1 / 28

ปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจ ( Ventilator – associated pneumonia)

ปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจ ( Ventilator – associated pneumonia). วัตถุประสงค์. 1.เพื่อศึกษาธรรมชาติและปัจจัยของการเกิดโรคปอดอักเสบที่ติดเชื้อในโรงพยาบาล 2.เพื่อศึกษาวิทยาการระบาดของโรคปอดอักเสบที่ติดเชื้อในโรงพยาบาล

marli
Télécharger la présentation

ปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจ ( Ventilator – associated pneumonia)

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. ปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจ(Ventilator – associated pneumonia)

  2. วัตถุประสงค์ • 1.เพื่อศึกษาธรรมชาติและปัจจัยของการเกิดโรคปอดอักเสบที่ติดเชื้อในโรงพยาบาล • 2.เพื่อศึกษาวิทยาการระบาดของโรคปอดอักเสบที่ติดเชื้อในโรงพยาบาล • 3.เพื่อศึกษาการเฝ้าระวังและการสอบสวนการระบาดของโรคปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจ • 4.เพื่อศึกษาการป้องกันและควบคุมโรคในแต่ระยะตามธรรมชาติของโรค

  3. ที่มาและความสำคัญ • ข้อมูลการระบาดวิทยาและอุบัติการณ์ของการเกิดปอดอักเสบจาการใช้เครื่องช่วยหายใจ ได้ข้อมูลจากการระวังการติดเชื้อในโรงพยาบาลของศูนย์ควบคุมโรค สหรัฐอเมริกาพบว่า อัตราการเกิดปอดอักเสบจาการใช้เครื่องช่วยหายใจ เป็นการติดเชื้อในโรงพยาบาลอันดับสองรอจากการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ โดยอยู่ที่ 4.7-34.4 ครั้งต่อจำนวนผู้ป่วยที่ได้รับเครื่องช่วยหายใจ 1000 วัน

  4. ที่มาและความสำคัญ(ต่อ)ที่มาและความสำคัญ(ต่อ) • ในประเทศไทยจากการศึกษา อุบัติการณ์ปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจ ในหออายุรกรรมโรงพยาบาลศีริราช อยู่ที่ 17 – 18.8 ครั้งต่อ 1000 วันที่ใช้เครื่องช่วยหายใจ และจากการรายงานของโรงพยาบาลรามาธิบดี 2542 พบว่า ตึกผู้ป่วยอายุรกรรม มีอุบัติการณ์ปอดอักเสบ จากการใช้เครื่องช่วยหายใจ 17 ครั้งต่อ 1000 วันที่ใช้เครื่องช่วยหายใจ

  5. ความหมาย ปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจ (Ventilator-associated Pneumonia : VAP)หมายถึง ภาวะปอดอักเสบที่เกิดขึ้นในผู้ป่วยที่ใส่ท่อช่วยหายใจและใช้เครื่องช่วยหายใจโดยเกิดหลังจากผู้ป่วยใช้เครื่องช่วยหายใจนานกว่า 48 ชั่วโมง หรือหลังจากถอดเครื่องช่วยหายใจภายใน 48-72 ชั่วโมง ผู้ป่วยอาจมีภาวะปอดอักเสบอยู่แล้ว และได้รับการรักษาจนอาการดีขึ้นแล้ว (เช่น ไข้ลดลงติดต่อกัน 24-48 ชั่วโมง เสมหะน้อยลง ผู้ป่วยหายใจดีขึ้น) หากพบว่ามีอาการของปอดอักเสบเกิดขึ้นใหม่ ซึ่งอาจมีสาเหตุจากเชื้อตัวเดิมหรือเชื้อตัวใหม่ ให้ถือเป็นการเกิดปอดอักเสบครั้งใหม่ (superinfection) (คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดลสถาบันบำราศนราดูร กรมควบคุมโรค,2552)

  6. ปัจจัยที่ก่อให้เกิดโรค

  7. ความไม่สมดุลทางสุขภาพของโรคปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจความไม่สมดุลทางสุขภาพของโรคปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจ ภาพที่ 1.1 ความสัมพันธ์ระหว่าง Host Agent และ Environment A=Agent (สิ่งที่ทำให้เกิดโรค) H=Host (คนหรือกลุ่มชน) E=Environment (สิ่งแวดล้อม)

  8. ความไม่สมดุลทางสุขภาพของโรคปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจ(ต่อ)ความไม่สมดุลทางสุขภาพของโรคปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจ(ต่อ) • จากภาพสามารถอธิบายได้ว่า Host หรือผู้ป่วยที่เข้ามารักษาในโรงพยาบาล ซึ่งมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อได้ง่าย เช่น ผู้สูงอายุที่ใส่ท่อช่วยหายใจ เด็กที่มีอายุต่ำกว่า 5 ขวบ เป็นต้น โดยที่มีระยะเวลาในการนอนโรงพยาบาลมากกว่า 48 ชั่วโมงร่วมกับมีการใส่เครื่องช่วยหายใจ และมีสิ่งแวดล้อมบนหอผู้ป่วยที่เอื้อต่อการทำให้ Host มีโอกาสติดเชื้อได้ง่าย โดยที่ตัว Agent ไม่มีการเปลี่ยนแปลง สิ่งแวดล้อมบนหอผู้ป่วยอันได้แก่ ฝุ่น หรือสุขอนามัยในโรงพยาบาล(ความสะอาดทั่วไปและความสะอาดของเครื่องมืออุปกรณ์ทางการแพทย์) การใส่เครื่องช่วยหายใจ ระบบ IC ในโรงพยาบาล สภาพภูมิศาสตร์บน ward เป็นต้น

  9. Web of causation Ventilator – associated pneumonia

  10. ผู้ป่วย สิ่งแวดล้อมใน เชื้อแบคทีเรีย ผู้ป่วยเด็ก -สุขอนามัยในโรงพยาบาล (ความสะอาดทั่วไปและความสะอาดของเครื่องมืออุปกรณ์ทางการแพทย์) -การใส่เครื่องช่วยหายใจ -ระบบ IC ในโรงพยาบาล -สภาพภูมิศาสตร์บน ward (ความหนาแน่นของจำนวนผู้ป่วย และสภาพอากาศ) เชื้อกรัมลบที่พึ่งออกซิเจนได้แก่ Escherichia coli, Klebsiella pneumonia, Pseudomonas aeruginosa,Stenotrophomonasmaltophilia, Acinetobacter ผู้ป่วยผู้ใหญ่อายุ มากกว่า 70 ปี ผู้ป่วยภาวะชัก ผู้ป่วยโรคปอดเรื้อรัง ผู้ป่วยที่มีพยาธิสภาพทางสมอง เชื้อแบคทีเรียกรัมบวกที่พึ่งออกซิเจนได้แก่ S.areus ผู้ป่วยระดับความรู้สึกตัวลดลง การสูดสำลัก ผู้ป่วยที่ได้รับยาสลบ ภูมิต้านทานต่ำ ปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจ(Ventilator – associated pneumonia)

  11. Web of causation Ventilator – associated pneumonia • ประกอบด้วย Host , Agent ,Environment และสามารถแยกออกได้ดังนี้ Host ก็คือผู้ป่วยเป็นหลัก ซึ่งได้แก่ ผู้ป่วยเด็ก และผู้ป่วยผู้ใหญ่ที่มีอายุมากกว่า 70 ปี ผู้ป่วยโรคปอด ผู้ป่วยทุกประเภทและมีภูมิต้านทานต่ำ เป็นผลให้เกิดความไวต่อการติดเชื้อในโรงพยาบาลและดับความรู้สึกตัวลดลงผู้ป่วยที่มีภาวะชัก ผู้ป่วยที่มีพยาธิสภาพทางสมองและผู้ป่วยที่ได้รับยาสลบ ซึ่งในผู้ป่วยที่มีระดับความรู้สึกตัวลดลงนี้จะมีความเสี่ยงต่อการสูดสำลัก ซึ่งการใส่ท่อช่วยหายใจจะไปขัดขวางการไออย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้มีการคั่งค้างของเสมหะ และการนอนราบก็จะทำให้เกิดการสำลักได้ง่ายจากการไหลย้อนของสารเหลวในกระเพาะอาหารมาอยู่ที่บริเวณหลอดคอ หากผู้ป่วยมีการสำลักมีโอกาสเกิดปอดอักเสบได้มากขึ้น

  12. Web of causation Ventilator – associated pneumonia • Environment หรือสิ่งแวดล้อมต่างๆที่อยู่รอบตัว ผู้ป่วยก็เป็นปัจจัยสำคัญอย่างหนึ่งที่ทำให้เกิด VAP ได้ เช่น สุขอนามัยในโรงพยาบาล (ความสะอาดทั่วไปและความสะอาดของเครื่องมืออุปกรณ์ทางการแพทย์) ระบบ IC ในโรงพยาบาลและสภาพภูมิศาสตร์บน word เช่น ความหนาแน่นของจำนวนผู้ป่วยและการถ่ายเทของอากาศซึ่งปัจจัยเหล่านี้ล้วนแล้วเป็นปัจจัยที่จะกระตุ้นให้ผู้ป่วยซึ่งมีภูมิต้านทานต่ำอยู่แล้วมีความไวต่อการเกิดโรคได้มากขึ้น จำทำให้ผู้ป่วยมีโอกาสเกิด VAP ได้มีความไวต่อการเกิดโรคได้มากขึ้น จึงทำให้ผู้ป่วยมีโอกาสเกิด VAP ได้

  13. Web of causation Ventilator – associated pneumonia • Agent ซึ่งได้แก่ เชื้อแบคทีเรียต่างๆ ได้แก่ เชื้อกรัมลบที่พึ่ง ออกซิเจน escherichai coli, Klebsellapnenmonia,Pseudomonasaeruginosa ,Stenotrophomonasmaltophilia,Acinetobacterส่วนเชื้อแบคทีเรียกรัมบวกที่พึ่งออกซิเจนได้แก่ S.arensซึ่งเชื้อเหล่านี้มีอยู่ในสิ่งแวดล้อม เมื่อผู้ป่วยมีการสัมผัสกับเชื้อทั้งจากการใช้เครื่องช่วยหายใจโดยตรงหรือทางอ้อมก็จะทำให้ผู้ป่วยที่มีภูมิต้านทานต่ำรับเชื้อเข้าไปและร่างกายไม่สามารถต่อต้านกับเชื้อเหล่านี้ได้ทำให้เกิด การติดเชื้อ

  14. ธรรมชาติของการเกิดโรคธรรมชาติของการเกิดโรค

  15. ธรรมชาติของการเกิดโรคธรรมชาติของการเกิดโรค 1.ระยะมีความไวต่อการเกิดโรค (Stage of susceptibility) ปกติมนุษย์จะมีกลไกป้องกันตนเองตามธรรมชาติ เพื่อป้องกันการติดเชื้อและกำจัดเชื้อจุลชีพ ได้แก่ ภูมิคุ้มกันชนิดจำเพาะต้านแอนติบอดี ภูมิคุ้มกันชนิดต้านเซลล์ และภูมิคุ้มกันชนิดไม่จำเพาะ ระบบการกรองภายในโพรงจมูก เป็นต้น การใส่ท่อช่วยหายใจทางปาก ทางจมูก หรือท่อเจาะคอ การใช้เครื่องช่วยหายใจจะไปรบกวนความสามารถในการไอ ทำให้การไอไม่มีประสิทธิภาพ อากาศสามารถผ่านลงสู่ทางเดินหายใจส่วนล่างได้ โดยไม่ผ่านระบบการกรองและจากระบบของเครื่องช่วยหายใจ ที่มีแรงดันเป็นบวกจะทำให้อากาศที่ผ่านเข้าไปเร็ว และแรงขึ้น ขัดขวางการทำงานของ cilia อีกทั้งการได้รับออกซิเจนเข้มข้นเป็นระยะเวลานานมีผลทำให้ความถี่ในการโบกพัดของ cilia ลดลง เกิดการคั่งค้างของเสมหะในทางเดินหายใจ ทำให้แบคทีเรียในช่องปากมีการแบ่งตัวและเพิ่มจำนวนมากขึ้น

  16. ธรรมชาติของการเกิดโรค (ต่อ) • 2.ระยะก่อนมีอาการของโรค (Stage of preclinical disease) ในระยะนี้จะเป็นระยะที่เริ่มมีพยาธิสภาพของโรคเกิดขึ้นแล้ว แต่ยังไม่มีอาการ (symptom)ของโรค โดยที่ผู้ป่วยที่ใส่ท่อช่วยหายใจและใช้เครื่องช่วยหายใจ มีกลไกที่เชื้อจุลชีพจะเข้าไปทำให้เกิดการติดเชื้อของเนื้อปอด ได้แก่การสำลักเชื้อจุลชีพจากปาก หรือลำคอผ่านหลอดลมเข้าสู่ปอด การหายใจเอาละอองที่มีเชื้อจุลชีพเข้าไปในปอด การแพร่กระจายของเชื้อจุลชีพตามระบบเลือดหรือระบบน้ำเหลือง และการแพร่กระจ่ายของเชื้อจุลชีพจากบริเวณใกล้เคียง

  17. ธรรมชาติของการเกิดโรค(ต่อ)ธรรมชาติของการเกิดโรค(ต่อ) • 3.ระยะมีอาการของโรค (Stage of clinical disease) เมื่อเชื้อจุลชีพเข้าสู่ระบบทางเดินหายใจส่วนล่าง จะกระตุ้นให้ร่างกายมีการตอบสนอง โดยเพิ่มการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน ในการยับยั้งการทำงานของเชื้อจุลชีพหรือทำลายเชื้อจุลชีพเหล่านั้น เพื่อป้องกันการเกิดโรค หากร่างกายไม่สามารถทำลายเชื้อจุลชีพที่เข้าไปได้ จะทำให้มีอาการแสดงของปอดอักเสบเกิดขึ้น ได้แก่ อาการไข้ ซึ่งมักเป็นแบบเฉียบพลัน ไอ เสมหะสีเขียวหรือเหลืองคล้ายหนอง ตรวจพบเม็ดเลือดขาวในเลือดสูงกว่าปกติถ่ายภาพรังสีทรวงอกมองเห็น รอยเงาฝ้าทึบของสารเหลวในถุงลม (Infiltration)

  18. ธรรมชาติของการเกิดโรค(ต่อ)ธรรมชาติของการเกิดโรค(ต่อ) • 4.ระยะมีความพิการของโรค (Stage of disability) 1.พวกที่เป็นโรคแล้วหายสนิท โดยเมื่อร่างกายมีภูมิต้านทานโรคเกิดขึ้นเม็ดเลือดขาวสามารถทำลายแบคทีเรียที่อยู่ในถุงลมได้หมดและเริ่มสลายตัวขณะเดียวกันก็มีเอนไซม์ออกมาละลายไฟบรินและสารเหลวชนิดเอ็กซูเดท (exudates) และส่วนใหญ่จะถูกกำจัดโดยเซลล์ชนิดโมโนนิวเคลียร์ที่เหลือจะหลุดออกมาเป็นเสมหะขณะไอ การอักเสบที่เยื่อหุ้มปอดจะหายไปและพยาธิสภาพของปอดอักเสบจะกลับคืนปกติ 2.พวกที่ป่วยเป็นโรคแล้วหายไม่สนิท มีความพิการเกิดขึ้นในระยะสั้นหรือยาว โดยที่ว่าจะมีในรายที่มีการทำลายเนื้อเยื่อต่างๆ อย่างมากอาจพบพังพืดเกิดขึ้นแทน ที่ก่อให้เกิดความพิการและการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมทั้งในด้านหน้าที่และการทำงาน

  19. ธรรมชาติของการเกิดโรค(ต่อ)ธรรมชาติของการเกิดโรค(ต่อ) • 4.ระยะมีความพิการของโรค (Stage of disability) 3.พวกที่ป่วยเป็นโรคแล้วมีอาการมากจนถึงแก่กรรมไปเลยก็จะเป็นพวกที่มีภาวะแทรกซ้อนในระหว่างการรักษา ภาวะแทรกซ้อนของโรค และภาวะแทรกซ้อนจากตัวผู้ป่วยเอง เช่น มีการหายใจล้มเหลว และมีโรคประจำตัวอยู่แล้ว เช่น มะเร็ง ภูมิคุ้มกันบกพร่อง โรคปอดเรื้อรังและไตวายเป็นต้น

  20. แนวทางการเฝ้าระวังโรคปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจแนวทางการเฝ้าระวังโรคปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจ • จากวิธีการเฝ้าระวังในแบบต่างๆที่ได้ทำการศึกษามาแล้ว ทางกลุ่มเห็นว่าการเฝ้าระวังการติดเชื้อในโรงพยาบาล จำเป็นที่จะต้องดำเนินการแบบ Hospital – wide Surveillance และเพื่อให้ได้ข้อมูลที่เฉพาะเจาะจงในการแก้ไขปัญหาการติดเชื้อในบางตำแหน่งที่พบมาก ควรมีการดำเนินการแบบ Priority directed Surveillance ร่วมด้วย • โดยที่ การเฝ้าระวังแบบ Hospital – wide Surveillance เป็นการเฝ้าระวังในทุกหอผู้ป่วยในโรงพยาบาล เฝ้าระวังการติดเชื้อผู้ป่วยทุกรายที่รับการรักษาในโรงพยาบาล เฝ้าระวังการติดเชื้อทุกตำแหน่ง การเฝ้าระวังวิธีมีประโยชน์ต่อการป้องกันและควบคุมการติดเชื้อ แต่การเฝ้าระวังวิธีนี้จะต้องใช้เวลาและบุคลากรจึงจะช่วยให้ได้ข้อมูลที่มีประสิทธิภาพ(อะเคื้อ อุณหเลขกะ,2548)

  21. แนวทางการเฝ้าระวังโรคปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจ(ต่อ)แนวทางการเฝ้าระวังโรคปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจ(ต่อ) • และการเฝ้าระวังแบบ Priority directed Surveillance เป็นการเฝ้าระวังการติดเชื้อในโรงพยาบาลที่พบว่าเป็นปัญหาที่สำคัญ เจาะจงเฝ้าระวังการติดเชื้อที่มีความรุนแรงก่อนดำเนินการจะต้องมีการจัดลำดับความสำคัญของการติดเชื้อในโรงพยาบาลตามตำแหน่งต่างๆ โดยใช้ข้อมูลจำนวนครั้งของการติดเชื้อตามตำแหน่งต่างๆ อัตราผู้ป่วยตายจากการติดเชื้อแต่ละตำแหน่ง (อะเคื้อ อุณหเลขกะ,2548)

  22. การสอบสวนการระบาดของโรคปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจการสอบสวนการระบาดของโรคปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจ • ขั้นตอนการสอบสวนโรค (จรวย สุวรรณบำรุง,2555) 1.ตรวจสอบการวินิจฉัย (Verify diagnosis) • การวินิจฉัยทาง Clinic • การวินิจฉัยทางห้องปฏิบัติการ • ผลการตรวจทางพยาธิสภาพ 2.ตรวจสอบว่ามีการระบาดอยู่จริง (Verify the existence of en epidemic) เป็นการพิจารณาเปรียบเทียบอัตราผู้ป่วยใหม่ที่เกิดขึ้นในระยะเวลานั้นกับผู้ป่วยใหม่ในช่วงเวลาที่ผ่านมาหรือระยะเวลาเดียวกันในช่วงปีที่ผ่านมา

  23. การสอบสวนการระบาดของโรคปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจ(ต่อ)การสอบสวนการระบาดของโรคปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจ(ต่อ) 3.การประเมินอย่างรวดเร็วเกี่ยวกับปัจจัยต่างๆที่เป็นสาเหตุของการระบาด (Rapid evaluation of epidemiologic potentialities)เป็นการประมวลเหตุการณ์คร่าวๆว่ามีปัจจัยใดที่เกี่ยวข้อง โดยมีการซักประวัติการมีประสบการณ์ร่วมกับ (Common experience)เป็นแนวทางชี้นำไปสู่การสอบสวน และการพิจารณาสิ่งแวดล้อมของกลุ่มผู้ป่วยว่าปัจจัยใดเป็นสาเหตุการระบาด 4.การรวบรวมข้อมูล (Collection data)การเก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อทำการศึกษาทางวิทยาการระบาด 5.การวิเคราะห์ข้อมูล (Analysis data)โดยมีการวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานทางวิทยาการระบาด

  24. การสอบสวนการระบาดของโรคปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจ(ต่อ)การสอบสวนการระบาดของโรคปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจ(ต่อ) 6.การตั้งสมมติฐาน (Information of hypothesis)การกำหนดสมมติฐานเกี่ยวกับการระบาดของโรคว่ามีลักษณะการระบาด แหล่งเพาะเชื้อ และวิธีการแพร่เชื้ออย่างไร 7.การทดสอบสมมติฐาน (Testing hypothesis)ในบางตำรากล่าวถึงในลักษณะการศึกษาทางวิทยาการระบาดในการทดสอบสมมติฐาน เพื่อจะบอกว่าสมมุติฐานที่ตั้งไว้เป็นจริงหรือไม่ • การเปรียบเทียบลักษณะหรือปัจจัยต่างๆ ในกลุ่มผู้ป่วยและกลุ่มผู้ไม่ป่วย • การเปรียบเทียบอัตราการป่วยในกลุ่มที่สัมผัสและไม่สัมผัสปัจจัยที่สงสัย • การตรวจสอบทางห้องปฏิบัติการเกี่ยวกับสิ่งที่ทำให้เกิดโรคและวิธีการแพร่โรค

  25. การสอบสวนการระบาดของโรคปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจ(ต่อ)การสอบสวนการระบาดของโรคปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจ(ต่อ) 8.การจัดการกับการระบาด (Manage of epidemic)การจัดการทางวิทยาการระบาดเพื่อควบคุมการระบาดของโรคจะกระทำก่อนหรือขณะที่มีการสอบสวนโรค • การรักษาผู้ป่วย • การสืบหาประชากรที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคและประชากรที่เป็นพาหะนำโรค • การป้องกันการแพร่กระจายและวางมาตรการในการควบคุม 9.การรายงานผลการสอบสวน (Report of the investigation)การรายงานเป็นสิ่งสำคัญโดยมีหัวข้อเหมือนการเขียนรายงานตีพิมพ์โดยมี คำนำ วิธีการ ผล อภิปรายผล บทสรุป และเอกสารอ้างอิง โดยมีเนื้อหาครอบคลุม • ลักษณะการระบาดของโรคตามบุคคล สถานที่ และเวลา • สาเหตุของการระบาดของโรค สิ่งที่ทำให้เกิดโรค แหล่งแพร่เชื้อ และวิธีการแพร่เชื้อ • ข้อเสนอแนะในการป้องกันการระบาดครั้งต่อไป

  26. แนวทางปฏิบัติการป้องกันปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจ(คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดลสถาบันบำราศนราดูร กรมควบคุมโรค,2552) 1.การล้างมือทั้งก่อนและหลังการสัมผัสผู้ป่วยและอุปกรณ์ทางการแพทย์ 2.การดูแลจัดท่าให้ผู้ป่วยนอนศีรษะสูง 30-45 องศา และพลิกตะแคงตัวอย่างน้อยทุก 2 ชั่วโมง ในกรณีที่ไม่ได้ปฏิบัติกิจกรรมที่จำเป็นต้องนอนราบ และไม่มีข้อห้ามทางการแพทย์ 3.การดูแลผู้ป่วยที่ใส่ท่อหลอดลมคอโดยระวังไม่ให้มีท่อมีการเลื่อนหลุด 4.การดูแลทำความสะอาดแผลเจาะคออย่างน้อยวันละ 3 ครั้งโดยยึดหลักเทคนิคปลอดเชื้อ (Aseptic technique) 5.การดูแลในการดูดเสมหะให้กับผู้ป่วยโดยจะต้องดูดในปากก่อนที่จะดูดในท่อช่วยหายใจ และจะต้องประเมินทั้งก่อนและหลังการดูดเสหะ บันทึกสีและลักษณะของเสมหะลงในบันทึกทางการพยาบาล

  27. แนวทางปฏิบัติการป้องกันปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจ(คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดลสถาบันบำราศนราดูร กรมควบคุมโรค,2552) (ต่อ) 6.การดูแลทำความสะอาดในช่องปากให้กับผู้ป่วยอย่างน้อยวันละ 3 ครั้งและในขณะทำความสะอาดช่องปากต้องให้ผู้ป่วยนอนศีรษะสูงตะแคงหน้าไปด้านใดด้านหนึ่งเพื่อป้องกันการสำลัก 7.การดูแลให้ผู้ป่วยได้รับอาหารทางสายยาง หลังให้อาหารให้ผู้ป่วยนอนในท่าศีรษะสูงอย่างน้อย 1 ชั่วโมง และจะต้องหลีกเลี่ยงการดูดเสมหะหลังให้อาหาร 1 ชั่วโมง 8.การดูแลให้ผู้ป่วยได้รับยาป้องกันเลือดออกในทางเดินอาหารส่วนต้นโดยจะพิจารณาให้ในผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดเลือดออกเท่านั้น ได้แก่ -ใช้เครื่องช่วยหายใจมากกว่า 48 ชั่วโมง -มีความผิดปกติของการแข็งตัวของเลือด

  28. แนวทางปฏิบัติการป้องกันปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจ(คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล สถาบันบำราศนราดูร กรมควบคุมโรค,2552) (ต่อ) 9.การช่วยผู้ป่วยในเรื่องของการหย่าเครื่องช่วยหายใจ โดยจะต้องมีการประเมินความพร้อมที่จะถอดเครื่องช่วยหายใจออกและจะสอนการหายใจให้กับผู้ป่วย 10.การดูแลเปลี่ยนอุปกรณ์เครื่องช่วยหายใจไม่ควรเปลี่ยนบ่อยกว่าทุก 7 วันยกเว้นถ้าสกปรกหรือชำรุด

More Related