150 likes | 403 Vues
บทที่ 7. ขอบข่ายของการวิเคราะห์. การเริ่มดำเนินโครงการ เมื่อผ่านการอนุมัติจากผู้บริหารนั้น จะเริ่มจากขั้นตอนการวิเคราะห์ โดยมีกิจกรรมดังนี้. กิจกรรมในระยะการวิเคราะห์. กำหนดความต้องการของระบบ
E N D
บทที่ 7 ขอบข่ายของการวิเคราะห์
การเริ่มดำเนินโครงการ เมื่อผ่านการอนุมัติจากผู้บริหารนั้น จะเริ่มจากขั้นตอนการวิเคราะห์ โดยมีกิจกรรมดังนี้
กิจกรรมในระยะการวิเคราะห์กิจกรรมในระยะการวิเคราะห์ • กำหนดความต้องการของระบบ การกำหนดความต้องการของระบบจะได้มาจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกับระบบ เรียกว่า สเตคโฮลเดอร์ แบ่งออกเป็น 6 กลุ่ม คือ • เจ้าของระบบ ได้แก่ ผู้บริหาร เป็นผู้สนับสนุนเงินลงทุนในการพัฒนาระบบ • ผู้ใช้ระบบ แบ่งออกเป็น 2 ประเภท • ผู้ใช้ภายใน ผู้ปฏิบัติงาน ช่างเทคนิค หัวหน้างาน ผู้บริหารระดับกลาง ระดับสูง • ผู้ใช้ภายนอก ได้แก่ ลูกค้า ผู้ขาย คู่ค้าทางธุรกิจ พนักงานขาย
สเตคโฮลเดอร์ แบ่งออกเป็น 6 กลุ่ม(ต่อ) 3. นักวิเคราะห์ระบบ ทำหน้าที่ศึกษาปัญหาและความต้องการของระบบ 4. นักออกแบบระบบ เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีระบบสารสนเทศ เช่น ออกแบบฐานข้อมูล ออกแบบเว็บ ออกแบบกราฟิก 5. โปรแกรมเมอร์ เป็นผู้สร้างระบบด้วยการเขียนโปรแกรมตามที่นักออกแบบระบบออกแบบไว้ 6. ที่ปรึกษา ให้คำปรึกษารวมทั้งแนะนำผลิตภัณฑ์และการบริการเพื่อสนับสนุนระบบ
พื้นฐานของการวิเคราะห์พื้นฐานของการวิเคราะห์ ขั้นตอนพื้นฐานของการวิเคราะห์ จะประกอบด้วย 3 ขั้นตอน 1. การทำความเข้าใจกับระบบงานเดิม เป็นการศึกษาจุดอ่อนจุดแข็งของระบบงานเดิม โดยเข้าไปสืบเสาะข้อเท็จจริง ซึ่งระบบงานเดิมนั้นอาจจะมีการนำระบบคอมพิวเตอร์มาใช้อยู่แล้วหรือประมวลผลด้วยมือ 2. การกำหนดสิ่งที่จะปรับปรุงลงไป เมื่อทีมงานได้ทำความเข้าใจกับระบบปัจจุบันเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ก็จะกำหนดแนวทางในการปรับปรุงลงไป 3. การกำหนดความต้องการสำหรับระบบใหม่ นักวิเคราะห์ระบบจะร่วมทำงานกับผู้ใช้ และกำหนดความต้องการของระบบใหม่ขึ้นมา ด้วยแบบจำลองกระบวนการ แบบจำลองข้อมูล เพื่อนำมาใช้เป็นข้อกำหนดในการออกแบบและพัฒนาระบบต่อไป
การสืบเสาะข้อเท็จจริงการสืบเสาะข้อเท็จจริง เป็นวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ การวิเคราะห์เอกสาร การสังเกตการณ์ การใช้แบบสอบถาม การสัมภาษณ์ และการวางแผนความต้องการร่วมกัน
การวิเคราะห์เอกสาร เป็นการสืบเสาะข้อเท็จจริงเพิ่มเติมตามที่ต้องการ ให้เกิดความชัดเจนขึ้น ซึ่งเกี่ยวข้องกับ • สาเหตุของปัญหาที่เกิดจากระบบงานปัจจุบัน เช่นข้อมูลที่ขาดหายไปมาจากสาเหตุใด ขั้นตอนการทำงานที่ซ้ำซ้อน มาจากสาเหตุใด • หน้าที่ทางธุรกิจใด ที่สนับสนุนระบบงานปัจจุบัน • ชนิดข้อมูลที่ต้องเก็บรวมรวม และรายงานต่างๆที่ได้จากระบบ • บางสิ่งบางอย่างในเอกสารที่นักวิเคราะห์ระบบไม่เข้าใจ ต้องมีการสัมภาษณ์ผู้เกี่ยวข้องเพิ่มเติม
การสังเกตการณ์ • เป็นการเฝ้าสังเกตกระบวนการทำงานที่พนักงานปฏิบัติอยู่เป็นประจำ ว่าเขาต้องทำอย่างไรจนกระทั่งงานนั้นสำเร็จ และเมื่อเข้าใจแล้วให้นำมาเขียนแผนภาพแสดงขั้นตอนการทำงาน หรือเรียกว่า workflow ทำให้เห็นการไหลของงานไปยังกลุ่มบุคคลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ว่ามีการสื่อสารกันอย่างไร
การใช้แบบสอบถาม • เหมาะกับกรณีที่ต้องการรวบรวมข้อเท็จจริงจากกลุ่มคนต่างๆ จำนวนมาก โดยสามารถแจกจ่ายให้กับกลุ่มคนทั่วไปบริเวณกว้าง แม้ว่าจะอยู่คละคนละพื้นที่ก็ตาม อีกทั้งยังช่วยประหยัดเวลาในการเดินทาง เพื่อให้แบบสอบถามทีความน่าเชื่อถือและมีคุณภาพ ควรมีการนำให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบคุณภาพ และความเอาใจใส่ในการตอบแบบสอบถามก็เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ส่งผลต่อคุณภาพของคำตอบ แบบสอบถามเรื่องการจัดทำใบขอซื้อ
การสัมภาษณ์ • เป็นวิธีการหนึ่งที่สามารถเก็บข้อมูลได้อย่างละเอียด สามารถซักไซ้ให้เกิดความเข้าใจในปัญหา รวมถึงสภาพการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นในหน่วยงาน ขั้นตอนในการสัมภาษณ์ประกอบด้วย • กำหนดบุคคลที่ต้องการสัมภาษณ์ • กำหนดวัตถุประสงค์การสัมภาษณ์ • สร้างคำถามเพื่อการสัมภาษณ์ • เตรียมการสัมภาษณ์ • ดำเนินการสัมภาษณ์ • บันทึกคำสัมภาษณ์ • ประเมินผลการสัมภาษณ์ ตัวอย่างรายงานบันทึกคำสัมภาษณ์
การวางแผนความต้องการร่วมกันการวางแผนความต้องการร่วมกัน • เป็นเทคนิควิธีที่ประกอบด้วยผู้เกี่ยวข้องในระบบเข้าปฏิบัติการร่วมกันในการวิเคราะห์ปัญหา ไดแก่ เจ้าของระบบ กลุ่มผู้ใช้ระบบ ผู้จัดการแผนก กลุ่มผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ อาจใช้เวลาประมาณ 3-5 วัน หรือล่วงเลยไปถึง 2 สัปดาห์ ด้วยวิธีการระดมสมอง ทีมงานจะต้องร่วมแรงร่วมใจกันในการประชุมอย่างจริงจังเพื่อให้บรรลุผลสำเร็จ
การตรวจสอบความต้องการการตรวจสอบความต้องการ • เป็นสิ่งหนึ่งที่ต้องสร้างความมั่นใจว่า ข้อมูลที่ได้รวบรวมมานั้น คือ ข้อมูลที่ถูกต้อง โดยการตรวจสอบความต้องการนักวิเคราะห์ระบบอาจสร้างแบบจำลองขึ้นมาเพื่อตรวจสอบความสอดคล้องในข้อมูลร่วมกัน ทีมงานในการตรวจสอบความต้องการประกอบด้วย นักวิเคราะห์ระบบ ผู้ใช้ หรือคนนอกที่ได้รับมอบหมายและผู้ทำหน้าที่บันทึก อีกครั้ง เมื่อกิจกรรมเรียบร้อยแล้ว ต่อไปก็จะเป็นการติดตามผลด้วยการแก้ไขข้อผิดพลาดให้ถูกต้อง สิ่งที่ขาดหายไปจะได้รับการเพิ่มเติมขึ้น โดยจะได้ดำเนินการต่อไป ดีกว่างานสร้างแล้วต้องมาแก้ไข
ขั้นตอนการทำงาน workflow การประเมินการเรียนการสอนของอาจารย์ (ระบบเดิม) • แผนภาพกิจกรรม Activity Diagram • ฟังก์ชันการทำงานระบบประเมินการสอนออนไลน์ (ระบบใหม่) : มาจากข้อกำหนดความต้องการ
คอนเท็กซ์ไดอะแกรมระบบประเมินการสอนออนไลน์คอนเท็กซ์ไดอะแกรมระบบประเมินการสอนออนไลน์
งานมอบหมาย • แบ่งกลุ่ม 4 กลุ่ม ให้ทำการวิเคราะห์ระบบงานดังต่อไปนี้ • ระบบการเพิกถอนรายวิชา • ระบบยืมคืนหนังสือห้องสมุด • ระบบกรอกข้อมูลการเข้าร่วมกิจกรรมของนักศึกษา • ระบบการบริการโรงอาหาร แล้วเขียนออกมาในรูปแบบ • ขั้นตอนการทำงาน workflow • แผนภาพกิจกรรม Activity Diagram • ฟังก์ชันการทำงาน