรับการหักค่าสึกหรอสำหรับทรัพย์สินบางชนิด • สินทรัพย์อุปกรณ์ที่ใช้สำหรับการวิจัยและพัฒนา หักค่าสึกหรอ ณ วันที่ได้มา 40% ส่วนที่เหลือหักตามเงื่อนไข • ต้องไม่เป็นเครื่องจักรอุปกรณ์ที่นำมาผลิตสินค้าหรือบริการ • ไม่เคยใช้งานมาก่อนและราคาไม่ต่ำกว่า 200,000 และต้องนำมาใช้งานไม่น้อยกว่า 2 ปี

  25. บริษัทก้าวหน้าจำกัด ได้ซื้อเครื่องจักร มูลค่า 320,000 บาท เพื่อนำมาใช้ในการวิจัยและพัฒนา โดยซื้อมาเมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2552 ให้คำนวณค่าเสื่อมราคาของปี 2552 ค่าเสื่อมราคาเบื้องต้น 320,000x 40% = 128,000 บาท มูลค่าเครื่องจักรที่เหลืออีก 192,000 บาท (320,000-128,000) หักค่าเสื่อมราคาได้อีก 20% ค่าเสื่อมราคาของมูลค่าที่เหลือ 192,000x20%x10/12 = 32,000 บาท รวมค่าเสื่อมราคาปี 2552 เท่ากับ 160,000 บาท

  26. การหักค่าเสื่อมราคาเครื่องบันทึกการเก็บเงินสดการหักค่าเสื่อมราคาเครื่องบันทึกการเก็บเงินสด สามารถหักค่าสึกหรอ ณ วันที่ได้มาร้อยละ 100 หรือ จะเลือกหัก 40% ที่เหลือหักตามเงื่อนไข ก็ได้

  27. การหักค่าเสื่อมราคาสินทรัพย์ประเภทคอมพิวเตอร์การหักค่าเสื่อมราคาสินทรัพย์ประเภทคอมพิวเตอร์ • ให้หักภายใน 3 รอบระยะเวลาบัญชี • กรณีเป็นห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลหรือบริษัทที่มีสินทรัพย์ถาวรไม่รวมที่ดินไม่เกิน 200 ล้านและจ้างงานไม่เกิน 200 คน หักค่าสึกหรอเบื้องต้น ณ วันที่ได้มา 40% ที่เหลือหักตามเงื่อนไข

  28. การหักค่าสึกหรอสินทรัพย์ของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ที่มีสินทรัพย์ถาวร ไม่รวมที่ดิน ไม่เกิน200 ล้านและจ้างแรงงานไม่เกิน 200 คน • สินทรัพย์ประเภทอาคารโรงงานหักเบื้องต้นได้ 25% ที่เหลือ หักตามเงื่อนไข • สินทรัพย์ประเภทเครื่องจักรหักเบื้องต้นได้ 40% ที่เหลือหักตามเงื่อนไข

  29. รถยนต์นั่งที่มีที่โดยสารไม่เกิน 10 ที่นั่ง หักค่าเสื่อมราคาเฉพาะต้นทุนส่วนที่ไม่เกิน 1 ล้านบาท • สินทรัพย์ที่ได้จากการผ่อนหรือเช่าซื้อ ต้นทุนที่จะนำมาคำนวณค่าเสื่อมเท่ากับจำนวนเงินที่ต้องชำระทั้งหมด แต่ค่าเสื่อมแต่ละปีต้องไม่เกินจำนวนเงินที่ผ่อนหรือเช่าในแต่ละปี • การหักค่าเสื่อมจะหักจนหมดมูลค่าต้นทุนของสินทรัพย์ไม่ได้

  30. การตีราคาสินทรัพย์ - กรณีที่ไม่ใช่สินค้า • ให้ถือตามราคาที่ซื้อสินทรัพย์นั้นได้ตามปกติ แต่หากมีการตีราคาสินทรัพย์เพิ่มขึ้นห้ามนำกำไรที่ตีเพิ่มมารวมคำนวณกำไรขาดทุน

  31. การตีราคาสินทรัพย์ - กรณีเป็นสินค้าคงเหลือ • ให้ตีราคาด้วยราคาทุนหรือราคาตลาดแล้วแต่ราคาใดจะต่ำกว่า • สินค้าที่นำเข้ามาจากต่างประเทศ ให้เทียบเคียงราคาทุนของสินค้าประเภทเดียวกันที่ส่งเข้ามาในประเทศอื่น • ถ้าสินค้ามีราคาเป็นเงินต่างประเทศ ให้คำนวณเป็นเงินไทยด้วยอัตราแลกเปลี่ยนในตลาด ณ วันที่ได้สินค้ามา

  32. การโอนสินทรัพย์ หรือบริการ โดยไม่มีค่าตอบแทน สินทรัพย์หรือบริการ ที่ให้โดยไม่มีค่าตอบแทน หรือมีค่าตอบแทนแต่ได้รับต่ำกว่าราคาตลาด ให้ตีมูลค่าสินทรัพย์หรือบริการที่โอนนั้นด้วยราคาตลาด

  33. บริษัทเด็กแว้นจำกัด ได้โอนรถจักรยานยนต์ให้บริษัทสก๋อยจำกัด โดยไม่รับค่าตอบแทน รถจักรยานยนต์คันนี้มีราคาตลาด ณ ปัจจุบัน 5,000 บาท ดังนี้ถือว่าการโอนรถจักรยานยนต์ครั้งนี้ บริษัทเด็กแว้นจำกัดมีรายได้จากการโอนเป็นเงิน 5,000 บาท ต้องนำเงินจำนวนนี้เป็นรายได้เพื่อใช้คำนวณกำไรขาดทุน

  34. การคำนวณค่าเงินตรา ณ วันสิ้นรอบบัญชี • กรณี หหส.หรือบริษัท ที่ไม่ใช่ธนาคารหรือสถาบันการเงิน • สินทรัพย์ ใช้ราคาที่ธนาคารพาณิชย์รับซื้อ • หนี้สิน ใช้ราคาที่ธนาคารพาณิชย์ขาย • กรณี ที่เป็นธนาคารหรือสถาบันการเงิน • สินทรัพย์ และหนี้สิน ใช้อัตราถัวเฉลี่ยระหว่างราคาซื้อและขาย ที่ ธปท. คำนวณไว้

  35. การตัดจำหน่ายหนี้สูญ • ต้องเป็นหนี้ที่เกิดเนื่องจากการประกอบกิจการ (ไม่รวมหนี้ที่กรรมการ หุ้นส่วนผู้จัดการเป็นลูกหนี้) • ต้องเป็นหนี้ที่ยังไม่ขาดอายุความ

  36. กรณีหนี้แต่ละรายมีจำนวนเกิน 500,000 บาท • ติดตามทวงถามให้ชำระหนี้ตามควร และมีหลักฐานการทวงถาม • ได้ดำเนินการฟ้องลูกหนี้ในคดีแพ่งหรือได้ยื่นคำขอเฉลี่ยหนี้ในคดีที่ลูกหนี้ถูกเจ้าหนี้รายอื่นฟ้องในคดีแพ่ง • ได้ดำเนินการฟ้องลูกหนี้ในคดีล้มละลายหรือได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ในคดีที่ลูกหนี้ถูกเจ้าหนี้รายอื่นฟ้องในคดีล้มละลาย

  37. กรณีหนี้แต่ละรายไม่เกิน 500,000 บาท • ได้ติดตามทวงหนี้ตามสมควรและมีหลักฐานการทวงหนี้ • ได้ดำเนินการฟ้องลูกหนี้ในคดีแพ่ง และศาลมีคำสั่งรับฟ้องแล้ว หรือได้ยื่นขอเฉลี่ยหนี้ในคดีที่ลูกหนี้ถูกเจ้าหนี้รายอื่นฟ้องในคดีแพ่งและศาลได้มีคำสั่งรับฟ้องแล้ว • ได้ดำเนินการฟ้องลูกหนี้ในคดีล้มละลาย และศาลสั่งให้มีคำรับฟ้องแล้ว

  38. กรณีหนี้แต่ละรายไม่เกิน 100,000 บาท สำหรับ นิติบุคคลที่ไม่ใช่ธนาคาร หรือสถาบันการเงิน เพียงแค่มีการติดตามทวงถามตามสมควร และมีหลักฐานการทวงถาม ก็พอ • กรณีหนี้แต่ละรายไม่เกิน 200,000 บาท สำหรับ ธนาคารหรือสถาบันการเงิน

  39. การนำเงินปันผลมาเป็นรายได้ ของ บจก. ที่ตั้งขึ้นตาม กม. ไทย • ให้นำเงินปันผล ที่ได้รับจาก บจก. ที่ตั้งขึ้นตาม กม.ไทย กองทุนรวม หรือสถาบันการเงิน และส่วนแบ่งกำไรจากกิจการร่วมค้า มาเป็นรายได้เพียง ครึ่งหนึ่ง

  40. เงินได้ที่ได้รับยกเว้นไม่ต้องนำมาเป็นรายได้เงินได้ที่ได้รับยกเว้นไม่ต้องนำมาเป็นรายได้

  41. การนำเงินปันผลมาเป็นรายได้ ของ 1. บริษัทจดทะเบียนในตลาดฯ 2. บจก. ที่ถือหุ้นใน บจก. ผู้จ่ายปันผลไม่น้อยกว่า 25% ของหุ้นทั้งหมด และ บจก.ผู้จ่ายปันผลไม่ได้ถือหุ้นใน บจก. ผู้รับเงินปันผล ห้ามนำเงินปันผลที่ได้รับ มาเป็นรายได้ทั้งจำนวน

  42. ข้อยกเว้นของเงินปันผลข้อยกเว้นของเงินปันผล • เงินปันผลและเงินส่วนแบ่งกำไรดังกล่าว หากได้รับจากการถือหุ้นหรือหน่วยลงทุน ไว้ไม่ถึง 3 เดือน นับแต่วันที่ได้หุ้นหรือหน่วยลงทุนจนถึงวันที่ได้เงินปันผล/ส่วนแบ่งกำไร หรือได้โอนหุ้นหรือหน่วยลงทุนไปก่อน 3 เดือน นับแต่วันที่มีเงินปันผล/ส่วนแบ่งกำไร เงินปันผล/ส่วนแบ่งกำไรนั้นต้องนำมาเป็นรายได้ทั้งจำนวน • เงินปันผลที่ได้จากการลงทุนของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ห้ามนำเป็นรายได้

  43. บริษัท แฮนด์แมด จำกัด ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย ระหว่างปีได้รับเงินปันผลและเงินส่วนแบ่งกำไรดังนี 1. รับเงินส่วนแบ่งกำไรจากห้างหุ้นส่วนวีระจำกัดเป็นเงิน 50,000 บาท 2. รับเงินปันผลจากบริษัทโอสถสภาจำกัดเป็นเงิน 100,000 บาท 3. รับเงินปันผลจากสหกรณ์ออมทรัพย์จำกัดเป็นเงิน 6,000 บาท 4. รับเงินปันผลจากธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) 8.000 บาท 5. รับเงินส่วนแบ่งจากกิจการร่วมค้า 70,000 บาท 6. รับเงินปันผลจากบริษัท xyz จำกัดซึ่งตั้งขึ้นตามกฎหมายอังกฤษ 200,000 บาท

  44. สมมติ บริษัทแฮนด์แมด เป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดฯ 1. เงินส่วนแบ่งกำไรจาก หจก. 50,000 บาท(รวมเป็นรายได้) 2. เงินปันผลจากบริษัทโอสถสภาจำกัด100,000 บาท (ยกเว้น) 3. เงินปันผลจากสหกรณ์ 6,000 บาท (รวมเป็นรายได้) 4. เงินปันผลจากธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) 8.000 บาท (ยกเว้น) 5. เงินส่วนแบ่งจากกิจการร่วมค้า 70,000 บาท (ยกเว้น) 6. เงินปันผลจากบริษัท xyz จำกัด 200,000 บาท (รวมเป็นรายได้) เงินปันผล/ส่วนแบ่งกำไรที่ถือเป็นรายได้ทั้งสิ้น 256,000บาท

  45. สมมติ บริษัทแฮนด์แมด ไม่เป็นบริษัจดทะเบียนในตลาดฯ 1. เงินส่วนแบ่งกำไรจาก หจก. 50,000 บาท(รวมเป็นรายได้) 2. เงินปันผลจากบริษัทโอสถสภาจำกัด100,000 บาท (เป็นรายได้ 50,000) 3. เงินปันผลจากสหกรณ์ 6,000 บาท (รวมเป็นรายได้) 4. เงินปันผลจากธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) 8.000 บาท (เป็นรายได้ 4,000) 5. เงินส่วนแบ่งจากกิจการร่วมค้า 70,000 บาท (เป็นรายได้ 35,000) 6. เงินปันผลจากบริษัท xyz จำกัด 200,000 บาท (รวมเป็นรายได้) เงินปันผล/ส่วนแบ่งกำไรที่ถือเป็นรายได้ทั้งสิ้น 310,000บาท

  46. ดอกเบี้ยเงินกู้ยืมที่อยู่ในบังคับที่ถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย ตามกฎหมายปิโตรเลียม ให้นำมาเป็นรายได้เฉพาะส่วนที่เหลือหลังหัก ภาษี ณ ที่จ่าย • เงินปันผล/ส่วนแบ่งกำไรที่อยู่ในบังคับที่ถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย ตามกฎหมายปิโตรเลียม ให้นำมาเป็นรายได้เฉพาะส่วนที่เหลือหลังหัก ภาษี ณ ที่จ่าย และถ้าผู้รับเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดฯ หรือเป็นบจก.ที่ตั้งขึ้นตาม กม. ไทย ให้ใช้หลักเกณฑ์เดียวกับการรรับเงินปันผล ข้างต้น

  47. รายได้ที่เป็นค่าลงทะเบียน ค่าบำรุงที่ได้จากสมาชิก เงิน ทรัพย์สินที่ได้จากการบริจาคหรือเสน่หา ของมูลนิธิ สมาคม ห้ามนำมาเป็นรายได้ • ภาษีขาย ห้ามนำมาเป็นรายได้ • กำไรสุทธิเฉพาะส่วนที่เป็นของกิจการ BOI. ห้ามนำมาเป็นรายได้

  48. กำไรสุทธิ ของ บจก. หรือ หหส. นิติบุคคล ที่ประกอบกิจการโรงเรียนเอกชน หรือสถาบันอุดมศึกษาเอกชน ให้ยกเว้นภาษีเงินได้ • เงินปันผล/ส่วนแบ่งกำไรที่ได้จากโรงเรียนเอกชนหรือสถาบันอุดมศึกษาเอกชน ห้ามถือเป็นรายได้ • ยกเว้นภาษีให้กับ UN ทบวงการชำนัญพิเศษ

  49. ยกเว้นภาษีที่เป็นกำไรสุทธิของกิจการสถานฝึกอบรมเพื่อพัฒนาฝีมือแรงงานของบจก. หหส. • เงินปันผล/ส่วนแบ่งกำไรที่ได้จาก บจก.หรือ หหส. ที่ประกอบกิจการสถาสนฝึกอบรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ห้ามถือเป็นรายได้ • ยกเว้นภาษีให้กับ UN ทบวงการชำนัญพิเศษ

  50. ยกเว้นภาษีเงินได้ให้แก่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตาม กม.ไทย ที่ตลาดหลักทรัพย์ถือหุ้นไม่น้อยกว่า 99% • ยกเว้นรายได้เงินปันผลที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลได้รับจากการถือหุ้นในวิสาหกิจขนาดย่อมและขนาดกลาง

More Related