1.02k likes | 1.85k Vues
54106: พิษวิทยาและอาชีวเวชศาสตร์ Toxicology and Occupational medicine. กรรณิการ์ ด้วงมั่ง นักศึกษามหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช เข้าเรียนในปีการศึกษาที่ 2/2550. หน่วยที่ 11. โรคจากการประกอบอาชีพ โรคระบบหายใจ โรคผิวหนัง โรคมะเร็ง. โรคระบบหายใจจากการประกอบอาชีพ.
E N D
54106: พิษวิทยาและอาชีวเวชศาสตร์Toxicology and Occupational medicine กรรณิการ์ ด้วงมั่ง นักศึกษามหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช เข้าเรียนในปีการศึกษาที่ 2/2550
หน่วยที่ 11 โรคจากการประกอบอาชีพ โรคระบบหายใจ โรคผิวหนัง โรคมะเร็ง
โรคระบบหายใจจากการประกอบอาชีพโรคระบบหายใจจากการประกอบอาชีพ เป็นโรคที่พบได้บ่อย เนื่องจากสารพิษที่เข้าสู่ร่างกาย ทางระบบทางเดินในรูปอนุภาค ซึ่งสามารถเข้าสู่ระบบหายใจในระดับต่างๆ ตามขนาดของอนุภาค และทำให้เกิดโรคได้ตั้งแต่ระบบหายใจส่วนต้น เช่น ทำให้มีอาการอักเสบของเยื่อบุจมูก เป็นหวัด เจ็บคอ จนถึงระบบหายใจส่วนปลาย ซึ่งทำให้เกิดโรคนิวไมโคนิโอสิสชนิดต่างๆ นอกจากนี้อนุภาคเหล่านี้อาจไปกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันในร่างกาย ทำให้หลั่งสารออกมากระตุ้นให้เกิดการตีบของหลอดลมทำให้เป็นโรคหอบหืด หรือมีการหลั่งน้ำออกมาในถุงลมทำให้เป็นปอดอักเสบได้
โรคระบบหายใจจากการประกอบอาชีพโรคระบบหายใจจากการประกอบอาชีพ ความสำคัญของโรคระบบหายใจจากการประกอบอาชีพ ปอดเป็นอวัยวะที่ใช้ในการหายใจ ดังนั้นเมื่อเป็นโรคปอดไม่ว่า จากสาเหตุใด จะทำให้เกิดอาการไอ หอบ ไม่สามารถออกแรง หรือทำงาน จนกระทั่งหายใจตามปกติได้โรคปอดจากการ ประกอบอาชีพ เป็นแล้วไม่หาย โรคระบบทางเดินหายใจส่วนต้นนั้นวินิจฉัยยาก เช่น อาการน้ำมูก มากจากการระคายเคืองทำให้วินิจฉัยผิดว่าไม่ได้เกิดจากการ ประกอบอาชีพ
โรคระบบหายใจจากการประกอบอาชีพโรคระบบหายใจจากการประกอบอาชีพ • กลไกการเกิดโรคของโรคระบบหายใจจากการประกอบอาชีพ • เกิดตั้งแต่การหายใจเอาสารเคมีเข้าไปในในระบบหายใจ ในรูปอนุภาคในขนาดต่างๆ กัน ถ้าขนาดต่ำกว่า 3 ไมครอนก็จะเข้าสู่หลอดลมส่วนปลาย และสามารถเข้าไปในถุงลมได้ • อนุภาคเหล่านี้ทำให้เกิดอาการระคายเคืองตั้งแต่จมูก ส่วนหลังของจมูก หลอดเสียง ท่อลม หลอดลม และถุงลม ทำให้เกิดอาการระคายเคืองระบบทางเดินหายใจส่วนต้น เกิดการตีบตัวของหลอดลมเกิดการอักเสบภายในปอด ถุงลม ทำให้เกิดโรคต่าง ๆ ของระบบหายใจขึ้น
โรคผิวหนังจากการประกอบอาชีพโรคผิวหนังจากการประกอบอาชีพ เกิดจากการระคายเคืองในชนิดต่างๆ ของสารเคมีที่ผิวหนังทำให้มีการอักเสบเกิดขึ้น ซึ่งการระคายเคืองนี้ขึ้นกับความสามารถในการละลายในน้ำหรือไขมันของสารเคมีนั้นๆ และความสามารถในการแทรกตัวลงไปในชั้นของผิวหนัง นอกจากสารเคมีที่ทำให้เกิดการอักเสบแล้ว ยังมีเชื้อโรคชนิดต่างๆ และปัจจัยทางกายภาพ ที่เกิดซ้ำกันที่ผิวหนังทำให้เกิดการอักเสบเรื้อรังที่ผิวหนัง การระคายเคืองที่ผิวหนังสามารถแบ่งเป็นสองแบบ การระคายเคือง แบบภูมิแพ้ ซึ่งมีกลไกการเกิดโรคต่างกัน โรคผิวหนังอักเสบชนิดที่ไม่ใช่แบบระคายเคืองและภูมิแพ้เกิดจากการสัมผัสกับสิ่งคุกคามหลายชนิดซึ่ง ไม่แตกต่างกับแบบระคายเคืองและภูมิแพ้ เพียงแต่กลไกการเกิดการอักเสบนั้นแตกต่างกันเท่านั้น
โรคมะเร็งจากการประกอบอาชีพโรคมะเร็งจากการประกอบอาชีพ เกิดเนื่องจากผลของสารเคมีโดยตรงต่อกระบวนการแบ่งตัวของเซลล์ คือ ในระดับดีเอ็นเอ มีสารเคมีหลายตัวก่อให้เกิดมะเร็งในตำแหน่งต่างๆ กันของร่างกาย กลไกการเกิดมะเร็งจะต้องมีเซลล์ต้นกำเนิด ซึ่งกว่าจะเกิดขึ้นใช้เวลานานเป็นสิบปี และจะต้องมีการส่งเสริมให้เกิดการแบ่งตัวจนเกิดเป็นมะเร็งและมีอาการซึ่งต้องใช้เวลานานเป็นสิบปีอีก ดังนั้นการเกิดโรคมะเร็งจากการทำงานจะต้องใช้เวลานานเป็นสิบปีหลังจากมีการสัมผัสสารที่ก่อมะเร็งนั้น โรคมะเร็งจากการประกอบอาชีพต้องใช้เวลานานเป็นสิบถึงยี่สิบปีกว่าจะแสดงอาการขึ้นกับขนาดของสารก่อมะเร็งที่สัมผัส การเกิดเซลล์ต้นกำเนิด ในระยะกระตุ้น และระยะสร้างเสริม ขั้นตอนของการเกิดสารมะเร็งได้แก่ initiation promotion , transformation และ progression โดยขั้นตอนจาก initiation ไปยัง promotion ใช้เวลายาวที่สุด
โรคทางเดินหายใจจากการประกอบอาชีพโรคทางเดินหายใจจากการประกอบอาชีพ • โรคนิวโมโคนิโอสิส • โรคแอสเบสตอสโตสิส • โรคบิสซิโนสิส • โรคหอบหืดจากการทำงานชนิดอื่นๆ • โรคภูมิไวเกินของหลอดลม • โรคการระคายเคืองทางเดินหายใจส่วนบน
โรคนิวโมโคนิโอสิส เกิดจากปฏิกิริยาของร่างกายต่ออนุภาคของสารเคมีที่เข้าไปในร่างกายที่ถุงลมปอด ทำให้เกิดพังผืดภายในปอด โรคที่รู้จักกันดี....ซิลิโคสิสซึ่งเกิดจากผลึกซิลิกา เกิดจากอาชีพที่ทำงานเกี่ยวกับการระเบิดการแต่งหิน อาการจะค่อยเป็นค่อยไป มีได้ตั้งแต่หลังเข้าทำงาน 6 เดือนจนถึงหลังทำงานแล้ว 15 ปี ตามแต่มลพิษของฝุ่นหินในสภาพแวดล้อมการทำงาน อาการ....อาการของโรคปอดชนิดขยายตัวจำกัด มีอาการเหนื่อยหอบเวลาออกแรง บางรายเป็นวัณโรคปอด การวินิจฉัย....ภาพรังสีปอดพบลักษณะเปรียบเทียบกับภาพรังสีปอดมาตรฐานขององค์กรแรงงานระหว่างประเทศ โรคนี้รักษาไม่หาย ส่วนใหญ่อาการจะเป็นต่อไปจนหอบเหนื่อยมาก การควบคุมป้องกัน....การจัดการด้านวิศวกรรม การระบายอากาศและการใช้เครื่องป้องกันส่วนบุคคล
โรคนิวโมโคนิโอสิส โรคปอดฝุ่นหินแบ่งเป็น 3 ชนิด....แบบเฉียบพลัน แบบเร่ง และแบบเรื้อรัง โดยอาการแสดงจะเป็นอาการของโรคปอดขยายตัวแบบจำกัด (Restrictive lung) มีอาการเหนื่อยหอบเมื่อออกแรงไอ อาจมีวัณโรคปอดร่วมด้วย และโรคมะเร็งปอด ทำอย่างไรจึงจะไม่เป็นโรค....วิธีที่ดีที่สุดคือพยายามไม่ให้มีฝุ่นหิน ถ้าจัดการไม่ได้ก็ต้องมีอาการระบายอากาศทีดี หรือมีเครื่องป้องกันส่วนบุคคลที่ดี มีสุขภาพที่ดี โรคปอดฝุ่นหินรักษาไม่หาย การป้องกันไม่ให้มีการสัมผัส เป็นวิธีที่ดีที่สุด การวินิจฉัยโรคปอดฝุ่นหิน....การซักประวัติการสัมผัส ระยะเวลาการสัมผัส กรถามอาการ และการตรวจร่างกาย และการตรวจภาพรังสี (X-ray) ปอดซึ่งต้องเปรียบเทียบกับฟิลม์ของ ILO (International labororganization)
โรคแอสเบสตอสโตสิส โรคอื่นที่เกี่ยวข้องเกิดจากการสัมผัสเส้นใยแอสเบสตอสพบในอาชีพหลายอย่าง....การทำฉนวน ฝ้าเพดาน แอสเบสตอสมีลักษณะเป็นเส้นใยจึงเข้าไปติดในถุงลมและมีการดำเนินโรคเช่นเดียวกับซิลิโคสิส จะมีผนังเยื่อหุ้มปอดหนาตัว และเป็นมะเร็งของเยื่อหุ้มปอดซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะโรคได้ การวินิจฉัยโดยอาศัยอาการของโรคปอดเป็นพังผืด และทำการเอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์ปอดจะพบผนังเยื่อหุ้มปอดหนาตัวขึ้น การควบคุมป้องกันใช้วิธีเดียวกับการป้องกันเกี่ยวกับโรคปอดจากการประกอบอาชีพทั่วไป วิธีที่ดีที่สุดคือเลิกใช้ และหันมาใช้วัสดุอื่นที่อันตรายน้อยกว่าแทน การวินิจฉัยโรคปอดใยหินได้จากประวัติการสัมผัสใยหิน ขนาดของใยหินในบรรยากาศที่เกินค่ามาตรฐานที่กำหนด ระยะเวลาการสัมผัส การใช้อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล การซักประวัติอาการของโรคปอด การซักประวัติการสูบบุหรี่ การตรวจร่างกาย การตรวจรังสีปอด นอกจากนี้การตรวจด้วยเครื่องเอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์โดยวิธี High resolution (HR-CT) ยังช่วยในการวินิจฉัยโรคในระยะเริ่มต้นด้วย การรักษาโรคปอดใยหินเป็นการรักษาแบบประคับประคองเนื่องจากไม่สามารถรักษาหรือกู้ปอดที่เสียกลับคืนมาได้ การป้องกันที่ดีที่สุดคือการไม่ใช้แอสเบสตอสในการทำวัตถุดิบ
โรคบิสซิโนสิส เกิดจากการหดเกร็งของท่อลมในปอดทำให้ตรวจพบมีการหายใจเสียงหวีดขณะหายใจออก เกิดในขณะทำงานเนื่องจากมีการสัมผัสสารก่ออาการส่วนใหญ่การเกิดโรคเกิดจากปฏิกิริยาภูมิไวเกิน ในระยะแรกจะมีอาการเฉพาะเวลาที่มีการสัมผัสเช่นเวลาทำงาน ต่อมาเมื่อมีการสัมผัสทีละน้อยเป็นเวลานานๆ ก็จะมีอาการตลอดเวลากลายเป็นโรคหอบหืด โรคบิสซิโนสิสเป็นโรคหอบหืดจากการประกอบอาชีพที่เกิดจากการสัมผัสเส้นใยฝ้าย ป่านปอหรือลินิน ซึ่งเป็นเส้นใยธรรมชาติทำให้เกิดอาการหอบหือ โดยมีลักษณะพิเศษคือ จะเป็นในวันแรกของการเข้าทำงาน อาการบิสซิโนสิส เป็นโรคที่เกิดจากการกระตุ้นภูมิคุ้มกันของใยฝ้าย ป่าน ปอ และลินิน ดังนั้นอาการจึงเกิดในวันแรกที่เข้าทำงาน มีการแบ่งอาการของโรคหลายแบบ อาการแสดง ได้แก่ อาการของหลอดลมตีบ มีอาการหอบหืด การตรวจหน้าที่ของปอดเป็นแบบอุดกั้น การวินิจฉัยโดยซักประวัติ ตรวจอาการ และทำการตรวจสมรรถภาพปอดพบมีลักษณะปอดอุดกั้น การรักษาโดยใช้ยาขยายหลอดลม และย้ายออกจากงาน
โรคหอบหืดจากการทำงานชนิดอื่นๆโรคหอบหืดจากการทำงานชนิดอื่นๆ เกิดจากสารชีวภาพและสารเคมีที่มีน้ำหนักโมเลกุลต่างๆ กัน สารเหล่านี้ทำให้เกิดปฏิกิริยาในหลอดลมเช่นเดียวกับที่อธิบายไป ในโรคบิสสิโนสิส การทำงานร่วมกับสารเหล่านี้จะทำลายสมรรถภาพปอดไปทีละน้อย ในที่สุดจะกลายเป็นโรคหอบหืดได้เร็วขึ้น
โรคภูมิไวเกินของหลอดลมโรคภูมิไวเกินของหลอดลม เกิดจากการกระตุ้นของสารเคมี แต่เป็นแบบล่าช้าทำให้เกิดอาการภายหลังจากที่สัมผัสสารเคมีนั้น มีความสำคัญเนื่องจากบางครั้งเมื่อสัมผัสไม่มีอาการแต่เมื่อกลับบ้านกลับไปมีอาการที่บ้านทำให้เข้าใจผิดว่าไม่ได้เกิดจากการทำงานหรือเกิดจากสารเคมีที่สัมผัส
โรคการระคายเคืองทางเดินหายใจส่วนบนโรคการระคายเคืองทางเดินหายใจส่วนบน ลักษณะการเกิดเช่นเดียวกับการเกิดหอบหืด เป็นได้ทั้งแบบระคายเคืองและแบบภูมิแพ้ การตรวจพิสูจน์ค่อนข้างยาก การรักษาและควบคุม ป้องกันคล้ายกับโรคปอดจากการประกอบอาชีพอื่นๆ อาการของการระคายเคืองและโรคทั่วไปจะคล้ายกัน ได้แก่ มีอาการแน่นจมูก มีน้ำมูกไหล คอแห้ง แสบคอ ไอ เจ็บคอ มีอาการเคืองตา แสบตา แต่สามารถแยกได้จากการที่มีหลายคนเป็นพร้อมกัน ระบบระบายอากาศในที่ทำงานไม่ดี มีสารก่อภูมิแพ้ ในอาคาร มีอาการบ่อยครั้งมาก โดยเฉพาะเมื่อทำงาน
โรคผิวหนังจากการประกอบอาชีพโรคผิวหนังจากการประกอบอาชีพ โรคผิวหนังอักเสบการสัมผัสแบบระคายเคือง โรคผิวหนังอักเสบจากการสัมผัสชนิดภูมิแพ้ โรคด่างขาวจากการทำงาน
โรคผิวหนังอักเสบการสัมผัสแบบระคายเคืองโรคผิวหนังอักเสบการสัมผัสแบบระคายเคือง เป็นโรคผิวหนังอักเสบที่พบบ่อยที่สุด ลักษณะสำคัญที่จะมีอาการบริเวณที่มีการสัมผัส ได้แก่ บริเวณนอกร่มผ้า ในระยะเฉียบพลันจะมีอาการบวมแดง อักเสบ ระยะเรื้อรังจะหนา แห้ง และแตก การรักษาไม่ให้มีการสัมผัสและให้ยาสเตียรอยด์ สามารถแบ่งระยะของผิวหนังอักเสบจากการระคายเคืองตามกลไกการเกิดโรคหรือความรุนแรงหรือระยะเวลาการสัมผัส ถ้ามีการสัมผัสขนาดมากในระยะอันสั้นก็จะเป็นโรคผิวหนังอักเสบจากการระคายเคืองแบบฉับพลัน ซึ่งจะมีอาการแดง ลอก และมีน้ำใต้ผิวหนัง ถ้าสัมผัสขนาดน้อยเป็นระยะเวลานานก็จะเป็นแบบเรื้อรัง ผิวหนังจะหนาเป็นเกร็ด การวินิจฉัย โรคผิวหนังอักเสบสามารถวินิจฉัยจากประวัติการสัมผัส อาการแสดงนอกร่มผ้า ในบริเวณที่สัมผัส
โรคผิวหนังอักเสบจากการสัมผัสชนิดภูมิแพ้โรคผิวหนังอักเสบจากการสัมผัสชนิดภูมิแพ้ ลักษณะการเกิดคล้ายโรคผิวหนังอักเสบแบบระคายเคืองแต่กลไกการเกิดนั้นเกิดจากภูมิคุ้มกันของร่างกายทำให้มีอาการ อาการจะเริ่มบริเวณสัมผัสแล้วขยายลุกลามออกไป ถ้าสัมผัสบ่อยครั้ง ก็จะทำให้เกิดโรคถาวรที่ผิวหนังได้การรักษานั้นทำได้เช่นเดียวกัน การป้องกัน โดยการหลีกเลี่ยงการสัมผัสสารก่อภูมิแพ้ การวินิจฉัยโรคที่ถูกต้อง ซึ่งบางครั้งเข้าใจผิดคิดว่าเป็นผื่นแพ้หรือลมพิษจากสาเหตุอื่นเนื่องจากไม่ได้เกิดในบริเวณที่สัมผัส
โรคด่างขาวจากการทำงานโรคด่างขาวจากการทำงาน มีลักษณะชัดเจนคือเกิดการจางของสีผิวหนังเป็นวงมีขอบชัด ส่วนใหญ่เกิดนอกร่มผ้า กลไกการเกิดจากปฏิกิริยาภูมิคุ้มกันไปทำลายเม็ดสีใต้ผิวหนัง ทำให้ผิวหนังมีสีจางลง เกิดจากการสัมผัสสารเคมี/ การถูไถ เกิดได้เฉพาะที่หรือเกิดได้ทั้งตัว
โรคมะเร็งจากการประกอบอาชีพโรคมะเร็งจากการประกอบอาชีพ โรคมะเร็งปอด โรคมะเร็งผิวหนัง โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว โรคมะเร็งตับ โรคมะเร็งจมูก
โรคมะเร็งปอด มีสาเหตุจากสารเคมีอนุภาคหลายชนิดได้แก่ แอสเบสตอส เรดอน คลอโรเมธินอีเธอร์ โพลีอะโรมาติกไฮโดรคาร์บอน อาร์เซนิก โครเมียม นิกเกิล โรคมะเร็งปอดส่วนมากจะไม่สามารถแยกโรคได้จากมะเร็งปอดที่พบในสาเหตุทั่วไป อาการและอาการแสดงของโรคมะเร็งปอด ทั้งจากการประกอบอาชีพและจากสาเหตุอื่นจะเหมือนกันคือมีอาการของการระคายเคืองของเยื่อหุ้มปอด หลอดลม ถุงลมในปอด ทำให้มีอาการหอบเหนื่อย ไอเป็นเลือด นอกจากนี้มะเร็งปอดยังสามารถแพร่กระจายไปยังอวัยวะอื่นทำให้มีอาการของอวัยวะนั้นๆ จากประวัติการสัมผัสทำให้สามารถวินิจฉัยว่าเกิดจากการทำงานนั้น • ประวัติที่ทำให้วินิจฉัยยาก คือ การสูบบุหรี่ ส่วนใหญ่เมื่อวินิจฉัยก้อนจะโตมากแล้ว และผู้ป่วยจะถึงแก่กรรมในเวลาไม่นาน • การสูบบุหรี่ทำให้เป็นมะเร็งปอดได้และมีโอกาสที่จะเป็นจากบุหรี่มากกว่าการประกอบอาชีพหลายเท่า ในการประกอบอาชีพบุหรี่ก็มีส่วนเร่งให้เป็นมะเร็งจากสารที่สัมผัสให้เป็นเร็วขึ้นหลายเท่าเช่นกัน
โรคมะเร็งผิวหนัง สาเหตุอันดับหนึ่งได้แก่แสงแดดแสงแดด มีแสงอัลตราไวโอเลตชนิดต่างๆ นอกจากนี้ยังเกิดจากรังสี สารเคมีอื่นๆ ได้อีกหลายชนิด โพลีไซคลิกอะโรมาติกไฮโดรคาร์บอนอาร์เซนิก การป้องกันควรสวมเสื้อป้องกันแสงแดดเพื่อป้องกันแสงยูวี
โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว สาเหตุสำคัญคือตัวทำละลายพวกเบนซีน (ปัจจุบันนี้ลดการใช้แล้ว) สาเหตุอีกอย่างคือจากรังสีแตกตัว การป้องกันโดยการใส่เสื้อป้องกันรังสีเวลาใช้และมีการวัดปริมาณรังสีที่ร่างกายได้รับ รวมทั้งมีการเจาะเลือดดูเป็นระยะ อาการและอาการแสดงขึ้นอยู่กับชนิดของโรค และยังขึ้นกับ ระยะเวลาของโรค เช่น ในระยะกดไขกระดูกก็จะมีอาการซีด อ่อนเพลีย มีเลือดออกทั่วไป
โรคมะเร็งตับ มีสาเหตุมาจากสารเคมีที่ชัดเจน ได้แก่ ไวนิลคลอไรด์ การป้องกันโดยการควบคุมสิ่งปวดล้อม และลดการสัมผัส แนวทางการวินิจฉัยโรคมะเร็งตับจากการประกอบอาชีพ การซักประวัติการสัมผัสสารก่อมะเร็ง การซักประวัติการทำงาน สภาพแวดล้อมในการทำงาน การใส่อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล การตรวจร่างกายพบอาการแสดงของโรคตับ
โรคมะเร็งจมูก มีสาเหตุจากฝุ่นไม้ นิกเกิล โครเมียม ฟอร์มัลดีไฮล์ ไอโซโพรพริลแอลกอฮอลล์ การระวังป้องกันที่สำคัญคือเรื่องการระบายอากาศที่ดี และการใช้เครื่องป้องกันทางเดินหายใจ อาการและอาการแสดง อาการของโรคหวัดเรื้อรัง การมีเลือดออกจากจมูก ในระยะหลังแล้วแต่การกดเบียดอวัยวะใด ในช่องปาก นอกจากนี้ยังต้องมีประวัติการสัมผัสหรือทำงานในอาชีพที่เสี่ยงต่อมะเร็งจมูก
หน่วยที่ 12 โรคจากการประกอบอาชีพที่เกิดจากปัญหา ทางกายศาสตร์และจิตวิทยาสังคม
การบาดเจ็บสะสมจากการทำงานของระบบกล้ามเนื้อและกระดูกโครงร่างการบาดเจ็บสะสมจากการทำงานของระบบกล้ามเนื้อและกระดูกโครงร่าง อาการปวดหลัง พบได้บ่อยในบุคคลวัยทำงาน เกิดได้จากหลายสาเหตุอาการปวดหลังที่มีสาเหตุจากการทำงานมักเป็นการบาดเจ็บต่อกล้ามเนื้อหรือเอ็น ซึ่งเกิดจากการทำงานก้มๆ เงยๆ นั่ง ยืน นอน ยกของในท่าที่ไม่ถูกต้อง หรือยกของหนัก การป้องกัน 1. รักษาอิริยาบถ ท่าทางในชีวิตประจำวันและท่าทางการทำงานที่ถูกต้อง ให้กระดูกสันหลังอยู่ในแนวตรงอยู่เสมอ ไม่บิดตัว ก้มตัว และเอี้ยวตัว 2. หลีกเลี่ยงการอยู่ท่าใดท่าหนึ่งเป็นเวลานาน 3. ใช้เครื่องมืออุปกรณ์ที่ช่วยในการผ่อนแรงเช่น รถเข็น สายพานลำเลียง 4. บำรุงรักษา ออกกำลังกายสม่ำเสมอ เพื่อให้ร่างกายแข็งแรงเพิ่มความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อ เอ็น และกระดูดสันหลัง 5. ทำจิตใจให้ผ่องใสไม่เครียด 6. ควบคุมปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ เช่น รักษาน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์เหมาะสม
การบาดเจ็บสะสมจากการทำงานของระบบกล้ามเนื้อและกระดูกโครงร่างการบาดเจ็บสะสมจากการทำงานของระบบกล้ามเนื้อและกระดูกโครงร่าง ลำคอ เป็นอวัยวะที่มีการเคลื่อนไหวก้มเงยเอี้ยวหมุนอยู่ตลอดเวลา จึงเป็นจุดอ่อนที่จะเกิดอันตรายได้ง่าย อาการปวดคออาจเกิดจากการทำงานโดยใช้อิริยาบถหรือท่าทางที่ไม่ถูกต้องทำให้กล้ามเนื้อคออักเสบหรือกล้ามเนื้อเคล็ด การป้องกัน ระวังรักษาอิริยาบถท่าทางให้ถูกต้อง หลีกเลี่ยงการก้มเงยคอนานเกินไป หรือบ่อยเกินไป ควรหยุดพักเป็นช่วงๆ เพื่อบริหารกล้ามเนื้อคอ หรือขยับเคลื่อนไหวคอ จัดสภาพการทำงานให้เหมาะสม มีการเปลี่ยนอิริยาบถเป็นระยะ
การบาดเจ็บสะสมจากการทำงานของระบบกล้ามเนื้อและกระดูกโครงร่างการบาดเจ็บสะสมจากการทำงานของระบบกล้ามเนื้อและกระดูกโครงร่าง ข้อไหล่ เป็นข้อที่ถูกใช้งานมาก จึงทำให้เกิดอาการผิดปกติได้บ่อย อาการปวดไหล่เกิดได้จากหลายสาเหตุ ในวัยทำงานอาการปวดไหล่มักมีความสัมพันธ์กับการใช้ข้อไหล่ทำงานอย่างมากทำให้มีการเสียดสีและอักเสบของเอ็นและกล้ามเนื้อบริเวณรอบๆ ข้อไหล่ โดยเฉพาะลักษณะงานที่ต้องมีการกางแขน ยกแขนสูงบ่อยๆ การป้องกัน การบริหารข้อไหล่อย่างสม่ำเสมอ หลีกเลี่ยงการยกของหนักเกินกำลัง และการใช้แขนหรือมือทำงานเหนือระดับศีรษะนานเกินไป ความผิดปกติที่เรียกว่า ข้อไหล่ติด (Frozen Shoulder) เกิดจากสาเหตุ อาการปวดไหล่และไม่ยอมเคลื่อนไหวข้อไหล่
การบาดเจ็บสะสมจากการทำงานของระบบหรือส่วนอื่นๆ ของร่างกาย กล้ามเนื้อและเส้นเอ็นบริเวณมือ เป็นองค์ประกอบที่สำคัญในการใช้งานของมือและข้อศอก ตามปกติเอ็นของกล้ามเนื้อจะมีปลอกหุ้มเอ็นคลุมอยู่ ผู้ป่วยบางรายอาจมีการอักเสบของเอ็นและปลอดหุ้มเอ็นในคราวเดียวกัน สาเหตุของการอักเสบนั้นยังไม่ทราบแน่ชัด แต่ส่วนใหญ่มักเกิดขึ้นภายหลังจากการใช้งานมากจนเกินไป การบาดเจ็บเกี่ยวเนื่องกับเส้นเอ็นและปลอกหุ้มเอ็นที่พบบ่อย คือ เส้นเอ็นข้อศอกอักเสบ ปลอกหุ้มเอ็นนิ้วหัวแม่มืออักเสบ (ใช้การทดสอบแบบฟิงเกลสไทร์) โรคนิ้วไกปืน และถุงน้ำแกงเกลียน
การบาดเจ็บสะสมจากการทำงานของระบบหรือส่วนอื่นๆ ของร่างกาย โรคที่สำคัญ เส้นเอ็นข้อศอกด้านนอกอักเสบ หรือเทนนิส เอ็ลโบว์ (Tennis Elbow) เป็นโรคที่เกิดจากความผิดปกติบริเวณข้อศอกด้านนอก ซึ่งเป็นตำแหน่งที่เส้นเอ็นของกล้ามเนื้อสำหรับกระดกข้อมือ เหยียดนิ้วมือ ไปเกาะกับกระดูก เส้นเอ็นข้อศอกด้านในอักเสบ หรือกอล์ฟเฟอร์ เอ็ลโบว์ (Golfer Elbow) เป็นโรคที่เกิดความผิดปกติบริเวณข้อศอกด้านใน ซึ่งเป็นตำแหน่งที่เส้นเอ็นของกล้ามเนื้อสำหรับงอข้อมือ กำมือไปเกาะกับกระดูก
การบาดเจ็บสะสมจากการทำงานของระบบหรือส่วนอื่นๆ ของร่างกาย ปัญหาของระบบประสาทส่วนปลายถูกกดทับ ทำให้เกิดอาการมือชา เป็นปัญหาที่เกิดได้จากหลายสาเหตุ ปัจจัยเสี่ยงที่เกิดกลุ่มอาการนี้ ได้แก่ การใช้งานของมือและตำเหน่งของข้อมือ ข้อศอก โดยมักเกิดจากการใช้มือ ข้อศอก ด้วยการใช้มือท่าเดียวนานๆ การบาดเจ็บเกี่ยวเนื่องกับเส้นประสาทที่พบบ่อย ได้แก่ กลุ่มอาการเส้นประสาทถูกกดทับที่ข้อมือ และกลุ่มอาการของเส้นประสาทอัลน่าร์ ถูกกดทับบริเวณข้อศอก กลุ่มอาการเส้นประสาทถูกกดทับถูกกดทับที่ข้อมือ เกิดเส้นประสาทมีเดียนถูกบีบรัด ทำให้มีอาการปวดชาที่ปลายมือ ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิด คือ กิจกรรมที่ใช้มือในท่าเดียวเป็นเวลานานและการทำงานที่ต้องใช้ข้อมือกระดกขึ้นลง หรืองอข้อมือซ้ำๆ กันนานๆ การป้องกันการเกิดกลุ่มอาการอุโมงค์คิวบิตัล ควรหลีกเลี่ยงท่าทางที่งอข้อศอกนานๆ เช่นการถือหูโทรศัพท์นานๆ การขับรถ การยืนกอดอก
การบาดเจ็บสะสมจากการทำงานของระบบหรือส่วนอื่นๆ ของร่างกาย การบาดเจ็บเกี่ยวเนื่องกับการไหลเวียนโลหิต สาเหตุจากการทำงานที่สำคัญ กลุ่มอาการผิดปกติจากความสั่นสะเทือนเฉพาะมือและแขน ซึ่งเป็นอาการผิดปกติที่เกิดกับนิ้วมือ มือ และแขน จากการใช้เครื่องมือที่มีความสั่นสะเทือน กลุ่มอาการผิดปกติจากการใช้กล้ามเนื้อมือแทนค้อน ซึ่งเป็นภาวะของมือที่มีความผิดปกติเกี่ยวกับการไหลเวียนโลหิตที่ไปเลี้ยงกล้ามเนื้อที่ทำหน้าที่เคลื่อนไหวนิ้วก้อย กลุ่มอาการที่พบบ่อย โรคจากความสั่นสะเทือนเฉพาะมือและแขน คือ การเสียวแปลบ ชา และซีดขาวของนิ้วมือ ผู้ป่วยอาจเสียความสามารถในการควบคุมกล้ามเนื้อ มีอาการปวดและการรับความรู้สึกร้อน-เย็นลดลง ในรายที่รุนแรง จะมีการทำลายผนังหลอดเลือดแดงที่นิ้ว ทำให้รูหลอดเลือดเล็ดลง และจะมีการดำเนินโรครุนแรงขึ้นเรื่องๆ เช่น เกิดแผลที่ปลายนิ้ว มีการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อ และอาจรุนแรงถึงขั้นทำให้สูญเสียสมรรถภาพได้ มีความผิดปกติของระบบหลอดเลือด ที่เรียกว่า เรยน์นอด ฟีโนมินอน
ความเครียดและปัญหาสุขภาพจิตอื่นๆ จากการทำงาน ความเครียดจากการทำงาน การตอบสนองของบุคคลต่อสิ่งคุกคามหรือความกดดันที่เพิ่มพูนมาจากข้อจำกัดในการทำงาน ความเครียดจากการทำงานเกิดจากสาเหตุหลัก 3 ประการ ปัจจัยเกี่ยวกับตัวบุคคล ปัจจัยเกี่ยวกับงาน ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับสภาพแวดล้อมในการทำงาน ความเครียดในระดับสูงเป็นเวลานานอาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพทางร่างกายและจิตใจของผู้ปฏิบัติงาน ครอบครัว และสังคม องค์การควรมีมาตรฐานการจัดการเพื่อลดผลกระทบจากความเครียด
ความเครียดและปัญหาสุขภาพจิตอื่นๆ จากการทำงาน แนวทางการลดความเครียด การหาสาเหตุที่แท้จริงแล้วแก้ไขที่ต้นเหตุของความเครียด ถ้าปัญหานั้นเกินวิสัยที่จะแก้ไขหรือหลีกเลี่ยงไม่ได้ ก็ควรปรับตัวเพื่อรับมือกับความเครียด โดยอาจเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตหรือทัศนคติต่อการดำเนินชีวิต ปรับปรุงสัมพันธภาพต่อบุคคลนครอบครัวและเพื่อนร่วมงาน พยายามมองโลกในแง่ดี รู้จักปล่อยวาง ไม่ยึดมั่นถือมั่นจนเกินไป อาจเลือกใช้เทคนิคต่างๆในการผ่อนคลายความเครียดที่ตรงกับความสนใจและเหมาะสมกับตนเอง เช่นอการพักผ่อนหย่อนใจ ปลูกต้นไม้ อ่านหนังสือ ดูหนังฟังเพลง เดินทางท่องเที่ยว การเล่นกีฬาหรือนันทนาการ การทำสมาธิ ทำบุญทำทาน
ความเครียดและปัญหาสุขภาพจิตอื่นๆ จากการทำงาน กลุ่มอาการหมดแรงจูงใจในการทำงาน และการขาดงาน เป็นปัญหาสุขภาพจิตที่ส่งผลกระทบต่อคุณภาพและผลผลิตขององค์กร ภาวะหมดแรงจูงใจในการทำงานและการขาดงานในภาคอุตสาหกรรมเป็นเรื่องที่ซับซ้อน การป้องกันควบคุมปัญหานี้ ต้องมีการบริหารจัดการที่คำนึงถึงปัจจัยเกี่ยวกับบุคคล ปัจจัยเกี่ยวกับงาน ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับสภาพแวดล้อมในการทำงาน ตลอดจนการใช้หลักจิตวิทยาเพื่อเพิ่มขวัญและสร้างความผูกพันในองค์การ
ความเครียดและปัญหาสุขภาพจิตอื่นๆ จากการทำงาน กลุ่มอาการหมดแรงจูงใจในการทำงานมีองค์ประกอบ 3 ประการ คือ 1. ความเหนื่อยอ่อนทางอารมณ์ (Emotional Exhaustion) รู้สึกเบื่อหน่าย หมดเรี่ยวแรง อ่อนเพลียเหนื่อยล้า อารมณ์แปรปรวน หงุดหงิดง่าย เฉื่อยชา รู้สึกผิดหวัง ไม่สามารถทำงานได้ 2. ความสำเร็จในการทำงานลดลง (Reduced Personal Accomplishment) รู้สึกล้มเหลว ความสามารถในการทำงานให้ประสบความสำเร็จลดลง ผลผลิตลดลง ขวัญกำลังใจตกต่ำ ไม่อยากทำงานเดิมที่ทำอยู่อีกต่อไป 3. ไม่สนใจบุคคลอื่น (Depersonalization) มีความรู้สึกในทางลบ ไม่อยากมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น ไม่สนใจรับผิดชอบต่อผู้เกี่ยวข้องหรือลูกค้า หงุดหงิดง่าย
หน่วยที่ 13 การเฝ้าระวังสุขภาพของผู้ประกอบอาชีพ
การเฝ้าระวังทางด้านสาธารณสุขการเฝ้าระวังทางด้านสาธารณสุข เป็นขั้นตอนการดำเนินการอย่างต่อเนื่องเป็นระบบในการเก็บรวบรวม วิเคราะห์ และแปรผลข้อมูลทางสุขภาพที่สำคัญ โดยข้อมูลเหล่านี้จะถูกนำไปใช้ในการวางแผนการดำเนินการ ประเมินผลโครงการ หรือการดำเนินงานทางด้านสาธารณสุข การเฝ้าระวังทางด้านสาธารณสุขถือเป็นหัวใจของการป้องกันและควบคุมโรค การเฝ้าระวังสามารถแบ่งได้เป็น 4 แบบ คือ แบบเชิงรับ แบบเชิงรุก แบบการเฝ้าระวังตามกลุ่มเสี่ยงสูงหรือพื้นที่เฉพาะ และแบบพิเศษ การเฝ้าระวังแบบเชิงรุก การเฝ้าระวังที่ดำเนินการสืบเสาะหรือสำรวจหาผู้ป่วยจากแหล่งที่อาจจะพบผู้ป่วยที่ต้องการเฝ้าระวังมีความครบถ้วนสมบูรณ์ แต่ค่าใช้จ่ายมาก การเฝ้าระวังเชิงรับ ระบบการเฝ้าระวังที่มีการดำเนินการมากที่สุด ค่าใช้จ่ายน้อย ที่สุด การเฝ้าระวังตามกลุ่มเสี่ยงสูง หรือพื้นที่เฉพาะ การเฝ้าระวังที่ดำเนินการในบางสถานบริการสาธารณสุข หรือพื้นที่ที่มีการเกิดโรคค่อนข้างสูงเป็นการเฉพาะเจาะจง
ระบบเฝ้าระวังโรคจากการประกอบอาชีพระบบเฝ้าระวังโรคจากการประกอบอาชีพ ระบบเฝ้าระวังที่ใช้ข้อมูลที่มีอยู่แล้วจากระบบอื่นๆ เป็นระบบที่เสียค่าใช้จ่ายน้อยและง่าย แต่อาจจะมีข้อจำกัดตรงที่ใช้ระยะเวลานาน และข้อมูลอาจจะไม่ครบตรงตามวัตถุประสงค์ที่ต้องการ ระบบที่เป็นการรายงานจากแพทย์หรือบุคลากรสาธารณสุข เป็นระบบที่ต้องอาศัยความร่วมมือจากบุคลากรในหน่วยบริการสุขภาพ แต่มีข้อดีคือ มีความไวสูง ระบบที่นายจ้างเป็นผู้รายงาน เป็นระบบที่แม้มีความสำคัญ และมักจะเป็นการบังคับตามกฎหมายแต่ผู้รายงานมักจะละเลยหรือไมใส่ใจที่จะปฏิบัติตาม ระบบเฝ้าระวังที่เป็นแบบผสม
ระบบเฝ้าระวังโรคจากการประกอบอาชีพในประเทศไทยระบบเฝ้าระวังโรคจากการประกอบอาชีพในประเทศไทย ปัจจุบันมีการริเริ่มและพัฒนาระบบเฝ้าระวังโรคจากการประกอบอาชีพแล้ว โดยมีลักษณะหลายรูปแบบ และดำเนินการภายใต้ความรับผิดชอบของหลายหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้อง เช่น • ระบบเฝ้าระวังที่ใช้ข้อมูลที่มีอยู่แล้วจากระบบอื่นๆ ได้แก่ ระบบข้อมูลของสำนักงานกองทุนเงินทดแทน กระทรวงแรงงาน • ระบบเฝ้าระวังที่เป็นการรายงานจากแพทย์หรือบุคลากรสาธารณสุข ได้แก่ ระบบเฝ้าระวังโรคตามแบบรายงาน 506 ของสำนักงานระบาดวิทยา กระทรวงสาธารณสุข • ระบบเฝ้าระวังนายจ้างเป็นผู้รายงาน ได้แก่ ระบบข้อมูลตามพระราชบัญญัติกฎหมายแรงงาน พ.ศ. 2541 กระทรวงแรงงาน
การเฝ้าระวังสุขภาพของผู้ประกอบอาชีพการเฝ้าระวังสุขภาพของผู้ประกอบอาชีพ • การเฝ้าระวังทางสุขภาพ • เป็นกิจกรรมหนึ่งที่สำคัญของการจัดการบริการอาชีวอนามัย เพราะเป็นกิจกรรมในการที่จะตรวจคัดกรองโรคหรือความผิดปกติทางสุขภาพ ที่อาจจะเกิดจากการทำงานหรือปัจจัยเสี่ยงสุขภาพอื่นๆ • ในระยะเริ่มแรก ลักษณะของกิจกรรมของการเฝ้าระวังทางสุขภาพสามารถแบ่งได้ตามช่วงเวลาของการทำงาน คือ การตรวจก่อนการจ้างงานหรือก่อนการทำงาน การตรวจสุขภาพขณะทำงานเป็นระยะๆ การตรวจภายหลังการเกิดอุบัติภัย การตรวจภายหลังการลาป่วย และการตรวจสุขภาพเมื่อจะเปลี่ยนงานหรือลาออกจากงาน • องค์ประกอบในการตรวจประเมินสุขภาพเพื่อการเฝ้าระวังประกอบด้วยการซักประวัติ การตรวจร่างกายโดยแพทย์ และการตรวจพิเศษอื่นๆ • การตรวจเฝ้าคุมทางชีวภาพ ถือเป็นการป้องกันโรคในระดับปฐมภูมิ • การซักประวัติถือเป็นกิจกรรมหนึ่งที่สำคัญในการตรวจประเมินสุขภาพ
การดำเนินการตรวจประเมินสุขภาพการดำเนินการตรวจประเมินสุขภาพ การตรวจสุขภาพขณะทำงานเป็นระยะๆ หรือการตรวจสุขภาพประจำปี ต้องอาศัยหลักวิชาการของการตรวจกรองทางสุขภาพ รวมทั้งจะต้องยึดหลักความถูกต้อง แม่นยำ มีประโยชน์และมีประสิทธิภาพให้ผลคุ้มค่าต่อการดำเนินการตรวจ หลักการของการตรวจคัดกรองทางสุขภาพ 1. โรคหรือภาวะที่จะตรวจคัดกรองจะต้องมีความสำคัญ 2. โรคที่ตรวจคัดกรองได้แล้ว สามารถที่จะทำการรักษาได้ 3. โรคที่ภาวะที่ตรวจคัดกรอง มีช่วงระยะฟักตัว หรือระยะที่ปลอดอาการ 4. โรคนั้นจะต้องมีความชุกสูง ถ้าความชุกต่ำจะไม่คุ้มค่าในการตรวจ 5. วิธีการตรวจคัดกรองจะต้องเป็นที่ยอมรับทางการแพทย์ 6. วิธีการตรวจหรือทดสอบจะต้องมีความปลอดภัยต่อผู้ถูกตรวจ 7. เครื่องมือหรือวิธีการตรวจจะต้องให้ผลที่มีความไวสูง (sensitive) 8. เครื่องมือหรือวิธีการตรวจจะต้องให้ผลที่มีความจำเพาะสูง (specific) 9. วิธีการตรวจต้องง่าย 10. วิธีการตรวจหรือเครื่องมือทดสอบจะต้องมีราคาถูก
การตรวจสุขภาพก่อนการทำงาน และการประเมินสุขภาพให้ผู้ที่เจ็บป่วยเพื่อดูความพร้อมในการทำงาน วัตถุประสงค์หลักของการตรวจสุขภาพก่อนทำงาน เพื่อที่จะคัดกรองบุคคลที่จะเข้ามาทำงาน เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้บุคคลผู้นั้นประสบอันตราย หรือมีความเสี่ยงต่อสุขภาพมากขึ้นจากการทำงาน รวมทั้งเป็นการป้องกันเพื่อนร่วมงานและชุมชนด้วย เพื่อได้ข้อมูลพื้นฐานเพื่อการเฝ้าระวังทางสุขภาพต่อไป แนวทางการตรวจประเมินสุขภาพก่อนการทำงาน มีองค์ประกอบคล้ายคลึงกับการตรวจประเมินสุขภาพอื่นๆ คือ มีการซักประวัติ ตรวจร่างกาย และตรวจพิเศษอื่นๆ เมื่อพนักงานได้หยุดพักลาป่วยไม่ว่าจะมีสาเหตุมาจากโรคที่เกิดจากการทำงานหรือไม่ก็ตามสมควรที่จะต้องมีการประเมินสุขภาพ เพื่อให้เกิดความมั่นใจว่าพนักงานผู้นั้น จะไม่มีอาการผิดปกติหลงเหลืออยู่ อาจจะมีผลกระทบต่อสุขภาพจากการทำงานนั้น โดยโรคหรือภาวะที่จะต้องพิจารณาได้มีการกำหนดเป็นหลักเกณฑ์กว้างๆ ไว้แล้ว
การบริหารจัดการในการเฝ้าระวังทางสุขภาพการบริหารจัดการในการเฝ้าระวังทางสุขภาพ การบริหารจัดการและดำเนินกิจกรรมการตรวจสุขภาพมีหลายขั้นตอน ทั้งขั้นตอนก่อนการตรวจประเมิน ขณะตรวจประเมินและหลังการตรวจประเมินแล้ว ต้องอาศัยองค์ความรู้ทั้งในเรื่องการประเมินความเสี่ยงทางสุขภาพ โรคจากการประกอบอาชีพ และการใช้อุปกรณ์หรือเครื่องมือทางอาชีวเวชศาสตร์ สิ่งที่จะต้องพึงตระหนักในการตรวจประเมินสุขภาพ คือ การมุ่งเน้นที่คุณภาพและความถูกต้องตามหลักวิชาการในการดำเนินการตรวจ การนำผลการตรวจไปใช้ให้เกิดประโยชน์ และข้อควรระวังทางจริยธรรมทางการแพทย์ กิจกรรมที่สำคัญในการตรวจประเมินสุขภาพ คือ การสอบถามประวัติข้อมูลต่างๆ จากพนักงาน ต้องพัฒนาและออกแบบแบบสอบถามให้มีคุณภาพองค์ประกอบของแบบสอบถามที่สำคัญได้แก่ ข้อมูลทั่วไป ข้อมูลประวัติการทำงาน ข้อมูลสุขภาพ ข้อมูลการรับสัมผัสต่อสิ่งคุกคาม และข้อมูลอาการผิดปกติต่างๆ ปัจจุบันมีการพัฒนาสมุดสุขภาพของพนักงาน เพื่อมาใช้ในการจัดเก็บข้อมูลสุขภาพของผู้ประกอบอาชีพ
การบริหารจัดการในการเฝ้าระวังทางสุขภาพการบริหารจัดการในการเฝ้าระวังทางสุขภาพ ลำดับของกิจกรรมในขั้นตอนในการดำเนินงานการตรวจประเมินสุขภาพ 1. การสำรวจโรงงานเพื่อประเมินความเสี่ยงต่อสุขภาพ 2. การซักประวัติพนักงานด้วยแบบสอบถาม 3. การวิเคราะห์และแปรผลข้อมูลการตรวจพิเศษต่างๆ 4. การแจ้งผลให้แก่พนักงานและตัวแทนสถานประกอบการ
การบริหารจัดการในการเฝ้าระวังทางสุขภาพการบริหารจัดการในการเฝ้าระวังทางสุขภาพ องค์ประกอบของแบบสอบถามเพื่อใช้ในการตรวจคัดกรองในการเฝ้าระวังสุขภาพ 1. ข้อมูลทั่วไปของคนงานหรือผู้มารับการตรวจ ได้แก่ ชื่อ-นามสกุล เพศ อายุ ที่อยู่ การศึกษา ข้อมูลพื้นฐานอื่นๆ 2. ข้อมูลประวัติการทำงาน 3. ข้อมูลสุขภาพของผู้ทำงาน 4. ข้อมูลการรับสัมผัสต่อสิ่งคุกคามที่ให้กำลังให้ความสนใจในการตรวจประเมินสุขภาพ 5. อาการผิดปกติหรืออาการแสดงที่อาจเกิดจากการรับสัมผัสสิ่งคุกคามนั้น
การบริหารจัดการในการเฝ้าระวังทางสุขภาพการบริหารจัดการในการเฝ้าระวังทางสุขภาพ ลักษณะของแบบสอบถามที่ดี 1. มีความเหมาะสม 2. เข้าใจง่าย 3. ไม่กำกวม 4. ไม่มีความลำเอียง 5. สามารถครอบคลุมในประเด็นคำตอบได้ทั้งหมด 6. สามารถนำไปลงรหัสตัวเลขเพื่อใช้ในการวิเคราะห์และแปรผลข้อมูล 7. ก่อนนำแบบสอบถามไปใช้ได้จริง จะต้องมีการทดสอบแบบสอบถามก่อนเสมอ 8. มีจริยธรรม • การออกแบบสอบถามที่ดีจะมีส่วนช่วยในการวินิจฉัยโรคเป็นอย่างมาก • ข้อมูลการรับสัมผัสต่อสิ่งคุกคามนอกงานถือว่ามีความสำคัญเท่าๆ กับข้อมูลการรับสัมผัสจากในงาน • ก่อนนำแบบสอบถามไปใช้จริง จะต้องมีการทดสอบแบบสอบถามก่อนเสมอ
หลักการตรวจประเมินสุขภาพโดยการใช้เครื่องมือด้านอาชีวเวชศาสตร์หลักการตรวจประเมินสุขภาพโดยการใช้เครื่องมือด้านอาชีวเวชศาสตร์ เครื่องตรวจสมรรถภาพการได้ยิน เครื่องตรวจสมรรถภาพสายตา เครื่องตรวจสมรรถภาพปอด
การตรวจสมรรถภาพการได้ยินการตรวจสมรรถภาพการได้ยิน การเฝ้าระวังโรคหูเสื่อมจากการประกอยอาชีพ เพื่อวัดหาความไวในการได้ยินที่ความถี่ต่างๆ โดยใช้สัญญาณเสียงที่บริสุทธิ์จากเครื่องตรวจการได้ยิน การตรวจจะบอกได้ว่ามีการสูญเสียการได้ยินเสียงทางอากาศมากน้อยเพียงไร แต่ไม่สามารถแยกแยะความผิดปกติของระบบการนำเสียงและระบบประสาทการรับสัมผัสเสียง สำหรับองค์ประกอบที่สำคัญในการตรวจการได้ยินมี 4 องค์ประกอบ คือ ห้องตรวจ เครื่องมือ ตัวผู้ตรวจ ซึ่งต้องมีความรู้ ทักษะในการตรวจ ผู้รับการตรวจซึ่งต้องหยุดสัมผัสเสียงก่อนตรวจเพื่อป้องกันภาวการณ์สูญเสียการได้ยินแบบชั่วคราว Listening check คือ การตรวจสอบการทำงานของเครื่องตรวจสมรรถภาพการได้ยิน (Audiometer) โดยการฟังสัญญาณเสียงก่อนการตรวจแต่ละวัน ( ตรวจสอบสายที่ครอบหู ความดัง ความถี่เสียง การข้ามสัญญาณจากที่ครอบหูหนึ่งไปอีกข้างหนึ่ง) การควบคุมคุณภาพในการตรวจสมรรถภาพการได้ยิน คำนึงถึงเรื่อง ผู้ตรวจ ผู้รับการตรวจปฏิบัติตามข้อแนะนำ ห้องที่ใช้ตรวจ เครื่องมือต้อง calibrate การให้ผู้รับการตรวจสมรรถภาพการได้ยิน หยุดสัมผัสเสียงก่อนการรับการตรวจมีวัตถุประสงค์เพื่อ ป้องกันภาวะ temporary threshold shift ซึ่งอาจทำให้ผลการตรวจผิดพลาด