1 / 21

WELCOME

WELCOME. รายงาน เรื่อง สมัยรัตนโกสินทร์. นางสาว วรรณวิภา เลียมา เลขที่ 23 ชั้น ม .5 / 2 นางสาว วิภาดา ศรีมาชัย เลขที่ 24 ชั้น ม .5 / 2 นางสาว รัชนีกร วงษ์ศรีเทพ เลขที่ 21 ชั้น ม .5 / 2 นาย ทรงพล พลค้อ เลขที่ ชั้น ม .5 / 2 นาย อนุวัฒน์ พงษ์เภา เลขที่ ชั้น ม .5 / 2. เสนอโดย.

john-ross
Télécharger la présentation

WELCOME

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. WELCOME

  2. รายงาน เรื่อง สมัยรัตนโกสินทร์ นางสาว วรรณวิภา เลียมา เลขที่ 23 ชั้น ม.5/2 นางสาว วิภาดา ศรีมาชัย เลขที่ 24 ชั้น ม.5/2 นางสาว รัชนีกร วงษ์ศรีเทพ เลขที่ 21 ชั้น ม.5/2 นาย ทรงพล พลค้อ เลขที่ ชั้น ม.5/2 นาย อนุวัฒน์ พงษ์เภา เลขที่ ชั้น ม.5/2 เสนอโดย แม่ครู อรวรรณ กองพิลา

  3. สภาพสังคม ในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นส่วนใหญ่มีลักษณะโครงสร้างไม่แตกต่างจากสมัยอยุธยาและธนบุรี องค์ประกอบของสังคมไทยประกอบด้วยสถาบันต่างๆ ได้แก่ สถาบัติพระมหากษัตริย์ พระบรมวงศานุวงศ์ ขุนนาง ข้าราชการ ไพร่ และทาส

  4. พระมหากษัตริย์ พระมหากษัตริย์ ในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นมีลักษณะเป็นทั้งเทวราชาและธรรมราชา พระมหากษัตริย์ในฐานะองค์สมมติเทพ พระมหากษัตริย์ทรงดำรงฐานะเป็นสมมติเทพตามติของศาสนาพราหมณ์ ขนบธรรมเนียมประเพณีเกี่ยวกับองค์พระมหากษัตริย์สะท้อนให้เห็นถึงความเป็นสมมติเทพ เช่น การสร้างที่ประทับ พระที่นั่งพระราชวัง การประกอบพิธีต่างๆ การใช้คำราชาศัพท์ เป็นต้น พระมหากษัตริย์ในฐานะธรรมราชา ตามคติธรรมราชานั้นถือว่า พระมหากษัตริย์ทรงเป็นผู้ทรงไว้ซึ่งทศพิธราชธรรม 10 ประการ และจักรวรรดิวัตร 12 ประการ

  5. พระบรมวงศานุวงศ์ สกุลยศและอิสริยยศของพระบรมวงศา นุวงศ์ บรรดาพระบรมวงศานุวงศ์ทั้งหลายส่วนใหญ่ก็อยู่ในฐานะอันสูงส่ง ทั้งนี้เพราะเป็นพระญาติวงศ์ของพระมหากษัตริย์ ตำแหน่งของพระบรมวงศานุวงศ์แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ สกุลยศ กับ อิสริยศ ในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น สกุลยศมีอยู่ 3 ตำแหน่ง คือ เจ้าฟ้า พระองค์เจ้า และหม่อมเจ้า

  6. ขุนนาง บุคคลที่รับราชการแผ่นดิน มีศักดินา ยศ ราชทินนาม และตำแหน่ง เป็นเครื่องชี้บอกถึงอำนาจและเกียรติยศ ขุนนางเปรียบเหมือนข้าราชการของแผ่นดิน แต่ข้าราชการแผ่นดินบางคนจะไม่ได้มีฐานะเป็นขุนนางก็ได้ เพราะการเป็นขุนนางต้องขึ้นอยู่กับศักดินาของตนด้วย ผู้มีศักดินา 400 ไร่ขึ้นไปถึงได้เป็นขุนนาง ยกเว้นพวกมหาดเล็กเพราะถือว่าพวกนี้เป็นขุนนางอยู่แล้ว

  7. ไพร่ ฐานันดรไพร่ในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นมีสภาพไม่แตกต่างจากสมัยอยุธยา ไพร่ถูกมูลนายเอาชื่อเข้าบัญชีไว้ เพื่อเกณฑ์แรงงานไปใช้ในราชการต่างๆ ด้วยเหตุนี้ไพร่จึงต้องสังกัดอยู่กับเจ้าขุนมูลนายที่ตนสมัครอยู่ด้วยและถ้าเจ้าขุนมูลนายของตนสังกัดอยู่กรมกองใด ไพร่ผู้นั้นก็ต้องสังกัดในกรมกองนั้นตามเจ้านายด้วย

  8. ไพร่หลวง คือ ไพร่ที่พระราชทานแก่กรมกองต่างๆ เป็นไพร่ของพระมหากษัตริย์โดยตรง หน้าที่ของไพร่หลวงจึงแตกต่างกันไปตามหน้าที่ที่ระบุไว้ของแต่ละกรมกอง ดังนั้นไพร่หลวง จึงอยู่ในกรม 2 ประเภท คือ • ไพร่หลวงที่ต้องมารับราชการตามที่ทางราชการกำหนดไว้ • ไพร่หลวงที่ต้องเสียเงิน แต่ไม่ต้องมารับราชการ ซึ่งเรียกว่า ไพร่หลวงส่วย

  9. ไพร่สม ไพร่ที่พระมหากษัตริย์พระราชทานให้แก่เจ้านายและขุนนางที่มีตำแหน่งทำราชการเพื่อเป็นผลประโยชน์ เนื่องจากในสมัยก่อนนั้นยังไม่มีเงินเดือน การควบคุมไพร่ของมูลนายจึงหมายถึงการได้รับผลประโยชน์ตอบแทน เช่น ได้รับส่วนลดจาการเก็บเงินค่าราชการ หรือได้รับของกำนัลจากไพร่ เป็นต้น

  10. ทาส คือ บุคคลที่มิได้มีกรรมสิทธิ์ในแรงงานและชีวิตของตนเอง แต่กลับตกเป็นของนายจนกว่าจะได้รับการไถ่ตัวพ้นจากความเป็นทาส นายมีสิทธิ์ในการซื้อขายทาสได้ ลงโทษทุบตีทาสได้ แต่จะให้ถึงตายไม่ได้ ทาสมีศักดินาเพียง 5 ไร่เท่านั้น

  11. การแบ่งประเภท ทาส การแบ่งประเภทของทาส ในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ทาสคงมีอยู่ 7 ประเภทเช่นเดียวกับสมัยอยุธยา ได้แก่ ทาสไถ่มาด้วยทรัพย์,ลูกทาสที่เกิดในเรือนเบี้ย,ทาสที่ได้มาข้างฝ่ายบิดามารดา,ทาสมีผู้ให้,ทาสอันได้ช่วยกังวลธุระทุกข์ด้วยคนต้องโทษทัณฑ์,ทาสที่เลี้ยงเอาไว้ในเวลาข้าวยากหมากแพง,และทาสเชลย ทาสเหล่านี้อาจไม่ยอมขอทานเพราะถือว่าเป็นเรื่องน่าอับอาย จึงยอมขายตัวลงเป็นทาส

  12. ศิลปวัฒนธรรมไทยสมัยรัตนโกสินทร์ศิลปวัฒนธรรมไทยสมัยรัตนโกสินทร์ ในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น นับว่าเป็นการสืบสานวัฒนธรรมไทยเมื่อครั้งกรุงศรีอยุธยาให้กลับมาเจริญรุ่งเรืองขึ้นใหม่ นอกจากนี้ก็มีการปรับปรุงเพิ่มเติมสิ่งใหม่ๆ ให้วัฒนธรรมไทยในยุคนี้ด้วย นับได้ว่าเป็นการธำรงรักษาไว้ซึ่งวัฒนธรรมไทยที่มีมาแต่อยุธยาให้กลับเจริญรุ่งเรือง หลังจากประสบกับวิกฤตการณ์สงครามสู้รบระหว่างไทยกับพม่ามาแล้ว

  13. การทำนุบำรุงทางด้านพระพุทธศาสนาการทำนุบำรุงทางด้านพระพุทธศาสนา ในสมัยรัชกาลที่ 1 (พ.ศ.2325-2352) พระองค์ทรงโปรดเกล้าฯให้ทำการสังคายนาพระไตรปิฏกที่วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษดิ์ ใน พ.ศ.2331 โดยใช้เวลาประชุมกันประมาณ 5 เดือน ในสมัยรัชกาลที่ 2 (พ.ศ.2352-2367) พระองค์โปรดเกล้าฯ ให้จัดงานพระราชกุศลอย่างใหญ่โตในวันวิสาขบูชาเหมือนดังที่เคยทำกันในสมัยอยุธยา คือ ทำบุญกันทั่วไปเป็นเวลา 3 วัน สัตว์ที่เคยถูกฆ่าเป็นอาหารนั้นโปรดให้ปล่อยให้หมดภายใน 3 วัน มิให้มีการฆ่าสัตว์โดยเด็ดขาด ในสมัยรัชกาลที่ 3 (พ.ศ.2367-2394) พระองค์ทรงมีพระราชศรัทธาในพระพุทธศาสนาอย่างมาก พระองค์ทรงทำนุบำรุงคณะสงฆ์ ตลอดจนทรงสร้างและปฏิสังขรณ์พระพุทธรูปและวัดวาอารามมากมาย

  14. การปรับปรุงด้านสังคมในสมัยรัชกาลที่ 4เนื่องจากในสมัยรัชกาลที่ 4 เป็นช่วงที่ไทยเริ่มปรับตัวทางด้านสังคมและวัฒนธรรมให้เข้ากับขนบธรรมเนียมตะวันตกเท่าที่สามารถจะกระทำได้ ภายหลังจากที่ไทยได้ทำสัญญาทางพระราชไมตรีและการค้ากับชาติตะวันตกอย่างกว้างขวาง นับตั้งแต่ พ.ศ.2398 เป็นต้นมา รัชกาลที่ 4 ก็ทรงดำเนินการปรับปรุงทางด้านสังคมควบคู่ไปด้วย • สภาพสังคมและศิลปวัฒนธรรมในสมัยรัชกาลที่ 5 • ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ได้ทรงปฏิรูปสังคมให้ทันสมัยตามแบบตะวันตกอย่างกว้างขวาง ได้ทรงปฏิรูปสังคมให้ทันสมัยตามแบบตะวันตก ซึ่งถือว่าเป็นการเจริญรอยตามพระบรมราโชบายของรัชกาลที่ 4 ที่ได้ทรงริเริ่มเอาไว้ • การปฏิรูปสังคมที่สำคัญในสมัยรัชกาลที่ 5 คือ การเลิกทาส การเลิกระบบไพร่ และการปฏิรูปการศึกษา

  15. สังคมและวัฒนธรรมไทยในสมัยรัชกาลที่ 6 เนื่องจาก สังคมไทยได้มีการปรับตัวเข้าสู่ความทันสมัยตามแบบตะวันตกมาตั้งแต่รัชกาลที่ 4 และจำเป็นจะต้องได้รับการพัฒนาทางด้านสติปัญญาของ คนไทยอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นใน พ.ศ.2454 รัชกาลที่ 6 จึงทรงมีพระบรมนโยบายให้ผู้ปกครองส่งเด็กหญิงและเด็กชายที่มีอายุย่างเข้า 8 ปี เข้าเรียนในโรงเรียน ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ -การศึกษาขั้นต้น -การศึกษาขั้นสูงขึ้นไป

  16. วัฒนธรรมไทยหลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ.2475 ถึงปัจจุบัน ภายหลังจากที่คณะราษฏรได้ทำการเปลี่ยนแปลงการปกครองในปี 2475 แล้ว งานทางด้านศิลปวัฒนธรรมแห่งชาติก็มิได้ถูกทอดทิ้งแต่ประการใด เพราะเรื่องของศิลปและวัฒนธรรมย่อมมีความจำเป็นต่อการดำรงอยู่อย่างมีเอกภาพของคนในชาติ ความเปลี่ยนแปลงทางด้านวัฒนธรรมที่สำคัญภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองมาจนถึงยุคปัจจุบัน

  17. บทสรุป ลักษณะสังคมและวัฒนธรรมไทยในสมัยรัตนโกสินทร์ ได้มีการพัฒนาและเปลี่ยนแปลงไปในทางสร้างสรรค์ อันเป็นคุณประโยชน์ต่อประเทศชาติโดยตลอด นับตั้งแต่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชทรงสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์เป็นราชธานีของไทย ตั้งแต่ พ.ศ.2325 จนถึงปัจจุบัน

  18. เอกสารอ้างอิง http://www.kullawat.net/social_culture/index.html#sect1

  19. คำถาม 1.พระมหากษัตริย์ในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นเป็นอย่างไร 2.ตำแหน่งของพระบรมวงศานุวงศ์แบ่งออกเป็นกี่ประเภท อะไรบ้าง 3.บุคคลที่รับราชการแผ่นดินต้องมีอะไรบอกชี้ถึงอำนาจ และเกียรติยศ 4.ไพร่หลวงคืออะไร 5.ไพร่สมคืออะไร 6.ทาสคืออะไร 7.การแบ่งประเภททาสมีกี่ประเภท 8.รัชกาลที่ 6 มีนโยบายให้เด็กชาย เด็กหญิงที่มีอายุเท่าไหร่ให้เข้าเรียน 9.สังคมไทยมีการปรับตัวเข้าสู่ความทันสมัยในรัชกาลที่เท่าไหร่ 10.การปฏิรูปที่สำคัญในสมัยรัชกาลที่ 5 คืออะไร

  20. คำตอบ 1.เป็นทั้งเทวราช และ ธรรมราช 2. 2 ประเภท คือ สกุลยศ และ อิสริยศ 3.มี ศักดินา ยศ ราชทินนาม และตำแหน่ง 4.ไพร่ที่พระราชทานแก่กรมกองต่างๆเป็นไพร่ของพระมหากษัตริย์โดยตรง 5.ไพร่ที่พระมหากษัตริย์พระราชทานให้แก่เจ้านายและขุนนาง 6.บุคคลที่มิได้กรรมสิทธิ์ในแรงงานและชีวิตของตนเอง 7. 7 ประเภท 8.8 ปี 9.รัชกาลที่ 4 10.การเลิกทาส การเลิกระบบไพร่ และการปฏิรูปการศึกษา

  21. END THANG YOU

More Related