1 / 9

700 207 Immunology

700 207 Immunology. วิทยาภูมิคุ้มกัน. อ.พิเชษฐ ศรีบุญยงค์. นายสัตวแพทย์ยันต์ สุขวงศ์. ระบบภูมิคุ้มกัน. คำว่า Immune มาจากภาษาลาติน ซึ่งแปลว่า ปลอดจากภาษีหรือปลอดจากภาระ สมัยก่อนได้ถูกนำไปใช้ โดยหมายความถึงความต้านทานในตัวบุคคลที่จะไม่เป็นโรคซ้ำจากเชื้อโรคตัวเดิม.

Télécharger la présentation

700 207 Immunology

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. 700 207 Immunology วิทยาภูมิคุ้มกัน อ.พิเชษฐ ศรีบุญยงค์ นายสัตวแพทย์ยันต์ สุขวงศ์

  2. ระบบภูมิคุ้มกัน คำว่า Immune มาจากภาษาลาติน ซึ่งแปลว่า ปลอดจากภาษีหรือปลอดจากภาระ สมัยก่อนได้ถูกนำไปใช้ โดยหมายความถึงความต้านทานในตัวบุคคลที่จะไม่เป็นโรคซ้ำจากเชื้อโรคตัวเดิม

  3. แต่ความหมายที่ถูกต้องในปัจจุบัน หมายถึง กลไกตามธรรมชาติที่ทำให้ร่างกายสามารถจำสิ่งแปลกปลอมได้และพยายามกำจัดสิ่งแปลกปลอมนั้นออกด้วยวิธีต่างๆ ซึ่งมีผลทำให้เกิดหรือไม่เกิดอันตรายต่อเนื้อเยื่อตนเอง

  4. ส่วนประกอบของระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายส่วนประกอบของระบบภูมิคุ้มกันในร่างกาย 1. อวัยวะ ที่ทำหน้าที่ของระบบภูมิคุ้มกัน ได้แก่ ไขกระดูก ธัยมัส ตับ ม้าม และต่อมน้ำเหลือง 2. เซลล์ ที่ทำหน้าที่ของระบบภูมิคุ้มกัน ได้แก่ เซลล์เม็ดเลือดขาวทุกชนิด ซึ่งได้แก่ ลิมโฟซัยท์ โมโนซัยท์/มาโครฟาจ นิวโทรฟิล อีโอซิโนฟิล เบโซฟิล และมาสท์เซลล์

  5. 3. สารน้ำของระบบภูมิคุ้มกันที่ทำหน้าที่โดยตรงต่อเซลล์เป้าหมาย ได้แก่ แอนติบอดี้ (อิมมูโนโกลบูลิน) และคอมพลีเมนต์ ส่วนสารน้ำโมโนไคน์ซึ่งหลั่งจากโมโนซัยท์/มาโครฟาจ ( เช่น IL-1 ฯลฯ )

  6. และสารน้ำลิมโฟไคน์ซึ่งหลั่งจากลิมโฟซัยท์ ( เช่น IL-2 , IL-3 ฯลฯ ) ไม่ได้ทำหน้าที่โดยตรงต่อเซลล์เป้าหมาย แต่มีบทบาทสำคัญในการช่วยส่งเสริมการทำงานของเซลล์ต่างๆของระบบภูมิคุ้มกัน

  7. หน้าที่โดยสังเขปของระบบภูมิคุ้มกันหน้าที่โดยสังเขปของระบบภูมิคุ้มกัน แบ่งออกได้เป็น 3 อย่างคือ 1. Defense เพื่อป้องกันร่างกายและเพิ่มความต้านทานของร่างกายต่อสิ่งแปลกปลอมภายนอก กลไกนี้อาจก่อให้เกิดผลร้ายต่อร่างกายได้ เช่น เกิดภาวะภูมิไวเกิน ( Hypersensitivity ) และหากเกิดความบกพร่องของกลไกนี้จะทำให้ความต้านทานของร่างกายลดลง

  8. 2. Homeostasis เพื่อกำจัดเซลล์ปกติของร่างกายที่ใช้งานไม่ได้แล้ว เช่น คอยทำลายเซลล์เนื้อเยื่อ เซลล์เม็ดเลือดที่อายุมาก ความผิดปกติของกลไกนี้จะทำให้เกิดโรคออโตอิมมูน

  9. 3. Surveillance เพื่อคอยจับตาดูการเปลี่ยนแปลงของเซลล์ต่างๆในร่างกาย และคอยกำจัดเซลล์ที่มีการเปลี่ยนแปลงผิดไปจากปกติ เช่น ทำลายเซลล์เนื้องอก ถ้ามีความบกพร่องของกลไกนี้ จะทำให้เกิดโรคมะเร็ง

More Related