1 / 31

โทโปโลยีคืออะไร

โทโปโลยีคืออะไร. โทโปโลยี

wylie
Télécharger la présentation

โทโปโลยีคืออะไร

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. โทโปโลยีคืออะไร โทโปโลยี โทโปโลยีคือลักษณะทางกายภาพ (ภายนอก) ของระบบเครือข่าย ซึ่งหมายถึง ลักษณะของการเชื่อมโยงสายสื่อสารเข้ากับอุปกรณ์ อิเล็กทรอนิกส์และเครื่องคอมพิวเตอร์ ภายในเครือข่ายด้วยกันนั่นเอง โทโปโลยีของเครือข่าย LAN แต่ละแบบมีความเหมาะสมในการใช้งาน แตกต่างกันออกไป การนำไปใช้จึงมีความจำเป็นที่เราจะต้องทำการศึกษาลักษณะและคุณสมบัติ ข้อดีและข้อเสียของโทโปโลยีแต่ละแบบ เพื่อนำไปใช้ในการออกแบบพิจารณาเครือข่าย ให้เหมาะสมกับการใช้งาน รูปแบบของโทโปโลยี ของเครือข่ายหลัก ๆ มีดังต่อไปนี้

  2. โทโปโลยีแบบบัส (Bus) โทโปโลยีแบบบัสต่างกับโทโปโลยีแบบดาว ตรงที่แบบดาวเมื่อมีสถานีงานจำนวนมากเท่าใด จำนวนสายสัญญาณก็จะมากขึ้นเท่านั้นในระบบเครือข่าย LAN โทโปโลยีแบบ BUS นับว่าเป็นแบบโทโปโลยีที่ได้รับความนิยมใช้กันมากที่สุดมา ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน เหตุผลอย่างหนึ่งก็คือสามารถติดตั้งระบบ ดูแลรักษา และติดตั้งอุปกรณ์เพิ่มเติมได้ง่าย ไม่ต้องใช้เทคนิคที่ยุ่งยากซับซ้อน ลักษณะการทำงานของเครือข่ายโทโปโลยีแบบ BUS คืออุปกรณ์ทุกชิ้นหรือโหนดทุกโหนด ในเครือข่ายจะต้องเชื่อมโยงเข้ากับสายสื่อสารหลักที่เรียกว่า "บัส" (BUS)เมื่อโหนดหนึ่งต้องการจะส่งข้อมูลไปให้ยังอีกโหนด หนึ่งภายในเครือข่าย ข้อมูลจากโหนดผู้ส่งจะถูกส่งเข้าสู่สายบัสในรูปของแพ็กเกจ ซึ่งแต่ละแพ็กเกจจะประกอบด้วยตำแหน่งของผู้ส่งและผู้รับ และข้อมูล การสื่อสารภายในสายบัสจะเป็นแบบ 2 ทิศทางแยกไปยังปลายทั้ง 2 ด้านของบัส โดยตรงปลายทั้ง 2 ด้านของบัสจะมีเทอร์มิเนเตอร์ (Terminator) ทำหน้าที่ดูดกลืนสัญญาณ เพื่อป้องกันไม่ให้สัญญาณข้อมูลนั้นสะท้อนกลับ เข้ามายังบัสอีก เป็นการป้องกันการชนกันของสัญญาณข้อมูลอื่น ๆ ที่เดินทางอยู่บนบัส

  3. สัญญาณข้อมูลจากโหนดผู้ส่งเมื่อเข้าสู่บัสจะไหลผ่านไปยังปลายทั้ง 2 ข้างของบัส แต่ละโหนดที่เชื่อมต่อเข้ากับ บัสจะคอยตรวจดูว่า ตำแหน่งปลายทางที่มากับแพ็กเกจข้อมูลนั้นตรงกับตำแหน่งของตนหรือไม่ ถ้าใช่ก็จะรับข้อมูลนั้นเข้ามาสู่โหนดตน แต่ถ้าไม่ใช่ก็จะปล่อยให้สัญญาณข้อมูลนั้นผ่านไป จะเห็นว่าทุก ๆ โหนดภายในเครือข่ายแบบ BUS นั้นสามารถรับรู้สัญญาณข้อมูลได้ แต่จะมีเพียงโหนด ปลายทางเพียงโหนดเดียวเท่านั้นที่จะรับข้อมูลนั้นไปได้ การควบคุมการสื่อสารภายในเครือข่ายแบบ BUS มี 2 แบบคือ 1. แบบควบคุมด้วยศูนย์กลาง (Centralized) ซึ่งจะมีโหนดหนึ่งที่ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางควบคุมการสื่อสารภายในเครือข่าย ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นไฟล์เซิร์ฟเวอร์ 2. การควบคุมแบบกระจาย (Distributed) ทุก ๆ โหนดภายในเครือข่ายจะมีสิทธิในการควบคุมการสื่อสารแทนที่จะ เป็นศูนย์กลางควบคุมเพียงโหนดเดียว ซึ่งโดยทั่วไปคู่โหนดที่กำลังทำการส่ง-รับข้อมูลกันอยู่จะเป็นผู้ควบคุมการสื่อสารในเวลานั้น

  4. ข้อเสีย อย่างหนึ่งของเครือข่ายแบบ BUS คือการไหลของข้อมูลที่เป็น 2 ทิศทางทำให้ระบุจุดที่เกิดความเสียหายในบัสยาก และโหนดที่ถัดต่อไปจากจุดที่เกิดความเสียหายจนถึงปลายของบัสจะไม่สามารถทำการสื่อสารข้อมูลได้ แต่โหนดที่อยู่ก่อนหน้าจุดเสียหายจะยังคงสื่อสารข้อมูลได้ แบบบัส

  5. โทโปโลยีรูปวงแหวน (Ring) เป็นการสื่อสารที่ส่งผ่านไปในเครือข่าย ข้อมูลข่าวสารจะไหลวนอยู่ในเครือข่ายไปในทิศทางเดียวเหมือนวงแหวน หรือ RING นั่นเอง โดยไม่มีจุดปลายหรือเทอร์มิเนเตอร์เช่นเดียวกับเครือข่ายแบบ BUS ในแต่ละโหนดหรือสเตชั่นจะมีรีพีตเตอร์ประจำโหนด 1 เครื่อง ซึ่งจะทำหน้าที่เพิ่มเติมข่าวสารที่จำเป็นต่อการสื่อสาร ในส่วนหัวของแพ็กเกจ ข้อมูลสำหรับการส่งข้อมูลออกจากโหนด และมีหน้าที่รับแพ็กเกจข้อมูลที่ไหลผ่านมาจากสายสื่อสาร เพื่อตรวจสอบว่าเป็นข้อมูลที่ส่งมาให้โหนดตนหรือไม่ ถ้าใช่ก็จะคัดลอกข้อมูลทั้งหมดนั้นส่งต่อไปให้กับโหนดของตน แต่ถ้าไม่ใช่ก็จะปล่อยข้อมูลนั้นไปยังรีพีตเตอร์ของโหนดถัดไป แบบวงแหวน

  6. โทโปโลยีรูปดาว (Star) เป็นหลักการส่งและรับข้อมูลเหมือนกับระบบโทรศัพท์ การควบคุมจะทำโดยสถานีศูนย์กลาง ทำหน้าที่เป็นตัวสวิตชิ่ง ข้อมูลทั้งหมดในระบบเครือข่ายจะต้องผ่านเครื่องคอมพิวเตอร์ศูนย์กลาง (Center Comtuper) เป็นการเชื่อมโยงการติดต่อสื่อสารที่มีลักษณะคล้ายกับรูปดาว (STAR) หลายแฉก โดยมีศูนย์กลางของดาว หรือฮับเป็นจุดผ่านการติดต่อกันระหว่างทุกโหนดในเครือข่าย ศูนย์กลางจึงมีหน้าที่เป็นศูนย์ควบคุมเส้นทางการสื่อสาร ทั้งหมดภายใน นอกจากนี้ศูนย์กลางยังทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางข้อมูลอีกด้วย การสื่อสารภายในเครือข่ายแบบ STAR จะเป็นแบบ 2 ทิศทางโดยจะอนุญาตให้มีเพียงโหนดเดียวเท่านั้นที่สามารถส่งข้อมูลเข้าสู่เครือข่ายได้ จึงไม่มีโอกาสที่หลาย ๆ โหนดจะส่งข้อมูลเข้าสู่เครือข่ายในเวลาเดียวกัน เพื่อป้องกันการชนกันของสัญญาณข้อมูล เครือข่ายแบบ STAR เป็นโทโปโลยีอีกแบบหนึ่งที่เป็นที่นิยมใช้กันในปัจจุบัน

  7. ข้อดี ของเครือข่ายแบบ STAR คือการติดตั้งเครือข่ายและการดูแลรักษาทำ ได้ง่าย หากมีโหนดใดเกิดความเสียหายก็สามารถตรวจสอบได้ง่าย และศูนย์กลางสามารถตัดโหนดนั้นออกจากการสื่อสารในเครือข่ายได้ ข้อเสีย ของเครือข่ายแบบ STAR คือเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางมีราคาแพง และถ้าศูนย์กลางเกิดความเสียหายจะทำให้ทั้งระบบทำงานไม่ได้เลย นอกจากนี้เครือข่ายแบบ STAR ยังใช้สายสื่อสารมากกว่าแบบ BUS และ แบบ RING แบบดาว

  8. โทโปโลยีแบบ Hybrid เป็นรูปแบบใหม่ ที่เกิดจากการผสมผสานกันของโทโปโลยีแบบ STAR , BUS , RING เข้าด้วยกัน เพื่อเป็นการลดข้อเสียของรูปแบบที่กล่าวมา และเพิ่มข้อดี ขึ้นมา มักจะนำมาใช้กับระบบ WAN (Wide Area Network) มาก ซึ่งการเชื่อมต่อกันของแต่ละรูปแบบนั้น ต้องใช้ตัวเชื่อมสัญญาญเข้ามาเป็นตัวเชื่อม ตัวนั้นก็คือ Router เป็นตัวเชื่อมการติดต่อกัน แบบผสม

  9. โทโปโลยีแบบ MESH เป็นรูปแบบที่ถือว่า สามารถป้องกันการผิดพลาดที่อาจจะเกิดขึ้นกับระบบได้ดีที่สุด เป็นรูปแบบที่ใช้วิธีการเดินสายของแต่เครื่อง ไปเชื่อมการติดต่อกับทุกเครื่องในระบบเครือข่าย คือเครื่องทุกเครื่องในระบบเครือข่ายนี้ ต้องมีสายไปเชื่อมกับทุก ๆ เครื่อง ระบบนี้ยากต่อการเดินสายและมีราคาแพง จึงมีค่อยมีผู้นิยมมากนัก โทโปโลยีแบบ MESH ที่มา http://ruknutt.blogspot.com/2008/12/lan-bus-lan-bus-bus-bus-2-2-2.html

  10. โทโปโลยีสำหรับเครือข่าย LAN มีกี่ประเภท มีคุณสมบัติและมีการเชื่อมต่ออย่างไร (โดยละเอียด) โทโปโลยีคือลักษณะทางกายภาพ (ภายนอก) ของเครือข่าย ซึ่งก็หมายถึงลักษณะของการเชื่อมโยง สายสื่อสารเข้ากับอุปกรณ์อิเล็คทรอนิกต่าง ๆ ภายในเครือข่ายเข้าด้วยกันนั่นเอง โทโปโลยีของเครือข่าย LAN แต่ละแบบมีความเหมาะสมในการใช้งานแตกต่างกัน จึงมีความจำเป็นที่เราจะต้องทำการศึกษาลักษณะคุณ สมบัติ ข้อดีและข้อเสียของโทโปโลยีแต่ละแบบ เพื่อนำไปใช้ในการออกแบบพิจารณาเครือข่ายให้เหมาะสมกับ การใช้งาน รูปแบบของโทโปโลยีของเครือข่ายหลัก ๆ มีดังต่อไปนี้

  11. โทโปโลยีแบบ BUS หรือ TREE ในระบบเครือข่าย LAN โทโปโลยีแบบ BUS หรือ TREE นับว่าเป็นโทโปโลยีที่ได้รับความนิยม ใช้กันมากในอดีต โดยในปัจจุบันจะมีโทโปโลยีแบบ STAR มาแทนที่ ลักษณะการทำงานของเครือข่าย โทโปโลยีแบบ BUS คืออุปกรณ์ทุก ชิ้นในโหมดในเครือข่ายจะเชื่อมต่อกับ สายสื่อสารหลัก ที่เรียกว่า "บัส" (BUS)เมื่อโหนดหนึ่งต้องการจะส่งข้อมูลไปยังอีกโหนดหนึ่งภายในเครือข่าย ข้อมูลจากโหนดผู้ส่งจะถูกส่ง เข้าสู่สายบัสในรูปแบบของแพ็กเกจ ซึ่งแต่ละแพ็กเกจจะประกอบด้วยตำแหน่งของผู้ส่งและผู้รับ และข้อมูล การ สื่อสารภายในบัสจะเป้นแบบ 2 ทิศทางแยกไปยังปลายทั้ง 2 ด้านของบัส โดยตรงปลายทั้ง 2 ด้านของบัสจะมี เทอร์มิเนเตอร์(Terminator) ทำหน้าที่ดูดกลืนสัญญาณ เพื่อป้องกันไม่ให้สัญญาณข้อมูลนั้นสะท้อนกลับเข้ามา ยังบัสอีก เป็นการป้องกันการชนของสัญญาณข้อมูลอื่นที่เดินทางอยู่ใน BUS สัญญาณข้อมูลจากโหนดผู้ส่งเมื่อ เข้าสู่บัสจะไหลผ่านยังปลายทั้ง 2 ข้างของ

  12. บัส แต่ละโหนดที่เชื่อมต่อเข้ากับบัสจะคอยตรวจดูว่าตำแหน่งปลาย ทางที่มากับแพ็กเกจข้อมูลนั้นตรงกับตำแหน่งของตนหรือไม่ ถ้าใช่ก็จะรับข้อมูลนั้นเข้ามาสู่โหนดตน แต่ถ้าไม่ ใช่ก็จะปล่อยให้สัญญาณข้อมูลั้นผ่านไป จะเห็นได้ว่าทุก ๆ โหนดภายในเครือข่ายแบบ BUS นั้นสามารถรับรู้ สัญญาณข้อมูลได้ แต่จะมีเพียงโหนดปลายทางเพียงโหนดเดียวเท่านั้นที่จะรับข้อมูลนั้นไปได้ การควบคุมการสื่อสารภายในเครือข่ายแบบ BUS มี 2 แบบคือแบบ                  1.ควบคุมด้วยศูนย์กลาง (Centralized)ซึ่งจะมีโหนดหนึ่งที่ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางควบคุมการ สื่อสารภายในเครือข่ายซึ่งส่วนใหญ่จะ เป็นไฟล์เซิร์ฟเวอร์                  2.ควบคุมแบบกระจาย (Distributed) ทุก ๆ โหนดภายในเครือข่ายจะมีสิทธิ ในการควบคุมการ สื่อสารแทนที่จะเป็นศูนย์กลางควบคุมเพียงโหนดเดียว ซึ่งโดยทั่วไปคู่โหนดที่กำลังทำการ สื่อสารส่ง-รับข้อมูล กันอยู่จะเป็นผู้ควบคุมการสื่อสารในเวลานั้น

  13. ข้อเสียอย่างหนึ่งของเครือข่ายแบบ BUS คือการไหลของข้อมูลที่เป็น 2 ทิศทางทำให้ระบุจุดที่ เกิดความเสียหายในบัสยาก และโหนดที่ถัดต่อไปจากจุดที่เกิดความเสียหายจนถึงปลายของบัสจะไม่สามารถทำ การสื่อสารข้อมูลได้ แต่โหนดที่อยู่ก่อนหน้าจุดเสียหายจะยังคงสื่อสารข้อมูลได้สำหรับเครือข่ายแบบ TREE นั้นจะมีลักษณะเช่นเดียวกับเครือข่ายแบบ BUS เพียงแต่ละโหนด ที่ต่อเข้ากับบัสสามารถมีโหนดย่อยต่อกิ่งก้านสาขาออกไปได้อีก โดยการสื่อสารของโหนดย่อยจะต้องสื่อสารผ่าน โหนดหลักก่อนเข้าสู่บัส ตัวอย่างของเครือข่าย LAN ที่ใช้โทโปโลยีแบบ BUS ในการเชื่อมโยงการสื่อสารก็ได้แก่ Ethernet LAN เป็นต้น

  14. โทโปโลยีแบบ RING เหตุที่เรียกการส่อสารแบบนี้ว่าเป็นแบบ Ring เพราะข่าวสารที่ส่งผ่านไปในเครือข่ายจะไหลวนอยู่ ในเครือข่ายไปในทิศทางเดียวเหมือนวงแหวน หรือ RING นั่นเอง โดยไม่มีจุดปลาย หรือ เทอร์มิเนเตอร์แบบ BUS ในแต่ละโหนดจะมีรีพีตเตอร์ประจำโหนด 1 เครื่อง ซึ่งจะทำหน้าที่เพิ่มเติมข่าวสารที่จำเป็นต่อการสื่อสาร ในส่วนหัวของแพ็กเกจ ข้อมูลสำหรับการส่งข้อมูลออกจากโหนด และมีหน้าที่รับแพ็กเกจข้อมูลที่ไหลผ่านมา จากสายสื่อสารเพื่อตรวจสอบว่าเป็นข้อมูลที่ส่งมาให้โหนดตนหรือไม่ ถ้าใช่ก็จะคัดลอกข้อมูลทั้งหมดนั้นส่งต่อไป ให้กับโหนดของตน แต่ถ้าไม่ใช่ก็จะปล่อยข้อมูลนั้นไปยังรีพีตเตอร์ของโหนดถัดไปข้อดีของเครือข่ายแบบ Ring คือผู้ส่งสามารถรับส่งข้อมูลไปยังผู้รับได้หลาย ๆ โหนดพร้อมกัน โดย กำหนดตำแหน่งปลายทางเหล่านั้นลงในส่วนหัวของแพ็กเกจข้อมูล รีพีตเตอร์ของแต่ละโหนดจะทำการตรวจ สอบเองว่ามีข้อมูลส่งมาให้ที่โหนดตนเองหรือไม่ การส่งผ่านข้อมูลใน เครือข่ายแบบ Ring จะเป็นไปในทิศทาง เดียวจากโหนดสู่โหนด จึงไม่มีการชนกันของสัญญาณข้อมูล

  15. ส่วนข้อเสียคือถ้ามีโหนดใดโหนดหนึ่งในเครือข่ายเสียหาย ข้อมูลจะไม่สามารถส่งผ่านไปยังโหนด ต่อไปได้ และจะทำให้เครือข่ายทั้งเครือข่ายขาดการติดต่อสื่อสารได้ ข้อเสียอีกอย่างหนึ่งคือขณะที่ข้อมูลถูกส่ง ผ่านแต่ละโหนด เวลาส่วนหนึ่งจะสูญเสียไปกับทุก ๆ รีพีตเตอร์จะต้องทำการคัดลอกข้อมูล และตรวจสอบ ตำแหน่งปลายทางของข้อมุล อีกทั้งการติดตั้งเครือข่ายแบบ Ring ก็ทำได้ยากกว่าแบบ BUS และใช้สาย สื่อสารมากกว่า ตัวอย่างของเครือข่าย LAN ที่ใช้โทโปโลยีแบบ Ring ได้แก่ Token-Ring LAN เป็นต้น

  16. โทโปโลยีแบบ STAR จากเชื่อมโยงการติดต่อสื่อสารที่มีลักษณะคล้ายกับรูปดาว (STAR) หลายแฉกดังรูป โดยมีศูนย์ กลางของดาว หรือฮับเป็นจุดผ่านการติดต่อกันระหว่างทุกโหนดในเครือข่าย ศูนย์กลางจึงมีหน้าที่เป็นศูนย์ ควบคุมเส้นทางการสื่อสารทั้งหมดทั้งภายใน และภายนอกเครือข่าย นอกจากนี้ศูนย์กลางยังทำหน้าที่เป็น ศูนย์-กลางข้อมูลอีกด้วยโดยเจ้าเชื่อมต่อเข้ากับไฟล์เซิร์ฟเวอร์อีกทีการสื่อสารภายในเครือข่ายแบบ STAR จะเป็นแบบ 2 ทิศทางโดยอนุญาตให้มีเพียงโหนดเดียว เท่านั้นที่สามารถส่งข้อมูลเข้าสู่เครือข่ายในเวลาเดียวกัน เพื่อป้องกันการชนกันของสัญญาณข้อมูล(แต่ใน อุปกรณ์รุ่นใหม่สามารถทำการสลับการทำงานและยอมให้ทำงานได้พร้อมกันคือ Switch HUB) โทโปโลยีแบบ STAR เป็นที่นิยมใช้กันมากที่สุดในปัจจุบันเพราะติดตั้งง่ายและดูแลรักษาง่าย หากมีโหนดใดเกิดความเสีย หายก็ตรวจสอบได้ง่าย และศูนย์กลางสามารถตัดโหนดนั้นออกจากการสื่อสารในเครือข่ายได้ข้อเสียของเครือข่ายแบบ STAR คือเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางมีราคาแพงและ ถ้าศูนย์กลางถูกปิดหรือHUB ถูกปิดก็จะทำให้เครือข่ายทำงานไม่ได้เลย

  17. โทโปโลยีแบบ STAR wire Ring โทโปโลยีแบบ STAR wire Ring เป็นการนำเอาข้อดีของโทโปโลยีแบบ STAR และแบบ Ring มารวมกันเพื่อแก้ไขข้อเสียของทั้ง 2 แบบด้วย เครือข่ายแบบ STAR wire Ring โดยอาศัยรูปแบบการเชื่อมโยงแบบ Ring ทำให้สายสื่อสารสามารถเชื่อมโยงเข้ากับทุก ๆ โหนด ของเครือข่ายและเป็นการประหยัดสายสื่อสารด้วย การเชื่อมโยงของแต่ละคู่โหนดการสื่อสารจะถูกโยงเข้าสู่ศูนย์ กลางของเครือข่ายซึ่งทำหน้าที่เช่นเดียวกับศูนย์กลางของเครือข่ายแบบ STAR ทำให้การสื่อสารทั้งหมดทั้ง ภายในและภายนอกเครือข่ายอยู่ในการควบคุมของศูนย์กลางเครือข่ายข้อดีของเครือข่ายแบบ STAR wire Ring มีด้วยกันหลายข้อคือ                  1. สามารถติดต่อสื่อสารได้ 2 ทิศทางแทนที่จะเป็นทิศทางเดียวตามแบบ Ring                  2. ประหยัดสื่อสารเพราะใช้ลักษณะการเชื่อมโยงแบบ Ring

  18. 3. มีศูนย์กลางเครือข่ายเป็นตัวควบคุมการติดต่อสื่อสารข้อมูลทั้งภายในและภายนอกเครือข่าย และสามารถเลือกติดต่อได้ครั้งละหลาย ๆ โหนด ซึ่งเรียกลักษณะการทำงานเช่นนี้ว่า Multi-station Access UnitหรือMAUซึ่งเครือข่ายแบบ STAR อย่างเดียวไม่สามารถทำได้                  4. สามารถเลือกปิดสวิตซ์ หรือเส้นทางเข้าสู่โหนดใดโหนดหนึ่งได้ ทำให้ประหยัดเวลาที่จะต้องสูญ เสียไปกับการทำงานของรีพีตเตอร์ของโหนดนั้น ๆ ทำให้การสื่อสารข้อมูลเร็วขึ้นกว่าสายสื่อสารในเครือข่าย แบบ Ring อย่างเดียว                   5. ในกรณีที่โหนดใดโหนดหนึ่งเกิดความเสียหาย สวิตซ์เปิด/ปิดของโหนดนั้น ๆ จะทำการตัดวงจร ของโหนดนั้นออกจากเครือข่าย และจะเชื่อมโยงสายสื่อสารข้ามไปยังโหนดต่อไปในลักษณะที่เรียกว่า การ Bypass ทำให้สายสื่อสารของวงแหวนไม่ขาดออกจากกัน ที่มา http://cptd.chandra.ac.th/selfstud/datacom/CAI/part4-4.htm

  19. อีเธอร์เน็ต (Ethernet) คืออะไร มีโครงสร้าง คุณสมบัติอย่างไร Ethernet เป็นเทคโนโลยีสำหรับเครือข่ายแบบแลน (LAN) ที่ได้รับความนิยมสูงสุดในปัจจุบัน คิดค้นโดยบริษัท Xerox ตามมาตรฐาน IEEE 802.3 การเชื่อมเครือข่ายแบบ Ethernet สามารถใช้สายเชื่อมได้ทั้งแบบ Co-Axial และ UTP (Unshielded Twisted Pair) โดยสายสัญญาณที่ได้รับความนิยม คือ UTP 10Base-T ซึ่งสามารถส่งข้อมูลได้เร็วถึง 10 Mbps ผ่าน Hub ทั้งนี้การเชื่อมคอมพิวเตอร์ในเครือข่าย ไม่ควรเกิน 30 เครื่องต่อหนึ่งวงเครือข่าย เนื่องจากอุปกรณ์ใน Ethernet LAN จะแข่งขันในการส่งข้อมูล หากส่งข้อมูลพร้อมกัน และสัญญาณชนกัน จะทำให้เกิดการส่งใหม่ (CSMD/CD: Carrier sense multiple access with collision detection) ทำให้เสียเวลารอ

  20. คำว่าอีเทอร์เน็ต (Ethernet) หมายถึง ความหมายที่มีอยู่ทั่วไปของอีเทอร์เน็ตซึ่งมีหลากหลายมาตรฐาน อีเทอร์เน็ตพัฒนาขึ้นโดยบริษัท Xerox (โดยได้แนวคิดมาจากโครงการสื่อสารผ่านดาวเทียม Aloha ที่พัฒนาขึ้นที่มหาวิทยาลัย Hawaii) เพื่อเป็นมาตรฐานสำคัญของเครือข่าย LAN ที่ใช้กันอยู่ทั่วไป ระบบที่ใช้อีเทอร์เน็ตนั้นเหมาะกับงานที่ต้องการรับส่ง/ข้อมูลในอัตราความ เร็วสูงเป็นช่วง ๆ เป็นครั้งคราว การรับ/ส่งข้อมูลในเครือข่ายแบบอีเธอร์เน็ตแต่ละครั้งเครื่องเป็นไปอย่างไม่ มีวินัย นั่นคือเมื่อตรวจสอบแล้วว่าในขณะนั้นไม่มีเครื่องอื่น ๆ กำลังส่งข้อมูล แต่ละอย่างเครื่องจะแย่งกันส่งข้อมูลออกมา โดยเครื่องใดที่ส่งข้อมูลออกมาจะมีหน้าที่เฝ้าดูว่ามีเครื่องอื่นทำการส่ง ข้อมูลออกไปพร้อมกันด้วยหรือไม่ เพราะถ้าเกิดการส่งพร้อมกันแล้วจะก่อให้เกิดการชนกันของข้อมูล แต่ถ้าตรวจจับได้ว่ามีการขนกันขึ้นก็จะหยุดส่งแล้วรอคอยเป็นระยะเวลาสั้น ๆ ก่อนจะทำการส่งข้อมูลออกไปอีกครั้งหนึ่ง เวลาที่ใช้ในการรอคอยนั้นเป็นค่าที่สุ่มขึ้นมา ซึ่งมีความสั้นยาวต่างกันไป เทคนิคหลายอย่างเช่นที่นำมาใช้ในการรอคอยเพื่อหลีกเลี่ยงการชนกันซ้ำสอง หนึ่งในนั้นคือ คำนวณการเพิ่มระยะเวลารอคอยแบบ Exponential ซึ่งมีชื่อเรียกว่า Carrier Sense Multiple Access with Collision Detection (CSMA/CD)

  21. เนื่องจากการ์ดอีเทอร์เน็ตที่ใช้ในเครือข่ายแบบนี้สร้างมาจากหลายผู้ผลิต จึงมีองค์กรมาตรฐานขึ้นมากำหนดหมายเลขประจำให้ผู้ผลิตแต่ละราย เพื่อสร้างความมั่นใจให้การ์ดแต่ละใบจะไม่มีแอดเดรสที่ซ้ำกัน การส่งข้อมูลของอีเทอร์เน็ตนั้นจะเป็นไปในแบบเฟรมที่มีความยาวไม่แน่นอน แม้ว่าเฟรมข้อมูลของอีเทอร์เน็ตจะมีแอดเดรสต้นทางและปลาย แต่เทคโนโลยีอีเทอร์เน็ตเองกลับเป็นการส่งข้อมูลแบบกระจายสัญญาณ (Broadcast) ซึ่งในเครื่องเครือข่ายเดียวกันจะได้รับเฟรมข้อมูลเดียวกันทุกเฟรม โดยเลือกเฉพาะเฟรมที่มีแอดเดรสปลายทางเป็นของตนเองเท่านั้น ส่วนเฟรมอื่น ๆ จะไม่สนใจ แต่ในบางกรณ๊ที่มีการทำงานในโหมด Promiscuous ซึ่งเป็นโหมดที่นำเฟรมข้อมูลทุกเฟรมไปใช้งานโดยส่งต่อไปยังซอฟแวร์ที่ทำ งานอยู่ในระดับที่สูงขึ้นไป เช่น กรณีของเครื่องที่ทำหน้าที่วิเคราะห์โปรโตคอล (Protocal Analyzer) หรืออาจจะเป็นการกระทำของผู้ที่ไม่ประสงค์ดีของพวกแฮกเกอร์ก็ได้ กรณีเช่นนี้จะเห็นถึงความปลอดภัยของมาตรฐานนี้ ที่มา http://www.thaifwd.com/thread-773-1-1.html

  22. FDDI คืออะไร มีมาตรฐานอย่างไร มีกี่ประเภท และมีกลไกการจัดการข้อผิดพลาดอย่างไร จงอธิบาย (โดยละเอียด) FDDI ( Fiber Distribution Data Interface ) เป็นเครือข่ายแบบส่งผ่านโทเคน ( Token Passing ) และมีแบนวิธที่ 100 Mbps โดยใช้สายใยแก้วนำแสงต่อสถานีเป็นวงแหวนสองวง ส่วนใหญ่จะใช้ FDDI เป็นแบ็คโบนของเครือข่ายเนื่องจากแบนด์วิธที่สูง และสามารถเชื่อมต่อสถานีได้ไกลกว่าสายทองแดงมาก ล่าสุดได้มีการพัฒนา CDDI ( Copper Distribution Data Interface ) โดยใช้สายสัญญาณคู่เกลียวบิดแทนสายใยแก้วนำแสง แต่ยังคงใช้โปรโตคอลของ FDDI ในตอนนี้เราจะเน้นที่ FDDI และจะขอกล่าวโดยคร่าวๆ เกี่ยวกับ CDDI FDDI จะใช้สายสัญญาณเชื่อมต่อสถานีเป็นวงแหวนสองวง โดยทิศทางการไหลของข้อมูลในวงแหวนทั้งสองวงจะตรงกันข้ามกัน วงแหวนวงหนึ่งจะทำหน้าที่เป็นเส้นทางหลักในการรับส่งข้อมูล ส่วนวงที่สองจะเป็นเส้นทางสำรอง การที่ออกแบบ FDDI ให้มีแบบนี้ก็เพื่อเพิ่มความเชื่อถือได้และความแข็งแรงให้กับเครือข่าย

  23. ลักษณะของเครือข่าย FDDI FDDI พัฒนาโดย ANSI ( American National Standard Institute ) เมื่อตอนประมาณกลางทศวรรษ 1980 ในช่วงนั้นเวิร์คสเตชันแบบไคลเอนท์เชิร์ฟเวอร์เริ่มใช้แบนด์วิธเครือข่ายมากขึ้น ดังนั้นจึงมีความต้องการใช้สายสัญญาณประเภทใหม่เพื่อรองรับอัตราข้อมูลได้มากกว่า ในขณะเดียวกันแอพพลิเคชั่นบางตัวต้องการความเชื่อถือได้ในเครือข่าย และยังมีความต้องการการให้ความสำคัญกับเชิร์ฟเวอร์ที่สำคัญ จุดประสงค์ของการพัฒนา FDDI เพื่อแก้ปัญหาเหล่านี้นั้นเอง เมื่อ ANSI พัฒนา FDDI เสร็จได้เสนอมาตรฐานนี้แก่ ISO เพื่อทำให้เป็นมาตรฐานนานาชาติต่อไป

  24. สายสัญญาณของ FDDI เครือข่าย FDDI จะใช้สายไฟเบอร์เป็นสายสัญญาณหลัก แต่ก็มีมาตรฐานที่ใช้สาย UTP แทนซึ่งจะเรียกเครือข่ายนี้ว่า “CDDI” สายไฟเบอร์จะมีข้อได้เปรียบสาย UTP อยู่หลายประการ เช่น ความปลอดภัย ความเชื่อถือได้ และประสิทธิภาพที่เหนือกว่าในการรับส่งข้อมูล สายสัญญาณที่ส่งด้วยสายไฟฟ้า ( สายทองแดง ) สามารถดูข้อมูลในสายได้โดยการเชื่อมต่อกับสายนั้น แต่การเชื่อมต่อกับสายไฟเบอร์จะทำได้ยากมาก อีกอย่างสายข้อมูลที่ส่งในสายไฟเบอร์จะไม่ถูกรบกวนจากคลื่นแม่เหล็กได้ โดยทั่วไปแล้วสายไฟเบอร์แบบมัลติโหมดจะมีประสิทธิภาพในการส่งข้อมูลดีกว่าและได้ระยะทางที่ไกลกว่าสาย UTP มาก เช่น ถ้าใช้สายไฟเบอร์แบบมัลติโหมดจะส่งข้อมูลได้ไกลถึง 2 กิโลเมตร และจะเร็วกว่าถ้าใช้สายแบบซิงเกิลโหมด ส่วนสาย UTP จะส่งสัญญาณได้ไกลสุดแค่ 100 เมตรเท่านั้น

  25. มาตรฐาน FDDI โปรโตคอลส่วนที่เป็น FDDI จะอยู่ในชั้น Physical Layer และ Data Link Layer ของแบบอ้างอิง ISO เท่านั้น FDDI จะแบ่งโปรโตคอลออกเป็น 4 ส่วน ซึ่งเมื่อทำงานร่วมกันทำให้โปรโตคอลที่อยู่เหนือกว่า เช่น TCP/ IP สามารถส่งผ่านข้อมูลไปบนสายไฟเบอร์ได้ข้อกำหนด 4 อย่างของ FDDI คือ • MAC ( Media Access Control ) : ในส่วนของ MAC จะกำหนดเกี่ยวกับการเข้าถึงสื่อกลางรับส่งข้อมูล และรวมถึงรูปแบบของเฟรมข้อมูล , การจัดการเกี่ยวกับโทเคน, ที่อยู่, วิธีการคำนวณค่าตรวจสอบข้อผิดพลาดของข้อมูล ( Cyclic Redundancy Check หรือ CRC ) และกลไกเกี่ยวกับการกู้คืนข้อมูลที่เกิดข้อผิดพลาด • PHY ( Physical Layer Protocol ) : ในส่วนของ PHY จะกำหนดเกี่ยวกับขั้นตอนการเข้ารหัสข้อมูล ( Data Encoding/Decoding ) , สัญญาณนาฬิกา และการจัดเฟรมข้อมูล

  26. PMD ( Physical-Medium Dependent ) : ส่วน PMD จะกำหนดเกี่ยวกับคุณสมบัติของสายสัญญาณที่ใช้ ซึ่งจะร่วมถึงสายไฟเบอร์, ระดับกำลังของสายสัญญาณ , อัตราการเกิดข้อผิดเพลาด , ส่วนต่างๆ ของไฟเบอร์ และหัวเชื่อมต่อที่ใช้ • SMT ( Station Management ) : ในส่วน STM จะกำหนดเกี่ยวกับลักษณะการเชื่อมต่อกันของแต่ละสถานี ข้อกำหนดเกี่ยวกับการควบคุมสถานีที่เชื่อมต่อเข้ากับวงแหวน เช่น การเพิ่มสถานี , การนำสถานีออกจากเครือข่าย , การแยกจุดเสียและการกู้คืน , การกำหนดค่าเกี่ยวกับเวลา และการเก็บค่าสถิติต่างๆ จุดประสงค์หลักของ FDDI ก็เหมือนกับอีเธอร์เน็ตและโทเคนริง คือ จะให้บริการกับโปรโตคอลที่อยู่เหนือกว่า เช่น TCP/IP ในการส่งข้อมูลผ่านอุปกรณ์เครือข่ายและสายสัญญาณ

  27. ประเภทของสถานี • ลักษณะเฉพาะตัวอย่างหนึ่งของ FDDI คือ มีหลายวิธีที่สามารถเชื่อมต่อสถานีเข้ากับเครือข่าย FDDI ได้ โดยการแบ่งออกเป็น 3 ประเภท ดังนี้ • SAS ( Single-Attachment Station )สถานีประเภท SAS เป็นสถานีที่เชื่อมต่อกับเครือข่ายวงแหวนเดียว โดยเชื่อมผ่านตัวเชื่อมต่อ หรือคอนเซ็นเตอร์ ( Concentrator) ข้อดีคือ สถานะของสถานีจะไม่มีผลต่อการทำงานของระบบเครือข่าย กล่าวคือ ไม่ว่าจะเสียหรือปิดเครื่องก็จะไม่มีผลอย่างไร หน้าที่ต่างๆ จะรับผิดชอบโดยคอนเน็กเตอร์นั่นเอง • DAS ( Data-Attachment Station)สถานีประเภท DAS จะเชื่อมต่อเข้ากับเครือข่ายทั้งสองวงแหวน ซึ่งจุดเชื่อมต่อทั้งสองจะเรียกว่า พอร์ต A และ B สถานีประเภทนี้จะมีผลต่อการทำงานของเครือข่ายถ้ามีการเปลี่ยนแปลง เช่น การปิดเครื่อง หรือเครื่องหยุดทำงาน • DAC ( Dual-Attachment Station) DAC จะเป็นอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อเข้ากับทั้งสองวงแหวนหลักและสำรอง ทำหน้าที่แทน SAS ในการรับส่งข้อมูลผ่านเครือข่าย ทำให้การทำงานของ SAS ไม่มีผลต่อระบบทั้งหมด DAC จะมีประโยชน์เมื่อใช้ในการเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ เช่น PC ที่ต้องเปิดปิดบ่อยๆ

  28. กลไกการจัดการข้อผิดพลาด FDDI มีการออกแบบเพื่อป้องกันความล้มเหลวของเครือข่าย ( Fault Tolerance) หลายอย่าง เช่น การออกแบบให้เส้นทางส่งข้อมูลสองวงแหวน ( Dual-Ring) , การใช้สวิตซ์ทางเบี่ยง ( Bypass Switch) และ การเชื่อมต่อเข้ากับ DAC ( Dual-Homing) ก็เป็น 3 ฟีเจอร์หลักที่ช่วยเพิ่มความเชื่อถือได้ให้กับ FDDI เส้นใยแก้วนำแสงมีกี่แบบ คุณสมบัติของเส้นใยแก้วนำแสงแบ่งแยกได้ตามลักษณะคุณสมบัติของตัวนำแสง ที่มีลักษณะการใช้แสงส่องทะลุในลักษณะอย่างไร คุณสมบัติของเนื้อแก้วนี้จะกระจายแสงออก ซึ่งในกรณีนี้การสะท้อนของแสงกลับต้องเกิดขึ้นโดยผนังแก้วด้านข้างต้องมีดัชนีหักเหของแสงที่ทำให้แสงสะท้อนกลับ เพื่อลดการสูญเสียของพลังงานแสง วิธีการนี้เราแบ่งแยก ออกเป็นสองแบบคือ แบบซิงเกิลโหมด และมัลติโหมด

  29. ซิงเกิลโหมด เป็นการใช้ตัวนำแสงที่บีบลำแสงให้พุ่งตรงไปตามท่อแก้ว โดยมีการกระจายแสงออกทางด้านข้างน้อยที่สุด ซิงเกิลโหมดจึงเป็นเส้นใยแก้วนำแสงที่มีกำลังสูญเสียทางแสงน้อยที่สุด เหมาะสำหรับในการใช้กับระยะทางไกล ๆ การเดินสายใยแก้วนำแสงกับระยะทางไกลมาก เช่น เดินทางระหว่างประเทศ ระหว่างเมือง มักใช้แบบซิงเกิลโหมด รูแก้วนำแสงแบบซิงเกิลโหมด

  30. มัลติโหมด เป็นเส้นใยแก้วนำแสงที่มีลักษณะการกระจายแสงออกด้านข้างได้ ดังนั้นจึงต้องสร้างให้มีดัชนีหักเหของแสงกับอุปกรณ์ฉาบผิวที่สัมผัสกับแคล็ดดิง ให้สะท้อนกลับหมด หาก การให้ดัชนีหักเหของแสงมีลักษณะทำให้แสงเลี้ยวเบนทีละน้อย เราเรียกว่าแบบเกรดอินเด็กซ์ หากใช้แสงสะท้อนโดยไม่ปรับคุณสมบัติของแท่งแก้วให้แสงค่อยเลี้ยวเบนก็เรียกว่า แบบ สเต็ปอินเด็กซ์ เส้นใยแก้วนำแสงที่ใช้ในเครือข่ายแลนส่วนใหญ่ใช้แบบมัลติโหมด โดยเป็นขนาด 62.5/125 ไมโครเมตร หมายถึงเส้นผ่าศูนย์กลางของท่อแก้ว 62.5 ไมโครเมตร และของ แคล็ดดิงรวมท่อแก้ว 125 ไมโครเมตร คุณสมบัติของเส้นใยแก้วนำแสงแบบสเต็ปอินเด็กซ์มีการสูญเสียสูงกว่าแบบเกรดอินเด็กซ์

  31. รูปที่ 2 เส้นใยแก้วนำแสงแบบมัลติโหมด http://wiki.nectec.or.th/ngiwiki/bin/viewfile/Main/GroupProject?rev=1;filename=FDDI_Final.doc

More Related