1 / 25

ระเบียบการเบิกจ่ายเงินจากคลัง การเก็บรักษาเงิน และการนำเงินส่งคลัง ปี พ.ศ. 2551

ระเบียบการเบิกจ่ายเงินจากคลัง การเก็บรักษาเงินและการนำเงินส่งคลัง พ.ศ.2551 และระเบียบมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ว่าด้วยเงินรายได้ พ.ศ.2545และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่2) พ.ศ. 2549 งานงบประมาณ กองคลัง สำนักงานอธิการบดี. ระเบียบการเบิกจ่ายเงินจากคลัง

Télécharger la présentation

ระเบียบการเบิกจ่ายเงินจากคลัง การเก็บรักษาเงิน และการนำเงินส่งคลัง ปี พ.ศ. 2551

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. ระเบียบการเบิกจ่ายเงินจากคลังการเก็บรักษาเงินและการนำเงินส่งคลังพ.ศ.2551 และระเบียบมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ว่าด้วยเงินรายได้ พ.ศ.2545และแก้ไขเพิ่มเติม(ฉบับที่2) พ.ศ. 2549งานงบประมาณ กองคลัง สำนักงานอธิการบดี

  2. ระเบียบการเบิกจ่ายเงินจากคลังระเบียบการเบิกจ่ายเงินจากคลัง การเก็บรักษาเงิน และการนำเงินส่งคลัง ปี พ.ศ. 2551 หมวดที่ 1 ความทั่วไป หมวดที่ 2 การใช้งานในระบบ หมวดที่ 3 การเบิกเงิน หมวดที่ 4 การจ่ายเงิน หมวดที่ 5 การจ่ายเงินยืม หมวดที่ 7 การเก็บรักษาเงินของส่วนราชการ หมวดที่ 8 การนำเงินส่งคลังและฝากคลัง หมวดที่ 9 การกันเงินไว้เบิกเหลื่อมปี หมวดที่ 6 การรับเงินของส่วนราชการ หมวดที่ 10 การควบคุมและตรวจสอบ

  3. หมวดที่ 3 การเบิกเงิน ส่วนที่ 1 สถานที่เบิกเงิน และผู้เบิกเงิน สถานที่เบิกเงินส่วนกลาง เบิกจากกรมบัญชีกลาง ส่วนภูมิภาค เบิกจากคลังจังหวัด ผู้เบิก หัวหน้าหน่วยงานหรือผู้ที่หัวหน้าหน่วยงานมอบหมายเป็นผู้เบิกเงินและอนุมัติการจ่ายเงินให้เจ้าหนี้หรือผู้มีสิทธิรับเงิน

  4. หมวดที่ 3 การเบิกเงิน (ต่อ) ส่วนที่ 2 หลักเกณฑ์การเบิกเงินจากคลัง • การเบิกเงินทุกกรณีให้ระบุวัตถุประสงค์ที่นำไปจ่าย • ห้ามเบิกก่อนถึงกำหนดจ่ายหรือใกล้ถึงกำหนดจ่าย • ขอเบิกเพื่อการใดให้จ่ายเพื่อการนั้น

  5. หมวดที่ 3 การเบิกเงิน (ต่อ) • เบิกเฉพาะที่มีกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ คำสั่งและมติคณะรัฐมนตรี หรือที่ได้รับอนุญาตจากกระทรวงการคลัง • ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นในปีงบประมาณใดให้เบิกจ่ายในปีนั้น • การชำระหนี้เงินตราต่างประเทศให้ชำระเป็นบาท • การเบิกเงินทุกกรณีต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย

  6. ค่าใช้จ่ายที่ถือว่าเป็นรายจ่ายเมื่อได้รับแจ้งให้ชำระหนี้ค่าใช้จ่ายที่ถือว่าเป็นรายจ่ายเมื่อได้รับแจ้งให้ชำระหนี้

  7. 1. รายการค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นไม่ว่าเดือนใด หากแจ้งหนี้เมื่อใดให้ถือเป็นค่าใช้จ่ายของปีงบประมาณนั้น 1.1 ค่าเช่าบ้านข้าราชการ 1.2 ค่าบอกรับสิ่งพิมพ์ 1.3 ค่าขนส่ง 1.4 ค่าบัญชีพลโดยสารรถไฟ

  8. 2. รายการค่าใช้จ่ายเฉพาะเดือนกันยายน 2.1 ค่าเบี้ยเลี้ยงผู้ต้องหา 2.2 ค่าน้ำมันเชื้อเพลิง 2.3 ค่าเครื่องบริโภค เช่นค่าข้าว ค่ากับข้าว และ ค่าเชื้อเพลิงของผู้ต้องขัง 2.4 ค่าเครื่องบริโภค เช่นค่าข้าว ค่ากับข้าว ค่าน้ำมันเชื้อเพลิงของคนไข้นักเรียนพยาบาลและนักเรียนผู้ช่วยพยาบาล

  9. 3. รายการค่าใช้จ่ายเฉพาะเดือนสิงหาคม - กันยายน 3.1 ค่ากำจัดขยะมูลฝอย 3.2 ค่าน้ำ 3.3 ค่าไฟฟ้า 3.4 ค่าโทรศัพท์ 3.5 ค่าเช่าพูดโทรศัพท์ทางไกล 3.6 ค่าเช่าคู่สายโทรศัพท์

  10. 3.7 ค่าติดตั้งโทรศัพท์ 3.8 ค่าฝากส่งไปรษณีย์และพัสดุภัณฑ์ที่ฝากส่งเป็นราย เดือน 3.9 ค่าเช่าวิทยุโทรศัพท์เคลื่อนที่ 3.10 ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับเครื่องโทรสารที่เป็นครุภัณฑ์ 3.11 ค่าใช้จ่ายในการเช่าใช้บริการวิทยุติดตามตัว เพื่อใช้ ในราชการเร่งด่วน 3.12 ค่าเช่าบริการสัญญาณเคเบิลทีวี

  11. หมวดที่ 3 การเบิกเงิน (ต่อ) ส่วนที่ 3 วิธีการเบิกเงิน - สร้างข้อมูลหลักผู้ขาย ของหน่วยงาน/เจ้าหนี้/ผู้มีสิทธิรับเงิน - ตรวจสอบความถูกต้อง คำขอเบิก - ตรวจสอบการจ่ายเงินของกรมบัญชีกลาง ในระบบ GFMIS - การเบิกเงินสำหรับการซื้อ จ้างทำของ หรือเช่า ให้ปฏิบัติตาม ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ ดังนี้ - วงเงินตั้งแต่ 5,000 บาทให้สร้างใบ PO เพื่อจ่ายเข้าบัญชีเจ้าหนี้

  12. -กรณีจ่ายเจ้าหนี้ตั้งแต่ 1,000 บาทขึ้นไปให้จ่ายตรงเจ้าหนี้ (มหาวิทยาลัยฯกำหนด) - ให้เบิกอย่างช้าไม่เกินห้าวันนับจากกรรมการตรวจรับงาน - ค่าไฟฟ้า ค่าประปา ค่าบริการไปรษณีย์ ค่าบริการสื่อสารและค่าโทรคมนาคมให้เบิกกับเจ้าหนี้โดยตรง - การเบิกเงินสวัสดิการ ค่าตอบแทน หรือกรณีอื่นใดที่กระทรวงการคลังกำหนด ให้จ่ายเข้าบัญชีส่วนราชการ

  13. หมวดที่ 9 การกันเงินไว้เบิกเหลื่อมปี การกันเงินไว้เบิกจ่ายเหลื่อมปี หมายถึง เงินงบประมาณรายจ่ายประจำปีของปีที่ผ่านมาและส่วนราชการไม่สามารถเบิกจ่ายเงินงบประจำปีได้ทันภายในปีงบประมาณนั้น จะต้องขอกันเงินไว้เบิกเหลื่อมปี ซึ่งจะต้องได้รับอนุมัติให้กันเงินไว้เบิกเหลื่อมปี จึงจะสามารถเบิกจ่ายได้ในงบประมาณถัดไป และมีระยะเวลาการใช้จ่าย ได้อีก 6 เดือนหลังจากสิ้นปีงบประมาณ

  14. ตัวอย่างการกันเงินเหลื่อมปีตัวอย่างการกันเงินเหลื่อมปี งบประมาณประจำปี 2557 (ระยะเวลาตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2556 ถึง 30กันยายน 2557) หน่วยงานต้องเบิกจ่ายให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 30 กันยายน 2557 กรณีไม่สามารถเบิกจ่ายได้ทันวันที่ 30 กันยายน 2557 ก็สามารถขอกันเงินไว้เบิกเหลื่อมปีหลังสิ้นปีงบประมาณได้อีก 6 เดือน (ตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2557 - 31 มีนาคม 2557) หากเบิกจ่ายไม่ทัน31 มีนาคม 2557 ให้ขอขยายเวลาเบิกจ่ายออกไปอีก 6 เดือน (1 เมษายน 2557 - 30 กันยายน 2557)

  15. การกันเงินไว้เบิกเหลื่อมปีการกันเงินไว้เบิกเหลื่อมปี • กรณีมีหนี้ผูกพัน • กรณีไม่มีหนี้ผูกพัน

  16. วิธีปฏิบัติการกันเงินไว้เบิกเหลื่อมปีวิธีปฏิบัติการกันเงินไว้เบิกเหลื่อมปี • กรณีการกันเงินแบบมีหนี้ผูกพัน • ใบสั่งซื้อ/ใบสั่งจ้าง (PO)ตั้งแต่ 50,000 บาท ขึ้นไป ที่จัดทำในระบบ GFMISเป็นการขอกันเงินไว้เบิกเหลื่อมปีต่อไปอีก 6 เดือนนับจากสิ้นปีงบประมาณ

  17. ระเบียบมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ว่าด้วยเงินรายได้ พ.ศ.2545 และแก้ไขเพิ่มเติม(ฉบับที่ 2) พ.ศ.2549

  18. ประกาศมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ประกาศมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ • ระเบียบมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ว่าด้วยเงินรายได้ พ.ศ. 2545 • ระเบียบมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ว่าด้วยเงินรายได้ (ฉบับที่ 2)พ.ศ. 2549

  19. ระเบียบมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ว่าด้วยเงินรายได้ พ.ศ. 2545 หมวดที่ 1 ประเภทและการใช้เงินรายได้ หมวดที่ 2 การกำหนดอัตราจัดเก็บและจัดสรร หมวดที่ 3 ประมาณการรายรับ-รายจ่าย หมวดที่ 4 การจัดเก็บเงินรายได้และการนำส่ง หมวดที่ 5 การเบิกจ่ายเงิน หมวดที่ 6 การเก็บรักษาเงิน หมวดที่ 7 การบัญชีและรายงานการเงิน หมวดที่ 8 การตรวจสอบ หมวดที่ 9 บทเบ็ดเตล็ด

  20. หมวดที่ 1 ประเภทและการใช้เงินรายได้ • ข้อ 9 การซื้อ การจ้าง หรือการดำเนินการอื่น ที่เกี่ยวกับการพัสดุ โดยใช้เงินรายได้ถือปฏิบัติตามระเบียบ มหาวิทยาลัยว่าด้วยการพัสดุ (ปัจจุบัน มหาวิทยาลัยฯยังไม่มีระเบียบนี้ใช้ ให้ถือปฏิบัติตามระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม)

  21. หมวดที่ 5 การเบิกจ่ายเงิน ข้อ 19 การอนุมัติดำเนินการ ตลอดจนสั่งจ่ายเงินทุกหมวด รายจ่าย 19.1 หัวหน้าหน่วยงาน หรือผู้ที่ได้รับมอบอำนาจจากอธิการบดี ภายในวงเงินไม่เกินครั้งละ 1,000,000 บาท (หัวหน้าหน่วยงาน หมายถึง คณบดี ผู้อำนวยการสำนัก ผู้อำนวยการสถาบัน หัวหน้าสำนักงานอธิการบดี หัวหน้าสำนักงานวิทยาเขต หรือหัวหน้าหน่วยงานอื่นเทียบเท่าคณะ)

  22. 19.2รองอธิการบดี ภายในวงเงินไม่เกินครั้งละ 2,000,000 บาท 19.3 อธิการบดีภายในวงเงินไม่เกินครั้งละ 5,000,000 บาท หากเกินวงเงินดังกล่าวอธิการสามารถอนุมัติและสั่งจ่าย ได้ตามความเหมาะสม แล้วให้รายงานให้สภา มหาวิทยาลัย ทราบในการประชุมครั้งต่อไป การอนุมัติใช้จ่ายเงินให้เป็นไปตามประมาณการรายจ่าย ที่สภามหาวิทยาลัยให้ความเห็นชอบแล้ว (ฉบับที่2 พ.ศ.2549)

  23. ข้อ 20 ให้หน่วยงานมีเงินรายได้ไว้ทดรองจ่ายได้ไม่เกิน 1,000,000 บาท โดยเบิกจากบัญชีหน่วยงาน ข้อ 21ให้หน่วยงานมีเงินสำรองจ่ายไม่เกิน 10 % ของเงิน รายได้ของหน่วยงานในขณะนั้น

  24. ข้อ 22 ให้กองคลังหรือหน่วยงานที่รับผิดชอบงานด้านการเงิน ของวิทยาเขตมีเงินสดได้ไม่เกินวันละ 200,000 บาท และให้หน่วยงานที่รับผิดชอบด้านการเงินมีเงินสด ไม่เกิน วันละ 100,000 บาท ข้อ 23การเบิกจ่ายเงินรายได้ ให้ใช้หลักเกณฑ์และวิธีการตาม ระเบียบกระทรวงการคลัง ว่าด้วยการเบิกจ่ายเงินจาก คลังโดยอนุโลมเว้นแต่อธิการบดีจะกำหนดไว้เป็น อย่างอื่น

  25. ระเบียบข้อ 5 ให้อธิการบดีมีอำนาจและหน้าที่ดังต่อไปนี้ 5.1 ออกระเบียบและแนวปฏิบัติเพื่อปฏิบัติตามระเบียบนี้ 5.2 วินิจฉัยชี้ขาดปัญหาที่เกี่ยวกับการปฏิบัติตามระเบียบนี้ 5.2 เสนอรายงานการเงินให้สภามหาวิทยาลัยทราบ ปีละ 1 ครั้ง

More Related