540 likes | 1.19k Vues
บทที่ 7. การค้าและการเงินระหว่างประเทศ. สาเหตุของการค้าระหว่างประเทศ. การกระจายทรัพยากรทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศมีความเหลื่อมล้ำกัน ประสิทธิภาพในการผลิตสินค้าและบริการต่างกัน. ประโยชน์ของการค้าระหว่างประเทศ.
E N D
บทที่ 7 การค้าและการเงินระหว่างประเทศ
สาเหตุของการค้าระหว่างประเทศสาเหตุของการค้าระหว่างประเทศ • การกระจายทรัพยากรทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศมีความเหลื่อมล้ำกัน • ประสิทธิภาพในการผลิตสินค้าและบริการต่างกัน
ประโยชน์ของการค้าระหว่างประเทศประโยชน์ของการค้าระหว่างประเทศ • การค้าระหว่างประเทศทำให้เราได้บริโภคหรือใช้สินค้าอื่นๆที่จำเป็นในการครองชีพซึ่งประเทศของตนไม่สามารถผลิตได้ หรือมีสินค้าอื่นๆให้เลือกบริโภคได้มากขึ้น • การค้าระหว่างประเทศทำให้ได้ใช้และบริโภคของที่มีราคาถูกกว่า และทำให้มีสินค้าใช้ในจำนวนมากขึ้น • เกิดการแบ่งงานกันทำระหว่างประเทศ และทำให้การใช้ทรัพยากรของโลกเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและประหยัดที่สุด และทำให้ประเทศมีความเจริญก้าวหน้าทางเศรษฐกิจ
ทฤษฎีการค้าระหว่างประเทศทฤษฎีการค้าระหว่างประเทศ • Smith การค้าระหว่างประเทศควรเป็นการค้าเสรีที่ปราศจากการควบคุมของรัฐบาล ทั้งในด้านการนำสินค้าเข้าและส่งออกสินค้า • เชื่อว่า “มือที่มองไม่เห็น” จะจัดการทุกสิ่งทุกอย่างเอง การเข้าแทรกแซงของรัฐบาลจะทำให้เกิดการจำกัดสินค้าโดยการตั้งกำแพงภาษี หรือการห้ามสินค้านำเข้า ซึ่งเป็นสาเหตุของการผูกขาดสินค้าและผู้ได้รับประโยชน์ คือ พ่อค้า ผู้เสียผลประโยชน์ คือ ผู้บริโภค
ทฤษฎีความได้เปรียบโดยสมบูรณ์(Theory of Absolute Advantage)
ทฤษฎีความได้เปรียบโดยสมบูรณ์(Theory of Absolute Advantage) ข้อบกพร่อง • ถ้าประเทศใดประเทศหนึ่งมีความได้เปรียบโดยสมบูรณ์ในการผลิตสินค้าทั้ง 2 ชนิดมากกว่าอีกประเทศหนึ่ง ก็ไม่ควรจะเกิดการค้าระหว่างประเทศทั้ง 2 แต่ในทางปฏิบัติปรากฏว่าประเทศใดประเทศหนึ่งมีความได้เปรียบโดยสมบูรณ์ในสินค้า 2 ชนิด แต่ก็ยังคงทำการค้ากับอีกประเทศหนึ่ง ซึ่งมีความเสียเปรียบโดยสมบูรณ์ในสินค้าทั้ง 2 ชนิด
ทฤษฎีความได้เปรียบโดยเปรียบเทียบ(Theory of Comparative Advantage) • เดวิด ริคาโด • ประเทศใดที่ผลิตสินค้าชนิดหนึ่งด้วยต้นทุนเชิงเปรียบเทียบที่ต่ำกว่าประเทศอื่น ประเทศนั้นควรเป็น ผู้ส่งออกสินค้าดังกล่าว เพื่อแลกกับสินค้าที่ประเทศตนผลิตแล้วต้นทุนเชิงเปรียบเทียบสูงกว่าประเทศอื่น
ทฤษฎีความได้เปรียบโดยเปรียบเทียบ(Theory of Comparative Advantage)
ทฤษฎีความได้เปรียบโดยเปรียบเทียบ(Theory of Comparative Advantage) ไทยมีอัตราส่วนต้นทุนในการผลิตข้าว : คอมพิวเตอร์ = 10 คน : 20 คน หรือ 0.5 : 1 เกาหลีใต้มีอัตราส่วนต้นทุนในการผลิตข้าว : คอมพิวเตอร์ = 60 คน : 40 คน หรือ 1.5 : 1
ทฤษฎีความได้เปรียบโดยเปรียบเทียบ(Theory of Comparative Advantage) ไทยมีอัตราส่วนต้นทุนในการผลิตคอมพิวเตอร์ : ข้าว = 20 คน : 10 คน หรือ 2 : 1 เกาหลีใต้มีอัตราส่วนต้นทุนในการผลิตคอมพิวเตอร์ : ข้าว = 40 คน : 60 คน หรือ 0.67 : 1
บัญชีดุลการชำระเงิน (Balance of Payment) การเงินระหว่างประเทศ เป็นการบันทึกธุรกรรมทางเศรษฐกิจหรือรายการแลกเปลี่ยนทางเศรษฐกิจ (Economic Transactions) ระหว่างผู้มีถิ่นฐานของประเทศนั้น (Residents) กับผู้ที่มีถิ่นฐานของต่างประเทศ (Non-residents)ในช่วงระยะเวลาหนึ่ง โดยปกติคือ 1 ปี Residents หมายถึง ผู้พำนักอาศัยอยู่ในอาณาเขตของประเทศหนึ่ง ซึ่งเป็นผู้ที่มีภูมิลำเนาเป็นการถาวรอยู่ในประเทศนั้น
การเงินระหว่างประเทศ Economic transactions หมายถึง กิจกรรมเกี่ยวกับการซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการ การโอนกรรมสิทธิ์ทรัพย์สินระหว่างบุคคลหนึ่งกับบุคคลอื่นๆ โดยทั่วไปการแลกเปลี่ยนทางเศรษฐกิจจะก่อให้เกิดการรับจ่ายเงินให้กันและกัน สื่อกลางในการแลกเปลี่ยนระหว่างประเทศจะใช้เงินตราต่างประเทศหรือสินทรัพย์อื่นที่เป็นที่ยอมรับระหว่างประเทศ
องค์ประกอบของบัญชีดุลการชำระเงินองค์ประกอบของบัญชีดุลการชำระเงิน ดุลการ ชำระเงิน บัญชีดุลการ ชำระเงิน
การเงินระหว่างประเทศ • อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ คือ ราคาของเงินตราต่างประเทศ 1 หน่วย เมื่อคิดเทียบเป็นเงินตราภายในประเทศ เช่น อัตราแลกเปลี่ยนระหว่างเงินบาทกับเงินดอลลาร์สหรัฐฯ ก็คือ จำนวนเงินบาทที่สามารถแลกเงินดอลลาร์ได้ 1 ดอลลาร์ ซึ่งอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศนี้จะถูกกำหนดจากอุปสงค์และอุปทานของเงินตราต่างประเทศ
ความสำคัญของอัตราแลกเปลี่ยนความสำคัญของอัตราแลกเปลี่ยน • สะดวกในการชำระเงินในการติดต่อค้าขายระหว่างประเทศ • การเปลี่ยนแปลงในอัตราแลกเปลี่ยนส่งผลต่อ ดุลการค้า ดุลการชำระเงิน การนำเข้า ส่งออก และรายได้ประชาชาติ
ตัวอย่าง 100,000 $ นำเข้า อัตราแลกเปลี่ยน 40 ฿ ต่อ 1$ 100,000 $ 4,000,000 ฿
100,000 $ หรือ 4,000,000 ฿ เงินบาทแข็งค่า เงินบาทอ่อนค่า
ตัวอย่าง 1,000,000 ฿ ส่งออก อัตราแลกเปลี่ยน 40 ฿ ต่อ 1$ 1,000,000 ฿ 25,000 $
1,000,000 ฿หรือ 25,000 $ เงินบาทแข็งค่า เงินบาทอ่อนค่า
สรุป • ถ้าเป็นผู้นำเข้า เงินบาทที่แข็งค่าจะทำให้ผู้นำเข้าชำระค่าสินค้าคิดเป็นเงินบาทถูกลง • แต่ถ้าเป็นผู้ส่งออก เงินบาทที่อ่อนค่า ทำให้สินค้าเราถูกลงในสายตาชาวต่างชาติ เราจะสามารถส่งออกได้เพิ่มขึ้น
ชนิดของอัตราแลกเปลี่ยนชนิดของอัตราแลกเปลี่ยน • อัตราแลกเปลี่ยนลอยตัว (Floating Exchange Rate) เป็นอัตราที่ถูกกำหนดในตลาดแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศที่มีการแข่งขันอย่างเสรี • อัตราแลกเปลี่ยนคงที่ (Fixed Exchange Rate) เป็นอัตราแลกเปลี่ยนที่ถูกกำหนดโดยธนาคารกลางของแต่ละประเทศ
การกำหนดอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ ดุลยภาพภายใต้ระบบอัตราแลกเปลี่ยนแบบเสรี อัตราแลกเปลี่ยนภายใต้ระบบอัตราแลกเปลี่ยนแบบเสรีจะถูกกำหนดจากอุปสงค์และอุปทานของเงินตราต่างประเทศซึ่งอุปสงค์และอุปทานของเงินตราต่างประเทศเป็นอุปสงค์ต่อเนื่อง (Derived Demand) และอุปทานต่อเนื่อง (Derived Supply)
อุปสงค์ต่อเงินตราต่างประเทศ(Demand for Foreign Exchange) อุปสงค์ต่อเงินตราต่างประเทศ (Demand for Foreign Exchange) คือ จำนวนต่างๆของเงินตราต่างประเทศสกุลนั้น ที่มีผู้ซื้อต้องการได้มา ณ ระดับอัตราแลกเปลี่ยนต่างๆในระยะเวลาช่วงหนึ่งที่กำหนด ซึ่งจะมีความสัมพันธ์เป็นไปตามกฎอุปสงค์ กล่าวคือ ปริมาณเงินตราต่างประเทศสกุลใดสกุลหนึ่งที่มีผู้ต้องการซื้อจะแปรผกผันกับระดับอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศสกุลนั้นเสมอ
ปัจจัยที่กำหนดอุปสงค์ต่อเงินตราต่างประเทศปัจจัยที่กำหนดอุปสงค์ต่อเงินตราต่างประเทศ อุปสงค์ของเงินตราต่างประเทศ ขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆ ดังนี้ • อัตราแลกเปลี่ยน • รสนิยมของผู้บริโภคที่มีต่อสินค้าภายในประเทศและสินค้าต่างประเทศ • การเปลี่ยนแปลงในอัตราดอกเบี้ยทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ • รายได้ส่วนบุคคลและรายได้ประชาชาติ • ความแตกต่างด้านความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ • ความแตกต่างระหว่างอัตราเงินเฟ้อของแต่ละประเทศ • การเปลี่ยนแปลงการคาดการณ์ต่างๆ เช่น การคาดการณ์เกี่ยว กับการเปลี่ยนแปลงของอัตราแลกเปลี่ยน
อุปสงค์ต่อเงินตราต่างประเทศ (Demand for Foreign Exchange) อัตราแลกเปลี่ยน อัตราแลกเปลี่ยนเพิ่ม เงินบาทอ่อนค่าลง ความต้องการเงินตราต่างประเทศลดลง 40 บาท : 1 ดอลล่าร์ 30 บาท : 1 ดอลล่าร์ D 100 200 ปริมาณเงินดอลล่าร์
อุปสงค์ต่อเงินตราต่างประเทศ (Demand for Foreign Exchange) อัตราแลกเปลี่ยน อัตราแลกเปลี่ยนลดลง เงินบาทแข็งค่าขึ้น ความต้องการเงินตราต่างประเทศเพิ่มขึ้น 50 บาท : 1 ดอลล่าร์ 20 บาท : 1 ดอลล่าร์ D1 D 100 200 ปริมาณเงินดอลล่าร์
อุปทานของเงินตราต่างประเทศ (Supply of Foreign Exchange) อุปทานของเงินตราต่างประเทศได้จากการขายสินค้าและบริการให้ต่างประเทศ ตลอดจนการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศในแบบอื่นๆ ปริมาณของเงินตราต่างประเทศที่หามาได้นั้น ย่อมแปรผันโดยตรงกับอัตราแลกเปลี่ยน ทั้งนี้เนื่องจากว่าเมื่ออัตราแลกเปลี่ยนสูงขึ้น ราคาสินค้าออกจะถูกลง การส่งออกมากขึ้น(หรือการเคลื่อนย้ายเงินทุนออกนอกประเทศของชาวต่างประเทศจะได้ผลตอบแทนมากขึ้น) อุปทานของเงินตราต่างประเทศจะมากขึ้น ในทางตรงข้าม ถ้าอัตราแลกเปลี่ยนต่ำลง ราคาสินค้าออกจะแพงขึ้น การส่งออกมีแนวโน้มลดลง อุปทานของเงินตราต่างประเทศจะลดลง
ปัจจัยที่กำหนดอุปทานของเงินตราต่างประเทศปัจจัยที่กำหนดอุปทานของเงินตราต่างประเทศ อุปทานของเงินตราต่างประเทศขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆ ดังนี้ คือ • อัตราแลกเปลี่ยน • รสนิยมในการบริโภคสินค้า • การเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ • ต้นทุนการผลิตโดยเปรียบเทียบ • ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี • การส่งเสริมการลงทุน มาตรการด้านภาษี และการกีดกันทางการค้า • รายได้ส่วนบุคคลและรายได้ประชาชาติ
อุปทานของเงินตราต่างประเทศ (Supply of Foreign Exchange) อัตราแลกเปลี่ยน S 40 บาท : 1 ดอลล่าร์ อัตราแลกเปลี่ยนเพิ่ม ราคาสินค้าส่งออกถูกลง ขายได้มากขึ้น Supply เงินตราต่างประเทศมากขึ้น 30 บาท : 1 ดอลล่าร์ 100 200 ปริมาณเงินดอลล่าร์
อุปทานของเงินตราต่างประเทศ (Supply of Foreign Exchange) อัตราแลกเปลี่ยน S S1 30 บาท : 1 ดอลล่าร์ อัตราแลกเปลี่ยนลดลง ราคาสินค้าส่งออกแพงขึ้น ขายได้น้อยลง Supply เงินตราต่างประเทศลดลง 20 บาท : 1 ดอลล่าร์ 100 200 ปริมาณเงินดอลล่าร์
อัตราแลกเปลี่ยนดุลยภาพอัตราแลกเปลี่ยนดุลยภาพ อัตราแลกเปลี่ยน S P D Q ปริมาณเงินดอลล่าร์
การเปลี่ยนแปลงในอัตราแลกเปลี่ยนดุลยภาพการเปลี่ยนแปลงในอัตราแลกเปลี่ยนดุลยภาพ
Change in Taste อัตราแลกเปลี่ยน S ความเจริญก้าวหน้าในเทคโนโลยีการผลิตเครื่องจักรกลใหม่ของสหรัฐอเมริกา P1 P D1 D Q Q1 ปริมาณเงินดอลล่าร์
Change in Taste อัตราแลกเปลี่ยน S S1 P ผ้าไหมไทยเป็นที่นิยมของนักออกแบบและผู้บริโภคต่างชาติ P1 D Q Q1 ปริมาณเงินดอลล่าร์
Relative Income Change อัตราแลกเปลี่ยน S รายได้ประชาชาติของไทยเพิ่มสูงขึ้น ขณะที่รายได้ประชาชาติของญี่ปุ่นคงที่ P1 P D1 D Q Q1 ปริมาณเงินเยน
Relative Price Change อัตราแลกเปลี่ยน S S1 สินค้าส่งออกของไทย เมื่อคิดเป็นบาท ราคาถูกลง P P1 D Q Q1 ปริมาณเงินดอลล่าร์
Capital Movement อัตราแลกเปลี่ยน S S1 ถ้าอัตราดอกเบี้ยในประเทศไทยสูงกว่าในประเทศญี่ปุ่น P P1 D Q Q1 ปริมาณเงินเยน
ข้อดีของการใช้อัตราแลกเปลี่ยนแบบลอยตัวข้อดีของการใช้อัตราแลกเปลี่ยนแบบลอยตัว การกำหนดให้อัตราแลกเปลี่ยนลอยตัวขึ้นอยู่กับกลไกของตลาด สามารถช่วยขจัดการชาดดุลและเกินดุลของดุลการชำระเงินได้ โดยที่รัฐบาลไม่ต้องแทรกแซง การเปลี่ยนแปลงของอัตราแลกเปลี่ยนเสรี ทำให้ราคาสินค้าออกและราคาสินค้าเข้าเปลี่ยนแปลงโดยอัตโนมัติ โดยที่ไม่ต้องเปลี่ยนแปลงหรือกระทบกระเทือนราคาภายในประเทศหรือราคาในต่างประเทศ
ข้อเสียของการใช้อัตราแลกเปลี่ยนแบบลอยตัวข้อเสียของการใช้อัตราแลกเปลี่ยนแบบลอยตัว อัตราแลกเปลี่ยนจะเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ทำให้การคาดคะเนอัตราแลกเปลี่ยนทำได้ยาก อาจทำให้การค้าระหว่างประเทศลดลง
อัตราแลกเปลี่ยนคงที่ (Fixed Exchange Rate) อัตราแลกเปลี่ยน รัฐบาลต้องเข้าแทรกแซงอาจจะทำให้ Supply เพิ่มขึ้น หรือลดDemand ลง หรือทั้งสองอย่าง S S1 50฿ : 1 $ 40 ฿ : 1 $ D1 D S D ปริมาณเงินดอลล่าร์
เครื่องมือในการรักษาอัตราแลกเปลี่ยนให้คงที่เครื่องมือในการรักษาอัตราแลกเปลี่ยนให้คงที่ การใช้ทุนสำรองระหว่างประเทศ Excess Supply รับซื้อเงินตราต่างประเทศเพื่อให้Supply ของเงินตราต่างประเทศลดลง Excess Demand ขายทุนสำรองระหว่างประเทศ เพื่อให้ Supply ของเงินตราต่างประเทศเพิ่มขึ้น
เครื่องมือในการรักษาอัตราแลกเปลี่ยนให้คงที่เครื่องมือในการรักษาอัตราแลกเปลี่ยนให้คงที่ อัตราแลกเปลี่ยน S S1 50฿ : 1 $ 40 ฿ : 1 $ D1 D S D ปริมาณเงินดอลล่าร์
นโยบายการค้า เครื่องมือในการรักษาอัตราแลกเปลี่ยนให้คงที่ Excess Demand - กำหนดปริมาณการนำเข้า • ตั้งกำแพงภาษี • เก็บภาษีพิเศษจากการลงทุนในต่างประเทศ • ฯลฯ
การควบคุมเงินตราต่างประเทศการควบคุมเงินตราต่างประเทศ เครื่องมือในการรักษาอัตราแลกเปลี่ยนให้คงที่ Excess Demand รัฐบาลบังคับว่าเงินตราต่างประเทศทั้งหมดที่ผู้ส่งออกได้รับมา จะต้องนำมาขายให้กับรัฐบาล และรัฐบาลจะเป็นผู้จัดสรรปันส่วน Supply เงินตราต่างประเทศ ให้ผู้นำเข้า วิธีการนี้รัฐบาลจะสามารถควบคุมสินค้านำเข้าให้อยู่ในมูลค่าเท่ากับมูลค่าสินค้าส่งออกได้
ข้อดีของระบบอัตราแลกเปลี่ยนคงที่ข้อดีของระบบอัตราแลกเปลี่ยนคงที่ ผู้นำเข้าและส่งออก สามารถคำนวณต้นทุนการส่งออกและนำเข้าได้อย่างค่อนข้างถูกต้อง ลดความเสี่ยงการขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยน เศรษฐกิจของประเทศค่อนข้างมีเสถียรภาพ ลดการเก็งกำไรจากการซื้อขายเงินตราต่างประเทศ
ข้อเสียของระบบอัตราแลกเปลี่ยนคงที่ข้อเสียของระบบอัตราแลกเปลี่ยนคงที่ ธนาคารกลางต้องมีเงินตราต่างประเทศสำรองได้มากเพียงพอที่จะรักษาระดับอัตราแลกเปลี่ยนให้คงที่ได้ มาตรการในการรักษาระดับอัตราแลกเปลี่ยนอาจส่งผลกระทบต่อการลงทุน การจ้างงานและการผลิตในประเทศ เกิดการซื้อขายเงินตราต่างประเทศในตลาดมืด
การค้ากำไรในตลาดเงินตราต่างประเทศ (Arbitrage) เกิดขึ้นเมื่ออัตราแลกเปลี่ยนระหว่างเงินตรา สอง สกุลในทุกๆ ตลาดที่มีการซื้อขายเงินตราต่างประเทศไม่เท่ากัน โดยที่นักค้ากำไร (Arbitrageur) จะซื้อเงินตราจากตลาดที่ถูกกว่า และขายเงินตราสกุลนั้นในตลาดที่แพงกว่าในทันทีเพื่อที่จะทำกำไร
การค้ากำไรในตลาดเงินตราต่างประเทศ (Arbitrage) กรุงเทพ 40 บาท : 1 ดอลล่าร์ นิวยอร์ค 35 บาท : 1 ดอลล่าร์ ซื้อเงินดอลลาร์ในตลาดนิวยอร์ค ด้วยราคา 35 บาท และนำเงินดอลลาร์ไปขายทันทีในตลาดที่กรุงเทพ ในราคา 40 บาท ดังนั้นจะได้กำไรจากส่วนต่างนี้ 5 บาทต่อ 1 ดอลลาร์
การค้ากำไรในตลาดเงินตราต่างประเทศ (Arbitrage) นักค้ากำไรจะซื้อเงินดอลลาร์ใน NY ทำให้อุปสงค์ของเงินดอลลาร์ใน NY เพิ่มขึ้นเท่ากับเป็นการผลักดันให้ราคาของเงินดอลลาร์ในรูปของเงินบาทสูงขึ้น คือ อัตราแลกเปลี่ยนใน NY จะมากกว่า 35 บาท ต่อ 1 ดอลล่าร์ ในขณะเดียวกันการขายเงินดอลลาร์ใน BKK จะเป็นการเพิ่มอุปทานของเงินดอลลาร์ใน BKK และจะผลักดันให้ราคาของเงินดอลลาร์ในรูปของเงินบาทต่ำลง คือ อัตราแลกเปลี่ยนใน BKK จะน้อยกว่า 40 บาท ต่อ 1 ดอลล่าร์
การค้ากำไรในตลาดเงินตราต่างประเทศ (Arbitrage) เหตุการณ์เช่นนี้จะดำเนินไปเรื่อยๆจนกระทั่งราคาของเงินดอลลาร์ในรูปของเงินบาทใน NYเท่ากับใน BKK สมมติว่าเท่ากับ 38 บาท ต่อ 1 ดอลล่าร์ การค้ากำไรก็จะหมดไป การค้ากำไรของเงินตรา 2 สกุลในตลาด เรียกว่า “Two-point Arbitrage”