1 / 52

เทคโนโลยีการให้น้ำแก่พืชแบบองค์รวม

เทคโนโลยีการให้น้ำแก่พืชแบบองค์รวม. โดย. รศ.มนตรี ค้ำชู. ภาควิชาวิศวกรรมทรัพยากรน้ำ คณะวิศวกรรมศาสตร์. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. อบรมเชิงปฎิบัติการแก่ข้าราชการ. ณ.มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตเฉลิมพระเกรียติ์ จังหวัดสกลนคร”. วันที่ 25 พฤษภาคม 2553.

yul
Télécharger la présentation

เทคโนโลยีการให้น้ำแก่พืชแบบองค์รวม

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. เทคโนโลยีการให้น้ำแก่พืชแบบองค์รวมเทคโนโลยีการให้น้ำแก่พืชแบบองค์รวม โดย รศ.มนตรี ค้ำชู ภาควิชาวิศวกรรมทรัพยากรน้ำ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ อบรมเชิงปฎิบัติการแก่ข้าราชการ ณ.มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตเฉลิมพระเกรียติ์ จังหวัดสกลนคร” วันที่ 25 พฤษภาคม 2553

  2. วิธีการใช้น้ำชลประทานให้เกิดประโยชน์สูงสุดวิธีการใช้น้ำชลประทานให้เกิดประโยชน์สูงสุด ทำได้หลายรูปแบบพอสรุปดังนี้คือ (7ข้อ) 1. เลือกวิธีการให้น้ำชลประทาน ให้เหมาะสมกับสภาพของภูมิประเทศ ดิน และพืช 2. เลือกปลูกพืชที่ใช้น้ำน้อยแต่ให้ผลตอบแทนสูง 3. กำหนดการให้น้ำแก่พืชให้พอเหมาะ และให้ด้วยปริมาณที่ ไม่เกินความต้องการ 4. พยายามจัดตารางการปลูกพืชให้ใช้ประโยชน์จากน้ำฝนให้มากที่สุด

  3. วิธีการประหยัดน้ำหรือใช้น้ำให้เกิดประโยชน์สูงสุดวิธีการประหยัดน้ำหรือใช้น้ำให้เกิดประโยชน์สูงสุด ทำได้หลายรูปแบบพอสรุปดังนี้คือ(7ข้อ) 5. พยายามลดการสูญเสียน้ำในรูปต่างๆ ให้เหลือน้อยที่สุด 6. พยายามรวบรวมเอาน้ำไหลเลยท้ายแปลงกลับมาใช้อีก ถ้าไม่ต้องการลงทุนเพิ่มขึ้นอีกมาก 7.ใช้เทคนิคควบคุมความชื้นในดินสำหรับไม้ผล เพื่อให้เกิดความเครียดในช่วงเวลาที่ เหมาะสม (Regulated Deficit Irrigation , RDI ) ซึ่งจะทำให้ประหยัดน้ำได้อย่างมาก และได้ผลผลิตเพิ่มขึ้นมากกว่าปกติอีกด้วย

  4. สรุปหัวใจที่ควรทราบในการให้น้ำแก่พืชแบบองค์รวมสรุปหัวใจที่ควรทราบในการให้น้ำแก่พืชแบบองค์รวม 1. ควรจะให้น้ำแก่พืชครั้งละเท่าใด 4. ควรจะเอาน้ำมาจากไหน 5. ควรจะระบายน้ำอย่างไร 2. ควรจะให้น้ำแก่พืชเมื่อไร 6. ควรจะทำให้คุ้มค่าที่สุดอย่างไร 3. ควรจะให้น้ำแก่พืชวิธีไหน

  5. การที่จะให้น้ำแก่พืชมีประสิทธิภาพสูงการที่จะให้น้ำแก่พืชมีประสิทธิภาพสูง จะต้องพิจารณาองค์ประกอบที่สำคัญ 10 อย่างคือ 1. ต้องทราบข้อมูลพื้นฐาน เช่น อัตราการใช้น้ำของพืชในระยะต่างๆ ความลึกของราก ความสามารถในการอุ้มน้ำของดิน อัตราการซึมของดิน 2. ต้องเลือกระบบการให้น้ำที่เหมาะสม เช่น ระบบท้องร่อง ระบบร่อง สปริงเกลอร์ และระบบจุลภาค 3. ต้องออกแบบระบบการให้น้ำที่ถูกต้อง

  6. การที่จะให้น้ำแก่พืชมีประสิทธิภาพสูงการที่จะให้น้ำแก่พืชมีประสิทธิภาพสูง จะต้องพิจารณาองค์ประกอบที่สำคัญ 10 อย่างคือ 4. ต้องเลือกอุปกรณ์สำหรับการให้น้ำที่เหมาะสม 5. ต้องติดตั้งอุปกรณ์การให้น้ำที่ถูกวิธี 6. ต้องมีการจัดการเวลาการให้น้ำที่เหมาะสม 7.ต้องมีระบบการใส่ปุ๋ยสัมพันธุ์กับการให้น้ำ ตามจำนวนและช่วงเวลาที่เหมาะสม

  7. การที่จะให้น้ำแก่พืชมีประสิทธิภาพสูงการที่จะให้น้ำแก่พืชมีประสิทธิภาพสูง จะต้องพิจารณาองค์ประกอบที่สำคัญ 10 อย่างคือ 8. ต้องมีระบบการระบายน้ำที่ดี 9. ต้องมีการบำรุงรักษาระบบการให้น้ำที่ดี 10.ต้องมีการประเมินผล วิธีการให้น้ำว่ามีประสิทธิภาพเพียงใด เพื่อการปรับปรุงแก้ไข

  8. 1. ปริมาณความต้องการน้ำที่ใช้งานในพื้นที่ • 1.1 จำนวนน้ำที่ใช้สำหรับอุปโภคบริโภค • หมายถึงน้ำกินน้ำใช้สำหรับคนและสัตว์เลี้ยงต่างๆซึ่งมีรายละเอียดดังนี้ (2ข้อ) 1). อัตราการใช้น้ำของคน ในท้องถิ่นที่ขาดแคลนน้ำ ใช้โดยเฉลี่ยประมาณวันละ 30 ลิตรต่อคน ในท้องถิ่นที่น้ำหามาได้สะดวกพอประมาณ ใช้โดยเฉลี่ยประมาณวันละ 60 ลิตรต่อคน ในท้องถิ่นที่น้ำอุดมสมบรูณ์ ใช้โดยเฉลี่ยประมาณวันละ 200 ลิตรต่อคน

  9. 1. ปริมาณความต้องการน้ำที่ใช้งานในพื้นที่ • 1.1 จำนวนน้ำที่ใช้สำหรับอุปโภคบริโภค • หมายถึงน้ำกินน้ำใช้สำหรับคนและสัตว์เลี้ยงต่างๆซึ่งมีรายละเอียดดังนี้ (2ข้อ) 2) อัตราการใช้น้ำของสัตว์เลี้ยงประเภทต่างๆ -วัวและควายตัวละประมาณ 50 ลิตรต่อวัน - หมูตัวละประมาณ 20 ลิตรต่อวัน - ไก่ตัวละประมาณ 0.15 ลิตรต่อวัน

  10. 1.2 จำนวนน้ำใช้เพื่อการเพาะปลูก -หมายถึงจำนวนน้ำที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของพืช -น้ำที่พืชต้องการทั้งหมดนี้อาจจะได้มาจากน้ำฝน -หรือได้จากฝนรวมกับน้ำชลประทานเพียงบางส่วน -หรือใช้แต่น้ำชลประทานเพียงอย่างเดียว -หรือจากสระน้ำ -หรือน้ำใต้ดินก็ตาม

  11. ปริมาณน้ำที่ต้องให้แก่พืชปริมาณน้ำที่ต้องให้แก่พืช -เป็นน้ำใช้ในการเจริญเติบโตรวมกับน้ำที่สูญเสียเนื่องจากการรั่วซึมลงไปในดิน -และน้ำที่ไหลออกจากแปลงเพาะปลูกไปตามผิวดิน สำหรับการปลูกข้าว จำนวนน้ำที่ต้องการจะรวมถึงน้ำที่ปล่อยไปท่วมพื้นที่นาครั้งแรกเพื่อ การเตรียมดินด้วย

  12. 1. ความต้องการน้ำในนาข้าว โดยเฉลี่ยการปลูกข้าวในประเทศไทยจะต้องการ -น้ำในระยะตกกล้าลึกเฉลี่ย 40 มิลลิเมตร ต่อพื้นที่ทั้งหมด ( พื้นที่ตกกล้าต้องการน้ำเตรียมแปลงและเพาะกล้ารวมประมาณ 600 มิลลิเมตร ซึ่งกล้าในแปลงเพาะ 1ไร่ สามารถดำได้ประมาณ 15 ไร่ ) -น้ำสำหรับเตรียมแปลงลึก 200 มิลลิเมตร -และน้ำที่ขังในนาตั้งแต่ระยะปักดำถึงระยะเก็บเกี่ยวลึกประมาณ 1000 มิลลิเมตร -หรือต้องการน้ำเฉลี่ยวันละ 8 มิลลิเมตร ซึ่งตลอดอายุของการปลูกข้าวจะต้องการน้ำ ในพื้นที่เพาะปลูกทั้งหมดรวมทั้งสิ้น 1,240 มิลลิเมตร

  13. 2.) ความต้องการน้ำสำหรับพืชไร่ พืชผัก และต้นไม้ผล พืชทุกชนิดต้องการน้ำเพียงจำนวนหนึ่ง เพื่อการเจริญเติบโตและให้ได้ผลผลิตสูง -การขาดแคลนน้ำจะทำให้พืชเติบโตได้ไม่เติมที่ -ต้นจะเตี้ยแคราะแกรน หรือแขนงและกิ่งก้านอาจตายได้ -ในระยะที่พืชออกดอกติดผล และเกิดเมล็ดแล้ว การขาดแคลนน้ำจะทำให้ขนาดของผลหรือเมล็ดเล็กลง -จะทำให้ปริมาณการเก็บเกี่ยวลดลงตามไปด้วย -พืชไร่ พืชผักและต้นไม้ผลแต่ละชนิด จะมีความต้องการน้ำมากน้อยแตกต่างกันไป -ในแต่ละช่วงของการเจริญเติบโต พืชต่างๆ ก็ต้องการน้ำในอัตราไม่เท่ากันเช่นกัน -ในระยะแรกปลูกจะต้องการน้ำน้อย -ต้องการมากขึ้นๆ เมื่อพืชมีการเจริญเติบโตทางลำต้น ใบ และกิ่งก้าน -จะต้องการน้ำมากที่สุดในระยะออกดอกไปจนถึงระยะผลเริ่มแก่ -ผลแก่เต็มที่จึงต้องการน้ำจำนวนน้อยมาก

  14. ตารางที่ 1. ความต้องการน้ำของพืชชนิดต่างๆ โดยประมาณ

  15. 2. ควรจะให้น้ำแก่พืชเมื่อไร -ให้น้ำแก่พืชเมื่อพืชขาดน้ำ หรือเมื่อฝนไม่ตก หรือเว้นระยะการให้น้ำไปนานๆ -น้ำที่เก็บอยู่ในดินจะถูกรากพืชดูดเอาไปใช้ รวมทั้งน้ำในดินส่วนหนึ่งได้ ระเหยออกไปจากพื้นดินโดยตรง -ทำให้ความชื้นในดินเหลือน้อย -พืชไม่สามารถดูดเอาไปใช้ได้อย่างเพียงพอ -ทำให้พืชเกิดอาการเหี่ยวเฉาและอาจถึงตายได้ -ฉนั้นหลังจากที่ให้น้ำแก่พืชเต็มที่แล้วอาจจะเป็น 2 วัน หรือ 10 วัน แล้วแต่ชนิดของดิน และการใช้น้ำของพืช -จำเป็นต้องให้น้ำครั้งต่อไป

  16. ข้อมูลที่จะนำมาพิจารณาว่าควรให้น้ำแก่พืชเมื่อไรข้อมูลที่จะนำมาพิจารณาว่าควรให้น้ำแก่พืชเมื่อไร ได้แก่ -ความสามารถในการอุ้มน้ำของดิน -ความลึกของราก -ความทนแล้งหรือบอกเป็นเปอร์เซ็นความชื้นที่ยอมให้พืชเอาไปใช้ได้ -คำนวณความชื้นที่ยอมให้พืชเอาไปใช้ได้ และอัตราการใช้น้ำของพืช

  17. 2.1 อัตราการใช้น้ำของพืช หมายถึง ปริมาณน้ำทั้งหมดที่สูญเสียจากพื้นที่บริเวณปลูกพืชสู่บรรยากาศในรูปของไอน้ำ ประกอบด้วยส่วนใหญ่ๆ สองส่วนคือ 1.) การคายน้ำ ได้แก่ปริมาณน้ำที่พืชดูดไปได้จากดินโดยรากไหลผ่านลำต้น เพื่อนำไปใช้สร้างเซลและ เนื้อเยื่อ แล้วคายออกทางใบเพื่อระบายความร้อนออกสู่บรรยากาศ ในรูปของไอน้ำ 2.)การระเหย ได้แก่ปริมาณน้ำที่ระเหยจากผิวดินบริเวรรอบๆต้นพืช จากผิวน้ำในขณะให้น้ำ และน้ำที่เกาะอยู่ตามใบเป็นต้น

  18. ค่าทั้งสองนี้จะคิดเป็นตัวเลขแยกกันนั้นทำได้ไม่สดวก จึงคิดรวมกัน และเรียกว่าค่าการคายระเหย ถือว่าเป็นปริมาณการใช้น้ำของพืชนั่นเองดูรูปที่ 1 รูปที่ 1 แสดงการใช้น้ำของพืชเป็นค่าการคายน้ำรวมค่ากระระเหย

  19. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการใช้น้ำของพืชปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการใช้น้ำของพืช (1)สภาพภูมิอากาศรอบๆต้นพืช ซึ่งได้แก่ อุณหภูมิ ความชื้นสัมพัทธ์ของอากาศ และความเร็วลม เป็นต้น ดูรูปที่ 2 (2) พืช ซึ่งได้แก่ ชนิดและอายุของพืช -พืชแต่ละชนิดมีความต้องการน้ำแตกต่างกัน -สำหรับพืชชนิดเดียวกัน การใช้น้ำจะน้อยเมื่อเริ่มปลูก -และจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จนมากที่สุดเมื่อถึงวัยขยายพันธุ์ ซึ่งพืชโตเต็มที่

  20. ค่าอัตราการใช้น้ำของพืชค่าอัตราการใช้น้ำของพืช -นิยมหาอย่างง่ายโดย -เทียบกับค่าการระเหยที่วัดได้จากถาดวัดค่าการระเหย โดยมีข้อแนะนำดังนี้ รูปที่ 2 ปัจจัยจากสภาพภูมิอากาศที่มีผลต่อการใช้น้ำของพืช

  21. รูป แสดงถาดวัดการระเหยชนิดclass-A

  22. สำหรับพืชสวน อัตราการใช้น้ำ = 0.7 x Ep มม./วัน ....(1 ) หรือ คิดเป็นปริมาณต่อต้น = 0.6 x Ep x D2 ลิตร /วัน /ต้น ....(2) สำหรับพืชผัก อัตราการใช้น้ำ = 0.8 x Ep มม./วัน .......(3) หรือ คิดต่อพื้นที่ปลูก = 0.8xEp ลิตร/ตร.เมตร /วัน ...(4) ในเมื่อ Ep เป็นค่าอัตราการระเหยจากถาดวัด มม./วัน

  23. D = ค่าที่วัดเส้นผ่าศูนย์กลางขนาดทรงพุ่มของต้นไม้

  24. ตัวอย่างที่ 1.คำนวณอัตราการใช้น้ำของพืชสวนต่อวัน เช่น ปลูกลำไยที่จังหวัดลำพูน มีขนาดทรงพุ่มวัดได้ 5 เมตร อยากทราบว่าเดือนเมษายน มีอัตราการใช้น้ำวันละกี่ลิตรต่อต้น วิธีคำนวณ จากสมการ ( 2 ) อัตราการใช้น้ำของลำไย =0.6 x Epx D2ลิตร/วัน ในเมื่อEpค่าอัตราการระเหยเฉลี่ยของจ.ลำพูน ในเดือนเมษายน จากตาราง 2.Ep = 7.58มม./วัน ฉนั้น อัตราการใช้น้ำของลำไย = 0.6 x7.58 x 52 = 113 ลิตร/วัน/ต้น

  25. ตารางที่2ค่าการระเหยที่วัดได้จากถาดวัดการระเหยตารางที่2ค่าการระเหยที่วัดได้จากถาดวัดการระเหย

  26. ตารางที่2(ต่อ)ค่าการระเหยที่วัดได้จากถาดวัดการระเหยตารางที่2(ต่อ)ค่าการระเหยที่วัดได้จากถาดวัดการระเหย

  27. ตัวอย่างที่ 2คำนวณอัตราการใช้น้ำของพืชผัก เช่นปลูกผักที่ จ.ร้อยเอ็ด อยากทราบว่าเดือนกุมภาพันธ์ ผักจะใช้น้ำวันละประมาณกี่มม.หรือ ตร.เมตรละกี่ลิตรต่อวัน วิธีคำนวณ จากสมการ (4) อัตราการใช้น้ำของผัก = 0.8 x Ep ลิตร./ตร.เมตร/วัน ในเมื่อ Ep ค่าอัตราการระเหยเฉลี่ยของจ.ร้อยเอ็ดใน เดือนกุมภาพันธุ์จากตาราง 2 Ep = 4.96มม./วัน ฉนั้น อัตราการใช้น้ำของผัก = 0.8 x 4.96 = 4.0 มม./วัน หรือ = 4.0 ลิตร/ตร.เมตร/วัน

  28. ตารางที่ 3 ผลผลิตต่อไร่และ ประสิทธิภาพการใช้น้ำ ให้เกิดประโยชน์

  29. ตารางที่ 4 แสดงปริมาณความต้องการใช้น้ำ และข้อมูลที่ควรทราบของพืชไร่-พืชผัก-พืชสวน

  30. ตารางที่ 4 (ต่อ) แสดงปริมาณความต้องการใช้น้ำ และข้อมูลที่ควรทราบของพืชไร่-พืชผัก-พืชสวน

  31. 3. ฝนในประเทศไทย -ส่วนใหญ่เกิดจากลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ -และจากพายุจรที่พัดมาจากทางทิศตะวันออก ฝนที่เกิดจากลมมรสุม -จะตกปกคลุมเกือบทั่วประเทศ -เริ่มตกตั้งแต่ เดือนพฤษภาคม จนถึงเดือนตุลาคม

  32. 3. ฝนในประเทศไทย ฝนที่เกิดจากพายุจร -เริ่มตกที่บริเวณ ภาคกลาง ภาคเหนือ และภาคตะวันออก เฉียงเหนือ -ราวเดือนมิถุนายน และจะตกหนักทั่วทั้งภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ -ภาคกลางในราวเดือนกันกันยายน จนถึงเดือนตุลาคมจึงมีปริมาณน้อยลงและหมด ไปพร้อมกับฝนที่เกิดจากลมมรสุม -แต่ที่ภาคใต้จะยังคงมีฝนเพิ่มมากขึ้น -จนกระทั่งถึงเดือนมกราคม ฝนที่ตกทางภาคใต้จึงจะเริ่มน้อยลง

  33. 3. ฝนในประเทศไทย ฝนเป็นปรากฏการณ์ตามธรรมชาติ -เวลาที่ฝนตก จำนวนฝนที่ตกแต่ละครั้ง ตลอดจนสภาพการตกแผ่ปกคลุมพื้นที่จึง ไม่ค่อยมีความแน่นอนนัก -บางปีอาจจะเริ่มฤดูฝนช้ากว่าปกติหรือมีปริมาณฝนตกรวมทั้งปีน้อย -เป็นเหตุให้การเพาะปลูกต้องได้รับความเสียหาย -ประชาชนตลอดจนสัตว์เลี้ยงต้องขาดแคลนน้ำสำหรับอุปโภคบริโภค

  34. 3. ฝนในประเทศไทย ฝนเป็นปรากฏการณ์ตามธรรมชาติ -บางปีอาจจะเริ่มฤดูฝนเร็ว โดยมีช่วงเวลาที่ฝนไม่ตกขั้นอยู่นาน หลักจากนั้นจึงมีฝนตก หนักติดต่อกัน -เมื่อเป็นเช่นนี้ก็จะทำให้การปลูกได้รับความเสียหายเพราะการขาดแคลนน้ำตอนฝนทิ้งช่วง -และได้รับภัยเนื่องจากน้ำท่วมพื้นที่เพาะปลูกตามมาอีกครั้งหนึ่ง -ดังนั้นในฤดูกาลเพาะปลูก จำนวนน้ำฝนและเวลาของฝนตกจึงมีส่วนสำคัญอย่างยิ่งต่อการ ประกอบอาชีพของเกษตรกร

  35. 3. ฝนในประเทศไทย ฝนเป็นปรากฏการณ์ตามธรรมชาติ -สำหรับโครงการที่จะก่อสร้างเป็นอ่างเก็บกักน้ำก็ต้องพิจารณาพื้นที่รับน้ำฝน -พื้นที่ลุ่ม ในลุ่มน้ำเหนือแนวที่จะตั้งเขื่อนหรือฝาย -ซึ่งมีอาณาเขตล้อมบรรจบกันเป็นวงปิดด้วยแนวสันปันน้ำ และแนวสันเนินสูงสุด -ภายในพื้นที่นี้หากมีฝนตกจนเกิดน้ำนองแล้ว น้ำทั้งหมดจะไหลลงมายังที่ตั้งเขื่อน หรือฝายนั้น

  36. 3. ฝนในประเทศไทย ฝนเป็นปรากฏการณ์ตามธรรมชาติ -พื้นที่รับน้ำฝนจะมีขนาดใหญ่หรือเล็กวัดได้จากแผนที่ 1:50,000 -จะขึ้นอยู่กับขนาดของลุ่มน้ำที่เขื่อน หรือฝายนั้นตั้งอยู่ -พื้นที่รับน้ำฝนของเขื่อนหรือฝายนี้ เปรียบเสมือนกับหลังคาบ้านที่รองรับน้ำฝนลงมา ใส่ถังเก็บน้ำหรือโอ่ง

  37. ขนาดและลักษณะของพื้นที่รับน้ำฝนดังกล่าวขนาดและลักษณะของพื้นที่รับน้ำฝนดังกล่าว -มีความสัมพันธ์กับปริมาณน้ำฝนรวมทั้งปี -และอัตราน้ำหลากสูงสุดที่เขื่อนหรือฝายจะได้รับ -เขื่อนหรือฝายมีพื้นที่รับน้ำฝนขนาดใหญ่จะมีปริมาณน้ำไหลลงมายังเขื่อนหรือฝาย รวมทั้งปีมาก -ส่วนพื้นที่รับน้ำฝนที่ลักษณะภูมิประเทศลาดชันตอนช่วงฝนตกหนัก ก็จะเกิดน้ำหลาก ลงมายังเขื่อน หรือฝายอย่างรวดเร็วและมีปริมาณน้ำมากกว่าของพื้นที่ที่มีขนาดใกล้เคียงกัน แต่ลักษณะภูมิประเทศค่อนข้างลาด

  38. ขนาดและลักษณะของพื้นที่รับน้ำฝนขนาดและลักษณะของพื้นที่รับน้ำฝน -ขนาดและลักษณะของพื้นที่รับน้ำฝนเหนือเขื่อนหรือฝาย จึงเป็นข้อมูลสำคัญอันดับแรก ที่จะต้องทราบก่อน -แล้วจึงจะคำนวณด้านอุทกวิทยาต่อไปได้ปริมาณน้ำท่าจะมีค่าประมาณ 25% ของปริมาณ ฝนเฉลี่ย

  39. รูปที่ 3. ทิศทางและช่วงเวลาของลักษณะและอากาศที่เกิดขึ้นในประเทศไทย

  40. รูปที่ 4.แผนที่แสดงปริมาณฝนเฉลี่ยทั้งปีทั่วประเทศ เป็นมิลลิเมตร

  41. 4.แนวการพิจารณาเลือกประเภทงานพัฒนาแหล่งน้ำขนาดเล็ก4.แนวการพิจารณาเลือกประเภทงานพัฒนาแหล่งน้ำขนาดเล็ก

More Related