1 / 34

ศักยภาพและความพร้อมของผลิตภัณฑ์ทางการท่องเที่ยว เชิงศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรมจังหวัดเชียงราย

ศักยภาพและความพร้อมของผลิตภัณฑ์ทางการท่องเที่ยว เชิงศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรมจังหวัดเชียงราย Tourism Products in Chiangrai Province: Potential Market for Religious Artistic and Cultural Tourism. ศักยภาพและความพร้อมของผลิตภัณฑ์ทางการท่องเที่ยว เชิงศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรมจังหวัดเชียงราย. บทนำ

zena-boyd
Télécharger la présentation

ศักยภาพและความพร้อมของผลิตภัณฑ์ทางการท่องเที่ยว เชิงศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรมจังหวัดเชียงราย

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. ศักยภาพและความพร้อมของผลิตภัณฑ์ทางการท่องเที่ยวเชิงศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรมจังหวัดเชียงรายTourism Products in Chiangrai Province: Potential Market for Religious Artistic and Cultural Tourism

  2. ศักยภาพและความพร้อมของผลิตภัณฑ์ทางการท่องเที่ยวเชิงศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรมจังหวัดเชียงราย บทนำ • สถานการณ์การท่องเที่ยวของจังหวัดเชียงราย ในปี พ.ศ. 2547 มีนักท่องเที่ยวตลอดทั้งปี 1,072,872คน • เป็นนักท่องเที่ยวชาวไทย 792,961คน นักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศ 279,911คน • รายได้ที่เกิดจากการท่องเที่ยวรวมทั้งสิ้น 9,364.04ล้านบาท รายได้จากนักท่องเที่ยวชาวไทย 6,700.01 ล้านบาท จากนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศ 2,664.03ล้านบาท • ในการเดินทางท่องเที่ยวแต่ละครั้งนักท่องเที่ยวมีระยะเวลาพำนักเฉลี่ยในจังหวัดเชียงราย ประมาณ 3.15วัน การใช้จ่ายแต่ละวันประมาณ 2,784.78บาท • จำนวนห้องพักสำหรับนักท่องเที่ยว 5,491ห้อง ซึ่งมีอัตราการเข้าพักเฉลี่ยทั้งปีร้อยละ 32.49 • การขยายตัวของนักท่องเที่ยวคนไทยในอัตราร้อยละ 25.17

  3. ศักยภาพและความพร้อมของผลิตภัณฑ์ทางการท่องเที่ยวเชิงศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรมจังหวัดเชียงราย (บทนำ) • การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยได้จัดทำแผนการตลาดระดับประเทศ ให้จังหวัดเชียงรายเป็นกลุ่มพื้นที่แหล่งท่องเที่ยวด้านประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม ร่วมกลุ่มกับกรุงเทพ ฯ กาญจนบุรี อยุธยา เชียงใหม่

  4. วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาศักยภาพและความพร้อม ของผลิตภัณฑ์การท่องเที่ยวเชิงศาสนา ศิลปะ และวัฒนธรรมจังหวัด เชียงราย

  5. ศักยภาพและความพร้อมของผลิตภัณฑ์ทางการท่องเที่ยวเชิงศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรมจังหวัดเชียงราย • กรอบแนวคิดในการศึกษา บทบาทสำคัญของวัดต่อการท่องเที่ยวเชิงศาสนา ศิลปะ และวัฒนธรรม จังหวัดเชียงราย ผลิตภัณฑ์ทางการท่องเที่ยวเชิงศาสนา ศิลปะ และวัฒนธรรม จังหวัดเชียงราย ความสนใจของนักท่องเที่ยวต่อแหล่งเชิงศาสนา ศิลปะ และวัฒนธรรม จังหวัดเชียงราย การวิเคราะห์จุดแข็ง-จุดอ่อนด้านการท่องเที่ยวเชิงศาสนาศิลปะ และวัฒนธรรม จังหวัดเชียงราย ศักยภาพและความพร้อมของภาคีเครือข่ายชุมชนในแหล่งท่องเที่ยวเชิงศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม จังหวัดเชียงราย แนวทางการจัดการของภาคีเครือข่ายในแหล่งท่องเที่ยวเชิงศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม จังหวัดเชียงราย

  6. วิธีดำเนินการวิจัย การรวบรวมข้อมูลจากเอกสาร รายงานวิจัย อินเตอร์เน็ต และใช้แบบสอบถามกับนักท่องเที่ยวนักท่องเที่ยวที่มาเยือนจังหวัดเชียงราย โดยเป็นนักท่องเที่ยวชาวไทย 400 ตัวอย่าง และนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศ 400 ตัวอย่าง กลุ่มภาคีเครือข่ายชุมชนในแหล่งท่องเที่ยวเชิงศาสนา ศิลปะ และวัฒนธรรม จังหวัดเชียงราย จำนวน 200 ตัวอย่าง วิเคราะห์โดยหาค่าเฉลี่ย (Mean) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation)

  7. ผลการศึกษาผลิตภัณฑ์ทางการท่องเที่ยวเชิงศาสนาศิลปะ และวัฒนธรรมจังหวัดเชียงราย แบ่งออกได้ทั้งหมด 5 กลุ่ม • กลุ่มของวัด หรือพระธาตุเจดีย์ จำนวน 23 แหล่ง • กลุ่มของเมืองโบราณคดี จำนวน 1 แหล่ง • กลุ่มพิพิธภัณฑ์ 3 แหล่ง • กลุ่มของศิลปะ 5 แหล่ง • กลุ่มของประเพณี 6 แหล่ง • กลุ่มของวัฒนธรรม 5 แหล่ง ศักยภาพและความพร้อมของผลิตภัณฑ์ทางการท่องเที่ยวเชิงศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรมจังหวัดเชียงราย

  8. ผลการศึกษาการวิเคราะห์จุดแข็งด้านการท่องเที่ยวเชิงศาสนา ศิลปะ และวัฒนธรรม จังหวัดเชียงราย • มีแหล่งท่องเที่ยวเชิงศาสนาที่มีชื่อเสียง • มีสิ่งก่อสร้างที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะ • มีวัดที่เก่าแก่ที่ทรงคุณค่าการเรียนรู้เชิงประวัติศาสตร์ ในเขตเมืองโบราณเชียงแสน • ความมีชื่อเสียงของพื้นที่ทรงงานบนดอยตุง • กิจกรรมชมวิถีชีวิตของชาวไทยกระเหรี่ยง • กิจกรรมการนั่งสามล้อถีบชมเมือง

  9. ผลการศึกษาการวิเคราะห์จุดแข็งด้านการท่องเที่ยวเชิงศาสนา ศิลปะ และวัฒนธรรม จังหวัดเชียงราย • การศึกษาวิถีชีวิตที่มีวัฒนธรรมที่หลากหลายของเมืองการค้าชายแดนแม่สาย • มีของที่ระลึกพื้นเมืองสำหรับให้นักท่องเที่ยวได้เลือกซื้อหาที่หลากหลาย ที่ตลาดเชียงรายไนท์บาซาร์ • ความงดงาม ความโอบอ้อมอารี อัธยาศัยไมตรีของประชาชนชาวเชียงราย เป็นมิตรกับนักท่องเที่ยวที่มาเยือน • การมีเส้นทางคมนาคมที่เหมาะสมและสะดวกในการเดินทาง • มีสิ่งอำนวยความสะดวกขั้นพื้นฐานในสถานที่ท่องเที่ยว

  10. ผลการศึกษาการวิเคราะห์จุดอ่อนด้านการท่องเที่ยวเชิงศาสนา ศิลปะ และวัฒนธรรม จังหวัดเชียงราย • ความโดดเด่นของการจัดงานประเพณี หรือวัฒนธรรม ไม่สามารถ สร้างความสนใจ หรือดึงดูดใจนักท่องเที่ยว • จำนวนศูนย์บริการนักท่องเที่ยวในแหล่งท่องเที่ยวเชิงศาสนา ศิลปะ และวัฒนธรรมมีจำนวนน้อย • การบริการห้องสุขา/ห้องน้ำส่วนใหญ่ ไม่ได้มาตรฐาน • ขาดมัคคุเทศก์ท้องถิ่น/มัคคุเทศก์พื้นที่ในการนำชมหรือให้ความรู้กับ นักท่องเที่ยว

  11. ผลการศึกษาการวิเคราะห์จุดอ่อนด้านการท่องเที่ยวเชิงศาสนา ศิลปะ และวัฒนธรรม จังหวัดเชียงราย 2.5 การจัดสภาพภูมิทัศน์ภายในสถานที่ท่องเที่ยวโดยส่วนใหญ่ ไม่สวยงามโดดเด่น 2.6 ขาดการดูแลในเรื่องของความสะอาดและความเป็นระเบียบในพื้นที่ แหล่งท่องเที่ยว 2.7 ขาดป้ายความรู้ที่จะอธิบายรายละเอียดของสิ่งสำคัญในแหล่งท่องเที่ยว 2.8 การกระจายตัวของสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญ ต้องใช้เวลาในการ เดินทางเที่ยวชม

  12. ผลการศึกษาการวิเคราะห์จุดอ่อนด้านการท่องเที่ยวเชิงศาสนา ศิลปะ และวัฒนธรรม จังหวัดเชียงราย 2.9 การขาดจิตสำนึกในการดูแลรักษาสถานที่ท่องเที่ยวร่วมกันของ ประชาชนในแหล่งท่องเที่ยว 2.10 ความมีชื่อเสียงของแหล่งท่องเที่ยวเชิงศาสนา ศิลปะ และ วัฒนธรรม ยังไม่มีชื่อเสียงในระดับชาติ หรือระดับสากล 2.11 ศักยภาพและความพร้อมด้านบุคลากรและการจัดการในพื้นที่ ยัง ขาดความเข้าใจในการบริหารจัดการแหล่งท่องเที่ยว 2.12 การส่วนร่วมชุมชนในการบริหารจัดการน้อย 2.13 มีการกระจายรายได้จากการท่องเที่ยวสู่ชุมชนน้อย

  13. โอกาสของการพัฒนาด้านการท่องเที่ยวเชิงศาสนา ศิลปะ และวัฒนธรรมจังหวัดเชียงราย • องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีการจัดสรรงบประมาณสนับสนุนการจัดกิจกรรมประเพณีหรือวัฒนธรรมต่างๆ • ความเป็นเมืองชายแดน ด่านชายแดนแม่สาย หรือสามเหลี่ยมทองคำ สามารถเป็นจุดที่ดึงดูดความสนใจของนักท่องเที่ยวให้เข้ามาเที่ยวในจังหวัดเชียงราย • สภาพอากาศที่ดี อัธยาศัยไมตรีที่เป็นมิตรกับนักท่องเที่ยว • การมีเส้นทางคมนาคมที่สะดวกและไม่ไกลจากจังหวัดเชียงใหม่

  14. ปัญหาอุปสรรค และข้อจำกัดของการส่งเสริมพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงศาสนา ศิลปะ และวัฒนธรรมจังหวัดเชียงราย • ปัญหาการรุกล้ำพื้นที่ในเขตเมืองโบราณของประชาชนในพื้นที่ และความไม่ร่วมมือของชุมชนในพื้นที่ • ปัญหาการขาดความรู้ ความเข้าใจ การมีจิตสำนึกการดูแลความเป็นระเบียบ และความสะอาดของประชาชนในพื้นที่แหล่งท่องเที่ยว • ปัญหาด้านการจัดกิจกรรมประเพณี วัฒนธรรม • ปัญหาด้านการกระจายรายได้ที่ไม่เป็นธรรมจากการท่องเที่ยว

  15. ศักยภาพและความพร้อมของภาคีเครือข่ายชุมชนในแหล่งท่องเที่ยวเชิงศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม จังหวัดเชียงราย

  16. แนวทางการจัดการของภาคีเครือข่ายในแหล่งท่องเที่ยวเชิงศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม จังหวัดเชียงราย มี 2 กลุ่ม 1. คณะกรรมการบริหารจัดการการท่องเที่ยวจังหวัดเชียงราย 2. คณะอนุกรรมการ/คณะทำงานของจังหวัด ประกอบด้วย 2.1 คณะทำงานด้านการพัฒนาพื้นที่และกิจกรรมการท่องเที่ยว 2.2 คณะทำงานด้านการตลาด ประชาสัมพันธ์ และโฆษณา 2.3 คณะทำงานด้านการบริการนักท่องเที่ยว 2.4 คณะทำงานด้านการวิจัยและอบรมบุคลากรด้านการท่องเที่ยว

  17. ข้อเสนอแนะจากการศึกษาข้อเสนอแนะจากการศึกษา • ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายชุมชน • ส่งเสริมให้เป็นการท่องเที่ยวแบบยั่งยืน • ส่งเสริมด้านการดูแลรักษาแหล่งท่องเที่ยวที่มีอยู่เดิม • ส่งเสริมให้มีการวิจัยการท่องเที่ยว

  18. ข้อเสนอแนะจากการศึกษาข้อเสนอแนะจากการศึกษา • จัดสร้างอาคารศูนย์การท่องเที่ยวจังหวัดเชียงราย • มีการจัดตั้งภาคีเครือข่ายร่วมกันของผู้ประกอบการ • จัดกิจกรรมการท่องเที่ยวเป็นเครือข่ายร่วมกัน ปลอดภัย และให้ได้รับรายได้ที่เป็นธรรม

  19. ข้อเสนอแนะในการวิจัยครั้งต่อไปข้อเสนอแนะในการวิจัยครั้งต่อไป • ควรมีการส่งเสริมในการวิจัยและพัฒนากระบวนการสร้างภาคีเครือข่ายในแหล่งท่องเที่ยวเชิงศาสนา ศิลปะ และวัฒนธรรมจังหวัดเชียงราย

  20. ขอขอบคุณ สำนักงานประสานการพัฒนาและจัดการ การท่องเที่ยวเชิงพื้นที่อย่างยั่งยืน สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)

  21. ขอขอบคุณ อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ ผู้อำนวยการวิทยาลัยอาชีวศึกษาเชียงราย

  22. ขอขอบคุณ ผู้อำนวยการสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดเชียงราย

  23. ขอขอบคุณ ผู้อำนวยการศูนย์ท่องเที่ยว กีฬา และนันทนาการจังหวัดเชียงราย

  24. ขอขอบคุณ กลุ่มภาคประชาชนในพื้นที่การท่องเที่ยว

  25. ขอขอบคุณ ดร.เทิดชาย ช่วยบำรุง ผู้จัดการการวิจัยการพัฒนาและจัดการการท่องเที่ยวเชิงพื้นที่ และ เจ้าหน้าที่จากสำนักประสานงานการพัฒนาและจัดการท่องเที่ยวเชิงพื้นที่อย่างยั่งยืน สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)

  26. คณะผู้วิจัย • นางชวัลนุช อุทยาน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ • นายเพทาย บำรุงจิตต์ วิทยาลัยอาชีวศึกษาเชียงราย • นางฉลวย ปูธิปิน สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดเชียงราย • นางวันเพ็ญ การควรคิด สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดเชียงราย

More Related