1 / 43

วิชาเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อชีวิต รหัสวิชา 4000107 Information Technology for Life

วิชาเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อชีวิต รหัสวิชา 4000107 Information Technology for Life. อ.รจนา วานนท์ Master of Business Administration (MBA ) roseyayee@gmail.com roseyayee.wordpress.com Atta- yayee FacebooK Tel089-7204020. 1 ความรู้ เบื้องต้นเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศ.

vern
Télécharger la présentation

วิชาเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อชีวิต รหัสวิชา 4000107 Information Technology for Life

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. วิชาเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อชีวิต รหัสวิชา4000107Information Technology for Life อ.รจนา วานนท์ Master of Business Administration (MBA) roseyayee@gmail.com roseyayee.wordpress.com Atta-yayeeFacebooK Tel089-7204020

  2. 1 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศ • ข้อมูล (Data) หมายถึง ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับสิ่งต่าง ๆ หรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวันของมนุษย์เรา ข้อมูลอาจได้มาจากการสังเกต การวัด หรือการนับ (นรีรัตน์ นิยมไทย,2549:11) ข้อมูลมักเป็นข้อความที่อธิบายถึงสิ่งใดสิ่งหนึ่ง อาจเป็นตัวอักษร ตัวเลข หรือสัญลักษณ์ใด ๆ ที่สามารถนำไปประมวลผลด้วยคอมพิวเตอร์ได้ ตัวอย่างเช่น จำนวน ราคา ปริมาณ ชื่อ ที่อยู่ หมายเลขโทรศัพท์ เป็นต้น

  3. 1. ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศ (ต่อ) • สารสนเทศ (information) หมายถึง ข้อมูล ข่าวสารที่ได้จากการวิเคราะห์ หรือผ่านการประมวลผลแล้ว สามารถนำไปใช้ให้เป็นประโยชน์ได้ (นรีรัตน์ นิยมไทย, 2549 : 11) • ข้อมูลและสารสนเทศนับว่ามีประโยชน์ต่อการนำไปใช้บริหารงานด้านต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ • ด้านการวางแผน • ด้านการตัดสินใจ • ด้านการดำเนินงาน

  4. 1. ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศ (ต่อ) • เทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology : IT) หรือเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (Information and Communication Technologies: ICTs) ก็คือ เทคโนโลยีสองด้าน หลัก ๆ ที่ประกอบด้วยเทคโนโลยีระบบคอมพิวเตอร์ และ เทคโนโลยีสื่อสารโทรคมนาคมที่ผนวกเข้าด้วยกัน เพื่อใช้ในกระบวนการจัดหา จัดเก็บ สร้าง และเผยแพร่สารสนเทศในรูปต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นเสียง ภาพ ภาพเคลื่อนไหว ข้อความหรือตัวอักษร และตัวเลข เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ ความถูกต้อง ความแม่นยำ และความรวดเร็วให้ทันต่อการนำไปใช้ประโยชน์

  5. 1. ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศ (ต่อ) • เทคโนโลยีสารสนเทศ คือเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับการจัดเก็บประมวลผล และเผยแพร่สารสนเทศ ซึ่งรวมแล้วก็คือ เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีการสื่อสารโทรคมนาคม หรือ Computer and Communications ที่นิยมเรียกกันย่อ ๆ ว่า C & C อย่างไรก็ตาม มีแนวโน้มที่จะนับเทคโนโลยีอื่น ๆ ที่เป็นองค์ประกอบของ C & C และเกี่ยวเนื่องเข้ามาเป็นเทคโนโลยีสารสนเทศด้วย เช่น เทคโนโลยีไมโครอิเล็กทรอนิกส์ เทคโนโลยีระบบอัตโนมัติ เทคโนโลยีการพิมพ์ เทคโนโลยีสำนักอัตโนมัติ เทคโนโลยีการศึกษา เป็นต้น (ทรงศักดิ์ แก้วอ่อง, 2546 : 77)

  6. 1. ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศ (ต่อ) • เทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology : IT) หมายถึง การนำวิทยาการที่ก้าวหน้าทางด้านคอมพิวเตอร์และการสื่อสาร มาสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสารสนเทศ ทำให้สารสนเทศมีประโยชน์และใช้งานได้กว้างขวางมากขึ้น เทคโนโลยีสารสนเทศรวมถึงการใช้เทคโนโลยีด้านต่าง ๆ ในการรวบรวมจัดเก็บ ใช้งาน ส่งต่อ หรือสื่อสารระหว่างกัน เทคโนโลยีสารสนเทศเกี่ยวข้องโดยตรงกับเครื่องมือเครื่องใช้ในการจัดการสารสนเทศ ได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์รอบข้าง ขั้นตอนวิธีการดำเนินการซึ่งเกี่ยวข้องกับซอฟต์แวร์ เกี่ยวข้องกับข้อมูล บุคลากร และกรรมวิธีการดำเนินงานเพื่อให้ข้อมูลเกิดประโยชน์สูงสุด (กมลชนก ใยปางแก้ว, 2552 : 4)

  7. ความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมี 5 ประการ(Souter 1999: 409) ได้แก่ • ประการแรก การสื่อสารถือเป็นสิ่งจำเป็นในการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ของมนุษย์ สิ่งสำคัญที่มีส่วนในการพัฒนากิจกรรมต่าง ๆ ของมนุษย์ประกอบด้วย Communications media การสื่อสารโทรคมนาคม (Telecoms) และเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT) • ประการที่สอง เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารประกอบด้วยผลิตภัณฑ์หลักที่มากไปกว่าโทรศัพท์และคอมพิวเตอร์ เช่น แฟกซ์ อินเทอร์เน็ต อีเมล์ ทำให้สารสนเทศเผยแพร่หรือกระจายออกไปในที่ต่าง ๆ ได้สะดวก

  8. ความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมี 5 ประการ(Souter 1999: 409) ได้แก่ • ประการที่สาม เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมีผลให้การใช้งานด้านต่าง ๆ มีราคาถูกลง • ประการที่สี่ เครือข่ายสื่อสาร (Communication networks) ได้รับประโยชน์จากเครือข่ายภายนอก เนื่องจากจำนวนการใช้เครือข่าย จำนวนผู้เชื่อมต่อ และจำนวนผู้ที่มีศักยภาพในการเข้าเชื่อมต่อกับเครือข่ายนับวันจะเพิ่มสูงขึ้น • ประการที่ห้า เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารทำให้ฮาร์ดแวร์คอมพิวเตอร์ และต้นทุนการใช้ ICT มีราคาถูกลงมาก

  9. บทบาทความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศบทบาทความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศ • เทคโนโลยีที่ใช้ในระบบสารสนเทศที่กำลังได้รับความสนใจอย่างมากในขณะนี้ คือ เทคโนโลยีสื่อประสม (Multimedia) ซึ่งรวมข้อความ ภาพ เสียง และวีดิทัศน์เข้ามาผสมกัน เทคโนโลยีนี้กำลังได้รับการพัฒนา ในอนาคตเทคโนโลยีแบบสื่อประสมจะช่วยเสริมและสนับสนุนงานด้านสารสนเทศให้ก้าวหน้าต่อไป เป็นที่คาดหมายว่าอัตราการเติบโตของผู้ทำงานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศจะมีมากขึ้น (กมลชนก ใยปางแก้ว, 2552 : 1-4)

  10. บทบาทความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศ (ต่อ) • แนวโน้มของเทคโนโลยีสารสนเทศค่อย ๆ กลายมาเป็นระบบรวม โดยให้คอมพิวเตอร์ระบบหนึ่งทำงานพร้อมกันได้หลาย ๆ อย่าง นอกจากใช้ประมวลผลข้อมูลด้านบัญชีแล้ว ยังใช้งานจัดเตรียมเอกสารแทนเครื่องพิมพ์ดีด ใช้รับส่งข้อความหรือจดหมายกับคอมพิวเตอร์ที่อยู่ห่างไกล ซึ่งอาจอยู่คนละซีกโลกในลักษณะที่เรียกว่า “ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์” (Electronic Mail หรือ E-Mail) สำหรับเครื่องถ่ายเอกสาร นอกจากจะใช้ถ่ายสำเนาเอกสารตามปกติแล้ว อาจเพิ่มขีดความสามารถให้ใช้งานเป็นเครื่องพิมพ์หรือรับส่งโทรสารได้อีกด้วย

  11. องค์ประกอบของระบบเทคโนโลยีสารสนเทศองค์ประกอบของระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ • เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ • ฮาร์ดแวร์ (Hardware) • ซอฟต์แวร์ (Software)

  12. องค์ประกอบของระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ (ต่อ) • เทคโนโลยีสื่อสารโทรคมนาคม • เทคโนโลยีที่ใช้ในการสื่อสารหรือเผยแพร่สารสนเทศ ได้แก่ เทคโนโลยีที่ใช้ในระบบโทรคมนาคมทั้งชนิดมีสายและไร้สาย เช่น ระบบโทรศัพท์ โมเด็ม แฟกซ์ โทรเลข ดาวเทียม วิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ เคเบิ้ลใยแก้วนำแสง และคลื่นไมโครเวฟ เป็นต้น ต้นแหล่งของข้อความ สื่อกลาง จุดรับข้อความ

  13. องค์ประกอบของระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ (ต่อ) เทคโนโลยีสารสนเทศสามารถจำแนกตามลักษณะการใช้งานได้เป็น 6 รูปแบบ ดังนี้ต่อไปนี้ • เทคโนโลยีที่ใช้ในการเก็บข้อมูล เช่น ดาวเทียมถ่ายภาพทางอากาศ กล้องดิจิทัล กล้องถ่ายวีดีทัศน์ และเครื่องเอกซเรย์ เป็นต้น • เทคโนโลยีที่ใช้ในการบันทึกข้อมูล จะเป็นสื่อบันทึกข้อมูลต่าง ๆ เช่น เทปแม่เหล็กจานแม่เหล็ก จานแสงหรือจานเลเซอร์ และบัตรเอทีเอ็ม เป็นต้น • เทคโนโลยีที่ใช้ในการประมวลผลข้อมูล ได้แก่ เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ทั้งฮาร์ดแวร์ และซอฟต์แวร์

  14. องค์ประกอบของระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ (ต่อ) เทคโนโลยีสารสนเทศสามารถจำแนกตามลักษณะการใช้งานได้เป็น 6 รูปแบบ ดังนี้ต่อไปนี้ (ต่อ) • เทคโนโลยีที่ใช้ในการแสดงผลข้อมูล เช่น เครื่องพิมพ์ จอภาพ และพลอตเตอร์ เป็นต้น • เทคโนโลยีที่ใช้ในการจัดทำสำเนาเอกสาร เช่น เครื่องถ่ายเอกสาร ไมโครฟิล์ม และเครื่องถ่าย เป็นต้น • เทคโนโลยีสำหรับถ่ายทอดหรือสื่อสารข้อมูล ได้แก่ ระบบโทรคมนาคมต่าง ๆ เช่น โทรทัศน์ วิทยุกระจายเสียง โทรเลข เทเล็กซ์ และระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ทั้งระยะใกล้และไกล

  15. ประโยชน์ที่ได้จากเทคโนโลยีสารสนเทศประโยชน์ที่ได้จากเทคโนโลยีสารสนเทศ • ช่วยให้ติดต่อสื่อสารระหว่างกันอย่างสะดวกรวดเร็วโดยใช้โทรศัพท์ เครือข่ายคอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ต • ช่วยในการจัดระบบข่าวสารจำนวนมหาศาล • ช่วยให้เก็บสารสนเทศไว้ในรูปที่สามารถเรียกใช้ได้ครั้งแล้วครั้งเล่าอย่างสะดวก • เพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสารสนเทศ เช่น ช่วยนักวิทยาศาสตร์ วิศวกร ในการคำนวณตัวเลขที่ยุ่งยาก ซับซ้อนซึ่งไม่สามารถทำให้สำเร็จได้ด้วยมือ

  16. ประโยชน์ที่ได้จากเทคโนโลยีสารสนเทศประโยชน์ที่ได้จากเทคโนโลยีสารสนเทศ • สามารถจัดระบบอัตโนมัติเพื่อการเก็บ เรียกใช้และประมวลผล • สามารถจำลองแบบระบบการวางแผนและทำนาย เพื่อทดลองกับสิ่งที่ยังไม่เกิดขึ้น • อำนวยความสะดวกในการเข้าถึงสารสนเทศ ดีกว่าสมัยก่อน ทำให้ผู้ใช้สารสนเทศมี ทางเลือกที่ดีกว่า มีประสิทธิภาพกว่า และสามารถแข่งขันกับผู้อื่นได้ดีกว่า • ช่วยให้มีการตัดสินใจที่ดีขึ้น จากการมีสารสนเทศประกอบการตัดสินใจและพิจารณาทางเลือกภายใต้เงื่อนไขต่าง ๆ

  17. ประโยชน์ที่ได้จากเทคโนโลยีสารสนเทศประโยชน์ที่ได้จากเทคโนโลยีสารสนเทศ • ลดค่าใช้จ่ายซึ่งเป็นผลมาจากการใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย ทำให้ประหยัดเวลาการทำงานหรือลดค่าใช้จ่ายในการทำงานลง • พัฒนาคุณภาพการเรียนการสอนโดยมีการค้นคว้าผ่านระบบเครือข่าย เพิ่มโอกาสให้นักศึกษาสามารถสืบค้นข้อมูลได้จากสถานที่อื่นนอกมหาวิทยาลัย เป็นการฝึกให้รู้จักเรียนรู้ด้วยต้นเองมากขึ้น • เพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงาน ทั้งในด้านความเที่ยงตรง ความรวดเร็วในความต้องการใช้ข้อมูล ข้อมูลมีความสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น สอดคล้องกับความต้องการของผู้ใช้ และสามารถตรวจสอบข้อมูลได้อย่างถูกต้อง • ช่วยในการรื้อปรับระบบ (Reengineering) และพัฒนาระบบสอดคล้องกับความต้องการขององค์การได้อย่างต่อเนื่อง โดยการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือการปรับระบบ และพัฒนาระบบให้ทันสมัยอยู่เสมอ

  18. ปัจจัยที่ทำให้เกิดความล้มเหลวในการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ปัจจัยที่ทำให้เกิดความล้มเหลวในการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ • ขาดการวางแผนที่ดีพอ • การนำเทคโนโลยีที่ไม่เหมาะสมมาใช้งาน • ขาดการจัดการหรือสนับสนุนจากผู้บริหารระดับสูง • ความกลัวการเปลี่ยนแปลง • การไม่ติดตามข่าวสารความรู้ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศอย่างสม่ำเสมอ • โครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศของประเทศกระจายไม่ทั่วถึง

  19. การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ • การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในสาขาการศึกษา • คอมพิวเตอร์ช่วยสอน • การเรียนการสอนโดยใช้เว็บเป็นหลัก • อิเล็กทรอนิกส์บุค • วิดีโอเทเลคอนเฟอเรนซ์ • ระบบวีดีโอออนดีมานด์ (Video on Demand) • การสืบค้นข้อมูล (Search Engine) • อินเทอร์เน็ต • การเรียนรู้แบบออนไลน์ หรือ E-Learning • ห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ (E-library)

  20. การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ (ต่อ) • การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในสาขาธุรกิจ พาณิชย์และสำนักงาน • E-commerce (Electronic Commerce) หรือการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ หมายถึง การทำธุรกรรมในเชิงธุรกิจทุกประเภทที่กระทำผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งรวมทั้งกิจกรรมการซื้อขาย การแลกเปลี่ยนสินค้าและกิจกรรมต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น การโฆษณา การประชา-สัมพันธ์ การส่งสินค้า การชำระเงิน และการบริการด้านข้อมูล เป็นต้น E-commerce นั้นสามารถให้บริการที่สะดวก รวดเร็ว และไม่จำกัดขอบเขตของผู้ใช้บริการและระยะเวลาทำการของหน่วยงาน

  21. การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ (ต่อ) • การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในสาขาธุรกิจ พาณิชย์และสำนักงาน • E-business เป็นธุรกิจเชิงอิเล็กทรอนิกส์ เป็นธุรกิจเชิงอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งมีขอบเขตที่กว้างกว่า E-commerce เนื่องจากเป็นการพิจารณาถึงองค์ประกอบทุกส่วนของการดำเนินธุรกิจ มิได้พิจารณาเพียงเฉพาะกิจกรรมการซื้อ-ขายเท่านั้น เป็นการปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ทางธุรกิจผนวกกับเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อดำเนินธุรกรรมต่าง ๆ และปรับปรุงธุรกิจให้มีความเป็นระบบ สามารถดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และช่วยเพิ่มศักยภาพของธุรกิจด้วยการดำเนินธุรกิจให้กลายเป็นรูปแบบ Online และครอบคลุมได้ทั่วโลก

  22. การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ (ต่อ) • การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในสาขาธุรกิจ พาณิชย์และสำนักงาน • การแลกเปลี่ยนข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Data Interchange: EDI) • สำหรับมาตรฐานของ EDI ในประเทศไทยถูกกำหนดโดยกรมศุลกากร ซึ่งเป็นหน่วยงานแรกที่นำระบบนี้มาใช้งาน คือ มาตรฐาน EDIFACT (Electronic Data Interchange for Administration, Commerce and Transport) ตัวอย่างของเอกสารที่นำมาใช้แลกเปลี่ยนข้อมูลด้วยระบบ EDI เช่น ใบสั่งซื้อสินค้า ใบเสนอราคา ใบกำกับสินค้า ใบเสร็จรับเงิน ใบกำกับภาษี

  23. การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ (ต่อ) ประโยชน์ของการใช้ระบบ EDI • ลดค่าใช้จ่ายด้านการจัดส่งเอกสาร • ลดเวลาทำงานในการป้อนข้อมูล ทำให้ข้อมูลมีความถูกต้องและลดข้อผิดพลาดจากการป้อนข้อมูลที่ซ้ำซ้อน • เพิ่มความรวดเร็วในการติดต่อสื่อสาร • ลดค่าใช้จ่ายและภาระงานด้านเอกสาร • แก้ปัญหาอุปสรรคทางภูมิศาสตร์และเวลา

  24. การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ (ต่อ) • การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในสาขาธุรกิจ พาณิชย์และสำนักงาน • ระบบสำนักงานอัตโนมัติ • การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในสาขาอุตสาหกรรมและการผลิต • การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในสาขาสาธารณสุขและการแพทย์

  25. การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ (ต่อ) • การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในสาขาการสื่อสารและโทรคมนาคม การประยุกต์ใช้ในงานประเภทนี้ได้แก่ การบริการโทรศัพท์ โทรศัพท์เคลื่อนที่ วิทยุ โทรทัศน์ เคเบิลทีวี การค้นคืนสารสนเทศระบบออนไลน์ ดาวเทียม และโครงข่ายบริการสื่อสารร่วมระบบดิจิทัล (ISDN) เป็นต้น • ดาวเทียม (Satellite) • โครงข่ายบริการสื่อสารร่วมระบบดิจิทัล(Integrated Service Digital Network- ISDN)

  26. การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ (ต่อ) • ระบบ ISDN หรือที่เรียกว่า Integrated Service Digital Network ซึ่งเป็นระบบที่องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยนำมาใช้เพื่อให้บริการส่งข้อมูลในลักษณะโครงข่าย ISDN โดยเป็นโครงข่ายโทรคมนาคมความเร็วสูงในระบบดิจิทัลที่สามารถส่งทั้งสัญญาณ เสียง และข้อมูล ต่าง ๆ ร่วมไปในสายเส้นเดียวกัน และสามารถเชื่อมต่อกับโครงข่ายโทรศัพท์ในปัจจุบัน (PSTN) รวมทั้งการเชื่อมต่อกับโครงข่ายส่วนบุคคลอื่น (Private Network) เพื่อติดต่อกับผู้ใช้บริการรายอื่นได้ทั่วประเทศ

  27. การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ (ต่อ) • การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในสาขาการสื่อสารและโทรคมนาคม (ต่อ) • โทรสาร (Facsimile) • โทรภาพสาร (Teletext) • ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Mail : E-mail) • การประชุมทางไกล (Teleconference) • เทคโนโลยีการติดต่อไร้สายแบบ Bluetooth

  28. การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ (ต่อ) • การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในหน่วยงานราชการต่าง ๆ • สำนักบริการเทคโนโลยีสารสนเทศภาครัฐ(Government Information Technology Services – GITS) ลักษณะงานของสำนักบริการเทคโนโลยีสารสนเทศภาครัฐ จะให้บริการเครือข่ายสารสนเทศภาครัฐ (Government Information Network) เพื่อตอบสนองการบริหารงานสำหรับหน่วยงานของภาครัฐได้อย่างปลอดภัยและมีประสิทธิภาพสูง ส่งเสริมหน่วยงานภาครัฐให้มีการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการดำเนินงานอันนำไปสู่การเป็น E-government และเป็นศูนย์กลางส่งเสริมให้เกิดระบบการเชื่อมโยงข่าวสารระหว่างภาครัฐและประชาชน

  29. การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ (ต่อ) • การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในหน่วยงานราชการต่าง ๆ • สำนักงานอัตโนมัติ (Office Automation - OA) สำนักงานอัตโนมัติที่หน่วยงานของรัฐจัดทำขึ้นมีชื่อว่า IT Model Office เป็นโครงการนำร่องที่จัดทำขึ้นเพื่อพัฒนาระบบเครือข่ายพื้นฐานของภาครัฐ ในรูปของสำนักงานอัตโนมัติ เช่น งานสารบรรณ งานจัดทำเอกสารและจัดส่งทางจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ งานแฟ้มเอกสาร งานบันทึกการนัดหมายผู้บริหาร งานด้านบัญชี (GF)

  30. การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ (ต่อ) • การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในหน่วยงานราชการต่าง ๆ • อินเทอร์เน็ตตำบล อินเทอร์เน็ตตำบล เป็นการวางระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตให้ตำบลต่าง ๆ ทั่วประเทศสามารถเข้าใช้อินเทอร์เน็ตได้อย่างมีประสิทธิภาพอันจะเป็นประโยชน์อย่างมากในด้านต่างๆ เช่น หน่วยงานของรัฐ และองค์กรต่างๆ สามารถมีส่วนร่วมในการจัดทำและใช้ประโยชน์จากระบบอินเทอร์เน็ตตำบล โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หน่วยงานที่อยู่ ณ ตำบลและใกล้ชิดกับประชาชนก็จะมีความสำคัญและความรับผิดชอบในการจัดทำ ตรวจสอบและปรับปรุงข้อมูล รวมทั้งให้บริการแก่กลุ่มชนต่าง ๆ

  31. การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ (ต่อ) • การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในหน่วยงานราชการต่าง ๆ • การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศด้านสรรพกร เนื่องจากกรมสรรพากรทำหน้าที่เป็นเหมือนแหล่งรายได้ของรัฐบาล รายได้จากการจัดเก็บภาษีของกรมสรรพากรมีมากถึง 60 เปอร์เซ็นต์ของรายได้รวมของประเทศ ดังนั้นรัฐบาลจำต้องให้ความสำคัญกับระบบการจัดเก็บ ข้อมูลและประวัติของผู้เสียภาษีอย่างต่อเนื่องนอกจากนี้ สภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ยังต้องการข้อมูลเพื่อนำไปวิเคราะห์เพื่อทำ Macro Model หรือแบบจำลองทางเศรษฐศาสตร์ให้กับประเทศอีกด้วย ปัจจุบันกรมสรรพกรได้จัดทำโครงการ E-revenue ซึ่งเป็นบริการเสียภาษีออนไลน์ นอกจากนี้ยังให้ข้อมูลข่าวสารที่มีประโยชน์ด้านการพาณิชย์ มีบริการโปรแกรมประการยื่นแบบ บริการแบบพิมพ์ บริการยื่นแบบผ่านอินเทอร์เน็ต เป็นต้น ซึ่งอำนวยความสะดวก รวดเร็ว มากยิ่งขึ้นต่อประชาชนผู้ใช้บริการ

  32. การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ (ต่อ) • การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในสาขาด้านความมั่นคงของชาติและทางทหาร • ด้านกฎหมายและการปกครอง ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศสรุปคดีทุกคดีว่าใครฟ้องใคร เรื่องอะไร ศาลชั้นต้นศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกา ตัดสินว่าอย่างไร เข้าคอมพิวเตอร์ทั้งหมด หลังจากนั้นคอมพิวเตอร์ก็จะช่วยงานได้หลายอย่าง เช่น ต้องการทราบว่ารัฐธรรมนูญฉบับไหนเหมือนหรือแตกต่างกับฉบับไหนมากน้อยเท่าใด ก็ให้คอมพิวเตอร์ค้นหา และวิเคราะห์เปรียบเทียบพิมพ์ลงได้ หรือต้องการทราบว่าคดีแบบไหนเคยมีฟ้องร้องแล้วศาลตัดสินอย่างไร ก็ใช้คอมพิวเตอร์ช่วยหาให้ก็จะได้คำตอบภายในเวลาไม่กี่นาที

  33. การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ (ต่อ) • การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในสาขาด้านความมั่นคงของชาติและทางทหาร • ด้านรัฐสภา เทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามามีบทบาทสำคัญต่อการสนับสนุน และการดำเนินบทบาทด้านการพัฒนาประชาธิปไตยเป็นอย่างมากต่องานรัฐสภา ซึ่งเป็นหน่วยงานด้านนิติ-บัญญัติ ตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ รัฐสภาได้มีการปรับปรุงระบบงานใหม่ พร้อมดึงเอาคอมพิวเตอร์เข้ามาใช้ในกิจการงานสภา ศึกษาวิเคราะห์ระบบงานรัฐสภาทั้งหมดและจัดตั้งศูนย์คอมพิวเตอร์ ขึ้นมากำกับดูแลงานด้านคอมพิวเตอร์ พร้อมพัฒนาฐานข้อมูลรัฐสภาขึ้นระหว่างปีพ.ศ. 2535-2540

  34. การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ (ต่อ) • การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในสาขาด้านความมั่นคงของชาติและทางทหาร • ด้านการทหารและกองบัญชาการทหารสูงสุด การนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาประยุกต์ใช้ในด้านการทหารแบ่งเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ ด้านการสื่อสาร และภูมิศาสตร์ • มีการนำดาวเทียมทหารมาใช้เพื่อกิจการด้านความมั่นคงทางทหาร เพราะสามารถส่งข้อมูลข่าวสารซึ่งเป็นความลับเกี่ยวกับความมั่นคงของชาติ โดยเฉพาะด้านการทหารซึ่งไม่สามารถเปิดเผยข้อมูลได้ • การถ่ายภาพภูมิศาสตร์ จำลองลักษณะภูมิศาสตร์ในภูมิภาคต่าง ๆ ของประเทศ เพื่อความสะดวก ในการจัดทำยุทธภูมิและการวางแผนป้องกันประเทศ

  35. การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ (ต่อ) • การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในสาขาด้านความมั่นคงของชาติและทางทหาร • ด้านการตำรวจ ทางด้านการตำรวจของไทย มีศูนย์ประมวลข่าวสารกรมตำรวจ ซึ่งมีคอมพิวเตอร์ขนาดกลางใช้ทำทะเบียนรถยนต์ทำทะเบียนใบขับขี่ ทำทะเบียนปืน ทำทะเบียนประวัติอาชญากรรม ทำงานกำลังพล และทำงานบัญชีของกรมตำรวจในสหรัฐอเมริกานั้น นอกจากนี้สำนักงานตำรวจแห่งชาติได้นำระบบคอมพิวเตอร์มาประยุกต์ใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพด้านข่าวสารข้อมูล ซึ่งระบบคอมพิวเตอร์ของ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ในปัจจุบัน ขณะนี้ มีด้วยกัน 4 ระบบใหญ่ๆ มีลักษณะการใช้งาน ดังต่อไปนี้

  36. การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ (ต่อ) • (1) ระบบตรวจสอบลายพิมพ์นิ้วมืออัตโนมัติ (AFIS) เป็นระบบที่ใช้ในการจัดเก็บ และค้นหา ลายพิมพ์นิ้วมือแฝง ที่ได้จาก การตรวจ สถานที่เกิดเหตุ และระบบที่ ใช้จัดเก็บ และค้นหา ประวัติ ผู้กระทำผิด จากลายพิมพ์นิ้วมือ 10 นิ้ว และลายพิมพ์นิ้วมือแฝงที่ส่งมาจากสถานีตำรวจ • (2) ระบบทะเบียนประวัติอาชญากร (CDOS) เป็นระบบที่เก็บและค้นหาประวัติ การกระทำผิด, แผน ประทุษกรรม, ตำหนิรูปพรรณ และหมายจับ ฯลฯ • (3) ระบบคอมพิวเตอร์ประกอบภาพใบหน้าคนร้าย เป็นระบบที่ ใช้สร้างภาพ คนร้าย ตามคำบอกเล่าของพยาน ที่จำหน้า คนร้ายได้ • (4) ระบบสถิติคดีอาญา (CSS) เป็นระบบที่ใช้สำหรับจัดเก็บสถิติคดีอาญาอย่างเป็นระบบ เริ่มตั้งแต่ การรับแจ้งคดี การจับกุมเพิ่มเติม

  37. การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ (ต่อ) • การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในสาขาบันเทิง • ยุคของสังคมสารสนเทศที่มีลักษณะการใช้นวัตกรรมเทคโนโลยี และเทคโนโลยีสารสนเทศ จึงทำให้เกิด อีซีนีม่า(E-cinema) กิจกรรมต่างๆ สำหรับสมาชิกที่เข้ามาใช้ อีซีนีม่า คือ เปิดออนไลน์ บุ๊คกิ้งมีการเปิดให้จองตั๋วและเลือกที่นั่งทางเว็บไซต์ ลูกค้าสามารถจ่ายเงินในเว็บได้เลยโดยผ่านบัตรเครดิต ธุรกิจด้านอีซีนีม่านี้นับได้ว่ามีประโยชน์มหาศาล เพราะทางเจ้าของกิจการได้มีการบอกข่าวสารบางอย่างที่ลูกค้าไม่รู้ทุกอย่างรวมอยู่ในเว็บ ซึ่งมีความสำคัญอย่างมากในเชิงธุรกิจ ทั้งได้รับการตอบรับสูงจากลูกค้า ของการเปิดจองทั้งระบบ ซึ่งปัจจุบันบริการทั้งระบบโทรศัพท์และระบบออนไลน์

  38. แนวโน้มของเทคโนโลยีสารสนเทศในอนาคตแนวโน้มของเทคโนโลยีสารสนเทศในอนาคต • การประยุกต์ใช้ RFID (กมลชนก ใยปางแก้ว, 2552 : 15-17) RFID (Radio Frequency Identification)เป็นหนึ่งในเทคโนโลยีที่เกี่ยวกับระบบการระบุเอกลักษณ์ด้วยคลื่นวิทยุ สามารถใช้ในการระบุเอกลักษณ์ของวัตถุ บอกตำแหน่ง ติดตามและตรวจสอบสินค้า โดยการใช้ป้ายอิเล็กทรอนิกส์ที่ฝังไมโครชิปเก็บข้อมูล และสายอากาศ ทำงานโดยใช้เครื่องอ่านที่สื่อสารกับป้ายด้วยคลื่นวิทยุในการอ่านและเขียนข้อมูล

  39. แนวโน้มของเทคโนโลยีสารสนเทศในอนาคตแนวโน้มของเทคโนโลยีสารสนเทศในอนาคต • การใช้ระบุเอกลักษณ์บุคคล • การใช้งานในเชิงพาณิชย์ • การใช้งานในด้านการจราจร/ขนส่ง • หนังสือเดินทางและใบขับขี่ • เครื่องอ่านระดับน้ำตาล • ระบบงานห้องสมุด

  40. จริยธรรมในการใช้เทคโนโลยีจริยธรรมในการใช้เทคโนโลยี • 1) ไม่ควรให้ข้อมูลที่เป็นเท็จ • 2) ไม่บิดเบือนความถูกต้องของข้อมูล ให้ผู้รับคนต่อไปได้ข้อมูลที่ไม่ถูกต้อง • 3) ไม่ควรเข้าถึงข้อมูลของผู้อื่นโดยไม่ได้รับอนุญาต • 4) ไม่ควรเปิดเผยข้อมูลกับผู้ที่ไม่ได้รับอนุญาต • 5) ไม่ทำลายข้อมูล • 6) ไม่เข้าควบคุมระบบบางส่วน หรือทั้งหมดโดยไม่ได้รับอนุญาต

  41. จริยธรรมในการใช้เทคโนโลยีจริยธรรมในการใช้เทคโนโลยี • 7)ไม่ทำให้อีกฝ่ายหนึ่งเข้าใจว่าตัวเองเป็นอีกบุคคลหนึ่ง ตัวอย่างเช่น การปลอมอีเมล์ของผู้ส่งเพื่อให้ผู้รับเข้าใจผิด เพื่อการเข้าใจผิด หรือ ต้องการล้วงความลับ • 8)การขัดขวางการให้บริการของเซิร์ฟเวอร์ โดยการทำให้มีการใช้ทรัพยากรของเซิร์ฟเวอร์จนหมด หรือถึงขีดจำกัดของมัน ตัวอย่างเช่น เว็บเซิร์ฟเวอร์ หรือ อีเมล์เซิร์ฟเวอร์ การโจมตีจะทำโดยการเปิดการเชื่อมต่อกับเซิร์ฟเวอร์จนถึงขีดจำกัดของเซิร์ฟเวอร์ ทำให้ผู้ใช้คนอื่น ๆไม่สามารถเข้ามาใช้บริการได้

  42. จริยธรรมในการใช้เทคโนโลยีจริยธรรมในการใช้เทคโนโลยี • 9)ไม่ปล่อย หรือสร้างโปรแกรมประสงค์ร้าย (Malicious Program) ซึ่งเรียกย่อ ๆว่า (Malware) เป็นโปรแกรมที่ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อทำการ ก่อกวน ทำลาย หรือทำความเสียหายระบบคอมพิวเตอร์เครือข่าย โปรแกรมประสงค์ร้ายที่แพร่หลายในปัจจุบันคือ ไวรัสเวิร์ม และม้าโทรจัน • 10) ไม่ก่อความรำคาญให้กับผู้อื่นโดยวิธีการต่าง ๆ เช่น สแปม (Spam) (การส่งอีเมล์ไปยังผู้ใช้จำนวนมาก โดยมีจุดประสงค์เพื่อการโฆษณา) • 11) ไม่ผลิตหรือใช้สปายแวร์ (Spyware) โดยสปายแวร์จะใช้ช่องทางการเชื่อมต่อทางอินเตอร์เน็ตเพื่อแอบส่งข้อมูลส่วนตัวของผู้นั้นไปให้กับบุคคลหรือองค์กรหนึ่งโดยที่ผู้ใช้ไม่ทราบ • 12) ไม่สร้างหรือใช้ไวรัส

  43. แบบฝึกหัดท้ายบท • 1. ข้อมูล หมายถึงอะไร • 2. สารสนเทศ หมายถึงอะไร • 3. ประโยชน์ของข้อมูลและสารสนเทศได้แก่อะไรบ้าง • 4 เทคโนโลยีสารสนเทศ หมายถึงอะไร • 5. องค์ประกอบของระบบเทคโนโลยีสารสนเทศประกอบด้วยอะไรบ้าง • 6. จงบอกประโยชน์ที่ได้จากเทคโนโลยีสารสนเทศ • 7. ปัจจัยที่ทำให้เกิดความล้มเหลวในการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ได้แก่อะไรบ้าง • 8. จงยกตัวอย่างการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันมา 5 ตัวอย่าง • 9. จงบอกแนวโน้มของเทคโนโลยีสารสนเทศในอนาคตว่าจะเป็นอย่างไร • 10. จงบอกการมีคุณธรรม และจริยธรรมในการใช้เทคโนโลยี

More Related