1 / 8

โลกเกิดมาได้แล้วประมาณ 4600 ล้านปี โดยนักดาราศาสตร์สันนิษฐานว่า เกิดจากการหมุนวนของฝุ่นและแก๊ส

โลกเกิดมาได้แล้วประมาณ 4600 ล้านปี โดยนักดาราศาสตร์สันนิษฐานว่า เกิดจากการหมุนวนของฝุ่นและแก๊ส ในอวกาศที่ เรียกว่า  เนบิวลา แรงโน้มถ่วงระหว่างมวลทำให้ฝุ่นและแก๊สในอวกาศเกิดการยุบตัวและรวมกันจน ในที่สุดกลายเป็นระบบสุริยะ .

fauna
Télécharger la présentation

โลกเกิดมาได้แล้วประมาณ 4600 ล้านปี โดยนักดาราศาสตร์สันนิษฐานว่า เกิดจากการหมุนวนของฝุ่นและแก๊ส

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. โลกเกิดมาได้แล้วประมาณ 4600 ล้านปี โดยนักดาราศาสตร์สันนิษฐานว่า เกิดจากการหมุนวนของฝุ่นและแก๊ส ในอวกาศที่ เรียกว่า เนบิวลาแรงโน้มถ่วงระหว่างมวลทำให้ฝุ่นและแก๊สในอวกาศเกิดการยุบตัวและรวมกันจน ในที่สุดกลายเป็นระบบสุริยะ  ในปัจจุบัน พบว่าองค์ประกอบส่วนใหญ่เป็นหินอัคนี และหินแปร โดยมีหินชั้นประกอบอยู่น้อยมาก สามารถจำแนกตามประเภทและ ชนิดของหินโดยประมาณ พบเป็น หินอัคนี  95%  หินดินดาน  4%  หินทราย  0.75%  หินปูน  0.25%  โดยรวมหินแปรไว้ในหินต้นกำเนิดเหล่านี้แล้ว

  2. นักธรณีวิทยาศึกษาโครงสร้างภายในโลกจากการเดินทางของ “คลื่นซิสมิค” (Seismic waves) คือ คลื่นไหวสะทือนที่มีลักษณะคล้ายคลื่นแผ่นดินไหว ในการสำรวจโครงสร้างภายในของโลก ผลจากการตรวจวัดคลื่นไหวสะเทือนทำให้นักวิทยาศาสตร์ทราบว่าโครงสร้างภายในของโลกตามองค์ประกอบทางเคมีแสดงลักษณะเป็นชั้น แต่ละชั้นมีสมบัติทางกายภาพที่แตกต่างกัน เมื่อแบ่งโครงสร้างของโลกตามลักษณะมวลสารสามารถแบ่งออกเป็นชั้นใหญ่ 3 ชั้น คือ  1. ชั้นเปลือกโลก 2. ชั้นเนื้อโลก 3. ชั้นแก่นโลก

  3. เปลือกโลก(Crust) คือ ส่วนชั้นนอกสุดของโลก ประกอบด้วยส่วนที่อยู่ภายนอกที่เป็นแผ่นดินและน้ำกับส่วนที่เป็นหินแข็งซึ่งฝังลึกลงไปใต้ผิวดินและผิวน้ำ เปลือกโลกหนาประมาณ 6-35 กิโลเมตร เปลือกโลกแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ดังนี้ 1. เปลือกโลกภาคพื้นทวีป หมายถึง ส่วนที่เป็นแผ่นดินทั้งหมด ประกอบด้วย ธาตุซิลิคอนและอะลูมิเนียมเป็นส่วนใหญ่ มีสีจาง เรียกหินชั้นนี้ว่า หินไซอัล (Sial) ซึ่งเป็นหินแกรนิต 2.  เปลือกโลกใต้มหาสมุทร หมายถึง ส่วนของเปลือกโลกที่ปกคลุมด้วยน้ำ ประกอบด้วยธาตุซิลิคอนและแมกนีเซียมเป็นส่วนใหญ่ มีสีเข้ม เรียกหินชั้นนี้ว่า หินไซมา (sima) ซึ่งเป็นหินบะซอลต์

  4. ชั้นเนื้อโลก (mantle) เป็นชั้นที่อยู่ถัดลงไปจากเปลือกโลก ประกอบด้วยหินและแร่ธาตุต่าง ๆ หลายชนิด ซึ่งเป็นหินอัคนี ชั้นแมนเทิลมีความหนาประมาณ 3,000 กิโลเมตร  แบ่งเป็น 3 ชั้น คือ 1.ชั้นเนื้อโลกส่วนบน เป็นหินที่เย็นตัวแล้ว บางส่วนมีรอยแตก เนื่องจากความ เปราะ ชั้นเนื้อโลกส่วนบนกับชั้นเปลือกโลก รวมกันเรียกว่า ธรณีภาค (lithosphere) มีความหนาประมาณ 100 กิโลเมตรนับจากผิวโลกลงไป 2. ชั้นฐานธรณีภาค (asthenosphere) มีความลึก 1002350 กิโลเมตร เป็นชั้นที่มีแมกมา ซึ่งเป็นหินหนืดหรือหินหลอมละลายร้อนจัดประกอบด้วยธาตุซิลิกอน เหล็ก และอลูมิเนียม หมุนวนอยู่ภายในโลกอย่างช้าๆ 3. ชั้นเนื้อโลกชั้นล่างสุด อยู่ที่ความลึก 35022,900 กิโลเมตร เป็นชั้นที่เป็นของแข็งร้อนแต่แน่นและหนืดกว่าตอนบน มีอุณหภูมิสูงประมาณ 2,25024,500 องศาเซลเซียส

  5. ชั้นแก่นโลก (core) คือ ส่วนชั้นในสุดของเปลือกโลก ชั้นนี้หนาประมาณ 2,900 กิโลเมตรประกอบด้วยธาตุเหล็กและนิเกิลเป็นส่วนใหญ่ มีความหนาแน่นมาก มีทั้งส่วนที่เป็นของแข็งและของเหลว (หินหนืด) แก่นโลกแบ่งออกเป็น 2 ชั้น ดังนี้ 1. แก่นโลกชั้นนอก(Outer Core) อยู่ที่ความลึก 2,90025,100 กิโลเมตร เชื่อว่าประกอบด้วยสารเหลวร้อนของโลหะเหล็กและนิกเกิลเป็นส่วนใหญ่ มีความร้อนสูงมาก 2. แก่นโลกชั้นใน(Inner Core) อยู่ที่ความลึก 5,10026,370 กิโลเมตร มีส่วนประกอบเหมือนแก่นโลกชั้นนอก แต่อยู่ในสภาพแข็ง เนื่องจากมีความดันและอุณหภูมิสูงมาก อาจสูงถึง 6,000 องศาเซลเซียส

  6. ตารางแสดง โครงสร้างและองค์ประกอบของโลก

  7. ศึกษาเพิ่มเติมได้ที่ • วีดีโอเพิ่มเติม http://www.youtube.com/watch?v=xomr8odQdY0 http://www.youtube.com/watch?v=Glzh3Y1MlDc • ความรู้เพิ่มเติม http://www.nakhamwit.ac.th/pingpong_web/Earth_Struction.htm http://www.baanjomyut.com/library_2/changes_in_the_earth/04.html • สื่อการเรียนรู้เพิ่มเติม ครูติ๊ก http://www.learnbytechno.com/

More Related