1 / 16

Concept Paper

Concept Paper. นำเสนอ โดย นางสุพักตรา สำราญสุข 50120581025. เรื่อง. การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน การให้เหตุผลอย่างคณิตศาสตร์ ความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหา เรื่อง สมการและอสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ระหว่างการสอนด้วยกระบวนการ

yepa
Télécharger la présentation

Concept Paper

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. Concept Paper นำเสนอ โดย นางสุพักตรา สำราญสุข 50120581025

  2. เรื่อง การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน การให้เหตุผลอย่างคณิตศาสตร์ ความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหา เรื่อง สมการและอสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ระหว่างการสอนด้วยกระบวนการ Backward Designกับ การสอนปกติ

  3. ภูมิหลัง การคิดและการให้เหตุผลอย่างคณิตศาสตร์สืบเนื่องจากการประชุมประจำปีของ NCTM (National Council of Teachers of athematics) เรื่อง มาตรฐานหลักสูตรและการ ประเมินผลการพัฒนาความสามารถในการคิดในการให้เหตุผล และการแก้ปัญหาคณิตศาสตร์ เป็นเป้าหมายหลักในการเรียนคณิตศาสตร์ถึงกระนั้นก็ดีมีนักเรียนเป็น จำนวนมากที่ไม่สามารถบรรลุเป้าหมายนี้ด้วยเหตุผลนานาประการ นับตั้งแต่ หนังสือเรียนไม่เหมาะสมไปจนถึงงานที่ได้รับมอบหมายไม่เกิดประโยชน์ การคิดและการให้เหตุผลในคณิตศาสตร์คืออะไร ครูจะรู้ได้อย่างไรว่า นักเรียนได้มีการคิดและให้เหตุผล (สิริ ทิพย์คง : 2544)

  4. ภูมิหลัง พื้นฐานของมาตรฐานคณิตศาสตร์ไม่ใช่แค่การมองดู หรือความรู้สึกที่เห็นหรือสังเกตได้ในชั้นเรียน หากแต่ต้องเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นจริง เด็ก ๆ ที่ยก ตัวอย่างข้างต้นนั้นได้นำเครื่องมือและกระบวนการ ที่ได้เรียนแล้วมาใช้ประโยชน์อย่างมีนัยสำคัญในคณิตศาสตร์ เป็นการสะท้อนผลการสอนของครู(กรมวิชาการ : 2535)

  5. ภูมิหลัง ฉะนั้นขณะที่ท่านวางแผนสำหรับบทเรียนในอนาคต ก็ควรที่จะพยายามหาทางหลายๆทางที่ให้นักเรียนได้มีส่วนเกี่ยวข้อง และไปให้ เหนือกว่าขั้นการใช้ทักษะและกระบวนการ พยายามส่งเสริมให้นักเรียนบรรลุถึงเป้าหมายของคำว่า มาตรฐาน คือการคิดและการให้เหตุผลอย่างคณิตศาสตร์(ชูศรี ตันพงศ์:2546)

  6. จุดมุ่งหมายของการวิจัยจุดมุ่งหมายของการวิจัย 1. เพื่อเปรียบเทียบคะแนนก่อนเรียนและหลังเรียน การให้เหตุผลอย่างคณิตศาสตร์ ความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาเรื่อง สมการและอสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ระหว่างการสอนด้วยกระบวนการ Backward Design กับการสอนปกติ

  7. จุดมุ่งหมายของการวิจัยจุดมุ่งหมายของการวิจัย 2. เพื่อเปรียบเทียบคะแนนระหว่างเรียน การให้เหตุผลอย่างคณิตศาสตร์ ความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาเรื่อง สมการและอสมการ เชิงเส้นตัวแปรเดียว ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 3 ระหว่างการสอนด้วยกระบวนการ Backward Design กับ การสอนปกติ

  8. จุดมุ่งหมายของการวิจัยจุดมุ่งหมายของการวิจัย 3. เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน การให้เหตุผลอย่างคณิตศาสตร์ ความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาเรื่อง สมการและอสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 3 ระหว่างการสอนด้วยกระบวนการ Backward Design กับ การสอนปกติ

  9. ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ เป็นข้อสนเทศแก่ผู้ที่เกี่ยวข้องและผู้ที่สนใจ ได้มีความเข้าใจในข้อมูลที่เกิดจากการเปรียบ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน การให้เหตุผลอย่างคณิตศาสตร์ ความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาเรื่อง สมการและอสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ระหว่างการสอนด้วยกระบวนการ Backward Designกับการสอนปกติ ซึ่งสามารถนำไปประกอบการพิจารณาปรับปรุงและส่งเสริมการเรียนการสอนรายวิชาคณิตศาสตร์ได้เหมาะสม และมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

  10. นิยามศัพท์เฉพาะ 1.การให้เหตุผลอย่างคณิตศาสตร์หมายถึง ความสามารถในการอธิบายคำตอบ การให้เหตุผลเกี่ยวกับสถานการณ์ต่าง ๆการประสมประสานความรู้เดิมการรู้จักเลือกวิธีการแก้ปัญหาการที่รู้จักนำเครื่องมือและกระบวนการ ที่ได้เรียนแล้วมาใช้ประโยชน์อย่างมีนัยสำคัญในคณิตศาสตร์

  11. นิยามศัพท์เฉพาะ 2. ความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหา หมายถึง กระบวนการคิดแก้โจทย์ปัญหาอย่างเป็นระบบ หมายถึง ขั้นตอนการคิดแก้โจทย์ปัญหา ตามลำดับขั้นดังนี้ ขั้นที่ 1 การอ่านโจทย์เพื่อตีความวิเคราะห์ ขั้นที่ 2 กระบวนการคิดแก้ปัญหา ขั้นที่ 3 การเขียนอธิบายวีคิด ขั้นที่ 4 การแสดงวิธีหาคำตอบและตรวจสอบ

  12. นิยามศัพท์เฉพาะ 3. กระบวนการมองปัญหาแบบย้อนกลับ (Backward Design) หมายถึง กระบวนการคิดแก้ปัญหาที่มองจากผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น แล้วแยกแยะปัญหาไปสู่เหตุที่นำมา มีขั้นตอน ดังนี้

  13. Backward Design 1. กำหนดเป้าหมายหลักของการเรียนรู้ - วิเคราะห์มาตรฐานการเรียนรู้ กำหนดผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง (Established Goals) - ความรู้ความเข้าใจที่ต้องการให้ผู้เรียนบรรลุตามจุดมุ่งหมาย การเรียนรู้ (Understanding) - คำถามสำคัญสำหรับการเรียนรู้ (Essential Questions) ความรู้และทักษะที่ต้องการให้เกิดตามจุดมุ่งหมายหลักของ การเรียนรู้ (Knowledge & Skills)

  14. Backward Design 2.กำหนดวิธีการวัดประเมินผลการเรียนรู้ -หลักฐานที่แสดงพฤติกรรมการเรียนรู้ และความคิดรวบยอดของผู้เรียน (Performance Task) -การวัดประเมินผลย่อย -การประเมินตนเองและสะท้อนผลการเรียนรู้ของผู้เรียน (Self-assessment)

  15. Backward Design 3. กำหนดกิจกรรมการเรียนรู้ - กำหนดกิจกรรมการเรียนรู้

  16. เอกสารอ้างอิง สิริพร ทิพย์คง.รศ.,”การแก้ปัญหาคณิตศาสตร์”.กรมวิชาการ,2544 กรมวิชาการ. “จากหลักสูตรสู่แผนการสอน”2535 ชูศรี ตันพงศ์. “ประเมินพัฒนาการ” 2546 กิตตินันท์ แวงคำ. “การเปรียบเทียบความรู้สึกเชิงจำนวน ผลสัมฤทธิ์ทางการ เรียนและความพึงพอใจต่อการเรียนคณิตศาสตร์เรื่องเงินและการ หารของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ที่เรียนด้วยแผนการจัดการ เรียนรู้โดยใช้แบบฝึกพัฒนาความรู้สึกเชิงจำนวนกับแผนการจัดการ เรียนรู้การสอนปกติ”.วิทยานิพนธ์;มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 2549

More Related