1 / 33

บ้านขี้เหล็ก ตำบลเขวาใหญ่ อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดสารคาม

บ้านขี้เหล็ก ตำบลเขวาใหญ่ อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดสารคาม.

zenia
Télécharger la présentation

บ้านขี้เหล็ก ตำบลเขวาใหญ่ อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดสารคาม

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. บ้านขี้เหล็กตำบลเขวาใหญ่ อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดสารคาม

  2. ประวัติหมู่บ้านขี้เหล็กบ้านขี้เหล็กเป็นหมู่บ้านที่10 ตำบลเขวาใหญ่ อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม ตั้งอยู่ห่างจากอำเภอกันทรวิชัย35 กิโลเมตรและห่างจากเทศบาลเมืองมหาสารคาม 15 กิโลเมตร ชุมชนบ้านขี้เหล็ก ตั้งขึ้นเมื่อประมาณ พ.ศ.2451โดยบุคคลกลุ่มแรกที่อพยพมาจากบ้านม่วง ตำบลบ้านม่วง อำเภอมหาชนะชัย จังหวัดยโสธร ประกอบด้วยนายบุญมา คารมรื่น นายดำ สายหลักคำ ได้อพยพเคลื่อนย้ายพักแรมเรื่อยมาจนได้พบพื้นที่อันเป็นทำเลที่อุดมสมบูรณ์จึงได้จับจองเนื้อที่เป็นหมู่บ้านขึ้นมาการตั้งถิ่นฐานหมู่บ้านแห่งนี้มีประวัติอยู่ก่อนที่จะมีผู้คนมาตั้งถิ่นฐานได้มีคนกลุ่มหนึ่งได้มาก่อเตาเคลื่อนที่ตีเหล็กจนมีขี้เหล็กกองอยู่เป็นจำนวนมากพวกที่อพยพมาตั้งถิ่นฐานที่หมู่บ้านจนได้ขนานนามบ้านนี้ว่าบ้านขี้เหล็ก

  3. ครั้งต่อมาในเดือนพฤษภาคม พ.ศ.2451ได้มีคนหลั่งไหลมาอยู่มากขึ้น การปกครองก็ลำบาก คนส่วนมากจึงเห็นสมควรจัดตั้ง นายจิ้ม ผองขำ เป็นผู้ใหญ่บ้านคนที่สองปี พ.ศ.2484ตั้งนายลัง ทองแสง ขึ้นเป็นผู้ใหญ่บ้านคนที่สาม ปีพ.ศ.2489ตั้งนายนาค สายหลักคำเป็นผู้ใหญ่บ้านคนที่สี่ ปีพ.ศ.2490ตั้งนายบุญ ผองขำ เป็นผู้ใหญ่บ้านคนที่ห้า ปีพ.ศ.2519ตั้งนายโฮม สายหลักคำ เป็นผู้ใหญ่บ้าน ปีพ.ศ.2526ตั้งนายประเสริฐ ผิวพรรณ เป็นผู้ใหญ่บ้านคนที่หก ปีพ.ศ.2530ตั้งนายธงชาติ วังหิน เป็นผู้ใหญ่บ้านคนที่เจ็ด ปีพ.ศ.2543ตั้งนายชุมแสง สายหลักคำ และเป็นผู้ใหญ่บ้านคนที่แปด ปีพ.ศ.2549ตั้งนายธงชาติ วังหินเป็นผู้ใหญ่บ้านคนปัจจุบัน

  4. ที่ตั้งตั้งอยู่นอกเขตเทศบาล อยู่ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลเขวาใหญ่ สภาพทางกายภาพเป็นที่ราบพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นทุ่งนา สภาพดินเป็นดินร่วน มีแม่น้ำชีไหลผ่านอาณาเขตทิศเหนือ ติดเขต บ้านเขวาใหญ่ หมู่ที่ 21ตำบลเขวาใหญ่ อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคามทิศใต้ ติดเขต แม่น้ำชีทิศตะวันออก ติดเขต บ้านส้มโฮง หมู่ที่ 11ตำบลเขวาใหญ่ อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคามทิศตะวันตก ติดเขต บ้านหินปูน หมู่ที่17ตำบลเขวาใหญ่ อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม

  5. สภาพภูมิศาสตร์ บ้านขี้เหล็กหมู่ที่ 10ตำบลเขวาใหญ่ อำเภอกันทรชัย จังหวัดมหาสารคาม ตั้งอยู่ห่างจากตัวอำเภอ 35กม. ห่างจากตัวจังหวัดทางโค้ง 25กม. ห่างจากตัวจังหวัดทางตรง 15กม.ลักษณะภูมิอากาศบ้านขี้เหล็ก หมู่ที่ 10ตำบลเขวาใหญ่ อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม มีลักษณะภูมิอากาศแบบร้อนชื้น เพราะได้รับอิทธิพลของมรสมุตะวันออกเฉียงเหนือ และมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ซึ่งมี 3ฤดูคือ        - ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ - พฤษภาคม ของช่วงนี้จะมีอากาศร้อนอบอ้าว และแห้งแล้ง        - ฤดูฝน เริ่มตั้งแต่เดือนมิถุนายน - กันยายน ของทุกปีช่วงนี้จะมีฝนตกชุกเป็นช่วงที่เกษตรกรทำนา        - ฤดูหนาว เริ่มตั้งแต่เดือนตุลาคม - มกราคม ของทุกปีช่วงนี้มีลมหนาวพัดผ่าน

  6. ประชากรลักษณะประชากรจำนวนครอบครัวทั้งหมด มีจำนวน 150ครอบครัว จำนวนประชากรทั้งหมด 708คน เป็นชายจำนวน 350 คน เป็นหญิงจำนวน 358 คนหมู่บ้านขี้เหล็ก หมู่ที่ 10 พบว่าเป็นหมู่บ้านที่มีสภาพเศรษฐกิจโดยทั่วไปอยู่เกณฑ์ปานกลางกล่าวคือจาก 150 ครัวเรือน ไม่มีที่ดินทำกินเป็นของตัวเอง 3 ครอบครัว ทั้งนี้เพราะส่วนหนึ่งของครัวเรือนพ่อแม่มีฐานะยากจนมีที่ดินน้อยและส่วนน้อยของครัวเรือนที่ยังทำกินอยู่กับพ่อแม่ไม่ถูกแบ่งปันที่ดินทำกินให้ผู้ที่ไม่มีที่ดินทำกินดำรงชีวิตอยู่ด้วยการรับ จ้างแรงงานทั้งในภาคเกษตรกรรมและนอกภาคเกษตรกรรมและได้เช่าที่ดินจากผู้มีที่ดินมากเพื่อทำกินโดยการปลูกข้าวอัตราค่าเช่าจ่ายเป็นเงินหรือแบ่งเท่ากัน

  7. จำนวนครัวเรือนที่มีที่ดินทำกินจำนวน 1-5ไร่ มีจำนวน 10ครัวเรือนจำนวน 6-10ไร่ มีจำนวนจำนวน 11-20ไร่ มีจำนวน35ครัวเรือจำนวน 21-50ไร่ มีจำนวน 63ครัวจำนวน 50ไร่ มีจำนวน 4 ครัวเรือนเรือน 25ครัวเรือน

  8. ข้อมูลอาชีพของหมู่บ้านข้อมูลอาชีพของหมู่บ้าน อาชีพหลักทำนา อาชีพรองทำไร่ เลี้ยงสัตว์ รายได้เฉลี่ยต่อคนต่อปี ประมาณ 6,000 บาท/ปี

  9. การเมืองการปกครองบ้านขี้เหล็กปัจจุบันมี 150 ครัวเรือน มีประชากรทั้งหมด 708 คน การเมืองการปกครอง มีการเชื่อฟังผู้นำที่มีความสามารถ มีความอดทน มีความเสียสละต่อส่วนร่วม นอกจากนี้ภายในหมู่บ้านยังแบ่งการปกครองออกเป็นคุ้มและเป็นผู้เก็บเงินจากสมาชิก มีการเรี่ยไรเพื่อทำกิจกรรมที่เกี่ยวกับบ้านและวัด นอกจากนั้นยังพบว่าได้มีส่วนร่วมคัดเลือกเสนอชื่อครัวเรือนตัวอย่างที่ดีด้วย

  10. ด้านศาสนาและวัฒนธรรมชาวบ้านขี้เหล็กทั้งหมดนับถือศาสนาพุทธ โดยมีวัดเป็นสถานที่ประกอบพิธีกรรมทางศาสนาหรือจะนิมนต์พระมาประกอบพิธีกรรมทางศาสนาในหมู่บ้าน ปัจจุบันบ้านขี้เหล็กมี 2วัดคือ วัดท่าวารี หรือชาวบ้านเรียกกันว่า วัดบ้านมีพระจำนวน 2รูป และอีกวัดหนึ่งชื่อวัดป่าสถิตธรรมมีพระจำนวน 1รูป และนอกจากนี้สิ่งหนึ่งที่เป็นเครื่องมือยึดเหนี่ยวของคนในหมู่บ้านขี้เหล็ก คือ ดอนปู่ตา ซึ่งเป็นที่พึ่งทางใจที่สำคัญของชาวบ้านเมื่อเกิดเหตุอาเพศภัยต่างๆ หรือเวลาจะเดินทางไปค้าขายและทำงานต่างประเทศก็มักจะบอกกล่าวต่อปู่ตาให้ทราบเพื่อจะได้ช่วยคุ้มครองให้รอดพ้นอันตรายและได้รับผลสำเร็จในหน้าที่การงานและการเดินทางด้วย

  11. สถานที่สำคัญ ภาพวัดท่าวาลี

  12. ภาพศาลปู่ตา

  13. ภาพโรงเรียนบ้านขี้เหล็กบุ่งสามัคคีภาพโรงเรียนบ้านขี้เหล็กบุ่งสามัคคี

  14. ภาพศูนย์พัฒนาเด็กปฐมวัยภาพศูนย์พัฒนาเด็กปฐมวัย

  15. ด้านการศึกษาในปี พ.ศ. 2483มีการจัดตั้งการเรียนการสอนระดับโรงเรียนขึ้นในบ้านขี้เหล็กบุ่งเบาสามัคคี เปิดชั้นอนุบาลและชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6โรงเรียนบ้านขี้เหล็กบุ่งเบาสามัคคี เป็นโรงเรียนที่มีนักเรียนมาจาจากสี่หมู่บ้านมาเรียนร่วมกันคือ บ้านขี้เหล็ก บ้านหินปูน บ้านบุ่งเบา และบ้านหนองโนปัจจุบันโรงเรียนบ้านขี้เหล็กบุ่งเบาสามัคคี เปิดสอนชั้นอนุบาลและชั้นประถมศึกษาปีที่ 6มีครูทั้งหมด 11คน นักการภารโรง 1คน มีนักเรียน 169คน

  16. ด้านเศรษฐกิจตั้งแต่มาตั้งถิ่นฐานที่บ้านขี้เหล็กชาวบ้านดำรงชีพโดยการปลูกข้าว ซึ่งมีทั้งนาดำและนาหว่านแต่เป็นการผลิตที่เน้นการบริโภคและแลกเปลี่ยนของครัวเรือน จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2542 ชาวบ้านบางส่วนเริ่มเลี้ยงปลาในกระชัง โดยทางบริษัทซีพีเข้ามาแนะนำวิธีในการเลี้ยงปลาในกระชังเป็นอาชีพเสริมในหมู่บ้านขี้เหล็ก ซึ่งปัจจุบันอาชีพนี้ยังคงอยู่กับบ้านขี้เหล็กและทำรายได้ให้กับหมู่บ้านเป็นจำนวนมาก

  17. วิสัยทัศน์ของบ้านขี้เหล็กวิสัยทัศน์ของบ้านขี้เหล็ก

  18. ประวัติการทำปุ๋ยชีวภาพ เริ่มจัดตั้ง เดือน มีนาคม พ.ศ. 2548 ด้ายรับการสนับสนุนจากองค์การบริหารส่วนตำบลโดยมี ครู อาจารย์ หมอ นายก และสารธารณะตำบลเป็นที่ปรึกษาจากนั้นจัดกลุ่มออกดูงานที่ชุมพรและได้ออกมาทำการทดลองดูเองทดลองครั้งที่หนึ่งไม่ประสบผลสำเร็จทดลองครั้งที่สองก็ประสบผลสำเร็จและดีขึ้นเรื่อยๆ

  19. สถานที่ตั้ง บ้านขี้เหล็ก ตำบลเขวาใหญ่ อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม

  20. วัสดุอุปกรณ์หอย 1 ส่วน ปุ๋ยคอก 1 ส่วนรำอ่อน 1 ส่วน มูลไก่ 1 ส่วนกากากน้ำตาล 1 กิโลกรัม แกลบดำ 1 ส่วนโดโลไมล์ เครื่องตีดินเครื่องอัด น้ำหมักชีวภาพ 1 ลิตร

  21. ภาพหอย ภาพมูลไก

  22. ภาพโดโลไมล์ ภาพแกลบดำ

  23. ภาพปุ๋ยคอก ภาพกากน้ำตาล

  24. ภาพรำอ่อน ภาพเครื่องตีดิน

  25. ภาพเครื่องอัดเม็ด

  26. . ต้นทุนการผลิต 1. ค่าปุ๋ยคอก 250 บาท 2. ค่ามูลไก่ 1,000 บาท 3. ค่าแกลบเผา 200 บาท 4. ค่ารำละเอียด 1,000 บาท 5. ค่าน้ำหมักชีวภาพ 20 ลิตร 200 บาท 6. ค่าแรงผลิตปุ๋ยหมักอัดเม็ด 1 ตัน ใช้ค่าแรง 5 คน เงิน 500 บาท 7. ค่ากระแสไฟฟ้า 50 บาท รวมค่าใช้จ่าย 3,300 บาท

  27. ขั้นตอนการทำ 1.ตีดินให้ละเอียด 2.เกลี่ยกองปุ๋ยให้เสมอกันสูงจากพื้นไม่เกิน 30ซม. คลุมด้วยกระสอบป่านให้มิดชิด 3. เอาน้ำหมักชีวภาพหรือทำน้ำจุลินทรีที่หมักไว้ได้ที่แล้วเอาน้ำหมักผสมน้ำพอหมาดๆ

  28. 4. นำปุ๋ยหมักที่ได้มาบดให้ละเอียดเทใส่เครื่องอัดเม็ด . ตรวจความชื้นของปุ๋ยให้เสมอกัน โดยทดลองกำไว้ในมือ เมื่อปล่อยมือออกจะจับเป็นก้อนหลวมๆ พอแตะก้อนแล้วแตกเป็นใช้ได้

  29. 5. ประมาณ 12ชั่วโมง ให้ทดสอบโดยสอดมือเข้าไปในกองปุ๋ยจะร้อนมาก เมื่อครบ 24ชั่วโมง จะเริ่มมีเส้นขาวๆ ปรากฏขึ้นบนผิวกองปุ๋ย แสดงว่าจุลินทรีย์เริ่มทำงาน อีก 3-4วัน ต่อมาให้ทดสอบอีกครั้ง ถ้าปุ๋ยเย็นลงถือว่าใช้ได้ ถ้ายังมีความร้อนอยู่ให้ทิ้งไว้ต่อจนกว่าจะเย็น จึงสามารถนำไปใช้ได้หรืออัดเม็ดได้เลย

  30. 6. จากนั้นบันจุถุงได้เลย

  31. ผู้ให้สัมภาษณ์นายสำลี ผันผาย

  32. จบการนำเสนอค่ะขอบคุณค่ะจบการนำเสนอค่ะขอบคุณค่ะ

More Related