1 / 68

Production Planning and Control 142 - 405

Production Planning and Control 142 - 405. ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชธานี โดย อาจารย์กริชชนะ คันธนู Kritchana_k@hotmail.com. บทที่ 1 บทนำ. บทนำ.

felton
Télécharger la présentation

Production Planning and Control 142 - 405

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. Production Planning and Control142 - 405 ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชธานี โดย อาจารย์กริชชนะ คันธนู Kritchana_k@hotmail.com

  2. บทที่ 1 บทนำ

  3. บทนำ การวางแผนและการควบคุมการผลิตเป็นเครื่องมือที่ถูกนำมาใช้เพื่อใช้ตัดสินใจเกี่ยวกับความต้องการด้านทรัพยากรในการผลิตรวมไปถึงการจัดตารางการผลิต เพื่อให้ได้ผลผลิตเป็นไปตามแผนที่วางไว้ ทั้งเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณและเวลา โดยที่ต้นทุนในการผลิตต่ำที่สุด

  4. ระบบการผลิต คือ กระบวนการสร้างผลิตภัณฑ์ประเภทใดประเภทหนึ่งขึ้นมา จากการนำทรัพยากรหรือปัจจัยเข้าสู่การดำเนินการผลิตตามลำดับขั้น เพื่อให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ที่ต้องการ จึงจำเป็นต้องมีการจัดการให้อยู่ในรูปแบบการผลิต ซึ่งประกอบไปด้วย 3 ส่วนที่สำคัญคือ ปัจจัยการผลิต (Input) กระบวนการแปลงสภาพ (Conversion Process) และผลผลิต (Output)

  5. ระบบการผลิต(ต่อ)

  6. ระบบการผลิต(ต่อ) การผลิตที่มีประสิทธิภาพนั้น จะต้องคำนึงถึงปัจจัยด้านปริมาณ คุณภาพ เวลา และราคา โดยใช้การวางแผนและควบคุมการผลิตเป็นแกนกลาง กิจกรรมต่างๆในกระบวนการผลิตสามารถจำแนกได้ 3 ขั้นตอน คือ การวางแผน เป็นขั้นตอนการวิเคราะห์ข้อมูลที่มีอยู่และวางแผนการใช้ทรัพยากรให้ตรงตามเป้าหมาย และเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ในแผนการผลิตจะกำหนดเป้าหมายย่อยไว้ เพื่อให้ทำตามและมุ่งสู่เป้าหมายหลักในที่สุด

  7. ระบบการผลิต(ต่อ) การดำเนินการ เป็นขั้นการดำเนินการ ซึ่งจะเริ่มได้ก็ต่อเมื่อรายละเอียดต่างๆในขั้นตอนการวางแผนเรียบร้อย การควบคุม คือขั้นตอนของการตรวจสอบให้คำแนะนำและติดตามผลเกี่ยวกับการดำเนินงาน โดยใช้ข้อมูลป้อนกลับผ่านกลไกการควบคุม โดยกลไกนี้จะทำหน้าที่ปรับปรุงแผนงานและเป้าหมายเพื่อให้บรรลุเป้าหมายหลัก

  8. เป้าหมายของการวางแผนและควบคุมการผลิตเป้าหมายของการวางแผนและควบคุมการผลิต เพื่อผลิตสินค้าและบริการได้ตามปริมาณ เวลา คุณภาพ และเสียค่าใช้จ่ายต่ำสุด ซึ่งอาจแยกแยะออกได้ดังนี้ 1. เพื่อเปลี่ยนการสั่งซื้อให้อยู่ในรูปแผนการผลิตอย่างประหยัด 2. เพื่อให้หน่วยงานต่างๆมีการประสานงานกันได้ดีขึ้น 3. เพื่อลดต้นทุนการผลิต โดยการจัดตารางการผลิตและวิธีอื่นๆ 4. เพื่อช่วยให้ได้ผลผลิตที่ค่อนข้างคงที่ 5. เพื่อให้มีวัสดุให้ใช้อย่างเพียงพอ 6. เพื่อลดเวลาในการผลิตให้น้อยที่สุด 7. เพื่อลดการติดตามงานให้น้อยลง 8. เพื่อลดเวลาในด้านการจัดการและให้คำแนะนำ 9. เพื่อทราบข้อมูลเกี่ยวกับการผลิตให้รวดเร็วและแก้ไขได้

  9. ขอบข่ายของการวางแผนและควบคุมการผลิตขอบข่ายของการวางแผนและควบคุมการผลิต การวางแผนและควบคุมการผลิตในระยะยาว คือ การวางแผนในช่วงเวลาที่นานกว่า 1 ปี โดยทั่วไปจะอยู่ระหว่าง 3-5 ปี จุดประสงค์เพื่อการตัดสินใจงานในอนาคต การวางแผนและควบคุมการผลิตในระยะสั้น คือ การวางแผนในช่วงเวลา 1 ปี หรือน้อยกว่า สามารถเปลี่ยนแปลงได้ในวงจำกัด สิ่งหนึ่งที่สำคัญที่ต้องนำมาพิจารณาคือค่าพยากรณ์ความต้องการในช่วง 12 เดือน แล้วนำมาแปลค่าเป็นแผนการผลิตโดยคำนึงถึงทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัด ให้ได้ประโยชน์สูงสุด ทั้งนี้การวางแผนระยะสั้นสามารถเปลี่ยนแปลงได้เพื่อมให้เสียค่าใช้จ่ายต่ำสุด

  10. ชนิดของการวางแผนการผลิตชนิดของการวางแผนการผลิต การวางแผนการผลิตมี 2 แบบ คือ การผลิตแบบทำตามสั่ง คือ การผลิตผลิตภัณฑ์ตามที่ลูกค้าต้องการ ส่วนใหญ่จะผลิตในปริมาณที่ไม่มากนัก แต่จะมีประเภทของผลิตภัณฑ์อยู่หลากหลาย ดังนั้น เครื่องจักรที่นำมาใช้ส่วนใหญ่จะเป็นแบบอเนกประสงค์ และการวางแผนการผลิตต้องมีความยื่นหยุ่นให้มากเพื่อสามารถปรัเปลี่ยนได้ตามงาน การผลิตแบบต่อเนื่อง คือ การผลิตผลิตภัณฑ์ที่เป็นมาตรฐาน มีจำนวนน้อยชนิด ปริมาณความต้องการแน่นอน และผลิตในปริมาณมาก เครื่องจักรและอุปกรณ์จะเป็นแบบเฉพาะ เพื่อการผลิตอย่างต่อเนื่อง

  11. หน้าที่การวางแผนและควบคุมการผลิตหน้าที่การวางแผนและควบคุมการผลิต การวางแผนและควบคุมการผลิตเป้นเครื่องมือในการจัดการให้สามารถทำงานให้บรรลุเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพ ในเวลาที่กำหนด และเสียค่าใช้จ่ายต่ำสุด โดยทั่วไปการวางแผนและควบคุมการผลิตประกอบด้วยหน่วยงาน 3 หน่วยงานคือ หน่วยงานวางแผนการผลิต มีหน้าที่หลักๆคือ - จัดทำงบประมาณการผลิต - กำหนดรายการวัสดุ - วางแผนกรรมวิธี - หารายละเอียดของเครื่องจักร

  12. หน้าที่การวางแผนและควบคุมการผลิต(ต่อ)หน้าที่การวางแผนและควบคุมการผลิต(ต่อ) - วางแผนดำเนินงาน - กะประมาณเวลา - กำหนดตารางการผลิต หน่วยงานควบคุมการผลิต จะมีหน้าที่รับผิดชอบ คือ - การออกคำสั่งผลิต - การติดตามงาน - ศึกษาการเคลื่อนไหวและเวลา - การขนส่ง

  13. หน้าที่การวางแผนและควบคุมการผลิต(ต่อ)หน้าที่การวางแผนและควบคุมการผลิต(ต่อ) หน่วยงานควบคุมวัสดุคงคลัง มีหน้าที่หลักๆดังนี้ - การบริหารงานวัสดุ - การควบคุมปริมาณวัสดุ - การจัดซื้อวัสดุ - การรับวัสดุ - กำหนดชนิดของผลิตภัณฑ์

  14. ความสัมพันธ์ระหว่างการวางแผนและควบคุมการผลิตกับหน้าที่อื่นๆในบริษัทความสัมพันธ์ระหว่างการวางแผนและควบคุมการผลิตกับหน้าที่อื่นๆในบริษัท หน้าที่การวางแผนและควบคุมการผลิตจะเป็นตัวเชื่อมระหว่างหน่วยงานต่างๆ เพื่อให้แผนการผลิตประสบผลสำเร็จ ซึ่งความเกี่ยวพันระหว่างการวางแผนและควบคุมการผลิตกับหน้าที่อื่นๆมีรายละเอียดดังนี้ ความเกี่ยวพันกับการขายหรือการตลาด เพื่อช่วยเหลือฝ่ายขายในเรื่องของกำหนดเวลาส่งสินค้า หรือผลิตสินค้าคงคลังให้พอเพียงความต้องการของลูกค้า ความเกี่ยวพันกับหน่วยงานวิศวกรรมการผลิต เพื่อให้ข้อมูลต่างๆในเรื่องเวลาทำงานจริง เพื่อให้งานวิศวกรรมสามารถทำการผลิตได้ตามลักษณะที่ต้องการ

  15. ความสัมพันธ์ระหว่างการวางแผนและควบคุมการผลิตกับหน้าที่อื่นๆในบริษัท(ต่อ)ความสัมพันธ์ระหว่างการวางแผนและควบคุมการผลิตกับหน้าที่อื่นๆในบริษัท(ต่อ) ความเกี่ยวพันกับหน่วยงานวิศวกรรมอุตสาหการ ในอุตสาหกรรมใหญ่ๆจะมีฝ่ายวิศวกรอุตสาหการในการรับผิดชอบด้านต่างๆ เช่น การวิจัยปรับปรุงการผลิต การควบคุมต้นทุน เป็นต้น การวางแผนและควบตุมการผลิตจะต้องทำงานกับวิศวกรอุตสาหการเพื่อเตรียมแผนภูมิภาระงาน และจัดตารางการผลิต ความเกี่ยวพันกับหัวหน้างานฝ่ายผลิต ในกรณีที่มีการปรับปรุงกระบวนการผลิตฝ่ายวางแผนต้องประสานกับหัวหน้าฝ่ายผลิตเพื่อให้ทราบถึงกระบวนการผลิต และทำการวางแผนการปฏิบัติงานและจัดตารางการผลิตได้ถูกต้อง

  16. บทที่ 2การพยากรณ์

  17. ความหมายของการพยากรณ์ความหมายของการพยากรณ์ คือ ความพยายามในอันที่จะมองเหตุการณ์ในอนาคต โดยดูจากอดีต และประกอบไปด้วยการประมาณค่าขนาดของตัวแปรต่างๆโดยไม่ลำเอียง ซึ่งการประมาณค่าส่วนใหญ่ที่ได้จากการพยากรณ์ หามาจากวิธีการที่เป็นระบบ แล้วแต่ผู้วิเคราะห์จะทำการเลือกเครื่องมือใด ตัวแบบและความคลาดเคลื่อน ในการพยากรณ์จะมีความแตกต่างระหว่างการพยากรณ์กับค่าจริง ปัญหาการพยากรณ์จึงแบ่งได้ 2 ส่วน คือ การคาดคะเนหรือการพยากรณ์และการหาค่าเบี่ยงเบน ซึ่งอาจใช้กราฟเป็นตัวแสดงตัวแปรที่เราพยากรณ์ แต่หากต้องการความแน่นอนก็ต้องใช้สูตรทางคณิตศาสตร์ ทั้งนี้ในการพยากรณ์ต้องพยายามใช้วิธีที่ให้ความคาดเคลื่อนต่ำที่สุด

  18. ความหมายของการพยากรณ์ความหมายของการพยากรณ์ มิติของการพยากรณ์ การพยากรณ์จะมีความแตกต่างกันไปตามการนำไปใช้ มีการแบ่งการพยากรณ์ในแง่ต่างๆดังนี้ - แง่มหภาคและจุลภาค การพยากรณ์ในแง่มหภาคมีรูปแบบกว้างๆใช้มาตรการต่างๆที่ดูแลส่วนใหญ่ ส่วนในแง่ของจุลภาค คือ การพยากรณ์ที่เป็นไปตามสถานการณ์เฉพาะหน้าของบริษัทนั้นๆ - แง่ระยะสั้นและระยะยาว ในบางครั้งจะครอบคลุมถึงเหตุการณ์อันใกล้ เช่น 1 เดือน หรือ 1 ปี เป็นระยะสั้น หากเกินกว่า 3 ปี เรียกว่าการพยากรณ์ระยะยาวการพยากรณืระยะสั้นคือ การพยากรณ์เพื่อการตัดสินใจที่บ่อยครั้ง ส่วนระยะยาวจะแสดงผลที่น่าจะเกิดขึ้นในระยะยาวเพื่อหาช่วยการตัดสินใจของฝ่ายบริหาร

  19. ลักษณะทางการพยากรณ์ โดยทั่วไปการพยากรณ์เกี่ยวข้องกับขั้นตอนต่างๆดังนี้ กำหนดวัตถุประสงค์ ทั้งนี้เพื่อให้ทราบสิ่งที่ต้องการจากการพยากรณ์แล้วกำหนดว่า - ต้องมีการประมาณค่าตัวแปรใดบ้าง - ใครจะเป็นผู้ใช้ผลของการพยากรณ์ - วัตถุประสงค์ที่จะถูกนำไปใช้ - การพยากรณ์นี้จะทำในระยะสั้นหรือระยะยาว - ต้องการระดับความถูกค้องแม่นยำเพียงใด - ต้องการทราบผลเมื่อใด - ต้องแบ่งการพยากรณ์ออกเป็นหน่วยย่อยๆหรือไม่

  20. ลักษณะทางการพยากรณ์(ต่อ)ลักษณะทางการพยากรณ์(ต่อ) การสร้างตัวแบบ หลังจากได้วัตถุประสงค์แล้วผู้พยากรณ์ก็ต้องสร้างตัวแบบโดยพยายามหาตัวแบบที่สามารถอธิบายตัวแปรต่างๆได้อย่างเหมาะสมที่สุด ซึ่งความถูกต้องและคงามน่าเชื่อถือขึ้นอยู่กับตัวแบบ การทดสอบตัวแบบ เพื่อทดสอบหาค่าความผิดพลาดโดยอาศัยข้อมูลย้อนหลังประมาณค่าปัจจุบัน หรือพิจารณาเปรียบเทียบกับตัวแบบอื่นๆ การนำตัวแบบไปใช้ ทำการพยากรณ์ตามตัวแบบนั้นๆ การประเมินแก้ไขตัวแบบ เพื่อทำการปรับปรุงแก้ไขตัวแบบ ให้มีความสอดคล้องกับสิ่งที่ต้องการพยากรณ์มากที่สุด

  21. ประเภทของการพยากรณ์ แบ่งออกได้ 2 ประเภท การพยากรณ์เชิงปริมาณ เป็นการสร้างตัวแบบจากข้อมูลในอดีต เพื่อพยากรณ์ค่าในอนาคต เช่น เทคนิค Least Square วิธีหาค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ เป็นต้น การพยากรณ์เชิงคุณภาพ ใช้กับปัญหาที่ต้องการพยากรณ์เกี่ยวกับคุณภาพหรือไม่อาศัยข้อมูลย้อนหลัง หรือมีข้อมูลไม่มากพอในการสร้างตัวแบบ หรือ สิ่งที่ต้องการพยากรณ์เป็นเชิงคุณภาพ

  22. เทคนิคการพยากรณ์ ในการใช้ตัวแบบเชิงปริมาณเพื่อการพยากรณ์นั้น สิ่งสำคัญที่ต้องรู้คือ ข้อมูลในอดีตที่ผ่านมาเพื่อใช้ในการพยากรณ์ ตัวแบบที่นิยมใช้กันมาก คือ การวิเคราะห์อนุกรมเวลา ซึ่งเป็นการใช้ข้อมูลในอดีตเพื่อการพยากรณ์ หรือคาดหมายสิ่งที่จะเกิดในอนาคต ข้อมูลจากอดีตที่ได้เมื่อนำมาเขียนเป็นจุดในกราฟซึ่งแกนของเวลาและสิ่งที่ต้องการพยากรณ์ เช่น ยอดขาย หรือปริมาณการผลิต เป็นต้น

  23. การวัดความแม่นยำของการพยากรณ์การวัดความแม่นยำของการพยากรณ์ 1. การวัดค่าความคลาดเคลื่อนแบบค่าแตกต่างสัมบูรณ์เฉลี่ย (Mean Absolute Deviation) MAD 2. การวัดค่าความคลาดเคลื่อนแบบค่าผิดพลาดกำลัวสองเฉลี่ย (Mean Squared Error) MSE 3. การวัดค่าความคลาดเคลื่อนแบบเปอร์เซ็นต์ผิดพลาดสมบูรณ์เฉลี่ย (Mean Absolute Percent Error) MAP

  24. ตัวอย่างอนุกรมเวลา

  25. วิธี Least Square สมมติฐานของวิธีนี้ คือ 1. สิ่งที่ต้องการพยากรณ์กับเวลาต้องมีความสัมพันธ์กันโดยตรง 2. ความสัมพันธ์ที่มีมาในอดีตจะคงต่อไปถึงเวลาที่พยากรณ์ 3. ปัจจัยที่มีผลต่อแนวโน้มอย่างเดียวเท่านั้น สมการ Least Square คือ

  26. วิธี Least Square (ต่อ) โดยที่ คือ ค่าที่ได้จากการพยากรณ์ คือ เวลา a และ b คือ ค่าคงที่ของสมการเส้นตรง สมการ Least Square คือ สมการที่ทำให้ผลรวมกำลังสองของความคาดเคลื่อนมีค่าน้อยสุดดังสมการ

  27. วิธี Least Square (ต่อ) การหาค่า a และ b สามารถหาได้โดยการหาอนุพันธ์ของสมการที่ผ่านมา เทียบกับ a และ b แล้วเทียบให้เป็น 0 แล้วจะได้ดังนี้ หรือ

  28. ตัวอย่าง Least Square Ex3.1 จากข้อมูลด้านการขาย 5 ปีที่ผ่านมาดังแสดงต่อไปนี้จงพยากรณ์ปริมาณการขายในปี พ.ศ.2531 พร้อมหาค่า Error Ex3.2 จากข้อมูลยอดขาย 7 เดือน ที่ผ่านมาของเครื่องกรองน้ำ จงพยากรณ์ยอดขายในเดือนที่ 8 พร้อมหาค่า Error

  29. ตัวอย่าง Least Square(ต่อ) Sol.

  30. ตัวอย่าง Least Square(ต่อ) แต่ถ้าให้ พ.ศ. 2528 เป็นปีเริ่มต้นจะได้

  31. ตัวอย่าง Least Square(ต่อ) ทั้งสองวิธีจะได้คำตอบเท่ากัน คือ ใน พ.ศ. 2531 จะมียอดขาย 13.19 ล้านบาท

  32. Least Square แบบเอกซ์โพเนนเชียล ในกรณีที่ข้อมูลมีแนวโน้มเป็นเส้นโค้งแบบเอกซ์โพเนนเชียล ตามสมการนี้ จากสมการข้างต้นสามารถแปลงเป็นสมการเส้นตรงได้ดังนี้ แล้วการหา a และ b ก็เหมือนกับ Least Square

  33. ตัวอย่าง Least Square แบบเอกซ์โพฯ Ex3.2จากตัวอย่าง 3.1 จงหาค่าพยากรณ์ในปีพ.ศ. 2531 โดยใช้สมการ least square แบบเอกซ์โพเนนเชียล

  34. ตัวอย่าง Least Square แบบเอกซ์โพฯ(ต่อ) ค่าพยากรณ์การขายในปี พ.ศ. 2531 เป็น 13.23 ล้านบาท

  35. การพยากรณ์โดยวิธีหาค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่การพยากรณ์โดยวิธีหาค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ เป็นวิธีที่เหมาะสำหรับการพยากรณ์ระยะสั้น และค่าตัวแปรที่ต้องการพยากรณ์มีการเปลี่ยนแปลงไม่มากนักในหน่วยเวลาที่ทำการพยากรณ์ดังสมการในการพยากรณ์นี้ เมื่อ Ft คือ ค่าพยากรณ์สำหรับเวลาที่ t Yt คือ ค่าจริงที่เกิดขึ้น ณ เวลา t N คือ จำนวนข้อมูลที่ใช้ในการหาค่าเฉลี่ย

  36. ตัวอย่างการพยากรณ์แบบหาค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ตัวอย่างการพยากรณ์แบบหาค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ Ex3.3 จากข้อมูลในแต่ละเดือนของยอดขายดังแสดงในตารางต่อไปนี้ จงพยากรณ์การขายในเดือนมกราคมของปีถัดไป โดยที่ให้หาเมื่อ n=3 และ n=4

  37. ตัวอย่างการพยากรณ์แบบหาค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่(ต่อ)ตัวอย่างการพยากรณ์แบบหาค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่(ต่อ) เมื่อ n=3

  38. ตัวอย่างการพยากรณ์แบบหาค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่(ต่อ)ตัวอย่างการพยากรณ์แบบหาค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่(ต่อ)

  39. การพยากรณ์โดยวิธีหาค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่การพยากรณ์โดยวิธีหาค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ ในกรณีที่ให้ความสำคัญแก่ข้อมูลที่มีอยู่ไม่เท่ากัน จะได้สมการที่ใช้ในการพยากรณ์ คือ เมื่อ เป็นน้ำหนักหรือความสำคัญของข้อมูล ณ เวลา t

  40. ตัวอย่างการพยากรณ์แบบหาค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ตัวอย่างการพยากรณ์แบบหาค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ Ex 3.4 จากตัวอย่าง 3.3 จงพยากรณ์การขายในเดือนมกราคมในปีถัดไป โดยใช้ข้อมูลเพื่อหาค่าเฉลี่ยจำนวน 3 เดือนย้อนหลัง กำหนดให้ความสำคัญของข้อมูลเดือนก่อนมีน้ำหนัก 3 สองเดือนก่อนมีน้ำหนัก 2 สามเดือนก่อนมีน้ำหนัก 1 Sol. สมการการพยากรณ์

  41. ตัวอย่างการพยากรณ์แบบหาค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ตัวอย่างการพยากรณ์แบบหาค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่

  42. ตัวอย่างการพยากรณ์แบบหาค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่(ต่อ)ตัวอย่างการพยากรณ์แบบหาค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่(ต่อ)

  43. การพยากรณ์โดยวิธีปรับเรียบการพยากรณ์โดยวิธีปรับเรียบ การพยากรณ์ในแต่ละช่วงเวลาไม่ได้นำเอาผลการพยากรณ์ในช่วงเวลาที่ผ่านมาแล้วประกอบในการพยากรณ์ด้วย การพยากรณ์แบบวิธีปรับเรียบเป็นวิธีที่นำเอาผลการพยากรณ์ที่ผ่านมาแล้วไปใช้ในการพยากรณ์ของช่วงเวลาถัดไปด้วย วิธีปรับเรียบแบบซิงเกิลเอกซ์โพเนนเชียลเหมาะสำหรับพยากรณ์ระยะสั้น ข้อมูลไม่มีแนวโน้มและผลจากฤดูกาล มีสมการดังนี้ เมื่อ เป็นค่าพยากรณ์ ณ เวลา t เป็นค่าจริงที่เกิดขึ้น ณ เวลา t เป็นค่าคงที่ปรับเรียบ

  44. ตัวอย่างซิงเกิลเอกซ์โพเนนเชียลตัวอย่างซิงเกิลเอกซ์โพเนนเชียล Ex3.5จาก 3.4 จงพยากรณ์ด้วยวิธีซิงเกิลเอกซ์โพเนนเชียล เมื่อ ค่า α= 0.3 และ α= 0.7 Sol.

  45. ตัวอย่างซิงเกิลเอกซ์โพเนนเชียลตัวอย่างซิงเกิลเอกซ์โพเนนเชียล

  46. การพยากรณ์โดยวิธีปรับเรียบการพยากรณ์โดยวิธีปรับเรียบ วิธีปรับเรียบแบบดับเบิ้ลเอกซ์โพเนนเชียล เป็นวิธีการปรับเรียบโดยนำค่าของการพยากรณ์มาปรับเรียบซ้ำอีกครั้งเพื่อพยายามลดปัจจัยอันเกิดจากการเปลี่ยนแปลที่อธิบายไม่ได้ โดยมีสมการดังนี้ เมื่อ ค่าพยากรณ์จากซิงเกิลเอกซ์โพฯ ค่าจริง ณ เวลาที่ t ค่าพยากรณ์จากดับเบิ้ลเอกซ์โพฯ

  47. ตัวอย่างดับเบิ้ลเอกซ์โพเนนเชียลตัวอย่างดับเบิ้ลเอกซ์โพเนนเชียล Ex3.6จากตัวอย่างที่ 3.4 ให้ใช้วิธีดับเบิ้ลเอกซ์โพเนนเชียล โดยกำหนดให้ α=0.3

  48. ตัวอย่างดับเบิ้ลเอกซ์โพเนนเชียลตัวอย่างดับเบิ้ลเอกซ์โพเนนเชียล

  49. วิธีปรับเรียบเมื่อค่าคงที่ปรับเรียบเปลี่ยนแปลงได้วิธีปรับเรียบเมื่อค่าคงที่ปรับเรียบเปลี่ยนแปลงได้ ที่ผ่านมาค่าคงที่ปรับเรียบมีค่าคงที่ตลอดเวลา แต่วิธีที่ค่าคงที่ปรับเรียบเปลี่ยนแปลงได้คือ Adaptive-Response-Rate Single Exponential Smoothing โดยมีสมการสำหรับพยากรณ์

  50. วิธีปรับเรียบเมื่อค่าคงที่ปรับเรียบเปลี่ยนแปลงได้วิธีปรับเรียบเมื่อค่าคงที่ปรับเรียบเปลี่ยนแปลงได้ โดยที่ Etความคลาดเคลื่อนจากการปรับเรียบ ณ เวลา t Mtความคลาดเคลื่อนสมบูรณ์จากการปรับเรียบ ณ เวลาที่ t et ความคลาดเคลื่อนจากการพยากรณ์ ณ เวลา t Ftค่าพยากรณ์ ณ เวลาที่ t Ytค่าจริงที่เกิดขึ้น ณ เวลาที่ t αt, β tค่าคงที่สำหรับการปรับเรียบ

More Related