1 / 11

โครงงานประวัติศาสตร์ท้องถิ่น การศึกษา ประวัติศาสตร์ ท้องถิ่นผ่านการบอกเล่า เรื่องผีซิ่นเฮี่ยน

โครงงานประวัติศาสตร์ท้องถิ่น การศึกษา ประวัติศาสตร์ ท้องถิ่นผ่านการบอกเล่า เรื่องผีซิ่นเฮี่ยน. จัดทำโดย. 1.นางสาวกนกวรรณ ธีรฐิติธรรม 2.นางสาวประภัสสร จันทร์ภูมิ 3.นางสาวภัทราวริน เขียวหนู 4.นางสาวเปรมฤดี บุญสม 5.นายสิทธิโชค วงษ์หาจักร 6.นายธีรพล เศรษฐี. ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/1.

Télécharger la présentation

โครงงานประวัติศาสตร์ท้องถิ่น การศึกษา ประวัติศาสตร์ ท้องถิ่นผ่านการบอกเล่า เรื่องผีซิ่นเฮี่ยน

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. โครงงานประวัติศาสตร์ท้องถิ่นโครงงานประวัติศาสตร์ท้องถิ่น การศึกษาประวัติศาสตร์ท้องถิ่นผ่านการบอกเล่า เรื่องผีซิ่นเฮี่ยน

  2. จัดทำโดย 1.นางสาวกนกวรรณ ธีรฐิติธรรม 2.นางสาวประภัสสร จันทร์ภูมิ 3.นางสาวภัทราวริน เขียวหนู 4.นางสาวเปรมฤดี บุญสม 5.นายสิทธิโชค วงษ์หาจักร 6.นายธีรพล เศรษฐี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/1 ที่ปรึกษา : แม่ครูอรวรรณ กองพิลา โรงเรียนฝางวิทยายน

  3. ภูมิหลัง • คำว่า  “ บะ’’ หมายถึง ที่ราบมีแม่น้ำไหลผ่านมีพื้นดินที่เป็นเนินเตี้ยๆ หรือป่าโคกต้นข้างที่ราบร่องน้ำ คำว่า  “ ยาว” หมายถึง ความยาวซึ่งบะยาวคือร่องน้ำที่ราบระหว่าง โคกหรือป่า ยาวจากบ้านโนนค้อ ตำบลโคกงาม อำเภอบ้านฝางผ่านมาบ้านบะยาว ทางตะวันตกลงไปบ้านนาฝายที่ฝายพญานาค (ติดกับที่ตั้งวัดบ้านนาฝาย) ลงไปนาบ้านหนองแสง บ้านดอนโมง และไหลไปลงที่แม่น้ำเชิญและเขื่อนอุบลรัตน์ ก่อตั้งเมื่อประมาณ พ.ศ. 2450 โดยสันนิษฐานจากหนังสือประวัติวัดทั่วราชอาณาจักร เล่ม 12 หน้า 58 ของกลมศาสนา และจากการบอกเล่าของผู้สูงอายุในหมู่บ้าน ซึ่งอยู่ในช่วงของปลายสมัยราชกาลที่ 5 โดยที่ตั้งหมู่บ้านครั้งแรกบริเวณด้านทิศใต้ของหมู่บ้านคือคุ้มขามเจริญที่มาอาศัยในหมู่บ้าน เกิดการอพยพของประชากรจากถิ่นอื่นเข้ามาจับจองที่ดินทำมาหากินในระยะแรก • เรื่องราวความเชื่อเกี่ยวกับเรื่องผีซิ่นเฮี่ยน ที่เกี่ยวข้องกับคนในชุมชนตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน

  4. วัตถุประสงค์ 1.เพื่อศึกษาเกี่ยวกับความเชื่อของคนในท้องถิ่นเกี่ยวกับเรื่องผีซิ่นเฮี่ยน 2.เพื่อศึกษาความเปลี่ยนแปลงของความสัมพันธ์ ระหว่างผีซิ่นเฮี่ยนกับความเชื่อของคนในอดีตจนถึงปัจจุบัน พื้นที่การศึกษา บ้านบะยาว ตำบลหนองบัว อำเภอบ้านฝาง จังหวัดขอนแก่น

  5. คำถามการทำโครงงาน • 1.เรื่องราวความเชื่อเรื่องผีซิ่นเฮี่ยนมีผลต่อความเชื่อในเรื่องอื่นหรือไม่ • 2.เรื่องผีซิ่นเฮี่ยนสะท้อนให้เห็นความเชื่อ ความคิด ของคนในท้องถิ่นอย่างไร • 3.ชาวบ้านมักนำอาหารไปเลี้ยงผีนาในช่วงก่อนทำนาและหลังทำนาเสร็จเพราะเหตุใด ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ 1.นำความรู้เรื่องความเชื่อเรื่องผีซิ่นเฮี่ยนไปเผยแพร่ให้คนอื่นรับรู้ได้ 2.ได้มีส่วนร่วมในการอนุรักษ์และภูมิปัญญาชาวบ้านไว้ 3.ได้สืบทอดความเชื่อเรื่องผีเก็บไว้เป็นหลักฐานสำคัญของหมู่บ้าน 4.ได้เห็นความสามัคคีในหมู่คณะ

  6. แผนการดำเนินงาน 1.การรวบรวมข้อมูล 1.1 รวบรวมข้อมูลจากเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับผีซิ่นเฮี่ยน 1.2 การสอบถามและสัมภาษณ์ผู้รู้ 1.3 การสนทนากลุ่มย่อย 2.วิเคราะห์ เรียบเรียงข้อมูล และนำเสนอผลการดำเนินงานในรูปแบบความเรียง 3. นำเสนอผลงาน -นำเสนอหน้าชั้นเรียน

  7. เอกสารที่เกี่ยวข้อง 1.ความเชื่อเรื่องผีของคนอีสาน สำหรับคนอีสาน ผีคือวิญญาณของผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว หรือที่มีอยู่แล้วโดยไม่ทราบว่ามีมาแต่เมื่อใดหรือมีมาอย่างไร ผีเหล่านี้ประกอบด้วยผีประเภทต่าง ๆ เช่น ผีนา ผีป่า ผีเขา ผีบ้าน ผีหมู่บ้าน ผีปู่ย่าตายาย ผีฟ้า ผีแถน และผีอื่น ๆ หรือแม้กระทั่งผีที่เกิดจากการกระทำของบุคคล เช่น ผีปอบ ความเชื่อเรื่องผีอันเป็นความเชื่อที่มีมาแต่เดิม ผสมผสานกับความเชื่อในพระพุทธศาสนา จนแทบจะแยกกันไม่ออกว่าพิธีกรรมใดเกิดจากความเชื่อในพระพุทธศาสนา หรือพิธีกรรมใดเกิดจากความเชื่อเรื่องผี ความเชื่อเรื่องผีของชาวอีสานเข้ามาผูกพันในการประกอบอาชีพ ซึ่งว่ามีความสำคัญต่อการดำเนินชีวิตของชาวอีสาน การทำนาอันเป็นอาชีพที่ขึ้นอยู่กับสภาพของธรรมชาติดินฟ้าอากาศ จะได้ผลหรือไม่ได้ผลขึ้นอยู่กับธรรมชาติ ก่อนลงมือหว่านข้าวกล้าก็จะมีพิธีไหว้ผีระจำที่นา หรือที่ชาวบ้านเรียกว่าผีตาแฮก เพื่อข้าวกล้าจะได้เจริญงอกงามไม่ถูกรบกวนจากศัตรูข้าว ได้ข้าวเต็มเม็ดเต็มหน่วย เพื่อความอยู่รอดในการดำเนินชีวิต เมื่อถึงฤดูเก็บเกี่ยวก็มีพิธีสู่ขวัญลานนวดข้าว สู่ขวัญข้าวเพื่อเป็นสิริมงคลมีข้าวได้พอกินตลอดปี ก่อนที่จะถึงฤดูกาลทำนาในปีต่อไป ซึ่งล้วนแต่เป็นความเชื่อที่เกี่ยวกับผีทั้งสิ้น

  8. 2.ประวัติบ้านบะยาว บ้านบะยาวตั้งอยู่ที่ หมู่ 6 และ หมู่ 9 ตำบลหนองบัว อำเภอบ้านฝาง จังหวัดขอนแก่นก่อตั้งเมื่อประมาณ พ.ศ. 2450 โดยสันนิษฐานจากหนังสือประวัติวัดทั่วราชอาณาจักร เล่ม 12 หน้า 58 ของกลมศาสนา และจากการบอกเล่าของผู้สูงอายุในหมู่บ้าน ซึ่งอยู่ในช่วงของปลายสมัยราชกาลที่ 5 โดยที่ตั้งหมู่บ้านครั้งแรกบริเวณด้านทิศใต้ของหมู่บ้านคือคุ้มขามเจริญที่มาอาศัยในหมู่บ้าน เกิดการอพยพของประชากรจากถิ่นอื่นเข้ามาจับจองที่ดินทำมาหากินในระยะแรก

  9. 3.ความเชื่อเรื่องผีซิ่นเฮี่ยนจากคำบอกเล่าของผู้ที่เคยพบเจอ3.ความเชื่อเรื่องผีซิ่นเฮี่ยนจากคำบอกเล่าของผู้ที่เคยพบเจอ -นางคำผง พวงราษฎร์ -น.ส.เกวลี ก้านสัญชัย

  10. สรุปผลการศึกษา คติความเชื่อเรื่องผีเป็นคติความเชื่อที่มีอยู่ในปัจเจกชนแต่ละคน ซึ่งพยายามหาคำตอบในปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้น ผีเป็นสัญลักษณ์ของอำนาจเหนือธรรมชาติ ที่อยู่เหนืออำนาจการควบ คุมของมนุษย์ ผีคือวิญญาณของผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว หรือที่มีอยู่แล้วโดยไม่ทราบว่ามีมาแต่เมื่อใดหรือมีมาอย่างไร ผีเหล่านี้ประกอบด้วยผีประเภทต่าง ๆ เช่น ผีนา ผีป่า ผีเขา ผีบ้าน ผีหมู่บ้าน ผีปู่ย่าตายาย ผีฟ้า ผีแถน และผีอื่น ๆ หรือแม้กระทั่งผีที่เกิดจากการกระทำของบุคคล ความเชื่อเรื่องผีซิ่นเฮี่ยน ส่วนมากผู้ที่จะพบเจอผีซิ่นเฮี่ยนนั้นจะเป็นเจ้าของที่นาแถวๆนั้น ไม่ว่าจะเป็นแบบมาปรากฏตัวให้เห็นหรือแบบมาแต่เสียงหัวเราะ และขย่มต้นไม้ ลักษณะตัวของผีตนนี้จะมีการแต่งกายแบบชาวสมัยก่อน ใส่ชุดสีชมพูบานเย็น เสื้อทรงกระบอก ผ้าถุงจะใส่ยาวเพียงครึ่งน่อง มักปรากฏตัวตอนกลางวันและพลบค่ำ ทำให้ผู้คนไม่ค่อยกล้าผ่านทางนั้นเท่าไหร่ จากที่พวกเราได้ศึกษาความเป็นมากลุ่มของพวกเราจึงอยากจะค้นคว้าเพิ่มเติมอีก ถึงความเป็นจริงเพื่อให้ตำนานนี้สืบถึงลูกหลานต่อไป

  11. จบการนำเสนอ

More Related