1 / 75

กระบวนการเรียนรู้ ในการจัดทำแผนแม่บทชุมชน

กระบวนการเรียนรู้ ในการจัดทำแผนแม่บทชุมชน. ธีรัศมิ์ พูลนวล สถาบันพัฒนาทรัพยากรชุมชน 0-2276-5635 0-22762172 08-1979-3703. กระบวนการจัดทำแผนแม่บทชุมชน.

bette
Télécharger la présentation

กระบวนการเรียนรู้ ในการจัดทำแผนแม่บทชุมชน

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. กระบวนการเรียนรู้ ในการจัดทำแผนแม่บทชุมชน ธีรัศมิ์ พูลนวลสถาบันพัฒนาทรัพยากรชุมชน0-2276-5635 0-2276217208-1979-3703

  2. กระบวนการจัดทำแผนแม่บทชุมชนกระบวนการจัดทำแผนแม่บทชุมชน 1.แนวคิด,ความเป็นมา2.ศักยภาพของชุมชน3.กระบวนการจัดทำแผนแม่บทชุมชน4.โครงสร้าง/องค์ประกอบการจัดทำแผนฯ5.ขั้นตอนการเตรียมการจัดทำแผนฯ6.การจัดเวทีเรียนรู้7.หัวใจของการจัดทำแผนฯ8.แบบเครื่องมือเก็บข้อมูล

  3. แนวคิดเรื่องแผนแม่บทชุมชนแนวคิดเรื่องแผนแม่บทชุมชน แผนแม่บทชุมชนคือผลผลิตของการเรียนรู้ของชุมชน การเรียนรู้ของชุมชนเป็นจุดเริ่มต้นของการพัฒนา กระบวนการของแผนแม่บทชุมชนจึงเป็นเครื่องมือประเภทหนึ่งที่จะทำให้คนในชุมชนได้มีโอกาสเรียนรู้ร่วมกัน แต่การเรียนรู้จากกระบวนการนี้เพียงทำให้เกิดแนวคิด ได้ทิศทางที่ถูกต้อง ได้ข้อมูลใกล้เคียงกับความเป็นจริงมากที่สุด แต่การจะให้เกิดผลเกิดการเปลี่ยนแปลงจะต้องมีการนำแผนไปปฏิบัติ (ประยงค์ รณรงค์)

  4. แผนแม่บทชุมชน หมายถึงแผนพัฒนาเศรษฐกิจสังคมของชุมชน ที่กำหนดแผนพัฒนาหรือทิศทางในการแก้ปัญหาในแต่ละเรื่องเอาไว้ โดยที่ไม่ได้ระบุงบประมาณเอาไว้ ดังนั้นแผนแม่บทชุมชนจึงไม่ได้หมายถึงแผนของหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่ง (วิชิต นันทสุวรรณ)

  5. แผนแม่บทชุมชน หมายถึงแผนพัฒนาเศรษฐกิจสังคมของชุมชน ที่เป็นผลผลิตของกระบวนการเรียนรู้ เป็นแผนแกนกลางของชุมชนที่มีการกำหนดกรอบและแนวทางในการพัฒนาเอาไว้ แผนแม่บทชุมชนเป็นเสมือนเส้นทางที่จะนำชุมชนไปสู่เป้าหมายตามที่ชุมชนต้องการ (วิชิต นันทสุวรรณ) แผนแม่บทชุมชน ต้องเป็นกระบวนการเรียนรู้เพื่อพัฒนาศักยภาพของชุมชน โดยชุมชน และเพื่อชุมชน ในกระบวนการเรียนรู้ต้องมีผู้กระตุ้น ผู้ประสาน ผู้จัดเวทีพูดคุย จัดระบบข้อมูล และการวิเคราะห์ข้อมูล (วิชิต นันทสุวรรณ)

  6. ๑. ผู้รู้ /ปราชญ์ ๒. ผู้นำ ๓. ผู้มีทักษะในชุมชน คน การจัดการ การเรียนรู้ ศักยภาพ ความรู้ ทรัพยากร • ภูมิปัญญา • ประสบการณ์ การพัฒนา ประสบการณ์ ดิน น้ำ พืช สัตว์ ทุนชุมชน ความหลากหลาย

  7. การศักยภาพของชุมชน 1.คนในชุมชน ได้เรียนรู้จากความรู้ที่มีและพัฒนาความรู้เป็นความรู้ใหม่ โดยมีกระบวนการ วิธีการ เครื่องมือ ข้อมูล 2.คนในชุมชน ได้มีการจัดการทรัพยากรของตนเองและชุมชน ให้มีทั้งมูลค่า-คุณค่า และมีความยั่งยืน 3.คนในชุมชน ได้ใช้ความรู้/ประสบการณ์มาพัฒนาทรัพยากรเพื่อสร้างเป็นสินค้าและผลิตภัณฑ์

  8. กระบวนการจัดทำแผนแม่บทชุมชนกระบวนการจัดทำแผนแม่บทชุมชน 1.การค้นหาคน/คณะทำงาน 2.ปรับกระบวนทัศน์/วิธีคิด,วิธีปฏิบัติ,วิธีให้คุณค่า 3.การเรียนรู้เพื่อให้รู้จักตนเอง 4.การเรียนรู้เพื่อให้รู้จักโลก และสังคมภายนอกชุมชน 5.การกำหนดทิศทางในการพัฒนาตนเอง

  9. กระบวนการพัฒนาบนฐานความรู้ (แผนแม่บทชุมชน) ข้อมูลสังคมโลกภายนอกที่แวดล้อมชุมชน การเรียนรู้ แผนแม่บทชุมชน กระบวนการ การพัฒนา ข้อมูล บนฐาน ความรู้ ฐานข้อมูล ระบบการจัดการ ระบบ แปลงแผนสู่วิสาหกิจชุมชน ความเป็นจริงของครอบครัว/ชุมชน สมุดบันทึกครัวเรือน,บันทึกรายจ่าย

  10. กระบวนการข้อมูล หมายถึงการจัดเก็บและรวบรวมข้อมูลดำเนินการโดยคนในชุมชน ไม่ใช่โดยคนของหน่วยงานภายนอก สมาชิกในชุมชนต้องทบทวนตัวเอง และบันทึกความจริงของชีวิตลงในแบบบันทึกหลังจากทบทวนแล้ว การเรียนรู้แรกสุด คือ การเรียนรู้ของครอบครัว การทบทวนและทำบันทึกจะช่วยให้ครอบครัวรู้ว่าศักยภาพและข้อจำกัดของครอบครัวเป็นอย่างไร การเรียนรู้ในลำดับต่อมา คือ รู้จากข้อมูลภาพรวมของชุมชน ผ่านเวทีสังเคราะห์และวิเคราะห์ในกระบวนการทางปัญญา ทางเลือกที่เกิดจากข้อมูลความรู้และเกิดจากการรู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงของสรรพสิ่งแวดล้อม เป็นทางเลือกของชีวิตที่เริ่มจากแต่ละคนแต่ละครอบครัว ร้อยโยงทุกชีวิตและครอบครัวอย่างเป็นระบบ เป็นทางเลือกของชุมชน รูปธรรมที่เข้าใจง่ายที่สุดเรียกว่า “แผนแม่บทชุมชน” เมื่อนำแผนแม่บทชุมชนและระบบการจัดการไปปฏิบัติจะเป็นกระบวนการพัฒนาชุมชนและสังคมที่เริ่มจากการแสวงหาความรู้ เป็นการพัฒนาที่เกิดจากฐานข้อมูลที่สะท้อนความเป็นจริงของคน และชุมชน ช่วยให้คนพ้นจากครอบงำโดยวัตถุ พ้นจาก การครอบงำของการพัฒนาโดยโครงสร้าง ทางเศรษฐกิจและสังคมที่ผิดพลาด และพ้นจาก การครอบงำโดย คนอื่น เป็นการพัฒนาที่ตั้งอยู่บนฐานชีวิตของคนและการอยู่ร่วมกันเป็นสังคม จึงเรียกการพัฒนาว่ากระบวนการทางปัญญา กระบวนการ การเรียนรู้ แผนแม่บทชุมชน การพัฒนาบนฐานความรู้ ข้อมูล ระบบ ฐานข้อมูล ระบบการจัดการชุมชน ฐานข้อมูลคือการนำ ความจริงของทุก ครอบครัวที่บันทึกไว้ มารวมกัน เป็นข้อมูลภาพรวมระดับหมู่บ้านและตำบล กลุ่มชาวบ้านที่เกิดจากการจัดระบบของคนในชุมชนตามแผนแม่บทมีผู้นำของกลุ่ม เมื่อผู้นำกลุ่มมารวมตัวกันจะเกิดคณะกรรมการแผนแม่บทชุมชน ที่มีบทบาทในการจัดการนำแผนฯไปสู่การปฏิบัติ วางระบบการทำงานของแผนฯและระบบการทำงานของกลุ่มต่างๆ ที่เกิดจากแผนฯ ชุมชนไม้เรียงเรียกคณะกรรมการชุดนี้ว่า “สภาผู้นำชุมชน” ระบบและวิธีการจัดการของครอบครัวและชุมชนในการจัดเก็บข้อมูล มีคณะทำงานในระดับชุมชน ในสัดส่วนคณะทำงาน 1 คน ต่อกลุ่มประชากร 10 ครอบครัว การคัดเลือกคณะทำงานที่ดี คือ การเลือกผู้นำกลุ่มจากการกลุ่มความสัมพันธ์ทางสังคม สภาพความเป็นจริงของสังคมชุมชน การทำข้อมูลของครอบครัวและชุมชน ช่วยให้สภาพความเป็นจริงทางเศรษฐกิจและสังคมของคนและชุมชนปรากฏชัดขึ้น

  11. กระบวนการเรียนรู้ 2 ด้านในการจัดทำแผนแม่บทของชุมชน 1. รู้พื้นฐาน รู้พัฒนาการของชุมชน 1. รู้ปัจจัยภายนอกที่เข้ามากระทบ 2. รู้ปัญหา รู้สาเหตุแห่งปัญหา 2. รู้โครงสร้างสังคมที่มีอิทธิพล ต่อชุมชน การเมือง เศรษฐกิจ 3. รู้ศักยภาพของชุมชน 3. รู้คุณค่า รับคุณค่าใหม่ 3.1 คน3.2 ความรู้/ภูมิปัญญา3.3 ทรัพยากร3.4 ผลผลิต3.5 กลุ่ม/องค์กรชุมชน 4. รู้ทางเลือกใหม่ 4.1 วิธีคิด 4.2 วิธีปฏิบัติ4.3 วิธีให้คุณค่า ทิศทางของชุมชน รู้จักตนเอง รู้จักโลก

  12. โครงสร้าง/องค์ประกอบการจัดทำแผนแม่บทชุมชนโครงสร้าง/องค์ประกอบการจัดทำแผนแม่บทชุมชน 1.คน (ภายใน,ภายนอกชุมชน) 2.เวทีการเรียนรู้ (การจัดทำแผนแม่บทชุมชน) 3.ข้อมูล (ความรู้,ภูมิปัญญา,ประสบการณ์)

  13. องค์ประกอบของกระบวนการจัดทำแผนแม่บทชุมชนองค์ประกอบของกระบวนการจัดทำแผนแม่บทชุมชน ผู้นำธรรมชาติ ผู้นำทางการ ผู้นำองค์กร ผู้รู้ ข้อมูลตัวเอง ข้อมูลโลก ผู้เชี่ยวชาญ ชุมชน 1. แผนแม่บทชุมชน การเรียนรู้ 2. แผนเศรษฐกิจ พอเพียง 3. ระบบการจัด การแผน ผู้ประสานงาน วิทยากร

  14. ขั้นตอนการเตรียมการจัดทำแผนแม่บทชุมชนขั้นตอนการเตรียมการจัดทำแผนแม่บทชุมชน ขั้นตอนที่ ๑ การคัดเลือกผู้นำชุมชนเพื่อเป็นคณะทำงาน(คน) เกณฑ์การคัดเลือก ๑.เป็นผู้นำที่มีบทบาทในกลุ่มกิจกรรมหรือองค์กรใดองค์กรหนึ่งในหมู่บ้าน/ตำบล ความเป็นผู้นำมีองค์กรชุมชนและกิจกรรมการพัฒนาเป็นเวทีแสดงออก

  15. ๒.เป็นผู้รู้ เป็นผู้นำทางความคิดรอบรู้เรื่องราว เหตุการณ์ความเคลื่อนไหวในสังคม มีข้อมูลมีความสัมพันธ์กับโลกกว้าง ๓.เป็นผู้มีทักษะความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน เช่นขยายพันธุ์ไม้ หมอยา หมอนวด ช่างไม้ ช่างตีเหล็ก จักสาน ทำบัญชี การประสานงาน การบริหารจัดการ เป็นต้น

  16. บทบาท/หน้าที่คณะทำงานบทบาท/หน้าที่คณะทำงาน ๑.เป็นเจ้าของเวทีการเรียนรู้การจัดทำแผนแม่บทชุมชน ๒.เข้าร่วมเวทีการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง ๓.จัดเก็บ รวบรวม สรุป วิเคราะห์ข้อมูล ยกร่างแผนฯ ๔. ประชาพิจารณ์แผนฯ การบริหารจัดการแผนฯ ๕. แปลงแผนไปสู่การปฏิบัติ ( วิสาหกิจชุมชน, เศรษฐกิจพอเพียง )

  17. ขั้นตอนที่ ๒ ข้อมูลเพื่อการจัดทำแผนแม่บทชุมชน ๑.ข้อมูลพื้นฐานของชุมชน หรือข้อมูลมือสอง ๒.ข้อมูลประวัติศาสตร์เชิงพัฒนาการของชุมชน -ด้านสังคม/วัฒนธรรม,ด้านเศรษฐกิจ,ด้านการเมือง ๓.ข้อมูลกลุ่ม/องค์กรชุมชน/ผู้นำและผู้รู้ของชุมชน ๔.ข้อมูลโครงสร้างพื้นฐาน/สาธารณูปการ

  18. ๕.สมุดบันทึกครัวเรือน มีข้อมูล ๕ ชุด ๕.๑ข้อมูลครัวเรือนประชากร วัย การเคลื่อนย้ายแรงงาน ๕.๒ข้อมูลอาชีพพืช สัตว์ ทักษะความชำนาญ หัตถกรรมฯ ๕.๓ข้อมูลทรัพยากรที่ดิน การถือครอง ความหลากหลาย ๕.๔ข้อมูลสุขภาพการเจ็บป่วย วิธีรักษา ต้นทุน ภูมิปัญญา ๕.๕ข้อมูลเศรษฐกิจรายรับรายจ่าย หนี้สิน ทรัพย์สิน การออม

  19. ๖.สมุดบันทึกรายจ่าย มี ๘ ประเภท ๓ กลุ่ม ๑. ค่าอาหาร ๒. ค่าอาหารสำเร็จรูป/เครื่องปรุง ๓.ค่าเครื่องดื่ม/ขนม ๔. ค่ายารักษาโรค ๕.ค่าของใช้ต่าง ๆ ๖. ค่าสินค้าบริการ ๗.ค่าใช้จ่ายในการศึกษา(รายวัน) ๘.ค่าใช้จ่ายทางสังคม กลุ่ม ๑ ค่าใช้จ่ายในการศึกษา ( ต่อเทอม/ต่อปี) กลุ่ม ๒ ค่าใช้จ่ายในการผลิต ( ต่อครั้ง/ต่อปี ) กลุ่ม ๓ ค่าผ่อนหนี้สิน ( ต่อเดือน/ต่องวด/ต่อปี)

  20. ขั้นตอนที่ 3เวทีเรียนรู้ในการจัดทำแผนแม่บทชุมชน เวทีเรียนรู้ครั้งที่ ๑ - ชี้แจงทำความเข้าใจ กระบวนการทำงาน/เครื่องมือ/ข้อมูล/รูปแบบวิธีการ/คณะทำงาน/ระยะเวลาฯ งานต่อเนื่อง - จัดเก็บข้อมูลประวัติศาสตร์ชุมชน/แผนที่ชุมชน - โครงสร้างพื้นฐาน/กลุ่มองค์กร - จัดเก็บข้อมูลครัวเรือน/แบบบันทึกรายจ่าย

  21. เวทีเรียนรู้ครั้งที่ ๒ - นำเสนอข้อมูลประวัติศาสตร์ชุมชน - นำเสนอข้อมูลกายภาพ/แผนที่ชุมชน - นำเสนอโครงสร้างพื้นฐาน/กลุ่มองค์กรของชุมชน - การวิเคราะห์พัฒนาการ/ความเปลี่ยนแปลงของชุมชน - งานต่อเนื่อง การจัดเก็บ/รวบรวม สรุปข้อมูลสุขภาพ เพื่อนำเสนอครั้งต่อไป

  22. เวทีเรียนรู้ครั้งที่ ๓ - นำเสนอชุดข้อมูลสุขภาพชุมชน ที่สรุปแล้ว -ข้อมูลผู้รู้ด้านสุขภาพชุมชน พืชสมุนไพรในชุมชน -วิเคราะห์ข้อมูลสุขภาพชุมชน แผนสุขภาพชุมชน - งานต่อเนื่องการจัดเก็บข้อมูลทรัพยากร/ผลผลิต รวบรวม สรุป เพื่อนำเสนอในเวทีครั้งต่อไป

  23. เวทีเรียนรู้ครั้งที่ ๔ - นำเสนอข้อมูลทรัพยากร/ผลผลิต ที่สรุปแล้ว - วิเคราะห์ข้อมูลทรัพยากร/ผลผลิต แนวทางในการพัฒนาเป็นวิสาหกิจชุมชน เช่น การแปรรูป การจัดการด้านตลาด การเพาะขยายพันธุ์ การอนุรักษ์ ฯลฯ - งานต่อเนื่อง จัดเก็บ รวบรวม สรุปข้อมูลด้านเศรษฐกิจ รายได้ รายจ่าย หนี้สิน เพื่อนำเสนอในเวทีครั้งต่อไป

  24. เวทีเรียนรู้ครั้งที่ ๕ - นำเสนอข้อมูลด้านเศรษฐกิจ ที่สรุปแล้ว -วิเคราะห์ข้อมูลด้านเศรษฐกิจ (รายได้ รายจ่าย หนี้สินออม) - งานต่อเนื่อง เตรียมการเพื่อดำเนินการจัดเวทีประชาพิจารณ์แผนฯ การสรุปข้อมูลทั้งหมด กรอบแผน กระบวนการนำเสนอ

  25. ครั้งที่ ๖ ( ประชาพิจารณ์แผนแม่บทชุมชน) - นำเสนอข้อมูลภาพรวมทั้งหมดของชุมชน -นำเสนอแผนแม่บทที่ได้ยกร่างจากเวทีเรียนรู้ -การซักถาม แลกเปลี่ยนเรียนรู้ การยอมรับ ปรับแก้แผน - การแปลงแผนไปสู่การปฏิบัติ (วิสาหกิจชุมชน, เศรษฐกิจพอเพียง )

  26. กระบวนการจัดทำแผนแม่บทชุมชน 3 ขั้น ข้อมูลเชิงโครงสร้าง สถานการณ์ทางเศรษฐกิจ&สังคม และทางเลือกใหม่ ๆ ทักษะและเทคนิคการประกอบการ การจัดการ และการพัฒนาผลิตภัณฑ์ พัฒนาผลิตภัณฑ์ -วิสาหกิจชุมชนขั้นก้าวหน้า ข้อมูลสุขภาพของชุมชน 3 ข้อมูลผลผลิต ทรัพยากร และภูมิปัญญาของชุมชน รากฐานใหม่ทางสังคม รู้จักโลก พอเพียง - วิสาหกิจชุมชนขั้นพื้นฐาน ข้อมูลภาพรวมของชุมชน 2 แบบแผนทางเศรษฐกิจสังคมของชุมชน(ระบบการจัดการของชุมชน) รายจ่ายรวมของชุมชน รู้จักชุมชนของตนเอง พึ่งตนเอง - วิสาหกิจชุมชนขั้นพื้นฐาน ข้อมูลครอบครัว 1 แผนครอบครัวแบบพึ่งตนเอง บัญชีรายจ่าย รู้จักตนเอง

  27. การวิเคราะห์ข้อมูล แผนแม่บทชุมชนคือผลผลิตของการเรียนรู้ คณะทำงานซึ่งรับผิดชอบ นำข้อมูลความรู้ซึ่งได้มาจากขั้นตอนที่ ๒ มาวิเคราะห์เข้าด้วยกันเพื่อหาทางออก การวิเคราะห์ข้อมูลบางเรื่องต้องเชื่อมโยงกับข้อมูลโลกภายนอก ดังนั้น กรอบในการจัดทำมีดังนี้

  28. ๑.การนำเสนอข้อมูลแต่ละครั้ง ต้องสัมพันธ์กับกิจกรรมเพื่อการแก้ปัญหา ข้อสรุปของปัญหาและสาเหตุจะเป็นเกณฑ์วัดว่า กิจกรรมนั้นวางอยู่บนพื้นฐานปัญหาของชุมชนจริงหรือไม่ และมีแนวโน้มว่าจะแก้ปัญหาได้จริงหรือไม่ ๒.การนำเสนอกิจกรรมเพื่อการพัฒนา ข้อสรุปของการวิเคราะห์ข้อมูลศักยภาพของชุมชน จะเป็นเกณฑ์ชี้วัดว่า กิจกรรมนั้นวางบนฐานศักยภาพด้านใด กิจกรรมที่ไม่ได้วางอยู่บนฐานศักยภาพด้านใดเลย มีแนวโน้มว่าสำเร็จได้ยาก

  29. ๓.รูปแบบ วิธีคิด วิธีการจัดการ ของชุมชนต้นแบบ เป็นกรอบในการตรวจสอบความคิดเบื้องหลังของกิจกรรมที่นำเสนอ เพราะข้อมูลชุมชนต้นแบบจะให้แรงดลใจในการคิด การวิเคราะห์ การสร้างสรรค์กิจกรรม เพื่อการแก้ปัญหาและการพัฒนาตนเอง เช่นชุมชนคลองเปี๊ยะ อินแปง น้ำขาว ๔.การจัดทำแผนแม่บทชุมชนที่ดี ไม่ใช่เริ่มต้นด้วยการสำรวจความต้องการ อยากได้ อยากมี อยากเป็น แผนแม่บทชุมชนที่ดี ต้องมีกระบวนการเรียนรู้ที่เชื่อมโยงข้อมูล เมื่อผ่านกระบวนวิเคราะห์แต่ละครั้งจะนำไปสู่ทางออกการแก้ปัญหา

  30. (11) พ.อ.ช. สหกรณ์ (1) นอกระบบ (10) กองทุน ฟื้นฟู เปลี่ยนทุนทางสังคมเป็นทุนเงินตรา ธ.ก.ส. (2) ชาวบ้านเกษตรกร (9) คปร. ในวงจรหนี้สิน ธ.ออมสิน (3) เปลี่ยนทรัพย์สินเป็นทุนเงินตรา ธ.พานิชย์ (4) (8) หมู่บ้านละล้าน (7) หมู่บ้านละแสน ออมทรัพย์ (5) กขคจ. (6) เล่นแชร์

  31. แผนเศรษฐกิจพอเพียง (จากการบันทึกรายจ่าย) 7 คน เดือน ปี แผนครอบครัว แผนชุมชนหมู่บ้าน ข้าวสาร 480 5,760 - โรงสีชุมชน เนื้อวัว 420 5,040 - กลุ่มเลี้ยงวัวโรงฆ่าสัตว์เขียง/ตลาดชุมชนโรงอาหารสัตว์ ไก่ 360 4,320 เลี้ยงไก่72 ตัว ไข่ 112 1,344 น้ำปลา 46 522 ทำเอง 80 โรงงานน้ำปลา แชมพู ฯลฯ 160 1,920 ทำเอง 600 กลุ่มแม่บ้าน ปุ๋ย - 16,000 ทำเอง 2,000 โรงงานปุ๋ยหมักชีวภาพอัดเม็ด

  32. กระบวนการวิเคราะห์เพื่อสร้างความรู้กระบวนการวิเคราะห์เพื่อสร้างความรู้ ชุดข้อมูล วิเคราะห์/เรียนรู้ แผนพัฒนา พันธุ์พืชท้องถิ่น คุณค่า/ประโยชน์ การเพาะปลูก/ แปรรูป รายจ่าย ส่งผลต่อเศรษฐกิจครอบครัวและชุมชน เปลี่ยนรายจ่ายเป็นอาชีพและรายได้ ผลผลิต โครงสร้างตลาด การแปรรูป อุตสาหกรรมชุมชน ระบบอาหาร/คลีนิคชุมชน การเจ็บป่วย สาเหตุและผล

  33. หัวใจของการจัดทำแผนแม่บทชุมชนหัวใจของการจัดทำแผนแม่บทชุมชน ๑.ความพร้อมของผู้นำหรือคณะทำงาน ๒.ระบบของทีมงานที่จะต้องมีรูปแบบและวิธีการทำงานอย่างต่อเนื่องในชุมชน ๓.การจัดเวทีเรียนรู้อย่างต่อเนื่องในชุมชน ๔.ความรู้ความเข้าใจต่อเครื่องมือ ความตั้งใจเก็บข้อมูล การตรวจสอบและการวิเคราะห์ข้อมูล

  34. ๕.กระบวนการจัดเก็บข้อมูลความร่วมมือในการให้ข้อมูลและข้อเท็จจริง เจ้าของข้อมูลควรบันทึกด้วยตนเอง เพื่อให้เขารู้จักตัวเอง ๖.ต้องมีการวิเคราะห์ข้อมูล-ปัญหาบนข้อเท็จจริงและต้องสลายความเกรงใจซึ่งกันและกันของผู้นำชุมชน ๗.ต้องไม่ลืมว่าผลผลิตของการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นคือแผนแม่บทชุมชนหรือแผนพัฒนาเศรษฐกิจสังคมของชุมชน

  35. แผนชุมชนพึ่งตนเองคืออะไรแผนชุมชนพึ่งตนเองคืออะไร ๑.คือการจัดทำข้อมูลการเรียนรู้ วิเคราะห์ ทิศทางพัฒนาชุมชน ๒.คือแผนที่คนในชุมชนร่วมคิดร่วมทำเพื่อวางเป้าหมายในการ พัฒนาชุมชนของตนเอง โดยมีข้อมูลเป็นฐานการพัฒนา ๓.คือแผนพัฒนาที่เกี่ยวกับวิถีชีวิตของคนในชุมชนโดยตรง ๔.คือแผนงานหรือกิจกรรมทางเลือกที่เกี่ยวกับการพัฒนาและ การแก้ไขปัญหาของคนในชุมชน ๕.คือแผนงานที่คนในชุมชนจัดทำเพื่ออนาคตของคนในชุมชน

  36. ทำไมต้องจัดทำแผนชุมชนพึ่งตนเองทำไมต้องจัดทำแผนชุมชนพึ่งตนเอง ๑.เพราะเราอยู่ในชุมชน เราเป็นเจ้าของชุมชน เราต้องกำหนด อนาคตและทิศทางในการพัฒนาและแก้ไขปัญหาของเราเอง ๒.เพราะชุมชนต้องมีกระบวนการจัดการของชุมชนมีการเรียน รู้เพื่อพัฒนาเพิ่มคุณค่าและมูลค่าทุนทางสังคมและทุนทางด้าน เศรษฐกิจเพื่อเป็นแนวทางการพัฒนาการแก้ไขปัญหาของชุมชน ๓.เพราะชุมชนจะได้มีเป้าหมาย ทิศทางการพัฒนาที่ชัดเจน เพื่อให้คนในชุมชนอยู่ดีมีความสุขในทุกๆ ด้าน

  37. ทำแผนชุมชนพึ่งตนเองแล้วได้อะไรทำแผนชุมชนพึ่งตนเองแล้วได้อะไร ๑.คนในชุมชนได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน ความสัมพันธ์คืนมา ๒.คนในชุมชนได้พบเห็นจุดเด่น จุดด้อย และโอกาสในการ พัฒนาชุมชนได้อย่างมีเป้าหมาย ๓.คนในชุมชนมีช่องทางการแก้ปัญหาได้อย่างเหมาะสมครอบคลุม ๔.คนในชุมชนสามารถกำหนดกิจกรรมที่ตอบสนองความ ต้องการของชุมชนได้ ๕.คนในชุมชนมั่นใจสามารถคิดเป็น กล้าตัดสินใจด้วยตนเอง

  38. ๖.ชุมชนสามารถวางแผนจัดการทรัพยากร/ผลผลิต ทุนชุมชน ทั้งทุนสังคมทุนบุคคลที่มีอยู่อย่างเหมาะสมสอดคล้องกับชุมชน ๗.คนในชุมชนรับผลประโยชน์ร่วมกันอย่างทั่วถึงและเท่าเทียม ๘.เกิดความร่วมมือของคนในชุมชน มีทัศนคติที่ดีและเอื้ออาทร ๙. มีการปลูกฝังทัศนคติ ค่านิยมทีดีให้กับเยาวชนและลูกหลาน ๑๐.สามารถมีฐานข้อมูลและหาแนวร่วมในการทำงานเพื่อพัฒนา ชุมชนของตนเองได้ทันทีและง่ายดาย

  39. จบการคำบรรยายเพียงแค่นี้ ขอขอบพระคุณทุกท่าน

  40. กระบวนทรรศน์การพัฒนา แบบใหม่ กระบวนทรรศน์ แบบเก่า น้ำ –คือทรัพยากร สินค้า วิธีคิด น้ำ - พระแม่คงคา น้ำ- ในเชิงพานิช ธุรกิจ ขายน้ำเพื่ออุตสาหกรรม การเกษตร เพื่อการบริโภค น้ำมีสารเคมี น้ำเสีย เป็นพิษ วิธีปฏิบัติ น้ำ – ไม่เยี่ยวรด ไม่ขี้รด นอบน้อม บูชา ลอยกระทง เลี้ยงผีเหมืองฝาย วิธีให้คุณค่า น้ำ-คือชีวิตสรรพสิ่งขาดน้ำไม่ได้ น้ำ-ใช้อย่างฟุ่มเฟือย เน้นมูลค่ามากกว่าคุณค่าปริมาณมากกว่าคุณภาพ

  41. กระบวนทรรศน์การพัฒนา กระบวนทรรศน์ แบบเก่า แบบใหม่ วิธีคิด การศึกษา - การไปโรงเรียน(โรงเรียนเป็นศูนย์กลาง) เรียนรู้,กระบวนการเรียนรู้ - ห้องเรียน –ครู,การสอน,สื่อ -การวัดผล -เรียนทุกที่ที่มีความรู้ - ลดการสอน เน้นการเรียนรู้ วิธีปฏิบัติ วิธีให้คุณค่า ความสำเร็จของชีวิต รับราชการ คน คุณค่าความเป็นคน

  42. โครงสร้างเศรษฐกิจสังคมไทยโครงสร้างเศรษฐกิจสังคมไทย อุตสาหกรรมและบริการ(เมือง)เป็นหัวรถจักร ชุมชน SMEs ระบบเศรษฐกิจโครงสร้างหลัก หนี้สิน - พักหนี้ 1 ล้านบาท 90% เปลี่ยนมือไปสู่อุตสาห- กรรมและบริการ 10% หมุนเวียนในท้องถิ่น

  43. เศรษฐกิจ 2 ระบบ อุตสาหกรรมและบริการ(เมือง)เป็นหัวรถจักร ชุมชน SMEs ระบบเศรษฐกิจโครงสร้างหลัก ระบบเศรษฐกิจชุมชน(พอเพียง)

  44. ระบบเศรษฐกิจโครงสร้างหลักระบบเศรษฐกิจโครงสร้างหลัก ระบบเศรษฐกิจชุมชน(พอเพียง)

  45. กระบวนการจัดทำแผนแม่บทชุมชนกระบวนการจัดทำแผนแม่บทชุมชน 1.ความเป็นมา,แนวคิด,ความหมาย2.หัวใจของกระบวนการจัดทำแผนแม่บทชุมชน3.องค์ประกอบของการจัดทำแผนแม่บทชุมชน4.โครงสร้างของการจัดกระบวนการเรียนรู้5.เวทีเรียนรู้การจัดทำแผนแม่บทชุมชน

  46. ความจำเป็นและความสำคัญการจัดทำแผนแม่บทชุมชนความจำเป็นและความสำคัญการจัดทำแผนแม่บทชุมชน ๑.แผนของชุมชน ชุมชนต้องเป็นหลัก โดยการทำแผนต้องมาจากเก็บข้อมูล นำมาสังเคราะห์ วิเคราะห์ ด้วยการร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมตรวจสอบโดยชุมชน ๒. ทำโดยชุมชน โดยการมีส่วนร่วมของผู้นำที่เป็นทางการ ไม่ทางการ ผู้รู้ในชุมชน ตั้งแต่ร่วมคิด การสำรวจข้อมูล ปัญหาร่วมทำ วางแผน ตรวจสอบ ประเมินผล ๓.เพื่อชุมชน โดยแผนมุ่งเน้นผลสัมฤทธิ์ที่เป็นประโยชน์ต่อชุมชน ความมั่นคง คุณภาพชีวิต และแก้ปัญหาของชุมชน

  47. กระบวนการจัดทำแผนแม่บทชุมชนกระบวนการจัดทำแผนแม่บทชุมชน ๑.เวทีการเรียนรู้ ๒.ข้อมูลและกระบวนการจัดเก็บข้อมูล ๓.การประมวลผล สรุป วิเคราะห์ข้อมูล ๔.การยกร่างกรอบแผนแม่บทชุมชน ๕.การประชาพิจารณ์แผนแม่บทชุมชน ๖.การแปลงแผนไปสู่การปฏิบัติ

  48. ๕.กิจกรรมหลายๆ กิจกรรมที่เกิดจากกระบวนการเรียนรู้นำไปสู่การจัดหมวดหมู่ของกิจกรรมขึ้นเป็นโครงการ โครงการหนึ่ง ๆ อาจมีหลายกิจกรรม ๖.โครงการหลาย ๆ โครงการ นำไปสู่การจัดหมวดหมู่โครงการเป็นแผนพัฒนาด้านต่าง ๆ ของชุมชน ขั้นตอนที่ ๔ ประชาพิจารณ์แผนฯ เป็นการนำเสนอข้อมูล แผนงาน โครงการ ที่คณะทำงานยกร่างมา กระตุ้นให้เกิดการแลกเปลี่ยนรับรู้ข้อมูลข่าวสาร และปรับแผนงานโครงการ

  49. พืช 7 กลุ่ม 5 ประโยชน์ 1.ไม้ชั้นบน 2.ไม้ชั้นกลาง 3.ไม้ชั้นล่าง 4.พืชหน้าดิน 5.พืชหัว 6.พืชน้ำ 7.พืชเกาะเกี่ยวไม้อื่น

More Related