1 / 32

ระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน สำเร็จได้ด้วยมือครู

ระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน สำเร็จได้ด้วยมือครู. โดย นางประพิณพร เย็นประเสริฐ ที่ปรึกษาผู้จัดการด้านการศึกษา ณ ห้องประชุม 100 ปีชูชาติ 6 สิงหาคม 2557. กระบวนการดำเนินงานตามระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน. 1. 2. 3.

zelig
Télécharger la présentation

ระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน สำเร็จได้ด้วยมือครู

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. ระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนสำเร็จได้ด้วยมือครูระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนสำเร็จได้ด้วยมือครู โดย นางประพิณพร เย็นประเสริฐ ที่ปรึกษาผู้จัดการด้านการศึกษาณ ห้องประชุม 100 ปีชูชาติ6 สิงหาคม 2557

  2. กระบวนการดำเนินงานตามระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนกระบวนการดำเนินงานตามระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน 1 2 3 การคัดนักเรียน-กลุ่มมีความสามารถพิเศษ- กลุ่มปกติ- กลุ่มเสี่ยง- กลุ่มมีปัญหา การส่งเสริมนักเรียน(นักเรียนทุกกลุ่ม) การรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล- ด้านการเรียน/ความสามารถ - ด้านสุขภาพ - ด้านเศรษฐกิจ- ด้านการคุ้มครอง 5 4 การส่งต่อ - ส่งต่อภายใน - ส่งต่อภายนอก การป้องกันและช่วยเหลือนักเรียน - กลุ่มเสี่ยง - กลุ่มมีปัญหา

  3. ครูประจำชั้นคุณภาพ : หัวใจสำคัญที่จะทำให้นักเรียนมีคุณภาพดูแลสุขภาพกายจิตของนักเรียนให้มาโรงเรียนอย่างมีความสุข เน้นเรื่อง การดูแลสุขภาพ ส่งเสริมให้นักเรียนดูแลทำความสะอาด ร่างกาย การบริโภคอาหาร/การออกกำลังกาย/การอยู่ร่วมกันใน ห้องเรียน ปัญหาเรื่องเบี่ยงเบนทางเพศ/พฤติกรรมซึมเศร้า/ ก้าวร้าว/สมาธิสั้นไม่นิ่ง การพัฒนาห้องเรียนคุณภาพด้วยระบบช่วยเหลือ นักเรียน สู่แนวปฏิบัติ ห้องเรียนบรรยากาศดี : ครูเก่งการถามส่งเสริมการคิดโฮมรูมต้องเยี่ยม ครูต้องเก่งเรื่องการใช้คำถามสู่การพัฒนาการคิด อารมณ์ บุคลิกภาพ การสื่อสารสร้างยอดนักอ่าน เสริมแรงนักเรียนที่มีความคิดสร้างสรรค์ กล้าแสดงออกอย่างเหมาะสม ข้อตกลงเข้มแข็ง/กติกา ห้องเรียนสีขาว/สีเขียวสะอาด ปลอดภัย เรียนรู้สู่การผลิตผลงานที่สร้างสรรค์

  4. การส่งเสริมนักเรียน (นักเรียนทุกกลุ่ม) กิจกรรมยามเช้า &โฮมรูม- สร้างคนดีด้วยเพลง- สวดมนต์- ทำสมาธิ/สติ 3 นาทีเป็นช่วงที่ครูสอดแทรกข้อคิดดี ๆ “ด้วยคำถาม”เป็นช่วงที่ครูได้สร้าง ปลูกฝังสิ่งดี ๆ “ด้วยระเบียยวินัย กฎกติกา” เป็นช่วงที่ครูได้ตรวจเรื่องสุขภาพ “เอาใจใส่อย่างใกล้ชิด ผม เล็บ” ได้พัฒนาด้านบุคลิกภาพ การสื่อสารการอยู่ร่วมกันอย่างเป็นสุขในชั้นเรียนปลูกฝังให้มีสติ รู้ตัว รู้คิด รู้ทำ รู้ปฏิบัติมีอุดมการณ์ในสิ่งที่ดีงาม เพื่อส่วนรวมตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง • กิจกรรมประชุมผู้ปกครองชั้นเรียน (Classroom Meeeting)- ผู้ปกครองตระหนักถึงบทบาทหน้าที่ ในการดูแลเอาใส่บุตรหลาน • - รู้เข้าใจในเทคนิควิธีการเลี้ยงดู บุตรหลานในยุคปัจจุบัน- มองเห็นส่วนดีของบุตรหลาน ยินดี ร่วมมือปรับปรุงแก้ไขส่วนที่บกพร่อง • - มีทักษะในการสื่อสารกับบุตรหลาน เกิดสัมพันธภาพอันอบอุ่นในครอบครัว- ยินดีร่วมมือกับโรงเรียนวางแผน อนาคตของบุตรหลาน • ร่วมมือ ร่วมใจกันสร้างเครือข่าย ผู้ปกครองที่เข้มแข็งเพื่อการดูแล • ช่วยเหลือนักเรียนร่วมกันระหว่าง ผู้ปกครองด้วยกัน และบ้านกับโรงเรียน • กิจกรรมเยี่ยมบ้าน- ครูได้เห็นสภาพแท้จริงของสิ่งแวดล้อม- สภาพความเป็นอยู่ทางครอบครัว นักเรียน- ครูได้รู้ถึงเจตคติของผู้ปกครองที่มีต่อครู โรงเรียน และนักเรียน- สร้างความเข้าใจ ความสัมพันธ์อันดี ระหว่างบ้านกับโรงเรียน- เกิดความร่วมมือที่ดีในการช่วยเหลือ แก้ปัญหา และพัฒนานักเรียน • หัวหน้าระดับ ครูประจำชั้น • ใช้เป็นเครื่องมือในการพิจารณา ทุนประพฤติดีแต่ขาดแคลนเราจะร่วมมือกัน แก้ไข ส่งเสริม และพัฒนา • เป้าหมาย :นักเรียนกลุ่มเสี่ยง /กลุ่มที่มีปัญหา

  5. วัตถุประสงค์การจัดประชุมผู้ปกครองชั้นเรียนวัตถุประสงค์การจัดประชุมผู้ปกครองชั้นเรียน 1. เพื่อให้ผู้ปกครองตระหนักถึงบทบาทหน้าที่ในการดูแลเอาใจใส่บุตรหลานและเป็นที่พึ่งที่ดีของบุตรหลาน 2. เพื่อให้ผู้ปกครองมีความรู้ ความเข้าใจในเทคนิควิธีการเลี้ยงดูบุตรหลาน ในสังคมยุคปัจจุบัน 3. เพื่อให้ผู้ปกครองมีเจตคติที่ดีต่อบุตรหลาน มองเห็นถึงส่วนที่ดีของบุตรหลาน สำหรับส่วนที่บกพร่องก็ยินดีร่วมมือปรับปรุงแก้ไข 4. เพื่อทราบผลการสอบกลางภาคของบุตรหลาน

  6. วัตถุประสงค์การจัดประชุมผู้ปกครองชั้นเรียน (ต่อ) 5. เพื่อให้ผู้ปกครองมีทักษะในการสื่อสารกับบุตรหลาน รู้จักรับฟังบุตรหลาน เพื่อก่อให้เกิดสัมพันธภาพอันอบอุ่นของครอบครัว 6. เพื่อให้ผู้ปกครองยินดีร่วมมือกับโรงเรียนในการวางแนวทางในอนาคตของบุตรหลาน รวมทั้งร่วมมือร่วมใจกันสร้างเครือข่ายผู้ปกครองที่เข้มแข็งเพื่อการดูแล 7. เพื่อให้ความช่วยเหลือนักเรียนร่วมกันระหว่างผู้ปกครองด้วยกัน และระหว่างบ้านกับโรงเรียน

  7. ขั้นตอนและวิธีการจัดประชุมขั้นตอนและวิธีการจัดประชุม 1. สร้างความคุ้นเคยระหว่างครูประจำชั้นกับผู้ปกครอง และระหว่างผู้ปกครองด้วยกันเอง 2. บอกวัตถุประสงค์ของการจัดประชุมผู้ปกครองชั้นเรียน 3. พูดถึงภาพรวมของนักเรียนในด้านดี ความประทับใจ ทั้งด้านการเรียน ความประพฤติ ความมีน้ำใจ และอื่น ๆ 4. ดำเนินกิจกรรมที่โรงเรียนหรือที่ครูประจำชั้นกำหนด เพื่อส่งเสริมป้องกันและแก้ไขปัญหานักเรียน โดยใช้หลักการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม เปิดโอกาสให้ผู้ปกครองได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกันและกัน 5. หากผู้ปกครองมีความพร้อมในการนำกิจกรรม ให้ผู้ปกครองเป็นผู้ดำเนินการโดยครูเป็นผู้อำนวยการ ความสะดวก เพื่อให้การประชุมเป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่ได้กำหนดไว้ 6. ประเมินการจัดกิจกรรม สรุปและบันทึกหลักฐานการประชุม

  8. ข้อเสนอแนะทั่วไป/การสื่อสารข้อเสนอแนะทั่วไป/การสื่อสาร 1. จัดแสดงผลงานนักเรียนแต่ละห้องให้ผู้ปกครองได้ชม 2. จัดป้ายนิเทศแสดงผลการดำเนินกิจกรรมช่วยเหลือนักเรียนบริเวณหน้าอาคาร 4 3. ครูประจำชั้นควรใช้ภาษาและท่าทางเชิงบวก สร้างสรรค์ด้วยบรรยากาศที่เป็นกัลยาณมิตร ท่าทีที่เป็นมิตร จริงใจกับผู้ปกครองระมัดระวังคำพูด ทำให้ผู้ปกครองรู้สึกอับอาย บกพร่อง ถูกประจาน 4. สื่อสารให้ผู้ปกครองเข้าใจบทบาทหน้าที่ของครูประจำชั้นในการดูแล เอาใจใส่นักเรียน ด้วยความรักความห่วงใย 5. จัดบอร์ดอย่างสร้างสรรค์ ด้วยบรรยากาศของห้องเรียนคุณภาพ สะอาด น่าอยู่ น่าเรียน ปลอดภัย หลากหลายด้วยผลงานของนักเรียน บทความ คำขวัญดีๆ ข้อตกลง/กติกาชั้นเรียน

  9. เทคนิคการสร้างสัมพันธภาพกับผู้ปกครองเทคนิคการสร้างสัมพันธภาพกับผู้ปกครอง ผู้ปกครองมาด้วยอารมณ์โกรธ... ให้ผู้ปกครองระบายอารมณ์โดยไม่คัดค้าน หรือ โต้เถียงใช้วิธีรับฟังด้วยความสงบสักครู่ สรุปถึงความไม่สบายใจของผู้ปกครอง โดยสังเขป และสะท้อนความรู้สึก ครูเข้าใจความรู้สึกของผู้ปกครองจะทำให้ผู้ปกครองสงบลงได้ ค้นหาศักยภาพของผู้ปกครอง เพื่อให้กำลังใจ ให้ผู้ปกครองรู้สึกเป็นมิตรมากขึ้น

  10. ในกรณีที่ผู้ปกครองไม่ทราบว่าลูกมีปัญหาในกรณีที่ผู้ปกครองไม่ทราบว่าลูกมีปัญหา 1. ทักทาย/ด้วยบุคลิกภาพที่นุ่มนวล /จริงใจ/อ่อนโยน 2. บอกให้ทราบถึงพฤติกรรมของลูก โดยไม่ตำหนิหรือวิจารณ์ 3. ถามถึงพฤติกรรมของลูกที่บ้าน โดยไม่พยายามกล่าวโทษ ว่าเป็นความผิดที่ผู้ปกครองไม่ดูแลลูก ....... อาจใช้วิธีสรุปถึงปัญหาอย่างเป็นกลาง ๆ

  11. ในกรณีที่ผู้ปกครองปกป้องลูกในกรณีที่ผู้ปกครองปกป้องลูก 1. ทักทาย/ด้วยบุคลิกภาพที่นุ่มนวล /จริงใจ/อ่อนโยน 2. บอกให้ทราบถึงพฤติกรรมของลูก โดยไม่ตำหนิหรือวิจารณ์ 3. เน้นให้ผู้ปกครองทราบว่าตัวเขาเองไม่ใช้สาเหตุเดียว ที่ทำให้ ลูกมีปัญหา แต่พยายามหว่านล้อมให้เห็นว่าธรรมชาติของ เด็กเอง คงเป็นสาเหตุของปัญหา ซึ่งจะทำให้ผู้ปกครอง ยอมรับฟัง และให้ความร่วมมือมากขึ้น

  12. ขั้นตอนการดำเนินกิจกรรมประชุมผู้ปกครองชั้นเรียนขั้นตอนการดำเนินกิจกรรมประชุมผู้ปกครองชั้นเรียน 1. ครูประจำชั้นแนะนำตนเอง/แจ้งวัตถุประสงค์ 2. ครูประจำชั้นชี้แจงผู้ปกครองในภาพรวม ถึงจุดเด่นของของนักเรียน ส่วนที่ครูเห็นคุณค่าและภาคภูมิใจ ให้ผู้ปกครองเห็นส่วนที่ดีของ นักเรียน/และส่วนที่จะพัฒนาในภาพรวม 3. แจกเอกสารของโรงเรียนให้กับผู้ปกครอง (ให้ความรู้ผู้ปกครอง) 4. ชี้แจงให้ผู้ปกครองเข้าใจเรื่อง ผลการเรียนที่แจกในครั้งนี้ เป็นผลการเรียนส่วนหนึ่งเท่านั้น ไม่ใช่ผลการตัดสินว่านักเรียน ได้-ตก (สอบบางตัวชี้วัดเท่านั้น) ถ้าไม่ผ่านไม่ต้องกังวลใจ เพราะทางโรงเรียนต้อง จัดสอนซ่อมเสริม เพื่อพัฒนานักเรียน ให้ผ่านเกณฑ์ตามที่โรงเรียนกำหนด

  13. ขั้นตอนการดำเนินกิจกรรมประชุมผู้ปกครองชั้นเรียนขั้นตอนการดำเนินกิจกรรมประชุมผู้ปกครองชั้นเรียน 5. ให้เวลาผู้ปกครองทำแบบประเมินความพึงพอใจ/และ ตอบแบบสำรวจพฤติกรรมในการดูแลลูกหลาน 6. ผู้ปกครองส่งแบบประเมิน ให้ครูประจำชั้น 7. ครูประจำชั้นแจกผลการเรียนให้ผู้ปกครอง 8. สิ้นสุดกระบวนการ/ผู้ปกครองกลับบ้านได้

  14. ตัวอย่าง : คำกล่าวต้อนรับผู้ปกครอง แนะนำตัวเอง /สวัสดีค่ะ .......ขอต้อนรับผู้ปกครองนักเรียนชั้น ........ ทุกท่าน ด้วยความยินดีเป็นอย่างยิ่งค่ะที่ครูและผู้ปกครองได้มีโอกาสมาร่วมกันพัฒนาความสามารถของลูกหลานของเราให้พร้อมที่จะปรับตัวทั้งด้านพฤติกรรมการดำเนินกิจวัตรประจำวันและด้านสาระวิชาการ รวมถึงวิชาทักษะชีวิต การสร้างสิ่งเหล่านี้ให้ประสบความสำเร็จได้ สิ่งสำคัญที่สุด คือ แบบอย่างที่ดีและสัมพันธภาพที่ดี ที่ครูและผู้ปกครองจะมาเรียนรู้ร่วมกัน ภาระหน้าที่นี้ถือเป็นภาระอันยิ่งใหญ่ ที่ไม่ควรตกอยู่ในการดูแลของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งแต่เป็นงานที่ผู้ปกครองและครูจะต้องร่วมมือกัน หล่อหลอมให้ลูกของเราได้พัฒนาได้รอบด้านทั้งกาย จิตใจ และสติปัญญา การพัฒนาสิ่งเหล่านี้จะเกิดขึ้นได้ต่อเมื่อทั้งผู้ปกครองและครูมีเป้าหมายและทัศนคติที่ดีต่อกัน ร่วมกันดูแลช่วยเหลือลูกหลานของเรา โรงเรียนจึงได้จัดกิจกรรมประชุมผู้ปกครองชั้นเรียนขึ้น

  15. ตัวอย่างป้ายนิเทศแสดงผลงานนักเรียนตัวอย่างป้ายนิเทศแสดงผลงานนักเรียน

  16. เยี่ยมบ้านนักเรียน

  17. การเยี่ยมบ้าน • เป็นส่วนหนึ่งของการดำเนินงานตามระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน • โรงเรียนสนองนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ ซึ่งเริ่มดำเนินการ ตั้งแต่ปีการศึกษา 2552 • โรงเรียนชลประทานวิทยาจึงได้กำหนดช่วงเดือน สิงหาคม ของทุกปี ดำเนินกิจกรรมเยี่ยมบ้าน โดย ฝ่ายปกครอง หัวหน้าแผนก หัวหน้าระดับชั้น ครูประจำชั้น ร่วมกันวางแผนกำหนดปฏิทินการเยี่ยมบ้านนักเรียน ถือ .... เป็นหน้าที่สำคัญของครูประจำชั้น ที่ต้องทำด้วยความรัก ความเมตตา ความหวังดีต่อศิษย์

  18. ความสำคัญของการเยี่ยมบ้านความสำคัญของการเยี่ยมบ้าน เป็นวิธีการศึกษารวบรวมข้อมูลที่ช่วยให้ครูได้ทราบสภาพแวดล้อมทางบ้านของนักเรียนและ ได้พบปะสนทนากับผู้ปกครองนักเรียนทำให้ ทราบเจตคติซึ่งกันและกัน เป็นการสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างบ้านกับโรงเรียน ทำให้ครูได้ข้อมูลที่ชัดเจนยิ่งขึ้น และใช้ข้อมูลให้เป็นประโยชน์ในการช่วยเหลือ แก้ไข ส่งเสริมนักเรียนได้ถูกต้องยิ่งขึ้น

  19. วัตถุประสงค์ของการเยี่ยมบ้านวัตถุประสงค์ของการเยี่ยมบ้าน • เพื่อค้นหาข้อมูลเพิ่มเติม ด้านสภาพความเป็นอยู่ ครอบครัว ฐานะทางการเงิน ความสัมพันธ์ของครอบครัวและอื่น ๆ ช่วยให้เห็นสภาพที่แท้จริง ไม่ใช่เพียงได้ยินแต่คำบอกเล่าเท่านั้น • เพื่อให้การช่วยเหลือนักเรียน ในกรณีที่นักเรียนมีปัญหากับพ่อแม่ผู้ปกครอง และผู้ปกครองไม่ยอมมาพบครูประจำชั้นที่โรงเรียนครูอาจมีความจำเป็นต้องไปเยี่ยมบ้าน • เพื่อพูดคุยทำความเข้าใจปัญหาของนักเรียน โน้มน้าวให้ครอบครัวให้ความร่วมมือในการช่วยเหลือนักเรียน • เพื่อติดตามผลการให้ความช่วยเหลือ หรือ การแก้ไขปัญหาของครอบครัว

  20. แนวปฏิบัติในการเยี่ยมบ้านแนวปฏิบัติในการเยี่ยมบ้าน 1. ศึกษาข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับที่อยู่อาศัย ระยะทาง สมาชิกในครอบครัวว่านักเรียนอยู่กับใคร อยู่อย่างไร หากไปบ้านแล้วจะได้พบใครบ้าง 2. กำหนดวัตถุประสงค์ว่าจะไปพบเรื่องอะไร 3. นัดหมายล่วงหน้า เพื่อให้พร้อมทั้งสองฝ่าย 4. ไปตามนัด ถ้าไม่ไปต้องแจ้งล่วงหน้า เพราะผู้ปกครองนักเรียนบางคนอาจหยุดงานเพื่อรอพบครู ถ้าเป็นไปได้ไม่ควรเลื่อน 5. ถ้าไปตามนัดแล้วไม่พบใคร ให้ถามเพื่อนบ้านใกล้เคียง เพื่อทราบข้อมูลที่ไปเยี่ยมบ้านในครั้งต่อไป เช่น อาจเป็นช่วงเวลาเย็นหรือ เช้า

  21. การปฏิบัติ 1. กล่าวทักทายเจ้าของบ้านด้วยความเป็นมิตร และสุภาพแล้วจึงเริ่มสนทนาปรึกษาหารือเรื่องต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับนักเรียนตามวัตถุประสงค์ 2. ใส่ใจทุกเรื่องที่พูด พร้อมทั้งสังเกตปฏิกิริยาของผู้ปกครองนักเรียนเรื่องบางเรื่องที่ผู้ปกครองรับความจริงไม่ได้อย่าใจร้อนรีบพูด สังเกตสิ่งแวดล้อม ความสัมพันธ์ของครอบครัว และดูการปฏิบัติต่อกันของคนในครอบครัว 3. ทักษะการสื่อสาร ใช้คำถามเปิดให้มาก ฟังอย่างตั้งใจและจับประเด็นให้ได้หากต้องการให้ผู้ปกครองช่วยเหลือนักเรียน ใช้กระบวนการให้การปรึกษามาช่วยได้

  22. ครู ........... รู้แจ้งชัดในสิ่งที่เด็กถนัด และสนใจ สร้างวิถีแห่งการรู้แจ้ง สร้างแรงกระตุ้นใหม่ ๆ ให้เด็กใฝ่รู้ใฝ่ศึกษา แสดงความมหัศจรรย์ของวิชาที่ตนเองสอน รู้จักและรู้ใจเด็ก ใช้กระบวนการคัดกรองในระบบดูแลช่วยเหลือเด็กเป็นรายบุคคล เพื่อเพิ่มเสริมพหุปัญญาของเด็กที่แตกต่างกัน ที่มา : World Class Standard School สำนักบริหารงานมัธยมศึกษาตอนปลาย สำนักงานคณะกรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ หน้า 19

  23. ครู .......คนแรกของลูก พ่อ แม่ ยังเป็นครูคนแรกของลูกเสมอ พ่อแม่ ผู้ปกครอง คือผู้เสริมแรงสนับสนุนความใฝ่รู้ของเด็ก เป็นผู้แก้ไขข้อบกพร่องในระดับบุคคลจากข้อจำกัดของระบบโรงเรียน ไม่ปล่อยให้ภารกิจการสอนเด็กเป็นหน้าที่ของครูโดยลำพัง ที่มา : World Class Standard School สำนักบริหารงานมัธยมศึกษาตอนปลาย สำนักงานคณะกรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ หน้า 19

  24. มาตรฐานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนมาตรฐานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน

  25. ด้านคุณภาพนักเรียน • มาตรฐานที่ 1 นักเรียนสามารถพัฒนาตนเองได้ตามศักยภาพและสามารถดำเนินชีวิตอยู่ ในสังคมได้อย่างมีความสุข ตัวชี้วัดที่ 1 รู้จักตนเองและพึ่งตนเองได้ ตัวชี้วัดที่ 2 มีสุขภาพกาย สุขภาพจิต และสุขนิสัยที่ดี ตัวชี้วัดที่ 3 มีทักษะในการหลีกเลี่ยง ป้องกันภัย อันตรายและพฤติกรรมไม่พึงประสงค์ ตัวชี้วัดที่ 4 รักและเห็นคุณค่าในตนเองและผู้อื่น และสามารถจัด การกับปัญหาและอารมณ์ของตนเองได้ ตัวชี้วัดที่ 5 เป็นสมาชิกที่ดีของครอบครัว โรงเรียน ชุมชน และสังคม ตัวชี้วัดที่ 6 มีเจตคติที่ดีและมีทักษะพื้นฐานในการประกอบอาชีพสุจริต

  26. ด้านกระบวนการ • มาตรฐานที่ 2 สถานศึกษามีการจัดระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน ตัวชี้วัดที่ 1 มีการวางระบบการบริหารงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน ตัวชี้วัดที่ 2 มีการดำเนินงานตามระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน ตัวชี้วัดที่ 3 มีการนิเทศ กำกับ ติดตาม ประเมินผล รายงานผล และพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน ตัวชี้วัดที่ 4 มีฐานข้อมูลระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน ครบถ้วนสมบูรณ์เป็นปัจจุบัน และส่งสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ตามกำหนด ตัวชี้วัดที่ 5 มีการจัดการความรู้ในการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน

  27. ด้านปัจจัย • มาตรฐานที่ 3 สถานศึกษามีบุคลากร สื่อ และเครื่องมือที่เอื้อต่อการ ดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน ผู้บริหารเป็นผู้นำในการดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน ตัวชี้วัดที่ 1 ครูมีเจตคติที่ดีและมีความสามารถในการดำเนินงานตามระบบการดูแลช่วยเหลือ นักเรียนและมีการจัดกิจกรรมเสริมสร้างทักษะชีวิตแก่นักเรียน ตัวชี้วัดที่ 2 ตัวชี้วัดที่ 3 ผู้ปกครอง ชุมชน มีส่วนร่วมในการดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน ตัวชี้วัดที่ 4 นักเรียนมีส่วนร่วมในการดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน ตัวชี้วัดที่ 5 สถานศึกษามีสื่อ เครื่องมือที่ใช้ในการดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน และมีการจัดกิจกรรมเพื่อการป้องกันการแพร่ระบาดของยาเสพติดเข้าสู่สถานศึกษา ตัวชี้วัดที่ 6 มีนักเรียน YC หรือนักเรียนแนะแนว หรือยุวชนแนะแนว และมีการดำเนินกิจกรรมตามแผนงาน / โครงการในการดำเนินกิจกรรม อย่างเป็นระบบต่อเนื่อง เป็นตัวอย่างให้สถานศึกษาอื่นได้ และมีการเผยแพร่ผลงาน

More Related