1 / 37

บทที่ 6 สื่อกลางส่งข้อมูลและการมัลติเพล็กซ์ (Transmission Media and Multiplexing)

บทที่ 6 สื่อกลางส่งข้อมูลและการมัลติเพล็กซ์ (Transmission Media and Multiplexing). อาจารย์ ถนอม ห่อวงศ์สกุล. สื่อกลาง. สื่อกลาง ที่นำมาใช้เพื่อการสื่อสารนั้น สามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภท แบบมีสาย เช่น สายโคแอกเซียล สายคู่บิตเกลียว สายไฟเบอร์ออปติก แบบไร้สาย เช่น คลื่นวิทยุ.

lara
Télécharger la présentation

บทที่ 6 สื่อกลางส่งข้อมูลและการมัลติเพล็กซ์ (Transmission Media and Multiplexing)

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. บทที่ 6สื่อกลางส่งข้อมูลและการมัลติเพล็กซ์(Transmission Media and Multiplexing) อาจารย์ ถนอม ห่อวงศ์สกุล

  2. สื่อกลาง สื่อกลาง ที่นำมาใช้เพื่อการสื่อสารนั้น สามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภท • แบบมีสาย เช่น สายโคแอกเซียล สายคู่บิตเกลียว สายไฟเบอร์ออปติก • แบบไร้สาย เช่น คลื่นวิทยุ

  3. ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อความเร็วและระยะทางบนสื่อปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อความเร็วและระยะทางบนสื่อ • แบนด์วิดธ์ (Bandwidth) • ความสูญเสียต่อการส่งผ่าน (Transmission Impairments) • การรบกวนของสัญญาณ (Interference) • จำนวนโหนดที่เชื่อมต่อ (Number of Receivers)

  4. แบนด์วิดธ์ (Bandwidth) • แบนด์วิดธ์ คือ ย่านความถี่ของช่องสัญญาณ • หากมีช่องสัญญาณขนาดใหญ่ การจราจรก็จะคล่องตัวมากขึ้น • ย่อมส่งผลให้ภายในหนึ่งหน่วยเวลา สามารถเคลื่อนย้ายปริมาณข้อมูลได้จำนวนมากขึ้น

  5. ความสูญเสียต่อการส่งผ่าน (Transmission Impairments) • ความสูญเสียในที่นี้หมายถึง การอ่อนตัวของสัญญาณ • จะเกี่ยวข้องกับระยะทางในการส่งผ่านข้อมูล • ระยะทางยิ่งไกล สัญญาณก็จะยิ่งเบา ไม่มีกำลังส่ง • ตัวอย่างเช่น สายคู่บิตเกลียวจะมีความสูญเสียต่อการส่งผ่านข้อมูลภายในสายมากกว่าสายโคแอกเชียล

  6. การรบกวนของสัญญาณ (Interference) • การรบกวนของสัญญาณที่คาบเกี่ยวกันในย่านความถึ่ อาจส่งผลให้เกิดการบิดเบือนของสัญญารได้ • ไม่ว่าจะเป็นสื่อกลางส่งข้อมูลแบบมีสาย หรือแบบไร้สาย เช่น คลื่นวิทยุรบกวนกันเอง อุปกรณ์อย่างมอเตอร์ไฟฟ้าที่ก่อให้เกิดสนามแม่เหล็ก เป็นต้น

  7. จำนวนโหนดที่เชื่อมต่อ (Number of Receivers) • สื่อกลางส่งข้อมูลแบบใช้สาย สามารถนำมาเชื่อมต่อเครือข่ายในรูปแบบจุดต่อจุด หรือแบบหลายจุด เพื่อแชร์ใช้งานสายส่งข้อมูลร่วมกัน • สำหรับเครือข่ายที่ใช้สายส่งข้อมูลร่วมกันในการสื่อสารนั้น จะมีข้อจำกัดด้านระยะทางและความเร็วที่จำกัด

  8. สื่อส่งข้อมูลแบบใช้สายสื่อส่งข้อมูลแบบใช้สาย • สายคู่บิดเกลียว (Twisted-Pair Cable) • สาย UTP (Unshielded Twisted-Pair) • สาย STP (Shielded Twisted-Pair Cable) • สายโคแอกเชียล (Coaxial Cable) • สายไฟเบอร์ออปติก (Optical Fiber)

  9. สายคู่บิดเกลียว (Twisted-Pair Cable) • ลักษณะของสายบิดเกลียวจะประกอบด้วยสายทองแดง (Copper Wire) • ที่หุ้มด้วยฉนวนป้องกันที่มีหลากสี (Color-Code Insulation) และนำมาถักกันเป้นเกลียวคู่ • จำนวนรอบการถักเป็นเกลียวต่อหนึ่งหน่วยความยาว (1 เมตร หรือ 1 ฟุต) จะเรียกว่า Twist Ratio • ยิ่งมีรอบถักเกลียวกันหนาแน่นมากเท่าไหร่ จะช่วยลดสัญญาณรบกวนได้ดีขึ้น • การนำสายคู่บิดเกลียวมาใช้งานในปัจจุบันมาใช้อย่างกว้างขวาง มีกว่าร้อยชนิดที่ออกแบบมาให้เลือกใช้งาน • สามารถมีได้ตั้งแต่ 1 – 4,200 คู่ (เครือข่ายแลนใช้เพียง 4 คู่) • แบ่งออกเป็น 2 ประเภทด้วยกัน คือ สาย UTP และสาย STP

  10. สาย UTP (Unshielded Twisted-Pair) • ประกอบด้วยจำนนลวดตัวนำที่หุ้มฉนวนตั้งแต่ 1 คู่ขึ้นไป โดยแต่ละคู่จะบิดกันเป็นเกลียว และถูกห่อหุ้มด้วยเปลือกพลาสติก • ข้อสังเกตของสาย UTP คือจะไม่มีชีลด์ห่อหุ้มสายสัญาณ จะส่งผลให้สายชนิดนี้สัญญาณรบกวนได้ง่าย • เป็นสายที่นิยมนำมาใช้งานมากที่สุด เนื่องจากมีราคาถูกนั่นเอง • CAT 1, CAT 2, , CAT 3, CAT 4 , CAT 5 , CAT 5e , CAT 6 , CAT 6e , CAT 7 • โดยทั่วไปแล้วสาย UTP จะใช้คอนเน็กเตอร์แบบ RJ

  11. สาย STP (Shielded Twisted-Pair Cable) • การลดสัญญาณรบกวนในสาย UTP สามารถกระทำได้ด้วยการเพิ่มชีลด์เข้าไปอีกชั้นหนึ่งก่อนที่จะหุ้มด้วยเปลือกนอก • STP บางรุ่นมีฉนวนฟอยล์ซึ่งเป็นแผ่นโลหะบางๆ หุ้มเปลือกของลวดตัวนำ แล้วทั้งหมดก็จะหุ้มด้วยเส้นใยโลหะถักที่เรียกว่าชีลด์ก่อนหุ้มด้วยเปลือกนอก • สามารถป้องกันสัญญาณรบกวนแบบครอสทอส์กได้เป็นอย่างดี

  12. ข้อดีและข้อเสียสายคู่บิดเกลียวข้อดีและข้อเสียสายคู่บิดเกลียว ข้อดี • ราคาถูก • ง่ายต่อการนำไปใช้งาน ข้อเสีย • มีความเร็วจำกัด • ใช้กับระยะทางสั้นๆ • กรณีเป็นสายแบบไม่มีชิลด์ ก็จะไวต่อสัญญาณรบกวนจากภายนอก

  13. สายโคแอกเชียล (Coaxial Cable) • มักเรียกสั้นๆ ว่า สายโคแอกซ์ (Coax) • จะมีแบนด์วิดธ์ที่สูงกว่าสายคู่บิดเกลียว • สำหรับโครงสร้างของสายโคแอกเชียล จะมีตัวนำที่มักทำด้วยสายทองแดงอยู่แกนกลาง จะถูกห่อหุ้มด้วยพลาสติก • จากนั้นจะมีชีลด์ที่เป็นเส้นใยโลหะถักห่อหุ้มอีกชั้นหนึ่ง ก่อนที่จะหุ้มด้วยเปลือกนอก • สายชนิดนี้ถูกจัดประเภทโดยองค์กร Radio Government (RG) ดังนั้นจึงถูกใช้รหัส GR นำหน้าแล้วตามด้วยตัวเลข

  14. ประเภทของายโคแอกเชียลประเภทของายโคแอกเชียล

  15. สายไฟเบอร์ออปติก (Optical Fiber) • เป็นสายที่มีลักษณะโปร่งแสง มีรูปทรงกระบอก ภายในตัน • ขนาดประมาณเส้นผมของมนุษย์แต่มีขนาดเล็กกว่า โดยมีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 125 ไมครอน • เส้นใยแก้วจะเป็นแก้วบริสุทธิ์ซึ่งนำวัตถุดิบมาจากทราย และปนด้วยสารบางอย่างเพื่อให้แก้วมีค่าดัชนีหักเหของแสงตามต้องการ • แกนกลางจะเรียกว่า คอร์ (Core) และถูกห่อหุ้มด้วยแคลดดิ้ง (Cladding) • แบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลักๆ คือ • แบบมัลติโหมด (Multimode Fiber Optic : MMF) • แบบซิงเกิลโหมด (Single Fiber Optic : SMF)

  16. แบบมัลติโหมด (Multimode Fiber Optic : MMF) • จัดเป็นสายที่ถูกนำมาใช้งานช่วงเริ่ม • ภายในจะมีเส้นใจแก้วอยู่หลายเส้น และส่งข้อมูลแบบหลายลำแสง • แต่ละลำแสงที่วิ่งผ่านท่อจะมีการสะท้อนอยู่ภายมุมองศาที่แตกต่างกัน • แบ่งออกเป็น 2 ชนิดตามลักษณะของการหักเห คือ แบบ Step Index และ Graded Index • ข้อเสียแบบ Step Index คือเรื่องของความเบาบางของสัญญาณและการแตกกระจายของแสง จึงส่งผลต่อความเร็วของแต่ละสัญญาณที่อาจเดินทางด้วยความเร็วที่แตกต่างกัน จึงมีระยะทางจำกัดอยู่ที่ 500 เมตร • Graded Index ช่วยลดปัญหาการเปลี่ยงแปลงด้านการหักเหแสง และด้วยเทคนิคการหักเหแสงตามวิธีของ Graded Index ทำให้สัญญาณเดินทางอยู่กลางของใยแก้ว ทำให้ส่งสัญญาณได้ไกลกว่า 1 ก.ม.

  17. แบบซิงเกิลโหมด (Single Fiber Optic : SMF) • มีสายใยแก้วส่งข้อมูลเพียงเส้นเดียว • สามารถส่งสัญญาณได้ไกลกว่า เนื่องจากไม่มีปัญหาเรื่องการแตกกระจายของสัญญาณ • ขนาดของเส้นผ่านศูยน์กลางของแกนที่ใช้ส่งสัญญาณปกติมีขนาด 50 ไมครอน ลดลงเหลือ 5-10 ไมครอน (แสงที่ผ่านมีความเข้มเข้นสูงขึ้น) • มีการส่งข้อมูลที่รวดเร็วกว่า และสามารถส่งได้ไกลกว่า 100 ก.ม. • ปกติจะใช้แหล่งกำเนิดแสงเป็นเลเซอร์ มากกว่าแบบเลค (LED) ที่ใช้งานบนระบบมัลติโหมด

  18. ข้อดีและข้อเสียของสายไฟเบอร์ออปติกข้อดีและข้อเสียของสายไฟเบอร์ออปติก ข้อดี • มีอัตราลดทอนของสัญญาณต่ำ • ไม่มีการรบกวนของสัญญาณไฟฟ้า • มีแบนด์วิดธ์สูงมาก • มีขนาดเล็กและนำหนักเบา • มีความเป็นอิสระทางไฟฟ้า • มีความปลอดภัยในข้อมูล • มีความทนทานและมีอายุการใช้งานยาวนาน ข้อเสีย • เส้นใยแก้วมีความเปราะบาง แตกหักง่าย • การเดินสายจำเป็นต้องระมัดระวังอย่าให้มีความโค้งงอมาก • มีราคาสูง เมื่อเทียบกับสายเคบิลทั่วไป • การติดตั้งจำเป็นต้องพึ่งพาผู้เชี่ยวขาญเฉพาะ

  19. สื่อกลางส่งข้อมูลแบบไร้สาย (Wireless Media) • คลื่นแม่เหล็กไฟ้ฟ้า มีหน่วยวัดความยาวเป็นนาโนเมตร หรือไมโครเมตร ส่วนความถี่ของคลื่นจะมีหน่วยวัดเป็นเฮิรตซ์ • ลักษณะสำคัญของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า คือ จะมีความถี่แบบต่อเนื่องกันไปเป็นช่วงแนวกว้างที่เรียกว่า สเปกตรัมคลื่นไฟฟ้า

  20. วิธีการแพร่สัญญาณ (Propagation Method) • คลื่นดิน (Ground Wave Propagation) • คลื่นฟ้า (Sky Wave Propagation) • คลื่นอวกาศ (Space Wave Propagation)

  21. คลื่นดิน (Ground Wave Propagation) • เป็นคลื่นวิทยุความถี่ต่ำ • แพร่กระจายไปทุกทิศทุกทางจากสายอากาศ • เคลื่อนที่ไปตามแนวความโค้งของเปลือกโลก • ระยะทางขึ้นอยู่กับกำลังส่งของสัญญาณ

  22. คลื่นฟ้า (Sky Wave Propagation) • เป็นคลื่นวิทยุความถี่สูง • แพร่กระจายสูงขึ้นไปบนบรรยากาศไอโอโนสเฟียร์ (ชั้นที่เต็มไปด้วยอนภาคของอิออน) • สำหรับคลื่นสัญญาณในชั้นบรรยายกาศนี้ จะสะท้อนกลับมายังโลก โดยสามารถส่งได้ระยะทางไกลแม้จะมีกำลังส่งไม่มาก

  23. คลื่นอวกาศ (Space Wave Propagation) • คลื่นชนิดนี้เป็นคลื่นวิทยุความถี่สูงมาก • สัญญาณจะส่งเป็นแนวเส้นตรงระดับสายตาระหว่างเสาอากาศรับส่งด้วยกัน • คลื่นสัญญาณชนิดนี้จะไม่เคลื่อนไปตามส่วนโค้งของเปลือกโลก • การรับส่งจะต้องหันหน้าเข้าหากัน และระดับความสูงพอและปรับแหงนให้ตรงกัน

  24. ย่านความถี่

  25. อุปกรณ์จัดการกับคลื่นอุปกรณ์จัดการกับคลื่น • แบบแพร่สัญญาณรอบทิศ (Omnidirectional) • แบบกำหนดทิศทาง (directional)

  26. แบบแพร่สัญญาณรอบทิศ (Omnidirectional) • เป็นรูปแบบการกระจายคลื่นสัญญาณรอบทิศทาง ตัวอย่าง คลื่นวิทยุ • สัญญาณที่ส่งออกไป จะกระจายหรือแพร่ไปทั่วทิศในอากาษ ทำให้สามารถรับสัญญาณเหล่านี้ด้วยการตั้งเสาอากาศ • คลื่นวิทยุจะอยู่ในช่วงความถี่ 3 KHz - 1 GHz เป็นความถี่ที่เหมาะสมกับการกระจายสัญญาณแบบรอบทิศทาง เช่น คลื่นวิทยุ AM/FM หรือการแพร่ภาพสัญญาณโทรทัศน์ที่แพร่มาตามอากาศ • ข้อดีของคลื่นวิทยุ คือ เป็นสัญญาณที่สามารถทะลุสิ่งกีดขวางได้ดี • ข้อเสีย คือ ไม่สามารถควบคุมการแพร่สัญญาณให้จำกัดอยู่ในเฉพาะบริเวณได้

  27. แบบกำหนดทิศทาง (directional) • เป็นแบบกำหนดทิศทางของสัญญาณด้วยการโฟกัสคลื่นนั้น ๆ ตัวอย่างก็คือ คลื่นไมโครเวฟ • อุปกรณ์รับส่งจำเป็นต้องปรับให้อยู่ในแนวระนาบเดียวกันหรือเป็นแนวเส้นตรงระดับสายตา • สามารถกำหนดทิศทางของสัญญาณได้ดี • เป็นคลื่นความถี่สูงที่อยู่ในช่วงระหว่าง 1 – 300 GHz • การสื่อสารเป็นลักษณะจุดต่อจุด

  28. คลื่นวิทยุ (Radio Frequency : RF) • คลื่นวิทยุก็คือคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ซึ่งมีความเร็วเท่ากับความเร็วของแสง • มีช่วงความถี่ 3 KHz - 1 GHz • ช่วงคลื่นดังกล่าวสามารถนำไปใช้ส่งข่าวสาร • โดยมีการเริ่มใช้งานกับคลื่นวิทยุ AM (530 – 1600 KHz) และคลื่น FM (88 – 108 KHz)

  29. ไมโครเวฟ (Terrestrial Microwave Transmission) • ช่วงความถี่ตั้งแต่ 1 – 300 GHz เป็นช่วงความถี่ของโทรทัศน์และไมโครเวฟ • สามารถทะลุผ่านชั้นบรรยากาศไปยังนอกโลก • สำหรับช่วงความถี่ที่นิยมนำใช้ส่งคลื่นโทรทัศน์คือคลื่น VHF และ UHF • คลื่นไมโคเวฟจะสามารถส่งสัญญาณได้ไกลประมาณ 20 ไมล์ • หากต้องการส่งข้อมูลไกลออกไปจะต้องมีจานรับส่งที่ทำหน้าที่ทวนสัญญาณ • ข้อเสีย สามารถถูกรบกวนจากคลื่นแม่เหล็กไฟ้ฟ้าได้ง่าย รวมทั้งสภาพภูมิอากาศแปรปวนมีผลกระทบต่อการสื่อสาร • ข้อจำกัดด้านภูมิประเทศที่มีภูเขาบดบังสัญญาณ และความโค้งของเปลือกโลก

  30. โทรศัพท์เคลื่อนที่ • ยุค 1G (First-Generation) • ยุค 2G (Second-Generation) • ยุค 2.5G (Second-and-One-Half-Generation) • ยุค 3G (Third-Generation) • ยุค 4G (Fourth-Generation)

  31. อินฟราเรด (Infrared Transmission) • มีช่วงความถี่ 300 GHz – 400 GHz • มักนำมาใช้ควบคุมอุปกรณ์ไฟฟ้า เช่น วิทยุ โทรทัศน์ เป็นต้น • ลำแสงเดินทางเป็นเส้นตรง สามารถสะท้อนวัตถุผิวเรียบได้ • การใช้งานปกติจะมีระยะทางไม่กี่เมตร • ข้อเสีย ไม่สามารถทะลุวัตถุทึบแสงหรือกำแพงที่กีดขวางได้

  32. บลูทูธ • เป็นเทคโนโลยีสื่อสารไร้สายระยะทางสั้นๆ • เริ่มแรกถูกออกแบบมาเพื่อใช้เป็นวิธีใหม่ของการเชื่อมต่อหูฟังเข้ากับเซลล์โฟนได้สะดวกยิ่งขึ้น • ข้อดีคือ ลงทุนต่ำและใช้พลังงานต่ำ • ความเร็วในการถ่ายโอนข้อมูลโดยตรงอยู่ที่ 772 Kbps และแบบหลายจุด 57.6 Kbps • นิยมมาใช้งานกับอุปกรณ์สื่อสารต่างๆ เช่น พีดีเอ คอมพิวเตอร์โน๊ตบุ๊ค เครื่องพิมพ์ โทรศัพท์คลื่นที่ เป็นต้น

  33. WAP (Wireless Application Protocol) • เป็นมาตรฐานสากลที่ใช้สำหรับการสื่อสารข้อมูลแบบไร้สาย • WAP เป็นโปรโตคอลที่ใช้งานบนอุปกรณ์พกพาต่างๆ เพื่อให้สามารถเข้าสู่เครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้ปกติ • มีการพัฒนาภาษา WML(Wireless Markup Language) เพื่อแสดงผลในรูปแบบ WAP Browser

  34. การพิจารณาสื่อกลางส่งข้อมูลการพิจารณาสื่อกลางส่งข้อมูล • ต้นทุน • ความเร็ว • ระยะทางและการขยาย • สภาพแวดล้อม • ความปลอดภัย

  35. มัลติเพล็กซ์ • การมัลติเพล็กซ์ เป็นเทคนิคที่ผสมสัญญาณที่มาจากหลายแหล่งข้อมูล ให้สามารถส่งผ่านช่องสัญญาณเดียวกันเพื่อใช้งานร่วมกันได้ • การนำเทคนิคมัลติเพล็กซ์มาใช้ ส่งผลให้สามารถลำเลียงข้อมูลในปริมาณมากผ่านลิงก์เดียว ทำให้เกิดการลงทุนที่ประหยัด • MUXเป็นอุปกรณ์ที่รับสัญญาณจากหลายแหล่งเข้ามาเพื่อเตรียมส่งผ่านลิงก์ • DEMUXเป็นอุปกรณ์ที่รับเข้ามา เพื่อส่งต่อไปยังอุปกรณ์ปลายทาง

  36. เทคนิคการมัลติเพล็กซ์เทคนิคการมัลติเพล็กซ์ • การมัลติเพล็กซ์แบบแบ่งความถี่ (FDM) เป็นเทคนิคที่นำมาใช้กับการส่งสัญญาณ แอนะล็อก เช่นการส่งสัญญาณคลื่นวิทยุกระจายเสียง • การมัลติเพล็กซ์แบบแบ่งความยาวคลื่น (WDM) ใช้หลักการเดียวกันกับ FMD แตกต่างตรงสายสัญญาณที่ใช้เป็นสายไฟเบอร์ออปติก และเป็นการมัลติเพล็กซ์คลื่นแสง • การมัลติเพล็กซ์แบบแบ่งเวลา (TDM) • Sync TDM อนุญาตให้ข้อมูลจากแต่ละแหล่งมาหมุนเวียน เพื่อส่งข้อมูลไปบนสายส่งข้อมูลความเร็วสูง สถานีที่ไม่ได้ส่งข้อมูลก็จะต้องส่งข้อมูลว่างออกไปด้วย • Stat TDM เป็นการมัลติเพล็กซ์เชิงสถิติที่ข้อมูลสามารถส่งร่วมกันบนสายในลักษณะแบบแบ่งเวลาตามความต้องการ เพื่อหลีกเลี่ยงการสูญเสียสล็อตว่างเปล่า โดยสถานีจะมีการบรรจุแอดเดรสของตนเข้าไปพร้อมกับข้อมูลด้วย เพื่อให้ฝั่ง่รับได้รับทราบถึงข้อมูลที่สงมา และส่งกลับไปยังสถานีปลายทางได้ถูกต้อง

  37. อ้างอิง โอภาส เอี่ยมสิริวงศ์. (๒๕๕๒). การสื่อสารข้อมูลคอมพิวเตอร์และระบบเครือข่าย. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.

More Related