1 / 38

ภาษีเงินได้นิติบุคคล : Corporate Income Tax (CIT)

ภาษีเงินได้นิติบุคคล : Corporate Income Tax (CIT). Outline. หน่วยภาษี ฐานภาษี รอบระยะเวลาบัญชี เงื่อนไขการคำนวณกำไรสุทธิ. ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้นิติบุคคล. บริษัทจำกัด บริษัทมหาชนจำกัด ห้างหุ้นส่วนจำกัด ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล. ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้นิติบุคคล _2.

Télécharger la présentation

ภาษีเงินได้นิติบุคคล : Corporate Income Tax (CIT)

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. ภาษีเงินได้นิติบุคคล: Corporate Income Tax (CIT)

  2. Outline • หน่วยภาษี • ฐานภาษี • รอบระยะเวลาบัญชี • เงื่อนไขการคำนวณกำไรสุทธิ

  3. ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้นิติบุคคลผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้นิติบุคคล • บริษัทจำกัด • บริษัทมหาชนจำกัด • ห้างหุ้นส่วนจำกัด • ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล

  4. ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้นิติบุคคล_2ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้นิติบุคคล_2 • กิจการซึ่งดำเนินการเป็นทางการค้าหรือหากำไรโดยรัฐบาลต่างประเทศ หรือ โดยองค์การรัฐบาลต่างประเทศ • กิจการซึ่งดำเนินการเป็นทางการค้าหรือหากำไรโดยนิติบุคคลอื่นที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศ • กิจการร่วมค้า (Joint Venture) • มูลนิธิหรือสมาคมที่มิใช่องค์การสาธารณะสุขตามประกาศของรัฐมนตรีฯ (ประกาศกระทรวงการคลัง ฉ.2)

  5. ปุจฉา • เมื่อบริษัทตั้งแต่ 2 บริษัททำสัญญาร่วมค้า แต่ไม่ได้จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลใหม่ จะเสียภาษีอย่างไร • Joint Venture กับ Consortium อย่างไร • รัฐวิสาหกิจเป็นหน่วยภาษีหรือไม่

  6. ปุจฉา_2 • บมจ. ผลิตไฟฟ้า มี Cambodia Elector-generator Corporation ซึ่งเป็นบริษัทจดทะเบียนตามกฎหมายประเทศกัมพูชา ถือหุ้นอยู่บางส่วน • บมจ. ผลิตไฟฟ้า ทำสัญญาร่วมลงทุนกับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจตาม พรบ. เพื่อสร้างโรงไฟฟ้า และจำหน่ายกระแสไฟฟ้า

  7. ฐานภาษี • ความหมาย • สิ่งที่เป็นมูลเหตุให้บุคคลต้องเสียภาษี • สิ่งที่รองรับอัตราภาษี • มาตรา 65 • กำไร = รายได้ - รายจ่าย

  8. ภาษีเงินได้นิติบุคคล_ฐานภาษีภาษีเงินได้นิติบุคคล_ฐานภาษี • หลักการทั่วไป • ม.65เก็บจากกำไรสุทธิทางภาษี (Taxable Profit) • ม. 67 เก็บจากยอดรายรับก่อนหักรายจ่าย • ม. 70เก็บจากเงินได้ที่จ่ายจากหรือในประเทศไทย • ม. 70 ทวิ เก็บจากการจำหน่ายกำไรไปต่างประเทศ

  9. ฐานภาษี_กำไรสุทธิทางภาษีฐานภาษี_กำไรสุทธิทางภาษี • รายได้ • รายได้จากกิจการ: รายได้ที่เกิดจากการประกอบกิจการตามวัตถุประสงค์ของการจัดตั้งบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล • รายได้เนื่องจากกิจการ (Non-operating revenue)

  10. ฐานภาษี_ กำไรสุทธิทางภาษี (2) • ฎ. 458/2508 กำไรจากการขายที่ดินที่บริษัทซื้อมาทำโรงเลื่อยและท่าเรือภายหลังเลิกกิจการ ถือเป็นเงินได้เนื่องจากการดำเนินกิจการ • ฎ 456-457/2509 บริษัทมีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง แล้วได้ขายที่ดินและสิ่งปลูกสร้างนั้นไปเมื่อได้กำไร การซื้อขายทรัพย์สินดังกล่าวเป็นกิจการที่อยู่ภายใต้ขอบเขตและวัตถุประสงค์ของบริษัท จึงเป็นกำไรจากกิจการ

  11. ฐานภาษี_ กำไรสุทธิทางภาษี (3) • รายได้(ต่อ) • รายได้ที่เกิดขึ้นจริง • รายได้ที่ไม่เกิดขึ้นจริง แต่ประมวลรัษฎากรให้ถือ เป็นรายได้ (Deemed income) • มาตรา 70 ตรี • มาตรา 65 ทวิ

  12. ฐานภาษี_ กำไรสุทธิทางภาษี (4) • มาตรา 70 ตรี “บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลใดส่งสินค้าออกไปต่างประเทศให้แก่หรือตามคำสั่งของสำนักงานใหญ่ สาขา บริษัท หรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลในเครือเดียวกัน ตัวการ ตัวแทน นายจ้าง หรือลูกจ้าง ให้ถือว่าการที่ได้ส่งสินค้าไปนั้นเป็นการขายในประเทศไทยด้วย และให้ถือราคาสินค้าตามราคาตลาดในวันที่ส่งไปเป็นรายได้ในรอบระยะเวลาบัญชีที่ส่งออกไปนั้น”

  13. ฐานภาษี_ กำไรสุทธิทางภาษี (5) • ฎ 536/2521ตามประมวลรัษฎากรมาตรา 70 ตรี บริษัทส่งออกสินค้าไปยังบริษัทในเครือเดียวกัน ถือเป็นการขายในประเทศ และให้ถือราคาตลาดเป็นรายได้สำหรับเสียภาษีเงินได้ แต่ราคานี้จะบวกค่าระวางและค่าประกันภัยเข้าไปด้วยไม่ได้ เพราะไม่มีบทบัญญัติใดบัญญัติเช่นนั้น

  14. ฐานภาษี_ กำไรสุทธิทางภาษี (6) • มาตรา 65 ทวิ (4) • กรณีการโอนทรัพย์สิน • กรณีการให้บริการแก่บุคคลอื่น • กรณีการให้กู้ยืมเงิน โดยไม่มีค่าตอบแทน หรือ หรือต่ำกว่าราคาตลาดโดยไม่มีเหตุอันควร

  15. ฐานภาษี_ กำไรสุทธิทางภาษี (7) ฎ. 1708/2536: บจ. อายิโน๊ะโม๊ะโต๊ะ ให้บจ. อายิโน๊ะโม๊ะโต๊ะเซลล์ (ประเทศไทย) ใช้รถบรรทุกของบริษัทฯโดยไม่ต้องเสียค่าเช่า จำนวน 10 คัน การที่บริษัทผู้จัดจำหน่ายได้ใช้รถโดยไมต้องเสียค่าเช่านั้น ถือว่าบริษัทฯ เป็นผู้ได้รับประโยชน์ ประโยชน์นี้สามารถคำนวณเป็นเงินได้จึงถือเป็นเงินได้พึงประเมินที่บริษัทฯต้องนำมารวมคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษี

  16. ฐานภาษี_ กำไรสุทธิทางภาษี (8) ฎ. 956/2544: บริษัทกู้ยืมเงินมากจากสถาบันการเงินในอัตราร้อยละ 13 -17 ต่อปี แล้วให้บริษัทในเครือกู้ยืมโดยคิดดอกเบี้ยในอัตราเพียงร้อยละ 10 ต่อปี การให้กู้ยืมดังกล่าวเป็นการให้กู้ยืมโดยคิดดอกเบี้ยต่ำกว่าราคาตลาดโดยไม่มีเหตุอันควร การประเมินดอกเบี้ยตามอัตราที่บริษัทกู้จากสถาบันการเงินนั้นชอบแล้ว

  17. การคำนวณกำไรสุทธิทางภาษีการคำนวณกำไรสุทธิทางภาษี • คำนวณกำไรสุทธิจากรายได้และรายจ่ายที่เกิดขึ้นในรอบระยะเวลาบัญชี (Accounting Period) • เกณฑ์สิทธิ (Accrual Basis) • มาตรา 65 ทวิ • มาตรา 65 ตรี

  18. เงื่อนไขการคำนวณกำไรสุทธิตาม ม. 65 ทวิ • มาตรา 65 ทวิ (1):รายการที่ระบุไว้ใน 65 ตรี ไม่ให้ถือเป็นรายจ่าย • มาตรา 65 ทวิ (2): ค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาของทรัพย์สิน ให้หักได้ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข และอัตราที่กำหนดโดย พรฏ (พรฎ. ฉ.145) และให้คำนวณหักค่าเสื่อมตามส่วนเฉลี่ยแห่งระยะเวลาที่ได้ทรัพย์สินนั้นมา

  19. เงื่อนไขการคำนวณกำไรสุทธิตาม ม. 65 ทวิ_2 • มาตรา 65 ทวิ (3): ราคาทรัพย์สิน (นอกจากสินค้า) ให้ถือตามราคาที่พึงซื้อทรัพย์สินนั้นได้ตามปกติ • มาตรา 65 ทวิ (4): โอนทรัพย์สิน ให้บริการ หรือให้กู้ยืมเงิน โดยไม่มีค่าตอบแทน หรือต่ำกว่าราคาตลาด โดยไม่มีเหตุอันควร

  20. ปุจฉา • บริษัทจะให้กรรมการผู้จัดการและกรรมการผู้ถือหุ้นของตนเองกู้ยืมเงินโดยไม่คิดดอกเบี้ยได้หรือไม่

  21. เงื่อนไขการคำนวณกำไรสุทธิตาม ม. 65 ทวิ_3 • มาตรา 65 ทวิ (5): เงินตรา ทรัพย์สิน หรือ หนี้สินซึ่งมีค่าหรือราคาเป็นเงินตราต่างประเทศที่เหลืออยู่ในวันสุดท้ายรอบระยะเวลาบัญชี ให้คำนวณเป็นเงินตราไทย (ก) กรณีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล เงินตรา หรือทรัพย์สิน ให้ใช้อัตราถัวเฉลี่ยรับซื้อ หนี้สิน ให้ใช้อัตราถัวเฉลี่ยขาย (ข) กรณีธนาคารหรือสถาบันการเงิน ให้ใช้อัตราถัวเฉลี่ยระหว่างอัตราซื้อและอัตราขาย เงินตรา ทรัพย์สิน หรือหนี้สิน ที่เป็นเงินตราต่างประเทศที่รับมาหรือจ่ายไประหว่างรอบระยะเวลาบัญชี ให้คำนวณเป็นเงินตราไทยตามราคาตลาดในวันที่รับมาหรือจ่ายไป

  22. เงื่อนไขการคำนวณกำไรสุทธิตาม ม. 65 ทวิ_4 • มาตรา 65 ทวิ (6):ราคาสินค้าคงเหลือในวันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี ให้คำนวณราคาทุนหรือราคาตลาดแล้วแต่อย่างใดจะน้อยกว่า และให้ถือราคานี้เป็นราคาสินค้าคงเหลือยกมาด้วย การคำนวณราคาทุนให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ทางบัญชี และหากใช้วิธีการใดแล้วให้ใช้วิธีการนั้นไปตลอด เว้นแต่ได้รับอนุมัติจากอธิบดีจึงจะเปลี่ยนหลักเกณฑ์ได้

  23. เงื่อนไขการคำนวณกำไรสุทธิตาม ม. 65 ทวิ_5 • มาตรา 65 ทวิ (7):การคำนวณราคาทุนของสินค้าที่ส่งเข้ามาจากต่างประเทศ จพง. ประเมินมีอำนาจประเมินโดยเทียบเคียงกับราคาทุนของสินค้าประเภทและชนิดเดียวกันที่ส่งเข้าไปในประเทศอื่นได้ มาเลเซีย 8 บาท U. S. A. 18 บาท สาขาในไทย

  24. เงื่อนไขการคำนวณกำไรสุทธิตาม ม. 65 ทวิ_6 • มาตรา 65 ทวิ (8):ถ้าราคาทุนของสินค้าเป็นเงินตราต่างประเทศ ให้คำนวณเป็นเงินตราไทยตามอัตราแลกเปลี่ยนในท้องตลาดของวันที่ได้สินค้านั้นมา • มาตรา 65 ทวิ (9): การจำหน่ายหนี้สูญจากบัญชีลูกหนี้ ให้เป็นไปตามกฎกระทรวง (ฉ. 186) แต่ถ้าได้รับชำระหนี้ในรอบระยะเวลาบัญชีใด ให้นำมาคำนวณเป็นรายได้ในรอบระยะเวลาบัญชีนั้น

  25. เงื่อนไขการคำนวณกำไรสุทธิตาม ม. 65 ทวิ_7 • มาตรา 65 ทวิ (10): การยกเว้นเงินปันผลที่ได้รับจากบริษัทนิติบุคคลที่จดทะเบียนจัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย • มาตรา 65 ทวิ (11):ดอกเบี้ยเงินกู้ยืมที่อยู่ในบังคับต้องถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายตามกฎหมายว่าด้วยภาษีเงินได้ปิโตรเลียม ให้นำมารวมคำนวณเป็นรายได้เพียงเท่าที่เหลือจากถูกหักภาษีไว้ ณ ที่จ่ายตามกฎหมายดังกล่าว

  26. เงื่อนไขการคำนวณกำไรสุทธิตาม ม. 65 ทวิ_8 • มาตรา 65 ทวิ (12): เงินปันผล/เงินส่วนแบ่งกำไร ที่อยู่ในบังคับต้องถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายตามกฎหมายว่าด้วยภาษีเงินได้ปิโตรเลียม ให้นำมารวมคำนวณเป็นรายได้เพียงเท่าที่เหลือจากถูกหักภาษีไว้ ณ ที่จ่ายตามกฎหมายดังกล่าว ถ้าผู้รับเป็นบริษัทจดทะเบียน/ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย ให้นำ(10) มาใช้บังคับโดยอนุโลม

  27. เงื่อนไขการคำนวณกำไรสุทธิตาม ม. 65 ทวิ_9 • มาตรา 65 ทวิ (13): มูลนิธิหรือสมาคมที่ประกอบกิจการซึ่งมีรายได้ ไม่ต้องนำเงินค่าลงทะเบียน หรือค่าบำรุงที่ได้รับจากสมาชิก หรือเงิน/ทรัพย์สิน ที่ได้รับบริจาคหรือจากการให้โดยเสน่หา มารวมคำนวณเป็นรายได้

  28. เงื่อนไขการคำนวณกำไรสุทธิตาม ม. 65 ทวิ_10 • มาตรา 65 ทวิ (14):บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ไม่ต้องนำภาษีขายซึ่งได้รับหรือพึงได้รับ และภาษีมูลค่าเพิ่มซึ่งได้รับคืนเนื่องจากการขอคืน มารวมคำนวณเป็นรายได้ ยกเว้น ภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 82/16

  29. เงื่อนไขการคำนวณกำไรสุทธิตาม ม. 65 ตรี • มาตรา 65 ตรี (1):เงินสำรองต่างๆ ถือเป็นรายจ่ายต้องห้าม เงินสำรอง หมายถึง เงินที่กันไว้เพื่อใช้จ่ายตามวัตถุประสงค์ โดยไม่มีข้อผูกพันที่จะต้องจ่าย • มาตรา 65 ตรี (2):เงินกองทุน ถือเป็นรายจ่ายต้องห้าม ยกเว้น เงินสมทบที่จ่ายเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ซึ่งเป็นไปตามหลักเกณฑ์วิธีการที่กำหนดโดยกฎกระทรวง (ฉ.183)

  30. เงื่อนไขการคำนวณกำไรสุทธิตาม ม. 65 ตรี_2 • มาตรา 65 ตรี (3): รายจ่ายอันมีลักษณะเป็นการส่วนตัว การให้โดยเสน่หา หรือการกุศล ถือเป็นรายจ่ายต้องห้าม ข้อยกเว้น: • รายจ่ายเพื่อการกุศลสาธารณะหรือเพื่อการสาธารณะประโยชน์ตามที่อธิบดีกำหนดโดยอนุมัติรัฐมนตรี ให้หักได้ในส่วนที่ไม่เกินร้อยละ 2 ของกำไรสุทธิ • รายจ่ายเพื่อการศึกษาหรือเพื่อการกีฬาตามที่อธิบดีกำหนดโดยอนุมัติรัฐมนตรี ให้หักได้อีกในส่วนที่ไม่เกินร้อยละ 2 ของกำไรสุทธิ

  31. เงื่อนไขการคำนวณกำไรสุทธิตาม ม. 65 ตรี_3 • มาตรา 65 ตรี (4):ค่ารับรอง หรือค่าบริการในลักษณะทำนองเดียวกัน ถือเป็นรายจ่ายต้องห้าม ข้อยกเว้น : ค่ารับรองหรือค่าบริการอันจำเป็นตามประเพณีทางธุรกิจทั่วไปซึ่งเอื้อประโยชน์ต่อกิจการ และเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดโดยกฎกระทรวง (ฉ.143) สามารถลงเป็นรายจ่ายได้ตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกินร้อยละ 0.3 ของยอดรายได้ก่อนหักรายจ่ายในรอบระยะเวลาบัญชี หรือร้อยละ 0.3 ของทุนจดทะเบียนที่ชำระแล้ว แล้วแต่อย่างใดจะมากกว่า แต่ทั้งหมดต้องไม่เกิน 10 ล้านบาท

  32. เงื่อนไขการคำนวณกำไรสุทธิตาม ม. 65 ตรี_4 • มาตรา 65 ตรี (5): รายจ่ายอันมีลักษณะเป็นการลงทุน หรือรายจ่ายในการต่อเติม เปลี่ยนแปลง ขยายออก หรือทำให้ดีขึ้นซึ่งทรัพย์สิน ถือเป็นรายจ่ายต้องห้าม ยกเว้น รายจ่ายเพื่อการซ่อมแซมทรัพย์สินให้คงสภาพเดิม

  33. เงื่อนไขการคำนวณกำไรสุทธิตาม ม. 65 ตรี_5 • มาตรา 65 ตรี (6):เบี้ยปรับหรือเงินเพิ่มภาษีอากร ค่าปรับทางอาญา ภาษีเงินได้ของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ถือเป็นรายจ่ายต้องห้าม คำวินิจฉัยของคณะกรรมการวินิจฉัยภาษีอากรที่ 10/2528 • มาตรา 65 ตรี ( 6ทวิ):ภาษีมูลค่าเพิ่มที่ชำระหรือพึงชำระ และภาษีซื้อของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ถือเป็นรายจ่ายต้องห้าม

  34. เงื่อนไขการคำนวณกำไรสุทธิตาม ม. 65 ตรี_6 • มาตรา 65 ตรี (7):การถอนเงินปราศจากค่าตอบแทนของผู้เป็นหุ้นส่วนในห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ถือเป็นรายจ่ายต้องห้าม • มาตรา 65 ตรี (8):เงินเดือนของผู้ถือหุ้นหรือผู้เป็นหุ้นส่วนเฉพาะส่วนที่จ่ายเกินสมควร ถือเป็นรายจ่ายต้องห้าม

  35. เงื่อนไขการคำนวณกำไรสุทธิตาม ม. 65 ตรี_7 • มาตรา 65 ตรี (9): รายจ่ายซึ่งกำหนดขึ้นเองโดยไม่มีการจ่ายจริง หรือรายจ่ายซึ่งควรจะได้จ่ายในรอบระยะเวลาบัญชีอื่น ถือเป็นรายจ่ายต้องห้าม ยกเว้น รายจ่ายซึ่งไม่สามารถจะลงเป็นรายจ่ายในรอบระยะเวลาบัญชีใด ก็อาจลงเป็นในรายจ่ายในรอบระยะเวลาบัญชีถัดไปได้

  36. เงื่อนไขการคำนวณกำไรสุทธิตาม ม. 65 ตรี_8 • มาตรา 65 ตรี (10): ค่าตอบแทนแก่ทรัพย์สิน ซึ่งบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลเป็นเจ้าของเองและใช้เอง ถือเป็นรายจ่ายต้องห้าม • มาตรา 65 ตรี (11):ดอกเบี้ยที่คิดให้สำหรับเงินทุน เงินสำรองต่างๆ หรือเงินกองทุนของตนเอง ถือเป็นรายจ่ายต้องห้าม

  37. เงื่อนไขการคำนวณกำไรสุทธิตาม ม. 65 ตรี_9 • มาตรา 65 ตรี (12): • ผลเสียหายอันอาจได้กลับคืน เนื่องจากการประกันภัยหรือสัญญาคุ้มกันใดๆ ถือเป็นรายจ่ายต้องห้าม • ผลขาดทุนสุทธิในรอบระยะเวลาบัญชีก่อนๆ ถือเป็นรายจ่ายต้องห้าม ยกเว้น ผลขาดทุนสุทธิยกมาไม่เกิน 5 ปีก่อนรอบระยะเวลาบัญชีในปัจจุบัน

More Related