1 / 43

บทที่ 7 ตัวแบบมาร์คอฟ (Markov Model)

บทที่ 7 ตัวแบบมาร์คอฟ (Markov Model). ตัวแบบมาร์คอฟ (Markov Model) คือ ตัวแบบทางคณิตศาสตร์ที่ใช้ในการวิเคราะห์พฤติกรรมของตัวแปร เพื่อพยากรณ์พฤติกรรมในอนาคตของตัวแปรนั้น วิธีการใช้ตัวแบบมาร์คอฟ ได้รับ การพัฒนาโดยนักคณิตศาสตร์ ชาวรัสเซีย ชื่อ อังเดร เอ มาร์คอฟ. คุณสมบัติสำคัญของปัญหา

daquan-neal
Télécharger la présentation

บทที่ 7 ตัวแบบมาร์คอฟ (Markov Model)

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. บทที่ 7 ตัวแบบมาร์คอฟ (Markov Model)

  2. ตัวแบบมาร์คอฟ (Markov Model) คือตัวแบบทางคณิตศาสตร์ที่ใช้ในการวิเคราะห์พฤติกรรมของตัวแปรเพื่อพยากรณ์พฤติกรรมในอนาคตของตัวแปรนั้น วิธีการใช้ตัวแบบมาร์คอฟได้รับ การพัฒนาโดยนักคณิตศาสตร์ ชาวรัสเซียชื่ออังเดรเอมาร์คอฟ

  3. คุณสมบัติสำคัญของปัญหาคุณสมบัติสำคัญของปัญหา ที่จะนำตัวแบบมาร์คอฟมาแก้ปัญหา 1. ปัญหานั้นต้องมีผลลัพธ์ที่จะเกิดขึ้นจำนวนที่แน่นอนจำนวนหนึ่ง

  4. 2. ค่าความน่าจะเป็นของผลลัพธ์ถัดไปต้องขึ้นอยู่กับผลลัพธ์ก่อนหน้านั้น ?

  5. 3. ค่าความน่าจะเป็นของการเกิดผลลัพธ์ต่างๆต้องมีค่าคงที่เสมอไม่เปลี่ยนแปลงตามเวลาที่เปลี่ยนไป

  6. ลูกโซ่มาร์คอฟ

  7. ลูกโซ่มาร์คอฟ (Markov Chain) คือลำดับของการเกิดเหตุการณ์ซึ่งค่าความน่าจะเป็นของการเกิดเหตุการณ์แต่ละเหตุการณ์จะขึ้นอยู่กับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ก่อนหน้านั้น

  8. 1. เหตุการณ์ (Event) :สิ่งที่อาจเกิดขึ้นหรือการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น 2. สถานะ (State) :สภาพที่เป็นอยู่ในเวลาใดเวลาหนึ่งซึ่งสถานะนั้นๆอาจจะเปลี่ยนแปลงหรือไม่เปลี่ยนแปลงก็ได้แต่ในระยะยาวสถานะนั้นๆจะคงที่

  9. สัญลักษณ์ Sแทนสถานะ j ใดๆ (เมื่อ j = 1, 2, 3, …n) เช่นบริษัทหนึ่งมีพนักงาน 3 สถานะ (ระดับ) S1 = พนักงานระดับปฏิบัติการ S2 = หัวหน้างาน S3 = ผู้บริหาร

  10. 3. ความน่าจะเป็นแบบทรานสิชั่น (Transition Probability)

  11. 3. ความน่าจะเป็นแบบทรานสิชั่น (Transition Probability) สัญลักษณ์ Pij แทนความน่าจะเป็นของการเปลี่ยนแปลงสถานะจาก Si ไป Sj เช่น P12 = 0.1 หมายถึงความน่าจะเป็นของการเปลี่ยนแปลงสถานะจาก S1 ไปเป็น S2 มีค่าเท่ากับ 0.1

  12. การแสดงค่าความน่าจะเป็นแบบทรานสิชั่นสามารถทำได้ 2 วิธี วิธีที่ 1การใช้ไดอะแกรมแสดงสถานะ (State Diagram) P12 = 0.4 0.7 0.6 S1 S2 P22 P11 P21 = 0.3

  13. จากสถานะ เปลี่ยนไปเป็นสถานะ รวม S1 S2 S1 0.6 0.4 1 S2 0.3 0.7 1 วิธีที่ 2การใช้ทรานสิชั่นแบบเมทริกซ์ (Transition Matrix)

  14. 4. ค่าความน่าจะเป็นแบบทรานเชียนท์ (Transient Probability)

  15. 4. ค่าความน่าจะเป็นแบบทรานเชียนท์ (Transient robability) ค่าความน่าจะเป็นของการอยู่ในสถานะใดสถานะหนึ่งของลูกโซ่มาร์คอฟ (ค่าความน่าจะเป็นระยะสั้น) ก่อนที่จะเข้าสู่สถานะคงตัว สูตร P(S1) = P11 P(S1) + P21 P(S2) + P31 P(S3) + … Pn1 P(Sn) P(S2) = P12 P(S1) + P22 P(S2) + P32 P(S3) + … Pn2 P(Sn) P(S3) = P13 P(S1) + P23 P(S2) +P33 P(S3) นำค่าความน่าจะเป็นในตารางทรานสิชั่นเมทริกซ์มาแทนค่าในสูตรเพื่อหาค่าความน่าจะเป็น

  16. 0.4 0.6 0.3 S1 S3 0.1 0.1 0.1 0.3 0.3 S2 0.8 ตัวอย่างที่ 7.2 หน้า 172 กรณีลูกโซ่มาร์คอฟมี 3 สถานะ จากไดอะแกรมข้างต้นนำมาเขียนในรูปของเมตริกซ์ เพื่อง่ายในการคำนวณ

  17. จากสถานะ เปลี่ยนไปเป็นสถานะ รวม S1 S2 S3 S1 0.4 0.3 0.3 1 S2 0.1 0.8 0.1 1 S3 0.1 0.3 0.6 1 กำหนดให้ P(S1) = 0.4 P(S2) = 0.3 P(S3) = 0.3 (ค่าความน่าจะเป็นณปัจจุบัน)

  18. การหาค่าความน่าจะเป็นในระยะสั้น (ทรานเชียนท์) (ค่าความน่าจะเป็นในครั้งถัดไป) โดยการนำค่าความน่าจะเป็นณปัจจุบันไปคูณกับความน่าจะเป็นของการเปลี่ยนสถานะหนึ่งไปยังอีกสถานะหนึ่ง

  19. P(S1) = P11 P(S1) + P21 P(S2) + P31 P(S3) สูตร • = (0.4)(0.4) + (0.1)(0.3) + (0.1)(0.3) • = 0.16 + 0.03 + 0.03 • = 0.22

  20. P(S2) = P12 P(S1) + P22 P(S2) + P32 P(S3) • = (0.3)(0.4) + (0.8)(0.3) + (0.3)(0.3) • = 0.12 + 0.24 + 0.09 • = 0.45

  21. P(S3) = P13 P(S1) + P23 P(S2) + P33 P(S3) • = (0.3)(0.4) + (0.1)(0.3) + (0.6)(0.3) • = 0.12 + 0.03 + 0.18 • = 0.33

  22. ครั้งที่ P(S1) P(S2) P(S3) 1 0.4 0.3 0.3 = 1 2 0.22 0.45 0.33 = 1 3 0.166 0.525 0.309 = 1 4 0.150 0.565 0.285 = 1 5 0.145 0.580 0.275 = 1 ผลของการคำนวณค่าความน่าจะเป็นแบบทรานเชี่ยน ในครั้งต่อๆไป

  23. ครั้งที่ 3 • P(S1) = (0.4)(0.22) + (0.1)(0.45) + (0.1)(0.33) • = 0.088 + 0.045 + 0.033 • = 0.166 • P(S2) = (0.3)(0.22) + (0.8)(0.45) + (0.3)(0.33) • = 0.066 + 0.36 + 0.099 • = 0.525

  24. P(S3) = (0.3)(0.22) + (0.1)(0.45) + (0.6)(0.33) • = 0.066 + 0.045 + 0.198 • = 0.309 • หรือP(S3) = 1 – P(S1) – P(S2) • = 1 – 0.166 – 0.525 • = 0.309

  25. 5. ความน่าจะเป็นแบบสเตดีเสตท (Steady – State Probability)

  26. ความน่าจะเป็นแบบสเตดีเสตทความน่าจะเป็นแบบสเตดีเสตท (Steady – State Probability) ความน่าจะเป็นของการอยู่ในสถานะใดสถานะหนึ่งของ ลูกโซ่มาร์คอฟซึ่งมีค่าคงตัว (ค่าความน่าจะเป็นในระยะยาว)

  27. จากสถานะ เปลี่ยนไปเป็นสถานะ S1 S2 S1 0.75 0.25 S2 0.25 0.75 P(S1) = P11 P(S1) + P21 P(S2) P(S2) = P12 P(S1) + P22 P(S2) P(S1) + P(S2) = 1 ตัวอย่าง 7.3 หน้า 175 สูตร หาค่าความน่าจะเป็นของ P(S1), P(S2), P(S3) โดยวิธีแก้สมการ

  28. วิธีทำ แทนค่าP11 = 0.75, P21 = 0.25 P12 = 0.25, P22 = 0.75 P(S1) = P11 P(S1) + P21 P(S2) = 0.75 P(S1) + 0.25 P(S2) P(S2) = P12 P(S1) + P22 P(S2) = 0.25 P(S1) + 0.75 P(S2) P(S1) + P(S2) = 1 1 2 3

  29. แก้สมการหาค่า P(S1) จากสมการ 1 P(S1) = 0.75 P(S1) + 0.25 P(S2) P(S1) – 0.75 P(S1) = 0.25 P(S2) 0.25 P(S1) = 0.25 P(S2) P(S1) = P(S2)

  30. แก้สมการหาค่า P(S2) จากสมการ 2 • P(S2) = 0.25 P(S1) + 0.75 P(S2) • P(S2) – 0.75 P(S2) = 0.25 P(S1) • 0.25 P(S2) =0.25 P(S1) • P(S2) = P(S1) • จากสมการ 3 P(S1) + P(S2) = 1 • จากการแก้สมการ 1, 2, 3 จะได้ P(S1) = P(S2) • P(S1) = 0.5 • P(S2) = 0.5

  31. โจทย์หน้า 180 – 182 • บริษัทแห่งหนึ่งมีพนักงานในระดับต่างๆรวมทั้งสิ้น 500 คนดังนี้ • ระดับ 1 มีจำนวน 350 คนคิดเป็น 70% • ระดับ 2 มีจำนวน 100 คนคิดเป็น 20% • ระดับ 3 มีจำนวน 50 คนคิดเป็น 10%

  32. จากสถานะ เปลี่ยนไปเป็นสถานะ 1 2 3 1 0.90 0.10 0.00 2 0.20 0.75 0.05 3 0.10 0.00 0.90 พนักงานแต่ละระดับมีการเปลี่ยนแปลงสถานะดังนี้

  33. นโยบายของบริษัทกำหนดไว้ว่าเมื่อไรที่มีคนออกไม่ว่าจะเป็นพนักงานระดับใดจะทำการจ้างพนักงานระดับ 1 เข้ามาทดแทนจำนวนที่ขาดไป ให้วิเคราะห์หาสัดส่วนของพนักงานในปีหน้าและสัดส่วนของพนักงานในระยะยาว

  34. วิธีทำ 1. หาสัดส่วนพนักงานปีหน้า (ความน่าจะเป็นแบบทรานเชียนท์) กำหนดให้P(S1) = พนักงานระดับ 1 = 0.7 P(S2) = พนักงานระดับ 2 = 0.2 P(S3) = พนักงานระดับ 3 = 0.1

  35. สูตรP(S1) = P11 P(S1) + P21 P(S2) + P31 P(S3) • = (0.9)(0.7) + (0.2)(0.2) + (0.1)(0.1) • = 0.63 + 0.04 + 0.01 • = 0.68 • P(S2) = P12 P(S1) + P22 P(S2) + P32 P(S3) • = (0.1)(0.7) + (0.75)(0.2) + (0)(0.1) • = 0.07 + 0.15 + 0 • = 0.22

  36. P(S3) = P13 P(S1) + P23 P(S2) + P33 P(S3) • = (0)(0.7) + (0.05)(0.2) + (0.9)(0.1) • = 0 + 0.01 + 0.09 • = 0.10 • หรือP(S3) = 1 - P(S1) - P(S2) • = 1 – 0.68 – 0.22 • = 0.10

  37. ในปีหน้าจำนวนพนักงานในระดับต่างๆจะเป็นดังนี้ในปีหน้าจำนวนพนักงานในระดับต่างๆจะเป็นดังนี้ จำนวนพนักงานระดับ 1 มีสัดส่วนเป็น68%หรือ340คน จำนวนพนักงานระดับ 2 มีสัดส่วนเป็น22%หรือ110คน จำนวนพนักงานระดับ 3 มีสัดส่วนเป็น10%หรือ50คน

  38. 2. หาสัดส่วนพนักงานในระยะยาว • (ความน่าจะเป็นแบบสเตดีสเตท) • สร้างสมการจากตัวแบบมาร์คอฟ • P(S1) = 0.9 P(S1) + 0.2 P(S2) + 0.1 P(S3) • P(S2) = 0.1 P(S1) + 0.75 P(S2) + 0 P(S3) • P(S3) = 0 P(S1) + 0.05 P(S2) + 0.9 P(S3) • P(S1) + P(S2) + P(S3) = 1 1 3 2 4

  39. แก้สมการหาค่า P(S1), P(S2), P(S3) พิจารณาสมการ 2 P(S2) = 0.1 P(S1) + 0.75 P(S2) + 0 P(S2) – 0.75 P(S2) = 0.1 P(S1) 0.25 P(S2) = 0.1 P(S1) (0.1 หาร) 2.5 P(S2) = P(S1) หรือเอา 0.25 หารจะได้ P(S2) = 0.4 P(S1) 5

  40. พิจารณาสมการ 3 P(S3) = 0 + 0.05 P(S2) + 0.9 P(S3) P(S3) – 0.9 P(S3) = 0.05 P(S2) 0.1 P(S3) = 0.05 P(S2) (0.1 หาร) P(S3) = 0.5 P(S2) หรือเอา 0.05 หารจะได้ 2 P(S3) = P(S2) 6

  41. แทนค่าในP(S1) + P(S2) + P(S3) = 1 2.5 P(S2) + P(S2) + 0.5 P(S2) = 1 4 P(S2) = 1 P(S2) = 0.25

  42. แทน P(S2) ในสมการ 5, 6 • P(S1) = 2.5 P(S2) • = 2.5 (0.25)= 0.625 • P(S3) = 0.5 P(S2) • = 0.5 (0.25) = 0.125 • จะได้ : • P(S1) = 0.625 • P(S2) = 0.25 • P(S3) = 0.125

  43. พนักงานระดับ 1 มีสัดส่วน62.5%หรือ312คน (312.5) พนักงานระดับ 2 มีสัดส่วน25%หรือ125 คน พนักงานระดับ 3 มีสัดส่วน12.5%หรือ63คน (62.5) หมายเหตุพนักงานระดับ 1, 3 ได้จากการปัดเศษให้เป็นจำนวนเต็ม

More Related