1 / 71

การประชุมชี้แจงและเตรียมการ

การประชุมชี้แจงและเตรียมการ. การทดสอบทางการศึกษาระดับชาติด้านอาชีวศึกษา ( V-NET ) ระดับสนามสอบ ประจำปีการศึกษา 2555 10 มกราคม 2556 ณ ห้องประชุม 1 มทร .ล้านนา ลำปาง โดย ศูนย์สอบมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ลำปาง. หัวข้อการประชุม.

zanta
Télécharger la présentation

การประชุมชี้แจงและเตรียมการ

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. การประชุมชี้แจงและเตรียมการการประชุมชี้แจงและเตรียมการ การทดสอบทางการศึกษาระดับชาติด้านอาชีวศึกษา (V-NET)ระดับสนามสอบ ประจำปีการศึกษา 2555 10 มกราคม 2556 ณ ห้องประชุม 1 มทร.ล้านนา ลำปาง โดย ศูนย์สอบมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ลำปาง

  2. หัวข้อการประชุม 1. การทดสอบทางการศึกษาระดับชาติ ด้านอาชีวศึกษา (V-NET) 2. โครงสร้างการบริหาร V-NET 3. แบบทดสอบและกระดาษคำตอบ 4. ตารางสอบ 5. ข้อปฏิบัติในการสอบ V-NET 6. การจัดสนามสอบ 7. การรับ-ส่งแบบทดสอบ กระดาษคำตอบและอุปกรณ์การจัดสอบ 8. ค่าใช้จ่ายในการดำเนินการสอบ V-NET 9. ปฏิทินการปฏิบัติงาน 10. เอกสารที่เกี่ยวข้องกับการจัดสอบ 11. คำถามที่พบบ่อย FQAs 12. เกี่ยวกับเว็บไซต์ และอื่น ๆ

  3. วัตถุประสงค์ของการทดสอบ V-NET • 1. เพื่อทดสอบความรู้และความคิดของนักเรียน ตามหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ พุทธศักราช 2545 (ปรับปรุง 2546) 2. เพื่อนำผลการทดสอบไปใช้ในการปรับปรุงคุณภาพการเรียนการสอนของสถานศึกษา 3. เพื่อนำผลการทดสอบไปใช้ในการประเมินผลการเรียนรู้ของนักเรียนระดับชาติ 4. เพื่อนำผลการทดสอบไปใช้ในการประกันคุณภาพการศึกษา

  4. ศูนย์สอบที่บริหารการทดสอบ V-NET • ศูนย์สอบที่บริหารการจัดสอบ V-NET ประกอบด้วยมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล จำนวน 8 แห่ง และวิทยาเขตของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล 17 แห่ง มหาวิทยาลัยราชภัฎเพชรบุรี มหาวิทยาลัย ราชภัฎนครปฐม และมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ รวมจำ นวนศูนย์สอบทั้งหมด 28 ศูนย์ • มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ลำปาง- รับผิดชอบ จ. ลำปาง และ จ.อุตรดิตถ์

  5. ข้อมูลสำหรับการบริหารจัดสอบ V-NET

  6. ข้อมูลการจัดสอบศูนย์สอบมทร. ล้านนา ลำปาง

  7. ข้อมูลการจัดสอบศูนย์สอบมทร. ล้านนา ลำปาง (ต่อ)

  8. ข้อมูลการจัดสอบศูนย์สอบมทร. ล้านนา ลำปาง (ต่อ)

  9. กำหนดการสอบV-NET ปีการศึกษา 2555 วันอาทิตย์ที่ 20 มกราคม 2556 ตารางสอบ V-NET ปวช. 3

  10. การจัดสอบ V-NET ปีการศึกษา 2555 (พ.ศ. 2556) • ข้อสอบ มีทั้งหมด 2 ฉบับ • ฉบับที่ 1 ความรู้พื้นฐานทั่วไป ผู้เข้าสอบทุกคนสอบเหมือนกัน • ฉบับที่ 2 ความรู้วิชาชีพพื้นฐาน มี 22 ชุดวิชา ผู้เข้าสอบต้องแยกสอบตามประเภทวิชาและสาขาวิชา • แบบทดสอบและกระดาษคำตอบจะบรรจุแยกซองกัน แบบทดสอบและกระดาษคำตอบมีจำนวนเท่ากับจำนวนผู้เข้าสอบในห้องสอบนั้น • กระดาษคำตอบของผู้เข้าสอบทุกคน ได้ระบุข้อมูลไว้เรียบร้อยแล้ว กรรมการคุมสอบต้องแจกให้ตรงกับผู้เข้าสอบ หากไม่ตรงกับผู้เข้าสอบหรือชำรุด ต้องใช้กระดาษคำตอบสำรอง

  11. แบบทดสอบแต่ละชุดวิชามีรหัสสีเฉพาะ ซึ่งรหัสสีจะเหมือนกันทั้งที่ซองแบบทดสอบ ซองกระดาษคำตอบ • ซองแบบทดสอบจะถูกปิดด้วย “เทปกาวพิเศษแบบทำลายตนเอง” เพื่อมิให้เปิดจนถึงห้องสอบ ในแต่ละชุดวิชาที่สอบจะมีจำนวนซองแบบทดสอบ 1 ซอง และซองกระดาษคำตอบ 1 ซอง ต่อห้องสอบ • สทศ. จะบรรจุซองแบบทดสอบและซองกระดาษคำตอบลงในกล่อง ตามจำนวนห้องสอบของแต่ละสนามสอบเพื่อใช้สอบ และแต่ละสนามสอบจะมีแบบทดสอบสำรอง 5% และกระดาษคำตอบสำรอง 5% ของผู้เข้าสอบ

  12. ศูนย์สอบรับกล่องบรรจุแบบทดสอบ และกล่องบรรจุกระดาษคำตอบ และเอกสารที่เกี่ยวข้องกระจายให้สนามสอบในเช้าวันสอบ • หัวหน้าสนามสอบเปิดกล่องบรรจุแบบทดสอบต่อหน้าตัวแทนศูนย์สอบหรือผู้ที่ศูนย์สอบมอบหมายก่อนเวลาสอบของแต่ละวิชาไม่เกิน 1 ชั่วโมง • เมื่อสอบเสร็จ สนามสอบจะนับกระดาษคำตอบให้ครบถ้วนตามจำนวน ผู้เข้าสอบและผู้ขาดสอบบรรจุใส่ซองระดาษคำตอบปิดทับด้วยเทปกาวพิเศษแบบทำลายตนเอง แล้วบรรจุลงในกล่องปรับขนาดสำหรับใส่ซองกระดาษคำตอบ เพื่อส่ง สทศ. ผ่านศูนย์สอบ โดยศูนย์สอบจะนับกล่องให้ครบถ้วนตามจำนวนสนามสอบเท่านั้น

  13. สนามสอบนับจำนวนแบบทดสอบให้ครบถ้วนแล้วใส่ซอง และบรรจุลงกล่องแบบทดสอบ แล้วเก็บรักษาไว้ที่สนามสอบ หลังประกาศผลสอบเรียบร้อยแล้วให้ศูนย์สอบนำไปทำลาย • หัวหน้าสนามสอบนำกล่องบรรจุซองกระดาษคำตอบ และเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการจัดสอบส่งศูนย์สอบตามกำหนดนัดหมายของศูนย์สอบ • สทศ. จะนัดหมายมารับกล่องกระดาษคำตอบ พร้อมบัญชีส่งจำนวนกล่องกระดาษคำตอบฯ (V-NET 3)

  14. 2. โครงสร้างการบริหารการทดสอบ V-NET สทศ. (กำหนดนโยบาย)ศูนย์สอบ (กำกับการจัดสอบให้โปร่งใส ได้มาตรฐาน)สนามสอบ(ดำเนินการจัดสอบ ระดับสนามสอบ)

  15. หน้าที่หลักของศูนย์สอบหน้าที่หลักของศูนย์สอบ • ประสานงานกับ สทศ. และดำเนินงานตามนโยบายและแนวปฏิบัติของ สทศ. • ประสาน กำกับ และติดตาม การส่งข้อมูลสถานศึกษา ข้อมูลนักศึกษาของสนามสอบ ให้เป็นไปตามกำหนด • ปชส. การสอบให้สถานศึกษาทราบ กำกับดูแล และติดตามการส่งข้อมูลของสถานศึกษา • กำหนดสนามสอบ และแจ้งข้อมูลห้องสอบให้ สทศ. ทราบผ่านระบบ V-NET

  16. แต่งตั้งคณะทำงานระดับศูนย์สอบและกรรมการระดับสนามสอบแต่งตั้งคณะทำงานระดับศูนย์สอบและกรรมการระดับสนามสอบ • ควบคุม กำกับให้การจัดสอบของศูนย์สอบและสนามสอบเป็นไปด้วยความเรียบร้อยและมีประสิทธิภาพ (ไม่ทุจริต โปร่งใส ยุติธรรม และเป็นไปตามมาตรฐานการทดสอบ) • แก้ปัญหาในการจัดสอบของศูนย์สอบและสนามสอบ • บริหารค่าใช้จ่ายในการดำเนินการสอบ • รายงานสรุปผลการดำเนินการจัดสอบและสรุปค่าใช้จ่ายแจ้งให้ สทศ.

  17. การนำส่งข้อมูลนักเรียนผ่านเว็บไซต์การนำส่งข้อมูลนักเรียนผ่านเว็บไซต์ • ประสานติดตามการส่งข้อมูลสถานศึกษาและนักศึกษา • กำหนดสนามสอบและกำกับให้สนามสอบกรอกข้อมูลสนามสอบและห้องสอบ • แก้ไขรายชื่อนักศึกษาและข้อมูลสถานศึกษาให้ถูกต้องตามคำร้องขอของสถานศึกษา • ตรวจสอบประกาศ เลขที่นั่ง ห้องสอบ และสนามสอบ • กำกับให้สนามสอบและสถานศึกษาตรวจสอบประกาศเลขที่นั่งและห้องสอบ

  18. การประสานการจัดสอบ • แต่งตั้งคณะทำงานดำเนินการทดสอบระดับศูนย์สอบ ระดับสนามสอบ และตัวแทนศูนย์สอบ • กำหนดปฏิทินการทำงาน จัดประชุมชี้แจงผู้เกี่ยวข้องและกำกับให้มีการประชุมระดับสนามสอบ • แต่งตั้งเจ้าหน้าที่ศูนย์สอบรับผิดชอบดูแลการรับส่งแบบทดสอบและกระดาษคำตอบระหว่างศูนย์สอบกับสนามสอบ

  19. จัดเก็บรักษาแบบทดสอบ กระดาษคำตอบและอุปกรณ์ในสถานที่เหมาะสม • กำกับการสอบให้มีประสิทธิภาพ โปร่งใส ยุติธรรม บ และมีมาตรฐานเป็นไปตามขั้นตอนในคู่มือการสอบ V-NET • กำกับให้สนามสอบส่งกระดาษคำตอบ แบบทดสอบ พร้อมเอกสารให้ศูนย์สอบตามวันที่นัดหมาย • ส่งสรุปรายงานผลการจัดสอบระดับศูนย์สอบ ให้ สทศ. ภายใน 30 วัน

  20. การควบคุมค่าใช้จ่าย • ยึดตามบัญชีแนบท้าย 3 ข้อบังคับ สทศ. ว่าด้วยค่าใช้จ่ายในการดำเนินการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติ พ.ศ. 2555

  21. ข้อระวังของศูนย์สอบ • กำกับตรวจสอบการส่งข้อมูลของสถานศึกษาในความดูแลอย่างสม่ำเสมอ และกำกับให้ดำเนินการภายในเวลาที่ สทศ. กำหนด • กำชับให้สถานศึกษาตรวจสอบรายชื่อและสาขาของผู้เข้าสอบให้ถูกต้อง • ตรวจรับและต้องนับจำนวนกล่องแบบทดสอบ กระดาษคำตอบ เอกสารการสอบจาก สทศ. ให้ครบถ้วนและเก็บรักษาให้ปลอดภัย

  22. จัดส่งกล่องแบบทดสอบ กระดาษคำตอบ เอกสารการสอบให้สนามสอบครบถ้วนตามเอกสารการส่งมอบและกำชับให้สนามสอบเก็บรักษาให้ปลอดภัย • ส่งตัวแทนศูนย์สอบไปประจำสนามสอบ เพื่อกำกับการขนส่งแบบทดสอบ กระดาษคำตอบ และเอกสาร ระหว่างศูนย์สอบกับสนามสอบ ตรวจสอบระหว่างการสอบว่าเป็นไปตามแนวปฏิบัติที่ สทศ.กำหนด • ตัวแทนศูนย์สอบต้องกำกับการเปิดกล่องบรรจุแบบทดสอบของสนามสอบ และตรวจนับจำนวนกระดาษคำตอบของกรรมการกลางก่อนปิดผนึกซอง • ตรวจนับจำนวนกล่องบรรจุกระดาษคำตอบและแบบทดสอบ พร้อมเอกสารที่เกี่ยวข้องให้ครบถ้วนก่อนส่งคืน สทศ.

  23. หน้าที่หลักของสนามสอบหน้าที่หลักของสนามสอบ • ประสานงานกับศูนย์สอบ และดำเนินการตามนโยบายและแนวปฏิบัติของศูนย์สอบ • กรอกข้อมูลห้องผ่านระบบ V-NET ภายในวันเวลาที่ สทศ. กำหนด • เสนอชื่อคณะกรรมการระดับสนามสอบให้ศูนย์สอบพิจารณาแต่งตั้ง • เตรียมความพร้อมก่อนการจัดสอบเกี่ยวกับสถานที่สอบและห้องสอบ การ ปชส. การสอบ การประกาศรายชื่อและเลขที่นั่งสอบ

  24. รับ-ส่ง กล่องแบบทดสอบ กล่องกระดาษคำตอบ และเอกสารที่เกี่ยวกับการสอบจากศูนย์สอบ ตามเวลาที่ศูนย์สอบนัดหมาย และเก็บรักษาไว้ให้ปลอดภัย • ดำเนินการสอบให้เป็นไปตามแนวปฏิบัติที่ สทศ.กำหนด มีประสิทธิภาพ โปร่งใส และยุติธรรม • รวบรวมกระดาษคำตอบของผู้เข้าสอบในแต่ละห้องให้ครบถ้วน รวมทั้งส่งคืนแบบทดสอบทุกฉบับกลับคืน สทศ. • ประสานกับศูนย์สอบเกี่ยวกับการเบิกจ่ายค่าตอบแทนระดับสนามสอบและรายงานสรุปการจัดสอบให้ศูนย์สอบหลังเสร็จสิ้นการสอบ

  25. กรรมการระดับสนามสอบ -รายชื่อคณะกรรมการระดับสนามสอบที่เสนอให้ศูนย์สอบแต่งตั้ง ประกอบด้วย 1. หัวหน้าสนามสอบ (ผู้อำนวยการโรงเรียนหรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย) 2. หัวหน้าตึก 3. กรรมการกลางประจำสนามสอบ อัตรา 1 คน : 3 ห้องสอบ 4. กรรมการคุมสอบ อัตรา 2 คน : 1 ห้องสอบ (กรรมการคุมสอบไม่คุมสอบนักเรียนตนเอง) 5. นักการ ภารโรง อัตรา 1 คน : 5 ห้องสอบ 6. เจ้าหน้าที่ตำรวจ (ในกรณีสนามสอบนั้นมีหลายโรงเรียนมาสอบรวมกัน) 7. กรรมการอื่น ๆ (ปชส. , การเงิน) 8. กรรมการประสานงาน

  26. บทบาทของคณะกรรมการระดับสนามสอบบทบาทของคณะกรรมการระดับสนามสอบ • 1. หัวหน้าสนามสอบ มีหน้าที่ 1. นำ นโยบายการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติด้านอาชีวศึกษา (V-NET) ของ สทศ. มาปฏิบัติอย่างเคร่งครัด และรับผิดชอบการดำเนินการสอบภายในสนามสอบให้โปร่งใส ได้มาตรฐานและไม่ทุจริต 2. เสนอรายชื่อคณะกรรมการฯ ไปให้ศูนย์สอบเพื่อเสนอให้แต่งตั้งคณะกรรมการดำ เนินการทดสอบฯ ระดับสนามสอบ 3. ร่วมกับตัวแทนศูนย์สอบจัดประชุมคณะกรรมการระดับสนามสอบก่อนวันสอบ เพื่อทำ ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดสอบ และปฏิบัติตามคู่มือการจัดสอบอย่างเคร่งครัด

  27. 4. เตรียมความพร้อมในการจัดสอบให้เป็นไปตามแนวปฏิบัติของสทศ. ดังนี้ 4.1 กำกับการจัดห้องสอบ และติดสติ๊กเกอร์รายชื่อผู้เข้าสอบบนโต๊ะผู้เข้าสอบ 4.2 กำกับให้ภายในห้องสอบ ไม่มีบอร์ดความรู้หรือข้อมูลทางวิชาการ 4.3 กำกับให้มีการติดรายชื่อผู้เข้าสอบในสนามสอบและที่บอร์ดประชาสัมพันธ์ 4.4 กำกับให้ติดรายชื่อผู้เข้าสอบและแผนผังที่นั่งสอบหน้าห้องสอบ 5. ประสานงานกับศูนย์สอบ เกี่ยวกับตัวแทนศูนย์สอบที่จะมาประจำ สนามสอบ 6. เปิดกล่องแบบทดสอบต่อหน้าตัวแทนศูนย์สอบที่จะมาประจำ สนามสอบซึ่งกล่องบรรจุแบบทดสอบและกล่องบรรจุกระดาษคำ ตอบ ห้ามเปิดก่อนถึงเวลาสอบ 1 ชั่วโมง ตามตารางสอบ

  28. 7. กำกับ ติดตาม ตรวจสอบ การจัดสอบให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อย ตามคู่มือการจัดสอบฯ ให้มีความโปร่งใส และยุติธรรม 8. จ่ายค่าปฏิบัติงานของคณะกรรมการระดับสนามสอบ และรวบรวม หลักฐานค่าใช้จ่ายทั้งหมดส่งมอบให้ศูนย์สอบ 9. ส่งกล่องบรรจุกระดาษคำ ตอบ ผ่านศูนย์สอบเพื่อส่งต่อให้ สทศ. 10. ส่งเอกสารที่เกี่ยวข้องให้ศูนย์สอบ 11. รายงานผลการปฏิบัติงานการดำเนินทดสอบทางการศึกษาระดับชาติด้านอาชีวศึกษา ระดับสนามสอบ และเอกสารหรือหลักฐานอื่น (ถ้ามี) ให้ศูนย์สอบ ตามกำหนดเวลาที่ศูนย์สอบนัดหมาย

  29. 12. รวบรวมแบบทดสอบทุกฉบับ และเก็บรักษาไว้ที่สนามสอบให้ปลอดภัย จนกว่าจะประกาศผลสอบเรียบร้อยแล้ว ให้ศูนย์สอบนำ ไปทำ ลาย 13. หัวหน้าสนามสอบต้องเข้ามารายงานสถิติจำนวนผู้เข้าสอบ โดยผ่าน ทาง niets.or.thรายงานสถิติผู้เข้าสอบหลังจากเสร็จสิ้นการสอบใน เเต่ละวิชา

  30. 2. หัวหน้าตึกมีหน้าที่ดังนี้ 1. ประสานงานกับหัวหน้าสนามสอบ ในการจัดห้องสอบ ติดบัญชีรายชื่อผู้เข้าสอบหน้าห้องสอบและติดสติ๊กเกอร์บนโต๊ะ 2. รับผิดชอบเกี่ยวกับการรับและส่งแบบทดสอบ ระหว่างกองกลางของสนามสอบกับกรรมการคุมสอบ 3. ควบคุมดูแลการสอบภายในตึกหรืออาคารที่รับผิดชอบ ต้องเดินตรวจสอบตลอดระยะเวลาการสอบ 4. รับรองรายงานตัวและอำนวยความสะดวกเกี่ยวกับการสอบ แก่กรรมการคุมสอบและเจ้าหน้าที่

  31. 5. รายงานต่อหัวหน้าสนามสอบทันที ในกรณีที่มีเหตุการณ์ต่อไปนี้ 5.1 กรรมการคุมสอบไม่เพียงพอที่จะคุมสอบได้อย่างมีประสิทธิภาพ 5.2 ผู้เข้าสอบมาผิดสนามสอบ 5.3 พบการทุจริตในห้องสอบหรือบริเวณตึก 5.4 ผู้เข้าสอบไม่ได้รับความสะดวก 5.5 ผู้เข้าสอบเจ็บป่วยระหว่างการสอบ 5.6 กรรมการคุมสอบบกพร่องต่อหน้าที่หรือความประพฤติไม่เหมาะสม 6. ห้ามผู้ที่ไม่เกี่ยวข้องกับการสอบเข้ามาในบริเวณตึกหรืออาคารที่ทำ การสอบ

  32. 3. กรรมการกลางประจำสนามสอบ มีหน้าที่ดังนี้ - แจกซองแบบทดสอบ กระดาษคำตอบ ใบเซ็นชื่อผู้เข้าสอบ (สทศ.2) ให้กรรมการคุมสอบ (เฉพาะวิชาที่สอบตามตาราง ห้ามแจกวิชาที่ยังไม่สอบ) - ประสานงานกับผู้เข้าสอบที่มีปัญหาเช่น มาสาย ขอแก้ไขชื่อ นามสกุล หรืออื่นๆ - เมื่อการสอบเสร็จสิ้น กรรมการคุมสอบนำซองแบบทดสอบและซองกระดาษคำตอบมาส่ง ให้ตรวจสอบดังนี้ 1. ตรวจสอบว่ามีการลงลายมือชื่อของผู้เข้าสอบและกรรมการคุมสอบครบถ้วนหรือไม่ 2. รวบรวมและนับจำนวนกระดาษคำตอบทั้งหมดให้ครบถ้วนทั้งผู้เข้าสอบและขาดสอบ โดยตรวจให้ตรงกับใบเซ็นชื่อ (สทศ.2) เรียงกระดาษคำตอบตามลำดับเลขที่นั่งสอบ แล้วหุ้มด้วยใบเซ็นชื่อผู้เข้าสอบ (สทศ.2) และใช้กระดาษแข็งปิดด้านบนและล่าง ก่อนบรรจุลงในซองกระดาษคำตอบ และลงลายมือชื่อ ปิดผนึกซองกระดาษคำตอบด้วยเทปกาวพิเศษต่อหน้ากรรมการคุมสอบ

  33. 3. นับจำนวนแบบทดสอบว่าครบตามที่ระบุไว้หน้าซองหรือไม่ และปิดผนึกซองเก็บรักษาไว้ที่สนามสอบ 4. นับจำนวนซองกระดาษคำตอบทั้งหมดบรรจุใส่กล่องปรับขนาด สำหรับแบ่งใส่กระดาษคำตอบกลับ แยกเป็นรายวิชา (กรณีมีหลายห้อง) หรือรวมในกล่องเดียวกัน (กรณีมีจำนวนห้องสอบน้อย) - บริการผู้เข้าสอบที่ขอแก้ไขข้อมูล โดยเขียน สทศ. 6 พร้อมแนบหลักฐาน - ช่วยควบคุมห้องสอบกรณีที่กรรมการคุมไม่เพียงพอ - เดินตรวจความเรียบร้อยของห้องและสนามสอบ

  34. 4. กรรมการคุมสอบ มีหน้าที่ดังนี้ 1. อ่านคู่มือการจัดสอบฯ สำหรับสนามสอบและกรรมการคุมสอบ และดูดีวีดี การจัดสอบให้เข้าใจ 2. รับ-ส่งแบบทดสอบ กระดาษคำตอบ และเอกสารเกี่ยวกับการสอบจากหัวหน้าสนามสอบ หรือกรรมการกลางประจำสนามสอบ ตามกำหนดเวลา 3. ดูแลความเรียบร้อยของห้องสอบและบริเวณใกล้เคียงเพื่อให้การสอบเป็นไปอย่างยุติธรรมและโปร่งใส 4. กำกับการสอบให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อย มีประสิทธิภาพเป็นตามคู่มือการจัดสอบฯ ให้มีความยุติธรรมและโปร่งใส 5. รายงานหัวหน้าสนามสอบ /กรรมการกลาง เกี่ยวกับการคุมสอบ 5. นักการภารโรง 1. ดำเนินการจัดห้องสอบ เตรียมป้ายประชาสัมพันธ์การสอบและเตรียมสถานที่สำหรับการจัดสอบ 2. ดำ เนินการตามที่หัวหน้าสนามสอบมอบหมาย

  35. ข้อระวังของสนามสอบ 1. หัวหน้าสนามสอบต้องประชุมกรรมการระดับสนามสอบให้เข้าใจอย่างชัดเจนโดยเฉพาะกรรมการคุมสอบ 2. กรรมการกลางต้องตรวจสอบซองแบบทดสอบ ซองกระดาษคำตอบ ใบ สทศ.2 ให้ตรงตามตารางและห้องสอบ3. แจกแบบทดสอบให้ถูกต้องตามตารางสอบ4. กรรมการกลางต้องตรวจนับจำนวนกระดาษคำตอบให้ครบทั้งของผู้เข้าสอบและขาดสอบ โดยให้ตรงกับ สทศ.2 ด้วย เมื่อเรียบร้อยแล้วให้ปิดผนึกด้วยเทปกาวพิเศษต่อหน้ากรรมการคุมสอบทันที

  36. 6. วิธีการทำงานของกรรมการคุมสอบ 1. รายงานตัวต่อหัวหน้าสนามสอบก่อนเวลาสอบ 30 นาที 2. รับซองแบบทดสอบ + ซองกระดาษคำตอบ + สทศ.2 (2 แผ่น/วิชา) (ลงชื่อรับในบัญชีรับ-ส่งแบบทดสอบ) ( V-NET 1) 3. ตรวจสอบความเรียบร้อยภายในห้องสอบ 4.ก่อนเวลาสอบ 15 นาทีตรวจบัตรหรือหลักฐานแสดงตนของผู้เข้าสอบ ก่อนอนุญาตให้เข้านั่งที่โต๊ะตามเลขที่นั่งสอบของตนเอง(ไม่มีบัตร ไม่มีเลขที่นั่ง ไม่อนุญาตให้เข้าสอบ เว้นได้รับแจ้งจาก หน.สนามสอบ)

  37. 5. อธิบายประกาศ สทศ.เรื่องข้อปฏิบัติสำหรับผู้เข้าสอบ (5 ข้อ)และระเบียบการเข้าห้องสอบ (7 ข้อ) 6.ก่อนเวลาสอบ 10 นาที ให้ผู้เข้าสอบ 2 คน เป็นตัวแทนลงชื่อรับรองความเรียบร้อยของซองแบบทดสอบ ใน สทศ.2 ทั้ง 2 แผ่น 7. แจกกระดาษคำตอบ (สทศ.1) ให้ตรงกับผู้เข้าสอบ เป็นรูปตัว Uย้ำให้นักเรียนตรวจสอบความถูกต้องว่าเป็นของตนเองเท่านั้น และให้ลงลายมือชื่อบน สทศ.1 (ด้วยปากกาหมึกดำ/น้ำเงิน)

  38. หน้าห้อง โต๊ะกรรมการ 1 1 12 13 24 25 2 11 14 23 26 3 10 15 22 27 4 9 16 21 28 5 8 17 20 29 6 7 18 19 30 โต๊ะกรรมการ 2 แจก และ เก็บ เป็นรูปตัว U ตามแผนผังที่นั่งสอบ

  39. แจกแบบทดสอบตามลำดับเลขที่นั่งสอบ เป็นรูปตัว U และให้เขียนชื่อ – สกุล เลขที่นั่งสอบบนปกแบบทดสอบ 9. เมื่อถึงเวลาสอบให้ผู้เข้าสอบตรวจสอบความเรียบร้อยของแบบทดสอบ (จำนวนหน้า จำนวนข้อ) และประกาศให้ลงมือทำข้อสอบ (ให้ระบายคำตอบด้วยดินสอ 2B เท่านั้น) 10.หลังจากเริ่มสอบผ่านไป 30 นาที เก็บแบบทดสอบ และกระดาษคำตอบของนักเรียนที่ขาดสอบกลับคืน และให้ผู้เข้าสอบลงชื่อใน สทศ.2 ทั้ง 2 ใบ

  40. 11. ประกาศให้ผู้เข้าสอบทราบเมื่อเวลาสอบผ่านไป 1 ชั่วโมงและ ก่อนหมดเวลาสอบ 5 นาที 12. เมื่อหมดเวลาสอบ ประกาศให้ผู้เข้าสอบหยุดทำข้อสอบ วางดินสอ หรือ ปากกา และห้ามผู้เข้าสอบลุกจากที่นั่ง 13. ตรวจสอบความเรียบร้อยของการเขียนข้อมูล ที่ปกแบบทดสอบ ที่หัวกระดาษคำตอบ และการระบายเลขที่นั่งบนกระดาษคำตอบและแบบทดสอบให้ถูกต้อง ก่อนอนุญาตให้ผู้เข้าสอบออกจากห้องสอบ

  41. กรรมการคนที่ 1 เก็บแบบทดสอบ กรรมการคนที่ 2 เก็บกระดาษคำตอบ 15. รวบรวมและนับจำนวนกระดาษคำตอบทั้งหมด ทั้งของผู้เข้าสอบและขาดสอบ เรียงลำดับจากเลขที่นั่งสอบน้อยไปมาก แล้วหุ้มด้วย สทศ.2 (แผ่นที่ระบุศูนย์สอบส่งคืน สทศ.) ใช้กระดาษแข็งประกบด้านบน - ล่าง 16. บรรจุกระดาษคำตอบลงซองกระดาษคำตอบ และกรอกข้อมูลหน้าซองกระดาษคำตอบให้เรียบร้อยโดยยังไม่ต้องปิดผนึกซอง

  42. 17. นำซองกระดาษคำตอบซึ่งบรรจุ สทศ.2 (ที่ใช้หุ้มกระดาษคำตอบ) + ซองแบบทดสอบ + สทศ.2 ที่เหลือ 1 แผ่น (แผ่นที่ระบุสนามสอบส่งคืนศูนย์สอบ) ส่งหัวหน้าสนามสอบ / กรรมการกลาง ลงชื่อส่งกระดาษคำตอบในบัญชีรับส่งแบบทดสอบ (V-NET 1)หลังจากหัวหน้าสนามสอบ / กรรมการกลาง ตรวจนับกระดาษคำตอบและเอกสารถูกต้องแล้วจากนั้นกรรมการกลางจะปิดผนึกและปิดทับด้วยเทปกาวพิเศษ

  43. การใช้กระดาษคำตอบสำรองการใช้กระดาษคำตอบสำรอง • กรณีกระดาษคำตอบไม่ตรงกับผู้เข้าสอบหรือชำรุด- แจกกระดาษคำตอบสำรอง พร้อมลงชื่อกำกับบนกระดาษคำตอบก่อนแจกผู้เข้าสอบ (ให้ผู้เข้าสอบกรอกข้อมูลด้วยปากกา และระบายวงกลมด้วย 2B ให้สมบูรณ์) • กรณีนักเรียนเข้าสอบกรณีพิเศษ (ผู้ที่ไม่มีชื่อใน สทศ.2 และมีเลขที่นั่งสอบที่ออกโดย สทศ.) - ให้กรรมการคุมสอบระบายในกระดาษคำตอบสำรอง ตรงช่อง “ผู้เข้าสอบกรณีพิเศษ” พร้อมลงชื่อกำกับก่อนแจกให้ผู้เข้าสอบ

  44. กรณีมีผู้ขาดสอบ ให้ใช้ดินสอดำ 2B ระบาย “ข” บนหัวกระดาษคำตอบตรงช่อง “กรณีขาดสอบ” และให้เขียนคำว่า -ขาดสอบ- ด้วยปากกาหมึกแดงลงในช่องเซ็นชื่อผู้เข้าสอบใน สทศ.2 ทั้ง 2 แผ่น • กรณีกระดาษคำตอบไม่ตรงกับผู้เข้าสอบหรือชำรุด ให้ใช้ดินสอ 2B ระบาย “ย” บนหัวกระดาษคำตอบตรงช่อง “กรณียกเลิกกระดาษคำตอบ” และลงลายมือชื่อ แล้วเก็บส่ง สทศ. โดยบรรจุใส่ซองกระดาษคำตอบเรียงต่อจากกระดาษสำรองที่ผู้เข้าสอบคนนั้นใช้

  45. ห้ามกรรมการคุมสอบ แก้ไขแบบทดสอบหรืออธิบายเพิ่มเติมจากแบบทดสอบ (เว้นแต่ได้รับแจ้งจากหัวหน้าสนามสอบ) • ห้ามกรรมการคุมสอบ ทำกิจกรรมอื่นที่อาจทำให้เกิดความเสียหายต่อการสอบ (คุยโทรศัพท์ คุยเสียงดัง ทำงานส่วนตัว อ่านหนังสือ ฯลฯ) • กำกับการสอบในห้องตลอดเวลา เว้นมีเหตุจำเป็น ต้องมีกรรมการอย่างน้อย 1 คนอยู่ในห้องสอบ

  46. กรณีที่มีการยกเลิกกระดาษคำตอบ และใช้กระดาษคำตอบสำรอง ให้นำกระดาษคำตอบสำรองขึ้นก่อนแล้วต่อด้วยกระดาษคำตอบที่ยกเลิกของผู้เข้าสอบคนนั้น • กรณีมีผู้เข้าสอบกรณีพิเศษ ให้เรียงกระดาษคำตอบของผู้เข้าสอบจากหมายเลขที่นั่งน้อยไปหามาก แล้วหุ้มด้วยใบเซ็นชื่อผู้เข้าสอบกรณีพิเศษ ( สทศ.3) แล้วบรรจุลงในซองกระดาษคำตอบในห้องสอบสุดท้ายของสนามสอบ

  47. 7. การรับ-ส่งแบบทดสอบ กระดาษคำตอบและเอกสารการสอบ • สทศ. จะบรรจุซองแบบทดสอบ และ ซองกระดาษคำตอบ ลงในกล่องแยกกันตามจำนวนห้องสอบของแต่ละสนามสอบ • หัวหน้าสนามสอบรับ กล่องแบบทดสอบ กล่องกระดาษคำตอบ และกล่องใส่ซองกระดาษคำตอบกลับ จากศูนย์สอบ และเก็บรักษาให้ปลอดภัย (หรือตัวแทนศูนย์สอบนำไปตอนเช้าวันสอบ) • หัวหน้าสนามสอบส่ง กล่องบรรจุซองกระดาษคำตอบ กล่องแบบทดสอบ และเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการจัดสอบ ไปยังศูนย์สอบตามกำหนดนัดหมาย

  48. การรับส่งแบบทดสอบ กระดาษคำตอบ และเอกสารการสอบ - วันสอบ หัวหน้าสนามสอบรับกล่องแบบทดสอบ กล่องกระดาษคำตอบ และกล่องปรับขนาดสำหรับใส่ซองกระดาษคำตอบกลับ จากตัวแทนศูนย์สอบ และนำไปจัดเก็บในสถานที่ปลอดภัยก่อน ดำเนินการสอบตามกำหนดนัดหมายของศูนย์สอบ เพื่อใช้เตรียมการในการประชุมระดับ สนามสอบ แล้วนำ กล่องบรรจุซองกระดาษคำตอบกลับทั้งหมด และซองเอกสาร ส่งศูนย์สอบตามกำหนดนัดหมายของศูนย์สอบกล่องแบบทดสอบ ให้สนามสอบเป็นผู้เก็บรักษาไว้ หลังจากประกาศผลสอบแล้ว จึงนำไปเผยแพร่หรือทำลายได้ - หลังจากสอบเสร็จสิ้น ให้หัวหน้าสนามสอบ 1. นำซองกระดาษคำตอบทั้งหมดของทุกห้องสอบ ทุกวิชา บรรจุลงในกล่องปรับขนาดสำหรับใส่ซองกระดาษคำตอบกลับ (1 กล่อง สามารถบรรจุซองกระดาษคำตอบได้ประมาณ 15 ซอง) แล้วปิดกล่องให้เรียบร้อย

  49. 2. นำเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการจัดสอบบรรจุใส่ซองเอกสาร ได้แก่ 1. สทศ.2 แผ่นที่ระบุสนามสอบส่งคืนศูนย์สอบ ศูนย์สอบเก็บไว้ สทศ.3 (ถ้ามี) และแบบขอแก้ไขข้อมูล สทศ.6 (ถ้ามี) 2. บัญชีรับ - ส่งแบบทดสอบและกระดาษคำตอบระหว่างหัวหน้าสนามสอบกับกรรมการคุม สอบ (V-NET 1) 3. บัญชีส่งกล่องกล่องกระดาษคำตอบและกล่องแบบทดสอบและเอกสารฯ จากหัวหน้าสนาม สอบถึงศูนย์สอบ (V-NET 2) 4. เอกสารกำกับการเปิดกล่องบรรจุแบบทดสอบ (V-NET 10) 5. รายงานสรุปผลการดำเนินการจัดสอบฯ ระดับสนามสอบ 6. ใบสำคัญรับเงินค่าเบี้ยเลี้ยงผู้ปฏิบัติงานประจำสนามสอบฯ แล้วนำ กล่องบรรจุซองกระดาษคำตอบกลับทั้งหมด และซองเอกสาร ส่งศูนย์สอบตามกำหนดนัดหมายของศูนย์สอบ

More Related