1 / 30

เครื่องใช้อิเล็กทรอนิกส์ตามข้อกำหนด มอก.1195-2536

เครื่องใช้อิเล็กทรอนิกส์ตามข้อกำหนด มอก.1195-2536. นำเสนอโดย นายอาทิตย์ วัสนมงคล 25 พฤศจิกายน 2551. Scope. รู้จัก มอก.1195-2536 Product ที่อยู่ในขอบข่าย อันตรายจาก Product ข้อกำหนดที่สำคัญ ปัญหา และแนวทางแก้ไข. รู้จัก มอก.1195-2536. มอก.1195-2536 คือ

lawson
Télécharger la présentation

เครื่องใช้อิเล็กทรอนิกส์ตามข้อกำหนด มอก.1195-2536

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. เครื่องใช้อิเล็กทรอนิกส์ตามข้อกำหนด มอก.1195-2536 นำเสนอโดย นายอาทิตย์ วัสนมงคล 25 พฤศจิกายน 2551

  2. Scope • รู้จัก มอก.1195-2536 • Product ที่อยู่ในขอบข่าย • อันตรายจาก Product • ข้อกำหนดที่สำคัญ • ปัญหา และแนวทางแก้ไข

  3. รู้จัก มอก.1195-2536 • มอก.1195-2536 คือ มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม เครื่องใช้อิเล็กทรอนิกส์และอุปกรณ์เกี่ยวข้องที่ใช้กับแหล่งจ่ายไฟฟ้าประธาน สำหรับใช้ในที่อยู่อาศัย และงานทั่วไปที่มีลักษณะคล้ายกัน เฉพาะด้านความปลอดภัย

  4. รู้จัก มอก.1195-2536 • ความเป็นมา - สมอ. เป็นผู้กำหนดมาตรฐาน - ประกาศลงในราชกิจจานุเบกษา มีผลวันที่ 29 ธันวาคม 2536 พระราชกฤษฎีกากำหนดให้ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเครื่องใช้ อิเล็กทรอนิกส์ฯ ต้องเป็นไปตามมาตรฐานได้ประกาศลงในราชกิจจา นุเบกษาเมื่อ 26 สิงหาคม 2544 โดยจะมีผลบังคับใช้วันที่ 31 สิงหาคม 2545

  5. รู้จัก มอก.1195-2536 • ที่มาของข้อกำหนด สมอ.ใช้เอกสารเป็นแนวทางที่สำคัญ ได้แก่ IEC 65 (1985) Amendment No.1 (1987) Safety requirements for mains operated electronic and related apparatus for household and similar general use

  6. รู้จัก มอก.1195-2536 • มอก.1195 VS IEC 65

  7. Product ที่อยู่ในขอบข่าย • เครื่องรับวิทยุ • เครื่องรับโทรทัศน์ • เครื่องขยายสัญญาณ • ตัวแปลงรูปพลังงาน ด้านแหล่งกำเนิดสัญญาณและด้านโหลด เช่น ลำโพง ไมโครโฟน • เครื่องใช้ที่ขับด้วยมอเตอร์ เช่น เครื่องเล่นจานเสียง เครื่องเล่นเทป เครื่องเล่นวีซีดี เครื่องเล่นดีวีดี วีดีโอเกมส์ • เครื่องใช้อื่น เช่น เครื่องขยายสัญญาณสายอากาศ เครื่องจ่ายไฟฟ้า

  8. Product ที่อยู่ในขอบข่าย • เครื่องดนตรีอิเล็กทรอนิกส์ • เครื่องประกอบเครื่องดนตรีอิเล็กทรอนิกส์ เช่น เครื่องให้จังหวะ เครื่องกำเนิดเสียงดนตรี ครอบคลุมเฉพาะ Product ที่ใช้งานที่ระดับความสูงไม่เกิน 2000เมตรเหนือระดับทะเลปานกลาง ใช้กับแรงดันไฟฟ้าไม่เกิน 433 Vrms ในกรณี 3 เฟส หรือไม่เกิน 250Vrms ในกรณีอื่น ๆ

  9. อันตรายจาก Product • ไฟฟ้าช็อก (Electric Shock) • อุณหภูมิเกิน (Excessive Temperatures) • การแผ่รังสีที่ทำให้เกิดการแตกตัวเป็นไอออน (Radiation) • การระเบิดเข้า (Implosion) • การไม่มีเสถียรภาพทางกล (Mechanical Hazards) • ไฟ (Fire)

  10. อันตรายจาก Product • ไฟฟ้าช็อก (Electric Shock) เกิดจากกระแสไฟฟ้าไหลผ่านร่างกาย แค่ milliampere ก็มีผลต่อคนที่สุขภาพแข็งแรง การใช้แรงดันไฟฟ้าต่ำตามข้อกำหนด โดยทั่วไป ถือว่าไม่เกิดอันตราย การใช้ระดับป้องกันอย่างน้อย 2 ชั้น ระหว่าง ผู้ใช้กับส่วนที่มีไฟฟ้าอันตราย

  11. อันตรายจาก Product • อุณหภูมิเกิน (Excessive Temperatures) ความร้อนบนชิ้นส่วนที่ผู้ใช้เข้าถึงต้องไม่เกินเกณฑ์ที่กำหนด ตามประเภทของวัสดุนั้น ๆ ความร้อนข้างในผลิตภัณฑ์ทำให้ฉนวนเสียหายได้

  12. อันตรายจาก Product • การแผ่รังสีที่ทำให้เกิดการแตกตัวเป็นไอออน (Radiation) รังสีไอออนจากจอภาพ CRT ต้องไม่เกิน 0.5 mR/h หรือ 36 pA/kg ปกติจอชนิด LCD จะไม่มีรังสีประเภทนี้

  13. อันตรายจาก Product • การระเบิดเข้า (Implosion) ผลจากการระเบิดของหลอดภาพชนิด CRT

  14. อันตรายจาก Product • การไม่มีเสถียรภาพทางกล (Mechanical Hazards) เครื่องใช้ออกแบบโดยมีขอบ มุม ที่แหลมคม สามารถทำให้เกิดการบาดเจ็บได้ มีส่วนเคลื่อนไหวได้ในขณะทำงานโดยไม่มีการป้องกัน รูปทรงไม่เสถียร สามารถล้มทับได้

  15. อันตรายจาก Product • ไฟ (Fire) การทำงานที่โหลดเกิน (Overloads) ส่วนประกอบล้มเหลว (Components failure) ฉนวนชำรุด (Insulation breakdown) การอาร์ค (Arcing)

  16. ข้อกำหนดที่สำคัญ • เครื่องหมายและฉลาก สิ่งที่พบบ่อย 1) คุณภาพของวัสดุที่นำมาใช้รวมทั้งการพิมพ์ เมื่อถูด้วยน้ำ และน้ำยา ปิโตรเลียมสปิริตแล้วข้อความลบเลือน 2) รายละเอียดไม่ครบ เช่น - ไม่มีประเทศที่ทำ / ประกอบ - ไม่มีสัญลักษณ์ไฟฟ้ากระแสสลับ 

  17. ข้อกำหนดที่สำคัญ 3) แสดงเครื่องหมายที่ตัวยึดฟิวส์ไม่ถูกต้อง รูปแบบที่ถูกต้อง เช่น ระบุบนแผ่น PCB ใกล้ฟิวส์ T3.15AL 250V~ หรือ F3.15AH 250V~ โดยที่สัญลักษณ์แสดงความสัมพันธ์ระหว่างเวลาก่อนการอาร์ก T = denote time lag F = denote quick lag

  18. ข้อกำหนดที่สำคัญ ลักษณะสมบัติทางกระแสไฟฟ้าของตัวฟิวส์ L = denoting low breaking capacity E = denoting enhancedbreaking capacity H = denoting high breaking capacity

  19. ข้อกำหนดที่สำคัญ 4) สัญลักษณ์บนตัวสวิตช์ประธานไม่ถูกต้อง / ไม่มี มาตรฐานระบุว่าต้องมีชื่อผู้ทำ / เครื่องหมายการค้า แรงดันไฟฟ้าที่กำหนด กระแสไฟฟ้าที่กำหนด และกระแสไฟฟ้าเสิร์จค่ายอดที่กำหนด หรืออัตราส่วนระหว่างกระแสไฟฟ้าเสิร์จค่ายอดที่กำหนดกับกระแสไฟฟ้าที่กำหนด ตัวอย่าง 2A / 8A 250V~

  20. ข้อกำหนดที่สำคัญ • การเกิดความร้อนในภาวะการใช้งานตามปกติ ส่วนประกอบที่พบปัญหามากในการเกิดความร้อนเกินได้แก่ 1) เปลือกหุ้ม (enclosure) ที่เป็นโลหะและแตะต้องถึง ซึ่งมาตรฐานระบุ ว่าอุณหภูมิที่เพิ่มขึ้นต้องไม่เกิน 30 K (อาจจะยอมได้ถึง 55 K) แต่มีบาง Product ใช้ Heat sink ต่อออกมาข้างนอกและไม่มีการป้อง กันการสัมผัสกับผู้ใช้ โดย Heat sink จะถือว่าเป็นส่วนภายนอกที่แตะ ต้องถึง

  21. ข้อกำหนดที่สำคัญ 2) หม้อแปลง ถือเป็นอุปกรณ์ที่สำคัญที่สุดของ Product การวัดอุณหภูมิที่ เพิ่มขึ้นของหม้อแปลงจะใช้วิธีการคำนวณค่าความต้านทานของ ขดลวด โดยขดลวดที่เป็นชนิดที่เคลือบด้วย polyvinyl-formaldehyde or polyurethane resins มาตรฐานยอมให้ถึง 75 K

  22. ข้อกำหนดที่สำคัญ • ความต้านทานของฉนวนและความทนแรงดันของไดอิเล็กทริก ทดสอบภายหลังจากที่ตัวอย่างผ่านการ Humiditytreatment ที่อุณหภูมิ 40oC ความชื้น 90 – 95 %RH เป็นเวลา 120 Hour Test voltage 2120 Vpeak / d.c. หรือ 1500 Vrms สำหรับ Basic insulation Test voltage 4240 Vpeak / d.c. หรือ 3000 Vrms สำหรับ Reinforced insulation Insulation resistance 2 M สำหรับ Basic insulation และ 4 M สำหรับ Reinforced insulation

  23. ข้อกำหนดที่สำคัญ • ภาวะผิดพร่อง จำลองการเกิด single fault บนชิ้นงานโดยการ short circuit / open circuitบนส่วนประกอบต่าง ๆ ของตัวอย่างทดสอบ เพื่อดูผลที่เกิดขึ้น เช่น ความร้อนบนส่วนประกอบต้องไม่เกินเกณฑ์ที่กำหนด ไม่เกิดก๊าซที่ติดไฟ กระแสไฟฟ้ารั่วต้องไม่เกินข้อกำหนด และไม่เกิดการติดไฟขึ้นมา ถ้าตัวอย่างชำรุดเสียหาย แต่ยังเป็นไปตามข้อกำหนดข้างบนถือว่าตัวอย่างยังเป็นไปตามข้อกำหนดด้านความปลอดภัยอยู่

  24. ข้อกำหนดที่สำคัญ • การทดสอบการสั่นสะเทือน ประเภทของ Product ที่ต้องผ่านการทดสอบตามข้อกำหนดนี้ คือ - มีเปลือกหุ้มเป็นโลหะ (metal enclosure) - หยิบยกได้ (portable apparatus) - ประสงค์ให้ย้ายที่บ่อย ๆ (transportable apparatus)

  25. ข้อกำหนดที่สำคัญ Vibration test สั่นในแนวดิ่ง เวลา 30 นาที Amplitude 0.35 mm Frequency: 10 Hz  55 Hz  10 Hz Sweep rate: 1 octave / minute ภายหลังการทดสอบ ต้องไม่มีการหลุดหลวมของชิ้นส่วนซึ่งการหลุดหลวมนั้นทำให้เกิดอันตรายตามข้อกำหนดได้

  26. ข้อกำหนดที่สำคัญ • ส่วนประกอบ การตรวจสอบส่วนประกอบให้ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้ผลิตที่จะต้องตรวจสอบวัตถุดิบก่อนที่จะเลือกมาใช้ในการผลิต โดยเจ้าหน้าที่สมอ. จะประเมินคุณภาพของส่วนประกอบจากเอกสารรับรองคุณภาพหรือรายงานผลการตรวจสอบวัตถุดิบแทนการทดสอบ

  27. ข้อกำหนดที่สำคัญ • การแยกโดยฉนวนระหว่างส่วนที่มีไฟฟ้าและส่วนที่แตะต้องถึง ข้อกำหนดระบุว่าต้องมีการแยกสำหรับเครื่องใช้ประเภท II ด้วย double insulation หรือ reinforced insulation ฉนวนระหว่างตัวนำที่มีไฟฟ้าในสายไฟฟ้ากับส่วนที่แตะต้องถึง หรือ ระหว่างส่วนที่มีไฟฟ้ากับตัวนำในสายไฟฟ้าที่ต่อกับส่วนที่แตะต้องถึงต้องมีฉนวน 2 ชั้น โดยที่มีฉนวน 1 ชั้นต้องหนาอย่างน้อย 0.4 mm

  28. ข้อกำหนดที่สำคัญ • เต้าเสียบและสายอ่อนป้อนกำลังไฟฟ้า Plug ต้องเป็นไปตาม มอก.166-2549 สายไฟระบุ มอก.11 หรือ IEC 227 สำหรับ PVC และ IEC 245 สำหรับยาง

  29. ปัญหาและแนวทางแก้ไข • มาตรฐานเก่า • ผู้ผลิต/จำหน่าย ไม่ทราบข้อกำหนด • ขออนุญาตผ่าน แต่ตรวจติดตามตก • เวลาในการทดสอบ • ค่าใช้จ่าย

  30. Good Luck นายอาทิตย์ วัสนมงคล ผู้จัดการกลุ่มทดสอบเครื่องใช้อิเล็กทรอนิกส์ Tel.: 02-709-4860-8 ext. 118 Fax.: 02-324-0917-8 E-mail: tron@thaieei.com

More Related