1 / 14

FTP( File Transfer Protocal )

FTP( File Transfer Protocal ).

boaz
Télécharger la présentation

FTP( File Transfer Protocal )

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. FTP(File Transfer Protocal)

  2. FTP ย่อมาจาก File Transfer Protocol คือ โปรโตคอลเครือข่ายชนิดหนึ่ง ถูกนำใช้ในการถ่ายโอนไฟล์ ระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ อย่างการถ่ายโอนไฟล์ระหว่าง ไคลเอนต์ (client) กับเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เป็นแม่ข่าย เรียกว่า โฮสติง (hosting) หรือ เซิร์ฟเวอร์ ซึ่งทำให้การถ่ายโอนไฟล์ง่ายและปลอดภัยในการแลกเปลี่ยนไฟล์ผ่านอินเตอร์เน็ต การใช้ FTP ที่พบบ่อยสุด ก็เช่น การดาวน์โหลดไฟล์จากอินเทอร์เน็ต

  3. FTP แบ่งเป็น 2 ส่วน 1. FTP server  เป็นโปรแกรมที่ถูกติดตั้งไว้ที่เครื่องเซิฟเวอร์ ทำหน้าที่ให้บริการ FTP หากมีการเชื่อมต่อจากไคลแอนเข้าไป2. FTP client  เป็นโปรแกรม FTP ที่ถูกติดตั้งในเครื่องคอมพิวเตอร์ของ user ทั่วๆไป ทำหน้าที่เชื่อมต่อไปยัง FTP server และทำการอัพโหลด ,ดาวน์โหลดไฟล์ หรือ จะสั่งแก้ไขชื่อไฟล์, ลบไฟล์ และเคลื่อนย้ายไฟล์ก็ได้เช่นกัน

  4. ความสำคัญของ FTP โดยปกติเมื่อเราต้องการทำเว็บไซต์ไม่ว่าด้วยจุดประสงค์ใดก็ตาม สิ่งที่เราจะต้องนึกถึงและขาดไม่ได้คือ Hosting หรือ Server ซึ่งในปัจจุบันมีผู้ให้บริการอยู่เป็นจำนวนมาก การที่เว็บไซต์ของเราสามารถให้บริการได้ตลอด 24 ชั่วโมง โดยไม่มีหยุดนั้น ก็เพราะ Hosting ไม่เคยปิดนั่นเอง

  5. การทำงาน เครื่องลูกข่ายเริ่มต้นสร้างการเชื่อมต่อไปยังเครื่องแม่ข่ายโดยใช้TCPบนPORTหมายเลข 21 การเชื่อมต่อนี้คือการเชื่อมต่อส่วนควบคุมซึ่งจะเปิดอยู่ตลอดเวลาขณะที่มีการใช้งาน หลังจากนั้นการเชื่อมต่อส่วนข้อมูลบนพอร์ตหมายเลข 20 จะถูกสร้างขึ้นตามความจำเป็นเพื่อส่งผ่านข้อมูลไฟล์ คำสั่งที่ส่งโดยเครื่องลูกข่ายไปยังส่วนควบคุมมีรูปแบบเป็นข้อความแอสกีและจบคำสั่งด้วย CRLF

  6. ความปลอดภัย ใช้SFTP (SSH File Transfer Protocol) หรือFTPS (FTP over SSL) ซึ่งเพิ่มการเข้ารหัสด้วยSSL(หรือTLS) ไปบนFTPธรรมดา ตามที่ระบุไว้ในRFC 4217

  7. FTP กับ เว็บบราว์เซอร์ เว็บเบราว์เซอร์และตัวจัดการไฟล์รุ่นใหม่ ๆ ส่วนใหญ่สามารถติดต่อกับเครื่องให้บริการFTPได้ แม้ว่าอาจไม่มีการรองรับส่วนขยายโพรโทคอลเช่นFTTSการใช้เว็บเบราว์เซอร์และตัวจัดการไฟล์สามารถจัดดำเนินการไฟล์ระยะไกลบนFTPด้วยส่วนติดต่อที่คล้ายกับระบบไฟล์เฉพาะที่ สามารถกระทำได้โดยป้อนURL ของFTP

  8. การรับส่งไฟล์(FTP) การใช้งานบราวเซอร์ในปัจจุบัน ไม่เพียงแต่ทำหน้าที่แสดงข้อมูลของเว็บเพจต่าง ๆ เท่านั้น ยังสามารถใช้บราวเซอร์เพื่อดาวน์โหลดไฟล์จากเซิร์ฟเวอร์ต่าง ๆ มาใช้งานได้อีกด้วย แต่โปรแกรมที่พัฒนาขึ้นเพื่อใช้ในการถ่ายโอนไฟล์ ( File Transfer ) โดยเฉพาะยังคงช่วยให้ผู้ใช้สามารถทำงานได้อย่างกว้างขวาง และมีประสิทธิภาพสูง ตัวอย่างเช่น การใช้โปรแกรม ftp เป็นต้น

  9. ตัวอย่าง  FTP Client ที่เป็นที่นิยม ได้แก่ • CuteFTP • WS FTP Pro • FileZilla • Smart FTP • ฯลฯ วิธีการใช้งานอาจแตกต่างกันบ้างเล็กน้อย  แต่หลักๆ ที่จะใส่ข้อมูล จะมี FTP Server,  FTP Username  และ FTP Password การเลือกใช้ FTP Client  น่าจะเป็นตามแต่ความถนัดของผู้ใช้บริการ Hosting  สำหรับทาง Naxza Web Hosting นั้น มักจะแนะนำให้ลูกค้าใช้เป็น WS FTP Pro ซึ่งสามารถหา download ได้

  10. www (Wold Wide Web)

  11. การทำงาน คนส่วนใหญ่เข้าใจว่าอินเทอร์เน็ต กับ WWW คือสิ่งเดียวกัน แต่แท้ที่จริงแล้ว WWW เป็นเพียงบริการหนึ่งของอินเทอร์เน็ตเท่านั้น อินเทอร์เน็ตยังมีบริการอื่นๆ อีกด้วย การทำงานของบริการ WWW นี้จะมีลักษณะเช่นเดียวกันกับบริการอื่นๆ ของอินเทอร์เน็ต คืออยู่ในรูปแบบไคลเอ็นต์-เซิร์ฟเวอร์ (client - server) โดยมีโปรแกรมเว็บไคลเอ็นต์ (web client) ทำหน้าที่เป็นผู้ร้องขอบริการ และมีโปรแกรมเว็บเซิร์ฟเวอร์ (web server) ทำหน้าที่เป็นผู้ให้บริการ

  12. กลไกการทำงานของเว็บเพจกลไกการทำงานของเว็บเพจ กลไกการทำงานของเว็บเพจ สำหรับเว็บเพจธรรมดาที่โดยปกติมีนามสกุลของไฟล์เป็น htmหรือ html นั้น เมื่อเราใช้เว็บบราวเซอร์เปิดดูเว็บเพจใด เว็บเซิร์ฟเวอร์ก็จะส่งเว็บเพจนั้นกลับมายังบราวเซอร์ จากนั้นบราวเซอร์จะแสดงผลไปตามคำสั่งภาษา HTML (Hypertext Markup Language) ที่อยู่ในไฟล์

  13. จะเห็นได้ว่าเว็บเพจดังรูปเป็นเว็บเพจที่มีลักษณะ static กล่าวคือ ผู้ใช้จะพบกับเว็บเพจหน้าตาเดิมๆ ทุกครั้งจนกว่าผู้ดูแลเว็บจะทำการปรับปรุงเว็บเพจนั้น นี่คือข้อจำกัดอันมีต้นเหตุมาจากภาษา HTML ซึ่งเป็นภาษาที่ใช้อธิบายหน้าตาของเว็บเพจ หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งคือ HTML สามารถกำหนดให้เว็บเพจมีหน้าตาอย่างที่เราต้องการได้ แต่ไม่ช่วยให้เว็บเพจมี "ความฉลาด" ได้

  14. จากรูปเป็นการทำงานของเว็บเพจที่ฝังสคริปต์ภาษา PHP ไว้ (ขอเรียกว่า ไฟล์ PHP) เมื่อเว็บบราวเซอร์ร้องขอไฟล์ PHP ไฟล์ใด เว็บเซิร์ฟเวอร์จะเรียก PHP engine ขึ้นมาแปล (interpret) และประมวลผลคำสั่งที่อยู่ในไฟล์ PHP นั้น โดยอาจมีการดึงข้อมูลจากฐานข้อมูล หรือเขียนข้อมูลลงไปยังฐานข้อมูลด้วย หลังจากนั้นผลลัพธ์ในรูปแบบ HTML จะถูกส่งกลับไปยังบราวเซอร์ บราวเซอร์ก็จะแสดงผลตามคำสั่ง HTML ที่ได้รับมา ซึ่งย่อมไม่มีคำสั่ง PHP ใดๆ หลงเหลืออยู่ เนื่องจากถูกแปลและประมวลผลโดย PHP engine ที่ฝั่งเซิร์ฟเวอร์ไปหมดแล้ว

More Related