1 / 29

วัคซีน

วัคซีน. การเสริมสร้างภูมิคุ้มกันโรค . ทำได้ 2 วิธีคือ 1. Active immunization คือ การ ให้ วัคซีน/ ท๊อกซอยด์ ป้องกันโรคโดยทั่วไป โดยให้สารแอนติเจน ซึ่งจะกระตุ้นให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันโรค

Jims
Télécharger la présentation

วัคซีน

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. วัคซีน วัคซีน

  2. การเสริมสร้างภูมิคุ้มกันโรค • ทำได้ 2 วิธีคือ • 1. Active immunization คือ การให้วัคซีน/ ท๊อกซอยด์ป้องกันโรคโดยทั่วไป โดยให้สารแอนติเจน ซึ่งจะกระตุ้นให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันโรค • 2. Passive immunizationคือ การได้รับภูมิคุ้ม ซึ่งรวมถึงได้รับจากแม่และได้รับเมื่อสัตว์โตแล้วโดยการให้ซีรั่ม (เซรุ่ม) ซึ่งมีภูมิคุ้มกันโรคสูง เพื่อย่นระยะเวลาที่ร่างกายจะต้องค่อยๆ สร้างภูมิคุ้ม วัคซีน

  3. การสร้างภูมิคุ้มกันโรคไม่จำเป็นจะต้องต่อต้านตัวเชื้อโรคแต่อาจต่อต้านสารพิษที่เชื้อนั้นสร้างขึ้นได้ ซึ่งในกรณีเหล่านี้ ชีวภัณฑ์ที่สร้างขึ้นอาจมีชื่อเรียกแตกต่างกัน • เซรุ่ม (serum) ได้มาจาก hyperimmune serum ของสัตว์ทดลองที่ถูกกระตุ้นให้ได้รับสารพิษทีละน้อย เช่น เซรุ่มพิษงู • ท๊อกซอยด์ (toxoid) ได้มาจากสารพิษที่เชื้อโรคสร้างขึ้น และถูกทำให้ลดความรุนแรงลง เช่น เชื้อบาดทะยัก วัคซีน

  4. วัคซีนคืออะไร • คือ สิ่งที่ได้จากเชื้อจุลชีพหรือพยาธิรวมทั้งสารพิษของเชื้อซึ่งกระตุ้นให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันเพื่อต่อต้านการเกิดโรค ปัจจุบันสามารถสังเคราะห์สิ่งที่มีโครงสร้างคล้ายกับตัวเชื้อและ ก่อให้เกิดการสร้างภูมิคุ้มกันได้เช่นเดียวกัน วัคซีน

  5. หลักการทั่วไปของวัคซีนหลักการทั่วไปของวัคซีน • จะต้องกระตุ้นให้เกิดการสร้าง ชนิดของภูมิคุ้มกันโรคที่มีความจำเพาะต่อการป้องกันโรค ตัวอย่างเช่น • วัคซีนปัองกันโรควัณโรคหรือไทฟอยด์จะต้องกระตุ้นการสร้างภูมิคุ้มชนิดพึ่งเซลล์ (cell-mediated immunity) • วัคซีนป้องกันโรคไข้เหลืองหรือโปลิโอจะต้องกระตุ้นการสร้างภูมิคุ้มกันชนิดที่มีในเลือด (humoral immunity) วัคซีน

  6. หลักการทั่วไปของวัคซีน (ต่อ) • จะต้องกระตุ้นให้เกิดการสร้างภูมิคุ้มกันที่มีบทบาทจำเพาะในตำแหน่งที่มีผลต่อการเกิดโรค • วัคซีนที่ป้องกันโรคที่เกิดที่เซลล์เยื่อบุผิวจะต้องกระตุ้นการสร้าง secretory IgA ไม่ใช่ IgG หรือ IgM และต้องมีผลกระตุ้นเซลล์ที่ตำแหน่งที่มีการเกิดโรคด้วย ตัวอย่างเช่น วัคซีนป้องกันโรคอหิวาต์ วัคซีนป้องกันหวัด จะต้องกระตุ้นการทำงานของเซลล์เยื่อบุที่ลำไส้ และที่จมูกและคอ เป็นต้น วัคซีน

  7. หลักการทั่วไปของวัคซีน (ต่อ) • จะต้องกระตุ้นให้เกิดการสร้างภูมิคุ้มกันที่มีความจำเพาะต่อแอนติเจนของเชื้อ ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการก่อโรค • วัคซีนที่ป้องกันโรคที่เกิดจากเชื้อ Herpes virus หรือ Pox virus สามารถผลิตแอนติเจนได้มากกว่า 100 ชนิด และแอนติเจนที่มีบทบาทสำคัญในการกระตุ้นภูมิคุ้มกันโรค อาจเป็นชนิดใดชนิดหนึ่งที่อยู่บนผิวของเชื้อโรคนั้นก็ได้ และหากเป็นเซลล์ที่มีขนาดใหญ่ มีจำนวนยีนส์มากขึ้นก็จะยิ่งมีแอนติเจนมากขึ้น เช่นเชื้อมาเลเรีย > แบคทีเรีย > ไมโคพลาสมา > ไวรัส วัคซีน

  8. ชนิดของวัคซีน • 1. Inactivated / Killed vaccineได้จากเชื้อที่ทำให้ตายหรืออ่อนกำลังลง ไม่จำเป็นจะต้องเก็บไว้ในตู้เย็น • 2. Live attenuated vaccineได้จากเชื้อที่ยังมีชีวิตอยู่ แต่ทำให้อ่อนฤทธิ์ลง ดังนั้นจึงต้องเก็บไว้ในตู้เย็นเสมอ (ช่องธรรมดา) วัคซีนที่ได้เชื้อไวรัสมักเป็นชนิดนี้ • 3. Subunit vaccineได้จากบางส่วนของเชื้อไวรัสหรือแบคทีเรียที่สามารถกระตุ้นให้เกิดการสร้างภูมิคุ้ม มีความจำเพาะมาก เช่น วัคซีนโรคพิษสุนัขบ้าเทียม • 4. Toxoid ได้จากสารพิษที่เชื้อสร้างขึ้น วัคซีน

  9. ชนิดของวัคซีน (ต่อ) • มีความแตกต่างที่สำคัญระหว่างวัคซีนเชื้อเป็นและวัคซีนเชื้อตาย • วัคซีนเชื้อเป็นคือ วัคซีนที่ได้จากเชื้อที่ยังมีชีวิตอยู่ แต่ถูกทำให้อ่อนกำลังลง ไม่สามารถก่อให้เกิดโรคได้ วัคซีนที่เตรียมด้วยวิธีนี้จะยังมีเชื้ออยู่จำนวนเล็กน้อย เมื่อฉีดเข้าไปก็จะสามารถแบ่งตัวเพิ่มจำนวนในร่างกายโฮสต์ได้อีก ทำให้มีเซลล์ที่กระตุ้นการสร้างภูมิคุ้มกันจำนวนมาก และเกิดการสร้างภูมิคุ้มได้ดีกว่าวัคซีนเชื้อตาย และภูมิคุ้มจากวัคซีนเชื้อเป็นจะอยู่ในร่างกายได้สั้นกว่า ทำให้ต้องฉีดซ้ำบ่อย วัคซีน

  10. หลักการทั่วไปของวัคซีนหลักการทั่วไปของวัคซีน • วัคซีนเชื้อตายคือวัคซีนที่ได้จากเชื้อที่ตายแล้ว แต่มีส่วนของแอนติเจนซึ่งเป็นโปรตีนเหลืออยู่ ทำให้สามารถกระตุ้นการสร้างภูมิคุ้มกันโรคได้เช่นกัน ดังนั้นวัคซีนชนิดนี้จะใช้เวลากระตุ้นภูมิคุ้มนานกว่า แต่จะอยู่ในร่างกายได้นานกว่าวัคซีนเชื้อเป็นและต้องมีการฉีดซ้ำเมื่อถึงระยะเวลาที่โปรตีนที่เป็นแอนติเจนเสื่อมสลายไป วัคซีน

  11. เชื้อถูกทำให้อ่อนกำลังลงโดยผ่านเซลล์เพาะเลี้ยงหรืออาหารเลี้ยงเชื้อเชื้อถูกทำให้อ่อนกำลังลงโดยผ่านเซลล์เพาะเลี้ยงหรืออาหารเลี้ยงเชื้อ มีปริมาณเชื้อในวัคซีนน้อย ค่อนข้างไม่คงตัว (less stable) ต้องเก็บในตู้/ ที่เย็น ไม่ใช้ adjuvant ต้องผสมน้ำยาละลายก่อนใช้ ก่อให้เกิดการแพ้วัคซีนได้ง่าย เชื้อมาจากโรคที่มีความรุนแรงโดยตรงและทำให้ตาย ต้องเตรียมจากเชื้อจำนวนมากกว่า ค่อนข้างคงตัว (more stable) ใช้ adjuvant ส่วนใหญ่ไม่ก่อให้เกิดการแพ้ แต่อาจเป็นฝีได้เนื่องจากสื่อที่ผสมมา เปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างวัคซีน เชื้อเป็น เชื้อตาย ที่มา: เกรียงศักดิ์ พูนสุข. 2536. โรคติดเชื้อในไก่

  12. ถูกทำลายได้ง่ายโดยภูมิคุ้มจากแม่ถูกทำลายได้ง่ายโดยภูมิคุ้มจากแม่ ถ่ายทอดภูมิคุ้มสู่ลูกได้ต่ำ ให้โดยวิธีฉีดหรือวิธีธรรมดาได้ เช่น ทา กระตุ้น humoral & cell-mediated immunity กระตุ้นได้เร็วแต่ภูมิคุ้มสั้น มีโอกาสแพร่เชื้อไปยังผู้ที่ไม่ได้ทำวัคซีน การผลิตวัคซีนรวมทำได้ยาก ราคาถูก ภูมิคุ้มจากแม่มีผลทำลายวัคซีนได้น้อย ถ่ายทอดภูมิคุ้มสู่ลูกได้สูง มักให้โดยการฉีด กระตุ้น humoral immunity เป็นหลักกระตุ้นได้ช้าแต่อยู่ได้นาน ไม่มีโอกาสแพร่เชื้อ การผลิตวัคซีนรวมทำได้ง่าย ส่วนใหญ่ราคาแพงกว่า เปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างวัคซีน เชื้อตาย เชื้อเป็น วัคซีน

  13. เปรียบเทียบการตอบสนองต่อการทำวัคซีนชนิดเชื้อตายและเชื้อเป็นเปรียบเทียบการตอบสนองต่อการทำวัคซีนชนิดเชื้อตายและเชื้อเป็น วัคซีน

  14. ปัจจัยที่มีผลต่อการระยะเวลาที่สามารถป้องกันโรคปัจจัยที่มีผลต่อการระยะเวลาที่สามารถป้องกันโรค • การเกิดreinfectionหรือ subclinical infectionหรือ การ boosterจะช่วยให้ระดับภูมิคุ้มกันโรคสูง • โรคบางชนิดไม่มีการเปลี่ยนแปลงสายพันธุ์ของเชื้อ ทำให้ภูมิคุ้มที่เกิดขึ้นสามารถป้องกันโรคได้นาน ในขณะที่บางโรค เช่น หวัดใน คน ปากเท้าเปื่อยในสัตว์ เชื้อมีการเปลี่ยนแปลงแอนติเจนตลอดเวลา และการฉีดวัคซีนสายพันธุ์ใดสายพันธุ์หนึ่งจะไม่ก่อให้เกิดภูมิคุ้มข้ามสายพันธุ์ได้ วัคซีน

  15. ปัจจัยที่มีผลต่อการระยะเวลาที่สามารถป้องกันโรคปัจจัยที่มีผลต่อการระยะเวลาที่สามารถป้องกันโรค • อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีคำอธิบายที่กระจ่างสำหรับโรคที่ไม่ได้เกิดขึ้นตลอดเวลา แต่ สามารถให้วัคซีนเพียงเข็มเดียวและป้องกันได้ตลอดชีวิต วัคซีน

  16. หลักการทั่วไปของวัคซีน (ต่อ) Adjuvant • คือสารที่เติมเข้าไปรวมกับแอนติเจนเพื่อทำให้เกิดปฏิกริยาค่อยๆ ปลดปล่อยแอนติเจน ทำให้กระตุ้นการสร้างภูมิคุ้มได้ดีขึ้น • โดยทั่วไปแล้วจะใช้น้ำมันเป็น adjuvant เข้าไปรวมตัวกับแอนติเจนที่อยู่ในสภาพสารละลาย ทำให้เกิดเป็นสถานะ water in oil emulsion • ข้อเสียของน้ำมันคือ มีแนวโน้มทำให้เกิดเป็นฝีในตำแหน่งที่ฉีด และอาจเป็นสารก่อมะเร็ง • ปัจจุบันมีสารสังเคราะห์ขึ้นมา เช่น muramyl dipeptide, synthetic lipid vesicle (liposomes) เป็นต้น วัคซีน

  17. หลักการทั่วไปของวัคซีน (ต่อ) ปฏิกิริยาขัดแย้งกัน • เกิดขึ้นเมื่อวัคซีนนั้นมีแอนติเจนหลายชนิด ได้ทำปฏิกริยาขัดแย้งกัน ทำให้การสร้างภูมิคุ้มเกิดขึ้นไม่ดีเท่าที่ควร • วัคซีนจากเชื้อไวรัสเชื้อเป็นบางชนิดก่อให้เกิดปฏิกริยาต่อกัน อายุที่ควรให้วัคซีน • ทารก/ ลูกสัตว์ จะได้รับ IgG จากแม่โดยผ่านทางรก และได้ IgA จาก colostrum และน้ำนม ซึ่งภูมิคุ้มจากแม่จะป้องกันการติดเชื้อต่างๆ และจะมีผลต่อเชื้อที่ได้รับจากการทำวัคซีนด้วย • ดังนั้นจะต้องทำวัคซีนในลูกสัตว์เมื่อภูมิคุ้มของแม่กำลังจะหมดไป วัคซีน

  18. การทดสอบวัคซีน • วัคซีนที่ผลิตออกมาก่อนจะเข้าสู่ท้องตลาด ต้องมีการตรวจสอบคุณสมบัติ ความปลอดภัย และประสิทธิภาพ • วัคซีนที่ดีไม่ได้วัดที่ระดับไตเตอร์ของภูมิคุ้มซึ่งแสดงถึงการตอบสนองต่อการถูกกระตุ้น แต่วัดผลที่ความสามารถป้องกันการติดเชื้อที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ ในกลุ่มผู้ทดลองจำนวนมากและมีการทดสอบหลายครั้ง แต่บางโรคก็ยากแก่การทดสอบด้วยวิธีนี้ เช่น โรคพิษสุนัขบ้า โรคเอดส์ เป็นต้น วัคซีน

  19. วัคซีนในอุดมคติมีคุณสมบัติอย่างไรวัคซีนในอุดมคติมีคุณสมบัติอย่างไร • สามารถกระตุ้นให้เกิดการสร้างภูมิคุ้มกันต่อต้านโรค แต่ไม่สามารถต้านทานการติดเชื้อโรค • ภูมิคุ้มกันที่เกิดขึ้นสามารถปรากฏได้นาน • สามารถใช้ได้อย่างความปลอดภัย หากมีผลข้างเคียงควรจะปรากฏน้อยมาก (ยิ่งเวลาผ่านไปวัคซีนที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดผลข้างเคียงก็จะค่อยๆ หมดไป) วัคซีน

  20. วัคซีนในอุดมคติมีคุณสมบัติอย่างไร (ต่อ) • วัคซีนจะต้องมีความคงตัว ปัจจุบันวัคซีนสามารถผลิตในรูปแบบ freeze and dry ทำให้สะดวกในการเก็บรักษาและขนส่งที่อุณหภูมิปกติ • วัคซีนควรมีราคาไม่แพงเกินไป • วัคซีนควรให้ได้พร้อมกันหลายชนิดโดยที่ไม่ก่อให้เกิดปฏิกริยาขัดแย้งกัน ทั้งนี้เพื่อความสะดวกในการจัดการ วัคซีน

  21. ฤทธิ์ที่ไม่พึงประสงค์ของวัคซีนฤทธิ์ที่ไม่พึงประสงค์ของวัคซีน • เชื้อที่ยังอาจหลงเหลือความรุนแรงในกรณีที่ใช้วัคซีนเชื้อเป็น • เชื้อโรคอื่นที่ปนเปื้อนกับเซลล์เพาะเลี้ยง • การก่อให้เกิดภูมิแพ้ หลังจากให้วัคซีนซ้ำเข็มที่ 2 เป็นต้นไป • ความเป็นพิษจากสารพิษที่เชื้อโรคสร้างขึ้น เช่น วัคซีนโรคไทฟอยด์ วัคซีน

  22. การเก็บรักษาวัคซีน • ส่วนใหญ่เก็บไว้ในตู้เย็นในส่วนที่อุณหภูมิไม่เปลี่ยนแปลงมากนัก เช่น ในช่องที่มีฝาปิด เพื่อรักษาไม่ให้อุณหภูมิเปลี่ยนแปลงมากขณะเปิดตู้เย็น (การเปิดตู้เย็นแต่ละครั้ง อุณหภูมิจะเพิ่มขึ้นเกิน 8 C) • โดยทั่วไปวัคซีนที่เป็นน้ำ ควรเก็บไว้ในตู้เย็นช่องธรรมดา ห้ามใส่ใน freezer และไม่ควรไว้ในช่องใต้ freezer • วัคซีนที่เป็นผงแห้ง (lyophilized) สามารถเก็บในfreezer ได้ • วัคซีนที่มีส่วนผงแห้งและส่วนน้ำ สามารถแยกเก็บตามข้างต้น แต่ห้ามเอาทั้งสองส่วนเก็บใน freezer • ควรมีน้ำแข็ง (มีขายเป็นถุงน้ำสีฟ้า) แช่ไว้ในตู้เย็น เผื่อไฟฟ้าดับ อุณหภูมิจะไม่ลดลงมาก วัคซีน

  23. วิธีการให้วัคซีน • 1. การกิน ให้เมื่อต้องการกระตุ้นภูมิคุ้มเฉพาะที่ เช่น ลำไส้ และมักเป็นวัคซีนเชื้อเป็น • 2. การฉีดเข้าชั้นผิวหนัง (Intradermal route)ใช้เมื่อต้องการลดจำนวนแอนติเจนลง ทำให้ใช้วัคซีนในปริมาณน้อย แอนติเจนเข้าไปทางท่อน้ำเหลืองได้ดี สามารถกระตุ้นภูมิคุ้มชนิด CMI เช่น วัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าชนิด human diploid cell ซึ่งให้ในคน • 3. การฉีดเข้าชั้นใต้ผิวหนัง (Subcutaneous route) ใช้กับวัคซีนที่ไม่ต้องการให้ดูดซึมเร็วเกินไป • 4. การฉีดเข้ากล้ามเนื้อ ใช้เมื่อต้องการให้ดูดซึมดี วัคซีน

  24. หลักทั่วไปในการให้วัคซีนหลักทั่วไปในการให้วัคซีน • กรณีที่เจ็บป่วยเล็กน้อย เช่น เป็นหวัด หรือ ไอ สามารถให้วัคซีนได้ แต่ถ้ากำลังมีไข้สูง ควรเลื่อนการฉีดจนกว่าจะหายไข้ • ควรสอบถามเจ้าของสัตว์ว่าสัตว์มีพฤติกรรม (โดยเฉพาะการกินอาหาร) ปกติหรือไม่ • การให้วัคซีนในลูกสัตว์ต้องคำนึงว่าหากลูกสัตว์ได้รับภูมิคุ้มจากแม่ตั้งแต่แรกเกิด จะต้องรอให้ระยะเวลาที่ภูมิคุ้มนี้หมดไป ก่อนที่จะมีการให้วัคซีน นอกจากนี้เมื่อให้วัคซีนแล้ว จำเป็นต้องมีการกระตุ้นซ้ำ (booster) วัคซีน

  25. หลักทั่วไปในการให้วัคซีน (ต่อ) • ไม่ควรให้วัคซีนหลายชนิดในวันเดียวกัน ยกเว้นแต่เป็นวัคซีนรวมที่ได้ผลิตขึ้นมา โดยผ่านการทดสอบแล้ว เช่น วัคซีน DHL ในสุนัข ซึ่งใช้ป้องกันโรค Distemper, Hepatitis และ Leptospirosis • ในกรณีที่ต้องการให้วัคซีนเป็น( inactivated) พร้อมกัน ควรให้คนละตำแหน่งกัน • โดยทั่วไปภูมิคุ้มจะสร้างขึ้นจนถึงระดับที่ป้องกันโรคได้ หลังจากฉีด15 วัน • การให้วัคซีนควรทำตามโปรแกรมที่บริษัทผู้ผลิตกำหนด • หากต้องการให้วัคซีนโรคอื่นเข็มต่อมา ควรเว้นระยะเวลาอย่างน้อย 2 อาทิตย์ ยกเว้นวัคซีนที่ได้ทำการทดสอบและระยะที่เหมาะสมในการให้ วัคซีน

  26. ตัวอย่างวัคซีนป้องกันโรคปากและเท้าเปื่อยของกรมปศุสัตว์ตัวอย่างวัคซีนป้องกันโรคปากและเท้าเปื่อยของกรมปศุสัตว์ • เป็นวัคซีนเชื้อตาย สามารถป้องกันโรคได้นาน 6 เดือน (ฉีดปีละ 2 ครั้ง) • ในสุกรใช้สื่อแบบอีมัลชั่นชนิดน้ำมันในน้ำ (oil emulsion vaccines) • ในโคกระบือใช้สื่อแบบน้ำ (aqueous vaccines) วัคซีน

  27. Influenza vaccines ชนิดของวัคซีน • 1. Inactivated vaccine • Homologous vaccine ใช้วัคซีนสายพันธุ์เดียวกับสายพันธุ์ที่มีการระบาดของโรคในพื้นที่ • Heterologous vaccine ใช้วัคซีนสายพันธุ์ที่มี Haemagglutinin สายพันธุ์เดียวกับเชื้อที่ระยาดเป็น marker แต่ต่างกันในส่วนของ Neuraminidase (DIVA) เช่น H5N2, H5N3, • 2. Recombinant vaccine ใช้ fowl poxvirus หรือ baculovirus เป็น vector • สามารถแยกความแตกต่างระหว่างการทำวัคซีนและการป่วยได้ วัคซีน

  28. Influenza vaccines • การใช้วัคซีนต้องมีการ booster เพราะโดยทั่วไป การระบาดจะมี 2nd wave ตามหลังในเวลา 3-9 เดือน วัคซีน

  29. บรรณานุกรม • 1. คณาจารย์ภาควิชาเภสัชวิทยา วพม. 2542. สาระสำคัญวิชาเภสัชวิทยา. โครงการตำรา วพม. ฉลองวาระคบรอบ 25 ปี วิทยาลัยแพทยศาสตร์พระมงกุฏเกล้า. บริษัท เอส.อาร์.พริ้นติ้ง แมสโปรดักส์ จำกัด. กรุงเทพฯ. • 2. Mims, C.A., Dimmock, N.J., Nash, A. and Stephen, J. 1995. Mims’ Pathogenesis of Infectious Disease. 4th Edition. Academic Press Inc. USA. วัคซีน

More Related