1 / 19

ฝน ดาว ตก ( Meteor shower )

ฝน ดาว ตก ( Meteor shower ). SRU Department of Physics. ฝนดาวตก ( Meteor shower ).

Télécharger la présentation

ฝน ดาว ตก ( Meteor shower )

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. ฝน ดาว ตก (Meteor shower) SRU Department of Physics

  2. ฝนดาวตก (Meteor shower) • เป็นปรากฎการณ์ที่คนบนโลกมองเห็นแนวเส้นสว่างมากมายพาดผ่านท้องฟ้ายามค่ำคืนเป็นระยะ ๆ เกิดขึ้นจากการที่โลกโคจรฝ่าเข้าไปในกลุ่มฝุ่นอุกกาบาต (meteoroid) น้อยใหญ่ ซึ่งโดยมากจะมีต้นกำเนิดมาจากดาวหางที่เคยโคจรผ่านเข้ามาในระบบสุริยะชั้นใน และทิ้งกลุ่มฝุ่นอุกกาบาตเหล่านี้ตามแนวทางโคจร ฝนดาวตกที่ผู้อ่านอาจเคยได้ยินชื่อบ่อย ๆ คือ ฝนดาวตกเปอร์ซีดส์ (Perseids) หรือรู้จักกันในนามของฝนดาวตกวันแม่

  3. ฝนดาวตก (Meteor shower) • เนื่องจากจะมีมากเป็นพิเศษในช่วงวันที่ 11-12 สิงหาคมของทุกปี และดาวหางที่เป็นต้นกำเนิดของดาวตกกลุ่มนี้ก็เพิ่งโคจรผ่านเข้ามาใกล้ดวงอาทิตย์เมื่อปลายปี พ.ศ. 2535 ที่ผ่านมา นักดาราศาสตร์ทราบมานานแล้วว่า ฝนดาวตกแต่ละกลุ่มจะมีมากผิดปกติหากดาวหางต้นกำเนิดโคจรเข้ามาใกล้ดวงอาทิตย์ ในช่วงก่อนสิ้นศตวรรษที่ 20 นี้

  4. ฝนดาวตก (Meteor shower • ฝนดาวตกที่นับว่ามีชื่อเสียงมากที่สุดและอาจเป็นฝนดาวตกกลุ่มสำคัญกลุ่มแรกที่มีการบันทึกไว้ จะกลับมาสร้างชื่อเสียงให้กับตัวมันเองอีกครั้ง ฝนดาวตกลีโอนิดส์ (Leonids) เป็นฝนดาวตกที่ถูกยกย่องให้เป็นราชาแห่งฝนดาวตก เนื่องจากมันได้เคยสร้างความตื่นตะลึงให้กับชาวโลกเมื่อกว่าศตวรรษมาแล้ว

  5. ลีโอนิดส์กับดาวหางเทมเปล-ทัตเทิลลีโอนิดส์กับดาวหางเทมเปล-ทัตเทิล • ดาวหาง เทมเปล-ทัตเทิล (Tempel-Tuttle) เป็นดาวหางธรรมดา ๆ ดวงหนึ่ง ที่ไม่มีความสว่างมากมายและมีชื่อเสียงเทียบเท่ากับฮัลเลย์ แต่ที่มันได้รับความสนใจก็เพราะมันเป็นผู้ให้กำเนิดฝนดาวตกลีโอนิดส์ เทมเปล-ทัตเทิลมีคาบการโคจรรอบดวงอาทิตย์ 33.2 ปี

  6. ลีโอนิดส์กับดาวหางเทมเปล-ทัตเทิลลีโอนิดส์กับดาวหางเทมเปล-ทัตเทิล • อันเป็นสาเหตุสำคัญที่ในทุก ๆ รอบ 33-34 ปีฝนดาวตกกลุ่มนี้มีมากเป็นพิเศษ ดาวหางเทมเปล-ทัตเทิลเข้าใกล้ดวงอาทิตย์มากที่สุดครั้งล่าสุดเมื่อวันที่ 30 เมษายน ค.ศ. 1965 โดยเข้าใกล้ดวงอาทิตย์มากที่สุดที่ระยะ 0.982 หน่วยดาราศาสตร์ ( ใกล้เคียงกับระยะที่โลกอยู่ห่างจากดวงอาทิตย์มาก)

  7. ลีโอนิดส์กับดาวหางเทมเปล-ทัตเทิลลีโอนิดส์กับดาวหางเทมเปล-ทัตเทิล • ระนาบการโคจรเอียงทำมุม 163 องศากับระนาบที่โลกโคจรรอบดวงอาทิตย์ นั่นหมายความว่า หากมองดูวงโคจรจากด้านเหนือของระนาบดังกล่าว จะเห็นดาวหางโคจรสวนทางกับการโคจรของโลก

  8. ลีโอนิดส์กับดาวหางเทมเปล-ทัตเทิลลีโอนิดส์กับดาวหางเทมเปล-ทัตเทิล • เนื่องจากระนาบการโคจรและระยะที่ใกล้เคียงกันมากเช่นนี้ ทำให้โลกมีโอกาสที่จะเดินทางฝ่าเข้าไปในกลุ่มฝุ่นอุกกาบาตของดาวหางดวงนี้ได้โดยตรง และเป็นระยะเวลานานเป็นพิเศษ

  9. ลีโอนิดส์กับดาวหางเทมเปล-ทัตเทิลลีโอนิดส์กับดาวหางเทมเปล-ทัตเทิล • ด้วยการเคลื่อนที่ของอนุภาคในกลุ่มฝุ่นจากดาวหางที่มีทิศสวนทางกับโลกเช่นนี้ ทำให้ฝนดาวตกกลุ่มนี้พุ่งเข้าสู่โลกด้วยอัตราเร็ว 71 กิโลเมตรต่อวินาที นับว่าเป็นกลุ่มฝนดาวตกที่มีอัตราเร็วสัมพัทธ์กับโลกสูงที่สุดในบรรดาฝนดาวตกทั้งหมด

  10. ลีโอนิดส์ในประวัติศาสตร์ลีโอนิดส์ในประวัติศาสตร์ • ในยุคกลาง มีความเชื่อว่าปรากฏการณ์ฝนดาวตกที่รู้จักกันในปัจจุบันนี้ เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นในบรรยากาศโลก ( atmospheric feature) แทนที่จะเป็นปรากฏการณ์บนท้องฟ้า ( celestial phenomena)

  11. ลีโอนิดส์ในประวัติศาสตร์ลีโอนิดส์ในประวัติศาสตร์ • ซึ่งอาจเป็นเหตุผลที่ศาสตร์ในการพยากรณ์อากาศถูกเรียกว่าวิชา Meteorlogy พื้นฐานความเชื่อนี้มีมาแต่สมัยของอริสโตเติล ซึ่งเชื่อว่าบรรยากาศมีการเปลี่ยนแปลงได้ แต่ "สวรรค์" ปราศจากการเปลี่ยนแปลง

  12. ลีโอนิดส์ในประวัติศาสตร์ลีโอนิดส์ในประวัติศาสตร์ • หลังยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาการ ความสนใจในปรากฏการณ์ชนิดนี้มีเพิ่มขึ้น หลังจากรุ่งอรุณของวันที่ 13 พฤศจิกายน ค.ศ. 1833 เป็นเวลาเพียงไม่กี่ชั่วโมงก่อนที่ดวงอาทิตย์จะขึ้นในวันนั้น ฝนดาวตกกว่าหมื่นดวงพาดผ่านท้องฟ้าทางตะวันออกของอเมริกาเหนือ

  13. ลีโอนิดส์ในอนาคต • ไบรอัน จี. มาร์สเดน และ กาเรท วิลเลียมส์ แห่ง Minor Planet Center และ โดนัลด์ เค ยีโอแมนส์ แห่ง JPL ได้คำนวณการเคลื่อนที่ของดาวหางภายใต้ แรงรบกวนต่างๆ ในอนาคตพบว่าดาวหางเทมเปล-ทัตเทิลจะเข้าใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุด อีกครั้งในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2574

  14. ลีโอนิดส์ในอนาคต • แต่ก่อนที่จะถึงวันนั้นมันจะผ่านดาวพฤหัสบดี ด้วยระยะห่าง 1.5 หน่วยดาราศาสตร์ ในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2572 การเข้าใกล้กันครั้งนี้ทำให้วงโคจรของโลกและดาวหางห่างกันมากขึ้นเป็น 0.0162 หน่วยดาราศาสตร์ ซึ่งมากที่สุดนับตั้งแต่ปี ค.ศ. 1733 และเหตุการณ์ลักษณะนี้ยังได้เกิดขึ้นก่อนการกลับมาของดาวหางในปี 1899

  15. ลีโอนิดส์ในอนาคต • กล่าวคือดาวหางผ่านใกล้ดาวเสาร์และดาวพฤหัสบดีในปี 1870 และ 1898 ตามลำดับ เป็นผลให้ระยะห่างของวงโคจรห่างกัน 0.0117 หน่วยดาราศาสตร์ ซึ่งทำให้ไม่เกิดพายุฝนดาวตกในปี 1899 ขณะเดียวกัน ปี พ.ศ. 2608 ระยะห่างของวงโคจรกลับลดลงมาอยู่ที่ 0.0146 หน่วยดาราศาสตร์

  16. ลีโอนิดส์ในอนาคต • ซึ่งอาจทำให้ฝนดาวตกกลุ่มนี้กลับมาปรากฏอีกครั้งหนึ่งได้ กระทั่งปี พ.ศ. 2641 ระยะห่างลดลงมาที่ 0.0062 หน่วยดาราศาสตร์ และปี 2574 ที่ระยะ 0.0089 หน่วยดาราศาสตร์ ซึ่งเป็นครั้งแรกนับจากปี ค.ศ. 1633 ที่วงโคจรของดาวหางอยู่ " ภายนอก" วงโคจรของโลก

  17. ดูได้ที่ไหนเมื่อไหร่ ? • ข้อจำกัดที่เราไม่สามารถทำนายการเกิดได้อย่างแม่นยำคือเราไม่อาจรู้ถึงการเคลื่อนที่ของอนุภาคทุกชิ้นได้ การคำนวณกระทำได้เพียงคาดหมายและรอให้โชคมาถึง

  18. ดูได้ที่ไหนเมื่อไหร่ ? • ฝนดาวตกลีโอนิดส์เกิดขึ้นทุก ๆ ช่วงวันที่ 14-21 พฤศจิกายนของทุกปี โดยมีมากที่สุดราววันที่ 17-18 ในเวลาหลังเที่ยงคืนนับจากกลุ่มดาวสิงโตขึ้นจากขอบฟ้าจนกระทั่งถึงรุ่งเช้า ซึ่งมันจะมาอยู่ถึงกลางฟ้าพอดี

  19. ดูได้ที่ไหนเมื่อไหร่ ? • นับเป็นช่วงเวลาดีที่สุดที่จะสัมผัสกับปรากฏการณ์นี้ ายใต้ท้องฟ้าที่เปิดโล่งและมืดสนิท แม้ดาวตกจะมีทิศพุ่งมาจากกลุ่มดาวสิงโตจากจุดที่เรียกว่าเรเดียนต์ (radiant) ของฝนดาวตกแต่จะสามารถมองเห็นแนวทางของดาวตกได้ทุกทิศทุกทาง

More Related