1 / 34

เครื่องมือ วัดประจุไฟฟ้า

PowerPoint เรื่องเครื่องมือ วัดประจุไฟฟ้า เสนอ คุณครูวินัย ประชุมแดง จัดทำโดย นางสาวพิจิตรา คุณธรรม ชั้น ม. 6/1 เลขที่ 6 โรงเรียนกีฬาจังหวัดอุบลราชธานี. เครื่องมือ วัดประจุไฟฟ้า.

caitir
Télécharger la présentation

เครื่องมือ วัดประจุไฟฟ้า

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. PowerPointเรื่องเครื่องมือวัดประจุไฟฟ้าเสนอคุณครูวินัย ประชุมแดงจัดทำโดยนางสาวพิจิตรา คุณธรรมชั้น ม. 6/1 เลขที่ 6โรงเรียนกีฬาจังหวัดอุบลราชธานี

  2. เครื่องมือวัดประจุไฟฟ้าเครื่องมือวัดประจุไฟฟ้า

  3. มัลติมิเตอร์ ( Multimeter ) เป็นเครื่องวัดไฟฟ้าชนิดหนึ่งที่รวมเอาเครื่องวัด 3 ชนิด มาอยู่ในตัวเดียวกัน ดังแสดงในรูป

  4. การเลือกใช้เครื่องวัดชนิดใดสามารถทำได้โดยการเลือกจากสวิตซ์ควบคุม สำหรับมัลติมิเตอร์นั้นประกอบด้วยเครื่องวัด ดังต่อไปนี้ 1. แอมมิเตอร์ ( Ammeter ) ใช้สำหรับวัดค่ากระแสไฟฟ้า2. โวลต์มิเตอร์ ( Voltmeter ) ใช้สำหรับวัดค่าแรงดันไฟฟ้า3. โอห์มมิเตอร์ (Ohmmeter ) ใช้สำหรับวัดค่าความต้านทาน ในช่วงหลายปีที่ผ่านมาเครื่องวัดแบบแอนะล็อก ดังแสดงในรูป (ก) เป็นเครื่องวัดชนิดเดียวที่สามารถหาได้ในขณะนั้น แต่ในปัจจุบันถึงแม้เครื่องวัดชนิดนี้จะยังคงมีใช้งานอยู่ แต่ก็เริ่มได้รับการแทนที่จากเครื่องวัดแบบดิจิทัลมาตามลำดับ ดังแสดงในรูป (ข)

  5. โครงสร้างของเครื่องวัดโครงสร้างของเครื่องวัด อุปกรณ์ภายในประกอบด้วย D' Arsonvalหรือขดลวดเคลื่อนที่ ดังแสดงในรูป โดยขดลวดนี้จะใช้สำหรับวัดค่ากระแสไฟฟ้า แรงดันไฟฟ้าหรือความต้านทาน ขดลวดทองแดงที่พันอยู่รอบแกนนี้รวมเรียกว่า อาร์มมาเจอร์ (Armature) ซึ่งสามารถเคลื่อนที่ได้อย่างอิสระระหว่างขั้วแม่เหล็กถาวร 2 ขั้ว ส่วนสปริงภายในที่ยืดติดกับขดลวดเคลื่อนที่ซึ่งมีเข็มของเครื่องวัดต่อเข้าด้วยนี้ จะทำหน้าที่รั้งให้เข็มของเครื่องวัดชี้ที่ตำแหน่ง 0

  6. การทำงานของเครื่องวัดการทำงานของเครื่องวัด ขดลวดเคลื่อนที่ภายในเครื่องวัดแบบแอนะล็อกนี้จะเป็นตัวผ่านของกระแสไฟฟ้า ไม่ว่าจะทำการวัดกระแสไฟฟ้า แรงดันไฟฟ้า หรือค่าความต้านทาน โดยการวัดผ่านสายวัดทั้งสอง เมื่อมีกระแสไฟฟ้าไหลผ่านเข้าไปในขดลวดจะเกิดสนามแม่เหล็กขึ้น โดยสนามแม่เหล็กนี้จะให้กำเนิดขั้วเหนือทางด้านขวา และขั้วใต้ทางด้านซ้ายของขดลวดเคลื่อนที่นี้ ดังแสดงในรูป (ก) ส่วนรูป (ข) แสดงการหาทิศทางของขั้วเหนือโดยใช้ กฎมือซ้าย (Left Hand Rule)

  7. แรงปฏิกิริยาระหว่างสนามแม่เหล็กไฟฟ้าที่เกิดจากการไหลของกระแสไฟฟ้า กับสนามแม่เหล็กที่เกิดจากแม่เหล็กถาวร ทำให้เกิดแรงผผลักชุดอาร์มาเจอร์ให้เคลื่อนที่ไปในทิศทางตามเข็มนาฬิกาทั้งนี้เนื่องจากขั้วที่เหมือนกันจะเกิดการผลักกัน ดังแสดงในรูป รูปแสดงปฏิกิริยาตอบสนองที่เกิดจากสนามแม่เหล็ก

  8. ขั้วใดที่เกิดจากสนามแม่เหล็กไฟฟ้าจะถูกผลักจากขั้วใต้ของแม่เหล็กถาวร และถูกดึงดูดจากขั้วเหนือของแม่เหล็กถาวร ในขณะที่ขั้วเหนือที่เกิดจากสนามแม่เหล็กไฟฟ้าก็จะถูกผลักจากขั้วเหนือของแม่เหล็กถาวร และถูกดึงดูดจากขั้วใต้ของแม่เหล็กถาวรเช่นกัน ผลของแรงปฏิกิริยารวมทั้งหมดนี้จะเอาชนะแรงดึงที่เกิดจากสปริงที่คอยรั้งเข้มของเครื่องวัดไว้ ทำให้เข็มชี้เคลื่อนที่ไปในทิศทางตามเข็มนาฬิกา ถ้ากระแสไฟฟ้าไหลผ่านขดลวดเคลื่อนที่มากขึ้นก็จะทำให้เกิดสนามแม่เหล็กไฟฟ้าเกิดมากขึ้นและทำให้เกิดการผลักและดึงดูดกันมากขึ้น ผลทำให้การเบี่ยงเบนของเข็มนาฬิกามากยิ่งขึ้น ดังนั้นจึงสรุปได้ว่า เมื่อกระแสมมีค่ามากขึ้นจะทำให้การเบี่ยงเบนของเข็มมากขึ้นถ้ากระแสไฟฟ้าไหลเข้าไปในขดลวดเคลื่อนที่ในทิศทางตรงกันข้าม จะทำให้ขั้วเหนือเกิดขึ้นทางด้านซ้าย และขั้วใต้เกิดขึ้นทางด้านขวาของอาร์มาเจอร์ ส่งผลให้เข็มเคลื่อนไปในทิศทางทวนเข็มนาฬิกา และไปกระทบกับหลักหยุดเข็ม ดังแสดงในรูป ดังนั้น ถ้ากระแสไฟฟ้าไหลในทิศทางตรงกันข้ามมีปริมาณมากเกินไป

  9. ก็จะหาให้เครื่องวัดพังเสียหายได้ ซึ่งด้วยเหตุนี้ที่สายวัดจึงมีการบอกชนิดของขั้ว (+ และ - ) โดยเมื่อทำการวัดความแตกต่างของแรงดันไฟฟ้า จะต้องให้สายวัดสีแดง (+) ต่อเข้ากับจุดที่มีศักย์ไฟฟ้าสูงกว่า และต่อสายวัดสีดำ (-) เข้ากับจุดที่มีศักย์ไฟฟ้าต่ำกว่า ข้อควรปฏิบัติอีกประการหนี่งคือเนื่องจากแรงโน้มถ่วงโลกมีผลต่อการเคลื่อนที่ของเข็มเครื่องวัด ดังนั้น เพื่อให้ได้ผลของการวัดถูกต้องจึงควรวางเครื่องวัดให้อยู่ในแนวราบหรือแนวระดับขณะทำการวัด รูปแสดงการเคลื่อนที่ของเข็ม

  10. ค่าความไวต่อการตอบสนองของเครื่องวัดค่าความไวต่อการตอบสนองของเครื่องวัด ขดลวดอาร์มาเจอร์มีค่าความต้านทานค่าหนึ่งเรียกว่า ค่าความต้านทานภายใน ( Rm ) ซึ่งค่าความ ต้านทานภายในนี้จะมีค่าน้อยประมาณ 1 ถึง 500 โดยทั่วไปแล้วขดลวดนี้จะมีขนาดเล็กมาก (ขนาดเท่าเส้นผม) และไม่สามารถนำกระแสไฟฟ้าในปริมาณมาก ๆ ได้ ปริมาณกระแสไฟฟ้าจะอยู่ในย่าน 10 uAถึง 10 mAซึ่งค่ากระแสไฟฟ้านี้จะเป็นตัวกำหนดค่ากระแส FSD (Full - Scale Deflection) ของเครื่องวัด ซึ่งหมายถึงปริมาณกระแสไฟฟ้าที่ทำให้เข็มของเครื่องวัดเคลื่อนที่ได้เต็มหน้าปัดทางด้านขวาพอดี ดังนั้นค่ากระแสไฟฟ้าสูงสุดที่ทำให้เข็มของเครื่องวัดเคลื่อนที่ได้เต็มสเกล ( I m ) นี้ จึงเป็นตัวแสดง ค่าความไวต่อการตอบสนองของเครื่องวัด ( Sensitivity) ตัวอย่างเช่นเครื่องวัดที่ต้องการการกระแสไฟฟ้า

  11. เพียง 10 uAเพื่อให้เข็มเบี่ยงเบนไป FSD จะมีความไวมากกว่าเครื่องวัดที่ต้องการกระแสไฟฟ้าถึง 10 mAแผ่นภาพรายละเอียดของ Rmและ Imดังแสดงในรูป รูปแผ่นภาพแสดงเครื่องวัดชนิดแอนะล็อก

  12. แอมมิเตอร์ รูปแสดงเครื่องวัดที่มีค่ากระแสไฟฟ้าไหลสูงสุด (Im ) เท่ากับ 1 mAโดยเครื่องวัดนี้จะทำงานได้ถูกต้องเมื่อมีกระแสไฟฟ้าค่าใด ๆ ไหลผ่านในย่านตั้งแต่ 0 ถึง 1 mAแต่ถ้ากระแสไฟฟ้าทำการวัดมีค่าเกินกว่า 1 mAซึ่งเกินกว่าอัตราทนกระแสของฟิวส์จะทำให้ฟิวส์ขาด ซึ่งเป็นการป้องกันความเสียหายที่จะเกิดขึ้นกับเครื่องวัดได้ อย่างไรก็ตามการที่จะวัดค่ากระแสไฟฟ้าที่เกินกว่ากระแส FSD (Im ) สามารถทำได้โดยขั้นแรกจะต้องทราบถึงค่าความต้านทานภายในของเครื่องวัด และกระแส FSD ดังแสดงในรูป ใช้เครื่องวัดที่มีค่าความต้านทาภายใน 50 และกระแส FSD เท่ากับ 1 mA รูปแสดงแอมมิเตอร์ขนาด 1 mA

  13. ย่านการวัดของแอมมิเตอร์ย่านการวัดของแอมมิเตอร์ ค่ากระแสไฟฟ้าสูงสุดที่เครื่องวัดสามารถวัดได้ ดังแสดงในรูป มีค่าเท่ากับ 1 mAอย่างไรก็ตามถ้าต้องการวัดกระแสไฟฟ้าในย่านตั้งแต่ 0 ถึง 1 mAจำเป็นที่จะต้องมีเส้นทางให้กระแสไฟฟ้า 9 mAไหลผ่าน เพื่อให้กระแสไฟฟ้าเพียงแค่ 1 mAเท่านั้นที่จะไหลผ่านเข้าไปยังขดลวดอาร์มาเจอร์ ตัวต้านทานขนาน หรือตัวต้านทานชันท์ ( Shunt Resistor , Rsh ) ที่จะนำมาต่อกับตัวต้านทานภายใน เพื่อที่จะเป็นทางผ่านของกระแสไฟฟ้าที่จะทำความเสียหายให้กับเครื่องวัดดังแสดงในรูป โดยค่าของตัวต้านทานชันท์นี้สามารถคำนวณได้จากการหาค่าแรงดันไฟฟ้าที่ตกคร่อม Rshก่อน

  14. รูปแสดงแอมมิเตอร์ขนาด 10 mA

  15. เพื่อที่จะทำให้แอมมิเตอร์สามารถวัดกระแสไฟฟ้าได้หลาย ๆ ย่าน จึงได้ออกแบบให้สามารถเลือกตัวต้านทานชันท์ค่าต่าง ๆ ที่จะมาต่อขนานกับตัวต้านทานภายใน ดังแสดงในรูป (ก)ถ้าสวิตซ์เลื่อนไปที่ ตำแหน่ง A (ย่าน 0 ถึง 1 mA ) ไม่จำเป็นต้องต่อตัวต้านทานชันท์เนื่องจากกระแส FSD ที่ไหบผ่านขดลวดเคลื่อนที่มีค่าเท่ากับ 1 mAอยู่แล้วถ้าสวิตซ์เลื่อนไปที่ ตำแหน่ง B (ย่าน 0 ถึง 10 mA ) เท่ากับว่าได้เลือกตัวต้านทานชันทีค่า 5.6 (ได้คำนวนไปก่อนแล้ว ) เพื่อที่จะแบ่งกระแสไฟฟ้าค่า 9 mAให้ไหลผ่านและยอมให้กระแสค่า 1 mAเท่านั้นที่ไหลผ่าน Rm ในตำแหน่ง C (ย่าน 0 ถึง 100 (ย่าน 0 ถึง 100 mA ) เลื่อนสวิตซ์ไปตำแหน่งตัวต้านทานชันท์ที่จะแบ่งปริมาณกระแสไฟฟ้า 99 mAออกจากขดลวดเคลื่อนที่ เมื่อทำการวัดกระแสไฟฟ้าค่า 100 mAค่าความต้านทานชันท์นี้คำนวนได้จาก

  16. รูปแสดงแอมมิเตอร์ที่มีย่านการวัดหลายย่านรูปแสดงแอมมิเตอร์ที่มีย่านการวัดหลายย่าน

  17. สุดท้ายถ้าสวิตซ์เลื่อนไป ตำแหน่ง D (ย่าน 0 ถึง 1000 mA ) เท่ากับว่าได้เลือก Rsh3ขนานกับ Rmเพื่อที่จะแบ่งกระแสไฟฟ้า 999 mAออกจากขดลวดเคลื่อนที่ ค่าความต้านทาน Rsh3 คำนวนได้จาก รูป (ข) แสดงรูปลักษณะภายนอกของสวิตซ์หมุนแอมมิเตอร์ที่ใช้สำหรับเลือกย่านการวัดกระแสไฟฟ้าที่ต้องการส่วนการต่อแอมมิเตอร์เพื่อวัดกระแสไฟฟ้าในวงจร ดังแสดงในรูป (ค)

  18. การวัดกระแสไฟฟ้า ข้อควรปฏิบัติเมื่อใช้แอมมิเตอร์วัดปริมาณกระแสไฟฟ้าในวงจร ดังนี้ 1. เลือกย่านการวัดให้มีค่าสูงสุดก่อนเสมอ จากนั้นค่อยลดย่านการวัดลงตามค่ากระแสไฟฟ้าที่ทำการวัดได้ ทั้งนี้เพื่อป้องกันความเสียหายไม่ให้เกิดขึ้นกับแอมมิเตอร์2. ต่อสายสีแดง ( + ) ของแอมมิเตอร์เข้ากับด้านที่มีศักย์ไฟฟ้าเป็นบวก และสายสีดำ ( - )เข้ากับด้านที่มีศักย์ไฟฟ้าเป็นลบของวงจร3. การต่อแอมมิเตอร์จะต้องต่อในเส้นทางที่มีกระแสไฟฟ้าไหล นั่นคือ จะต้องทำาการเปิดวงจรก่อน จากนั้นจึงนำแอมมิเตอร์ไปต่ออันดับเข้ากับวงจร4. ค่าความคลาดเคลื่อนของเครื่องวัดแบบแอนะล็อก ส่วนใหญ่จะประมาณ ของค่าที่อ่านได้เต็มสเกล ดังนั้น การอ่านค่ากระแสไฟฟ้าควรที่จะอ่านค่าให้ใกล้เคียงกับเต็มสเกลให้มากที่สุด ตัวอย่างเช่น ถ้ากระแสไฟฟ้าค่า 7 mAวัดจากสเกล 10 mAค่าความคลาดเคลื่อนสูงสุดเท่ากับ +- 0.3 mAดังนั้นค่าที่วัดได้จะมีค่าตั้งแต่ 6.7 - 7.3 mA5. โดยปกติแล้วเครื่องวัดแบบแอนะล็อกจะมีกระจกติดตั้งอยู่ที่สเกลบริเวณด้านหลังเข็มทของเครื่องวัด ซึ่งจะช่วยสะท้อนเงาของเข็มให้ปรากฏบนกระจก ดังนั้น ขณะทำการอ่านค่าจะต้องมองในลักษณะตั้งตรง เพื่อให้เข็มของเครื่องวัดและเงาในกระจกทับกันพอดีจึงจะได้ค่าของการวัดที่ถูกต้อง

  19. โวลท์มิเตอร์ การเพิ่มของแรงดันไฟฟ้าทำให้ปริมาณของกระแสไฟฟ้าเพิ่มมากขึ้นด้วย จากความสัมพันธ์ระหว่างแรงดันไฟฟ้า และกระแสไฟฟ้าในลักษณะนี้ จึงสามารถนำเอาหลักการทำงานของเครื่องวัดชนิดขดลวดเคลื่อนที่มาใช้วัดแรงดันไฟฟ้าได้ ดังแสดงในรูป (ก)จากรูป Im = 1 mAและ Rm = 10 ถ้าต่อแหล่งจ่ายแรงดันไฟฟ้าขนาด 10 mV เข้ากับขดลวดที่มีค่าความต้านทานภายใน 10 จะทำให้มีกระแสไฟฟ้าไหล 1 mA กระแสไฟฟ้า 1 mAนี้จะทำให้เข็มของเครื่องวัดเบี่ยงเบนเต็มสเกล (FSD) และสามารถทำการวัดแรงดันไฟฟ้าใด ๆ ที่อยู่ในย่านระหว่าง 0 ถึง 10 mV ได้

  20. ย่านการวัดของโวลต์มิเตอร์ย่านการวัดของโวลต์มิเตอร์ เพื่อที่จะวัดแรงดันไฟฟ้าที่มีขนาดมากกว่า 10 mV จะต้องใช้ตัวต้านทานที่เรียกว่า ตัวต้านทานแบบตัวคูณ (Multiplier Resistor ) ต่อเพิ่มเข้าไปเพื่อที่จะแบ่งแรงดันไฟฟ้าที่เพิ่มเข้ามานี้ ตัวอย่างเช่น ถ้าต้องการวัดแรงดันไฟฟ้าย่านตั้งแต่ 0 ถึง 100 mV ก่อนอื่นจะต้องตระหนักว่าแรงดันไฟฟ้าขนาด 10 mV ที่ตกคร่อมค่าความต้านทานของขดลวดเคลื่อนที่ ( Rm = 10  ) = 1 mA ) และเข็มของเครื่องวัดจะชี้เต็มสเกลพอดี ดังนี้ เมื่อต้องการวัดแรงดันไฟฟ้าขนาด 100 mV จะต้องนำตัวต้านทานแบบตัวคูณมาต่ออันดับกับ Rmเพื่อที่จะแบ่งแรงดันไฟฟ้าที่เพิ่มเข้ามาขนาด 90 mV นี้ โดยค่าความต้านทานของตัวต้านทานแบบตัวคูณนี้สามารถคำนวณได้จาก กฎของโอห์ม ดังนี้ ทำให้เกิดกระแสไฟฟ้าไหล 1 mA ( Im = 10 mV/10

  21. ถ้าติดตั้งสวิตซ์เลือกตำแหน่งเข้ากับวงจรภายใน ดังแสดงในรูป (ข) ทำให้สามารถเลือกได้ทั้งตำแหน่ง A นั้นคือ ตัดตัวต้านทานแบบตัวคูณออกไปเพื่อให้วัดค่าแรงดันไฟฟ้าขนาด 10 mV ได้ หรือเลือกที่ตำแหน่ง B เพื่อให้ตัวต้านทานแบบตัวคูณต่ออันดับเข้ากับ Rmและสามารถวัดแรงดันไฟฟ้าในย่าน 100 mV ได้รูป (ก) แสดงโวลต์มิเตอร์ที่มีย่านวัดหลายย่าน ซึ่งวงจรภายในประกอบด้วยตัวต้านทานแบบตัวคูณ 4 ตัว เพื่อใช้สำหรับเลือกย่านการวัดในแต่ละย่าน ตำแหน่ง A ถ้าเลือกย่านการวัดที่ 10 mV จึงไม่จำเป็นที่จะต้องต่อตัวต้านทานแบบตัวคูณเข้ากับวงจร เนื่องจากว่าถ้าต่อแรงดันไฟฟ้าขนาด 5 mV คร่อมขั้วบวกและขั้วลบของเครื่องวัดจะทำให้เข็มของเครื่องวัดชี้แสดงครึ่งหนึ่งของ FSD แต่ถ้าต่อแรงดันไฟฟ้าขนาด 10 mV จะทำให้เข็มเบี่ยงเบนไปเต็ม FSD ตำแหน่ง B ถ้าเลือกย่านการวัดที่ 10 mV แรงดันไฟฟ้าที่เพิ่มเข้ามาซึ่งมีค่าเท่ากับ 90 mA ( 100 mA - 10 mV ) จะต้องไปตกคร่อมที่ตัวต้านทานแบบตัวคูณตัวแรก ( Rmlt1 ) ซึ่งมีค่าความต้านทานเท่ากับ

  22. ตำแหน่ง C ถ้าเลือกย่านการวัดที่ 1 V ( 1,000 mV ) แรงดันไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้นซึ่งเท่ากับ 990 mV (1,000 mV - 10 mV ) จะต้องไปตกคร่อมที่ตัวต้านทานแบบตัวคูณที่สอง ( Rmlt2 ) ซึ่งมีค่าความต้านทานเท่ากับ ตำแหน่ง D เลือกย่านการวัด 10 V หรือ 10,000 mV ซึ่งส่วนต่างของแรงดันไฟฟ้าเท่ากับ 10,000 mV - 10 mV = 9,990 mV  ตำแหน่ง E เลือกย่านการวัด 100 V หรือ 100,000 mV มีส่วนต่างของแรงดันไฟฟ้าเท่ากับ 100,000 mV - 10 = 99,990 mV

  23. รูปแสดงโวลต์มิเตอร์ที่มีย่านการวัดหลายย่านรูปแสดงโวลต์มิเตอร์ที่มีย่านการวัดหลายย่าน รูป (ข) แสดงรูปลักษณะภายนอกของสวิตซ์เลือกตำแหน่ง ซึ่งจะใช้สำหรับเลือกย่านแรงดันไฟฟ้าที่ต้องการวัด ส่วนรูป (ค) แสดงการใช้โวลต์มิเตอร์วัดแรงดันไฟฟ้าในวงจร

  24. การวัดแรงดันไฟฟ้า ข้อควรปฏิบัติเมื่อใช้โวลต์วัดแรงดันไฟฟ้าในวงจร มีดังนี้ 1. ต้องตั้งย่านการวัดให้อยู่ในย่านสูงสุดก่อนเสมอ (100 V) จากนั้นจึงค่อยลดลงตามขนาดของแรงดันไฟฟ้าที่ทำการวัดได้2. ต่อสายสีแดง ( + ) เข้ากับด้านที่มีศักย์ไฟฟ้าเป็นบวก และต่อสายสีดำ ( - ) เข้ากับด้านที่มีศักย์ไฟฟ้าเป็นลบ3. การต่อโวลต์มิเตอร์จะต้องต่อขนานกับตัวอุปกรณ์ที่ต้องการวัด4. ค่าความคลาดเคลื่อนของแรงดันไฟฟ้าที่วัดได้จากเครื่องวัดแบบแอนะล็อก จะมีค่าประมาณ 3% ดังนั้น ถ้าวัดแรงดันไฟฟ้าขนาด 7 V ค่าที่อ่านได้จะประมาณ 6.7-7.3 V5. การอ่านค่าแรงดันไฟฟ้าจากเครื่องวัดจะต้องอ่านในลักษณะตั้งตรงกับเข็มของเครื่องวัดทั้งนี้เพื่อให้เข็มของเครื่องวัดและเงาของเข็มในกระจกทับกันพอดีจึงจะได้ค่าที่ถูกต้อง

  25. โอห์มมิเตอร์ ค่าความต้านทานสามารถวัดโดยใช้เครื่องวัดที่อาศัยหลักการทำงานของขดลวดเคลื่อนที่เช่นเดียวกัน จากรูป (ก) แสดงโครงสร้างภายในของโอห์มมิเตอร์ สิ่งที่แตกต่างของเครื่องวัดชนิดนี้ คือ แบตเตอรี่ขนาด 1.5 V ที่ใช้เป็นแหล่งจ่ายกระแสไฟฟ้าเมื่อใช้วัดค่าความต้านทานเมื่อนำสายวัดมาแตะกันเข็มของเครื่องวัดจะชี้เต็มสเกล (0  ) โดยสามารถปรับค่าความต้านทานจนเข็มชี้ FSD ( 1 mA ) ค่าความต้านทานรวมที่ทำให้เข็มของเครื่องวัดชี้เต็มสเกลนี้มีค่าเท่ากับ

  26. เนื่องจากค่าความต้านทานของขดลวดเคลื่อนที่ (Rm) มีค่าเท่ากับ 10 ดังนั้น ตัวต้านทานชนิดปรับค่าได้ภายในจึงต้องปรับให้มีค่าเท่ากับ 1,490 เพื่อที่จะทำให้ค่าความต้านทานรวมของวงจรเท่ากับ 1,500 (1,500 - 10 = 1,490  ) และทำให้เกิดกระแสไฟฟ้าสูงสุด ( Im ) ที่ทำให้เข็มชี้เต็มสเกล (FSD) ซึ่งมีค่าเท่ากับ 1 mAการปรับค่าความต้านทานให้เครื่องวัดชี้ที่ตำแหน่ง 0 นี้เรียกว่า การปรับค่าศูนย์โอห์ม (Zero -Ohms Adjust) โดยเมื่อนำสายวัดมาแตะกันเข็มของเครื่องวัดชี้เต็มสเกล (ด้านขวาสุด) ซึ่งแสดงว่าไม่มีค่าความต้านทานระหว่างสายวัดทั้งสอง (0  ) แต่เมื่อมีค่าความต้านทานใด ๆ อยู่ระหว่างสายวัดทั้งสองค่าความต้านทานนี้จะทำให้ระยะการเบี่ยงเบนของเข็มชี้เปลี่ยนแปลงไป โดยถ้าค่าความต้านทานสูงจะทำให้กระแสไฟฟ้าไหลผ่านวงจรได้น้อย ส่งผลให้การเบี่ยงเบนของเข็มชี้เกิดขึ้นน้อยตามไปด้วย ดังในรูป ( ข )

  27. เหตุที่ต้องปรับค่าศูนย์โอห์มให้กับเครื่องวัดเนื่องจากการคายประจุของแบตเตอรี 1.5 V ภายในของเครื่องวัดเมื่อเวลาผ่านไปนั่นเอง การลดค่าความต้านทานของตัวต้านทานปรับค่าได้จะทำให้ค่ากระแสสูงสุด (Im) ยังคงทำให้เข็มชี้เต็มสเกล (FSD) อยู่เช่นเดิม นั่นคือ มีกระแสไฟฟ้าปริมาณ 1 mAไหล เมื่อนำสายวัดทั้งสองมาแตะกัน ตัวอย่างเช่น เมื่อแบตเตอรี่ภายในคายประจุจนเหลือแรงดันไฟฟ้า 1 V จะต้องทำการปรับค่าความต้านทานให้เท่ากับ 990 ดังนั้น ค่าความต้านทานของวงจรในเครื่องวัดจึงมีค่าเท่ากับ

  28. ซึ่งขณะนี้ถือว่าเครื่องวัดได้ทำการปรับศูนย์โอห์มแล้ว เนื่องจากมีกระแสไฟฟ้าไหลเข้าไปในขดลวดเคลื่อนที่มีค่าเท่ากับ 1 mAและทำให้เข็มชี้เต็มสเกล FSDรูปที่ 14 - 13 (ก) แสดงตัวอย่างของโอห์มมิเตอร์ที่มีกระแสไฟฟ้าไหลภายใน 1 mAและมีค่าความต้านทานของขดลวด 10 โดยนำโอห์มมิเตอร์นี้มาวัดตัวต้านทาน 3 ค่า เพื่อแสดงให้เห็นถึงการตอบสนองของโอห์มมิเตอร์ต่อการวัดค่าความต้านทาน รูปแสดงการตอบสนองของโอห์มมิเตอร์ต่อตัวต้านทานค่าต่างๆ

  29. 1. ถ้านำสายวัดทั้งสองมาแตะกัน ค่าความต้านทานรวมของวงจรจะมีค่าเท่ากับ และทำให้เข็มชี้เบี่ยงเบนไปเต็มสเกล ดังแสดงในรูป (ข)

  30. 2. ถ้าวัดตัวต้านทานค่า 1,500 ค่าความต้านทานรวมของวงจรจะมีค่าเท่ากับ เนื่องจากกระแสไฟฟ้า 1 mAทำให้เข็มชี้เต็มสเกล ดังนั้นกระแสไฟฟ้า 0.5 mAจึงทำให้เข็มเบี่ยงเบนไปครึ่งหนึ่งของสเกล ดังแสดงในรูป (ค)

  31. 3. ถ้าวัดตัวต้านทานค่า 4,500 ค่าความต้านทานรวมของวงจรจะมีค่าเท่ากับ ดังนั้น กระแสไฟฟ้า 0.25 mAจึงทำให้เข็มของเครื่องวัดเบี่ยงเบนไป 1 ใน 4 ของสเกล ดังแสดงในรูปที่ 14 - 13 (ง)

  32. ย่านการวัดของโอห์มมิเตอร์ย่านการวัดของโอห์มมิเตอร์ รูป (ก) แสดงรูปลักษณะภายนอกของโอห์มมิเตอร์ ซึ่งมีย่านการวัดหลายย่านส่วนรูป (ข) แสดงค่าความต้านทานที่ต่อแบบอันดับ และค่าความต้านทานชันท์ที่ต่ออยู่ภายในเพื่อใช้สำหรับเลือกย่านการวัดค่าความต้านทานที่แตกต่างกัน สำหรับย่านการวัดของโอห์มมิเตอร์นี้จะแปลความหมายแตกต่างไปจากของแอมมิเตอร์ และโวลต์มิเตอร์ ดังแสดงในรูป (ก) ย่านการวัด R x 1, R x 10 และ R x 100 จะใช้เป็นค่าตัวคูณกับค่าที่อ่านได้ ตัวอย่างเช่น ถ้าเข็มชี้ที่ตำแหน่ง 500 และตั้งย่านการวัดที่ R x 10 ดังนั้น ค่าความต้านทานที่วัดได้จริงจะมีค่าเท่ากับ

  33. ภายในโอห์มมิเตอร์จะมีแบตเตอรีขนาดเล็ก 1.5 V ซึ่งจะใช้สำหรับย่านการวัด R x 1, R x 10 และ R x 100 และใช้แบตเตอรีขนาด 9 หรือ 15 V สำหรับย่านการวัด R x 1000 หรือสูงกว่ารูป ( ข ) แสดงวงจรภายในของโอห์มมิเตอร์ เมื่อเลือกย่านการวัด R x 1 ซึ่งจะไม่มีตัวต้านทานแบบตัวคูณมาต่ออันดับ หรือตัวต้านทานชันท์มาต่อชขนานกับตัวต้านทานภายใน ดังนั้นเมื่อนำสายวัดทั้งสองมาแตะกันจึงทำให้เข็มของเครื่องวัดชี้ไปด้านขวาสุดของสเกล (0  ) รูปแสดงโอห์มมิเตอร์ที่มีย่านการวัดหลายย่าน

  34. การวัดค่าความต้านทานด้วยโอห์มมิเตอร์การวัดค่าความต้านทานด้วยโอห์มมิเตอร์ ข้อควรปฏิบัติเมื่อใช้โอห์มมิเตอร์วัดค่าความต้านทานในวงจร มีดังนี้ 1. นำปลายสายวัดทั้งสองมาแตะกัน จากนั้นให้ปรับที่ปุ่ม Zero - Ohms Adjust เพื่อให้เข็มของเครื่องวัดชี้ที่ตำแหน่ง 0  การทำเช่นนี้เพื่อตรวจสอบว่าเครื่องวัดยังทำงานได้ถูกต้อง2. ต้องแน่ใจว่าไม่ม่แหล่งจ่ายแรงดันไฟฟ้าต่อเข้ากับอุปกรณ์ที่ต้องการวัด ทั้งนี้เนื่องจากแรงดันไฟฟ้าที่มีอยู่ในวงจรเมื่อรวมกับแรงดันไฟฟ้าของแบตเตอรี่ภายในจะทำให้มีกระแสไฟฟ้าไหลในวงจรมากเกินไป ซึ่งจะทำความเสียหายให้กับเครื่องวัดได้3. ต่อสายวัดคร่อมกับอุปกรณ์ที่ต้องการวัด อ่านค่าที่วัดได้จากสเกล จากนั้นนำค่าที่อ่านได้คูณเข้ากับย่านาการวัดที่ตั้งไว้ ได้แก่ x1 , x10 , x100 , x1,000 หรือมากกว่า4. เมื่อทำการวัดค่าความต้านทานของอุปกรณ์ใด ๆ ขณะที่อุปกรณ์นั้นยังต่ออยู่ในวงจรจะทำให้ค่าที่วัดได้ผิดพลาด ทั้งนี้เนื่องจากผลของตัวต้านทานอื่นที่อาจต่อขนานกับอุปกรณ์ที่ต้องการวัดนี้ การแก้ไขทำได้โดยให้ปลดปล่อยด้านหนึ่งของอุปกรณ์ที่ต้องการวัดออก จากนั้นจึงทำการวัด

More Related