1 / 11

นโยบายการเตรียมความพร้อมเกษตรกรไทย เพื่อก้าวไปสู่ AEC

นโยบายการเตรียมความพร้อมเกษตรกรไทย เพื่อก้าวไปสู่ AEC. โดย นาง นารีณัฐ รุณ ภัย รองเลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ( ASEAN Economics Community: AEC). ประโยชน์ที่จะได้รับ. อุปสรรคทางการค้าทางด้านภาษีหมดไป

chenoa
Télécharger la présentation

นโยบายการเตรียมความพร้อมเกษตรกรไทย เพื่อก้าวไปสู่ AEC

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. นโยบายการเตรียมความพร้อมเกษตรกรไทยนโยบายการเตรียมความพร้อมเกษตรกรไทย เพื่อก้าวไปสู่ AEC โดย นางนารีณัฐรุณภัย รองเลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร

  2. ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economics Community: AEC) ประโยชน์ที่จะได้รับ • อุปสรรคทางการค้าทางด้านภาษีหมดไป • ตลาดสินค้าใหญ่ขึ้น จากจำนวนประชากรในอาเซียนที่รวมกันประมาณ 570 ล้านคน • เป็นฐานการผลิตร่วม เพื่อการส่งออก • ระบบโลจิสติกส์ในภูมิภาคจะสะดวกและถูกลง

  3. มาตรการเตรียมพร้อมที่จะรุกและรับมือ AEC มาตรการเชิงรับ มาตรการเชิงรุก ป้องกัน ปราบปราม ปกป้องพิเศษ ปรับเปลี่ยน ปรับปรุง -กำหนดผู้นำเข้า -กำหนดคุณสมบัติ -มีใบรับรอง -มาตรการ SPS -รับรองแหล่งกำเนิด -กำหนดด่านนำเข้า -กำหนดช่วงเวลานำเข้าฯลฯ ประสิทธิภาพ คุณภาพ ภาพลักษณ์สินค้า

  4. มาตรการเชิงรับ • 1. มาตรการป้องกัน (Border Measure)โดยการจัดระบบการบริการการนำเข้า • กำหนดให้ผู้เข้าต้องจดทะเบียนและขออนุญาตการนำเข้า • กำหนดคุณสมบัติและวัตถุประสงค์ของการนำเข้า • ต้องมีใบรับรองปลอดสารพิษตกค้าง ใบรับรองปลอด GMO • ใช้มาตรการ SPS อย่างเข้มงวด • ต้องมีใบรับรองแหล่งกำเนิดสินค้า • กำหนดด่านนำเข้า (ที่มีเครื่องมือและบุคลากรพร้อม) • กำหนดช่วงเวลาการนำเข้า • ต้องรายงานการนำเข้า การใช้ การจำหน่ายและสต๊อก • กำหนดชนิดของสินค้าที่นำเข้า • เก็บค่าธรรมเนียมการตรวจสินค้านำเข้า เพื่อเป็นกองทุนในการพัฒนาการผลิต • จัดทำระบบข้อมูลติดตามเฝ้าระหว่างการนำเข้า

  5. มาตรการเชิงรับ • ตัวอย่างการกำหนดมาตรการ โดยการจัดระบบการบริการการนำเข้า • ปาล์มน้ำมัน อนุญาตให้ อคส. เป็นผู้นำเข้าเพียงรายเดียว • กระเทียม หอมหัวใหญ่ เมล็ดพันธุ์หอมหัวใหญ่ และมันฝรั่ง • - มีการกำหนดช่วงเวลาการนำเข้า โดยกระเทียมให้นำเข้าในช่วง กค.-ตค. ของทุกปี หอมหัวใหญ่ สค.-ตค. ของทุกปี • - มีหนังสือรับรองถิ่นกำเนิด (ATIGA FORM D) • - กำหนดด่านนำเข้าที่มีด่านตรวจพืช อาหาร และยา • กาแฟสำเร็จรูป • - การนำเข้าต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะอนุกรรมการ • - ผู้นำเข้าต้องขึ้นทะเบียนกับกรมการค้าต่างประเทศ

  6. มาตรการเชิงรับ 2. มาตรการปราบปราม (Internal Measure) กรณีที่เกิดมีการลักลอบเข้ามาในประเทศอย่างผิดกฎหมายแล้ว ต้องมีการปราบปราม หรือบังคับใช้กฎหมายอย่างจริงจังเพื่อมิให้มีการนำเข้ามาอีกสำหรับสินค้าเกษตรแล้วการตรวจพิสูจน์คุณลักษณะของสินค้า (วัตถุดิบ) ที่นำเข้าจากต่างประเทศทำได้ยากมากเพราะมักจะมีคุณลักษณะใกล้เคียงกัน 3. มาตรการปกป้องพิเศษ (Special Safeguard) เป็นการเก็บค่าธรรมเนียมพิเศษ เมื่อมีการนำเข้าจำนวนมากจนทำให้เกิดผลกระทบต่อการผลิตภายในประเทศ

  7. มาตรการเชิงรุก - เปลี่ยนอาชีพ - ผลิตสินค้าที่มีศักยภาพ ปรับเปลี่ยน เพิ่มประสิทธิภาพการผลิต คุณภาพผลผลิต ปรับปรุง ภาพลักษณ์ของสินค้า

  8. นโยบายการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันนโยบายการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขัน ภายใต้แผนพัฒนาการเกษตร พ.ศ. ๒๕๕๕-๒๕๕๙ ยุทธศาสตร์ที่ ๒ พัฒนาขีดความสามารถในการผลิต การจัดการสินค้าเกษตร และความมั่นคงอาหาร พัฒนาการผลิตและการสร้างมูลค่าเพิ่ม ส่งเสริมการผลิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เสริมสร้างการผลิตสินค้าเกษตรที่เป็นพืชอาหารและพลังงานให้เกิดความมั่งคง สนับสนุนการพัฒนาระบบตลาดสินค้าเกษตร สร้างความเชื่อมโยงกับเศรษฐกิจภูมิภาคและระหว่างประเทศ ส่งเสริมและพัฒนางานวิจัยด้านการเกษตร

  9. ยุทธศาสตร์การเกษตรต่างประเทศ ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พ.ศ. ๒๕๕๕-๒๕๕๙ ด้านพัฒนาศักยภาพด้านข้อมูลข่าวสารที่เกี่ยวข้องกับการเกษตรต่างประเทศ • เพื่อเตรียมมาตรการเชิงรุกและเชิงรับ • เพื่อเข้าถึงข้อมูลเชิงลึก เช่น เส้นทางการกระจายสินค้า รสนิยมของผู้บริโภค • ของต่างประเทศ • เพื่อจัดทำระบบฐานข้อมูลสำหรับสนับสนุนงานด้านการเกษตรต่างประเทศ เป้าหมาย มีกลไกการติดตามข้อมูลข่าวสารด้านการเกษตรต่างประเทศ เพื่อศึกษา วิเคราะห์เผยแพร่ให้ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายรับทราบอย่างต่อเนื่อง พร้อมมีมาตรการเชิงรุก และมาตรการเชิงรับในด้านต่างๆ อย่างรวดเร็ว ฉับไว และทันต่อเหตุการณ์

  10. ยุทธศาสตร์การเกษตรต่างประเทศ ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พ.ศ. ๒๕๕๕-๒๕๕๙ ด้านพัฒนาความร่วมมือกับต่างประเทศและองค์การระหว่างประเทศ • เพื่อให้ไทยเป็นศูนย์กลางการถ่ายทอดความรู้และเทคโนโลยีด้านการเกษตร • แก่ภูมิภาคต่างๆ • เพื่อเพิ่มความร่วมมือกับต่างประเทศในการศึกษา วิจัยและพัฒนาองค์ความรู้ • ที่เกี่ยวข้องกับการเกษตร เป้าหมาย พัฒนาความร่วมมือกับต่างประเทศในการศึกษา วิจัย พัฒนา ถ่ายทอด องค์ความรู้เกี่ยวกับการเกษตรในประเด็นที่เกี่ยวข้อง ทั้งในฐานะประเทศผู้ให้ ผู้รับ และความเป็นหุ้นส่วนการพัฒนา

  11. ยุทธศาสตร์การเกษตรต่างประเทศ ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พ.ศ. ๒๕๕๕-๒๕๕๙ ด้านพัฒนาการบริหารจัดการด้านการเกษตรต่างประเทศของกระทรวง เกษตรและสหกรณ์ • เพื่อพัฒนาบุคลากรของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ทั้งด้านภาษา ด้านวิชาการ • และเทคนิคการเจรจาให้พร้อมสำหรับการปฏิบัติงานด้านการเกษตรต่างประเทศ เป้าหมาย บุคลากรและระบบการบริหารจัดการด้านการเกษตรต่างประเทศมีประสิทธิภาพมากขึ้น

More Related