1 / 69

บรรยายโดย นางรุ่งรัชนี รุ่งมณี ผู้อำนวยการกองตรวจสอบระบบการเงินบัญชีท้องถิ่น (ผอ.ตบ.) และ นางสาวสุดินา แก้วดี หัวหน้า

บรรยายโดย นางรุ่งรัชนี รุ่งมณี ผู้อำนวยการกองตรวจสอบระบบการเงินบัญชีท้องถิ่น (ผอ.ตบ.) และ นางสาวสุดินา แก้วดี หัวหน้าฝ่ายตรวจสอบ. 4 . การตรวจสอบด้านพัสดุ. การใช้ การรักษา และการจัดหารถยนต์ของ อปท. 1) ระเบียบ มท.ว่าด้วยการใช้และรักษารถยนต์ ของ อปท. พ.ศ. 2548

lyn
Télécharger la présentation

บรรยายโดย นางรุ่งรัชนี รุ่งมณี ผู้อำนวยการกองตรวจสอบระบบการเงินบัญชีท้องถิ่น (ผอ.ตบ.) และ นางสาวสุดินา แก้วดี หัวหน้า

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. บรรยายโดย นางรุ่งรัชนี รุ่งมณี ผู้อำนวยการกองตรวจสอบระบบการเงินบัญชีท้องถิ่น (ผอ.ตบ.) และ นางสาวสุดินา แก้วดี หัวหน้าฝ่ายตรวจสอบ

  2. 4. การตรวจสอบด้านพัสดุ

  3. การใช้ การรักษา และการจัดหารถยนต์ของ อปท. 1) ระเบียบ มท.ว่าด้วยการใช้และรักษารถยนต์ ของ อปท. พ.ศ.2548 2) นส.มท. ที่ มท 0407/ว 288 ลว. 9 มีค. 2530 เรื่อง แนวทางปฏิบัติในการจัดซื้อรถยนต์ 3) นส.มท. ที่ มท 0407/ว 975 ลว. 25 สค.2530 เรื่อง แนวทางปฏิบัติในการจัดซื้อรถยนต์ 4) นส.มท. ที่ มท 0318/ ว 2583 ลว. 15 สค. 2540 เรื่อง แนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการจัดหารถยนต์ ของสภาตำบลหรือองค์การบริหารส่วนตำบล

  4. การใช้ การรักษา และการจัดหารถยนต์ของ อปท.(ต่อ) 5) นส.ปค. ที่ มท 0413/ว 492 ลว.13 มิย.2531 เรื่อง การแก้ไขปัญหาการโอนทะเบียนรถยนต์ของ หน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่น 6) นส.มท ที่ มท 0808.2/ว 1334 ลว.26 เมย. 2550 (มอบอำนาจให้ผู้ว่าราชการจังหวัด) 7) นส.มท. ที่ มท 0808.2/ว 0047 ลว. 7 มค. 2551 เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับ การจัดหารถยนต์มาใช้ในราชการ 8) นส.มท. ที่ มท 0808.2/ว 1989 ลว. 22 มิย. 2552 เรื่อง การตั้งงบประมาณเพื่อการจัดซื้อ ครุภัณฑ์และรถยนต์ของ อปท.

  5. การใช้ การรักษา และการจัดหารถยนต์ของ อปท.(ต่อ) 1) การจัดหารถส่วนกลาง (1) ให้จัดหาโดยให้มีขนาดและหรือราคา ตามที่กำหนดไว้ในบัญชีราคามาตรฐานครุภัณฑ์ ของสำนักงบประมาณ (2) กรณีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นใด มีความจำเป็นต้องจัดหารถส่วนกลางที่มีขนาด และราคานอกเหนือไปจากบัญชีราคามาตรฐาน ครุภัณฑ์ของสำนักงบประมาณให้ดำเนินการ คือ

  6. การใช้ การรักษา และการจัดหารถยนต์ของ อปท.(ต่อ) 2.1 ให้ตั้งงบประมาณรายจ่ายตามราคา ในจังหวัด หรือท้องถิ่นนั้น ๆ หรือราคาที่เคย จัดหาอย่างประหยัด โดยต้องชี้แจงเหตุผล ให้ชัดเจนในคำชี้แจงประกอบงบประมาณ 2.2 เมื่องบประมาณอนุมัติแล้ว ให้ดำเนินการ จัดหาตามรายการที่ปรากฏในงบประมาณ ตามวิธีการพัสดุ

  7. การใช้ การรักษา และการจัดหารถยนต์ของ อปท.(ต่อ) 2) การจัดหารถประจำตำแหน่ง ให้จัดหาโดยให้มีขนาดเครื่องยนต์สูงสุด ไม่เกิน 2,400 ซีซี ส่วนราคาและคุณลักษณะ อื่น ๆ ให้เป็นไปตามบัญชีราคามาตรฐาน ครุภัณฑ์ของสำนักงบประมาณ

  8. การใช้ การรักษา และการจัดหารถยนต์ของ อปท.(ต่อ) 3) การจัดหารถรับรอง ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นระงับการ จัดซื้อรถรับรอง ไม่ว่าจะซื้อด้วย เงินงบประมาณ เงินนอกงบประมาณ หรือเงินอุดหนุน ตามมติ ครม. เมื่อวันที่ 8 กพ. 2543

  9. ข้อบกพร่อง 1. อบต.... เบิกจ่ายเงินให้บริษัท... เป็นค่ารถยนต์กระบะ 4 ประตู ตามฎีกา เลขที่...ตามใบเสร็จรับเงิน ลงวันที่ 7 สิงหาคม 2552 จำนวนเงิน 780,500 บาท ตามสัญญาซื้อขาย ลงวันที่...ไม่ได้กำหนด ในสัญญาซื้อขายว่า “ผู้ซื้อจะชำระราคา ให้ผู้ขายเมื่อผู้ขายได้ส่งมอบรถยนต์ และ โอนทะเบียนให้ผู้ซื้อแล้ว” ปรากฏว่าบริษัท ได้โอนทะเบียนรถยนต์ให้ อปท. วันที่ 17 ธันวาคม 2551 เป็นการไม่ปฏิบัติตาม นส.มท. ที่ มท 0318/ว 2583 ลงวันที่ 15 สิงหาคม 2540 เรื่อง แนวทางปฏิบัติ เกี่ยวกับการจัดหารถยนต์ของสภาตำบล หรือองค์การบริหารส่วนตำบล ข้อเสนอแนะ 1. สั่งการให้ผู้รับผิดชอบปฏิบัติตาม หนังสือกระทรวงมหาดไทยดังกล่าว โดยเคร่งครัด กรณีดังกล่าวอาจ ก่อให้เกิดความเสียหายได้ กรณีตัวอย่างข้อบกพร่อง/ข้อเสนอแนะ

  10. ข้อบกพร่อง 1. มีการเบิกค่าน้ำมันเชื้อเพลิงของ รถยนต์ที่อยู่ระหว่างการซ่อมบำรุง รักษาตามใบสั่งจ้างเลขที่.. จ้างเหมา ซ่อมแซมและบำรุงรักษารถขยะ อัดท้าย ทะเบียน...กำหนดซ่อมตั้งแต่ วันที่ 1 กค. 2552 กำหนดแล้วเสร็จ วันที่ 20 กค. 2552 ผู้รับจ้างส่งมอบ รถวันที่ 15 กค. 2552 และตามฎีกา ที่...มีการเบิกจ่ายค่าน้ำมันเชื้อเพลิง รถคันดังกล่าว ตามใบสั่งซื้อเล่มที่... เล่มที่..และเล่มที่...จำนวน 3 ฉบับ เป็นเงิน 8,437 บาท ซึ่งเป็นช่วงวันที่ รถยนต์คันดังกล่าวเข้าซ่อม บำรุงรักษา ข้อเสนอแนะ 1. ให้เรียกเงิน จำนวน 8,437 บาท นำส่งคืนคลัง อปท. และส่งสำเนา ใบเสร็จรับเงินให้จังหวัดทราบ เพื่อรายงานกรมส่งเสริมการ ปกครองท้องถิ่นต่อไป และ พิจารณาโทษตามควรแก่กรณี กับผู้เกี่ยวข้องด้วย กรณีตัวอย่างข้อบกพร่อง/ข้อเสนอแนะ

  11. ข้อบกพร่อง 1. ตรวจสอบฎีกาเบิกเงินตามงบประมาณ เลขที่.....ลว....จำนวน 128,000 บาท เป็นค่าน้ำมันเชื้อเพลิงและหล่อลื่น ประจำเดือน... ในจำนวนนี้เป็นค่าน้ำมัน สำหรับเครื่องจักรกลของ อบจ... จำนวน 95,000 บาท ซึ่งไม่สามารถ ตรวจสอบได้ว่าน้ำมันเชื่อเพลิงดังกล่าว นำมาใช้กับเครื่องจักรกลเพื่อปฏิบัติงาน ประเภทใด และเพื่อประโยชน์ในราชการ ของ อปท.หรือไม่ เนื่องจาก อปท.ไม่ได้ แต่งตั้งผู้รับผิดชอบในการควบคุม และ คณะกรรมการตรวจการปฏิบัติงาน โดยมีคุณสมบัติและหน้าที่เช่นเดียวกับ คณะกรรมการตรวจการจ้างในการ ปฏิบัติงานของเครื่องจักรกลดังกล่าว ข้อเสนอแนะ 1. ให้สั่งการเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบ ปฏิบัติตามระเบียบ มท.ว่าด้วยการ พัสดุของหน่วยการบริหารราชการ ส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2535 และแก้ไข เพิ่มเติม ข้อ10 โดยเคร่งครัดต่อไป ส่วนกรณีไม่แต่งตั้งผู้รับผิดชอบ ในการควบคุม และคณะกรรมการ ตรวจการปฏิบัติงาน ให้ตรวจสอบ ข้อข้อเท็จจริงกรณีดังกล่าว หากก่อให้เกิดความเสียหายให้ พิจารณาโทษตามควรแก่กรณี กรณีตัวอย่างข้อบกพร่อง/ข้อเสนอแนะ

  12. ข้อบกพร่อง 1. การเบิกเงินค่าน้ำมันเชื้อเพลิงประจำเดือน มค 2552 – เมย. 2552 ฎีกาเลขที่...เลขที่.. เลขที่..และเลขที่..จำนวน 4 ฎีกา เป็นเงินทั้งสิ้น 528,568 บาท ในจำนวนนี้มีการเบิกค่าน้ำมัน เชื้อเพลิงไม่ถูกต้อง รวมเป็น เงิน 34,173 บาท ดังนี้ 1) เบิกจ่ายค่าน้ำมันให้กับรถยนต์ที่ไม่ใช่รถยนต์ ของทางราชการ เป็นเงิน 1,994 บาท 2) เบิกจ่ายค่าน้ำมันเชื้อเพลิงผิดประเภทรถ รวม 2 ฉบับ เป็นเงิน 1,844 บาท 3) เบิกจ่ายค่าน้ำมันเชื้อเพลิงให้กับแม่บ้าน อปท. เป็นผู้ที่ไม่มีหน้าที่เกี่ยวข้อง เป็นเงิน 800 บาท 4) เบิกจ่ายค่าน้ำมันเชื้อเพลิงในวันหยุดราชการ โดยไม่มีหลักฐานขออนุมัติใช้รถยนต์ของทาง ราชการ (แบบ 3) ให้ตรวจสอบ เป็นเงิน 7,600 บาท 5) เบิกจ่ายค่าน้ำมันเชื้อเพลิงให้รถยนต์คันเดียวกัน 2 ครั้งใน 1 วัน โดยไม่มีหลักฐานขออนุมัติใช้รถยนต์ (แบบ 3) ให้ตรวจสอบ เป็นเงิน 1,600 บาท 6) เบิกจ่ายค่าน้ำมันเชื้อเพลิงโดยไม่มีใบสั่งจ่าย ไม่มีใบส่งของ แต่ใช้เป็นบิลเงินสด โดยไม่ลงวันที่ ประเภทน้ำมัน ราคาน้ำมันต่อหน่วย จำนวนลิตร หมายเลขทะเบียนรถยนต์ และไม่มีลายมือชื่อผู้รับเงิน ซึ่งไม่อาจเชื่อได้ว่าเป็นการเติมน้ำมันเพื่อใช้ใน ราชการ อปท.รวม 20 ฉบับ เป็นเงิน 19,835 บาท ข้อเสนอแนะ 1. ให้นำเงินจำนวน 34,173 บาท ส่งคืนคลัง อปท และส่งสำเนา ใบเสร็จรับเงินให้จังหวัดทราบ เพื่อรายงานกรมส่งเสริมการ ปกครองท้องถิ่น และให้พิจารณา โทษตามควรแก่กรณีกับเจ้าหน้าที่ และผู้เกี่ยวข้องด้วย 2. สั่งกำชับให้เจ้าหน้าที่ ผู้รับผิดชอบถือปฏิบัติตาม ระเบียบ มท.ว่าด้วยการใช้และ รักษารถยนต์ขององค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2548 และ หนังสือสั่งการที่เกี่ยวข้อง เพื่อปฏิบัติให้ถูกต้องในโอกาส ต่อไป กรณีตัวอย่างข้อบกพร่อง/ข้อเสนอแนะ

  13. ข้อบกพร่อง 1. อปท. ได้ทำสัญญาเช่ารถประจำตำแหน่ง ผู้บริหาร อปท. ตามสัญญาเช่าที่..ลงวันที่... กับบริษัท... ตั้งแต่วันที่1 ธค. 2551 – วันที่ 1ธค. 2556 กำหนดระยะเวลา 5 ปี โดย ต้องจ่ายค่าเช่าเป็นรายเดือนอัตราเดือนละ 29,000 บาท และได้เบิกจ่ายเงินไปแล้ว รวม 14 เดือน เป็นเงิน 406,000 บาท โดย อปท.ไม่ได้ขออนุมัติก่อหนี้ผูกพัน เกินกว่าหนึ่งปี ตามระเบียบ มท.ว่าด้วยวิธี งบประมาณขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2541และแก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 38 และ เป็นการไม่ปฏิบัติตาม นส.สถ. ที่ มท 0808.2/11169 ลว. 13 กค. 2552 ข้อ 2 กำหนดว่า กรณี อปท.จะก่อหนี้ผูกพัน เกินกว่าหนึ่งปีจะต้องขอทำความตกลงกับ ผู้ว่าราชการจังหวัด เมื่อได้รับอนุมัติแล้ว จึงสามารถทำสัญญาเช่าเป็นระยะเวลา 5 ปี ในสัญญาเดียว ข้อเสนอแนะ 1. ให้เรียกเงิน จำนวน 406,000 บาท นำส่งคืนคลัง อปท. และส่งสำเนา ใบเสร็จรับเงินให้จังหวัดทราบ เพื่อ รายงานกรมส่งเสริมการปกครอง ท้องถิ่นต่อไป 2. สั่งกำชับให้เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบ ศึกษา ทำความเข้าใจระเบียบ และ หนังสือสั่งการที่เกี่ยวข้องเพื่อถือ ปฏิบัติให้ถูกต้องในโอกาสต่อไป กรณีตัวอย่างข้อบกพร่อง/ข้อเสนอแนะ

  14. การเบิกจ่ายเงินสมทบ กบท. นส.กบท. ด่วนมาก ที่ มท 0808.5/ว 42 ลว. 13 กย. 2553 เรื่อง ซักซ้อมแนวทาง การส่งเงินสมทบกองทุนบำเหน็จบำนาญ ข้าราชการส่วนท้องถิ่น (กบท.) ประจำปี พศ.2554

  15. การเบิกจ่ายเงินสมทบ กบท. (ต่อ) 1) ให้คำนวณจากประมาณการรายรับ และมิให้นำ รายรับประเภทพันธบัตร เงินกู้ เงินที่มีผู้อุทิศให้ และเงินอุดหนุน มารวมคำนวณ (เงินสำรองรายรับ/ งบประมาณรายจ่ายเฉพาะการไม่ต้องนำมาคำนวณ) ให้คำนวณทศนิยม 2 ตำแหน่ง หากประสงค์จะส่ง เงินสมทบเป็นจำนวนเต็มบาท หากคำนวณแล้ว มีเศษสตางค์จะปัดทิ้ง หรือจะปัดเป็น 1 บาท ก็ได้ (1) เทศบาล และเมืองพัทยา ในอัตราร้อยละ 2 (2) องค์การบริการส่วนจังหวัด และองค์การบริหาร ส่วนตำบล ในอัตราร้อยละ 1

  16. การเบิกจ่ายเงินสมทบ กบท. (ต่อ) 2) กรณีต้องจ่ายบำเหน็จบำนาญในปีงบประมาณ 2554ให้นำไปหักออกจากเงินที่ต้องส่งสมทบ ส่วนที่เหลือให้นำส่งภายในเดือนธันวาคม หรือกรณีไม่มีภาระดังกล่าวให้ส่งทั้งจำนวนภายในเดือนธันวาคมเช่นกัน 3) กรณีมีงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม ต้องคำนวณส่งเงินสมทบ กบท. ด้วย 4) กรณีองค์การบริหารส่วนตำบลเปลี่ยนฐานะเป็นเทศบาล • (1) ประกาศใช้ข้อบัญญัติฯ ก่อนวันที่ได้รับการ จัดตั้งเป็นเทศบาล ให้คำนวณในอัตราร้อยละ 1 • (2) ประกาศใช้ข้อบัญญัติฯ หลังวันที่ได้รับการจัดตั้ง เป็นเทศบาล ให้คำนวณในอัตราร้อยละ 2

  17. 4.1 การดำเนินการ 1) ระเบียบ มท.ว่าด้วยการพัสดุของหน่วยการบริหารราชการ ส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2535 และแก้ไขเพิ่มเติม ถึงฉบับที่ 9 พ.ศ.2553 (มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 27 ตุลาคม 2553) 2) ระเบียบ มท. ยกเลิกระเบียบ มท.ว่าด้วยการพัสดุขององค์การ บริหารส่วนตำบล พ.ศ.2538 พ.ศ.2553 3) นส.สถ. ด่วนมาก ที่ มท 0808.2/ว 1994 ลว. 30 กย. 2553 เรื่อง การดำเนินการตามระเบียบ มท. ว่าด้วยการพัสดุของ หน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2535 และ ที่แก้ไขเพิ่มเติม 4) ประกาศ สถ. เรื่อง หลักเกณฑ์การซื้อหรือการจ้างโดยการ ประมูลด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ 5) ประกาศ สถ. เรื่อง สถานที่กลางสำหรับเป็นศูนย์รวมข่าวการ จัดซื้อจัดจ้างของหน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่น 6) ประกาศ สถ. เรื่อง แนวทางการซื้อการจ้างโดยวิธีพิเศษ กรณี จำเป็นต้องซื้อหรือจ้างต่อเนื่องกับผู้ขายหรือผู้รับจ้างรายเดิม

  18. 4.2 การจัดทำบัญชีคุมการรับจ่ายพัสดุ การควบคุมพัสดุ (1) ทะเบียนคุมพัสดุครุภัณฑ์โดยตรวจสอบการเก็บรักษาพัสดุ ซึ่งเมื่อเจ้าหน้าที่ พัสดุได้รับมอบพัสดุแล้วต้องดำเนินการ ดังนี้ • 1) ลงทะเบียนคุมครุภัณฑ์เพื่อควบคุมพัสดุ โดยต้องกำหนดเลขรหัสครุภัณฑ์ • และลงเลขรหัสครุภัณฑ์ในทะเบียนคุมฯ แยกชนิดและแสดงรายการตาม • ตัวอย่างที่กระทรวงมหาดไทยกำหนด และให้มีหลักฐานการรับเข้าบัญชี • หรือทะเบียนไว้ประกอบรายการด้วย • 2) เก็บรักษาพัสดุให้เป็นระเบียบเรียบร้อย ปลอดภัย และให้ครบถ้วนถูกต้อง • ตรงตามบัญชีหรือทะเบียน (2) การเบิกจ่ายวัสดุ ซึ่งต้องดำเนินการ ดังนี้ • 1) ลงทะเบียนคุมวัสดุ เพื่อควบคุมพัสดุแยกเป็นชนิดและรายการ • 2) การเบิกพัสดุจากหน่วยพัสดุของหน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่น • ให้หัวหน้าหน่วยงานที่ต้องใช้พัสดุนั้นเป็นผู้เบิก และให้หัวหน้าหน่วยงาน • ที่เกี่ยวกับการควบคุมพัสดุเป็นผู้สั่งจ่ายพัสดุแล้วแต่กรณี • 3) ผู้จ่ายพัสดุต้องตรวจสอบความถูกต้องของใบเบิกและเอกสารประกอบ (ถ้ามี) • แล้วลงบัญชีหรือทะเบียนทุกครั้งที่มีการจ่ายและเก็บใบเบิกจ่ายไว้เป็น • หลักฐานด้วย

  19. 4.3การแต่งตั้งกรรมการตรวจสอบพัสดุประจำปี4.3การแต่งตั้งกรรมการตรวจสอบพัสดุประจำปี การตรวจสอบพัสดุประจำปี (1) ตรวจสอบคำสั่งแต่งตั้งกรรมการตรวจสอบพัสดุประจำปี โดยก่อนสิ้นเดือน กันยายนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ออกคำสั่งแต่งตั้งเจ้าหน้าที่ซึ่ง ไม่ใช่เจ้าหน้าที่พัสดุหนึ่งหรือหลายคนตามความจำเป็น เพื่อตรวจสอบ การรับจ่ายพัสดุ (2) กรรมการตรวจสอบพัสดุประจำปี ตรวจสอบการรับจ่ายพัสดุ ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคมปีก่อน ถึงวันที่ 30 กันยายน ของปีปัจจุบัน โดยให้เริ่มตรวจสอบ ในวันเปิดทำการวันแรกของเดือนตุลาคมว่าการรับจ่ายถูกต้องหรือไม่ พัสดุคงเหลือมีตัวอยู่ตรงตามบัญชีหรือทะเบียนหรือไม่ มีพัสดุใดชำรุด เสื่อมคุณภาพ หรือสูญไปเพราะเหตุใด หรือพัสดุใดไม่จำเป็นต้องใช้ใน ราชการต่อไป (3) กรรมการตรวจสอบพัสดุประจำปี รายงานผลการตรวจสอบให้ผู้แต่งตั้ง ทราบภายใน 30 วันทำการพร้อมกับส่งสำเนาให้สำนักงานการตรวจเงิน แผ่นดิน 1 ชุด (4) เมื่อหัวหน้าฝ่ายบริหารได้รับรายงานการตรวจสอบพัสดุประจำปี หากมี พัสดุชำรุดเสื่อมสภาพ หรือสูญไปหรือไม่จำเป็นต้องใช้ในราชการ ให้ แต่งตั้งคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริง

  20. 4.4 การดำเนินการจัดซื้อ/จัดจ้าง 1) วิธีตกลงราคา วงเงินไม่เกิน 1 แสนบาท 2) วิธีสอบราคา วงเงินเกิน 1 แสนบาท ไม่เกิน 2 ล้าน 3) วิธีประกวดราคา วงเงินเกิน 2 ล้านบาท 4) วิธีพิเศษ วงเงินเกิน 1 แสนบาท 5) วิธีกรณีพิเศษ ไม่จำกัดวงเงิน 6) วงเงินเกิน 2 ล้านบาท ให้กระทำได้ด้วย ระบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Auction) ตามหลักเกณฑ์ที่ สถ. กำหนด

  21. 4.5 เงินประกันสัญญา ระเบียบ มท.ว่าด้วยการพัสดุของหน่วยการบริหารราชการ ส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2535 และแก้ไขเพิ่มเติมถึงฉบับที่ 9 พ.ศ.2553 1) หลักประกันซองคืนให้ผู้เสนอราคา/ผู้ค้ำประกันภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ได้พิจารณาเบื้องต้นแล้ว เว้นแต่ผู้เสนอราคาราย ที่คัดเลือกไว้ ซึ่งเสนอราคาต่ำสุดไม่เกิน 3 ราย ให้คืนได้ เมื่อได้ทำสัญญาหรือข้อตกลง หรือได้พ้นจากข้อผูกพันแล้ว 2) หลักประกันสัญญาคืนให้คู่สัญญา/ผู้ค้ำประกันโดยเร็วและ อย่างช้าต้องภายใน 15 วัน นับแต่วันที่คู่สัญญาพ้นข้อผูกพัน ตามสัญญาแล้ว 3) การคืนหลักประกันที่เป็นหนังสือค้ำประกันฯ ในกรณีที่ผู้เสนอ ราคา หรือคู่สัญญาไม่มารับภายในกำหนด ให้รีบส่งต้นฉบับ หนังสือค้ำประกันให้แก่ผู้เสนอราคา หรือคู่สัญญาโดยทาง ไปรษณีย์ลงทะเบียนโดยเร็ว พร้อมแจ้งให้ธนาคารหรือบริษัท เงินทุนค้ำประกันทราบด้วย

  22. เงินประกันสัญญา (ต่อ) 4) การจ่ายคืนหลักประกันสัญญา โดยก่อนการสิ้นสุดระยะเวลา ประกันความชำรุดบกพร่องภายใน 15 วัน ของหลักประกัน ที่มีระยะเวลาประกันไม่เกิน 6 เดือน หรือภายใน 30 วัน สำหรับหลักประกันที่มีระยะเวลาประกันตั้งแต่ 6 เดือนขึ้นไป ให้แต่งตั้งกรรมการไปตรวจสอบความชำรุดบกพร่องของงาน แล้วรายงานให้ผู้บริหารได้รับทราบ หากพบว่าชำรุดเสียหาย ให้ติดต่อให้ผู้รับจ้างมาซ่อมแซมให้อยู่ในสภาพเดิมก่อนการ จ่ายคืนเงินประกันสัญญาตาม นส.มท. ที่ มท 0407/ว 760 ลว. 7 พค. 2543 เรื่อง วิธีปฏิบัติเพิ่มเติมเกี่ยวกับการ ตรวจสอบความชำรุดบกพร่องก่อนการคืนหลักประกันสัญญา 5) การจ่ายคืนหลักประกันสัญญา กรณีเป็นเงินสดให้ผู้มีสิทธิ ถอนเงินประกันออกใบเสร็จรับเงินให้แก่องค์กรปกครองส่วน ท้องถิ่น พร้อมทั้งลงชื่อรับเงินในทะเบียนคุมเงินประกัน สัญญาและรายงานการจัดทำเช็ค ตาม นส. มท. ที่ มท 0808.3/ว 686 ลว. 25 มิย. 2546 เรื่อง ซักซ้อมแนวทาง การรับเงินและการบันทึกบัญชีของ อปท.

  23. ข้อบกพร่อง 1) หลักประกันสัญญา มีการตรวจสอบความชำรุด บกพร่องก่อนคืนเงินประกัน สัญญา แต่ไม่เป็นไปตามที่ กระทรวงมหาดไทยกำหนด คือ ตรวจสอบความชำรุด บกพร่องหลังจากที่คู่สัญญา พ้นจากข้อผูกพันแล้ว ข้อเสนอแนะ 1. ให้กำชับเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบ ถือปฏิบัติในการจ่ายคืนหลักประกัน สัญญา ให้แต่งตั้งคณะกรรมการ ไปตรวจสภาพว่ายังมีสภาพดีหรือ ชำรุดเสียหายหรือไม่ หากพบว่า มีการชำรุดเสียหาย ให้ติดต่อ ผู้รับจ้างมาซ่อมแซมให้อยู่ในสภาพ เดิมก่อนการจ่ายคืนเงินประกัน สัญญา โดยให้ถือปฏิบัติตามหนังสือ กระทรวงมหาดไทย ที่ มท 0407/ ว 760 ลงวันที่ 7 พฤษภาคม 2533 เรื่อง วิธีปฏิบัติเพิ่มเติมเกี่ยวกับการ ตรวจสอบความชำรุดบกพร่องก่อน การคืนหลักประกันสัญญา กรณีตัวอย่างข้อบกพร่อง/ข้อเสนอแนะ

  24. ข้อบกพร่อง 1. อปท.ไม่ได้จัดทำแผนการ จัดหาพัสดุประจำปี ไม่ได้ รายงานผลการปฏิบัติงานตาม แผนการจัดหาพัสดุ และไม่ได้ จัดทำแผนปฏิบัติการจัดซื้อ จัดจ้าง ไม่ได้รายงานผลการ ปฏิบัติตามแผนการจัดซื้อ จัดจ้าง ข้อเสนอแนะ 1. กำชับเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบ ปฏิบัติตาม นส.ปค. ที่ มท 0313.4/ว 1500 ลว. 25 มิย. 2542 เรื่อง คำแนะนำเกี่ยวกับ การบริหารงานพัสดุของ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และหนังสือสำนักงานการตรวจ เงินแผ่นดิน ที่ ตผ 0004/ว 97 ลว. 19 มีค. 2546 ข้อ 5 และ ข้อ 6 กรณีตัวอย่างข้อบกพร่อง/ข้อเสนอแนะ

  25. ข้อบกพร่อง 1. ตรวจสอบการจัดซื้อหินคลุกเพื่อ นำไปใช้ถมหลุมบ่อถนนสายต่าง ๆ ของ อปท.จำนวน....ลูกบาศก์เมตร ตามฎีกาเบิกเงินตามงบประมาณ เลขที่คลังรับ....ลว....จำนวน....บาท จาการตรวจสอบพบว่า 1) ไม่ได้ลงทะเบียนเพื่อควบคุม และ จัดทำใบเบิกพัสดุเพื่อตรวจสอบความถูกต้องก่อนเสนอผู้มีอำนาจ สั่งจ่าย 2) ไม่ได้แต่งตั้งผู้รับผิดชอบในการควบคุม และคณะกรรมการตรวจการปฏิบัติงานปรับปรุงถนนแต่ละสายในหมู่บ้านที่นำหินคลุกดังกล่าวไปใช้ ข้อเสนอแนะ 1. ให้สั่งการเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบ ปฏิบัติตามระเบียบ มท.ว่าด้วยการ พัสดุของหน่วยการบริหารราชการ ส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2535 และแก้ไข เพิ่มเติม ข้อ10 ข้อ 145 ข้อ 146 และข้อ 147 โดยเคร่งครัดต่อไป ส่วนกรณีไม่แต่งตั้งผู้รับผิดชอบใน การควบคุม และคณะกรรมการตรวจ การปฏิบัติงาน ให้ตรวจสอบ ข้อข้อเท็จจริงกรณีดังกล่าว หากก่อให้เกิดความเสียหายให้ พิจารณาโทษตามควรแก่กรณี กรณีตัวอย่างข้อบกพร่อง/ข้อเสนอแนะ

  26. ข้อบกพร่อง 1. ตรวจสอบการจ้างเหมาก่อสร้างถนน คสล.ของ อบจ.... ตามฎีกาเบิกเงินตาม งบประมาณเลขที่คลังรับ.....ลว..... จำนวน....บาท ปรากฏว่าการก่อสร้างจริง ส่วนหนึ่งได้ทับซ้อนเข้าไปในเนื้องานถนน ที่ อบต...ได้ดำเนินการจ้างเหมาก่อสร้าง เสร็จไปแล้วไม่นาน และยังอยู่ในระยะเวลา รับประกันความชำรุดบกพร่องของ ผู้รับจ้าง ตามสัญญาจ้างเลขที่....ลว.... จำนวนเงิน.....บาท ทำให้ราชการได้รับ ความเสียหายต้องเสียงบประมาณซ้ำซ้อน ค่าก่อสร้างในเนื้องานที่ถูก อบจ.... รื้อออกไป ข้อเสนอแนะ 1. ขอให้ดำเนินการ ดังนี้ 1) แต่งตั้งคณะกรรมการ โดยผู้แทน ของ อบต....เข้าเป็นกรรมการร่วม แล้วทำการตรวจสอบความเสียหาย และ ดำเนินการสอบหาผู้รับผิดทางละเมิด ตามพรบ.ความรับผิดทางละเมิดของ เจ้าหน้าที่ พ.ศ.2539 และหนังสือ มท. ที่ มท 0313.6/ว 2092 ลว. 1 กค. 2540 2) พิจารณาการปฏิบัติงานของ เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบและเกี่ยวข้อง ตามควรแก่กรณี 3) ในโอกาสต่อไปการดำเนินโครงการ ในพื้นที่ขอให้มีการประสานงานกัน ระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อมิให้ เกิดกรณีซ้ำซ้อนจนทำให้ราชการ เสียหายเช่นนี้อีก กรณีตัวอย่างข้อบกพร่อง/ข้อเสนอแนะ

  27. ข้อบกพร่อง 1. ตรวจสอบฎีกาเบิกจ่ายเงินหมวด ค่าใช้สอย เลขที่....ลว.....เป็นค่าจ้างเหมา ถมดินศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก..(ก)..เป็นเงิน 30,000 บาทฎีกาเบิกเงินค่าวัสดุเลขที่.... ลว.....จำนวน....บาท ในจำนวนนี้ได้นำ วัสดุบางส่วนไปปูกระเบื้องพื้นอาคารเรียน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก.(ก).เป็นเงิน 20,000บาท และฎีกาเบิกจ่ายเงินหมวดค่าที่ดินและ สิ่งก่อสร้างเลขที่....ลว.....เพื่อก่อสร้าง อาคารเรียนศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก..(ก).. เป็นเงิน 90,000 บาทรวมเป็นเงินค่า ก่อสร้างปรับปรุงอาคารเรียนศูนย์พัฒนา เด็กเล็ก..(ก)..ทั้งสิ้น 140,000บาท ข้อเท็จจริงโครงการที่เบิกเงินทั้ง 3 ฎีกา เป็นการดำเนินการก่อสร้างในสถานที่เดียวกัน และดำเนินการในช่วงระยะเวลาเดียวกัน จึงถือ ได้ว่าเป็นการจ้างงานโครงการเดียวกัน แต่ ดำเนินการโดยแยกงานออกจากกันเพื่อให้ วงเงินที่จะซื้อหรือจ้างลดลง ข้อเสนอแนะ 1. พฤติการณ์เป็นการฝ่าฝืนการปฏิบัติตาม ระเบียบ มท.ว่าด้วยการพัสดุของหน่วยการ บริหารราชการส่วนท้องถิ่นพ.ศ.2535 ข้อ14 ข้อ 16 วรรค 2 ทำให้การดำเนินงานโครงการ ไม่มีการแข่งขันในการเสนอราคาอย่างเป็น ธรรม อปท. ขาดโอกาสในการจ้างงานในราคา ที่ถูกลงอันเนื่องมาจากการแข่งขันกันด้าน ราคา รวมทั้งขาดโอกาสในการจ้างงานกับ ผู้รับจ้างที่มีความพร้อมในการทำงาน ด้านเครื่องจักร เครื่องมือ คนงานที่มีฝีมือ เงินทุนในการดำเนินงาน รวมทั้งความ รับผิดชอบต่อความบกพร่องของงาน ที่สามารถกำหนดได้ตามเงื่อนไขในสัญญา จึงขอให้แต่งตั้งกรรมการสอบข้อเท็จจริง เพื่อให้ทราบว่าข้อบกพร่องดังกล่าวเกิด จากสาเหตุใด ใครต้องเป็นผู้รับผิดชอบ ได้ผลประการใดให้ดำเนินการตามนัยข้อ 8 แห่งระเบียบ มท.ว่าด้วยการพัสดุ ของหน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2535 กับบุคคลผู้เกี่ยวข้องและรับผิดชอบ กรณีตัวอย่างข้อบกพร่อง/ข้อเสนอแนะ

  28. ข้อบกพร่อง 1. สุ่มตรวจสอบฎีกาเบิกจ่ายเงินหมวด ค่าครุภัณฑ์ และหมวดค่าที่ดินและ สิ่งก่อสร้าง พบว่า อปท. มีคำสั่ง แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินการ จัดหาพัสดุแต่ละครั้งได้แต่งตั้ง นาง.....ซึ่งเป็นหัวหน้าเจ้าหน้าที่พัสดุ ร่วมเป็นประธานกรรมการเปิดซอง สอบราคา ข้อเสนอแนะ 1. ขอให้ถือปฏิบัติตามหนังสือ มท. ที่ มท.0808.2/ว 4271 ลว. 17 ธค. 2550 เรื่อง ซักซ้อมและกำหนด แนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการ ดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างขององค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่น ที่กำหนดว่า “การจัดซื้อจัดจ้างแต่ละครั้งองค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่นไม่ควรแต่งตั้ง ผู้อำนวยการสำนักการคลัง ผู้อำนวยการกองคลัง หัวหน้าส่วน การคลัง ซึ่งเป็นหัวหน้าเจ้าหน้าที่ พัสดุ ร่วมเป็นประธาน หรือกรรมการ เปิดซองสอบราคาหรือคณะกรรมการ พิจารณาผลการประกวดราคาฯ” กรณีตัวอย่างข้อบกพร่อง/ข้อเสนอแนะ

  29. ข้อบกพร่อง 1. ตรวจสอบฎีกาเบิกจ่ายเงินจัดซื้อ จัดจ้างตามสัญญาเป็นราคาที่รวม ภาษีมูลค่าเพิ่ม ซึ่งผู้ขายจะต้องนำส่ง สำนักงานสรรพากรเขตพื้นที่ แต่ปรากฏว่า ใบเสร็จรับเงินไม่มีภาษีมูลค่าเพิ่ม 7 % และร้านหรือผู้ขายหรือผู้รับจ้างมิได้ จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มตามประมวล รัษฎากร จึงไม่ต้องนำภาษีมูลค่าเพิ่มส่ง สำนักงานสรรพากรเขตพื้นที่แต่อย่างใด ดังนั้น การที่ อปท. จ่ายเงินในการจัดซื้อ จัดจ้างเต็มจำนวน (รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม) จึงเป็นการจ่ายให้ผู้ขายหรือผู้รับจ้าง เกินไป จำนวน 3 รายการ รวมเป็นเงิน 33,084 บาท ซึ่ง อปท.ได้ทำหนังสือแจ้ง ร้านค้าทั้ง 3 รายแล้ว แต่ยังไม่ได้รับชำระ เงินคืนแต่อย่างใด ข้อเสนอแนะ 1. ให้ดำเนินการติดตามเรียกเงิน จำนวน 33,084 บาท จากผู้ขายหรือ ผู้รับจ้าง ส่งคืนคลัง อปท. กรณีไม่ สามารถเรียกเงินคืนจากผู้ขายหรือ ผู้รับจ้างได้ ให้ดำเนินการทางละเมิด เพื่อหาผู้รับผิดชอบชดใช้เงินเท่ากับ จำนวนภาษีมูลค่าเพิ่มดังกล่าว ส่งคืน คลัง อปท.ต่อไป และส่งสำเนา ใบเสร็จรับเงินให้จังหวัดทราบ เพื่อรายงานกรมส่งเสริมการปกครอง ท้องถิ่นต่อไป กรณีตัวอย่างข้อบกพร่อง/ข้อเสนอแนะ

  30. ข้อบกพร่อง 1. สุ่มตรวจสอบฎีกาเบิกจ่ายเงิน โครงการก่อสร้างถนน คสล. และ ก่อสร้างระบบประปาหมู่บ้าน พบว่า ผู้ควบคุมงานไม่ได้จดบันทึกการ ปฏิบัติงานของผู้รับจ้างและเหตุการณ์ แวดล้อมเป็นรายวัน เพื่อรายงาน คณะกรรมการตรวจการจ้างทราบ ทุกสัปดาห์ แต่ได้สรุปผลการ ปฏิบัติงานของผู้รับจ้างตั้งแต่วันเริ่ม สัญญาจนถึงวันที่ผู้รับจ้างส่ง มอบงานครั้งเดียว เป็นการปฏิบัติ ไม่ถูกต้องตามระเบียบ มท.ว่าด้วยการ พัสดุของหน่วยการบริหารราชการ ส่วนท้องถิ่นพ.ศ.2535 ข้อ 66(3) ข้อเสนอแนะ 1. ให้สั่งการเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบ ปฏิบัติให้ถูกต้องตามระเบียบดังกล่าว โดยเคร่งครัด เพื่อเป็นข้อมูลในการ พิจารณาของคณะกรรมการตรวจ การจ้างมิให้เกิดความเสียหายแก่ ทางราชการได้ และผู้บังคับบัญชา ต้องกำกับดูแลการปฏิบัติงานของ เจ้าหน้าที่ไม่ให้เกิดข้อบกพร่องเช่นนี้ อีก กรณีตัวอย่างข้อบกพร่อง/ข้อเสนอแนะ

  31. ข้อบกพร่อง 1. สุ่มตรวจสอบเอกสารการ ดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างโดยวิธีสอบ ราคาพบว่า การพิจารณาผลของ คณะกรรมการเปิดซองสอบราคา ไม่มีหลักฐานการตรวจสอบความ สัมพันธ์กันของผู้เสนอราคาในเชิง บริหาร หรือเชิงทุน หรือความสัมพันธ์ ในลักษณะไขว้กันในเชิงบริหารหรือ เชิงทุน หรือการกระทำอันเป็นการ ขัดขวางการเสนอราคาอย่างเป็นธรรม ให้ตรวจสอบ เป็นการไม่ปฏิบัติตาม ระเบียบ มท.ว่าด้วยการพัสดุของ หน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2535 และแก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 10 ตรี 10 จัตวา 10 เบญจ ข้อเสนอแนะ 1. ขอให้กำชับคณะกรรมการ เปิดซองสอบราคา และ เจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องปฏิบัติ ให้ถูกต้องตามระเบียบดังกล่าว โดยเคร่งครัด เพื่อให้เกิดการ เสนอราคาอย่างเป็นธรรม กรณีตัวอย่างข้อบกพร่อง/ข้อเสนอแนะ

  32. ข้อบกพร่อง 1. ตรวจสอบการกำหนดราคากลางพบว่า อปท. จะใช้ราคาที่ช่าง อปท. คำนวณเพื่อขอ งบประมาณเป็นราคากลาง โดยไม่ได้ถอด รูปแบบรายการวัสดุเพื่อกำหนดราคากลาง ก่อนการจัดซื้อจัดจ้าง จึงอาจทำให้ราคากลาง สูงหรือต่ำกว่าความเป็นจริง เป็นการไม่ปฏิบัติ ตามมติ ครม.แจ้งตาม นส.กค.ด่วนที่สุด ที่ กค 0408.5/ว 9 ลว. 7 มีค. 2550 เรื่อง หลักเกณฑ์การคำนวณราคากลางงาน ก่อสร้างและบางโครงการพบว่า การปฏิบัติ หน้าที่ของคณะกรรมการกำหนดราคากลาง มีปัญหาอุปสรรคดังนี้ 1) คณะกรรมการที่ได้รับแต่งตั้งซึ่งเป็น ประชาคมหรือประชาชนทั่วไปไม่มีความรู้ความ ชำนาญในการถอดรูปแบบรายการและ การคำนวณราคากลาง 2) ราคากลางที่นำมาใช้ในการคำนวณจาก สำนักงานพาณิชย์จังหวัดไม่เป็นปัจจุบัน 3) วัสดุบางรายการไม่มีราคากลางจึงเกิด ปัญหาในการสืบหาราคาท้องตลาด ข้อเสนอแนะ 1. ให้ดำเนินการ ดังนี้ 1) ขอให้สั่งกำชับเจ้าหน้าที่ ผู้รับผิดชอบศึกษาขั้นตอนการ ปฏิบัติ และปฏิบัติให้ถูกต้อง ตามหนังสือสั่งการโดย เคร่งครัด 2) ในการพิจารณาแต่งตั้ง คณะกรรมการกำหนดราคา กลางต่อไป ควรพิจารณาผู้ที่มี ความรู้ความสามารถ เพื่อ ป้องกันมิให้เกิดความเสียหาย แก่ทางราชการได้ กรณีตัวอย่างข้อบกพร่อง/ข้อเสนอแนะ

  33. ข้อบกพร่อง 1. จากการตรวจสอบฎีกาจ้างเหมารับจัด ขยะมูลฝอยของ อปท. พบว่า มีการจ้าง เหมากับผู้รับจ้างโดยวิธีตกลงราคาจาก ผู้รับจ้างรายเดียวกันเป็นประจำทุกเดือน โดยทำบันทึกข้อตกลงจ้างทุกเดือน ในอัตราจ้างครั้งละ 13,000 บาท จำนวน 12 ฎีกา รวมเป็นเงิน 156,000 บาท ถือเป็นการแบ่งซื้อแบ่งจ้างที่ทำให้วิธีการ จัดหาเปลี่ยนแปลงไปจากวิธีสอบราคา ทั้งที่ อปท.ได้มีการตั้งงบประมาณเพื่อ การนี้ไว้แล้วทั้งจำนวน จึงเป็นการ ไม่ปฏิบัติตามระเบียบ มท.ว่าด้วยการพัสดุ ของหน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2535 และแก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 16 ข้อเสนอแนะ 1. ขอให้สั่งการให้ เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบ ปฏิบัติตามระเบียบ ดังกล่าวโดยเคร่งครัด และขอให้พิจารณาโทษ ทางวินัยแก่ผู้เกี่ยวข้อง ตามข้อ 8 แห่งระเบียบฯ ดังกล่าว กรณีตัวอย่างข้อบกพร่อง/ข้อเสนอแนะ

  34. ข้อบกพร่อง 1. ตรวจสอบการเบิกจ่ายเงิน งบประมาณหมวดค่าครุภัณฑ์ที่ดิน และสิ่งก่อสร้างพบว่า การจัดทำบันทึก ตกลงซื้อขาย บันทึกตกลงจ้าง หรือ สัญญาซื้อขาย สัญญาจ้าง อปท. ไม่กำหนดรูปแบบหรือคุณลักษณะ ของครุภัณฑ์ หรือไม่กำหนด รายละเอียดของงานที่จะจ้าง การไม่ กำหนดรูปแบบหรือคุณลักษณะของ ครุภัณฑ์ หรือไม่กำหนดรายละเอียด ของงานที่จะจ้างดังกล่าว อาจทำให้ อปท.ได้รับมอบครุภัณฑ์ หรืองานจ้าง ไม่ตรงกับความต้องการ หรือด้อย ประสิทธิภาพ ไม่คุ้มค่ากับงบประมาณ ที่เบิกจ่ายไป ก่อให้เกิดความเสียหาย กับทางราชการ ข้อเสนอแนะ 1. ขอให้สั่งการให้เจ้าหน้าที่ ผู้รับผิดชอบระบุคุณลักษณะ ของครุภัณฑ์ หรือรายละเอียด ของงานที่จะจ้างในบันทึก ข้อตกลง หรือในสัญญาให้ ชัดเจน เพื่อประโยชน์ในการ ตรวจรับ และเป็นการป้องกัน ความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น กับทางราชการ กรณีตัวอย่างข้อบกพร่อง/ข้อเสนอแนะ

  35. ข้อบกพร่อง 1. ตรวจสอบการจัดส่งประกาศสอบราคา ฉบับลงวันที่...โครงการจ้างเหมาก่อสร้าง รางระบายน้ำ คสล...ปรากฏข้อเท็จจริงว่า มีการจัดทำหลักฐานการจัดส่งประกาศ สอบราคาถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และ ส่งให้ผู้มีอาชีพรับจ้างไม่น้อยกว่า 5 ราย โดยจัดทำหลักฐานใบนำส่งประกาศ สอบราคาโดยวิธีไปรษณีย์ด่วนพิเศษ แต่มิได้มีการฝากส่ง ณ ที่ทำการไปรษณีย์... เนื่องจากการสื่อสารแห่งประเทศไทยตรวจ พบว่าลายมือชื่อพนักงานรับฝากและ ตราประจำวันที่ประทับในใบรับฝากมิใช่ ของที่ทำการไปรษณีย์... เป็นการกระทำ เพื่อให้หลงเชื่อว่าที่ทำการไปรษณีย์... ได้รับฝากเอกสารสอบราคาไว้แล้ว จึงเข้าข่ายกระทำการปลอมเอกสาร พฤติการณ์ดังกล่าวน่าเชื่อว่าเป็นการทุจริต ข้อเสนอแนะ 1. ให้ดำเนินการทางแพ่ง อาญา และวินัยแก่ เจ้าหน้าที่รับผิดชอบ และผู้เกี่ยวข้อง เมื่อ ดำเนินการแล้วได้ผล ประการใดโปรดแจ้ง กระทรวงมหาดไทยทราบ ภายใน 45 วัน เพื่อ พิจารณาดำเนินการต่อไป กรณีตัวอย่างข้อบกพร่อง/ข้อเสนอแนะ

  36. ข้อบกพร่อง 1. ตรวจสอบการจัดส่งประกาศสอบราคาฉบับลงวันที่ ...โครงการจ้างเหมาก่อสร้างถนน คสล...พบว่าไม่มี การประกาศเผยแพร่โครงการผ่านทางเว็บไซต์ของ กรมบัญชีกลาง www.gprocurement.go.th เป็นการไม่ปฏิบัติตามหนังสือ มท. ด่วนที่สุด ที่ มท 0808.2/ว 884 ลว. 14 มีค. 2550 เรื่อง การป้องกัน การทุจริตเกี่ยวกับการพัสดุขององค์กรปกครองส่วน ท้องถิ่น การดำเนินการเช่นนี้อาจมีความผิดตาม พรบ.ว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วย งานของรัฐ พ.ศ.2542 มาตรา 12 ที่กำหนดไว้ว่า “เจ้าหน้าที่ในหน่วยงานของรัฐผู้ใดกระทำความผิด ตาม พรบ.นี้ หรือกระทำการใด ๆ โดยมุ่งหมายมิให้ มีการแข่งขันราคาอย่างเป็นธรรม เพื่อเอื้ออำนวยแก่ ผู้เข้าทำการเสนอราคารายใดให้เป็นผู้มีสิทธิทำ สัญญากับหน่วยงานของรัฐมีความผิดฐานกระทำผิด ต่อตำแหน่งหน้าที่ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ห้าปี ถึงยี่สิบปี หรือจำคุกตลอดชีวิต และปรับตั้งแต่ หนึ่งแสนบาทถึงสี่แสนบาท” ข้อเสนอแนะ 1.ขอให้สั่งการให้ เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบ ปฏิบัติตาม นส. มท. ด่วนที่สุด ที่ มท 0808.2/ ว 884 ลว. 14 มีค. 2550 เรื่อง การป้องกันการทุจริต เกี่ยวกับการพัสดุของ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยเคร่งครัด ทั้งนี้ เพื่อให้ กระบวนการจัดซื้อจัดจ้าง ของ อปท. เป็นไปอย่าง โปร่งใสสามารถตรวจสอบ ได้ทุกขั้นตอน กรณีตัวอย่างข้อบกพร่อง/ข้อเสนอแนะ

  37. ข้อบกพร่อง 1. ตรวจสอบงานก่อสร้างขยายถนน คสล. ของ อปท... อยู่ในเขตพื้นที่อำเภอ..ก..ตามสัญญาจ้างเลขที่..ครบ กำหนดงานแล้วเสร็จวันที่ 29 ธค. 52 และมีการขยาย เวลาก่อสร้าง จำนวน 15 วัน เป็นครบกำหนดส่งมอบวันที่ 13 มค. 2553 ผลการตรวจสอบปรากฏว่า อปท... อนุมัติขยายเวลาก่อสร้าง โดยอ้างเหตุตามวิทยุสื่อสารใน ราชการกรมการปกครองที่แจ้งให้ อปท.และหน่วยงานอื่น แจ้งให้ประชาชนในพื้นที่เสี่ยงภัยเตรียมความพร้อม เนื่องจากมีความกดอากาศต่ำจะเคลื่อนเข้าสู่พื้นที่ ทำให้ มีฝนตกหนัก แต่ความเป็นจริงไม่ปรากฏว่าจังหวัดได้ ประกาศให้อำเภอ..ก..เป็นอำเภอประสบอุทกภัย แต่อย่างใด และช่วงเวลาที่ผู้รับจ้างอ้างเหตุเพื่อขอขยาย เวลานั้น เป็นช่วงเวลาฝนตกตามฤดูกาลโดยผู้รับจ้าง ต้องทราบอยู่แล้วถึงลักษณะภูมิประเทศภูมิอากาศ ที่เป็นอยู่ตามธรรมชาติของท้องถิ่นที่ผู้รับจ้างสามารถ คาดหมายได้ล่วงหน้าก่อนทำสัญญาและการกำหนด ระยะเวลาแล้วเสร็จได้กำหนดระยะเวลาเผื่อปัญหา อุปสรรคเหล่านี้ไว้แล้ว จึงไม่ใช่เหตุสุดวิสัยหรือเหตุที่จะ ขอขยายเวลาโดยงดเว้นค่าปรับได้ ข้อเสนอแนะ 1. ให้ดำเนินการทาง ละเมิดเพื่อเรียกให้ ชดใช้เงินค่าปรับ ด้วยเหตุที่มีการอนุมัติ ขยายเวลาดำเนินการ โดยมิชอบ รวม 15 วัน ค่าปรับ วันละ 8,354 บาท เป็นเงิน 125,310 บาท นำส่งคืนคลัง อปท. ต่อไป กรณีตัวอย่างข้อบกพร่อง/ข้อเสนอแนะ

  38. ข้อบกพร่อง 1. ตรวจสอบการตรวจรับงานล่าช้าเกิน 3 วัน ทำการนับแต่วันที่ผู้รับจ้างส่งมอบงาน เนื่องจากประธานกรรมการตรวจการจ้าง เป็นผู้พิจารณากำหนดวัน เวลา ในการตรวจรับ ซึ่งกรณีเกิดจากผู้รับจ้างยังทำงานไม่แล้วเสร็จ แต่ได้ส่งมอบงานว่าแล้วเสร็จ ทั้งที่งานกำลัง ดำเนินการก่อสร้างอยู่ แต่ผู้รับจ้างกับการเมือง ท้องถิ่นขอให้คณะกรรมการตรวจการจ้างถ่วง เวลาการตรวจรับ หรือขอให้ตรวจรับงานไปก่อน อีกทั้งผู้ควบคุมงานจดบันทึกสภาพการ ปฏิบัติงานของผู้รับจ้างและเหตุการณ์แวดล้อม เป็นรายวันไม่ครบถ้วน ไม่ระบุรายละเอียด ขั้นตอนการปฏิบัติงานและวัสดุที่ใช้ จึงเป็นการ เอื้อประโยชน์แก่ผู้รับจ้างให้ไม่ต้องเสียค่าปรับ การส่งงานล่าช้ากว่ากำหนด ทำให้ราชการ ได้รับความเสียหายเนื่องจากประชาชนได้ใช้ ประโยชน์ในงานก่อสร้างช้ากว่ากำหนด ข้อเสนอแนะ 1. ให้ดำเนินการ ดังนี้ 1) กำชับผู้ควบคุมงานจัดทำรายงานการ ควบคุมงานโดยบันทึกข้อมูลให้ครบถ้วน ถูกต้องตามที่กำหนดไว้ในระเบียบ ตรงตาม ข้อเท็จจริงและเป็นปัจจุบัน 2) กำชับคณะกรรมการตรวจการจ้างให้ ตรวจสอบความถูกต้องของรายงานการ ควบคุมงานของผู้ควบคุมงาน และรายละเอียด หรือข้อมูลของรายงานเปรียบเทียบกับ รายละเอียดหรือข้อกำหนดในแบบรูปรายการ ละเอียด และข้อกำหนดในสัญญาตามหน้าที่ ที่กำหนดไว้ในระเบียบ 3) การตรวจรับงานจ้างให้ตรวจรับภายใน 3 วันทำการนับแต่วันที่ผู้รับจ้างส่งมอบงาน ตามระเบียบ มท.ว่าด้วยการพัสดุของหน่วย การบริหารราชการส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2535 และแก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 65 (3) กรณีตัวอย่างข้อบกพร่อง/ข้อเสนอแนะ

  39. ข้อบกพร่อง 1. ตามฎีกาเลขที่ 608/2553 ลว. 6 มิย. 2553 จำนวน 276,500 บาท เบิกจ่ายเงินค่าครุภัณฑ์ ตามสัญญา จ้างเลขที่ 7/2553 ลว. 8 เมย. 2553 ผู้รับจ้างไม่ได้ชำระอากรเป็น ตัวเงินแทนการปิดอากรแสตมป์ แต่ปิดอากรแสตมป์ และตามฎีกา เลขที่ 8/2553 ลว. 26 ตค. 2552 จำนวน 280,000 บาท เบิกจ่ายเงิน ค่าก่อสร้างถนน คสม. หมู่ที่ 5 ตามสัญญาจ้างเลขที่ 24/2552 ลว. 28 กย. 2552 ผู้รับจ้างไม่ได้ชำระ อากรเป็นตัวเงินแทนการปิดอากร แสตมป์ ไม่เป็นไปตามประกาศ กรมสรรพากร เกี่ยวกับอากรแสตมป์ (ฉบับที่ 37) เรื่อง กำหนดวิธีการชำระ อากรเป็นตัวเงินแทนการปิดแสตมป์ อากร สำหรับตราสารบางลักษณะ ประกาศ ณ วันที่ 2 ธันวาคม 2538 ข้อเสนอแนะ 1. ให้กำชับเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบถือปฏิบัติ สำหรับการจ้างที่มีวงเงินตั้งแต่ 200,000 บาท ขึ้นไป ให้ผู้รับจ้างชำระอากรเป็นตัวเงิน ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่อากรแสตมป์ โดยต้อง นำตราสารมาสลักหลัง ตามระเบียบของ กรมสรรพากรก่อนวันกระทำตราสาร หรือ ภายใน 15 วันนับแต่วันถัดจากกระทำสารนั้น โดยให้เร่งรัดดำเนินการให้ถูกต้องโดยเร็ว อนึ่ง ตามประมวลรัษฎากรไว้วาง บทบัญญัติไว้ว่า ตราสารใดไม่ได้ปิดอากร แสตมป์บริบูรณ์ จะใช้ต้นฉบับคู่ฉบับ คู่ฉีกหรือ สำเนาตราสารนั้น เป็นพยานหลักฐานในคดี แพ่งไม่ได้จนกว่าจะได้เสียอากรแสตมป์ปิด ครบจำนวนอัตรา ฉะนั้น คู่สัญญาโดยเฉพาะ เจ้าพนักงานของ อปท.ซึ่งเป็นผู้ทำสัญญากับ เอกชน ควรจะได้มีการตรวจสอบว่ามีการ ปิดอากรแสตมป์ครบถ้วนแล้ว จึงลงนามใน สัญญาเพื่อให้ ตราสารหรือสัญญานั้น ๆ สมบูรณ์ตามกฎหมาย กรณีตัวอย่างข้อบกพร่อง/ข้อเสนอแนะ

  40. ข้อบกพร่อง 1.สุ่มตรวจทรัพย์สินของ อปท.พบว่าไม่มี ครุภัณฑ์ให้ตรวจสอบ 2 รายการ 1) เครื่องพ่นหมอกควัน รหัสครุภัณฑ์... ราคา...บาท จัดซื้อในปีงบประมาณ... 2) เครื่องสูบน้ำ รหัสครุภัณฑ์...ราคา...บาท จัดซื้อในปีงบประมาณ... สาเหตุที่ไม่มีให้ตรวจสอบ ได้รับคำชี้แจงว่า 1) เครื่องพ่นหมอกควันนำไปส่งซ่อมโดย ไม่ได้ทำหลักฐานการขออนุมัติซ่อม 2) เครื่องสูบน้ำได้มีการนำไปใช้งานใน หมู่บ้าน แต่ไม่มีหลักฐานการยืม 2. รายงานการตรวจสอบพัสดุประจำปี งบประมาณ 2552 พบว่า คณะกรรมการได้ รายงานว่ามีครุภัณฑ์ชำรุด เสื่อมสภาพ สูญหาย จำนวน 38 รายการ เป็นเงิน 198,000 บาท ในระหว่างการตรวจสอบยังไม่ได้มีการแต่งตั้ง กรรมการสอบข้อเท็จจริงตามระเบียบ ข้อเสนอแนะ 1. กรณีไม่มีครุภัณฑ์ให้ ตรวจสอบให้ดำเนินการ ตั้งกรรมการสอบข้อเท็จจริง ในกรณีดังกล่าว หากพบว่า มีพฤติการณ์ที่ส่อไปในทาง ทุจริตให้ดำเนินการตาม กฎหมายต่อไป 2. กรณีพัสดุชำรุด เสื่อมสภาพ หรือสูญหาย ให้ อปท. ดำเนินการให้ถูกต้องตาม ระเบียบ มท.ว่าด้วยการพัสดุ ของหน่วยการบริหารราชการ ส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2535 และแก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 149 กรณีตัวอย่างข้อบกพร่อง/ข้อเสนอแนะ

  41. ข้อบกพร่อง 1.จากการตรวจสอบการจัดหาพัสดุของ อปท.พบว่ามีการจัดซื้อวัสดุและครุภัณฑ์ มีราคาสูงกว่าราคามาตรฐาน หรือราคาที่ หน่วยงานอื่นจัดซื้อ หรือราคาท้องตลาด รวมถึงราคาที่แต่ละกอง/สำนักในหน่วยงาน เดียวกันจัดซื้อ ทำให้ทางราชการต้องจ่ายเงิน งบประมาณในการจัดซื้อวัสดุครุภัณฑ์ในราคา สูงกว่าราคาสินค้าที่มีการซื้อขายจริงใน ท้องตลาด เป็นเงิน 89,000 บาท (รายละเอียด แนบ) สาเหตุเนื่องจากในการดำเนินการจัดหา เจ้าหน้าที่แต่ละกอง/สำนักเป็นผู้ดำเนินการ จัดหา ทำให้ไม่มีการสืบราคาจากร้านค้า หรือราคาที่เคยจัดซื้อหรือราคาที่หน่วยงานอื่น จัดซื้อ ทำให้ราคาที่จัดซื้อมีราคาสูงกว่าราคา ตลาด หรือราคาที่เคยจัดหามาก่อนเป็นเวลา 2 ปี (วัสดุหรือครุภัณฑ์ชนิดเดียวกัน และ จากผู้ขายรายเดียวกัน) จึงทำให้ทางราชการ เสียประโยชน์ต้องจ่ายเงินเกินราคาจริงของ วัสดุหรือครุภัณฑ์ที่จัดหา ข้อเสนอแนะ 1. ให้เรียกเงินจากเจ้าหน้าที่ ผู้รับผิดชอบ จำนวน 89,000 บาท นำส่งคืนคลัง อปท. แล้วส่งสำเนาใบเสร็จรับเงิน ให้จังหวัดทราบ เพื่อรายงาน กรมส่งเสริมการปกครอง ท้องถิ่นต่อไป 2. การจัดหารพัสดุควรให้ พัสดุกลางเป็นผู้ดำเนินการ เพื่อป้องกันความเสียหายที่ จะเกิดแก่การเงินของ อปท. หรือหากพบว่ามีเจตนาที่จะ ฝ่าฝืนการปฏิบัติตามระเบียบ ขอให้แต่งตั้งกรรมการเพื่อ สอบข้อเท็จจริงและพิจารณา โทษทางวินัยตามควรแก่ กรณีต่อไปด้วย กรณีตัวอย่างข้อบกพร่อง/ข้อเสนอแนะ

  42. ข้อบกพร่อง 1.จากการตรวจสอบครุภัณฑ์ที่จัดซื้อในปีงบประมาณ 2552 พบว่า อปท...ก..ได้ซื้อรถยนต์กระบะสี่ประตู เพื่อใช้ในสำนักปลัด ฎีกาที่...วงเงิน 582,000 บาท คณะกรรมการตรวจรับพัสดุเมือวันที่ 20 กันยายน 2552 และได้นำรถยนต์ดังกล่าวให้สำนักงาน จังหวัด...ยืมไป โดยบันทึกข้อตกลงยืมเป็นช่วงเวลา ช่วงละ 6 เดือน ตั้งแต่วันที่ 10 ตุลาคม 2552 จึงเป็น การจัดหาพัสดุมาเพื่อให้หน่วยงานอื่นยืม เป็นการ เฉพาะเจาะจง ไม่ใช่จัดหามาใช้ตามอำนาจหน้าที่ของ อปท.ซึ่งการดำเนินการดังกล่าวเป็นการไม่ปฏิบัติ ตามระเบียบ มท.ว่าด้วยการพัสดุของหน่วยการ บริหารราชการส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2535 และแก้ไข เพิ่มเติม ข้อ 139 และตามหนังสือกระทรวงมหาดไทย ที่ มท 0808.2/8898 ลว. 4 กันยายน 2551 เรื้อง การจัดซื้อวัสดุครุภัณฑ์เพื่อให้หน่วยราชการอื่น ยืมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ข้อเสนอแนะ 1. ขอให้แต่งตั้ง คณะกรรมการสอบ ข้อเท็จจริงผู้ที่เกี่ยวข้อง ว่า เหตุใดไม่ปฏิบัติตาม เจตนารมณ์ของระเบียบ ดังกล่าว หากทำให้ ทางราชการเสียหายให้ ลงโทษตามควรแก่กรณี ตามระเบียบ มท.ว่าด้วย การพัสดุของหน่วยการ บริหารราชการส่วน ท้องถิ่น พ.ศ.2535 ข้อ 8 กรณีตัวอย่างข้อบกพร่อง/ข้อเสนอแนะ

  43. ข้อบกพร่อง 1. ฎีกาเลขที่...ลงวันที่...เบิกจ่ายค่าก่อสร้าง โครงการปรับปรุงศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก หมู่ที่.. ต..จำนวนเงิน 80,000 บาท ซึ่งโครงการ ดังกล่าว อปท. ตกลงจ้างดำเนินการเพียง 50,000 บาท จึงเบิกจ่ายให้ผู้รับจ้างสูงไป เป็นเงิน 30,000 บาท ในระหว่างตรวจสอบ อปท. ได้ให้เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบนำเงิน ส่งคืนคลัง อปท. แล้ว และนำเงินฝากธนาคาร เรียบร้อยแล้ว แต่เป็นการส่งคืนภายหลังจาก การตรวจสอบ ข้อเสนอแนะ 1. ขอให้แต่งตั้งกรรมการ สอบข้อเท็จจริงกรณีจ่าย เงินเกินดังกล่าว และ ดำเนินการกับเจ้าหน้าที่ ผู้รับผิดชอบตามควรแก่ กรณี กรณีตัวอย่างข้อบกพร่อง/ข้อเสนอแนะ

  44. ข้อบกพร่อง 1. เบิกจ่ายเงินไม่ถูกต้องตามหมวดรายจ่าย 1) เบิกจ่ายค่าจัดซื้อคูลเลอร์ไฟฟ้าขนาด 26 เซนติเมตร จำนวน 1 ชุด ในหมวดค่าวัสดุ ตาม ฎีกาเบิกเงินเลขที่คลังรับ..ลว..จำนวน 10,000 บาท เป็นการจัดซื้อสิ่งของที่มีลักษณะคงทนถาวรมีอายุ การใช้งานหนึ่งปีขึ้นไป และมีราคาหน่วยหนึ่งเกิน 5,000 บาท จะต้องเบิกจ่ายในหมวดครุภัณฑ์ 2) เบิกจ่ายค่าจ้างต่อเติมอาคารศูนย์พัฒนาเด็ก เล็ก ในหมวดค่าใช้สอย ตามฎีกาเบิกเงินเลขที่คลัง รับ..ลว..จำนวน 34,000 บาท เป็นรายจ่ายเพื่อให้ ได้มาซึ่งสิ่งก่อสร้าง จะต้องเบิกจ่ายในหมวดค่า ที่ดินและสิ่งก่อสร้าง การเบิกจ่ายดังกล่าว เป็นการปฏิบัติไม่ถูกต้อง ตาม นส.ปค. ด่วนมาก ที่ มท 0313.4/ว 2787 ลว. 18 พย. 2542 เรื่อง การพิจารณาระบบงบประมาณ ของ อปท. และไม่ได้บันทึกเป็นทรัพย์สินของเทศบาล ตาม นส.มท. ด่วนมาก ที่ มท 0407/ว 791 ลว.6 มิย. 2529 เรื่อง การควบคุมพัสดุของหน่วยการบริหาร ราชการส่วนท้องถิ่นด้วย ข้อเสนอแนะ 1.ขอให้สั่งการเจ้าหน้าที่ ผู้รับผิดชอบบันทึก รายการรุภัณฑ์ดังกล่าว เป็นทรัพย์สิน และ สั่งกำชับให้ถือปฏิบัติ ให้ถูกต้องตามหนังสือ กระทรวงมหาดไทย ดังกล่าวโดยเคร่งครัด กรณีตัวอย่างข้อบกพร่อง/ข้อเสนอแนะ

  45. ข้อบกพร่อง 1.ในการดำเนินการสอบราคาซื้อหรือจ้างไม่ได้จัดทำหลักฐาน การปิดและปลดประกาศสอบราคาโครงการต่าง ๆ เป็นการ ไม่ปฏิบัติตาม นส.มท. ที่ มท 0808.2/ว 4271 ลว. 17 ธค. 2550 เรื่อง ซักซ้อมและกำหนดแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการ ดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างของ อปท. 2. จากการตรวจสอบเอกสารการจ้าง ฎีกาที่..ลว..สัญญาจ้าง เลขที่..โครงการก่อสร้างสะพาน คสล. พบว่า 1) ราคากลางของงานก่อสร้าง เป็นเงิน 378,500 บาท วงเงินจ้าง 289,000 บาท ซึ่งแตกต่างจากราคากลางตั้งแต่ ร้อยละ 15 ขึ้นไป คณะกรรมการกำหนดราคากลางไม่ได้แจ้ง รายละเอียดการคำนวณราคากลางงานก่อสร้างให้สำนักงาน การตรวจเงินแผ่นดินทราบ เป็นการไม่ปฏิบัติตาม นส.กค. ด่วนที่สุด ที่ 0408.5/ว 9 ลว. 7 มีค.2550 เรื่อง หลักเกณฑ์ การกำหนดราคากลางงานก่อสร้าง แจ้งตาม นส.สถ.ด่วนที่สุด ที่ มท 0808.2/ว 472 ลว. 13 มีค. 2550 2) ผู้ยื่นซองเอกสารสอบราคาซึ่งเป็นห้างร้านที่สอบราคา ได้โครงการนี้ไม่มีเอกสารสำเนาหนังสือรับรองผลงานมายื่น ประกอบหลักฐานเอกสารสอบราคา แต่ใช้สำเนาสัญญาจ้าง ของงานที่เคยก่อสร้างครั้งก่อนแทน ซึ่งไม่เป็นไปตามเงื่อนไข ของประกาศและเอกสารสอบราคาที่กำหนดให้นำสำเนา นส. รับรองผลงานมายื่นประกอบหลักฐานเอกสารสอบราคา ข้อเสนอแนะ 1. ขอให้สั่งกำชับ เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบ ศึกษาขั้นตอนการปฏิบัติ และถือปฏิบัติให้ถูกต้อง ตามหนังสือสั่งการโดย เคร่งครัด อย่าให้เกิด กรณีเช่นนี้อีก และกรณี ดังกล่าวหากทำให้ ทางราชการเสียหายให้ ลงโทษตามควรแก่กรณี ตามระเบียบ มท.ว่าด้วย การพัสดุของหน่วยการ บริหารราชการส่วน ท้องถิ่น พ.ศ.2535 ข้อ 8 กรณีตัวอย่างข้อบกพร่อง/ข้อเสนอแนะ

  46. ระเบียบ มท.ว่าด้วยการพัสดุของหน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2535 ข้อ 8 • ผู้มีอำนาจหรือหน้าที่ดำเนินการตามระเบียบนี้ หรือผู้หนึ่งผู้ใดกระทำการโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อไม่ปฏิบัติตามระเบียบนี้ หรือกระทำการโดยมีเจตนาทุจริต หรือกระทำการโดยปราศจากอำนาจ หรือนอกเหนืออำนาจหน้าที่ รวมทั้งมีพฤติกรรมที่เอื้ออำนวยแก่ผู้เข้าเสนอราคา หรือเสนองานให้มีการขัดขวางการแข่งขันราคาอย่างเป็นธรรมถือว่า ผู้นั้นกระทำผิดตามกฎหมายหรือระเบียบหรือคำสั่ง ซึ่งสามารถใช้บังคับแก่ผู้นั้นแล้วแต่กรณี และในกรณีของข้าราชการส่วนท้องถิ่นให้พิจารณาดำเนินการทางวินัยตามกฎหมายและระเบียบ ที่เกี่ยวข้องด้วย

  47. 6. การวางระบบควบคุมภายใน

  48. การตรวจสอบการวางระบบควบคุมภายในการตรวจสอบการวางระบบควบคุมภายใน 1) ระเบียบคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน ว่าด้วยการกำหนดมาตรฐานการควบคุม ภายใน พ.ศ. 2544

  49. การตรวจสอบการวางระบบควบคุมภายในการตรวจสอบการวางระบบควบคุมภายใน 1) องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต้องจัดวางระบบควบคุมภายในโดยใช้มาตรฐานการควบคุมภายใน ข้อมูลที่ต้องจัดวางระบบควบคุมภายในมี ดังนี้ • 1.1 สรุปภารกิจและวัตถุประสงค์การดำเนินงานที่สำคัญ • 1.2 ข้อมูลเกี่ยวกับสภาพแวดล้อมการควบคุม • 1.3 ความเสี่ยงที่สำคัญที่มีผลกระทบต่อการบรรลุวัตถุประสงค์ของการควบคุมภายใน • 1.4 ข้อมูลเกี่ยวกับกิจกรรมการควบคุมเพื่อป้องกันหรือลดความเสี่ยง • 1.5 ผู้รับผิดชอบการประเมินการควบคุมภายในและวิธีติดตามประเมินผล

  50. การตรวจสอบการวางระบบควบคุมภายในการตรวจสอบการวางระบบควบคุมภายใน 2) องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จะต้องรายงานผล ต่อคณะกรรมการตรวจสอบเกี่ยวกับการควบคุมภายในอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง ภายใน 90 วัน นับจากวันสิ้นปีงบประมาณหรือปีปฏิทิน สาระสำคัญของรายงานการประเมินความเพียงพอและประสิทธิภาพของการควบคุมภายในแต่ละองค์ประกอบของการควบคุมภายในประกอบด้วย • 2.1 สภาพแวดล้อมของการควบคุม • 2.2 การประเมินความเสี่ยง • 2.3 กิจกรรมการควบคุม • 2.4 สารสนเทศและการสื่อสาร • 2.5 การติดตามประเมินผล

More Related