1 / 16

เรียนจบวิทยาศาสตร์

เรียนจบวิทยาศาสตร์. จะทำงานอะไรดี ?. หยุดความคิด !. ว่าเรียน วิทยาศาสตร์ แล้วจะไม่มีงานทำ. คณะวิทยาศาสตร์มีหลักสูตรปริญญาตรี มากมาย ดังนี้. วิทยาศาสตร์ทั่วไป (คณิต-ฟิสิกส์) (เคมี-ฟิสิกส์) (เคมี-ชีววิทยา) (คณิต-เคมี). วัสดุศาสตร์. คณิตศาสตร์. สถิติ. วิทยาศาสตร์พอลิเมอร์. เคมี.

zamora
Télécharger la présentation

เรียนจบวิทยาศาสตร์

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. เรียนจบวิทยาศาสตร์ จะทำงานอะไรดี ?

  2. หยุดความคิด! ว่าเรียน วิทยาศาสตร์ แล้วจะไม่มีงานทำ

  3. คณะวิทยาศาสตร์มีหลักสูตรปริญญาตรี มากมาย ดังนี้ วิทยาศาสตร์ทั่วไป (คณิต-ฟิสิกส์) (เคมี-ฟิสิกส์) (เคมี-ชีววิทยา) (คณิต-เคมี) วัสดุศาสตร์ คณิตศาสตร์ สถิติ วิทยาศาสตร์พอลิเมอร์ เคมี ฟิสิกส์ วิทยาการคอมพิวเตอร์ เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร(ICT) เทคโนโลยีสารสนเทศ (ITต่อนื่อง) ชีววิทยา จุลชีววิทยา เทคโนโลยีชีวภาพ คลิกเลือกหลักสูตรที่สนใจ

  4. คณิตศาสตร์ สามารถทำงานได้ทั้งหน่วยงานของราชการและเอกชน โดยประกอบอาชีพได้หลากหลาย เช่น ครู อาจารย์ ในสถาบันการศึกษา นักวิจัย โปรแกรมเมอร์ นักวิเคราะห์ข้อมูล เจ้าหน้าที่วิเคราะห์วางแผนระบบงาน เจ้าหน้าที่ควบคุมคุณภาพ นักการธนาคาร นักคณิตศาสตร์ ประกันภัย เป็นต้น หรือสามารถประกอบอาชีพอิสระ กลับหน้าหลัก

  5. สถิติ อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังจากสำเร็จการศึกษา ประกอบอาชีพในองค์กรหรือหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนดังนี้ นักวิชาการสถิติ นักสถิติ นักสถิติเศรษฐสังคม นักควบคุมคุณภาพกระบวนการผลิตเชิงอุตสาหกรรม นักการประกันภัย นักวิจัยในสาขาต่าง ๆ นักวิเคราะห์แผนและนโยบาย นักวิชาการศึกษา ครูคณิตศาสตร์และสถิติ และอาชีพอิสระอื่น ๆ กลับหน้าหลัก

  6. เคมี ปัจจุบันตลาดแรงงานเปิดกว้าง ในส่วนราชการได้แก่ กรมทรัพยากรธรณี กรมวิทยาศาสตร์บริการ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กองทัพและกองพิสูจน์หลักฐาน สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ฯลฯ ภาคเอกชน เช่น โรงงานปิโตรเคมี บริษัทน้ำมัน สิ่งทอ พลาสติก ยาง ปูนซีเมนต์ เครื่องดื่ม อาหาร บริษัทเคมีภัณฑ์ หรือสามารถประกอบอาชีพอิสระ กลับหน้าหลัก

  7. ฟิสิกส์ สามารถทำงานในส่วนราชการ ได้แก่ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงอุตสาหกรรม การไฟฟ้าฝ่ายผลิต สำนักงานตำรวจแห่งชาติ สถาบันวิจัย ห้องวิจัยเอกชนและบริษัทต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการตรวจสอบและควบคุมคุณภาพ หรือสามารถประกอบอาชีพอิสระ กลับหน้าหลัก

  8. วัสดุศาสตร์ สามารถทำงานในหน่วยงานอุตสาหกรรมทุกหน่วยงาน อาทิ โรงงานอุตสาหกรรมเครื่องสุขภัณฑ์ อุปกรณ์เครื่องมือ โรงงานทำแก้ว โรงเหล็ก บริษัทผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ โรงงานเกี่ยวกับยางและพลาสติก ห้องวิจัยเอกชนและบริษัทต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการตรวจสอบและควบคุมคุณภาพ เป็นต้น ในส่วนราชการ ได้แก่ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย กรมวิทยาศาสตร์บริการ สำนักงานพิสูจน์หลักฐานตำรวจ ศูนย์วิจัยวัสดุและเทคโนโลยีแห่งชาติ (MTEC) หรือสามารถประกอบอาชีพอิสระ กลับหน้าหลัก

  9. วิทยาศาสตร์พอลิเมอร์ สามารถเป็นนักวิจัย นักวิทยาศาสตร์ ผู้บริการทดสอบผลิตภัณฑ์พอลิเมอร์ กรมวิทยาศาสตร์บริการ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ศูนย์วิจัยวัสดุและเทคโนโลยีแห่งชาติ (MTEC) กรมศุลกากร สถาบันวิจัยยาง โรงพิมพ์ ธนาคารแห่งชาติ ส่วนเอกชนได้แก่ ผู้ดูแลการผลิตและควบคุมคุณภาพวัตถุดิบและผลิตภัณฑ์ โรงงานชิ้นส่วนรถยนต์และจักรยานยนต์ โรงงานผลิตถุงมือยางและลูกโป่ง โรงงานผลิตเม็ดพลาสติก PVC PP PE โรงงานผลิตเส้นใยสังเคราะห์ โรงงานผลิตสีทาบ้าน หรือสามารถประกอบอาชีพอิสระ กลับหน้าหลัก

  10. วิทยาการคอมพิวเตอร์ สามารถทำงานเป็นนักวิทยาการคอมพิวเตอร์ หรือนักวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ นักวิชาการวิทยาการคอมพิวเตอร์ นักวิเคราะห์และออกแบบระบบงานสารสนเทศ โปรแกรมเมอร์ ผู้ดูแลระบบเครือข่ายและเครื่องแม่ข่าย ผู้ดูแลระบบฐานข้อมูล ผู้จัดการโครงการซอฟต์แวร์ ผู้ประสานงานโครงการซอฟต์แวร์ นักพัฒนาเว็บไซต์ นักวิชาชีพในสถานประกอบการที่มีการใช้วิทยาการคอมพิวเตอร์ กลับหน้าหลัก

  11. เคมี - ชีววิทยา สามารถทำงานได้ทั้งหน่วยงานของราชการและเอกชน เช่นนักวิทยาศาสตร์ ครู อาจารย์ นักวิจัยในสถาบันภาครัฐ โรงงานปิโตรเคมี บริษัทน้ำมัน ทำงานในห้องปฏิบัติการบริษัทเคมีภัณฑ์ สิ่งทอ พลาสติก ยาง ปูนซีเมนต์ เครื่องดื่ม อาหาร กองพิสูจน์หลักฐาน สำนักงานตำรวจแห่งชาติ เป็นต้น หรือ สามารถประกอบอาชีพอิสระ กลับหน้าหลัก

  12. เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร นักวิชาการเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร นักวิชาการคอมพิวเตอร์ นักวิเคราะห์ระบบ นักพัฒนาระบบงานคอมพิวเตอร์ โปรแกรมเมอร์ วิศวกรสารสนเทศ วิศวกรระบบคอมพิวเตอร์ วิศวกรด้านเทคนิค นักออกแบบและพัฒนาระบบฐานข้อมูล ผู้บริหารฐานข้อมูล ผู้บริหารเครือข่ายคอมพิวเตอร์ และดูแลระบบคอมพิวเตอร์ นักพัฒนาเว็บไซต์ นักพัฒนาเกมคอมพิวเตอร์และภาพเคลื่อนไหว อาจารย์ นักวิชาการ ประกอบธุรกิจส่วนตัว และอื่นๆ กลับหน้าหลัก

  13. ชีววิทยา สามารถทำงานเป็นครู อาจารย์ และนักวิจัยในสถาบันภาครัฐ เช่น สวนพฤกษศาสตร์ กรมประมง กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กรมอนามัย ห้องปฏิบัติการในโรงพยาบาลต่างๆ องค์การเภสัชกรรม สถาบันวิจัยทางการแพทย์ สถาบันวิจัยทางสิ่งแวดล้อม สำนักงานตำรวจแห่งชาติ หน่วยงานเอกชน เช่น บริษัทเกี่ยวกับผลผลิตทางการเกษตร สิ่งแวดล้อม เครื่องสำอาง อาหารและยา เป็นต้น กลับหน้าหลัก

  14. จุลชีววิทยา สามารถประกอบอาชีพในภาคเอกชน เช่น อุตสาหกรรมอาหาร- เครื่องดื่ม อุตสาหกรรมเกษตร เภสัชกรรม เครื่องสำอางหรือในส่วนของการเกษตรและการจัดการสิ่งแวดล้อม หน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้อง เช่น หน่วยงานด้านเทคโนโลยีชีวภาพอาหาร สิ่งแวดล้อม สาธารณสุข โรงพยาบาล กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ครู อาจารย์ นักวิจัย ในสถาบันการศึกษาเป็นต้น หรือ สามารถประกอบอาชีพอิสระ กลับหน้าหลัก

  15. เทคโนโลยีชีวภาพ เทคโนโลยีชีวภาพเป็นสหศาสตร์ ผู้ที่เรียนศาสตร์นี้ จะมีความรู้หลายด้าน ทั้งทางด้านอุตสาหกรรมเกษตร การอาหาร ทางด้านการแพทย์ แต่เน้นไปทางด้านชีวโมเลกุล ซึ่งผู้ที่จบการศึกษา ในสาขาวิชานี้สามารถประกอบอาชีพทั้งภาครัฐบาลและเอกชน ภาครัฐบาล ได้แก่ สถาบันวิจัยต่าง ๆ ที่วิเคราะห์ทางด้านเทคโนโลยีชีวภาพ ด้านชีววิทยาโมเลกุล ด้านจุลชีววิทยา ด้านการเกษตร โรงพยาบาล มหาวิทยาลัย กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม เป็นต้น ในส่วนของภาคเอกชน ได้แก่ โรงงานอุตสาหกรรมอาหาร อุตสาหกรรมเกษตร เภสัชกรรมซึ่งจะอยู่ในส่วนของฝ่ายวิเคราะห์ เป็นต้น กลับหน้าหลัก

  16. หน่วยทะเบียนและประเมินผลการศึกษาหน่วยทะเบียนและประเมินผลการศึกษา

More Related