1 / 46

การควบคุมคุณภาพ ( Quality Control )

การควบคุมคุณภาพ ( Quality Control ). การควบคุมคุณภาพ ( Quality Control ). คุณภาพ คือ ความพึงพอใจของลูกค้า การจะผลิตสินค้าหรือบริการให้ลูกค้าพึงพอใจนั้นไม่ใช่เรื่องที่ยาก ถ้าหากมีความเข้าใจ มีการจัดการ และมีการวางแผนอย่างเป็นระบบ

cana
Télécharger la présentation

การควบคุมคุณภาพ ( Quality Control )

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. การควบคุมคุณภาพ (Quality Control)

  2. การควบคุมคุณภาพ (Quality Control) คุณภาพ คือ ความพึงพอใจของลูกค้า การจะผลิตสินค้าหรือบริการให้ลูกค้าพึงพอใจนั้นไม่ใช่เรื่องที่ยาก ถ้าหากมีความเข้าใจ มีการจัดการ และมีการวางแผนอย่างเป็นระบบ ดังนั้นการควบคุมคุณภาพ หมายถึง ขบวนการที่จัดทำขึ้นอย่างเป็นระบบเพื่อให้ได้คุณภาพของผลิตภัณฑ์ตามที่กำหนดมาตรฐานไว้ ซึ่งสอดคล้องกับความต้องการของลูกค้า

  3. การควบคุมคุณภาพทั่วทั้งองค์กรการควบคุมคุณภาพทั่วทั้งองค์กร (Total Quality Control: TQC) 1. คุณภาพ (Quality = Q) หมายถึง คุณภาพของสินค้าและบริการ และคุณภาพของงานระหว่างทำ 2. ต้นทุน (Cost = C) หมายถึงค่าใช้จ่ายในการผลิต การให้บริการ และการทำงาน ซึ่งจะมีผลต่อราคาสินค้า และบริการนั้น 3. การส่งมอบ (Delivery = D) หมายถึงการส่งมอบสินค้า และบริการในจำนวนที่ถูกต้อง ไปในสถานที่ที่ถูกต้อง และตรงตามเวลาที่นัดหมาย

  4. การควบคุมคุณภาพทั่วทั้งองค์กรการควบคุมคุณภาพทั่วทั้งองค์กร (Total Quality Control: TQC) 4. ความปลอดภัย (Safety=S) ความปลอดภัยของผู้ใช้บริการ/ลูกค้า รวมถึงความปลอดภัยของพนักงาน ซึ่งมีผลต่อคุณภาพของสินค้าและบริการ 5. ขวัญของพนักงาน (Morale = M) หมายถึงการสร้างขวัญและกำลังใจให้แก่พนักงานอย่างต่อเนื่อง โดยมีความเชื่อว่าขวัญและกำลังใจของพนักงานมีผลกระทบโดยตรงต่อพฤติกรรมการทำงานของพนักงาน และการปรับปรุงงานเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า

  5. องค์ประกอบหลักของ TQC • 1. ต้องมีวัตถุประสงค์ โดยที่วัตถุประสงค์ของ TQC จะสร้างความมั่นใจในคุณภาพของสินค้าและบริการ นอกจากนี้ยังสามารถเพิ่มวัตถุประสงค์ด้านการลดต้นทุน การเพิ่มยอดขาย เป็นต้น • 2. ต้องมีวิธีการ การทำงานอย่าง TQC ต้องมีวิธีการ ดังนี้ • ทำอย่างมีหลักการทางวิทยาศาสตร์ (Scientific) • ทำอย่างมีระบบ (Systematic) • ทำอย่างทั่วถึง (Total Company-Wide) ทั้งองค์กร

  6. แนวคิดสมัยใหม่ • แนวคิดสมัยใหม่เกี่ยวกับลูกค้า ในองค์กรสมัยใหม่ส่วนใหญ่ที่คำนึงถึงคุณภาพจะแบ่งประเภทของลูกค้าออกเป็น 2 ประเภท คือ • ลูกค้าภายนอก หมายถึง ลูกค้าทั่วไปที่ซื้อผลิตภัณฑ์ หรือบริการจากองค์กร ซึ่งเป็นลูกค้าที่องค์กรต่างๆ คุ้นเคยอยู่แล้ว • ลูกค้าภายใน หมายถึง หน่วยงาน หรือ เพื่อนร่วมงาน ที่ต้องรับงานต่อจากเรา

  7. บทบาทของผู้บริหารระดับสูงในการส่งเสริมคุณภาพบทบาทของผู้บริหารระดับสูงในการส่งเสริมคุณภาพ กำหนดให้ใช้ปรัชญา “กระบวนการต่อไป คือ ลูกค้า” เปลี่ยนวิธีการทำงานจากวิธีการแก้ไขเป็นการป้องกัน จัดสรรหน้าที่ในการสร้างคุณภาพแก่ฝ่ายต่างๆ อย่างเหมาะสม กำหนดนโยบายสำหรับการพัฒนาผลิตภัณฑ์ การจัดการบุคคลเพื่อส่งเสริมคุณภาพ จัดสรรงบประมาณสำหรับการศึกษา อบรม และฝึกฝนเกี่ยวกับคุณภาพ การตรวจสอบวิเคราะห์คุณภาพโดยผู้บริหารระดับสูง

  8. กิจกรรมส่งเสริมคุณภาพกิจกรรมส่งเสริมคุณภาพ การควบคุมคุณภาพให้ได้ผล พนักงานทุกคนขององค์กรควรมีจิตสำนึกด้านคุณภาพ ดังนั้นเพื่อปลูกฝังทัศนคติรวมถึงช่วยในการพัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์ สภาพแวดล้อมการทำงาน กิจกรรมส่งเสริมคุณภาพจึงมีความสำคัญมาก ลักษณะของกิจกรรมส่งเสริมคุณภาพที่เป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลาย 3 เรื่อง คือ กิจกรรม 5 ส กิจกรรมกลุ่มคุณภาพ และกิจกรรมการลดของเสียเป็นศูนย์

  9. กิจกรรม 5 ส • เป็นกิจกรรมพื้นฐานของการปรับปรุงพัฒนาด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นด้านคุณภาพ ด้านความปลอดภัย หรือแม้แต่ในเรื่องการลดต้นทุน การเพิ่มผลผลิต กิจกรรมนี้ประกอบไปด้วยหลักการ 5 ประการ คือ • สะสาง หมายถึง การแยกของที่ไม่ต้องการ หรือไม่จำเป็นออกจากสิ่งที่ต้องการ หรือต้องใช้ • สะดวก หมายถึง การจัดวางของที่ใช้งานให้เป็นระเบียบหมวดหมู่ ง่ายต่อการใช้งาน

  10. กิจกรรม 5 ส • สะอาด หมายถึง การทำบริเวณทำงานและบริเวณโดยรอบให้สะอาด • สุขลักษณะ หมายถึง การรักษามาตรฐานการปฏิบัติ 3 ส แรกให้ดี และค้นหาสาเหตุต่างๆ เพื่อยกระดับมาตรฐานให้สูงขึ้น • สร้างนิสัย หมายถึงการปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ของหน่วยงานอย่างสม่ำเสมอ จนกลายเป็นการกระทำที่ เกิดขึ้นเองโดยธรรมชาติ

  11. กิจกรรมกลุ่มคุณภาพ(QC Circle หรือ QCC) คือ กลุ่มคนงานที่ปฏิบัติงาน ณ หน่วยงานเดียวกัน รวมกลุ่มกันโดยความสมัครใจ เพื่อทำกิจกรรมเกี่ยวกับการปรับปรุงงานด้วยตนเองอย่างอิสระ กิจกรรมนี้ต้องได้รับการสนับสนุนจากผู้บริหารระดับสูงจึงจะสำเร็จผลได้ เช่น สนับสนุนให้พนักงานได้รับการอบรมการแก้ปัญหาโดยการใช้ QC Tools การให้รางวัลแก่กลุ่มคุณภาพที่สามารถลดต้นทุน หรือของเสียลงได้ เป็นต้น

  12. กิจกรรมการลดของเสียให้เป็นศูนย์ (Zero Defect, ZD) เป็นเครื่องมือที่ใช้ป้องกันความผิดพลาด หรือการหลงลืม สามารถทำการตรวจเช็คชิ้นงานแต่ละชิ้น หรือตรวจสอบ 100% ได้ เครื่องมือ Poka-Yoke จะต้องไม่ยุ่งยากและสามารถใช้ในการตรวจสอบชิ้นงานได้ทุกชิ้น และต้นทุนในการติดตั้งต่ำ

  13. กิจกรรมการลดของเสียให้เป็นศูนย์ (Zero Defect, ZD) • ดร.ชินโกะ เชื่อว่า กิจกรรม ZD จะสำเร็จได้ ต้องอาศัยหลักการ 3 ประการ คือ • การใช้การตรวจสอบที่ต้นเหตุ หรือที่ตำแหน่งงานนั้นๆ (Source Inspection) • การตรวจสอบแบบ 100% โดยใช้เครื่องมือหรืออุปกรณ์ช่วย (Poka-Yoke) และ • การแก้ไขปรับปรุงทันทีทันใดเมื่อพบปัญหา

  14. เครื่องมือ 7 ชนิดสำหรับควบคุมคุณภาพ (QC 7 Tools) 1. ผังแสดงเหตุและผล (Cause-and-Effect Diagram) หรือผังก้างปลา (Fishbone Diagram) บางครั้งเรียกว่า Ishikawa Diagram ซึ่งเรียกตามชื่อของ Dr.Kaoru Ishikawa ผู้ซึ่งเริ่มนำผังนี้มาใช้ในปี ค.ศ. 1953 เป็นผังที่แสดงความสัมพันธ์ระหว่างคุณลักษณะ ทางคุณภาพกับปัจจัยต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง 2. แผนภูมิพาเรโต (Pareto Diagram) เป็นแผนภูมิที่ใช้แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างสาเหตุของความบกพร่องกับปริมาณความสูญเสียที่เกิดขึ้น

  15. เครื่องมือ 7 ชนิดสำหรับควบคุมคุณภาพ (QC 7 Tools) 3. กราฟ (Graphs) คือภาพลายเส้น แท่ง วงกลม หรือจุดเพื่อใช้แสดงค่าของข้อมูลว่าความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูล หรือแสดงองค์ประกอบต่าง ๆ 4. แผ่นตรวจสอบ (Check sheet) คือแบบฟอร์มที่มีการออกแบบช่องว่างต่าง ๆ ไว้เพื่อใช้บันทึกข้อมูลได้ง่าย และสะดวก 5. ฮีสโตแกรม (Histogram) เป็นกราฟแท่งที่ใช้สรุปการอนุมาน (Inference) ข้อมูลเพื่อที่จะใช้สรุปสถานภาพของกลุ่มข้อมูลนั้น

  16. เครื่องมือ 7 ชนิดสำหรับควบคุมคุณภาพ (QC 7 Tools) 6. ผังการกระจาย (Scatter Diagram) คีอผังที่ใช้แสดงค่าของข้อมูลที่เกิดจากความสัมพันธ์ของตัวแปรสองตัวว่ามีแนวโน้มไปในทางใด เพื่อที่จะใช้หาความสัมพันธ์ที่แท้จริง 7. แผนภูมิควบคุม (Control Chart) คือแผนภูมิที่มีการเขียนขอบเขตที่ยอมรับได้ของคุณลักษณะตามข้อกำหนดทางเทคนิค (Specification) เพื่อนำไปเป็นแนวทางในการควบคุมกระบวนการผลิต โดยการติดตามและตรวจจับข้อมูลที่ออกนอกขอบเขต (Control limit)

  17. การบริหารการเปลี่ยนแปลง(Change Management)

  18. ความหมายการบริหารการเปลี่ยนแปลงความหมายการบริหารการเปลี่ยนแปลง การบริหารการเปลี่ยนแปลง (Management of Change) คือ การจัดการกับกลไกส่วนประกอบต่างๆ ขององค์การให้สามารถเรียนรู้ ปรับตัวให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์ทั้งภายนอกและภายในองค์การ เพื่อให้องค์การได้รับผลดี และลดผลกระทบในทางที่ไม่ดีของการเปลี่ยนแปลง ซึ่งจะช่วยให้องค์การดำเนินงานไปได้อย่างต่อเนื่อง ราบรื่น สามารถอยู่รอดและเจริญก้าวหน้าไปได้

  19. ความสำคัญของการบริหารการเปลี่ยนแปลงความสำคัญของการบริหารการเปลี่ยนแปลง ความสามารถในการปรับตัวให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี ตลาด คู่แข่ง ลูกค้า ผู้รับบริการและแหล่งทรัพยากรต่างๆ ช่วยให้องค์การเห็นโอกาส และภัยคุกคามต่างๆ ที่เกิดขึ้น และสามารถปรับการดำเนินงานเพื่อคว้าโอกาส และ หรือจัดการกับภัยคุกคามได้อย่างเหมาะสมและทันต่อเหตุการณ์ จะช่วยให้การดำเนินงานขององค์การเป็นไปโดยราบรื่น ต่อเนื่อง ไม่ต้องติดขัด ชะงักงันโดยเฉพาะในช่วงที่มีการเปลี่ยนแปลง

  20. ความสำคัญของการบริหารการเปลี่ยนแปลงความสำคัญของการบริหารการเปลี่ยนแปลง จะช่วยให้องค์การไม่สับสน วุ่นวาย ระส่ำระสาย เมื่อต้องเผชิญกับความจำเป็นที่จะต้องปรับเปลี่ยนการดำเนินงาน จะช่วยให้องค์การได้ปรับปรุงตัวเองอย่างต่อเนื่องในด้านต่างๆ และจะช่วยให้มีการนำศักยภาพที่มีอยู่ในองค์การมาใช้ได้อย่างคุ้มค่า

  21. การสนองตอบความเปลี่ยนแปลงของบุคลากรในหน่วยงานการสนองตอบความเปลี่ยนแปลงของบุคลากรในหน่วยงาน

  22. องค์ประกอบการบริหาร • การบริหารการเปลี่ยนแปลง โดยการนำหลักขององค์ประกอบการบริหาร คือ 4’M ได้แก่ บุคลากร เงิน วัสดุอุปกรณ ์ และการจัดการมาวิเคราะห ์ • เพื่อสร้างคุณค่าให้แก่การเปลี่ยนแปลง โดยมี “การจัดการ” เป็นแกนกลางในการดึงพลังจากบุคลากร ให้พร้อมต่อการเปลี่ยนแปลง • จัดสรรงบประมาณที่สามารถสนับสนุนให้บุคลากรมีความเต็มใจ ที่จะปฏิบัติตาม • สรรหาวัสดุอุปกรณ์ในการดำเนินการอย่างเพียงพอ

  23. แสดงความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบของการบริหารประยุกต์กับความหมายของการบริหารการเปลี่ยนแปลงแสดงความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบของการบริหารประยุกต์กับความหมายของการบริหารการเปลี่ยนแปลง

  24. การวางแผนการเปลี่ยนแปลง (Planning Change) เพื่อพัฒนาการปฏิบัติงานให้มีประสิทธิภาพ โดยอาศัยเทคนิคต่างๆ มาประยุกต์ใช้ในหน่วยงาน • การปรับปรุงงาน (Work Simplification) • การรื้อปรับระบบ (Reengineering) • การนำหลักการของคุณภาพ เช่น TQM , TQC , ISO

  25. กระบวนการการวางแผนการเปลี่ยนแปลงกระบวนการการวางแผนการเปลี่ยนแปลง • หน่วยงานต้องมีการวางแผนการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้น เพื่อป้องกันเหตุการณ์ที่อาจส่งผลต่อความล้มเหลว กระบวนการเพื่อเตรียมความพร้อมของหน่วยงาน มีดังนี้ • การกำหนดเป้าหมายในการเปลี่ยนแปลง (Focus on Goals) • การระบุความต้องการของการเปลี่ยนแปลง (Identifying the Demand for Change) • การเลือกการเปลี่ยนแปลงที่จำเป็น (Selecting Essential Change) • การประเมินความสลับซับซ้อน (Evaluating Complexity)

  26. กระบวนการการวางแผนการเปลี่ยนแปลงกระบวนการการวางแผนการเปลี่ยนแปลง การวางแผนให้พนักงานเข้ามามีส่วนร่วม (Planning Ways to Involve People) การเลือกใช้ระยะเวลาการเปลี่ยนแปลง (Choosing a Timescale) การจัดทำแผนปฏิบัติ (Making an Action Plan) การคาดการณ์ผลกระทบ (Anticipating Effects) การคาดการณ์การต่อต้านจากบุคลากร (Anticipating Resistance to Change) การทดสอบ และตรวจสอบแผนการเปลี่ยนแปลง(Testing and Checking Plan)

  27. 1. การกำหนดเป้าหมาย ประเมินจุดแข็ง-จุดอ่อนของหน่วยงาน ตอบคำ ถามว่า “เราต้องการจะไปที่ไหน” หาช่องว่างระหว่างปัจจุบัน และอนาคต ระบุการเปลี่ยนแปลงที่จำเป็น จัดทำรายละเอียดเหล่านี้ให้เป็น ลายลักษณ์อักษร เพื่อเป็นการเน้น ความสำคัญ

  28. 2. การระบุความต้องการของการเปลี่ยนแปลง วัตถุประสงค์ของกระบวนการนี้ คือ ต้องการได้มาซึ่งแนวทางในการเปลี่ยนแปลงที่ตั้งบนพื้นฐานความพึงพอใจของลูกค้าภายนอกและลูกค้าภายใน โดยอาศัยแบบสอบถาม การสัมภาษณ ์ หรือการทำ Focus group เพื่อให้ทราบว่าการเปลี่ยนแปลงควรเริ่มต้นจากส่วนใดมากที่สุด

  29. 3. การเลือกการเปลี่ยนแปลงที่จำเป็น • คุณสามารถใช้เทคนิคดังนี้ในการได้มาซึ่งความต้องการในการเปลี่ยนแปลง • ใช้เทคนิคการจัดการทั่วทั้งองค์การ (Total Quality Management : TQM) เพื่อหาความพึงพอใจของลูกค้าภายนอก • เทคนิคการควบคุมคุณภาพ (Quality Control : QC) เพื่อหาความพึงพอใจจากลูกค้าภายใน

  30. 4. การประเมินความสลับซับซ้อน การดำเนินการเปลี่ยนแปลง หน่วยงานต้องดำเนินการ 2 ส่วน คือ • แยกย่อยการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้น ให้แตกออกเป็นงานย่อยๆ ที่ต้องดำเนินการ แล้วนำงานแต่ละงานมาเรียงลำดับการปฏิบัติงาน และระบุจำนวนเวลาที่ต้องใช้ในการปฏิบัติซึ่งทำให้หน่วยงานเห็นภาพลำดับการปฏิบัติงานทั้งหมด พร้อมทั้งสามารถบริหารและติดตามการเปลี่ยนแปลงได้

  31. 4. การประเมินความสลับซับซ้อน • ประเมินว่าการเปลี่ยนแปลงกระทบใครบ้างรวมถึงบุคคลภายนอกหน่วยงานด้วย เพราะหากจำนวนคนที่ถูกกระทบมาก ย่อมหมายถึง แผนการเปลี่ยนแปลงจะต้องมีความสลับซับซ้อนมากขึ้น • ควรกำหนดตัวชี้วัดการปฏิบัติงานในปัจจุบัน และความสำ เร็จที่จะเกิดขึ้นในลักษณะที่สามารถวัดจำ นวนผลสำ เร็จได้ โดยใช้หลักการ “Benchmarking”เพื่อหาประเด็นเปรียบเทียบกับหน่วยงานอื่นๆ

  32. 5. การวางแผนเพื่อดึงบุคลากรให้มีส่วนร่วม • พิจารณาสถานการณ์ก่อนตัดสินใจดึงบุคลากรให้เข้ามีส่วนร่วม • พยายามหาหนทางที่ลดการต่อต้านให้มากที่สุด • ควรปรึกษาบุคคลจำนวนมาก เพื่อนำข้อมูลที่ได้รับมาปรับแผนการเปลี่ยนแปลงให้เหมาะสมมากขึ้น • ควรส่งเสริมวัฒนธรรมการทำงานเป็นทีม • ใช้บุคคลที่มีประสบการณ์ หรือความชำนาญในการปฏิบัติงานเป็นผู้สนับสนุนการปลี่ยนแปลง โดยการให้คำแนะนำแก่บุคคลอื่น

  33. 6. การเลือกใช้ระยะเวลาการเปลี่ยนแปลง • การเปลี่ยนแปลงแบบถอนรากถอนโคน ควรกำหนดระยะเวลาสั้น • การเปลี่ยนแปลงในสถานการณ์วิกฤติ ควรแก้ปัญหาระยะสั้นในช่วงแรก แล้ววางแผนปรับปรุงระยะยาวเพื่อจัดการสาเหตุแห่งวิกฤติ • การเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง ไม่ควรกำหนดจุดสิ้นสุด แต่ควรกำหนดภาพระยะยาวของการพัฒนาหน่วยงาน เพื่อสร้างความเจริญเติบโต

  34. 7. การจัดทำแผนปฏิบัติการ • กำหนดเป้าหมาย กลยุทธ์ในการพิชิตความสำเร็จ และประเมินเวลาที่ต้องใช้ มอบหมายความรับผิดชอบแต่ละงานให้แก่บุคคลที่เหมาะสม และจัดการฝึกอบรมเพิ่มเติมในกรณีที่จำเป็น • นำข้อมูลที่ได้รับจากการจัดประชุม การทำ Focus group การสำรวจเพื่อปรับแผนให้เหมาะสมยิ่งขึ้น • ควรใช้เทคนิคการวางแผนต่างๆ เพื่อให้เห็นภาพการปฏิบัติงาน และปัญหา ได้ชัดเจนเช่น ผังก้างปลา (Fishbone Diagram) และจัดทำรายการตรวจสอบผลการเปลี่ยนแปลง อย่างน้อยสัปดาห์ละครั้ง • ควรจัดทำ ตารางการปฏิบัติงาน (Gantt Chart)

  35. 8. การคาดการณ์ผลกระทบ ข้อควรปฏิบัติภายหลังการดำเนินการตามแผนปฏิบัติการ เพื่อเตรียมแผนปฏิบัติการฉุกเฉิน รองรับเหตุการณ์ที่ไม่พึงประสงค์ต่างๆ • ประเมินความต้องการของหน่วยงานเพื่อระบุทรัพยากร และทักษะในการปฏิบัติงาน • จัดให้มีการอภิปรายแผนปฏิบัติการ และติดต่อสื่อสารกับบุคลากรฝ่ายอื่น หรือหน่วยงานอื่น

  36. 8. การคาดการณ์ผลกระทบ • ควรทำรายการตรวจสอบความก้าวหน้าของการปฏิบัติงาน ตามเป้าหมายของแผน • จัดทำรายชื่อบุคคลที่จะมีส่วนร่วมในการเปลี่ยนแปลง และคาดการณ์ปฏิกิริยาของแต่ละบุคคล แล้วพิจารณาหาหนทางที่ดีที่สุด ในการแจ้งการเปลี่ยนแปลง • ดำเนินการลดทัศนคติเชิงลบต่อการเปลี่ยนแปลง โดยคำ นวณผลเสียที่อาจเกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลง และพิจารณาว่า ผลประโยชน์ที่ได้รับสามารถทดแทนความสูญเสียที่เกิดขึ้นได้หรือไม่

  37. 9. การคาดการณ์การต่อต้านการเปลี่ยนแปลง วิธีการสลายการต่อต้านที่เหมาะสม เกิดจากการเข้าใจถึงสาเหตุของการต่อต้าน เพื่อให้การดำ เนินการแก้ไขไม่ชักช้า และเห็นผลรวดเร็ว โดยทั่วไปสาเหตุของการต่อต้านมาจาก 3 สาเหตุ คือ 1. การไม่เข้าใจการเปลี่ยนแปลง 2. ความกลัวที่จะเสียประโยชน์ 3. ความไม่ไว้วางใจ

  38. 10. การทดสอบ และตรวจสอบแผนการเปลี่ยนแปลง (1) ทดสอบความเป็นไปได้ของแผน โดยทำโครงการนำร่องตามแผนทั้งหมด หรือบางส่วน (2) ติดตามการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น โดยตรวจสอบประเมิน เพื่อปรับสถานภาพของแผนให้เหมาะสม ปรับแผนปฏิบัติการให้สอดคล้องกันด้วย (3) ตรวจสอบลักษณะการต่อต้าน เช่น การต่อต้านในลักษณะใดที่ควรจะมีการเปลี่ยนแปลงการดำเนินการ จุดใดที่ปราศจากการต่อต้าน และนำข้อมูลรวบรวมไว้ เพื่อประกอบการพิจารณาตัดสินใจดำเนินการ กับการต่อต้านแต่ละประเภทที่เกิดขึ้น

  39. การดำเนินการตามแผนการเปลี่ยนแปลง (Implementing Change) แผนการเปลี่ยนแปลง การสื่อสารภายในหน่วยงาน การมอบหมายความรับผิดชอบ การพัฒนาพันธกิจของบุคลากร การเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมการทำงาน การเอาชนะการต่อต้าน การรวมพลังดำ เนินงานเพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลง

  40. การเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมการทำงานของหน่วยงานการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมการทำงานของหน่วยงาน

  41. การเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมการทำงานของหน่วยงานการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมการทำงานของหน่วยงาน

  42. การเอาชนะการต่อต้านการเปลี่ยนแปลงการเอาชนะการต่อต้านการเปลี่ยนแปลง

  43. การเอาชนะการต่อต้านการเปลี่ยนแปลงการเอาชนะการต่อต้านการเปลี่ยนแปลง

  44. การเอาชนะการต่อต้านการเปลี่ยนแปลงการเอาชนะการต่อต้านการเปลี่ยนแปลง

  45. คุณสมบัติที่สำคัญของผู้บริหารคุณสมบัติที่สำคัญของผู้บริหาร คุณสมบัติที่สำคัญของผู้บริหารระดับสูงในอนาคต คือ จะต้องมีทักษะทั้งในด้านการบริหารงานและการบริหารบุคคล ต้องสามารถวิเคราะห์ปัญหาที่เกิดขึ้นและโอกาสได้ ต้องมีความสามารถในด้านมนุษยสัมพันธ์และการตัดสินใจ ผู้บริหารระดับสูงจะมีหน้าที่สำคัญในการคิดค้นนวัตกรรมใหม่ ๆ โดยทั่วไปหน้าที่ของนักบริหาร คือ • นักบริหารต้องทำความรู้จักกับการเปลี่ยนแปลง (Change) • นักบริหารต้องสร้างการเปลี่ยนแปลง (Change Intervention) • นักบริหารต้องเป็นตัวแทนความเปลี่ยนแปลง (Change Agent)

  46. กิจกรรมท้ายบท • ในฐานะที่ท่านเป็นบุคลากรคนหนึ่งในองค์การที่ท่านปฏิบัติงานอยู่ ท่านคิดว่าควรมีกิจกรรมส่งเสริมคุณภาพในองค์การของท่านเรื่องใดบ้าง ให้ยกตัวอย่างมา 3 กิจกรรมพร้อมกับอธิบายลักษณะของกิจกรรมนั้น ๆ • ให้นักศึกษากล่าวถึงบทบาทของผู้บริหารต่อการจัดการการเปลี่ยนแปลงทางด้านการวางแผนและการควบคุมรวมถึงการบริหารการต่อต้านการเปลี่ยนแปลง

More Related