1 / 70

ทางเลือกอื่นในการระงับข้อพิพาททางการค้าระหว่างประเทศ Alternative Dispute Resolution in International Trade

ทางเลือกอื่นในการระงับข้อพิพาททางการค้าระหว่างประเทศ Alternative Dispute Resolution in International Trade. วิชัย อริยะนันทกะ ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง. องค์ประกอบของการระงับข้อพิพาทที่มีประสิทธิภาพ. เป็นธรรม (FAIR) เป็นกลาง (Neutral)

kagami
Télécharger la présentation

ทางเลือกอื่นในการระงับข้อพิพาททางการค้าระหว่างประเทศ Alternative Dispute Resolution in International Trade

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. ทางเลือกอื่นในการระงับข้อพิพาททางการค้าระหว่างประเทศAlternative Dispute Resolution in International Trade วิชัย อริยะนันทกะ ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง

  2. องค์ประกอบของการระงับข้อพิพาทที่มีประสิทธิภาพองค์ประกอบของการระงับข้อพิพาทที่มีประสิทธิภาพ • เป็นธรรม (FAIR) เป็นกลาง (Neutral) • เชี่ยวชาญ (Expertise) รวดเร็ว (SPEEDY) • ประหยัด (CHEAP) • มีกลไกการบังคับที่มีประสิทธิภาพ (EFFECTIVE ENFORCEMENT MECHANISM)

  3. องค์ประกอบของการระงับข้อพิพาทองค์ประกอบของการระงับข้อพิพาท • การรักษาความลับหรือมาตรการป้องกันความอื้อฉาวที่เกิดจากข้อพิพาท (MEASURE AGAINST BAD PUBLICITY) • การรักษาสัมพันธภาพระหว่างคู่ความ (PRESERVATION OF RELATIONSHIP)

  4. วิธีการระงับข้อพิพาท • การเจรจาต่อรอง (Negotiation) • การประนอมข้อพิพาท (Conciliation or Mediation) • อนุญาโตตุลาการ (Arbitration) • การพิจารณาพิพากษาโดยศาล (Litigation, Adjudication)

  5. A D R • Alternative Dispute Resolution • Negotiation • Conciliation, Mediation • Arbitration • Traditional (Conventional) Dispute Resolution • Litigation

  6. การเจรจาต่อรอง (Negotiation) • คู่ความเจรจากันเองก็ได้, รวดเร็ว, ประหยัด • คู่ความกำหนดผลแห่งการเจรจาในรูปของสัญญาประนีประนอมยอมความ (settlement Agreement) • Win/WinSolution ไม่มีใครแพ้ • รักษาความสัมพันธ์ รักษาความลับ รักษาชื่อเสียง • หากมีผู้ช่วยในการเจรจา (Facilitator) ก็กลายเป็นการไกล่เกลี่ย (Conciliation)

  7. Harvard Law School, Negotiation Project, Roger Fisher, “Getting to Yes” • อย่าเข้าสู่การเจรจาโดยมีการตั้งเงื่อนไขไว้ก่อน (Don’t bargain over position) • แยกปัญหาคนจากประเด็นข้อพิพาท (Separate the people from the problem) • เน้นผลประโยชน์ร่วมกัน ไม่เน้นเงื่อนไขของตน (Focus on interests, not positions)

  8. หลัก 5 ประการในการเจรจาต่อรอง ของ Roger Fisher • สร้างทางเลือกเพื่อผลประโยชน์ร่วมกัน (Invent options for mutual gains) • เน้นข้อเท็จจริงที่เป็นกลาง (Insist on objective criteria) • BATNA – Best alternative to negotiated Agreement

  9. การประนอมข้อพิพาท(Conciliation)การประนอมข้อพิพาท(Conciliation) • คู่ความสมัครใจ • มีบุคคลที่สามเข้ามาช่วยในการไกล่เกลี่ย (Facilitate, Facilitator) • ผู้ไกล่เกลี่ยไม่มีอำนาจบังคับให้คู่ความตกลงกัน • Settlement Agreement ต้องลงนามตั้งสองฝ่าย • One text procedure ใช้ร่างสัญญาฉบับเดียว

  10. Guidelines: Opening statement by the mediator (Conciliator) • Introductions– conciliator to chair the meeting • Introduce yourself, Thank the parties for coming • Ask each party to introduce themselves- name, title and position • Explain your role and the Process • Role as a neutral, not a decision-maker, not to evaluate, not to give legal advice • Dealing with impasse • Maintenance of neutrality

  11. การไกล่เกลี่ยตาม ปวิพ. ม. ๑๙, ๒๐, ๒๐ ทวิCourt-annexed conciliation • ม. ๑๙ อำนาจศาลในการสั่งให้คู่ความมาศาลด้วยตนเอง แม้จะมีทนายว่าต่างแก้ต่างหากเห็นว่าจะยังให้เกิดความตกลง หรือประนีประนอม • ม. ๓๑ (๕) หากขัดขืนคำสั่งตาม ม. ๑๙ (หมายเรียก) ให้ถือว่ากระทำผิดฐานละเมิดอำนาจศาล • ม. ๓๓ จำคุกไม่เกิน ๖ เดือน หรือปรับไม่เกิน ๕๐๐ บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

  12. การไกล่เกลี่ยตาม ปวิพ. ม. ๑๙, ๒๐, ๒๐ ทวิCourt-annexed conciliation • ม. ๒๐ ไม่ว่าการพิจารณาคดีจะได้ดำเนินไปแล้วเพียงใด ให้ศาลมีอำนาจไกล่เกลี่ย • ไกล่เกลี่ยได้ทุกชั้นศาล ก่อนมีคำพิพากษา • ม. ๒๐ ทวิ (แก้ไข ฉบับ ๑๗ พ.ศ. ๒๕๔๒) ศาลอาจดำเนินการไกล่เกลี่ยเป็นการลับเฉพาะต่อหน้าตัวความทุกฝ่าย หรือฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง โดยจะให้มีทนายความอยู่ด้วยหรือไม่ก็ได้ • วรรคสอง ศาลอาจตั้งผู้ประนีประนอมเพื่อช่วยเหลือศาล • วรรคสาม หลักเกณฑ์และวิธีการ ดู ระเบียบคณะกรรมการบริหารศาลยุติธรรมว่าด้วยการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท พ.ศ. ๒๕๔๔

  13. การไกล่เกลี่ยตาม ปวิพ. ม. ๑๙, ๒๐, ๒๐ ทวิCourt-annexed conciliation • ข้อสังเกต ม. ๑๙ – ๒๐ ทวิ • ศาลควรบังคับตัวความให้มาศาลโดยใช้หมายเรียก และบทบัญญัติเรื่องละเมิดอำนาจศาลหรือไม่ • ศาลควรแยกตัวความและทนายความหรือไม่ • Confidentiality, without prejudice and caucus • ศาลควรเป็นผู้ไกล่เกลี่ยเอง หรือควรตั้งบุคคลภายนอกเป็นผู้ไกล่เกลี่ย • การไกล่เกลี่ยในศาลอุทธรณ์ และศาลฎีกา

  14. Conciliation V. Mediation • บทบาทที่แตกต่างกัน Active V. Passive • ไม่มี Concept นี้ในการประนีประนอมของไทย • Judge as mediator: Common Law and Civil Law • Adversarial system V. Inquisitorial System • Consent by parties

  15. Some Techniques in Conciliation • Request everybody to sign confidentiality and without prejudice agreement • Request consent to hold caucuses • Maintain neutrality: never in the affirmative, ask questions instead • Impasse: Go to the Balcony • Crack a joke! • Know your BATNA: Best Alternative to Negotiated Agreement

  16. การอนุญาโตตุลาการ • อนุญาโตตุลาการในศาล (Court-annexed arbitration) - ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 210 - 222 (ยกเว้นมาตรา 221) • อนุญาโตตุลาการนอกศาล - พระราชบัญญัติอนุญาโตตุลาการ พ.ศ. 2545(ยกเลิกฉบับปี พ.ศ. 2530)

  17. การอนุญาโตตุลาการ • เป็นการระงับข้อพิพาททางแพ่งและพาณิชย์ • มีข้อสัญญาอนุญาโตตุลาการ (Arbitration Clause) ม. ๑๑ • มีบุคคลที่สามอาจเป็นคนเดียวหรือหลายคน (จำนวนเลขคี่) เป็นผู้วินิจฉัยข้อพิพาท ม. ๑๗ • อาจดำเนินการโดยใช้สถาบัน (InstitutionalArbitration) หรือคู่พิพาทดำเนินการเอง (Ad hoc Arbitration)

  18. ตัวอย่างข้อสัญญาอนุญาโตตุลาการตัวอย่างข้อสัญญาอนุญาโตตุลาการ “ข้อพิพาท ข้อขัดแย้ง หรือข้อเรียกร้องใด ๆ ซึ่งเกิดจากสัญญานี้ หรือเกี่ยวเนื่องกับสัญญานี้ รวมทั้งปัญหาการผิดสัญญา การเลิกสัญญา หรือความสมบูรณ์แห่งสัญญาดังกล่าว ให้ทำการวินิจฉัยชี้ขาดโดยการอนุญาโตตุลาการตามข้อบังคับอนุญาโตตุลาการของสถาบันอนุญาโตตุลาการ สำนักงานศาลยุติธรรม ซึ่งใช้บังคับอยู่ในขณะที่มีการเสนอข้อพิพาทเพื่อการอนุญาโตตุลาการ และให้อยู่ภายใต้การจัดการของสถาบันดังกล่าว”

  19. การยอมรับ และบังคับตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการRecognition andEnforcement of Arbitral Awards • อนุสัญญาว่าด้วยการยอมรับนับถือและการใช้บังคับคำชี้ขาดอนุญาโตตุลาการต่างประเทศ ฉบับนิวยอร์ค ค.ศ. ๑๙๕๘ – อนุสัญญานิวยอร์ค ๑๙๕๘ • Convention on the Recognition and Enforcement of Foreign Arbitral Awards 1958 • New York Convention1958

  20. การระงับข้อพิพาทภายใต้ความตกลงอื่น ๆ • ICSID (International Centre for Settlement of Investment Disputes) • MIGA (Multilateral Investment Guarantee Agency) • WTO (World Trade Organization)

  21. การดำเนินกระบวนพิจารณาในศาลต่างๆและปัญหาเรื่องเขตอำนาจศาล(Jurisdiction)การดำเนินกระบวนพิจารณาในศาลต่างๆและปัญหาเรื่องเขตอำนาจศาล(Jurisdiction) • การดำเนินคดีในศาลปกครอง • การดำเนินคดีในศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง • การดำเนินคดีในศาลแพ่งหรือศาลยุติธรรมอื่นที่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีแพ่ง

  22. ปัญหาเรื่องเขตอำนาจศาล (Jurisdiction) • บ่อเกิดของปัญญา ม. ๙ อ้างถึง ศาลทรัพย์สินฯ, ศาลที่การพิจารณาอนุญาโตฯอยู่ในเขต, คู่พิพาทมีภูมิลำเนา, หรือมีอำนาจ (jurisdiction)เหนือข้อพิพาทที่เสนอต่ออนุญาโตฯ • ม. ๔๕ วรรคท้าย อุทธรณ์คำสั่งหรือคำพิพากษาของศาลต่อศาลฎีกา หรือศาลปกครองสูงสุด

  23. ปัญหาเรื่องเขตอำนาจศาล (Jurisdiction) • ศาลยุติธรรม หรือศาลปกครอง • ศาลยุติธรรม: ศาลทรัพย์สินฯหรือศาลที่มีอำนาจในการพิจารณาคดีแพ่ง • ศาลทรัพย์สินฯ ม. ๗ (๑๑) คดีอนุญาโตฯเกี่ยวกับข้อพิพาททรัพย์สินทางปัญญาหรือการค้าระหว่างประเทศ • ผู้ยกร่างพรบ. จัดตั้งศาลทรัพยสินฯ และอนุญาโตฯพยายามจะให้ศาลทรัพย์สินฯมี exclusive jdx แต่ล้มเหลว!

  24. ปัญหาเรื่องเขตอำนาจศาล (Jurisdiction) • อำนาจของศาลปกครอง • พรบ จัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ ม. ๙ (๔) ศาลปกครองมีอำนาจพิจารณาพิพากษาหรือมีคำสั่ง “คดีพิพาทเกี่ยวกับสัญญาทางปกครอง” • ม. ๓ นิยาม สัญญาทางปกครอง ว่า หมายความรวมถึง สัญญาที่คู่สัญญาอย่างน้อยฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเป็นหน่วยงานทางปกครองหรือเป็นบุคคลซึ่งกระทำการแทนรัฐ และมีลักษณะเป็นสัญญาสัมปทาน สัญญาที่ให้จัดทำบริการสาธารณะ หรือจัดให้มีสิ่งสาธารณูปโภคหรือแสวงประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ

  25. ปัญหาเรื่องเขตอำนาจศาล (Jurisdiction) • สัญญาทางปกครอง กับสัญญาระหว่างรัฐกับเอกชนที่อยู่ภายใต้บังคับของปพพ. • เทียบความคิดกฎหมายระหว่างประเทศเรื่อง sovereign (state) immunity: ความคุ้มกันของรัฐ • แยกบทบาทของรัฐในเชิงพาณิชย์ Jure Gestionis –ไม่อาจอ้าง sovereign immunity และกรณีบทบาทของรัฐที่ใช้อำนาจอธิปัตย์ของรัฐ Jure Imperri --อ้างได้ • นักกฎหมายแก้โดยใช้สัญญา waiver of immunity

  26. ปัญหาเรื่องเขตอำนาจศาล (Jurisdiction) • Model waiver of immunity clause • Waiver of immunity: …agrees that no immunity from any proceedings (whether injunction, specific performance, damages or otherwise), from attachment (whether in aid of execution, before judgment or otherwise) of its assets or from the execution of judgment shall be claimed, any such immunity being irrevocably waived…

  27. ปัญหาเรื่องเขตอำนาจศาล (Jurisdiction) • ศาลไทยกับการแก้ปัญหาเรื่อง state immunity • ฎ. ๗๒๔/๒๔๙๐ ระหว่างพระยาปรีดานฤเบศร์ โจทก์ รัฐบาล จำเลย ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ผู้ที่จะฟ้องหรือถูกฟ้องในศาลได้นั้น จะต้องเป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคล รัฐบาลมิได้เป็นนิติบุคคล จึงเป็นคู่ความไม่ได้ –ศาลน่าจะใช้โอกาสนี้ในการยืนยันหลักกฎหมายนี้ • ต้องถือว่าหลักกฎหมายนี้เป็นกฎหมายไทย สัญญาระหว่างรัฐ: เอกชนที่ยกร่างโดยนักกฎหมายเชี่ยวชาญพิเศษต้องมีข้อสัญญานี้เสมอ

  28. ปัญหาเรื่องเขตอำนาจศาล (Jurisdiction) • สัญญาทางปกครอง กับสัญญาทางแพ่งระหว่างรัฐกับเอกชน • สัญญาทางปกครอง: ศาลปกครองเป็นศาลที่มีอำนาจพิจารณาพิพากษา, กฎหมายที่ใช้บังคับคือหลักกฎหมายมหาชน (อยู่ในระหว่างยกร่างเป็นลายลักษณ์อักษร) ปัจจุบันต้องอาศัยตัวข้อสัญญา และความคิดกฎหมายมหาชนเช่นหลัก ประโยชน์สาธารณะ (public interest) และ jurisprudence ของ droit public

  29. ปัญหาเรื่องเขตอำนาจศาล (Jurisdiction) • ศาลปกครอง • คุณสมบัติ ม. ๑๓, ๑๘: ทรงคุณวุฒิทางนิติศาสตร์ รัฐศาสตร์ รัฐประศาสนศาตร์ เศรษฐศาสตร์ สังคมศาสตร์ หรือในการบริหารราชการแผ่นดิน, เป็นกรรมการร่างกฎหมาย ศาล อัยการ อธิบดี ทนายความ อาจารย์ • Rules of the court: วิธีพิจารณาคดีปกครอง ศาลออกเองตาม ม.๔๔ ระเบียบของที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาลปกครองสูงสุดว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๓ • ม. ๔๕ วรรคสี่ สัญญาทางปกครอง ให้ใช้เงินหรือส่งมอบทรัพย์สินเสียค่า “ธรรมเนียมศาล” ๒.๕% ไม่เกิน ๒๐๐,๐๐๐ บาท

  30. กำหนดเวลาการฟ้องคดี V. อายุความ • ม.51การฟ้องคดีตามมาตรา9วรรคหนึ่ง(3)หรือ(4)ให้ยื่นฟ้องภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่รู้หรือควรรู้ถึงเหตุแห่งการฟ้องคดีแต่ไม่เกินสิบปีนับแต่วันที่มีเหตุแห่งการฟ้องคดี • ม.52การฟ้องคดีปกครองที่เกี่ยวกับการคุ้มครองประโยชน์สาธารณะหรือสถานะของบุคคลจะยื่นฟ้องคดีเมื่อใดก็ได้ • การฟ้องคดีปกครองที่ยื่นเมื่อพ้นกำหนดเวลาการฟ้องคดีแล้วถ้าศาลปกครองเห็นว่าคดีที่ยื่นฟ้องนั้นจะเป็นประโยชน์แก่ส่วนรวมหรือมีเหตุจำเป็นอื่นโดยศาลเห็นเองหรือคู่กรณีมีคำขอศาลปกครองจะรับไว้พิจารณาก็ได้

  31. กำหนดเวลาการฟ้องคดี V. อายุความ • กำหนดอายุความตาม ปพพ ๑๐ ปี ม. ๑๙๓/๓๐ • ศาลอ้างอายุความเพื่อยกฟ้องไม่ได้ ปพพ ม. ๑๙๓/๒๙ คู่ความต้องยกขึ้นต่อสู้ • ม. ๑๙๓/๑๑ คู่กรณีตกลงงดใช้ ขยายหรือย่นไม่ได้ • กฎหมายที่ใช้บังคับจึงมีความสำคัญ • สัญญาทางปกครอง: สัญญาทางแพ่งระหว่างรัฐ กับเอกชน

  32. กำหนดเวลาการฟ้องคดี V. อายุความ • กำหนดอายุความตาม ปพพ ๑๐ ปี ม. ๑๙๓/๓๐ • ศาลอ้างอายุความเพื่อยกฟ้องไม่ได้ ปพพ ม. ๑๙๓/๒๙ คู่ความต้องยกขึ้นต่อสู้ • ม. ๑๙๓/๑๑ คู่กรณีตกลงงดใช้ ขยายหรือย่นไม่ได้ • กฎหมายที่ใช้บังคับจึงมีความสำคัญ • สัญญาทางปกครอง: สัญญาทางแพ่งระหว่างรัฐ กับเอกชน

  33. สัญญาทางปกครอง V. สัญญาทางแพ่ง • สถานะหรืออำนาจที่แตกต่างของคู่สัญญาในสัญญาทางปกครอง • สถานะหรืออำนาจที่เท่าเทียมกันตามกฎหมายแพ่ง (ปพพ) ไม่ได้ใช้อำนาจรัฐ อำนาจปกครอง หรือดำเนินกิจการทางปกครอง • กองเรือพาณิชย์นาวีของรัฐ กระทรวงกลาโหมทำสัญญาซื้อเครื่องแบบให้ทหาร สำนักนายกจัดงานสโมสรสันนิษบาตโดยใช้ฝ่ายจัดเลี้ยงของดุสิตธานี กระทรวงศึกษาธิการสร้างโรงเรียน สำนักงานศาลปกครองเช่าอาคารเพื่อจัดตั้งศาลปกครอง

  34. สัญญาทางปกครอง V. สัญญาทางแพ่ง • การใช้อำนาจรัฐ อำนาจทางปกครอง หรือดำเนินกิจการทางปกครอง: หน่วยงานทางปกครอง ราชการส่วนภูมิภาค ท้องถิ่น รัฐวิสาหกิจ หรือหน่วยงานอื่นที่ได้รับมอบหมาย หรือบุคคลซึ่งกระทำการแทนรัฐ • ลักษณะแห่งสัญญา: สัญญาสัมปทาน, จัดทำบริการสาธารณะ, จัดให้มีสิ่งสาธารณูปโภค, แสวงประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ • Concession, public service, public utilities, exploitation of natural resources

  35. ศาลทรัพย์สินทางปัญญาฯ: Jurisdiction • ม. ๗ การค้าระหว่างประเทศ, ทรัพย์สินทางปัญญา (ทั้งละเมิดสิทธิและอุทธรณ์คำสั่งทางปกครอง) อนุญาโตตุลาการ, ทุ่มตลาดและอุดหนุนสินค้าหรือบริการจากต่างประเทศ anti-dumping, anti subsidies, กักเรือ • คุณสมบัติผู้พิพากษา มีความรู้ทรัพย์สินทางปัญญาหรือการค้าระหว่างประเทศ • ผู้พิพากษา + ผู้พิพากษาสมทบ (องค์คณะสามคน)

  36. ศาลทรัพย์สินทางปัญญาฯ: Jurisdiction • อุทธรณ์ไปศาลฎีกา • มีข้อกำหนดคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ • ใช้ Video conference ได้ • ยื่นบันทึกคำเบิกความ (written statement) ได้ • สามารถตกลงไม่ต้องแปลเอกสารภาษาอังกฤษ • มีผู้พิพากษาเชี่ยวชาญเฉพาะทาง (โดยเฉพาะระบบผู้พิพากษาสมทบ) • ศาลแพ่ง ศาลแพ่งกรุงเทพใต้ ศาลแพ่งธนบุรี ศาลจังหวัด

  37. คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลคณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล • ความคิด tribunal des conflits ของฝรั่งเศส • จัดตั้งขึ้นตาม รธน ม. ๒๔๘ • พรบ ว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ • ข้อบังคับคณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล ว่าด้วยวิธีการเสนอเรื่อง การพิจารณาและวินิจฉัย พ.ศ. ๒๕๔๔

  38. คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลคณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล • ศาลยุติธรรม ศาลปกครอง ศาลทหาร • คณะกรรมการ ประธานศาลฎีกา เป็นประธาน ประธานศาลปกครองสูงสุด หัวหน้าสำนักตุลาการทหาร และผู้ทรงคุณวุฒิอีกสี่คน (รวม ๗ คน) • นายอรรถนิติ ดิษฐอำนาจ มล. เฉลิมชัย เกษมสันต์ • นายอักขราทร จุฬารัตน นายโภคิน พลกุล • พลโทสมัยรบ สุทธิวาทนฤพุฒิ พลโทอาชวัน อินทรเกสร • นายพรชัย รัศมีแพทย์

  39. ข้อสัญญาอนุญาโตตุลาการในสัญญาทางปกครองข้อสัญญาอนุญาโตตุลาการในสัญญาทางปกครอง • มาตรา๑๕ในสัญญาระหว่างหน่วยงานของรัฐกับเอกชนไม่ว่าเป็นสัญญาทางปกครองหรือไม่ก็ตามคู่สัญญาอาจตกลงให้ใช้วิธีการอนุญาโตตุลาการในการระงับข้อพิพาทได้และให้สัญญาอนุญาโตตุลาการดังกล่าวมีผลผูกพันคู่สัญญา • เป็นบทบัญญัติพิเศษเฉพาะที่มีในกฎหมายไทยเพื่อแก้ปัญหา abitrability ของสัญญาทางปกครอง

  40. ข้อสัญญาอนุญาโตตุลาการในสัญญาทางปกครอง ข้อสัญญาอนุญาโตตุลาการในสัญญาทางปกครอง • วิธีพิจารณาคดีอนุญาโตตุลาการในสัญญาทางปกครอง • ข้อบังคับอนุญาโตตุลาการต้อง address ปัญหานี้ • บทบาทในการ “ไต่สวน”(Inquisitorial) มากขึ้น • ใช้หรืออิงหลัก “กฎหมายมหาชน” มากขึ้น เช่น หลัก public interest, หลักในพรบว่าด้วยข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม พศ ๒๕๔๐ ม. ๔ สัญญาสำเร็จรูปที่ให้เปรียบอีกฝ่ายหนึ่งเกินสมควร ให้บังคับเท่าที่เป็นธรรมและพอสมควรแก่กรณี

  41. ข้อสัญญาอนุญาโตตุลาการในสัญญาทางปกครอง ข้อสัญญาอนุญาโตตุลาการในสัญญาทางปกครอง • ฝ่ายรัฐอาจตั้งอนุญาโตตุลาการที่มีพื้นทางกฎหมายมหาชนมากขึ้น • เช่นอาจตั้งจากสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา แทนที่จะเป็นสำนักที่ปรึกษา สำนักงานอัยการสูงสุด? • ตัวอย่างความคิดที่ต่างกันของนักกฎหมายสองสาขา หลัก competence de la competence กับหลัก no one can be a judge of his/her own cause

  42. ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการปฏิบัติตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการ พ.ศ. ๒๕๔๔ • ข้อ ๕ หน่วยงานของรัฐพึงปฏิบัติตามคำชี้ขาด เว้นแต่คำชี้ขาดไม่ชอบด้วยกฎหมายที่ใช้บังคับ เกิดจากการกระทำหรือวิธีการไม่ชอบ หรือมิได้อยู่ในขอบแห่งสัญญาอนุญาโตตุลาการ • กรณีตามข้อ ๕ ให้หน่วยงานของรัฐแจ้งการปฏิเสธแก่คู่กรณีภายใน ๑๕ วัน นับแต่วันที่ได้รับสำเนาคำชี้ขาด • หากมีเหตุควรสงสัย ให้ส่งสำเนาพร้อมคำชี้แจงให้กระทรวงการคลังเพื่อขอความเห็นภายใน ๑๕ วัน

  43. ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการปฏิบัติตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการ พ.ศ. ๒๕๔๔ (ต่อ) • ข้อ ๙ ในคดีบังคับตามคำชี้ขาด หน่วยงานของรัฐ อาจประนีประนอมยอมความในศาลได้ • ข้อ ๑๑ Special Treatment for MIGA (Convention Establishing the Multilateral Investment Guarantee Agency) สถาบันประกันการลงทุนพหุภาคี

  44. ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการปฏิบัติตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการ พ.ศ. ๒๕๔๔ (ต่อ) • ข้อ ๑๑ Special Treatment for MIGA (Convention Establishing the Multilateral Investment Guarantee Agency) สถาบันประกันการลงทุนพหุภาคี • เมื่ออนุญาโตตุลาการมีคำชี้ขาด ให้หน่วยงานของรัฐทำการเบิกจ่ายเงินตามคำชี้ขาดโดยเร็ว มิให้นำข้อ ๕, ๖, ๗, ๘ (กรณีเห็นแย้งกับคำชี้ขาด) มาใช้

  45. ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการปฏิบัติตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการ พ.ศ. ๒๕๔๔ (ต่อ) • ให้กระทรวงการคลังส่งเรื่องให้ “คณะกรรมการพิจารณาคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการ” เพื่อพิจารณาให้ความเห็นโดยไม่ชักช้า • องค์ประกอบ ผู้แทนกระทรวงการคลัง (ประธานกรรมการ) ผู้แทนสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา และผู้แทนสำนักงานอัยการสูงสุด เป็นกรรมการ อธิบดีกรมบัญชีกลางแต่งตั้งผู้แทนเป็นเลขานุการ • คณะกรรมการพิจารณาเสร็จภายใน ๓๐ วัน • ให้หน่วยงานของรัฐพิจารณาและสั่งภายใน ๓๐ วัน

  46. กฎหมายอื่นที่ส่งเสริมระบบอนุญาโตตุลาการไทยกฎหมายอื่นที่ส่งเสริมระบบอนุญาโตตุลาการไทย • พรฎ. ออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร • พรฎ. กำหนดงานในอาชีพและวิชาชีพที่ห้ามคนต่างด้าวทำ • ให้คนต่างด้าวเป็นอนุญาโตตุลาการ • ให้คนต่างด้าวสามารถว่าต่างแก้ต่างในชั้นอนุญาโตตุลาการ ถ้ากฎหมายที่ใช้บังคับแก่ข้อพิพาทนั้นไม่ใช่กฎหมายไทย • ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการ

  47. พระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ ๓๗๔) พ.ศ. ๒๕๔๓ • สาระสำคัญ “ยกเว้นอากรแสตมป์ให้แก่อนุญาโตตุลาการในเรื่องตราสารคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการ” • กฎหมายเดิม (ข้อ ๒๒ บัญชีอากรแสตมป์ท้ายหมวด ๖ ลักษณะ ๒ ประมวลรัษฎากร) คำชี้ขาดต้องปิดอากรแสตมป์ร้อยละ ๐.๑ ของทุนทรัพย์พิพาท • ทำให้เกิดข้อแตกต่างระหว่างคำชี้ขาดในและต่างประเทศ เทียบอากรแสตมป์หนังสือมอบอำนาจ (Power of Attorney)

  48. พระราชกฤษฎีกากำหนดงานในอาชีพและวิชาชีพที่ห้ามคนต่างด้าวทำ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๔๓ • (๓๙) บัญชีท้ายพระราชกฤษฎีกากำหนดงานในอาชีพฯพ.ศ. ๒๕๒๒ ตามที่ได้แก้ไขใหม่ • (๓๙) งานให้บริการทางกฎหมายหรืออรรถคดี ยกเว้น (ก) งานปฏิบัติหน้าที่อนุญาโตตุลาการ (ข) งานว่าต่างแก้ต่างในชั้นอนุญาโตตุลาการ ถ้ากฎหมายซึ่งใช้บังคับแก่ข้อพิพาทที่พิจารณาโดยอนุญาโตตุลาการนั้นมิใช่กฎหมายไทย หรือเป็นกรณีที่ไม่ต้องขอบังคับคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการนั้นในราชอาณาจักรไทย

  49. “It is almost a truism to state that arbitration is better than litigation, conciliation better than arbitration, and prevention of legal disputes better than conciliation”. Clive Schmitthoff Export Trade, The Law and Practice of International Trade

  50. ARBITRATION • New York Convention for the Recognition and Enforcement of Foreign Arbitral Awards 1958 (The New York Convention 1958) • The UNCITRAL Model Law on Arbitration 1985 • ICSID Convention 1965

More Related