1 / 17

การเข้าสู่ธุรกิจ e - Commerce

การเข้าสู่ธุรกิจ e - Commerce. อาจารย์โกศวัต รัตโนทยานนท์ สาขาวิชาการจัดการ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย. เนื้อหา. ขั้นตอนการเข้าสู่ธุรกิจ e - Commerce ขั้นตอนที่ต้องปฏิบัติเพื่อความสำเร็จในการทำ e - Commerce กลยุทธ์ที่จำเป็นสำหรับการเปิดร้านออนไลน์

Télécharger la présentation

การเข้าสู่ธุรกิจ e - Commerce

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. การเข้าสู่ธุรกิจ e-Commerce อาจารย์โกศวัต รัตโนทยานนท์สาขาวิชาการจัดการ คณะบริหารธุรกิจมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย

  2. เนื้อหา • ขั้นตอนการเข้าสู่ธุรกิจ e-Commerce • ขั้นตอนที่ต้องปฏิบัติเพื่อความสำเร็จในการทำ e-Commerce • กลยุทธ์ที่จำเป็นสำหรับการเปิดร้านออนไลน์ • สิ่งที่ควรมีสำหรับการเปิดร้านบนอินเทอร์เน็ต • การชำระเงิน • ธนาคารที่ให้บริการรับชำระเงินด้วยบัตรเครดิตผ่าน internet • การพิจารณาอนุมัติการให้มีการตัดบัตรเครดิต • กลยุทธ์ที่จะเพิ่มยอดขาย

  3. ขั้นตอนการเข้าสู่ธุรกิจ e-Commerce ขั้นตอนทั้ง 5 นี้ ทำให้รู้ว่าจะพัฒนา e-Commerce .. อย่างไร • ขั้นตอน 1 - สำรวจโอกาสทางการตลาดด้วยระบบค้นหาข้อมูล (Market Search) • ขั้นตอน 2 - วางแผนการตลาด และพัฒนาเว็บเพ็จ (Planning and Development) • ขั้นตอน 3 - นำเว็บเพ็จเข้าสู่ระบบอินเทอร์เน็ต และจัดตั้งเว็บไซต์ (Install) • ขั้นตอน 4 - โฆษณา และประชาสัมพันธ์เว็บไซต์ (Promotion) • ขั้นตอน 5 - ติดตามผล ปรับปรุง และบำรุงรักษา (Evaluation and Maintenance)

  4. ขั้นตอนที่ต้องปฏิบัติเพื่อความสำเร็จในการทำ e-Commerce ขั้นตอนทั้ง 9 นี้ มีความชัดเจนที่ส่งเสริมให้เกิดการปฏิบัติในทาง e-Commerce อย่างมาก • แต่งตั้ง คณะกรรมการควบคุมดูแล (Committee) ซึ่งควรจะมี ฝ่ายขาย การตลาด และผู้บริหารที่มีอำนาจตัดสินใจเป็นแกนหลัก • วิจัยตลาด (Market Research) โดยผ่านทางระบบค้นหา เพื่อหาช่องว่าง และโอกาสทางการตลาด • กำหนด กลุ่มเป้าหมาย (Market Target) ที่เราจะขายสินค้าให้ ซึ่งในที่นี้จะเน้นที่กลุ่มที่มีพฤติกรรมที่เหมือนกัน • วางแผนกลยุทธ์ (Strategic Planning) ด้านสินค้าว่า จะขายอะไร หรือปรับปรุงอย่างไร ตั้งราคาเท่าใด โดยปรับตามปัจจัย และพฤติกรรมที่ใช้ในการตัดสินใจซื้อของกลุ่มเป้าหมาย และวางกลยุทธ์การพัฒนาเว็บเพ็จ หลังจากนั้นมอบหมายให้คณะทำงาน e-Commerce ที่แต่งตั้งขึ้นมา เพื่อนำไปปฏิบัติการ

  5. ทำการ พัฒนาเว็บเพ็จ (Webpage Developing) ตามที่ได้วางกลยุทธ์ไว้ ซึ่งการจัดรูปแบบจะต้องสอดคล้องกับพฤติกรรมในการตัดสินใจซื้อ • ติดตั้ง ระบบอีคอมเมิร์ซ (e-Commerce System) เลือกระบบตะกร้า และวิธีการจ่ายเงินที่เหมาะสม • จดทะเบียนชื่อโดเมน (Domain Name Registration) (อาจจะทำการจดไว้ก่อนตั้งแต่ขึ้นตอนแรก หากกลัวชื่อที่ต้องการหมด และสามารถตกลงกันได้ว่าจะเอาชื่อใด) และนำเว็บเพ็จที่ออกแบบเสร็จแล้ว เข้าสู่ระบบอินเทอร์เน็ต หรืออัปโหลดขึ้น เว็บเซิร์ฟเวอร์ เสร็จแล้วก็ทำการลงทะเบียนในระบบค้นหา และประชาสัมพันธ์ด้วยวิธี หรือสื่ออื่น • ตรวจวัดผลระยะเวลา 1, 3 และ 6 เดือน (Evaluation) เพื่อปรับแต่งจนสอดคล้องกับพฤติกรรม และความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย • เฝ้าดูแล (Monitor) และปรับปรุงเนื้อหา ตามกำหนดระยะเวลา เช่น ทุกสัปดาห์ หรือทุกเดือน

  6. กลยุทธ์ที่จำเป็นสำหรับการเปิดร้านออนไลน์ • สินค้าต้องน่าสนใจ และมีจำนวนมากพอ เพื่อให้ผู้ใช้รู้สึกเห็นความหลายหลาย และเข้ามาที่ร้านอีก • รายละเอียดสินค้าครบถ้วน ตรงตามความจริง ไม่คุยสรรพคุณเกินจริงเป็นอันขาด • สินค้ามีอยู่จริง และต้องหาให้ลูกค้าได้ทันทีที่สั่งซื้อ • การออกแบบเว็บต้องดี น่าดู น่าสนใจ มีลูกเล่นที่ดี • การประชาสัมพันธ์ต้องเยี่ยม มีการส่งจดหมายข่าว หรือโฆษณาผ่าน banner exchange

  7. สิ่งที่ควรมีสำหรับการเปิดร้านบนอินเทอร์เน็ตสิ่งที่ควรมีสำหรับการเปิดร้านบนอินเทอร์เน็ต • หน้าร้าน และพื้นที่ของร้าน ยิ่งกว้างยิ่งดี (Shop Showing) • ต้องมีตะกร้า ซื้อและคำนวณเงินได้ ก่อนจ่ายจริง (Shopping Cart) • อีเมล์ตอบรับ เมื่อมีผู้สนใจสั่งสินค้า ควรสั่งให้ทั้งลูกค้า และตัวคุณ(E-Mail response) • รับชำระด้วยบัตรเครดิต หลังจากทุกอย่างลงตัว • สถิติ และรายงาน เห็นความก้าวหน้าของเว็บ (Statistic) • เทมเพลตการออกแบบ ช่วยให้ออกแบบหน้าร้านได้ง่ายขึ้น (Template) • การประชาสัมพันธ์ ต้องถึงกลุ่มลูกค้า (Advertising)

  8. รูปแบบการชำระเงิน • รับชำระเงินสด เมื่อส่งสินค้า • รับสินค้าที่ร้าน พร้อมชำระเงินสด • พัสดุเก็บเงินปลายทาง • การโอนเงิน หรือ เช็ค เข้าบัญชี ก่อนส่งสินค้า • ขอผู้ขายติดต่อไปยังผู้ซื้อ หลังสั่งซื้อ เพื่อตกลงกัน • การชำระเงินด้วยบัตรเครดิต • การโอนเงินอิเล็กทรอนิกส์ (EFT) เช่นการใช้ ATM โอนเงินไปบัญชีผู้ขาย

  9. ธนาคารที่ให้บริการรับชำระเงินด้วยบัตรเครดิตผ่านอินเทอร์เน็ตธนาคารที่ให้บริการรับชำระเงินด้วยบัตรเครดิตผ่านอินเทอร์เน็ต • บัตรเครดิต ไทยพาณิชย์ Tel.0-2777-7777 scbcreditcard.com • ธนาคารกรุงเทพ Tel.0-2638-4000 bangkokbank.com • ธนาคารกรุงไทย Tel.0-2255-2222 ktb.co.th

  10. กลยุทธ์ที่จะเพิ่มยอดขายกลยุทธ์ที่จะเพิ่มยอดขาย • กลยุทธ์ที่ 1: เริ่มต้นใช้ Affiliate Program • เปิดรับสมาชิก เพื่อให้สมาชิกสามารถนำบริการของเราไปใส่ในเว็บสมาชิก (Resell program) ถ้ามีลูกค้าเข้ามาจากเว็บสมาชิก ก็จะจ่ายค่า commission ให้แก่สมาชิก • กลยุทธ์ที่ 2: สร้าง Newsletter • รับสมาชิก เมื่อมีอะไรใหม่ ก็ส่งจดหมายข่าวไปให้สมาชิกทราบ เช่น promotion หรือสินค้าใหม่ เป็นต้น • กลยุทธ์ที่ 3: Pay-Per-Click Search Engine Listings • เสียเงินให้ search engine เมื่อมีคน click เข้าเว็บของเราผ่าน search engine ที่เราไปใช้บริการ • กลยุทธ์ที่ 4: ซื้อโฆษณาในราคาถูก • เช่น banner, spam mail หรือ auto submit เป็นต้น

  11. กลยุทธ์ที่ 5: สร้างทีมหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ • ขอแลก link กับเว็บที่มีลักษณะคล้ายกับเว็บของเรา • กลยุทธ์ที่ 6: พยายามเกาะติดรายชื่อท็อปเท็นของ Search Engine • Submit เข้า search engine แต่ละแห่งด้วยความระมัดระวัง โดยหวังผลการนำไปสู่การเป็นอันดับต้นๆ ของผลการสืบค้น • กลยุทธ์ที่ 7: เขียนบทความฟรี และ eBooks • ให้ความรู้กับผู้คน จะทำให้ผู้คนเข้าสู่เว็บของคุณ เพื่อเข้ามาหาข้อมูล และนำไปสู่ผลด้านอื่น ๆ ต่อไป

  12. ระบบรักษาความปลอดภัย ระบบความปลอดภัยนับเป็นเรื่องโดดเด่นที่สุด และมีเทคโนโลยีความปลอดภัยคือ public key หรือการใส่รหัสลับ (Encryption) ซึ่งมีองค์กรรับรองความถูกต้องเรียกว่า CA (Certification Authority) ระบบนี้ใช้หลักคณิตศาสตร์คำนวณรหัสคุมข้อความจากผู้ส่งและผู้รับอย่างเฉพาะเจาะจงได้ จึงสามารถพิสูจน์ตัวตนของผู้รับผู้ส่ง รักษาความปลอดภัยของข้อมูล ความถูกต้องไม่คลาดเคลื่อนของข้อมูล และผู้ส่ง ปฎิเสธความเป็นเจ้าของข้อมูลไม่ได้ เรียกว่าลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์

  13. ผู้รับจะส่ง Public key ไปให้ผู้ส่งซึ่งไปไว้ใน key directory โดยผู้ส่งจะส่งข้อมูลลับไปให้ผู้รับโดยใช้ Public key แปลงข้อมูล และเข้ารหัส ซึ่งผู้ลักลอบจะแอบเอาไปไม่ได้ พอข้อมูลมาถึงผู้รับ ผู้รับก็จะนำ Private key มาไขข้อมูลออกไป

  14. โปรโตคอล (Protocols) 1. Secure Socket Layer (SSL) 2. Secure Electronic Transactions (SET)

  15. Secure Socket Layer (SSL) • SSL เป็นโพรโตคอลจัดการความปลอดภัยในระบบอินเทอร์เน็ตที่ใช้ในการสื่อสารข้อมูลกันระหว่างไคลเอนต์กับเซิร์ฟเวอร์ ปกติแล้วข้อมูลที่ส่งไปหากันจะไม่มีการเข้ารหัสข้อมูลแต่อย่างใด ทำให้การดักจับข้อมูลเป็นไปได้โดยง่าย แต่ถ้าเป็นระบบที่ใช้ SSL ข้อมูลจากไคลเอนต์ที่จะส่งไปที่เซิร์ฟเวอร์จะถูกเข้ารหัสก่อนที่จะส่งไปที่เซิร์ฟเวอร์โดยอัตโนมัติในบราวเซอร์ ทำให้ข้อมูลที่รับส่งกันมีความปลอดภัยมากยิ่งขึ้น • แต่มีจุดบกพร่องของระบบที่ ข้อมูลที่ถูกเข้ารหัสแล้ว เมื่อส่งไปยังปลายทางจะถูกถอดรหัส เป็นเลขบัตรเครดิตให้เห็น ซึ่งอาจถูก hack ข้อมูลไปได้

  16. การเข้ารหัสของ SSL มีได้ 2 แบบ คือ การเข้ารหัสแบบ 40 bits กับการเข้ารหัสแบบ 128 bits ซึ่งการเข้ารหัสแบบหลังนี้มีใช้แค่ในประเทศสหรัฐอเมริกาเท่านั้น หลักการของการทำงานของ SSL คือ จะมีการเข้ารหัสข้อมูลที่ทางไคลเอนต์โดยเว็บบราวเซอร์จะเป็นตัวเข้ารหัสให้ เว็บบราวเซอร์จะเอา Public key จากเซิร์ฟเวอร์มาเข้ารหัสกับ Master key ที่บราวเซอร์สร้างขึ้นมา จากนั้นก็ใช้คีย์พวกนี้เข้ารหัสข้อมูลที่จะส่งไปให้เซิร์ฟเวอร์ ข้อมูลที่เข้ารหัสเรียบร้อยแล้วจะส่งไปที่เซิร์ฟเวอร์ ซึ่งเซิร์ฟเวอร์มีหน้าที่ในการถอดรหัสนั้นกลับมาเป็นข้อมูลปกติ เช่น การจ่ายเงินผ่านบัตรเครดิตของธนาคารกสิกร บัตร VISA และ Master Card ของทุกธนาคาร โดยผู้ซื้อไม่ต้องมีการแจ้งขอใช้บริการกับธนาคารล่วงหน้า โดยที่ผู้ให้บริการจะมีวงจรที่เชื่อมต่อกับธนาคารโดยตรง ก่อนที่ข้อมูลจะเข้าถึง Server ของธนาคารได้ก็ต้องผ่านระบบรักษาความปลอดภัยของธนาคาร ก่อนแล้วจึงมีการเข้ารหัสข้อมูลแบบ 40 bits

  17. Secure Electronic Transaction (SET) • เป็นระบบที่ปลอดภัยมาก เพราะผู้ซื้อ และผู้ขาย ต่างก็มีรหัสที่ต้องขอจากหน่วยงานกลาง เพื่อยืนยันการทำธุรกรรม (Certification Authority : CA) ร้านค้าจะได้รับเฉพาะข้อมูลการสั่งซื้อ ส่วนรหัสบัตร ร้านค้าจะไม่ทราบ แต่จะส่งไปให้ธนาคารโดยตรง

More Related