1 / 60

ผศ. ดร. แสงทอง ธีระทองคำ RN, Ph.D (Nursing), ACNP โรงเรียนพยาบาล รามาธิบดี

ความรับผิดทางอาญากับการปฏิบัติการพยาบาล. ผศ. ดร. แสงทอง ธีระทองคำ RN, Ph.D (Nursing), ACNP โรงเรียนพยาบาล รามาธิบดี คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาล รามาธิบดี E-mail: S angthong.ter @mahidol.ac.th. วัตถุประสงค์. อธิบายความหมาย และวัตถุประสงค์ของกฎหมายอาญาได้

Télécharger la présentation

ผศ. ดร. แสงทอง ธีระทองคำ RN, Ph.D (Nursing), ACNP โรงเรียนพยาบาล รามาธิบดี

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. ความรับผิดทางอาญากับการปฏิบัติการพยาบาลความรับผิดทางอาญากับการปฏิบัติการพยาบาล ผศ. ดร. แสงทอง ธีระทองคำ RN, Ph.D (Nursing), ACNP โรงเรียนพยาบาลรามาธิบดี คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี E-mail: Sangthong.ter@mahidol.ac.th

  2. วัตถุประสงค์ • อธิบายความหมาย และวัตถุประสงค์ของกฎหมายอาญาได้ • อธิบายประเภท ลักษณะ และหลักเกณฑ์ความรับผิดทางอาญาได้ • อธิบายโทษทางอาญาได้ • อธิบายการกระทำผิดกฎหมายอาญาที่เกี่ยวกับการประกอบวิชาชีพการพยาบาลได้

  3. ทำไมพยาบาลต้องเรียนกฎหมายอาญาทำไมพยาบาลต้องเรียนกฎหมายอาญา

  4. ความหมาย และวัตถุประสงค์ของกฎหมายอาญา • กฎหมายมหาชนว่าด้วยความผิดและโทษทางอาญา -> ระหว่างรัฐกับประชาชน • วัตถุประสงค์ • ควบคุมความประพฤติของบุคคลให้อยู่ในสังคมด้วยความสงบเรียบร้อย • รักษาโครงสร้างของสังคมให้มั่นคง • คุ้มครองความปลอดภัย • รักษาความสงบสุข • ป้องกันความเสียหายต่อสังคม (ดาราพร คงจา, 2548; มานิตย์ จุมปา, 2553; ไสว นรสาร, 2556; หยุด แสงอุทัย, 2548; อรนิช แสงจันทร์, 2549)

  5. ประเภทความรับผิดทางอาญาประเภทความรับผิดทางอาญา • ความผิดต่อแผ่นดิน • ผลกระทบต่อผู้ได้รับความเสียหาย และสังคม • ความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงแห่งราชอาณาจักร การปลอมเอกสาร ความผิดเกี่ยวกับลักทรัพย์ ความผิดเกี่ยวกับชีวิต • อัยการในฐานะทนายแผ่นดิน สามารถฟ้องร้องแทนผู้เสียหาย • ความผิดต่อส่วนตัว (ดาราพร คงจา, 2548; มานิตย์ จุมปา, 2553; ไสว นรสาร, 2556; หยุด แสงอุทัย, 2548; อรนิช แสงจันทร์, 2549)

  6. ประเภทความรับผิดทางอาญาประเภทความรับผิดทางอาญา • ความผิดต่อแผ่นดิน • ความผิดต่อส่วนตัว • ผลกระทบต่อผู้เสียหายฝ่ายเดียว และยอมความได้ • ความผิดฐานฉ้อโกงหรือยักยอกทรัพย์ผู้อื่น หมิ่นประมาท ความผิดทางเพศ • อายุความ: ภายใน 3 เดือนนับตั้งแต่วันที่รู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำความผิด (ปอ. มาตรา 96) • ถอนคำร้องทุกข์ ถอนฟ้อง หรือยอมความ สิทธินำคดีมาฟ้อง ย่อมระงับไป (ปวิอ. มาตรา 39(2)) (ดาราพร คงจา, 2548; มานิตย์ จุมปา, 2553; ไสว นรสาร, 2556; หยุด แสงอุทัย, 2548; อรนิช แสงจันทร์, 2549)

  7. ลักษณะความรับผิดทางอาญาลักษณะความรับผิดทางอาญา • ต้องมีบทบัญญัติความผิดและกำหนดโทษไว้โดยชัดแจ้ง • ต้องตีความโดยเคร่งครัดตามตัวอักษร • ไม่มีผลย้อนหลังในทางเป็นโทษ มาตรา 2 “บุคคลจักต้องรับโทษทางอาญา ต่อเมื่อได้กระทำการอันกฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำนั้น บัญญัติเป็นความผิดและกำหนดโทษไว้ และโทษที่จะลงแก่ผู้กระทำผิดนั้น ต้องเป็นโทษที่บัญญัติไว้ในกฎหมาย” (ดาราพร คงจา, 2548; มานิตย์ จุมปา, 2553; ไสว นรสาร, 2556; หยุด แสงอุทัย, 2548; อรนิช แสงจันทร์, 2549)

  8. ปุจฉา • กฎหมายวิชาชีพการพยาบาลกำหนดโทษบุคคลภายนอกที่ประกอบวิชาชีพพยาบาล จาก 2 ปี เป็น 3 ปี ศาลจะปฏิบัติอย่างไรสำหรับผู้ที่ถูกตัดสินไปแล้ว • เพิ่มโทษไม่ได้ • เพิ่มตามกฎหมายใหม่ • ต้องนำคดีมาตัดสินใหม่ • ให้สิทธิสภาการพยาบาล

  9. เคยอ่านข่าวพยาบาลถูกฟ้องหรือไม่ เรื่องใด พยาบาลช่วยผู้ป่วยแล้วพลาด ต้องรับผิดทางอาญาหรือไม่

  10. หลักเกณฑ์ความรับผิดทางอาญาหลักเกณฑ์ความรับผิดทางอาญา เกิดผลเสียหาย • มีการกระทำ • มีการกระทำโดยเจตนา ประมาท หรือไม่เจตนา • กฎหมายบัญญัติว่าการกระทำนั้นเป็นความผิดและกำหนดโทษไว้ • ไม่มีกฎหมายยกเว้นความผิดหรือยกเว้นโทษ • คดียังไม่ขาดอายุความ มาตรา 59 วรรค 1 “การที่บุคคลใดจะต้องรับผิดทางอาญา ก็ต่อเมื่อได้กระทำโดยเจตนา เว้นแต่จะมีกฎหมายบัญญัติว่าการกระทำนั้น แม้ไม่ได้กระทำโดยเจตนา ก็เป็นความผิด หรือกระทำโดยประมาท ก็เป็นความผิด บุคคลนั้นจึงจะต้องรับผิดในการกระทำโดยไม่เจตนาหรือประมาทนั้นด้วย” (ดาราพร คงจา, 2548; มานิตย์ จุมปา, 2553; ไสว นรสาร, 2556; หยุด แสงอุทัย, 2548; อรนิช แสงจันทร์, 2549)

  11. หลักเกณฑ์ความรับผิดทางอาญาหลักเกณฑ์ความรับผิดทางอาญา • มีการกระทำ • การเคลื่อนไหวร่างกาย หรือ ไม่เคลื่อนไหวร่างกาย • รู้สำนึก • อยู่ภายใต้การบังคับของจิตใจ • การกระทำไม่เคลื่อนไหวร่างกาย • งดเว้น -> หน้าที่เฉพาะ • - ละเว้น -> หน้าที่ทั่วไป (ดาราพร คงจา, 2548; มานิตย์ จุมปา, 2553; ไสว นรสาร, 2556; หยุด แสงอุทัย, 2548; อรนิช แสงจันทร์, 2549)

  12. หลักเกณฑ์ความรับผิดทางอาญาหลักเกณฑ์ความรับผิดทางอาญา • มีการกระทำโดยเจตนา ประมาท หรือไม่เจตนา • การกระทำโดยเจตนา -> การกระทำโดยรู้สำนึก และประสงค์ต่อผล หรือเล็งเห็นผลของการกระทำนั้น • การกระทำโดยประมาท -> การกระทำโดยปราศจากความระมัดระวัง ซึ่งบุคคลต้องมี ตามวิสัยและพฤติการณ์ • วิสัย-> ลักษณะบุคคล หรือสภาพภายในของผู้กระทำ • พฤติการณ์-> ข้อเท็จจริงประกอบการกระทำหรือเหตุภายนอก • การกระทำโดยไม่เจตนา -> การกระทำที่ผู้กระทำไม่ตั้งใจให้เกิด แต่บังเอิญผลที่เกิดมากกว่าที่ตั้งใจ (ดาราพร คงจา, 2548; มานิตย์ จุมปา, 2553; ไสว นรสาร, 2556; หยุด แสงอุทัย, 2548; อรนิช แสงจันทร์, 2549)

  13. ปุจฉา พยาบาลให้ยานอนหลับผู้ป่วย ลืมเอาราวกั้นเตียงขึ้น ผู้ป่วยตกเตียง ขาหัก พยาบาลมีความผิดฐานใด ก. เจตนา ข. ไม่เจตนา ค. ประมาท ง. จงใจ

  14. ปุจฉา • พยาบาลตรวจร่างกายผู้ป่วย โดยการเคาะเข่า ขากระเด้งเตะพยาบาลล้มก้นกระแทก ผู้ป่วยต้องรับผิดหรือไม่ • ไม่ เพราะ พยาบาลไม่ระวังตัวเอง • ไม่ เพราะ ไม่มีการกระทำ • รับผิด เพราะ ทำให้พยาบาลบาดเจ็บ • รับผิด เพราะ ทำร้ายร่างกาย

  15. หลักเกณฑ์ความรับผิดทางอาญาหลักเกณฑ์ความรับผิดทางอาญา • ต้องมีการกระทำ • กฎหมายบัญญัติว่าการกระทำนั้นเป็นความผิดและกำหนดโทษไว้ มาตรา 39 วรรค 2 และ 3 บัญญัติว่า “ในคดีอาญาให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่า ผู้ต้องหาหรือจำเลย ไม่มีความผิด ก่อนมีคำพิพากษาอันถึงที่สุด แสดงว่าบุคคลใดได้กระทำความผิด จะปฏิบัติต่อบุคคลนั้น เสมอเป็นผู้กระทำผิด มิได้” (ดาราพร คงจา, 2548; มานิตย์ จุมปา, 2553; ไสว นรสาร, 2556; หยุด แสงอุทัย, 2548; อรนิช แสงจันทร์, 2549)

  16. การกระทำผิดกฎหมายอาญาที่เกี่ยวกับการพยาบาลการกระทำผิดกฎหมายอาญาที่เกี่ยวกับการพยาบาล • การประมาทในการประกอบวิชาชีพ • การไม่ช่วยเหลือหรือปฏิเสธการประกอบวิชาชีพ • การทอดทิ้งหรือละเลยผู้ป่วย • การพยาบาลโดยผู้ป่วยไม่ยินยอม • การหน่วงเหนี่ยวกักขังผู้ป่วย หรือทำให้ผู้ป่วยขาดเสรีภาพ • การเปิดเผยความลับ • การปลอมเอกสาร • การทำหรือรับรองเอกสารเท็จ • การทำให้หญิงแท้งลูก (ดาราพร คงจา, 2548; มานิตย์ จุมปา, 2553; ไสว นรสาร, 2556; หยุด แสงอุทัย, 2548; อรนิช แสงจันทร์, 2549)

  17. การประมาทในการประกอบวิชาชีพการประมาทในการประกอบวิชาชีพ • ผู้อื่นได้รับอันตรายเล็กน้อยแก่ร่างกายหรือจิตใจ (ปอ.มาตรา 390) - ผู้ใด - กระทำโดยประมาท - เป็นเหตุให้ผู้อื่นรับอันตราย แก่กายหรือ จิตใจ จำคุกไม่เกิน 1 เดือน หรือปรับไม่เกิน 1,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ลหุโทษ (ดาราพร คงจา, 2548; มานิตย์ จุมปา, 2553; ไสว นรสาร, 2556; หยุด แสงอุทัย, 2548; อรนิช แสงจันทร์, 2549)

  18. การประมาทในการประกอบวิชาชีพการประมาทในการประกอบวิชาชีพ • ผู้อื่นได้รับอันตรายสาหัส (ปอ. มาตรา 300)” • - ผู้ใด • - กระทำโดยประมาท • เป็นเหตุให้ผู้อื่นรับอันตรายสาหัส จำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 6,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ • ตาบอด หูหนวก ลิ้นขาด หรือเสียฆานประสาท / เสียอวัยวะสืบพันธุ์ หรือความสามารถสืบพันธุ์ / เสียแขน ขา มือ เท้า นิ้ว หรืออวัยวะอื่นใด/ • หน้าเสียโฉมอย่างติดตัว/แท้งลูก/จิตพิการอย่างติดตัว/ทุพพลภาพหรือเจ็บป่วยเรื้อรัง/ ทุพพลภาพหรือเจ็บป่วยด้วยอาการทุกขเวทนาเกินกว่า 20 วัน (ปอ. มาตรา 297) (ดาราพร คงจา, 2548; มานิตย์ จุมปา, 2553; ไสว นรสาร, 2556; หยุด แสงอุทัย, 2548; อรนิช แสงจันทร์, 2549)

  19. การประมาทในการประกอบวิชาชีพการประมาทในการประกอบวิชาชีพ • ผู้อื่นถึงแก่ความตาย (ปอ.มาตรา 291) - ผู้ใด - กระทำโดยประมาท - เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย จำคุกไม่เกิน 10 ปี หรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ (ดาราพร คงจา, 2548; มานิตย์ จุมปา, 2553; ไสว นรสาร, 2556; หยุด แสงอุทัย, 2548; อรนิช แสงจันทร์, 2549)

  20. การประมาทในการประกอบวิชาชีพการประมาทในการประกอบวิชาชีพ • ไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานวิชาชีพ • ใช้เครื่องมือหรืออุปกรณ์การแพทย์ไม่ถูกต้อง • ความบกพร่องด้านการสื่อสาร • ความบกพร่องด้านการบันทึก • ความบกพร่องด้านการประเมินและเฝ้าระวังอาการ • ความบกพร่องด้านการไม่พิทักษ์สิทธิผู้ป่วย สาเหตุ (ไสว นรสาร, 2556)

  21. การประมาทในการประกอบวิชาชีพการประมาทในการประกอบวิชาชีพ • เด็กอายุ 6 ปี มีไข้สูง ประมาณ 38.6 องศาเซลเซียส ไม่ซึม มีอาเจียนเป็นสีน้ำตาล 1 ครั้ง ญาติแจ้งว่า หมอที่อนามัยตรวจแล้ว คิดว่าเป็นไข้เลือดออก จึงให้มารักษาต่อที่โรงพยาบาล พยาบาลวิชาชีพตรวจร่างกายเด็ก เห็นว่ายังไม่มีอาการน่าวิตก จึงให้กลับบ้าน โดยไม่ได้รายงานแพทย์ เด็กอาการไม่ดีขึ้น ผู้ปกครองจึงพาไปรักษาที่โรงพยาบาลอีกแห่งหนึ่ง ต่อมาเด็กเสียชีวิต เนื่องจากเสียเลือดมาก พยาบาลผิดไหม?

  22. ปุจฉา พยาบาลไม่ได้ดูวันที่หมดอายุของชุดทำแผล แล้วนำไปทำแผลผู้ป่วย ผู้ป่วยไม่เป็นอะไร พยาบาลมีความผิดหรือไม่ ฐานใด

  23. ปุจฉา พยาบาลแนะนำให้ผู้ป่วยรีบผ่าตัด เพื่อป้องกันไส้ติ่งแตก แต่ผู้ป่วยไม่เชื่อ ขอลงนามไม่ยินยอมรักษา หลังกลับบ้าน ผู้ป่วยช๊อคและเสียชีวิต พยาบาลมีความผิดหรือไม่ ฐานใด

  24. การปฏิเสธการประกอบวิชาชีพการปฏิเสธการประกอบวิชาชีพ • - ผู้ใด • - เห็นผู้อื่นตกอยู่ในอันตรายแห่งชีวิต • ตนอาจช่วยได้ โดยไม่กลัวอันตรายแก่ตนหรือผู้อื่น • -แต่ไม่ช่วยตามความจำเป็น • -เจตนา จำคุกไม่เกิน 1 เดือนหรือปรับไม่เกิน 1,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ (ปอ. มาตรา 374) ลหุโทษ (ดาราพร คงจา, 2548; มานิตย์ จุมปา, 2553; ไสว นรสาร, 2556; หยุด แสงอุทัย, 2548; อรนิช แสงจันทร์, 2549)

  25. ความผิดฐานทอดทิ้งผู้ป่วยความผิดฐานทอดทิ้งผู้ป่วย (ปอ. มาตรา 307) • - ผู้ใด • - มีหน้าที่ตามกฎหมาย/ สัญญา ต้องดูแลผู้ซึ่งพึ่งตนเองมิได้ • - ทอดทิ้ง • น่าจะเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่ชีวิต • เจตนา จำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 6,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ผู้ซึ่งพึ่งตนเองมิได้ -> อายุ ความเจ็บป่วย กาย/จิตพิการ (ดาราพร คงจา, 2548; มานิตย์ จุมปา, 2553; ไสว นรสาร, 2556; หยุด แสงอุทัย, 2548; อรนิช แสงจันทร์, 2549)

  26. ความผิดฐานละเลยผู้วิกลจริตความผิดฐานละเลยผู้วิกลจริต • - ผู้ใด • ควบคุมดูแลบุคคลวิกลจริต • ปล่อยปละละเลยให้ผู้วิกลจริตออกไปเที่ยวโดยลำพัง • เจตนา ปรับไม่เกิน 500 บาท (ปอ. มาตรา 373) (ดาราพร คงจา, 2548; มานิตย์ จุมปา, 2553; ไสว นรสาร, 2556; หยุด แสงอุทัย, 2548; อรนิช แสงจันทร์, 2549)

  27. ความผิดต่อเสรีภาพ • - ผู้ใด • ข่มขืนใจผู้อื่นให้กระทำ ไม่กระทำการใด หรือจำยอมต่อสิ่งใด • ทำให้กลัวว่าจะเกิดอันตราย • ผู้ถูกข่มขืนใจต้องกระทำ • เจตนา จำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 6,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ (ปอ. มาตรา 309) (ดาราพร คงจา, 2548; มานิตย์ จุมปา, 2553; ไสว นรสาร, 2556; หยุด แสงอุทัย, 2548; อรนิช แสงจันทร์, 2549)

  28. ความผิดฐานหน่วงเหนี่ยวกักขังความผิดฐานหน่วงเหนี่ยวกักขัง • - ผู้ใด • หน่วงเหนี่ยว กักขัง หรือกระทำให้ผู้อื่น ปราศจากเสรีภาพในร่างกาย • เจตนา จำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 6,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ (ปอ. มาตรา 310) (ดาราพร คงจา, 2548; มานิตย์ จุมปา, 2553; ไสว นรสาร, 2556; หยุด แสงอุทัย, 2548; อรนิช แสงจันทร์, 2549)

  29. ความผิดฐานเปิดเผยความลับความผิดฐานเปิดเผยความลับ • - ผู้ใด • - ล่วงรู้หรือได้มาซึ่งความลับของผู้อื่นจากการประกอบอาชึพ • เปิดเผยความลับที่น่าเกิดความเสียหายแก่ผู้ใด • โดยเจตนา จำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 1,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ (ปอ. มาตรา 323) (ดาราพร คงจา, 2548; มานิตย์ จุมปา, 2553; ไสว นรสาร, 2556; หยุด แสงอุทัย, 2548; อรนิช แสงจันทร์, 2549)

  30. ข้อยกเว้นความผิดฐานเปิดเผยความลับข้อยกเว้นความผิดฐานเปิดเผยความลับ • ข้อผูกพันหรือหน้าที่ • โรคติดต่อร้ายแรงเสี่ยงต่อการแพร่กระจาย • ผู้ป่วยไม่อาจรับผิดชอบหรือตัดสินใจด้วยตนเอง • คำสั่งศาล • ผู้ป่วยรับรู้และยินยอมให้เปิดเผย • การรายงานการทุบตีทำร้ายร่างกายในครอบครัว • รายงานบาดแผลที่ผู้ป่วยมารักษาที่อาจเกิดขึ้น เนื่องจากก่อคดีอาชญากรรม (ดาราพร คงจา, 2548; มานิตย์ จุมปา, 2553; ไสว นรสาร, 2556; หยุด แสงอุทัย, 2548; อรนิช แสงจันทร์, 2549)

  31. ความผิดฐานเปิดเผยความลับความผิดฐานเปิดเผยความลับ • นักศึกษามหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในสหรัฐอเมริกาเป็นโรคซึมเศร้าอย่างรุนแรง หลังจากที่ผู้หญิงที่เขาตกหลุมรักปฏิเสธความสัมพันธ์ เขาบอกจิตแพทย์ว่าเขาจะไปฆ่าพ่อแม่ของผู้หญิงคนนั้น ซึ่งจิตแพทย์ได้ให้ผู้ป่วยนอนรักษาตัวในโรงพยาบาล และแจ้งแก่ตำรวจที่ดูแลในวิทยาเขตว่า ให้ปล่อยตัวได้ หากผู้ป่วยอาการดีขึ้น • 2 เดือนหลังจากนั้น นศ.ได้ฆ่าผู้หญิงที่เขาตกหลุมรักตาย ศาลสูงตัดสินว่า แพทย์มีความผิด เพราะไม่บอกให้ผู้ที่ตกเป็นเหยื่อและครอบครัวให้ระวังตัว ท่านคิดอย่างไร

  32. การปลอมเอกสาร (ปอ.มาตรา 264) • ผู้ใด • ทำเอกสารปลอมทั้งฉบับ/ บางส่วน • น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่น • ผู้ใดหลงเชื่อว่าเป็นเอกสารจริง • เจตนา จำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 6,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ • - กรอกข้อความลงในแผ่นกระดาษหรือวัตถุอื่นใด • มีลายมือชื่อของผู้อื่น • ไม่ได้รับความยินยอม • - ใช้ในกิจการ ที่อาจเกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด การปลอม เอกสาร (ดาราพร คงจา, 2548; มานิตย์ จุมปา, 2553; ไสว นรสาร, 2556; หยุด แสงอุทัย, 2548; อรนิช แสงจันทร์, 2549)

  33. การรับรองเอกสารเท็จ (ปอ.มาตรา 269) • ผู้ใด • ประกอบการงานในวิชาแพทย์ / พยาบาล • ทำคำรับรองเอกสารอันเป็นเท็จ • น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่น • เจตนา จำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 4,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ผู้ใดโดยทุจริตใช้ หรืออ้างคำรับรอง (ดาราพร คงจา, 2548; มานิตย์ จุมปา, 2553; ไสว นรสาร, 2556; หยุด แสงอุทัย, 2548; อรนิช แสงจันทร์, 2549)

  34. หญิงทำให้ตนแท้งลูก (ปอ. มาตรา 301) • หญิงใด • ทำให้ตนเองแท้งลูก หรือยอมให้ผู้อื่นทำแท้งลูก • โดยเจตนา จำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 6,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ (ดาราพร คงจา, 2548; มานิตย์ จุมปา, 2553; ไสว นรสาร, 2556; หยุด แสงอุทัย, 2548; อรนิช แสงจันทร์, 2549)

  35. ทำให้หญิงแท้งลูก (ปอ. มาตรา 302) • ผู้ใด • ทำให้หญิงแท้งลูก • หญิงยินยอม • โดยเจตนา • จำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ • จำคุกไม่เกิน 7 ปี หรือปรับไม่เกิน 14,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ • หญิงรับอันตรายสาหัส • จำคุกไม่เกิน 10 ปี หรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ • หญิงถึงแก่ความตาย (ดาราพร คงจา, 2548; มานิตย์ จุมปา, 2553; ไสว นรสาร, 2556; หยุด แสงอุทัย, 2548; อรนิช แสงจันทร์, 2549)

  36. การทำให้หญิงแท้งลูก (ปอ. มาตรา 303) • ผู้ใด • ทำให้หญิงแท้งลูก • หญิงไม่ยินยอม • โดยเจตนา จำคุกไม่เกิน 7 ปี หรือปรับไม่เกิน 14,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ จำคุก 1-10 ปี หรือ ปรับ 2,000 - 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ • หญิงรับอันตรายสาหัส จำคุก 5-20 ปี หรือ ปรับ 10,000-40,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ • หญิงถึงแก่ความตาย (ดาราพร คงจา, 2548; มานิตย์ จุมปา, 2553; ไสว นรสาร, 2556; หยุด แสงอุทัย, 2548; อรนิช แสงจันทร์, 2549)

  37. พยายามทำให้หญิงแท้งลูกพยายามทำให้หญิงแท้งลูก (ปอ. มาตรา 304) ความผิดไม่สำเร็จ • ผู้ใด • พยายามทำหญิงแท้งลูก • หญิงยินยอม • โดยเจตนา ไม่ต้องรับโทษ (ดาราพร คงจา, 2548; มานิตย์ จุมปา, 2553; ไสว นรสาร, 2556; หยุด แสงอุทัย, 2548; อรนิช แสงจันทร์, 2549)

  38. สูติแพทย์ทำให้หญิงแท้งลูกสูติแพทย์ทำให้หญิงแท้งลูก (ปอ. มาตรา 305) • นายแพทย์ -> สูติแพทย์ • ทำแท้งหญิง และ • (1) เพื่อสุขภาพหญิง • -(2) หญิงมีครรภ์ เพราะถูกข่มขืน • หญิงยินยอม • เจตนา ไม่มีความผิด มาตรา 276 - > ข่มขืน กระทำชำเรา มาตรา 277 -> ชำเราเด็กหญิงอายุไม่เกิน15 ปี โดยเด็กยินยอมหรือไม่ก็ตาม มาตรา 282-284 -> พาหญิงไป เพื่อสำเร็จความใคร่ผู้อื่น โดยการล่อลวง ข่มขืนใจ ประทุษร้าย หรือใช้อำนาจครอบงำโดยผิดทำนองคลองธรรม (ดาราพร คงจา, 2548; มานิตย์ จุมปา, 2553; ไสว นรสาร, 2556; หยุด แสงอุทัย, 2548; อรนิช แสงจันทร์, 2549)

  39. หลักเกณฑ์การปฏิบัติเกี่ยวกับการยุติการตั้งครรภ์หลักเกณฑ์การปฏิบัติเกี่ยวกับการยุติการตั้งครรภ์ • หญิงมีครรภ์ยินยอม • แพทย์ผู้กระทำต้องเป็น สูติแพทย์ • เงื่อนไข • ปัญหาสุขภาพทางกายของหญิงตั้งครรภ์ หรือ • ปัญหาสุขภาพจิตของหญิงมีครรภ์ และ • ได้รับการรับรองหรือเห็นชอบจากผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม ที่ไม่ใช่สูติแพทย์ที่ยุติการตั้งครรภ์อย่างน้อยหนึ่งคน • กรณีถูกข่มขืนหรือถูกล่อลวงต้องมีหลักฐาน แพทยสภา, 2548

  40. หลักเกณฑ์การปฏิบัติเกี่ยวกับการยุติการตั้งครรภ์หลักเกณฑ์การปฏิบัติเกี่ยวกับการยุติการตั้งครรภ์ • ปฏิบัติในสถานพยาบาล • โรงพยาบาลหรือหน่วยงานของรัฐ ที่ให้บริการรับผู้ป่วยไว้ค้างคืน หรือ • สถานพยาบาลเวชกรรมที่มีเตียงรับผู้ป่วยไว้ค้างคืนตามกฎหมายสถานพยาบาล • คลินิกเวชกรรม โดยสามารถปฏิบัติเกี่ยวกับการยุติการตั้งครรภ์ทางการแพทย์ ที่อายุครรภ์ไม่เกินสิบสองสัปดาห์ • ต้องทำรายงานเสนอต่อแพทยสภา ตามเงื่อนไขและระยะเวลา แพทยสภา, 2548

  41. ปุจฉา ข้อใดเป็นอันตรายสาหัส ก. หยอดตาผิดทำให้ผู้ป่วยตาบอด ข. ชกหน้าเพื่อนทำให้เพื่อนฟันหักไป 4 ซี่ ค. ฉีดยาผิดทำให้ผู้ป่วยเกิดผื่นแพ้ต้องรักษาในโรงพยาบาลนาน 10 วัน ง. ทำร้ายร่างกายซี่โครงหัก 2 ซี่ต้องนอนโรงพยาบาล 7 วันและหยุดงานอีก 5 วัน

  42. ปุจฉา พยาบาลหยอดตาให้ผู้ป่วยต้อกระจกตามแผนการรักษาของแพทย์ ผู้ป่วยแพ้ยา ทำให้ผู้ป่วยตาบอด พยาบาลมีความผิดหรือไม่ เพราะเหตุใด ก. ไม่ผิด เพราะเป็นเหตุยกเว้นโทษ เนื่องจากทำตามคำสั่งแพทย์ ข. ไม่ผิด เพราะเป็นเหตุสุดวิสัย เนื่องจากไม่ทราบผลข้างเคียงของยา ค. ผิด เพราะกระทำโดยประมาท ทำให้ผู้อื่นได้รับอันตรายสาหัส ง. ผิด เพราะกระทำโดยไม่เจตนา ทำให้ผู้อื่นได้รับอันตรายแก่ร่างกาย

  43. ปุจฉา ข้อใดต่อไปนี้เป็นการปลอมเอกสาร ก. พยาบาลแก้ตัวเลขในใบสั่งยา ข. พยาบาลแก้ไขบันทึกทางการพยาบาลโดยไม่ได้ลงชื่อกำกับ ค. แพทย์ออกใบรับรองแพทย์ให้ผู้ป่วย โดยไม่ได้ตรวจร่างกายผู้ป่วย ง. พยาบาลเขียนรายงานการตรวจบาดแผลผู้ป่วยไม่ตรงกับความจริง

  44. ปุจฉา หญิงตั้งครรภ์ต่อไปนี้กฎหมายยินยอมให้ทำแท้งโดยแพทย์และชอบ ด้วยกฎหมาย ยกเว้นข้อใด ก. ตั้งครรภ์จากการถูกข่มขืน ข. ตั้งครรภ์เนื่องจากคุมกำเนิดพลาด ค. หญิงตั้งครรภ์ที่มีอาการโรคหัวใจกำเริบ ง. หญิงปัญญาอ่อนตั้งครรภ์โดยไม่ทราบว่าใครเป็นพ่อเด็ก

  45. ปุจฉา การเปิดเผยข้อมูลของผู้ป่วยในข้อใดที่ไม่ผิดกฎหมาย ก. แจ้งผลการตรวจว่าติดเชื้อเอดส์แก่ญาติผู้ป่วย ข. นำผลการตรวจเลือดที่ผิดปกติไปปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ค. แจ้งระดับสารพิษที่ตรวจพบในผู้ป่วยให้สื่อมวลชนทราบ ง. รายงานกรณีศึกษาโดยระบุ ชื่อ นามสกุล และรหัสประจำตัวผู้ป่วย

  46. พยาบาลโดนฟ้องว่าฉีดยาผิด มีอะไรที่จะช่วยให้พ้นคดี หรือผ่อนหนักเป็นเบาได้ไหมหนอ

  47. หลักเกณฑ์ความรับผิดทางอาญาหลักเกณฑ์ความรับผิดทางอาญา • คดียังไม่ขาดอายุความ • อายุความ -> ระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดให้ต้องฟ้องร้องผู้กระทำผิด เพื่อพิจารณาพิพากษาลงโทษ • อายุความฟ้องคดีทั่วไป • อายุความ 20 ปี -> โทษประหารชีวิต จำคุกตลอดชีวิต หรือจำคุก 20 ปี • อายุความ 15 ปี -> โทษจำคุกกว่า 7 ปี แต่ไม่ถึง 20 ปี • อายุความ 10 ปี -> โทษจำคุกกว่า 1 ปี ถึง 7 ปี • อายุความ 5 ปี -> โทษจำคุกกว่า 1 เดือน ถึง 1 ปี • อายุความ 1 ปี -> โทษจำคุกตั้งแต่ 1 เดือนลงมา หรือระวางโทษอื่นๆ • อายุความฟ้องคดีความผิดอันยอมความได้ • 3 เดือนนับแต่วันที่รู้เรื่องและรู้ตัวผู้กระทำความผิด และภายในอายุความทั่วไป (ปอ. มาตรา 96) (ดาราพร คงจา, 2548; มานิตย์ จุมปา, 2553; ไสว นรสาร, 2556; หยุด แสงอุทัย, 2548; อรนิช แสงจันทร์, 2549)

  48. หลักเกณฑ์ความรับผิดทางอาญาหลักเกณฑ์ความรับผิดทางอาญา • ไม่มีกฎหมายยกเว้นความผิดหรือยกเว้นโทษ • ยกเว้นความผิด • การป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมาย (ปอ. มาตรา 68) • ผู้เสียหายยินยอมให้กระทำ • ยกเว้นโทษ • กระทำด้วยความจำเป็น (ปอ. มาตรา 67) • การกระทำผิดเพราะความบกพร่องทางจิต (ปอ.มาตรา 65) • การกระทำตามคำสั่งของเจ้าพนักงาน (ปอ. มาตรา 70) • การกระทำของเด็กอายุไม่เกิน 10 ปี (ปอ. มาตรา 73) • เหตุลดหย่อนโทษ • การกระทำผิดโดยไม่รู้ว่ากฎหมายบัญญัติว่าเป็นความผิด (ปอ.มาตรา 64) • การกระทำโดยบันดาลโทสะ (ปอ. มาตรา 72) (ดาราพร คงจา, 2548; มานิตย์ จุมปา, 2553; ไสว นรสาร, 2556; หยุด แสงอุทัย, 2548; อรนิช แสงจันทร์, 2549)

  49. โทษทางอาญา • ประหารชีวิต • จำคุก • กักขัง • ปรับ • ริบทรัพย์สิน (ดาราพร คงจา, 2548; มานิตย์ จุมปา, 2553; ไสว นรสาร, 2556; หยุด แสงอุทัย, 2548; อรนิช แสงจันทร์, 2549)

  50. โทษทางอาญา • ประหารชีวิต -> วิธีฉีดยาหรือสารพิษ • sodium thiopenthal (Na. penthothal) เพื่อให้หลับ • pancuronium bromide ทำให้หยุดหายใจ และ • potassium chloride ทำให้หัวใจหยุดเต้น • บุคคลที่อายุต่ำกว่า 18 ปี ให้เปลี่ยนโทษเป็นจำคุกห้าสิบปี (ปอ. มาตรา 18 วรรคท้าย) • หญิงมีครรภ์ต้องรอคลอดบุตร จึงจะประหารได้ (ปวิอ. มาตรา 247 วรรค 2) ปอ. มาตรา 19 บัญญัติว่า “ผู้ใดต้องโทษประหารชีวิตให้ดำเนินการด้วยวิธีฉีดยาหรือสารพิษให้ตาย” (ดาราพร คงจา, 2548; มานิตย์ จุมปา, 2553; ไสว นรสาร, 2556; หยุด แสงอุทัย, 2548; อรนิช แสงจันทร์, 2549)

More Related