1 / 48

พระราชบัญญัติศาลเยาวชนและครอบครัว และวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.๒๕๕๓

พระราชบัญญัติศาลเยาวชนและครอบครัว และวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.๒๕๕๓. โดย นายประจีน ชอบทางศิลป์ ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดกาญจนบุรี. ประกาศราชกิจจา นุเบกษา เล่ม ๑๒๗ ตอนที่ ๗๒ ก หน้า ๑๒ วันที่ ๒๒ พฤศจิกายน ๒๕๕๓. มีผลใช้บังคับตั้งแต่

erol
Télécharger la présentation

พระราชบัญญัติศาลเยาวชนและครอบครัว และวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.๒๕๕๓

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. พระราชบัญญัติศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.๒๕๕๓ โดย นายประจีน ชอบทางศิลป์ ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดกาญจนบุรี

  2. ประกาศราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๗ ตอนที่ ๗๒ กหน้า ๑๒ วันที่ ๒๒ พฤศจิกายน ๒๕๕๓ • มีผลใช้บังคับตั้งแต่ วันที่ ๒๒ พฤษภาคม ๒๕๕๔ เป็นต้นไป โดย นายประจีน ชอบทางศิลป์ ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดกาญจนบุรี

  3. สาระสำคัญของพระราชบัญญัติสาระสำคัญของพระราชบัญญัติ • นิยามความหมายของเด็ก และเยาวชน(กฎหมายเดิม) (ม.๔) เด็ก หมายความว่า บุคคลอายุเกินเจ็ดปีบริบูรณ์ แต่ยังไม่เกินสิบสี่ปีบริบูรณ์(กฎหมายใหม่) เด็ก หมายความว่า บุคคลอายุ ยังไม่เกินสิบห้าปีบริบูรณ์ โดย นายประจีน ชอบทางศิลป์ ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดกาญจนบุรี

  4. นิยามความหมายของเด็กและเยาวชน (ต่อ) (กฎหมายเดิม) (ม.๔) เยาวชน หมายความว่า บุคคลอายุเกินสิบสี่ปีบริบูรณ์ แต่ยังไม่ถึงสิบแปดปีบริบูรณ์ (กฎหมายใหม่) เยาวชน หมายความว่า บุคคลอายุ เกินสิบห้าปีบริบูรณ์ แต่ยังไม่ถึงสิบแปดปีบริบูรณ์ โดย นายประจีน ชอบทางศิลป์ ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดกาญจนบุรี

  5. อำนาจพิจารณาพิพากษา หรือ มีคำสั่ง ของศาลเยาวชนและครอบครัว (ม.๑๐) มีดังนี้ ๑. คดีอาญาที่มีข้อหาว่าเด็กหรือเยาวชนกระทำความผิดโดยถืออายุเด็กหรือเยาวชนในวันที่การกระทำความผิดได้เกิดขึ้น (ม.๕) โดย นายประจีน ชอบทางศิลป์ ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดกาญจนบุรี

  6. อำนาจพิจารณาพิพากษา หรือ มีคำสั่ง ของศาลเยาวชนและครอบครัว (ม.๑๐) • ๒. คดีอาญาที่ศาลซึ่งมีอำนาจพิจารณาคดีธรรมดาได้โอนมาตาม มาตรา ๙๗ วรรคหนึ่ง - บุคคลใดอายุยังไม่เกิน ๒๐ ปี บริบูรณ์กระทำความผิดและเป็นคดีที่อยู่ในอำนาจศาลที่มีอำนาจพิจารณาคดีธรรมดา ถ้าศาลชั้นต้นพิจารณาโดยคำนึงถึงสภาพร่างกาย สภาพจิต สติปัญญาและนิสัยแล้ว เห็นว่าบุคคลนั้นมีสภาพเช่นเดียวกับเด็กหรือเยาวชนให้มีอำนาจสั่งโอนคดีไปพิจารณาในศาลเยาวชนและครอบครัวที่มีอำนาจและให้ถือว่าบุคคลนั้นเป็นเด็กหรือเยาวชน โดย นายประจีน ชอบทางศิลป์ ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดกาญจนบุรี โดย นายประจีน ชอบทางศิลป์ ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดกาญจนบุรี

  7. อำนาจพิจารณาพิพากษา หรือ มีคำสั่ง ของศาลเยาวชนและครอบครัว (ม.๑๐) • ๓. คดีครอบครัว คดีแพ่งที่ฟ้องหรือร้องต่อศาลหรือกระทำการใดๆในทางศาลเกี่ยวกับผู้เยาว์หรือครอบครัว ซึ่งจะต้องบังคับตาม ป.พ.พ. กฎหมายว่าด้วยการจดทะเบียนครอบครัวหรือกฎหมายอื่นที่เกี่ยวกับครอบครัว โดย นายประจีน ชอบทางศิลป์ ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดกาญจนบุรี

  8. อำนาจพิจารณาพิพากษา หรือ มีคำสั่ง ของศาลเยาวชนและครอบครัว (ม.๑๐) • ๔. คดีคุ้มครองสวัสดิภาพ คดีที่ฟ้องหรือร้องขอต่อศาลหรือกระทำการใดๆในทางศาลเกี่ยวกับการคุ้มครองสวัสดิภาพเด็กหรือบุคคลในครอบครัว ซึ่งจะต้องบังคับตามกฎหมาย - พ.ร.บ. คุ้มครองเด็ก ๒๕๔๖ - พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว พ.ศ.๒๕๕๐ - กฎหมายอื่นที่เกี่ยวกับการคุ้มครองสวัสดิภาพเด็กหรือบุคคลในครอบครัว โดย นายประจีน ชอบทางศิลป์ ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดกาญจนบุรี

  9. อำนาจพิจารณาพิพากษา หรือ มีคำสั่ง ของศาลเยาวชนและครอบครัว (ม.๑๐) • ๕. คดีอื่นที่กฎหมายบัญญัติให้เป็นอำนาจหน้าที่ของศาลเยาวชนและครอบครัว โดย นายประจีน ชอบทางศิลป์ ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดกาญจนบุรี

  10. การดำเนินคดีอาญา การจับกุม • การจับกุมเด็กและเยาวชน (ม.๖๖) - การจับกุมเด็ก หลัก ---- >>> ห้ามจับ เว้น ---- >>> กระทำความผิดซึ่งหน้า(ตามป.วิอาญา) หรือมีหมายจับ หรือคำสั่งของศาล โดย นายประจีน ชอบทางศิลป์ ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดกาญจนบุรี

  11. การจับกุมเยาวชน • หลักเกณฑ์ตาม ป.วิอาญา เช่นอาจจับโดยไม่มีหมายจับหรือคำสั่งศาล ถ้าเข้ากรณีอย่างใดอย่างหนึ่งตามที่กฎหมายกำหนด เช่นความผิดซึ่งหน้าหรือเมื่อมีเหตุที่จะออกหมายจับแต่มีความจำเป็นเร่งด่วน โดย นายประจีน ชอบทางศิลป์ ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดกาญจนบุรี

  12. หลักเกณฑ์การออกหมายจับเด็กและเยาวชน - หากมีผลกระทบกระเทือนต่อจิตใจของเด็กหรือเยาวชนอย่างรุนแรง โดยไม่จำเป็น ให้พยายามหลีกเลี่ยงการออกหมายจับโดยใช้วิธีติดตามตัวเด็กหรือเยาวชนนั้นด้วยวิธีอื่นก่อน (ม.๖๗) - ศาลต้องคำนึงคุ้มครองสิทธิเด็กหรือเยาวชนเป็นสำคัญ (ม.๖๗) - อยู่ภายใต้บังคับตาม ป.วิ.อ. ม ๖๖ เรื่องหลักเกณฑ์การออกหมายจับ - เกณฑ์มาตรฐานในการชั่งน้ำหนักพยานหลักฐานในชั้นออกหมายจับ โดย นายประจีน ชอบทางศิลป์ ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดกาญจนบุรี

  13. การปฏิบัติเมื่อมีการจับกุมเด็กหรือเยาวชน (ม.๖๙) ๑. ให้แจ้งแก่เด็ก หรือ เยาวชนว่าเขาต้องถูกจับ ๒. แจ้งข้อกล่าวหารวมทั้งสิทธิให้ทราบโดยให้แสดงหมายจับ(หากมี)แล้วให้นำตัวไปยังที่ทำการของพนักงานสอบสวน (พงส.)แห่งท้องที่ที่ถูกจับทันที เพื่อให้ พงส.ดังกล่าวส่งตัวผู้ถูกจับไปยังที่ทำการของ พงส. ผู้รับผิดชอบโดยเร็ว ๓. ให้แจ้งเหตุแห่งการจับให้บิดามารดา ผู้ปกครองฯที่อยู่ด้วยในขณะนั้นทราบ ในโอกาสแรก ถ้าเป็นความผิดอัตราโทษอย่างสูง จำคุกไม่เกิน ๕ ปี จะสั่งให้บุคคลดังกล่าวเป็นผู้นำตัวเด็ก หรือ เยาวชนนั้นไปยังที่ทำการของ พงส.ก็ได้ โดย นายประจีน ชอบทางศิลป์ ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดกาญจนบุรี

  14. การปฏิบัติเมื่อมีการจับกุมเด็กหรือเยาวชน (ต่อ) ๔. ให้ผู้ถูกจับติดต่อสื่อสารหรือปรึกษาหารือตามควรแก่กรณีโดยไม่ชักช้า ๕. การจับกุมและควบคุมเด็กหรือเยาวชน ต้องกระทำโดยละมุนละม่อมคำนึงถึงศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์และไม่เป็นการประจานเด็กหรือ เยาวชน ๖. ห้ามมิให้วิธีการควบคุมเกินกว่าที่จำเป็นเพื่อป้องกันการหลบหนีหรือ เพื่อความปลอดภัย รวมทั้งห้ามมิให้ใช้เครื่องพันธนาการแก่เด็ก เว้นแต่มีความจำเป็นอย่างยิ่งหรือเพื่อความปลอดภัย โดย นายประจีน ชอบทางศิลป์ ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดกาญจนบุรี

  15. การปฏิบัติเมื่อมีการจับกุมเด็กหรือเยาวชน (ต่อ) ๗. ให้ทำบันทึกการจับกุมแจ้งข้อหา รายละเอียด เกี่ยวกับเหตุแห่งการจับ ให้ผู้ถูกจับทราบ ถ้าขณะทำบันทึกมี บิดา มารดา ผู้ปกครอง หรือบุคคลหรือผู้แทนองค์การซึ่งเด็กหรือเยาวชนอยู่ด้วย อยู่ด้วยในขณะนั้น ต้องกระทำต่อหน้าบุคคลดังกล่าว ๘. ห้ามมิให้ถามคำให้การผู้ถูกจับ และมิให้ศาลรับฟังถ้อยคำของเด็กหรือเยาวชนในชั้นจับกุมเป็นพยานเพื่อพิสูจน์ความผิดแต่นำมาฟังเป็นคุณแก่เด็กหรือเยาวชนได้ โดย นายประจีน ชอบทางศิลป์ ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดกาญจนบุรี

  16. แผนผังขั้นตอนการปฏิบัติในชั้นจับกุมแผนผังขั้นตอนการปฏิบัติในชั้นจับกุม การดำเนินการในชั้นเจ้าพนักงานผู้จับเมื่อจับกุมเด็กหรือเยาวชนแล้ว (มาตรา ๖๙) เจ้าพนักงานผู้จับทำบันทึกการจับกุม บิดา มาดา ผู้ปกครองหรือบุคคลหรือผู้แทนองค์การซึ่งเด็กหรือเยาวชนอาศัยอยู่ด้วย อยู่ด้วยในขณะจับ (ว.๒) อยู่ด้วยในขณะจับ ไม่ได้อยู่ด้วยในขณะจับ โดย นายประจีน ชอบทางศิลป์ ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดกาญจนบุรี

  17. แผนผังขั้นตอนการปฏิบัติในชั้นจับกุมแผนผังขั้นตอนการปฏิบัติในชั้นจับกุม อยู่ด้วยในขณะจับ ไม่ได้อยู่ด้วยในขณะจับ โทษจำคุกไม่เกิน ๕ ปี โทษจำคุกเกิน ๕ ปี เจ้าพนักงานผู้จับนำตัวส่ง พงส.เอง เจ้าพนักงานผู้จับจะสั่งให้บุคคลดังกล่าวนำตัวส่ง พงส.เอง พนักงานสอบสวนแห่งท้องที่ที่ถูกจับ พนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบ โดย นายประจีน ชอบทางศิลป์ ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดกาญจนบุรี

  18. การดำเนินคดีอาญา • การสอบสวน (ม.๗๐,๗๑) การสอบถามเบื้องต้น • กระทำในสถานที่ที่เหมาะสม • ใช้ถ้อยคำที่ทำให้เด็กหรือเยาวชน เข้าใจได้โดยง่าย - จัดหาล่ามให้ในกรณีเด็กหรือเยาวชนไม่สามารถสื่อสารหรือไม่เข้าใจภาษาไทย - หากประสงค์ติดต่อสื่อสารหรือปรึกษาหารือกับบิดามารดา ฯลฯและอยู่ในวิสัยที่ดำเนินการได้ ให้ พงส.ดำเนินการให้ ตามควรแก่กรณีโดยไม่ชักช้า - เมื่อ พงส.ได้รับตัวเด็กหรือเยาวชนซึ่งถูกจับหรือเด็กหรือเยาวชนถูกเรียกมา ส่งตัวมา เข้าหาพงส.เองให้พงส.ถามและแจ้งข้อเท็จจริง และแจ้งข้อกล่าวหาตาม ป.วิอาญา ม. ๑๓๔ โดยอนุโลม - พงส. แจ้งผู้อำนวยการสถานพินิจที่เด็กหรือเยาวชนนั้นอยู่ในเขตอำนาจเพื่อดำเนินการ ตาม ม.๘๒ โดย นายประจีน ชอบทางศิลป์ ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดกาญจนบุรี

  19. การสอบสวนคดีอาญา (หมวด ๖ ) : ชั้นสอบสวน การดำเนินการชั้นสอบสวน กรณีเด็กเข้าหาพนักงานสอบสวน (ม.๗๑) กรณีถูกจับ ( ม.๖๙) ดำเนินการตาม ป.วิ.อ. ม.๑๓๔ • การดำเนินการของพนักงานสอบสวน- สอบถามข้อมูลเบื้องต้น • แจ้งข้อกล่าวหาให้เด็กหรือเยาวชน รวมทั้งบิดา • มารดา ผู้ปกครอง บุคคลหรือองค์การ ที่เด็กอาศัยอยู่ทราบ • แจ้ง ผ.อ. สถานพินิจฯ เพื่อดำเนินการตาม • ม. ๘๒ (ม.๗๐) • สอบถาม ข้อมูลเบื้องต้น • แจ้งข้อกล่าวหา พิจารณาว่ามีเหตุออกหมายขังหรือไม่ มีเหตุออกหมายขัง สั่งให้ไปศาลเพื่อออกหมายขัง ไม่มีเหตุออกหมายขัง ให้ปล่อยตัวไป ดำเนินการตามมาตรา ๗๒ โดย นายประจีน ชอบทางศิลป์ ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดกาญจนบุรี

  20. ดำเนินการตามมาตรา ๗๒การตรวจสอบการจับ ส่งตัวไปศาลเพื่อตรวจสอบการจับ ใน ๒๔ ชั่วโมง คดีที่อาจเปรียบเทียบปรับได้ (ม. ๗๒ ว.ท้าย) พนักงานสอบสวนส่ง (ว.๑) บิดามารดานำส่ง (ว.๒) ชำระค่าปรับ • ศาลตรวจสอบการจับ (ม.๗๓) • -เป็นเด็กที่ต้องหาว่ากระทำความผิดหรือไม่ • การจับ หรือการปฏิบัติต่อเด็กหรือเยาวชนชอบหรือไม่ • ถ้ายังไม่มีที่ปรึกษากฏหมายให้ศาลแต่งตั้งให้ สิทธินำคดีอาญามาฟ้องระงับ ตาม ป.วิ.อ. ม. ๓๗ ประกอบ ม. ๓๙(๓) การจับชอบด้วยกฎหมาย การจับมิชอบด้วยกฎหมาย ปล่อยตัวไป โดย นายประจีน ชอบทางศิลป์ ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดกาญจนบุรี

  21. หากการจับเป็นไปโดยชอบด้วยกฎหมายหากการจับเป็นไปโดยชอบด้วยกฎหมาย มอบตัวเด็กหรือเยาวชนให้แก่ผู้ดูแลตาม ม.๗๓ ว.๑ เว้นแต่ ถ้าลักษณะหรือพฤติการณ์ที่เป็นภัยต่อบุคคลอื่นหรือมีเหตุสมควรประการอื่น ก็ให้ศาลส่งไปควบคุม ม. ๗๓ ว.๒ อายุไม่ถึง ๑๘ ปี บริบูรณ์ ม.๗๓ ว.๒ อายุตั้งแต่ ๑๘ ปีบริบูรณ์ขึ้นไป ม.๗๓ ว.๓ อายุเกิน ๒๐ปี บริบูรณ์ ม.๗๓ ว.๓ ควบคุมสถานที่อื่นตามกฎหมายและศาลเห็นสมควร ควบคุมสถานพินิจ ม.๗๓ ว.๒ ควบคุมเรือนจำหรือสถานที่อื่นตาม ป.วิ.อ. • ศาลมีอำนาจส่งเด็กหรือเยาวชน • เข้ารับการบำบัดรักษา • เข้ารับการปรึกษาแนะนำ • เข้าร่วมกิจกรรมบำบัดใดๆ ม.๗๓ ว.ท้าย ปล่อยชั่วคราว โดย นายประจีน ชอบทางศิลป์ ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดกาญจนบุรี

  22. การสอบสวน ม. ๗๕ • การสอบสวน • กระทำในที่ที่เหมาะสม ไม่เลือกปฏิบัติและไม่ปะปนกับผู้ต้องหาอื่นหรือบุคคลอื่น • ใช้ภาษาถ้อยคำที่เข้าใจง่าย • หากไม่สามารถสื่อสารหรือไม่เข้าใจภาษาไทยจัดล่ามให้หรือจัดหาเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกหรือช่วยเหลือตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง • แจ้งข้อกล่าวหาและสอบปากคำ เด็ก เยาวชน ต้องมีที่ปรึกษากฎหมาย ของเด็กหรือเยาวชนร่วมอยู่ด้วยทุกครั้ง • แจ้งว่าเด็กหรือเยาวชนมีสิทธิที่จะไม่ให้การหรือให้การก็ได้และถ้อยคำอาจใช้เป็นพยานหลักฐานในการพิจารณาคดี • การแจ้งข้อหาและสอบปากคำ บิดามารดา ผู้ปกครอง ฯลฯ จะเข้าร่วมฟังการสอบสวนดังกล่าวด้วยก็ได้ โดย นายประจีน ชอบทางศิลป์ ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดกาญจนบุรี

  23. การสอบสวน ห้ามมิให้ จพง.ผู้จับกุมเด็กหรือเยาวชนหรือพนง.สอบสวน จัดให้มีหรืออนุญาตให้มีหรือยินยอมให้มีการถ่ายภาพหรือบันทึกภาพเด็กหรือเยาวชนเว้นแต่เพื่อประโยชน์ในการสอบสวน (ม. ๗๖) โดย นายประจีน ชอบทางศิลป์ ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดกาญจนบุรี

  24. การสอบสวน - ในระหว่างการสอบสวน หากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับอายุของเด็กที่ถูกจับกุมหรือควบคุมให้ พงส. มีอำนาจดำเนินการสอบสวนตาม ป.วิ.อ. แต่หากปรากฏว่าเด็กนั้นมีอายุไม่เกิน ๑๐ ปี ในขณะกระทำความผิด ให้สถานพินิจหรือองค์การที่ควบคุมเด็กอยู่รายงานศาลทราบ เพื่อให้ศาลมีคำสั่งปล่อยตัวเด็ก และดำเนินการสอบสวนทำความเห็นตาม ป.วิ.อ.และกฎหมายว่าด้วย การคุ้มครองเด็ก (ม.๗๗) โดย นายประจีน ชอบทางศิลป์ ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดกาญจนบุรี

  25. การผัดฟ้อง หรือ ยื่นฟ้อง (ม.๗๘) โดย นายประจีน ชอบทางศิลป์ ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดกาญจนบุรี

  26. การผัดฟ้อง หรือ ยื่นฟ้อง (ม. ๗๘) (ต่อ)กรณียื่นฟ้องไม่ทันภายในกำหนด พงส.หรือพนง.อัยการยื่นคำร้องแสดงเหตุจำเป็น พงส.หรือพนง.อัยการยื่นคำร้องแสดงเหตุจำเป็น และต้องนำพยานเบิกความปรากฏเป็นที่พอใจแก่ศาล โดย นายประจีน ชอบทางศิลป์ ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดกาญจนบุรี

  27. การผัดฟ้อง หรือ ยื่นฟ้อง (ม.๗๘) - พงส. มีอำนาจผัดฟ้องต่อศาลที่ พงส.ผู้รับผิดชอบอยู่ในเขตอำนาจศาลได้ (ม.๗๘ ว.๔) - การพิจารณาคำร้องขอผัดฟ้อง ถ้าเด็กหรือเยาวชนยังไม่มีที่ปรึกษากฎหมายให้ศาลแต่งตั้งเพื่อแถลงข้อคัดค้านหรือซักถามพยาน (ม. ๗๘ ว.ท้าย) โดย นายประจีน ชอบทางศิลป์ ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดกาญจนบุรี

  28. (มาตรา ๗๙) • กรณีที่เด็กหรือเยาวชนผู้ต้องหาหลบหนีจากการควบคุมในระหว่างสอบสวน มิให้นับระยะเวลาที่หลบหนีนั้นรวมเข้าในกำหนดระยะเวลาตามมาตรา ๗๘ โดย นายประจีน ชอบทางศิลป์ ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดกาญจนบุรี

  29. ห้ามมิให้พนักงานอัยการฟ้องคดีเมื่อพ้นกำหนดระยะเวลาตามมาตรา ๗๘ เว้นแต่จะได้รับอนุญาต จากอัยการสูงสุด โดย นายประจีน ชอบทางศิลป์ ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดกาญจนบุรี

  30. อำนาจหน้าที่ของสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนตามมาตรา ๘๒ เมื่อผอ.สถานพินิจฯ ได้รับแจ้งการจับกุมเด็กหรือเยาวชน ตามมาตรา ๗๐ วรรคหนึ่งหรือได้รับตัวตามมาตรา ๗๓ ให้ดำเนินการดังนี้ ๑.สั่งให้พนง.คุมประพฤติสืบเสาะข้อเท็จจริงตามมาตรา ๓๖(๑) เว้นแต่คดีอาญาซึ่งมีอัตราโทษจำคุกไม่เกิน ๓ ปี โดย นายประจีน ชอบทางศิลป์ ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดกาญจนบุรี

  31. อำนาจหน้าที่ของสถานพินิจฯ (ต่อ) ๒.ทำรายงานในคดีที่มีการสืบเสาะเพื่อแสดงถึงข้อเท็จจริงและความเห็นเกี่ยวกับสาเหตุแห่งการกระทำผิดของเด็กหรือเยาวชนแล้วส่งรายงานแสดงความเห็นไปยังพงส.และพนง.อัยการและถ้ามีการฟ้องร้องเด็กหรือเยาวชนให้เสนอรายงานและความเห็นพร้อมทั้งความเห็นเกี่ยวกับ การลงโทษ หรือ การใช้วิธีการสำหรับเด็กและเยาวชนด้วย ๓.ให้ปฏิบัติต่อเด็กหรือเยาวชนที่อยู่ในความควบคุม โดยทำความสะอาดร่างกาย เปลี่ยนเครื่องแต่งกาย ให้แพทย์ตรวจสภาพร่างกายและจิตใจ และให้ได้รับการรักษาพยาบาลถ้าเจ็บป่วย โดย นายประจีน ชอบทางศิลป์ ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดกาญจนบุรี

  32. อำนาจหน้าที่ของสถานพินิจ ฯ ตามมาตรา ๙๙ • ห้ามมิให้ผู้เสียหายฟ้องคดีอาญาต่อเด็กหรือเยาวชน เว้นแต่ได้รับอนุญาตจากผู้อำนวยการสถานพินิจ แต่ถ้าไม่อนุญาตให้ฟ้องผู้เสียหายจะร้องต่อศาลขอให้สั่งอนุญาตก็ได้ คำสั่งศาลให้เป็นที่สุด โดย นายประจีน ชอบทางศิลป์ ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดกาญจนบุรี

  33. อำนาจหน้าที่สถานพินิจฯ ตามมาตรา ๑๐๐ • ก่อนที่ศาลจะอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องให้ศาลแจ้งผู้อำนวยการสถานพินิจ ทราบก่อนและถ้าผอ.สถานพินิจเห็นสมควรให้มีการคุมความประพฤติเด็กหรือเยาวชนนั้นก็ให้เสนอความเห็นต่อศาลศาลมีอำนาจว่ากล่าวตักเตือน หรือกำหนดเงื่อนไขการคุมความประพฤติ โดย นายประจีน ชอบทางศิลป์ ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดกาญจนบุรี

  34. มาตรการพิเศษแทนการดำเนินคดีอาญามาตรการพิเศษแทนการดำเนินคดีอาญา ๑.ชั้นก่อนฟ้องคดี (ในชั้นสถานพินิจ) มาตรา ๘๖ ซึ่งมีหลักเกณฑ์ ดังนี้ ๑.๑ คดีที่มีอัตราโทษจำคุกอย่างสูงไม่เกินห้าปี ๑.๒ เด็กหรือเยาวชนไม่เคยได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดกระทำโดยประมาท หรือ ความผิดลหุโทษ ๑.๓ เด็กหรือเยาวชนสำนึกในการกระทำก่อนฟ้องคดี ๑.๔ เมื่อคำนึงถึงประวัติ ความประพฤติ สติปัญญา การศึกษาอารมณ์ สภาพร่างกาย สภาพจิต อาชีพ ฐานะ และเหตุแห่งการกระทำผิด ผู้อำนวยการสถานพินิจเห็นว่าเด็กกลับตนเป็นคนดีได้โดยไม่ต้องฟ้อง ๑.๕ ต้องได้รับความยินยอมจากผู้เสียหายเด็กหรือเยาวชน โดย นายประจีน ชอบทางศิลป์ ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดกาญจนบุรี

  35. ๑.ชั้นก่อนฟ้องคดี (ในชั้นสถานพินิจ) ผอ.สถานพินิจแจ้งคำสั่งของพนง.อัยการให้พงส.และผู้เกี่ยวข้องทราบ เสนอความเห็น ผู้อำนวยการสถานพินิจฯจัดทำแผนแก้ไขบำบัดฟื้นฟู พนักงานอัยการ ประกอบแผน เพื่อพิจารณา เห็นชอบด้วย ไม่เห็นชอบด้วย สั่งดำเนินคดีต่อไป สั่งให้แก้ไข รายงานให้ศาลทราบ ศาลพิจารณาสั่งตามสมควรในกรณีที่กระบวนการจัดทำแผนแก้ไขบำบัดฟื้นฟูไม่ชอบด้วยกฎหมาย โดย นายประจีน ชอบทางศิลป์ ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดกาญจนบุรี

  36. ๑.ชั้นก่อนฟ้องคดี (ในชั้นสถานพินิจ) ต่อ ดำเนินการตามแผน ปฏิบัติตามแผนครบถ้วน ม.๘๘ วรรคสอง ฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามแผน ม.๘๘ วรรคหนึ่ง ผอ.สถานพินิจฯรายงานอัยการทราบอัยการเห็นชอบสั่งไม่ฟ้องคำสั่งไม่ฟ้องเป็นที่สุดสิทธินำคดีอาญามาฟ้องระงับไม่ตัดสิทธิ ผู้มีส่วนได้เสียดำเนินคดีส่วนแพ่ง ผอ.สถานพินิจรายงานอัยการทราบและแจ้งให้พนักงานสอบสวนดำเนินคดีต่อไป ผอ.สถานพินิจฯรายงานคำสั่งไม่ฟ้องให้ศาลทราบ โดย นายประจีน ชอบทางศิลป์ ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดกาญจนบุรี

  37. ในระหว่างจัดทำและปฏิบัติตามแผนแก้ไขบำบัดฟื้นฟู ให้พงส.หรือพนง.อัยการงดการสอบปากคำหรือดำเนินการใดๆเฉพาะกับเด็กหรือเยาวชนซึ่งกระทำผิดไว้ก่อน ทั้งนี้มิให้นับระยะเวลาในการจัดทำและการปฏิบัติตามแผนแก้ไขบำบัดฟื้นฟูรวมเข้าในกำหนดระยะเวลาตามมาตรา ๗๘ โดย นายประจีน ชอบทางศิลป์ ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดกาญจนบุรี

  38. มาตรการพิเศษแทนการดำเนินคดีอาญา (ต่อ) ๒. ชั้นศาล เมื่อมีการฟ้องคดีก่อนมีคำพิพากษา มาตรา ๙๐ มีหลักเกณฑ์ดังนี้ ๒.๑ เมื่อมีการฟ้องคดีแล้ว ๒.๒ คดีอาญาที่มีอัตราโทษอย่างสูงให้จำคุกไม่เกิน ๒๐ ปี ๒.๓ ไม่เคยได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก มาก่อน เว้นแต่เป็นความผิดกระทำโดยประมาท หรือ ความผิดลหุโทษ ๒.๔ เด็กหรือเยาวชนสำนึกในการกระทำ และผู้เสียหายยินยอม โจทก์ไม่คัดค้าน โดย นายประจีน ชอบทางศิลป์ ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดกาญจนบุรี

  39. มาตรการพิเศษแทนการดำเนินคดีอาญา (ต่อ) ๒. ชั้นศาล เมื่อมีการฟ้องคดีก่อนมีคำพิพากษา มาตรา ๙๐ (ต่อ) ๒.๕ เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าพฤติการณ์แห่งคดีไม่เป็นภัยร้ายแรง ต่อสังคมเกินควร ๒.๖ ศาลเห็นว่าเด็กหรือเยาวชนนั้นอาจกลับตนเป็นคนดีได้ ๒.๗ ผู้เสียหายอาจได้รับการชดเชยเยียวยาตามสมควร ๒.๘ หากนำวิธีจัดทำแผนแก้ไขบำบัดฟื้นฟูซึ่งเป็นประโยชน์ ต่ออนาคตของเด็กหรือเยาวชนและต่อผู้เสียหายมากกว่า การพิจารณา โดย นายประจีน ชอบทางศิลป์ ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดกาญจนบุรี

  40. ศาลสั่งให้ผอ.สถานพินิจหรือบุคคลที่ศาลเห็นสมควรจัดทำแผนแก้ไข บำบัดฟื้นฟู (ม.๙๐) ๒. ชั้นศาล เมื่อมีการฟ้องคดีก่อนมีคำพิพากษา (ต่อ) ศาลพิจารณา เห็นชอบด้วย ไม่เห็นชอบด้วย ดำเนินกระบวนการพิจารณาคดีต่อไป ศาลมีคำสั่งจำหน่ายคดีไว้ชั่วคราว ดำเนินการตามแผน โดย นายประจีน ชอบทางศิลป์ ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดกาญจนบุรี

  41. ๒. ชั้นศาล เมื่อมีการฟ้องคดีก่อนมีคำพิพากษา (ต่อ) ดำเนินการตามแผน ม.๙๒ ฝ่าฝืน/ไม่ปฏิบัติตามแผนแก้ไขบำบัดฟื้นฟูหรือมีเหตุจำเป็นต้องแก้ไขเปลี่ยนแปลงแผนแก้ไขบำบัดฟื้นฟู ปฏิบัติตามแผนแก้ไข บำบัด ฟื้นฟู ครบถ้วนแล้ว ให้ผอ.สถานพินิจหรือบุคคลที่ศาลสั่งให้จัดทำแผนแก้ไขบำบัดฟื้นฟูรายงานให้ศาลทราบ ให้ผอ.สถานพินิจหรือบุคคลที่ศาลสั่งให้จัดทำข้อตกลงรายงานให้ศาลทราบ หากศาลเห็นชอบให้มีอำนาจสั่งจำหน่ายคดีจากสารบบความและมีคำสั่งในเรื่องของกลางสิทธินำคดีอาญามาฟ้องระงับ ไม่ตัดสิทธิ ผู้มีส่วนได้เสียดำเนินคดีส่วนแพ่ง ศาลพิจารณาสั่งตามที่เห็นสมควรหรือยกคดีขึ้นพิจารณาต่อไป โดย นายประจีน ชอบทางศิลป์ ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดกาญจนบุรี

  42. การจัดทำแผนแก้ไขบำบัดฟื้นฟูการจัดทำแผนแก้ไขบำบัดฟื้นฟู • ข้อตกลง และการประชุมเพื่อจัดทำแผนบำบัดแก้ไขฟื้นฟู มาตรา ๙๑ • การประชุม - ให้ผอ.สถานพินิจหรือผู้ที่ศาลเห็นสมควรเป็นผู้ประสานการประชุม - ผู้เข้าร่วมประชุมได้แก่ ฝ่ายเด็กหรือเยาวชนซึ่งต้องหาว่ากระทำความผิด ฝ่ายผู้เสียหาย นักจิตวิทยา นักสังคมสงเคราะห์ และอาจมี ผู้แทนชุมชน หรือพนักงานอัยการก็ได้ โดย นายประจีน ชอบทางศิลป์ ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดกาญจนบุรี

  43. การจัดทำแผนแก้ไขบำบัดฟื้นฟูการจัดทำแผนแก้ไขบำบัดฟื้นฟู • ข้อตกลง และการประชุมเพื่อจัดทำแผนบำบัดแก้ไขฟื้นฟู ๒. ข้อตกลง -กำหนดเงื่อนไขให้เด็กหรือเยาวชน บิดามารดาผู้ปกครอง หรือบุคคลหรือผู้แทนองค์กร ซึ่งเด็กหรือเยาวชน อาศัยอยู่ด้วย โดย นายประจีน ชอบทางศิลป์ ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดกาญจนบุรี

  44. มาตรการพิเศษแทนการดำเนินคดีอาญามาตรการพิเศษแทนการดำเนินคดีอาญา ๓. ชั้นศาลก่อนมีคำพิพากษา มาตรา ๑๓๒ มีหลักเกณฑ์ดังนี้ -ในกรณีที่ศาลเห็นว่าตามพฤติการณ์แห่งคดียังไม่สมควรจะมีคำพิพากษา หรือ บิดา มารดา ผู้ปกครอง หรือบุคคลซึ่งจำเลยอาศัยอยู่ด้วยร้องขอ เมื่อศาลสอบถามผู้เสียหายแล้ว -ปฏิบัติตามเงื่อนไข ภายในเวลาที่ศาลกำหนด ศาลจะสั่งยุติคดีโดยไม่ต้องมีคำพิพากษา และให้ถือว่าสิทธิอันนำคดีอาญามาฟ้องเป็นอันระงับ - ผิดเงื่อนไข ศาลยกคดีขึ้นพิจารณาพิพากษาคดีต่อไป โดย นายประจีน ชอบทางศิลป์ ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดกาญจนบุรี

  45. การพิจารณาคดีคุ้มครองสวัสดิภาพการพิจารณาคดีคุ้มครองสวัสดิภาพ - กำหนดให้มีวีธีพิจารณาคดีคุ้มครองสวัสดิภาพให้เป็นอำนาจศาลสั่ง ซึ่งคำสั่งคุ้มครองสวัสดิภาพของศาลเป็นที่สุด ทั้งนี้เพื่อรองรับการยื่นคำร้องขอคุ้มครองสวัสดิภาพตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว โดย นายประจีน ชอบทางศิลป์ ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดกาญจนบุรี

  46. การพิจารณาคดีคุ้มครองสวัสดิภาพการพิจารณาคดีคุ้มครองสวัสดิภาพ • ผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว ญาติ หรือ พนักงานเจ้าหน้าที่ มีสิทธิร้องขอให้ศาลออกคำสั่งกำหนดมาตรการหรือวิธีการเพื่อบรรเทาทุกข์ตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัวได้ (มาตรา ๑๗๒) โดย นายประจีน ชอบทางศิลป์ ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดกาญจนบุรี

  47. การพิจารณาคดีคุ้มครองสวัสดิภาพการพิจารณาคดีคุ้มครองสวัสดิภาพ • ศาลจะทำการไต่สวนโดยมิชักช้า และออกคำสั่งคุ้มครองสวัสดิภาพ โดยห้ามผู้ถูกกล่าวหาเสพสุราหรือสิ่งมึนเมา ห้ามเข้าใกล้ที่อยู่อาศัยหรือที่ทำงานของผู้ร้องเป็นเวลาไม่เกินกว่า ๖ เดือน และอาจสั่งให้เข้ารักการบำบัดรักษา บำบัดฟื้นฟูตามเวลาที่ศาลกำหนด • คำสั่งคุ้มครองสวัสดิภาพให้เป็นที่สุด แต่ถ้าพฤติการณ์เปลี่ยนแปลงไปศาลมีอำนาจสั่งแก้ไขคำสั่งเดิมได้ (มาตรา ๑๗๓,๑๗๔) โดย นายประจีน ชอบทางศิลป์ ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดกาญจนบุรี

  48. การพิจารณาคดีคุ้มครองสวัสดิภาพการพิจารณาคดีคุ้มครองสวัสดิภาพ • ให้ศาลแจ้งคำสั่งคุ้มครองสวัสดิภาพไปยัง - พนักงานฝ่ายปกครอง หรือ - ตำรวจ ที่ผู้ถูกกล่าวหามีถิ่นที่อยู่หรือภูมิลำเนาในเขตอำนาจเพื่อทราบ • กรณีผู้ถูกกล่าวหาจงใจฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามคำสั่งคุ้มครองสวัสดิภาพโดยไม่มีเหตุอันสมควร ศาลมีอำนาจออกหมายจับผู้ถูกกล่าวหามาขังจนกว่าจะปฏิบัติตามคำสั่งแต่ไม่เกินกว่า ๑ เดือน (มาตรา ๑๗๖) โดย นายประจีน ชอบทางศิลป์ ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดกาญจนบุรี

More Related