1 / 23

Quantitative Easing (QE)

Quantitative Easing (QE). บทความ เรื่อง US QE : ผลต่อสหรัฐอเมริกาและเอเชีย เขียนโดย ณัฐา ปิ ยะ กาญจน์ และ ธนวัฒน์ รื่นบันเทิง สรุปได้ดังนี้

giles
Télécharger la présentation

Quantitative Easing (QE)

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. Quantitative Easing (QE)

  2. บทความ เรื่อง US QE : ผลต่อสหรัฐอเมริกาและเอเชีย เขียนโดย ณัฐาปิยะกาญจน์ และธนวัฒน์ รื่นบันเทิง สรุปได้ดังนี้ ปลายปี 2008 เศรษฐกิจสหรัฐอเมริกาประสบภาวะถดถอยอย่างรุนแรง ธนาคารกลางสหรัฐอเมริกา (Fed) ได้ลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงจนเข้าใกล้ร้อยละ 0 แต่ไม่สามารถช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจให้ดีขึ้นได้ Fed จึงออกมาตรการ Quantitative Easing เพื่อช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจ Fed ได้ออกมาตรการ QE ทั้งสิ้น 2 ครั้ง การเข้าซื้อพันธบัตรรัฐบาลและตราสาร ทำให้เงินสดสำรองในบัญชีของสถาบันการเงินที่ฝากไว้กับ Fed เพิ่มขึ้น ส่งผลให้ interest rate risk ลดลง ส่วนการซื้อสินทรัพย์เสี่ยงเป็นการลด credit risk ทำให้ความเสี่ยงของ portfolio ของสถาบันการเงินลดลง จึงปล่อยกู้ได้มากขึ้น ขณะเดียวกันอัตราดอกเบี้ยในตลาดที่ลดลง ช่วยให้เอกชนระดมทุนได้ถูกลง การเข้าซื้อพันธบัตรของ Fed ช่วยให้ราคาพันธบัตรสูงขึ้นปริมาณเงินและราคาสินทรัพย์ที่เพิ่มขึ้น ส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อปรับสูงขึ้น ลดภาวะเงินฝืด วรรณกรรมปริทัศน์

  3. มาตรการ QE1 ประสบผลสำเร็จในระดับหนึ่ง เพราะช่วยให้ตลาดเงินทำงานเป็นปกติมากขึ้น แต่ผลในการกระตุ้นเศรษฐกิจไม่ชัดเจน QE2 ช่วยให้อัตราเงินเฟ้อที่คาดการณ์ปรับเพิ่มขึ้น และช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจจากการที่อัตราผลตอบแทนระยะยาวปรับลดลง ผลทางอ้อมจากการทำ QE ทำให้เงินดอลลาร์สหรัฐฯ อ่อนค่าลง ส่งผลดีต่อการส่งออก การทำ QE ของ Fed ส่งผลให้มีเงินทุนไหลเข้ามาในภูมิภาคเอเชียมากขึ้น แต่ผลในช่วงแรกของ QE1 ไม่เห็นผล เนื่องจากเศรษฐกิจที่เข้าสู่ภาวะถดถอยทั่วโลก เงินทุนจึงไหลออกจากภูมิภาคและค่าเงินภูมิภาคอ่อนค่าลง สำหรับ QE2 เศรษฐกิจโลกอยู่ในช่วงของการฟื้นตัว ทำให้เงินทุนไหลเข้าสู่เศรษฐกิจเอเชียที่กำลังขยายตัว ประกอบกับสภาพคล่องในระบบที่เพิ่มขึ้นจาก QE2 จึงเสริมให้เงินทุนเคลื่อนย้ายเข้าอย่างต่อเนื่อง ทำให้เกิดความเสี่ยงภาวะฟองสบู่ในเอเชียเพิ่มขึ้น QE2 ยังมีส่วนเพิ่มให้เกิดภาวะเงินเฟ้อในเอเชีย จากเงินดอลลาร์สหรัฐฯ อ่อนค่าลง กับสภาพคล่องในระบบการเงินโลกที่เพิ่มขึ้น ดังนั้น ธนาคารกลางในภูมิภาคเอเชีย ต้องรับมือกับเงินทุนที่อาจไหลเข้ามาก ควบคู่กับระวังความเสี่ยงฟองสบู่ราคาสินทรัพย์และแรงกดดันด้านเงินเฟ้อ

  4. นโยบายผ่อนคลายทางการเงิน (QE) เพิ่งจะมีมาเมื่อประมาณ 10 ปีก่อน ซึ่งใช้ครั้งแรกโดยธนาคารกลางของประเทศญี่ปุ่น เพื่อแก้ไขปัญหาภาวะเงินฝืดอย่างรุนแรงภายในประเทศ เมื่อเกิดวิกฤตหนี้ด้อยคุณภาพ(Sub-prime Crisis) สหรัฐฯก็ใช้นโยบายผ่อนคลายทางการเงิน ความเป็นมา

  5. มาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ เป็นนโยบายด้านการเงิน(Monetary  Policy) ที่ธนาคารกลางสามารถใช้เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจให้เติบโตต่อไปได้ในภาวะไม่ปกติ เช่น เศรษฐกิจถดถอย, เงินฝืดอย่างรุนแรง โดยที่ธนาคารกลางเข้าทำการอัดฉีดเงินเข้าสู่ระบบการเงิน เพื่อรักษาความเชื่อมั่นในระบบเศรษฐกิจ หวังว่าเม็ดเงินจำนวนมากจะสร้างสภาพคล่องให้กับประชาชนในการลงทุนหรือจับจ่ายใช้สอยเพื่อหนุนให้เศรษฐกิจเติบโตต่อไปได้ Quantitative Easing (QE) คือ?

  6. ธนาคารของสหรัฐฯได้ดำเนินนโยบายนี้ ในปลายปี 2008 จนสิ้นสุดเดือน มี.ค. 2010 (Q4/2551 - Q3/2553) -โดยให้​​เงินกู้ระยะสั้น​แก่สถาบัน​การ​เงินผ่าน Term Auction Facilities -​ เข้าซื้อตราสารที่หนุนหลัง​โดยสิน​เชื่ออสังหาริมทรัพย์ (Mortgage Backed Securities) ผ่าน​โครง​การ Term Asset-Backed Securities Loan Facilities (TALF) แม้ว่าเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกาจะมีการขยายตัว แต่เนื่องจากการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจยัง​เปราะบาง ​Fed จึงได้นำมาตรการ QE มาใช้อีกครั้ง Quantitative Easing1 (QE1)

  7. ออกมาตรการในเดือนพฤศจิกายน 2010 ถึง มิถุนายน 2011 คงดำเนินนโยบายรักษาอัตราดอกเบี้ยให้อยู่ในระดับต่ำ และดำเนินการอื่นดังนี้- Fed ทำการซื้อพันธบัตรรัฐบาลระยะยาว (Longer-Term Treasury Securities) ในตลาดโดยจะทยอย​การซื้อ​เดือนละ75 พันล้านดอลลาร์ - ซื้อพันธบัตรรัฐบาลระยะยาว​เพิ่ม​เติมอีก จาก​เงินต้นที่​ได้รับคืนจาก​การถือหลักทรัพย์ที่ออก​โดยหน่วยงานรัฐบาล (Agency Debt) ​และตราสารหนี้ที่มีสิน​เชื่อที่อยู่อาศัยที่​ได้รับ​การค้ำประกัน​โดยหน่วยงานของรัฐ (Agency Mortgaged-Back Securities) ที่ธนาคารกลางสหรัฐฯ ถืออยู่​ในปัจจุบัน ​โดยจะทยอย​การซื้อ​เดือนละ 35,000 ล้านดอลลาร์ Quantitative Easing2 (QE2)

  8. 1) มาตร​การ QE จะ​เพิ่มปริมาณ​เงินฝากของธนาคารพาณิชย์ (Excess Reserve) ผ่าน​การ​ให้กู้​เงิน (Term Auction Credit) ​แก่สถาบัน​การ​เงิน​ทั้งที่​เป็นธนาคารพาณิชย์​และ​ไม่​ใช่ธนาคารพาณิชย์ (Depository Institutes) ในขณะที่ ตามปกติธนาคารกลางจะ​ให้กู้​เฉพาะ​แก่ธนาคารพาณิชย์ 2) มาตร​การ QE มี​ความผ่อนปรน​เกี่ยวกับตราสารที่ Fed จะรับซื้อมากกว่าน​โยบาย​การ​เงินปกติ ความแตกต่างระหว่าง QE กับนโยบายการเงิน

  9. 1) ผ่านกลไกอัตราดอกเบี้ยทางตลาดพันธบัตร : FED ซื้อพันธบัตร DB PB RB I Y 2) ผ่านกลไกอัตราดอกเบี้ยทางตลาดเงิน : FED พิมพ์เงินเพิ่ม MS Excess Supply of Money R I Y 3) ผ่านกลไกอัตราแลกเปลี่ยน : Supply of Dollar ER (บาทแข็ง,ดอลลาร์อ่อน) X M CA ดีขึ้น กลไกการส่งผ่านของมาตรการ QE

  10. ไม่สามารถทำให้เศรษฐกิจฟื้นตัวได้อย่างแท้จริง เพราะถึงแม้ว่าจะกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านการบริโภค การลงทุนได้บ้าง แต่ก็ไม่สามารถสร้างความเชื่อมั่นให้กับนักลงทุน ปริมาณเงินธนาคารพาณิชย์ที่เพิ่มขึ้นจากการขายพันธบัตรให้รัฐบาลไม่ได้ถูกนำไปปล่อยสินเชื่ออย่างที่ตั้งใจไว้ QE มีประสิทธิผลหรือไม่ ?

  11. ข้อเสีย คือ อาจนำไปสู่ Liquidity Trap ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ปรับตัวสูงขึ้น อาจนำวิกฤตการณ์การเงินระลอกสอง ส่งผลเสียต่อประเทศอื่นๆ โดยเฉพาะในแถบเอเชีย ข้อดีข้อเสียของนโยบาย QE

  12. ข้อดี คือ สามารถเพิ่มสภาพคล่องได้อย่างรวดเร็ว ค่าเงินดอลลาร์ให้อ่อนค่าลง ดีต่อดุลการค้า แก้ปัญหาข้อจำกัดทางการเมือง ข้อดีข้อเสียของนโยบาย QE

  13. กรอบแนวคิดเรื่อง การคาดการณ์และความสัมพันธ์ระหว่างระดับราคาและอัตราแลกเปลี่ยนในระยะยาว พิจารณาดุลยภาพในระยะสั้น มี 2 ตลาด คือ ตลาดเงินในประเทศ($) และตลาดเงินต่างประเทศ (฿) P คงที่ และ Eeไม่แตกต่างจาก E ปัจจุบัน E แสดงค่าในรูปของจำนวนเงินดอลลาร์ต่อหนึ่งบาท (volume quotation system) วิเคราะห์ทฤษฎี

  14. ข้อสมมุติ 1) พิจารณาประเทศใหญ่ (The Large Country Case) 2) อัตราแลกเปลี่ยนลอยตัว (Flexible Exchange Rate) 3) เงินทุนระหว่างประเทศมีความคล่องตัวสมบูรณ์ (Perfect Capital Mobility) Mundell – FlemingModel

  15. LM1

  16. 1) อัตราแลกเปลี่ยน (บาท/ดอลลาร์) ลดลง ซึ่งมีความหมายว่า ค่าเงินบาทแข็งค่ามากขึ้นเมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์ หรือค่าเงินดอลลาร์ลดลงเมื่อเทียบกับเงินบาท 2) อัตราดอกเบี้ยดุลยภาพของสหรัฐอเมริกาลดลง 3) ระดับรายได้ประชาชาติของอเมริกาเพิ่มขึ้น นั่นคือการว่างงานของอเมริกาลดลง จากกรอบแนวคิดและทฤษฎีสรุปได้ว่า

  17. 1. ผลกระทบต่ออัตราแลกเปลี่ยน (บาท/ดอลลาร์) ผลกระทบของมาตรการ QE ต่อระบบเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นจริง

  18. 2. ผลกระทบต่ออัตราดอกเบี้ย

  19. 3. ผลกระทบต่อดุลการค้าของประเทศไทย

  20. 4. ผลกระทบต่ออัตราการว่างงานในสหรัฐอเมริกา

  21. ผู้ส่งออก : • ทำให้รายได้ลดลงทันทีเมื่อแลกเปลี่ยนเงินที่ได้กลับมาเป็นเงินบาท (ผลจาก$ที่อ่อนค่าลง) • ความสามารถในการแข่งขันลดลง ปริมาณการส่งออกจึงลดลง • ผู้นำเข้า : คนไทยมองสินค้าจากสหรัฐฯถูกลง ปริมาณการนำเข้าเพิ่มขึ้น • เกิดความเสี่ยงภาวะฟองสบู่ในตลาดหุ้นและตลาดอสังหาริมทรัพย์ และภาวะเงินเฟ้อในตลาดสินค้าโภคภัณฑ์ เนื่องจากนักลงทุนหันมาเก็งกำไรในตลาดเหล่านี้มากขึ้น • ประเทศไทยใช้เงิน $ เป็นสินทรัพย์หนุนหลัง เมื่อค่าเงินดอลลาร์อ่อนค่าลง ส่งผลให้สินทรัพย์หนุนหลังของประเทศไทยลดค่าลงด้วย ผลกระทบอื่นๆต่อเศรษฐกิจประเทศไทย

  22. ใช้มาตรการดูแลเคลื่อนย้ายเงินทุนระหว่างประเทศ • ป้องกันความเสี่ยงด้านภาวะฟองสบู่ โดยการควบคุมการปล่อยสินเชื่อในภาคอสังหาริมทรัพย์ • ตรึงค่าเงินบาท โดยธนาคารแห่งประเทศไทยเข้าแทรกแซงโดยใช้มาตรการตรึงค่าเงินให้คงที่โดยการพิมพ์เงินออกมาซื้อ $ เก็บไว้ และออกพันธบัตรเพื่อดูดซับเงินบาทให้กลับมาจากในระบบด้วย • มาตรการQE ส่งผลให้เกิดเงินเฟ้อ (ราคาสินค้าโภคภัณฑ์เพิ่มสูงขึ้น) ธนาคารแห่งประเทศไทยอาจจะต้องทยอยปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายขึ้นไป • ใช้เงินสกุลอื่นมาเป็นตัวกลางในการค้าขายระหว่างประเทศแทนที่เงินดอลลาร์สหรัฐอเมริกา ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย

More Related