1 / 28

เรื่อง

เรื่อง. ระบบประสาท. ระบบประสาท. ส่วนประกอบของสมอง มีดังนี้ 1. สมองส่วนหน้า (Forebrain หรือ Prosencephalon) เป็นส่วนที่อยู่หน้าสุด แบ่งออกเป็น - Cerebrum (ซีรีบรัม) เป็นสมองส่วนหน้าสุดในสัตว์มีกระดูกสันหลังชั้นต่ำ เช่น ปลา กบ .

eilis
Télécharger la présentation

เรื่อง

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. เรื่อง ระบบประสาท

  2. ระบบประสาท • ส่วนประกอบของสมอง มีดังนี้ • 1. สมองส่วนหน้า (Forebrain หรือ Prosencephalon) เป็นส่วนที่อยู่หน้าสุด แบ่งออกเป็น • - Cerebrum (ซีรีบรัม) เป็นสมองส่วนหน้าสุดในสัตว์มีกระดูกสันหลังชั้นต่ำ เช่น ปลา กบ

  3. มีหน้าที่เกี่ยวกับการดมกลิ่น มีส่วนพองออก เรียกว่า olfactory bulb ส่วนในสัตว์ชั้นสูง สมองส่วนนี้จะเก็บข้อมูลเกี่ยวกับสิ่งต่างๆรวมทั้งเชาวน์ ปัญญา ความจำ มีส่วนเนื้อสีเทาชั้นนอก(Cerebral-cortex) ซึ่งถือว่าเป็นศูนย์รับความรู้สึก (ภาพ รส กลิ่น เสียง สัมผัส ความเจ็บปวด ความร้อน เย็น ) ควบคุมให้กล้ามเนื้อทำงานและบอกตำแหน่งมีส่วน Corpus callosum ซึ่งถือกันว่ามีหน้าที่ …. ควบคุมพฤติกรรมและบุคลิกภาพของคนที่เกิดจากการเรียนรู้ • - Diencephalon ( ไดเอนเซฟาลอน ) เป็นส่วนท้ายสุดของสมองส่วนหน้า อยู่ทางด้านล่าง ปกติจะมองไม่เห็น เพราะ Cerebrum คลุมอยู่ มีหน้าที่ … เป็นสถานีถ่ายทอด หรือศูนย์กลางส่งความรู้สึก ( เปรียบกับชุมสายโทรศัพท์ ) ยกเว้นการดมกลิ่น โดยที่กระแสความรู้สึกจะผ่านเข้ามาใน diencephalon แล้วจึงส่งไปยังซีรีบรัม ส่วนต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับกระแสความรู้สึกนั้น ๆ

  4. ส่วนท้ายของสมองส่วนหน้า ( Diencephalon ) แบ่งออกเป็น 2 ส่วนคือ • - ทาลามัส ( thalamus ) มีตำแหน่งอยู่ข้าง ๆ โพรงสมอง อันที่ 3 ถือว่าเป็นสถานีถ่ายทอดสัญญาณความรู้สึกที่สำคัญที่เข้าสู่สมอง และไขสันหลัง ( เนื่องจากมีบริเวณที่รับความรู้สึกมาจากบริเวณหนึ่งของซีรีบรับและส่งกลับไปที่บริเวณอื่น ๆ ของซีรีบรัมด้วยและรับข้อมูลจากซีรีบรัมส่งต่อไปที่ซี่รีเบลรัมและเมดุลลาถือว่ามีหน้าที่แตกต่างกันมากมาย ) สำหรับธาลามัสในสัตว์มีมีกระดูกสันหลังชั้นต่ำจะทำหน้าที่รับ แปรและประสานงาน สัญญาณความรู้สึกด้วยตัวเอง แต่ใสสัตว์มีกระดูกสันหลังชั้นสูง ซีรีบรัมเจริญขึ้นมากจึงทำหน้าที่แปรสัญญาณความรู้สึกและทำหน้าที่ประสานงานแทนธาลามัส

  5. ส่วนท้ายของสมองส่วนหน้า ( Diencephalon ) แบ่งออกเป็น 2 ส่วนคือ • - ทาลามัส ( thalamus ) มีตำแหน่งอยู่ข้าง ๆ โพรงสมอง อันที่ 3 ถือว่าเป็นสถานีถ่ายทอดสัญญาณความรู้สึกที่สำคัญที่เข้าสู่สมอง และไขสันหลัง ( เนื่องจากมีบริเวณที่รับความรู้สึกมาจากบริเวณหนึ่งของซีรีบรับและส่งกลับไปที่บริเวณอื่น ๆ ของซีรีบรัมด้วยและรับข้อมูลจากซีรีบรัมส่งต่อไปที่ซี่รีเบลรัมและเมดุลลาถือว่ามีหน้าที่แตกต่างกันมากมาย ) สำหรับธาลามัสในสัตว์มีมีกระดูกสันหลังชั้นต่ำจะทำหน้าที่รับ แปรและประสานงาน สัญญาณความรู้สึกด้วยตัวเอง แต่ใสสัตว์มีกระดูกสันหลังชั้นสูง ซีรีบรัมเจริญขึ้นมากจึงทำหน้าที่แปรสัญญาณความรู้สึกและทำหน้าที่ประสานงานแทนธาลามัส

  6. - ไฮโปธาลามัส เป็นส่วนพื้นของโพรงสมองอันที่สามที่มีขนาดเล็อยู่ใด้ธาลามัสติดกับต่อมใต้สมอง ภายในกลุ่มีมีเซลล์ประสาทอยู่น้อยถือว่าเป็นศูนย์ควบุมกระบวนการและพฤติกรรมบางอย่างของร่างกาย เช่น ควบคุมอุณหภูมิ ความดันโลหิต ความรู้สึกทางเพศ อารมณ์ ความต้องการน้ำและอาหาร ความกลัว การนอนหลับ การต่อสู้ การหนีภัย พฤติกรรมการสืบพันธุ์ ควบคุม เมตาบอลิซึมของ คาร์โบไฮเดรตและไขมัน นอกจานนี้ยังเป็นแหล่งที่มีเซลล์ที่มีหน้าที่สร้างฮอร์โมนประสาทหลายนิดมาควบคุมการหลั่งฮอร์โมนของต่อมใต้สมอง เป็นบริเวณที่ระบบประสาทและระบบต่อมไร้ท่อทำหน้าที่ประสานงานกัน ในการควบคุมการทำงานของอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกาย

  7. 2 สมองส่วนกลาง อยู่ถัดจากสมองส่วนหน้ามีเส้นประสาทรับความรู้สึคกจากตามายังสมองส่วนนี้ ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางของการมองเห็นในสัตว์ มีกระดูกสันหลังชั้นต่ำ เช่นปลา และกบตอนบนจะพองออกเป็นกระเปาะเรียกว่า optic lobe แต่ในสัตว์มีกระดูกสันหลังขั้นสูงจะมีขนาดลดลงและจะทำหน้าที่เป็นสถานีถ่ายทอดสัญญาณ หรือกระแสความรู้สึกเกี่ยวกับการมองเห็น • 3 สมองส่วนหลัง แบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ ซีรีเบลลัม ซึ่งอยู่ทางด้านบนและเมดุลลาออบลองกาตา อยู่ด้านข้างและด้านล่าง

  8. ชนิดของเซลล์ประสาทของสัตว์มีกระดูกสันหลังแบ่งตามรูปร่างมี 3 ชนิด • 1. เซลล์ประสาทขั้วเดียว • 2. เซลล์ประสาทสองขั้ว • 3. เซลล์ประสาทหลายขั้ว

  9. พูดถึงระบบประสาท หลายคนมักจะคิดถึงเฉพาะการทำงานของเส้นประสาทในสมองเท่านั้น เพราะเราท่านมักจะได้ยินได้ฟังมาว่า หากใครมีอาการผิดปกติทางระบบประสาท โดยมากจะหมายถึงคนที่มีสติสัมปชัญญะไม่ค่อยสมบูรณ์ หรือที่เรียกว่า "บ้า" นั่นเอง • จริงๆ แล้วระบบประสาทไม่ได้จำกัดอยู่แต่เฉพาะในสมองเท่านั้น แต่เป็นการวางสายงานออกไปตามจุดต่างๆ ทั่วร่างกายเลยทีเดียว

  10. หน้าที่หลักของระบบประสาทก็คือคอยควบคุมการทำงานของอวัยวะส่วนต่างๆ ในร่างกายให้ปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างถูกต้องประสานกัน คอยควบคุมความคิด และรับความรู้สึกจากสิ่งเร้าภายนอก แล้วปรับร่างกายให้ตอบสนองต่อสิ่งเร้านั้นได้โดยผ่านการสัมผัสทางผิวหนัง ดวงตา หู จมูก และลิ้น • รู้หรือไม่ว่า แม้ว่าสมองจะมีน้ำหนักโดยประมาณเพียงร้อยละ 2 ของน้ำหนักตัวแต่สมองต้องใช้ปริมาณออกซิเจนเพื่อไปหล่อเลี้ยงถึงร้อยละ 25 จากจำนวนออกซิเจนที่ร่างกายได้รับ

  11. สมองของคนเราจำเป็นต้องใช้พลังงานอย่างต่อเนื่องตลอดเวลาในปริมาณที่เท่ากับการใช้หลอดไฟขนาด 20 วัตต์ • เมื่อเทียบน้ำหนักที่เท่ากันระหว่างสมองและกล้ามเนื้อ พบว่าในขณะที่สมองกำลังรวบรวมสมาธิใช้ความคิดจะเกิดการเผาผลาญพลังงานไปหลายแคลอรี ซึ่งจะมากพอๆ กับในเวลาที่คนเราใช้กล้ามเนื้อออกกำลังกายอย่างหักโหม • เส้นประสาทที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในร่างกายนั้นมีขนาดเท่ากับความหนาของแท่งดินสอ เส้นประสาทที่ว่านี้คือ เส้นประสาทจากสะโพกซึ่งแยกมาจากไขสันหลัง

  12. เมื่อเข้าสู่วัยหนุ่มสาว สมองของคนเราจะมีขนาดโตเป็น 3 เท่าของสมองเด็กเมื่อแรกเกิด แต่พ้นจากวัยหนุ่มสาวเข้าสู่วัย 65 ปี สมองจะฝ่อไปประมาณ 28 กรัม • อาการปวดศีรษะของคนเรานั้นเกิดขึ้นที่หลอดเลือดดำที่ทอดตัวอยู่ภายนอกสมอง ภายในเนื้อสมองเองจะไม่มีปลายประสาทฝังอยู่ ตัวมันจึงไม่มีความรู้สึกเจ็บปวดแม้จะถูกตัดออกไป กระแสสัญญาณที่รับความรู้สึกขณะที่ถูกส่งเข้าไปในสมอง จะมีความเร็วสูงสุดถึง 400 กิโลเมตร • หากเทียบกันแล้ว เซลล์ประสาทจะยาวและบางกว่าเซลล์อื่นๆ และมีเซลล์ประสาทอยู่เส้นหนึ่งที่เชื่อมต่อกับไขสันหลังลงไปที่นิ้วหัวแม่เท้า แต่ละเซลล์สามารถยืดตัวได้ถึง 3 ฟุต

  13. การทำงานของระบบประสาทการทำงานของระบบประสาท • ประกอบด้วย 5 ส่วน คือ 1. อวัยวะรับความรู้สึก (Receptors) ซึ่งได้แก่ หู , ตา , ลิ้น , จมูก , ผิวหนัง , ข้อ , กล้ามเนื้อ เป็นอวัยวะที่ไวต่อตัวกระตุ้นมาก จะทำหน้าที่เปลี่ยนพลังงานของสิ่งเร้าให้กลายเป็นกระแสประสาท (Nreve Implus) เซลล์รับความรู้สึกจะตอบสนองเฉพาะตัวกระตุ้นที่เป็นมันเองเท่านั้น เช่น ตารับความรู้สึกเกี่ยวกับแสง แต่จะไม่ตอบสนองตัวกระตุ้นที่เป็นเสียง เป็นต้น

  14. 2. เส้นประสาทรับความรู้สึก (Sensory Nerve Fiber) เป็นเส้นประสาทที่นำกระแสประสาท หรือความรู้สึกต่าง ๆ เข้าสู่สมอง หรือไขสันหลัง • 3. ตัวเชื่อมโยง (Connector) คือ ระบบประสาท สมองและไขสันหลัง กระแสประสาทที่ไหลผ่านเส้นประสาทรับความรู้สึกจะเข้าสู่ตัวเชื่อมโยง ซึ่งจะประกอบด้วยเซลล์ประสาทจำนวนล้าน ๆ เซลล์กระแสประสาทจะผ่านเข้าสู่ไขสันหลังก่อนแล้วจึงส่งให้สมอง สมองจะมีคำสั่งออกมาในรูปกระแสประสาทเพื่อไปกระตุ้นอวัยวะให้เกิดพฤติกรรม

  15. 4. เส้นประสาทสั่งงาน (Motor Nerve Fiber) คือ เส้นประสาทที่นำคำสั่ง (ในรูปของกระแสประสาท) จากสมองหรือไขสันหลังออกไปยังกล้ามเนื้อหรือต่อมต่าง ๆ • 5.อวัยวะที่ใช้ในการตอบสนอง (Effectors) กระแสประสาทจากสมองจะผ่านมายังเส้นประสาทสั่งงานมากระตุ้นกล้ามเนื้อหรือต่อมให้เกิดการตอบสนองในรูปของพฤติกรรมต่าง ๆ เช่น ผงปลิวเข้าตา กระแสประสาทจากสมองจะกระตุ้นกล้ามเนื้อตาทำให้หนังตาปิด และขณะเดียวกันต่อมก็จะหลั่งน้ำตาออกมาเพื่อล้างสิ่งแปลกปลอมนั้น

  16. ระบบประสาทส่วนกลาง (Central Nervous System) • มีส่วนประกอบที่สำคัญ คือ1.ไขสันหลัง (Spinal Cord) 2. สมอง (Brain)

  17. 1. ไขสันหลัง ไขสันหลังมีลักษณะเป็นลำยาวทอดอยู่ในช่องกระดูกสันหลัง ตลอดความยาวของลำตัว ไขสันหลังทำหน้าที่ส่งกระแสประสาท รับสัมผัสไปยังสมอง และรับกระแสประสาทตอบสนองจากสมองเพื่อส่งไปยังอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกาย นอกจากนั้นยังควบคุมปฏิกิริยารีเฟล็กซ์ (Reflex) คือปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นอย่างทันทีทันใดโดยไม่ต้องรอให้สมองสั่งการ เช่น เมื่อบังเอิญไปถูกของร้อนจะรีบกระตุกมือหนีทันที

  18. 2. สมอง เป็นอวัยวะที่สำคัญที่สุดในการก่อให้เกิดพฤติกรรมของมนุษย์เป็นตัวควบคุมพฤติกรรมต่าง ๆ ทั้งในเรื่องการเรียนรู้ การคิด การจำ การตัดสินใจ เป็นต้น สมองแบ่งออกเป็น 3 ส่วนคือ2.1 สมองส่วนหลัง (Hindbrain) 2.2 สมองส่วนกลาง (Midbrin) 2.3 สมองส่วนหน้า (Forebrin)

  19. 2.1 สมองส่วนหลัง (Hindbrain) มีส่วนประกอบที่สำคัญ คือ • เมดัลลา (Medulla) เป็นข้อต่อระหว่างไขสันหลังกับสมอง ทำหน้าที่รับกระแสประสาทจากไขสันหลังผ่านไปยังสมอง นอกจากนี้ยังทำหน้าที่ควบคุมการหายใจ การกลืนอาหาร การย่อยอาหาร และการเต้นของหัวใจ • เซรีเบลลัม (Cerebellum) อยู่ด้านหลังของเมดัลลา ทำหน้าที่ควบคุมพฤติกรรมของกล้ามเนื้อต่าง ๆ ให้ทำงานประสานกัน ทำหน้าที่ควบคุมการทรงตัว การเคลื่อนที่ของร่างกายให้เป็นไปอย่างราบรื่น • พอนส์ (Pons) เป็นส่วนหนึ่งของก้านสมอง ทำหน้าที่เชื่อมโยงระหว่างเซรีเบลลัมซีกซ้ายขวา และเป็นสะพานเชื่อมสู่สมองส่วนหน้า • เรติคิวลาร์ ฟอร์เมชั่น (Reticular Foemation) ทำหน้าที่รับกระแสประสาทจากส่วนต่าง ๆ ของร่างกายเพื่อส่งไปยังคอร์เท็กซ์ (Cortex) โดยไม่ได้ทำการแยกประเภทของกระแสประสาทเฉพาะอย่างทาลามัส (Thalamus) นอกจากนั้นยังทำหน้าที่ควบคุมการตื่นตัวหรือง่วงหลับร่วมกับสมองไฮโปทาลามัสด้วย

  20. 2.2 สมองส่วนกลาง (Midbrain) อยู่ระหว่างสมองส่วนหลัง และส่วนหน้า ทำหน้าที่ควบคุมการกลอกกลิ้งของลูกนัยตา เมื่อติดตามวัตถุที่เคลื่อนที่ นอกจากนี้ยังควบคุมกริยาสะท้อนเกี่ยวกับการเห็น การได้ยิน และการสัมผัสด้วย • 2.3 สมองส่วนหน้า (Forebrain) แบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ • ทาลามัส (Thalamus) เป็นศูนย์กลางของการรับกระแสประสาทต่าง ๆ เพื่อส่งต่อไปยังเซรีบรัม (Cerebrum) เช่น กระแสประสาทที่มาจากตา ก็จะผ่านทาลามัสเพื่อส่งต่อไปยังเซรีบรัมในเขตของการเห็น (Visual area) เป็นต้น • ไฮโปทาลามัส (Hypothalamus) จะทำหน้าที่ควบคุมความรู้สึกร้อนหนาว ความหิว ความกระหาย ความก้าวร้าว ความรู้สึกทางเพศ การย่อยอาหาร เป็นต้น • เซรีบรัม (Cerebrum) เป็นส่วนที่สำคัญที่สุดของสมอง ทำหน้าที่สั่งการการปฏิบัติงานของกล้ามเนื้อ การบันทึกความจำ การหาเหตุผล การตัดสินใจ ความคิดริเริ่ม ความหวัง เป็นที่เกิดแห่งการเรียนรู้ ดังนั้น นักจิตวิทยาจึงสนใจสมองส่วนนี้มาก

  21. เซรีบรัมแบ่งออกเป็น 4 ส่วน คือ • - ส่วนหน้า (Frontal Lobe) ซึ่งในส่วนนี้จะมีความสำคัญคือ เป็นที่ตั้งของเขตมอเตอร์ (Motor Area) ซึ่งจะทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อของร่างกายทั่วไป โดยกล้ามเนื้อของร่างกายทางด้านซ้ายถูกควบคุมโดยเขตมอเตอร์ของสมองซีกขวา และกล้ามเนื้อของร่างกายทางขวา ถูกควบคุมโดยเขตมอเตอร์ของสมองซีกซ้าย และเป็นที่ตั้งของเขตการพูด (Speech Area) - ส่วนกลาง (Parietal Lobe) มีความสำคัญคือเป็นที่ตั้งของเขตรับรู้ของร่างกาย (Body Sensory Area) จะทำหน้าที่ควบคุมเกี่ยวกับความร้อนหนาว ความเจ็บปวด การสัมผัส

  22. ส่วนข้างหรือส่วนขมับ (Temporal Lobe) เป็นที่ตั้งของเขตการได้ยิน (Auditory Area) ทำหน้าที่ควบคุมการฟัง การได้ยิน - ส่วนหลัง (Occipital Lobe) เป็นที่ตั้งของเขตการเห็น (Visual Area) ทำหน้าที่ในการมอง การรับรู้ทางตา

  23. ระบบประสาทส่วนปลาย (Peripheral Nervous System) • ระบบประสาทส่วนปลายแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ • 1. ระบบประสาทโซมาติค (Somatic Nervous System) เป็นระบบที่เกี่ยวข้องกับสภาพแวดล้อมภายนอก ประกอบด้วยเส้นประสาทจากสมอง 12 คู่ ไปยังอวัยวะต่าง ๆ เช่น ตา หู จมูก ลำคอ ฯลฯ และเส้นประสาทจากไขสันหลัง 31 คู่ไปยังบริเวณ คอ อก เอว เชิงกราน ก้นกบ การทำงานแบ่งเป็น 2 ขั้นตอน ดังนี้ • 1.1 เส้นประสาทรับความรู้สึก ซึ่งจะนำข่าวสารจากภายนอกเข้าสู่ร่างกาย1.2 เส้นประสาทสั่งงาน นำข้อมูลจากสมองสู่กล้ามเนื้อ

  24. 2. ระบบประสาทอัตโนมัติ (Autonomic Nervous System) เป็นระบบที่เกี่ยวกับการทำงานของอวัยวะภายในร่างกาย เช่น ควบคุมการทำงานของต่อมต่าง ๆ ควบคุมการเต้นของหัวใจ ลักษณะการทำงานจะเป็นอิสระ และเป็นส่วนช่วยแบ่งเบาภาวะของระบบประสาทส่วนกลาง ระบบประสาทอัตโนมัติแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ • 2.1 ระบบประสาทซิมพาเธติค (Sympathetic Nervous System) เป็นส่วนประสาทอิสระที่รับรู้การเร้าของประสาทในแถบบริเวณตั้งแต่ลำคอถึงท้อง ประสาทส่วนนี้ทำหน้าที่รับรู้ และควบคุมระบบต่าง ๆ เช่น การเต้นของหัวใจ ต่อมน้ำลาย และต่อมไม่มีท่ออื่น ๆ เป็นระบบที่ทำงานในสภาพที่เกิดการตกใจ โกรธ เครียด ซึ่งอวัยวะต่าง ๆ จะทำงานในอัตราเพิ่มขึ้น

  25. 2.2 ระบบประสาทพาราซิมพาเธติค (Parasympathetic Nervous system) แยกออกจากสมองส่วนล่างกับไขมันหลังส่วนปลายสุด ทำหน้าที่ตรงข้ามกับซิมพาเธติค เพื่อรักษาดุลยภาพของร่างกาย เช่น ซิมพาเธติค เร่งให้หัวใจเต้นเร็ว แต่พาราซิมพาเธติคจะรั้งหัวใจให้เต้นช้าเพื่อให้หัวใจทำงานปกติ • ระบบประสาทอัตโนมัติ มีการติดต่ออย่างใกล้ชิดกับระบบประสาทกลางโดยเซลล์ประสาทแกงเกลี่ย (Ganglia) ซึ่งมีรูปร่างคล้ายลูกโซ่เป็นเส้นยาว 2 เส้นขนานซ้ายขวาของกระดูกสันหลังตลอด • แกงเกลี่ย จะมีใยประสาทของมันเอง ซอกซอนไปทั้งร่างกายโดยเฉพาะอย่างยิ่ง คือ อวัยวะภายใน อันได้แก่ ลำไส้ หลอดโลหิต หัวใจ เป็นต้น

  26. ระบบประสาทอัตโนมัติ ช่วยปรับความสมดุลย์ในร่างกายของมนุษย์เรา เช่น เวลามนุษย์เกิดความกลัว หัวใจจะเต้นแบบถี่ พอผ่านพ้นเวลานั้นหัวใจจะเต้นช้าลง • ระบบประสาทอัตโนมัติ ช่วยแบ่งเบาภาระของระบบประสาทกลางเพราะการปฏิบัติงานอวัยวะที่สำคัญในร่างกาย เช่น การเต้นของหัวใจ ถ้าให้สมองสั่งทุกขณะอาจพลั้งเผลอเป็นอันตรายได้

  27. นาย อาหามะ สะมะ • รหัส 404766014 • โปรแกรม การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ • คณะ เทคโนโลยีการเกษตร

More Related