1 / 21

การประเมินผล โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตปาล์มน้ำมัน ปี 2552

การประเมินผล โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตปาล์มน้ำมัน ปี 2552. ส่วนประเมินผลพืช ศูนย์ประเมินผล. วันที่ 10 กันยายน 2553. การประเมินผล. ศูนย์ประเมินผล สศก. ในฐานะหน่วยงานสนับสนุนการดำเนินงานโครงการฯ ด้านการติดตามและประเมินผลเพื่อรายงานต่อคณะกรรมการบริหารกองทุนฯ

daw
Télécharger la présentation

การประเมินผล โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตปาล์มน้ำมัน ปี 2552

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. การประเมินผลโครงการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตปาล์มน้ำมัน ปี 2552 ส่วนประเมินผลพืช ศูนย์ประเมินผล วันที่ 10 กันยายน 2553

  2. การประเมินผล ศูนย์ประเมินผล สศก. ในฐานะหน่วยงานสนับสนุนการดำเนินงานโครงการฯ ด้านการติดตามและประเมินผลเพื่อรายงานต่อคณะกรรมการบริหารกองทุนฯ กอปรกับความสอดคล้องกับนโยบายสำคัญ จึงทำการประเมินผล เพื่อนำผลสู่การปรับปรุงการดำเนินงานต่อไป • วัตถุประสงค์ของการประเมินผล • เพื่อประเมินผลการดำเนินงานและผลกระทบเบื้องต้นที่มีต่อเกษตรกรผู้เข้าร่วมโครงการฯ • เพื่อให้ข้อเสนอแนะ สำหรับเป็นแนวทางในการปรับปรุงการดำเนินโครงการในระยะต่อไป ส่วนประเมินผลพืช ศปผ.

  3. ขอบเขตการประเมินผล 1. พื้นที่เป้าหมายของโครงการ ทำการประเมินผลครอบคลุมพื้นที่จังหวัดต่างๆ ตามเป้าหมายของโครงการ จำนวนทั้งสิ้น 23 จังหวัด ภาคใต้ 14 จังหวัด ภาคตะวันออก 7 จังหวัด ภาคตะวันตก 1 จังหวัด ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 1 จังหวัด ส่วนประเมินผลพืช ศปผ.

  4. ขอบเขตการประเมินผล 2. ประชากรเป้าหมาย 1) เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบหลักของโครงการฯ 2) กลุ่มเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการฯ แบ่งเป็น เกษตรกรรายเก่า เกษตรกรรายใหม่ และกลุ่มเกษตรกรผู้ผลิตปาล์มน้ำมัน 3. ช่วงเวลาของข้อมูล 1) ด้านการบริหารจัดการ ปัจจัยนำเข้า และผลได้จากโครงการใช้ข้อมูลในช่วง 2 ปี แรก (ปี 2551 – 2552) 2) การประเมินผลกระทบเบื้องต้น เป็นการประเมินผลจากการนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ของเกษตรกรที่ได้รับการอบรมในปี 2551 ส่วนประเมินผลพืช ศปผ.

  5. ผลกระทบ การบริหารจัดการ ผลได้ ปัจจัยนำเข้า วิธีการประเมินผล รูปแบบการประเมินผล M I O I Model ประเภทการประเมินผล การประเมินผลครั้งนี้ เป็นการประเมินผลในระหว่างการดำเนินงานโครงการฯ (On-going Evaluation) ส่วนประเมินผลพืช ศปผ.

  6. กรอบแนวคิดการประเมินผลกรอบแนวคิดการประเมินผล ผลกระทบระยะยาว (I) ผลผลิตปาล์มน้ำมันมีปริมาณและคุณภาพสอดคล้องความต้องการของโรงงาน ผลกระทบระยะสั้น (E) เกษตรกรผลิตปาล์มน้ำมันอย่างมี ประสิทธิภาพและมีรายได้เพิ่ม ผลได้ (O) - การผ่านการถ่ายทอดความรู้จากโครงการ ของ เจ้าหน้าที่ เกษตรกร และกลุ่มเกษตรกร - การนำความรู้ที่ได้รับไปปฏิบัติ เกษตรกรนำความรู้ที่ได้รับไปใช้ประโยชน์อย่างต่อเนื่อง การดำเนินกิจกรรมต่างๆ - การประชาสัมพันธ์โครงการ - รับสมัครเกษตรกรร่วมโครงการ - การถ่ายทอดความรู้แก่เจ้าหน้าที่ - การถ่ายทอดความรู้แก่เกษตรกร - การส่งเสริมและพัฒนากลุ่มผู้ผลิต ปาล์มน้ำมัน ผลการประเมินโครงการในภาพรวมตามตัวชี้วัดเปรียบเทียบกับ เป้าหมายและเกณฑ์ที่กำหนด ปัจจัยนำเข้า (I) - งบประมาณโครงการ - เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานโครงการ - เกษตรกรและกลุ่มเกษตรกร - พื้นที่จัดทำโครงการ - หลักสูตรในการถ่ายทอดความรู้ ข้อเสนอแนะแนวทางในการปรับปรุงการดำเนินงานโครงการ ที่เหมาะสมกับการเปลี่ยนแปลง การบริหารจัดการโครงการ (M) - องค์กรบริหารโครงการ - การดำเนินงานโครงการ - การติดตามกำกับงาน ส่วนประเมินผลพืช ศปผ.

  7. การบริหารจัดการ 1. องค์กรบริหารโครงการ กรมส่งเสริมการเกษตรไม่ได้มีการจัดโครงสร้างองค์กรในการบริหารโครงการฯ แต่ได้ดำเนินโครงการตามภาระหน้าที่ของหน่วยงาน แบ่งเป็น ส่วนกลางและส่วนภูมิภาค 2. การวางแผนการปฏิบัติงาน มีการวางแผนการปฏิบัติงานร่วมกันระหว่างหน่วยงานส่วนกลาง และส่วนภูมิภาค 3. การดำเนินงานตามแผนปฏิบัติงาน สามารถจัดกิจกรรมและดำเนินงานได้ตามระยะเวลาที่กำหนดในแผนปฏิบัติงาน ส่วนประเมินผลพืช ศปผ.

  8. การบริหารจัดการ (ต่อ) 4. การติดตามนิเทศงานโครงการ การติดตามนิเทศงานจากส่วนกลางในพื้นที่ดำเนินงาน ร้อยละ 84.85 ไม่มีการติดตามนิเทศงานจากส่วนกลาง ร้อยละ 15.15 มีการติดตามนิเทศงานจากส่วนกลาง มีจำนวนครั้งที่ลงพื้นที่เฉลี่ย 1 ครั้ง การลงพื้นที่เพื่อติดตามความก้าวหน้า รวมถึงการร่วมกิจกรรมต่างๆ เจ้าหน้าที่ในพื้นที่ฯ ได้มีการลงพื้นที่ร้อยละ 78.79 มีจำนวนครั้งที่ลงพื้นที่เฉลี่ย 3.51 ครั้ง 5. การประสานแหล่งสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ ฯ มีเจ้าหน้าที่สำนักงานเกษตรจังหวัดร้อยละ 88.89 ของจังหวัดทั้งหมด ได้มีประสานงานกับ ธ.ก.ส. ส่วนประเมินผลพืช ศปผ.

  9. การบริหารจัดการ (ต่อ) 6. การประชาสัมพันธ์โครงการฯ - ผู้ดำเนินการประชาสัมพันธ์หลัก พบว่า ร้อยละ 47.37 คือ เจ้าหน้าที่เกษตรอำเภอ ร้อยละ 42.10 คือ เจ้าหน้าที่เกษตรจังหวัด - สื่อที่ใช้ในการประชาสัมพันธ์เพื่อให้เข้าถึงเกษตรกรเป้าหมาย พบว่า - ลักษณะที่เป็นบุคคลในชุมชน อันดับแรก ร้อยละ 100.00 คือ กำนัน/ผู้ใหญ่บ้าน รองลงมา ร้อยละ 66.67 คือ แกนนำเกษตรกร - ลักษณะที่เป็นการประกาศหรือเอกสาร พบว่า อับดับแรก ร้อยละ 66.67 คือ เอกสารหรือแผ่นพับ และรองลงมา ร้อยละ 44.44 มี 3 สื่อ คือ วิทยุชุมชน หอกระจายข่าว และป้ายโปสเตอร์ติดตามหน่วยงานราชการ ส่วนประเมินผลพืช ศปผ.

  10. ปัจจัยนำเข้า 1. งบประมาณโครงการ ได้รับงบประมาณจากงบกองทุนปรับโครงสร้างการผลิตภาคเกษตรฯ จำนวน 19.00 ล้านบาท ทั้งนี้ ได้ดำเนินการโครงการฯ มา 2 ปี มีการเบิกจ่ายงบประมาณไปทั้งสิ้น 7.60 ล้านบาท (ปีละ 3.80 ล้านบาท) 2. เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานโครงการ เจ้าหน้าที่ กสก. เป็นผู้รับผิดชอบหลัก โดยมีเจ้าหน้าที่จาก กวก. พด. กสส. ชป. สปก. สศก. และ ธกส. ร่วมสนับสนุน ส่วนประเมินผลพืช ศปผ.

  11. ปัจจัยนำเข้า (ต่อ) 3. เกษตรกรและกลุ่มผู้ผลิตปาล์มน้ำมันที่เข้าร่วมโครงการ - มีเกษตรกรสมัครเข้าร่วมโครงการฯ จำนวน 23,172 ราย คิดเป็นร้อยละ 115.86 - ซึ่งเป็นเกษตรกรใน 23 จังหวัดแหล่งผลิต 4. หลักสูตรในการถ่ายทอดความรู้ จัดอบรมเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการฯ ใน 2 หลักสูตร คือ 4.1 หลักสูตร “การปลูกสร้างสวนปาล์มน้ำมัน” 4.2 หลักสูตร “การปฏิบัติดูแลรักษาสวนปาล์มน้ำมัน” รวมทั้ง ดำเนินการจัดการส่งเสริมและพัฒนากลุ่มผู้ผลิตปาล์มน้ำมัน 5. แหล่งสินเชื่อเงื่อนไขพิเศษ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ที่มีสาขาตั้งอยู่ในจังหวัดหรือในพื้นที่ดำเนินงานโครงการฯ ส่วนประเมินผลพืช ศปผ.

  12. ผลได้ของโครงการฯ 1. การส่งเสริมเกษตรกรรายใหม่ 1.1 การอบรม/ดูงาน หลักสูตร “การปลูกสร้างสวนปาล์มน้ำมัน” จำนวน 4,888 ราย จากการสัมภาษณ์เกษตรกรรายใหม่ที่ตกเป็นตัวอย่าง พบว่า ร้อยละ 45.50 เห็นว่าได้รับความรู้ความเข้าใจในระดับปานกลาง ร้อยละ 50.00 เห็นว่าเนื้อหาที่ได้รับมีความชัดเจน ฯ ในระดับมาก ร้อยละ 49.50 เห็นว่าเอกสารประกอบการอบรมมีความเหมาะสม ในระดับมาก และ ร้อยละ 53.50 เห็นว่าระยะเวลาในการอบรมมีความเหมาะสม ในระดับมาก 1.2 การปลูกสร้างสวนปาล์มน้ำมัน เกษตรกรรายใหม่ ร้อยละ 63.05 มีการปลูกสร้างสวนปาล์มหรือขยายพื้นที่สวนปาล์มเพิ่ม ในพื้นที่จำนวนเฉลี่ย 15.47 ไร่ต่อราย ซึ่งขณะนี้สวนปาล์มมีอายุเฉลี่ย 1.59 ปี 1.3 การขอรับสินเชื่อ - เกษตรกรรายใหม่ ร้อยละ 18.23 ได้ขอกู้เงิน ธ.ก.ส. เพื่อนำไปปลูกสร้างสวนปาล์มใหม่ - จำนวนเงินที่ได้รับเฉลี่ย 116,945.95 บาทต่อราย หรือ ร้อยละ 91.02 ของจำนวนเงินที่ขอกู้ ส่วนประเมินผลพืช ศปผ.

  13. ผลได้ของโครงการฯ (ต่อ) 2. การส่งเสริมเกษตรกรรายเก่า 2.1 การอบรม/ดูงาน หลักสูตร “การปฏิบัติดูแลรักษาสวนปาล์มน้ำมัน” จำนวน 11,450 ราย จากการสัมภาษณ์เกษตรกรรายเก่าที่เป็นตัวอย่าง พบว่า ร้อยละ 62.19 เห็นว่าได้รับความรู้ความเข้าใจในระดับมาก ร้อยละ 62.90 เห็นว่าเนื้อหาที่ได้รับมีความชัดเจน ฯ ในระดับมาก ร้อยละ 59.72 เห็นว่าเอกสารประกอบการอบรมมีความเหมาะสม ในระดับมาก และ ร้อยละ 66.08 เห็นว่าระยะเวลาในการอบรมมีความเหมาะสม ในระดับมาก 2.2 การนำความรู้ไปปฏิบัติดูแลรักษาสวนปาล์มน้ำมัน ร้อยละ 76.06นำความรู้ไปปฏิบัติปรับปรุงดูแลรักษาสวนปาล์มน้ำมันในระดับมาก ร้อยละ 20.42 ไปปฏิบัติระดับปานกลาง และร้อยละ 3.52 นำปฏิบัติระดับน้อย 2.3 การขอรับสินเชื่อ - เกษตรกรรายเก่า ร้อยละ 13.38 ได้ขอกู้เงินจาก ธ.ก.ส. เพื่อไปปรับปรุงบำรุงดูแลรักษาสวนปาล์มน้ำมันของตนเอง - จำนวนเงินที่ได้รับเฉลี่ย 167,026.32 บาทต่อราย หรือ ร้อยละ 97.42 ของจำนวนเงินที่ขอกู้ ส่วนประเมินผลพืช ศปผ.

  14. ผลได้ของโครงการฯ (ต่อ) 3. การส่งเสริมและพัฒนากลุ่มผู้ผลิตปาล์มน้ำมัน - กลุ่มเกษตรกร ร้อยละ 76.00 มีการจัดการกระบวนการเรียนรู้ มีการกำหนดแผนการเรียนรู้ และมีประเด็นที่ชัดเจนที่ทางกลุ่มต้องการเรียนรู้ - ร้อยละ 47.36 สามารถที่จะดำเนินการปฏิบัติตามแผนการเรียนรู้ได้ครบ - ร้อยละ 52.64 ปฏิบัติได้บางส่วน ของกลุ่มที่มีการจัดทำแผนการเรียนรู้ นอกจากนี้ พบว่า กลุ่มร้อยละ 56.00 มีเครือข่ายการผลิตปาล์มน้ำมัน ส่วนประเมินผลพืช ศปผ.

  15. ผลกระทบเบื้องต้น ตารางที่ 19 ต้นทุนการผลิตปาล์มน้ำมัน ช่วงก่อนให้ผล อายุ 1 ปี ของ เกษตรกรรายใหม่ที่เข้าร่วมโครงการฯ ** มีความใกล้เคียงกับต้นทุนการผลิตปาล์มน้ำมันในช่วงอายุเดียวกันเฉลี่ยทั้งประเทศ ปี 2552 ที่มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4,986.01 บาทต่อไร่ ส่วนประเมินผลพืช ศปผ. ที่มา : จากการสำรวจ

  16. ตารางที่ 20 ต้นทุนการผลิต ช่วงให้ผล อายุ 4 ปีขึ้นไป ของ เกษตรกรรายเก่า ที่เข้าร่วมโครงการฯ หน่วย : บาทต่อไร่ (ร้อยละ) ส่วนประเมินผลพืช ศปผ. ที่มา : จากการสำรวจ

  17. ผลกระทบเบื้องต้น (ต่อ) การทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยต้นทุนการผลิต และปริมาณผลผลิตปาล์มน้ำมันก่อนและหลังเข้ารับการถ่ายทอดความรู้จากโครงการฯ (แตกต่าง) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (ไม่แตกต่าง) ส่วนประเมินผลพืช ศปผ. ที่มา : จากการสำรวจ

  18. การบรรลุวัตถุประสงค์ของโครงการฯการบรรลุวัตถุประสงค์ของโครงการฯ สรุปจากผลการประเมินในระยะ 2 ปีแรก การดำเนินงานโครงการฯ ที่ผ่านมามีแนวโน้มที่นำไปสู่การบรรลุวัตถุประสงค์ เนื่องจาก ผลผลิตและรายได้ของเกษตรกรมีทิศทางเพิ่มขึ้น จากการนำความรู้ที่ได้รับจากการอบรมไปปฏิบัติ 1. ด้านการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตปาล์มน้ำมัน - ต้นทุนการผลิตต่อไร่ เพิ่มขึ้น 181.34 บาท/ไร่ (จาก 4,167.49 บาท/ไร่ เป็น 4,348.83 บาท/ไร่) - ต้นทุนการผลิตต่อตัน ลดลง 370 บาท/ตัน(จาก 1,710 บาท/ตัน เป็น 1,340 บาท/ตัน) - ผลผลิตต่อไร่ เพิ่มขึ้น 810 กิโลกรัม/ไร่ * (จาก 2.43 ตัน/ไร่ เป็น 3.24 ตัน/ไร่ เป้า 3.00 ตัน/ไร่*) 2. ด้านรายได้ที่เพิ่มขึ้นของเกษตรกร - ผลตอบแทนสุทธิ เพิ่มขึ้น 3,067.64 บาท/ไร่ *(61.35% จากเป้า 5,000 บาท/ไร่*) ส่วนประเมินผลพืช ศปผ.

  19. ปัญหาและอุปสรรค 1. เกษตรกรผู้เข้ารับการฝึกอบรมบางส่วนคิดว่าความรู้ในการดูแลรักษาสวนปาล์มน้ำมันในแต่ละช่วงอายุ ยังไม่เพียงพอ โดยเฉพาะช่วง 1 - 3 ปีแรกในการปลูกสร้างสวนปาล์ม 2. เกษตรกรผู้เข้ารับการฝึกอบรมบางส่วนคิดว่ายังขาดความรู้เกี่ยวกับการปรับปรุงบำรุงดิน การทำปุ๋ยชีวภาพ และสารกำจัดศัตรูพืช 3. เกษตรกร และเจ้าหน้าที่บางส่วนยังไม่ค่อยมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องผลกระทบของการเปิดตลาดการค้าเสรีที่มีต่อการผลิตปาล์มน้ำมัน ส่งผลให้ไม่ตื่นตัวในการปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตเท่าที่ควร 4. เกษตรกรในพื้นที่ จ.หนองคาย ยังคงขาดความมั่นใจที่จะทำการปลูกปาล์มหรือขยายพื้นที่เพิ่ม เนื่องจากปัญหาแหล่งรองรับผลผลิต ส่วนประเมินผลพืช ศปผ.

  20. ข้อเสนอแนะ 1. กรมส่งเสริมการเกษตร ควรมีการอบรมอย่างต่อเนื่อง และพิจารณาหลักสูตรให้สอดคล้องกับความต้องการของเกษตรกรในแต่ละพื้นที่และช่วงอายุของปาล์มน้ำมัน และควรมีการติดตามดูแลให้คำปรึกษาถึงการนำความรู้ไปปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเกษตรกรที่เริ่มปลูกปาล์มน้ำมันรายใหม่ 2. กรมส่งเสริมการเกษตร ควรเพิ่มเติมความรู้เกี่ยวกับผลกระทบที่จะได้รับจากการเปิดเขตการค้าเสรี (FTA) ให้เจ้าหน้าที่ผู้เป็นวิทยากรนำไปถ่ายทอดความรู้ให้แก่เกษตรกร เพื่อเป็นการกระตุ้นให้มีความตื่นตัวในการปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตปาล์มน้ำมันต่อไป 3. หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กรมพัฒนาที่ดิน ควรให้ความรู้แก่เกษตรกรเพิ่มเติมเกี่ยวกับการปรับปรุงบำรุงดิน การทำปุ๋ยชีวภาพ และสารกำจัดศัตรูพืช เป็นต้น 4. ควรมีการสนับสนุน/ส่งเสริมให้มีแหล่งรวบรวมผลผลิตหรือมีโรงงานสกัดน้ำมันปาล์มในพื้นที่ภาคอีสานตอนบนเพื่อรองรับผลผลิตที่จะเริ่มทยอยออกสู่ตลาดในช่วง 1 - 2 ปีข้างหน้า ส่วนประเมินผลพืช ศปผ.

  21. ส่วนประเมินผลพืช ศปผ. ขอบคุณทุกท่านที่รับฟังการนำเสนอครับ

More Related